RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264359
ทั้งหมด:13575642
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2022 10:11 pm    Post subject: Reply with quote

ว.เทคนิคชลบุรีผนึก AMR ต่อยอดหลักสูตรด้านระบบราง
Thaimotnews
วันเสาร์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:09 น.

AMR ต่อยอดหลักสูตรการขนส่งระบบรางแก่ ว.เทคนิคชลบุรีพร้อมสนับสนุนทุนการศึกษาและองค์ความรู้ด้านระบบรางอย่างเต็มที่ มุ่งผลิตนักศึกษาคุณวุฒิระดับ ปวส. ป้อนวงการรถไฟฟ้า-รถไฟความเร็วสูงในพื้นที่อีอีซีและทั่วประเทศ นำร่องมอบ 15 ทุนแก่นักศึกษาพร้อมค่าใช้จ่ายรายเดือนช่วงเรียน/รับเข้าฝึกงานและให้เบี้ยเลี้ยงฝึกงาน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้อีกเพียบ !!
นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ AMR เปิดเผยว่า ได้ให้การสนับสนุนแก่แผนกวิชาขนส่งทางราง วิทยาลัยเทคนิคชลบุรีด้านการให้ทุนการศึกษาและองค์ความร่วมแก่นักศึกษาหลักสูตรด้านการขนส่งทางรางระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 15 คนเป็นระยะเวลา 2 ปี ทั้งนี้เพื่อต้องการต่อยอดองค์ความรู้ด้านระบบรางให้นักศึกษาได้รับความรู้ด้านต่างๆมากขึ้นเพื่อให้พร้อมเข้าสู่วงการระบบรางในพื้นที่อีอีซีที่มีแล้วทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงในขณะนี้
นอกจากนั้นยังได้ร่วมแสดงความเห็นและให้คำแนะนำด้านหลักสูตรว่าควรจะเปิดหลักสูตรในสาขาวิชาใดบ้าง เมื่อจบการศึกษาจะสามารถนำมาใช้งานได้อย่างไร ซึ่ง AMR ยินดีให้ความร่วมมือสนับสนุนแก่วิทยาลัยเทคนิคชลบุรีอย่างเต็มที่อีกทั้งยังเล็งเห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาระดับปวส.ที่สามารถแสดงออกได้อีกมากมาย
“ระดับปวส.ใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 2 ปีซึ่งปีแรกจะเน้นภาคการเรียนทฤษฎี มีค่าใช้จ่ายให้เดือนละ 2,000 บาทต่อคน ส่วนปีที่ 2 จะเน้นภาคปฏิบัติจึงต้องมีการฝึกงานในภาคปฏิบัติซึ่งจะได้รับเบี้ยเลี้ยงในการฝึก เน้นสำหรับเด็กด้อยโอกาส หรือเด็กชายขอบ เด็กช้างเผือกที่มีศักยภาพทางการศึกษาเรียนดีแต่ขาดโอกาสทางการศึกษาให้ได้รับโอกาสดีดีกันมากขึ้น ถือว่าคุ้มค่ากับอนาคตของน้องๆนักศึกษา แต่เมื่อเรียนจบแล้วไม่จำเป็นจะต้องมาทำงานกับ AMR ก็ได้”
ทั้งนี้เพราะ AMR มองว่าระบบรางของไทยจะมีการพัฒนาได้อีกมากมายและยังก้าวหน้าได้น้องๆนักศึกษาที่เรียนจบไปจึงมีโอกาสศึกษาเรียนรู้งานในระบบรางได้อีกมากมาย ประการสำคัญบุคลากรด้านระบบรางยังมีความต้องการอีกเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะความชำนาญด้านช่าง ประกอบกับเมื่อเข้าสู่ระบบการทำงานยังต้องใช้ความรู้ความชำนาญแต่ละคนไม่น้อยกว่า 20-30 ปี ผู้ที่สำเร็จก่อนและทำงานก่อนย่อมได้เปรียบกว่า
นอกจากนั้นหากรัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญพร้อมสนับสนุนให้ประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นผู้ซื้อแล้วหันมาส่งเสริมสนับสนุนให้ไทยเป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้าและชิ้นส่วนประกอบอื่นๆของรถไฟฟ้าบ้างจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมาก ขยายการเติบโตนำร่องจากระบบรางในเส้นทางสายรองก่อนแล้วจึงค่อยต่อยอดไปสู่ระบบหลักในอนาคตต่อไป ดังนั้นน้องๆนักศึกษาที่จบออกไปยังสามารถเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้อีกด้วย นอกเหนือจากศึกษามาเพื่อขับรถ และซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าเท่านั้น
ประการหนึ่งนั้นยังมีคนบางกลุ่มบางฝ่ายเห็นว่าน้องๆระดับอาชีวศึกษาที่จบออกมาจะนำไปในการซ่อมรถไฟฟ้าที่ซื้อเข้ามาทั้งขบวนเท่านั้น ต่างกับมุมมองส่วนตัวที่เห็นว่าแม้จะจบระดับอาชีวศึกษาแต่บางคนก็มีศักยภาพสูงมาก สามารถพัฒนาด้านต่างๆได้อีกด้วย ไม่ได้มีความรู้เฉพาะขับรถหรือซ่อมรถเท่านั้น อาจจะออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ด้วย ดังนั้นหลักสูตรอาชีวศึกษาจึงต้องมีทั้งการพัฒนาควบคู่กันไปด้วยให้เข้าใจระบบแบบช่างฝีมือ กับเพิ่มความคิดให้กล้าคิดกล้าทำสามารถพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องได้ กล้าคิดกล้าออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยสามารถผลิตและออกแบบรถไฟฟ้าเป็นของตนเองได้อีกทางหนึ่งด้วย
“AMR เพียงเพิ่มความรู้ด้านเทคนิคให้น้องๆแต่ละคนได้แสดงออกถึงศักยภาพของตนเองมาอย่างเต็มที่ โดยเรื่องนี้ยังได้ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรให้การสนับสนุนเพื่อสื่อให้เห็นถึงแนวทางการขับเคลื่อนในมิติต่างๆ เนื่องจากหากไทยยังเป็นเพียงผู้ซื้อแล้วนำมาขายต่อ องค์ความรู้จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อประเทศไทยเลย ผลักดันให้ไทยก้าวสู่โหมดออกแบบ ทำแล้วเลือก ดังนั้นรัฐจึงควรส่งเสริมให้เอกชนไทยได้มีโอกาสพัฒนาระบบขนส่งขนาดรองไปก่อน แล้วจึงขยับไปสู่ระบบหลักต่อไป ให้คนไทยทำจริงๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการปฏิบัติและเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรุ่นสู่รุ่นต่อๆกันไปจนสามารถผลิตรถไฟฟ้าเป็นของไทยได้เอง โดยขณะนี้ผู้ประกอบการไทยสามารถตั้งกลุ่มไทยทีม(ThaiTEAM) ขึ้นมาขับเคลื่อนเรื่องนี้รองรับไว้แล้ว” นายมารุตกล่าวในตอนท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2022 11:21 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลงทุนใหม่ 9 แสนล้าน ปีเสือ “ศักดิ์สยามโมเดล” ตะลุยรอบทิศ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 มกราคม 2565 - 11:03 น.

Click on the image for full size

เข้าสู่ไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2565 ณ เดือนมกราคม 2565 กระทรวงคมนาคมอัพเดตแผนลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท

เป็นการขับเคลื่อนลงทุนภายใต้การกุมบังเหียนของ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย

บทสรุปรวบยอดคือวงเงินก้อนมหึมา 1.4 ล้านล้านบาท ดังกล่าว แบ่งเป็นโครงการลงนามสัญญาแล้ว วงเงินรวม 5.16 แสนล้านบาท กับโครงการลงทุนใหม่ วงเงิน 9.74 แสนล้านบาท (ดูกราฟิกประกอบ)

เซ็นสัญญาแล้ว 5.16 แสนล้าน

สำหรับโครงการที่ได้มีการลงนามสัญญาแล้ว มีจำนวน 13 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 516,956 ล้านบาท เรียงลำดับตามวงเงินลงทุน ดังนี้

การลงทุน “ระบบราง” ลงนามสัญญาแล้ว 7 โครงการ วงเงินรวม 476,154 ล้านบาท ได้แก่
1.รถไฟทางคู่ นครปฐม-ชุมพร ลงทุนปี 2561-2565 วงเงิน 40,378 ล้านบาท
2.รถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ลงทุนปี 2561-2567 วงเงิน 27,454 ล้านบาท
3.รถไฟทางคู่ ลพบุรี-ปากน้ำโพ ลงทุนปี 2561-2565 วงเงิน 20,679 ล้านบาท
4.รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราช ลงทุนปี 2560-2569 วงเงิน 179,413 ล้านบาท

อีก 3 โครงการอยู่ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ได้แก่
5.รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ลงทุนปี 2560-2568 วงเงิน 109,135 ล้านบาท
6.รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีนบุรี-แคราย ลงทุนปี 2560-2566 วงเงิน 50,970 ล้านบาท และ
7.รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ลงทุนปี 2560-2566 วงเงิน 48,125 ล้านบาท


การลงทุน “ทางอากาศ” ลงนามสัญญาแล้ว 4 โครงการ ได้แก่ 1.สนามบินกระบี่ ลงทุนปี 2561-2565 วงเงิน 2,923 ล้านบาท 2.สนามบินขอนแก่น ลงทุนปี 2561-2565 วงเงิน 2,004 ล้านบาท 3.สนามบินบุรีรัมย์ ลงทุนปี 2564-2567 วงเงิน 619 ล้านบาท และ 4.สนามบินสุราษฎร์ธานี ลงทุนปี 2563-2566 วงเงิน 169 ล้านบาท

ที่เหลืออีก 2 โครงการ แบ่งเป็น การลงทุน “ทางถนน” ลงนามสัญญาแล้วในโครงการมอเตอร์เวย์ M82 สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว (ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว) ลงทุนปี 2564-2567 วงเงิน 32,220 ล้านบาท กับ “ทางบก” ลงนามสัญญาแล้ว โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย ลงทุนปี 2553-2568 วงเงิน 2,864 ล้านบาท

ติดตามแก้จราจรบนทางด่วน

โดย “ศักดิ์สยาม” จัดคิวประชุมติดตามความคืบหน้าการลงทุนรายโครงการ ล่าสุดเป็นคิวของการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษทั้งระบบ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 ซึ่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี 18 กุมภาพันธ์ 2563 กำหนดให้แล้วเสร็จใน 2 ปี โดย “กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย” ศึกษาแนวทางแก้ปัญหารวมทั้งการลงทุนเพิ่มเติมเสร็จเรียบร้อย มีการรายงานกระทรวงคมนาคมพิจารณา และอยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

เบื้องต้น ปัญหาการจราจรบนทางด่วนแบ่งเป็นปัญหา 5 ด้าน 1.ปัญหาความจุของทางพิเศษไม่เพียงพอ (over section capacity) 2.จุดตัดกระแสจราจรบริเวณทางร่วมและทางแยก (weaving & merging) 3.การจราจรติดขัดบริเวณทางลงทางพิเศษ (off-ramp congestion) 4.การไหลเวียนจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง (over toll plaza capacity) และ 5.ปัญหาจุดคอขวด

ขณะที่จุดพีกของปัญหาจราจรคอขวด (bottleneck) มี 3 เส้นทาง คือ 1.ทางด่วนศรีรัช ช่วงงามวงศ์วาน-พญาไท-พระราม 9 2.ทางด่วนเฉลิมมหานคร ช่วงมักกะสัน-ท่าเรือ-บางนา และ 3.ทางด่วนฉลองรัช

โดย กทพ.จัดลำดับความสำคัญแผนแก้ไขปัญหาจราจรทั้งระบบ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางด่วนในปัจจุบัน 21 โครงการ ข้อเสนอดำเนินการเฟส 1 (2565-2569) จำนวน 16 โครงการ ลงทุนรวม 38,132 ล้านบาท ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 16.35% และเฟส 2 (ปี 2570 เป็นต้นไป) 5 โครงการ ลงทุนรวม 9,401 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 25.77% รวมวงเงินลงทุน 47,533 ล้านบาท

กลุ่มที่ 2 ก่อสร้างทางด่วนเพิ่มเติมแก้ไขปัญหาการจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง 11 โครงการ แบ่งเป็นแผนลงทุนเฟส 1 (2565-2569) 5 โครงการ กับแผนลงทุนเฟส 2 (ปี 2570 เป็นต้นไป) 6 โครงการ ทั้ง 11 โครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 15.18-31.28%


ปัจจุบัน กทพ.อยู่ระหว่างพิจารณาแหล่งเงินทุน เช่น การให้เอกชนร่วมลงทุน หรือการใช้แหล่งเงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF)

เร่งสร้าง 2 มอเตอร์เวย์
ข้อสั่งการของ “รมต.ศักดิ์สยาม” ยังได้เพิ่มเติมการบูรณาการต่างหน่วยงาน อาทิ มอบหมายให้ “ทล.-กรมทางหลวง” หารือกับ กทพ.เร่งรัดโครงการมอเตอร์เวย์ M7 สายศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ, ให้กรมทางหลวงเร่งศึกษามอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายทางด่วนโทลล์เวย์ ช่วงรังสิต-บางปะอิน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเปิดประมูลรูปแบบ PPP (การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน)

รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับสะพานข้ามทางแยก รวมทั้งทางขึ้น-ลงทางด่วน เช่น จุดขึ้น-ลงทางด่วนที่อยู่ใกล้ทางรถไฟฟ้าสายสีแดง, จุดขึ้น-ลงทางด่วนแยกยมราช และบริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ

และมอบหมายให้ “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” เตรียมข้อมูลผลศึกษาเพื่อนำเสนอต่อ คจร. ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2565

เร่งลงทุน “ศักดิ์สยามโมเดล”
ทั้งนี้ การสานต่อนโยบายลงทุนจากปี 2564 และการขับเคลื่อนนโยบายเพิ่มเติมปี 2565 รวมทั้งสิ้น 76 นโยบาย โดยมีโปรเจ็กต์ไฮไลต์ที่เป็นโลโก้ของ “รมต.ศักดิ์สยาม” อาทิ การลงทุนทางถนน มีโครงการกำหนดความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปี 2564 ประกาศใช้แล้ว 178 กิโลเมตร แผนปี 2565 เพิ่มเติม 9 เส้นทาง ระยะทาง 138 กิโลเมตร

โครงการพัฒนาระบบผ่านทางด่วนทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow ปี 2564 ทล.ทดสอบระบบบนมอเตอร์เวย์สาย 9 จำนวน 4 ด่าน และปี 2565 เปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบ 7 ด่าน แบ่งเป็น ด่านกรมทางหลวง 4 ด่าน กทพ. 3 ด่าน


จัดทำแผนแม่บท MR-Map ปี 2564 ศึกษาแผนแม่บทโครงข่าย MR-Map แล้วเสร็จ และ คจร.เห็นชอบแล้ว โดยได้เริ่มการศึกษาออกแบบเบื้องต้นนำร่อง 4 โครงการ ได้แก่ 1.MR2 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา-อุบลราชธานี ระยะทาง 440 กิโลเมตร

2.MR5 ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 108 กิโลเมตร ตามแนวการเชื่อมต่อโครงการ Landbridge 3.MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา-แหลมฉบัง ระยะทาง 288 กิโลเมตร 4.MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3 ระยะทางรวม 319 กิโลเมตร และปี 2565 ศึกษาความเหมาะสมเส้นทางที่เหลืออยู่ให้ครบทั้ง 10 เส้นทาง

โครงการเติมเต็ม missing links เชื่อมโยงต่างประเทศ เช่น ถนนเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 นครพนม ระยะทาง 23.102 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,600 ล้านบาท, สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี-สาละวัน) อุบลราชธานี ระยะทาง 26 กิโลเมตร วงเงินรวม 4,765 ล้านบาท

จัดระเบียบแท็กซี่-มอ’ไซค์
เรื่องใกล้ตัว อาทิ โครงการระบบติดตามตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ ปี 2565 จะสามารถนำมาตรการหักแต้มใบขับขี่มาใช้งานได้จริง, การจัดระเบียบรถจักรยานยนต์ดีลิเวอรี่ ในปี 2564 “ขบ.-กรมการขนส่งทางบก” ได้ออกประกาศกำหนดลักษณะมาตรฐานกล่องบรรจุสินค้าของมอเตอร์ไซค์ดีลิเวอรี่ไว้แล้ว และยกร่างกฎหมายกำกับในปี 2565

การจัดระเบียบรถรับจ้างผ่าน application (รถบ้านให้บริการแท็กซี่) ในปี 2564 ขบ.ประกาศจัดระเบียบรถรับจ้างผ่าน app แล้ว ปี 2565 ผู้ประกอบการจะทยอยเข้ามาจดทะเบียนจนครบทุกราย, ผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับรถขนส่งสาธารณะ (EV) โดยปี 2564 เปิดบริการ EV bus เส้นทางนำร่องแล้วจะขยายเพิ่มเติมในปี 2565, จัดระเบียบรถยนต์จอดทิ้งริมทาง โดยปี 2565 จัดทำโครงการนำร่องให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรม

การเร่งพัฒนาระบบตั๋วร่วม ปี 2564 จัดทำร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม และปี 2565 ให้บริการบัตรระบบ EMV ในรถไฟฟ้าสาย “สีแดง ม่วง น้ำเงิน”, กำหนดแนวทางใช้รถไฟฟ้าล้อยางเมืองภูมิภาค ปี 2564 อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนรูปแบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ปี 2565 จัดทำรายงาน PPP เพื่อเปิดประมูลต่อไป

การผลักดันการพัฒนารถไฟ EV ปี 2564 ลงนาม MOU ร่วมพัฒนารถไฟ EV ต้นแบบ และในปี 2565-2566 ดัดแปลงรถไฟ EV ต้นแบบเป็นขบวนแรกของประเทศไทย เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2022 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้รับเหมาปี2565 รอแบ่งเค้กบิ๊กโปรเจ็กต์รัฐ 7 แสนล้าน
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอาทิตย์ ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:41 น.

ผู้รับเหมาปี2565 รอแบ่งเค้กบิ๊กโปรเจ็กต์รัฐ งบรายจ่ายเพื่อลงทุนวงเงิน 7 แสนล้านบาท ต่อมาจากปี 2564 ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น กระทรวงคมนาคมมีโครงการต่อเนื่องมาจากปี 64 อาทิ รถไฟฟ้าสายสีส้ม, สีเหลือง, สีชมพู รวมไปถึงโครงการรถไฟทางคู่เฟสแรก

"ผู้รับเหมาแบ่งเค้กบิ๊กโปรเจ็กต์รัฐ" กลุ่มรับเหมาก่อสร้างเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาหลังรัฐบาลเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณปี 2566 จำนวน 3.18 ล้านล้านบาท โดยมีงบรายจ่ายลงทุนถึง 7 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น กระทรวงคมนาคมมีโครงการต่อเนื่องมาจากปี 64 อาทิ รถไฟฟ้าสายสีส้ม, สีเหลือง, สีชมพู รวมไปถึงโครงการรถไฟทางคู่เฟสแรก ขณะเดียวกันจะเปิดประมูลอีก 25 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 9.74 แสนล้านบาท ครอบคลุมทั้งโครงการทางบกระบบราง และอากาศ



ทั้งนี้บางโครงการได้ผู้รับเหมาแล้วและจะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2565 เช่น โครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 2 เส้นทาง คือ
1. “สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ
2. สายบ้านไผ่- มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม” รวม 5 สัญญา วงเงินกว่า 1.28 แสนล้านบาท รวมถึงบางโครงการเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดประมูลแล้ว คาดได้ผู้ชนะภายในไตรมาส 1/2565 เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ มูลค่าโครงการ 1.25 แสนล้านบาท

งานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าตลาดได้พาเหรดเข้าประมูลกันอย่างพร้อมเพรียง เพื่อแบ่งชิ้นเค้กก้อนโตนี้ ซึ่งแต่ละบริษัทมีจุดแข็งและความเชี่ยวชาญแตกต่างกันออกไป ล่าสุดกวาดงานใหม่กันไปทั่วหน้า อย่างทางรถไฟทางคู่ใหม่สายเหนือ-อีสานประกอบด้วย ทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 323 กิโลเมตร มูลค่า 72,921 ล้านบาท สัญญาที่ 1 “เด่นชัย-งาว” มูลค่า 26,560 ล้านบาท



ประกอบด้วย
กิจการร่วมค้า ไอทีดี-เนาวรัตน์ (บมจ.อิตาเลียนไทย/เนาวรัตน์พัฒนา การ) 103 กิโลเมตร งานโยธา สถานี 5 แห่ง ป้ายหยุดรถ 2 แห่ง อุโมงค์รถไฟ 2 แห่ง อาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม
สัญญาที่ 2 “งาว-เชียงราย” มูลค่า 26,890 ล้านบาท กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 2 (บมจ.ช.การช่าง / ซิโน-ไทย / บุรีรัมย์ พนาสิทธิ์) 132 กิโลเมตร งานโยธา สถานี 4 แห่ง ป้ายหยุดรถ 8 แห่ง อุโมงค์รถไฟ 1 แห่ง อาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม

สัญญาที่ 3 “เชียงราย-เชียงของ” มูลค่า 19,385 ล้านบาท ประกอบด้วยกิจการร่วมค้าซีเคเอสที-ดีซี 3 (บมจ.ช.การช่าง / ซิโน-ไทย / เชียงใหม่คอนสตรัคชั่น) 87 กิโลเมตร งานโยธา สถานี 3 แห่ง ป้ายหยุดรถ 3 แห่ง อุโมงค์รถไฟ 1 แห่ง อาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม

ทางคู่ บ้านไผ่-นครพนม” 355 กิโลเมตร มูลค่า 66,848.33 ล้านบาท

สัญญาที่ 1 บ้านไผ่-หนองพอก 27,095 ล้านบาท ประกอบด้วยกิจการร่วมค้า อเอส-ช.ทวีแอนด์ แอสโซซิเอทส์ (บจ.เอ.เอส. แอสโซซิเอท /ช.ทวีก่อสร้าง / กิจการร่วมค้า ทีบีทีซี / เสริมสงวนก่อสร้าง / เค.เอส.ร่วมค้า)
สัญญาที่ 2 หนองพอก- สะพานมิตรภาพ 3 มูลค่า 28,306 ล้านบาท ประกอบด้วยกิจการร่วมค้า ยูนิค (บมจ.ยูนิค / พี.ซีอีที / ไทยพีค่อนและอุตสาหกรรม / วัชรขจร )

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มูลค่า 1.25 แสนล้านบาท 6 สัญญาบทวิเคราะห์ของ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ประเมินว่า เป็นการขับเคี่ยวกันหาผู้ชนะของ 3 กลุ่ม คือ บริษัท ช.การช่างจำกัด (มหาชน) หรือ CK จับมือกับ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น หรือ STEC, บมจ.อิตาเลี่ยนไทยดีเวล๊อปเมนต์หรือ ITD จับมือกับ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ หรือ NWR และ บมจ.ยูนิคเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสครัคชั่น หรือ UNIQ

คาดว่าจะรู้ผลภายในไตรมาส 1 ปี 2565 โดยเบื้องต้นประเมินว่า CK และ ITD ที่มีประสบ การณ์งานก่อสร้างรถไฟใต้ดินมาก่อน มีโอกาสสูงที่จะเป็นผู้ชนะถึง 4 สัญญา โดยอาจมี STEC ร่วมจับมือเป็น JV

โดยสรุปโครงการขนาดใหญ่จะตกอยู่ในมือยักษ์รับเหมาแทบทั้งหมดอย่างไม่ต้องสงสัย !!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2022 12:42 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (18 ก.พ.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวชี้แจงต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลแบบไม่ลงมติตามมาตรา 152 ซึ่งได้มีการอภิปรายการบริหารราชการแผ่นดิน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม
นายศักดิ์สยาม ระบุว่า การปฏิบัติงานของกระทรวงคมนาคม เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยึดหลักกฎหมาย และหลักธรรมาภิบาล จึงขอให้สบายใจได้ว่า ทุกขั้นตอนของกระทรวงคมนาคม ยึดหลักประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ
พร้อมกันนี้ ยังได้ให้รายละเอียดถึงภาพรวมการดำเนินงานของกระทรวง โดยเฉพาะการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงทั้งภายในประเทศไทย และเชื่อมโยงโลก
คมนาคม ถือเป็นกระทรวงหลัก ที่ดูแลรับผิดชอบโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่แม้ว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยจะเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 แต่กระทรวงก็ไม่ได้หยุดทำงาน เพราะการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และการขนส่ง จะทำให้ไทยสามารถฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ได้
ที่ผ่านมา กระทรวงได้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การแก้ปัญหาการจราจรบนถนนพระรามสอง ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการใดที่ติดปัญหาและอุปสรรค จะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน และเตรียมการดำเนินการไว้ ทั้งหมดยึดหลักสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เสียค่าใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล บูรณาการทั้งทางถนน ทางน้ำ ทางราง ทางอากาศ เข้าด้วยกัน
นายศักดิ์สยาม ยังใด้ชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายเสนอแนะ ดังนี้
การเดินทางของคนในเมือง “ระบบตั๋วร่วม” ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เพื่อนสมาชิกระบุว่า มีการดำเนินการล่าช้า
โครงการของกระทรวงคมนาคม เป็นโครงการขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้เวลา ไม่สามารถทำได้ทันใจ เพราะมีกฎหมาย และระเบียบที่ต้องปฏิบัติอย่างรอบคอบ
นอกจากนั้น ต้องตามแก้ปัญหาในอดีต เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแล เช่น กรมการขนส่งทางราง มีการตั้งขึ้นสำเร็จในรัฐบาลนี้ แต่การดำเนินการดังกล่าว เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีสัญญาสัมปทานไปแล้วหลายเส้นทาง
เมื่อยังไม่มีกฎหมาย จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเจรจาต่อรองแต่เพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้ทันที พร้อมย้ำว่า ระบบตั๋วร่วมนี้พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาค่าโง่ ซึ่งตนยืนยันว่าจะไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมาอีก
อย่างไรก็ตาม คมนาคมได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. … คาดว่าจะเสนอ ครม. ภายในกลางปี 2565 มีการจัดให้มีระบบฟีดเดอร์ ทั้งรถเมล์ EV และเรือ EV โดย ขสมก.จัดหารถ EV-Bus 2,511 คัน และดำเนินโครงการจ้างเอกชนเดินรถ 1,500 คันแบบพลังงานสะอาด มีแผนการเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ-ราง-เรือ W-Map จำนวน 50 จุด จะทำให้พี่น้องประชาชนสามารถเดินทางเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น
การคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระหว่างเมือง
กระทรวงคมนาคม เร่งรัดระบบรถไฟทางคู่ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า โดยจะสามารถลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศ รถไฟทางคู่นี้ จะเชื่อมโยงจากด้านตะวันออกสู่ตะวันตก จากภาคเหนือสู่ภาคใต้ และเชื่อมต่อระบบขนส่งทางรางไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งยังมีแผนพัฒนาท่าเรือบก เพื่อขนตู้คอนเทนเนอร์ไปสู่รถไฟ โดยสำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร สนข.จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือทางบกแล้วเสร็จ และการท่าเรือแห่งประเทศไทย กำลังทำการศึกษาจัดทำรายงาน PPP ตาม พ.ร.บ. เพื่อจะทำการลงทุนระหว่างภาครัฐ และเอกชน ซึ่งคาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้ระบบการขนส่งทางรางมากขึ้น
การเตรียมการเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย-ลาว-จีน แบบไร้รอยต่อ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานดำเนินการ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายกระทรวงเป็นองค์ประกอบ เพื่อบูรณาการตามแผนงาน
อย่างไรก็ตาม รถไฟของประเทศไทยสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟจีน-ลาว ได้อยู่แล้ว มีการเชื่อมโยงขนส่งสินค้าทุกวัน โครงสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้
ดังนั้น ความกังวลเรื่องการเชื่อมต่อเหล่านี้ ยืนยันว่าไม่มีปัญหา มีความพร้อมในฝั่งดีมานด์ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทางฝั่งลาวยังไม่เปิดให้คนเข้าไปได้ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการเจรจากันอย่างต่อเนื่อง
เมื่อลาวเปิดพรมแดนเมื่อใด คมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปประสานงานทันที เพื่อให้ประชาชนของทั้ง 3 ประเทศ สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้รวมถึงสินค้าทั้งหมด
ส่วนการเปลี่ยนถ่ายสินค้า วางพื้นที่ไว้ที่ย่านนาทา จังหวัดหนองคาย และจะดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ แห่งที่ 6 ให้สามารถรองรับรถยนต์ รถบรรทุก และรถไฟ ซึ่งขณะนี้ได้ข้อตกลงว่าฝ่ายไทย และลาวจะออกค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย
สำหรับกรณีที่นายไชยา พรหมา ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้สอบถามถึงการวางแผนการเชื่อมต่อนั้น ทางกระทรวงดำเนินการไว้หมดแล้ว และยังวางแผนเชื่อมต่อโลจิสติกส์ฮับ ที่สถานีนาทา และก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งจะเชื่อมเส้นทางไปยังนิคมอุตสาหกรรม ที่ จังหวัดอุดรธานีด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อให้ที่ได้ประโยชน์สูงสุด
นายศักดิ์สยาม เปิดเผยด้วยว่า กระทรวงคมนาคมได้นำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อยกระดับการคมนาคมขนส่ง เช่น ระบบ M-Flow นำร่องแล้ว ที่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เพิ่มความรวดเร็วในการเดินทางผ่านด่าน ซึ่งเตรียมขยายผลไปยังโครงการของการทางพิเศษ และมอเตอร์เวย์ ในที่ต่าง ๆ ต่อไป
อีกทั้ง การนำระบบ AI มาใช้ในท่าอากาศยาน เช่น มีระบบ Auto Bag-drop ระบบ One ID แอพพลิเคชั่น “สวัสดี” ของ AOT รองรับ New Normal เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานหลัก นำมาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ
ท้ายสุด นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงการลงทุนของกระทรวงคมนาคมในปี 2565 ว่า จะมีการดำเนินการทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมเม็ดเงินในการลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท มีการลงนามในสัญญาผูกพันแล้วบางส่วน ซึ่งจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ จะทำให้จีดีพีของประเทศโตขึ้นตามที่คาดไว้กว่า 1-3% หรือ 4 แสนล้านบาทต่อปี

https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/politics/810251/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2022 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เร่ง ทล.ออกแบบ MR-Map 3 เส้นทางนำร่อง เน้นแนวตัดตรงและสั้น เซตตัวเลขลงทุนเตรียมประมูล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:39 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:39 น.

“ศักดิ์สยาม” เร่ง ทล.ออกแบบ MR-Map 3 เส้นทางนำร่อง "นครราชสีมา-แหลมฉบัง/นครราชสีมา-อุบลราชธานี /ชุมพร-ระนอง" เน้นการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า ลดผลกระทบ แนวสั้นและตัดตรง ศึกษาลงลึกกำหนดกรอบวงเงินลงทุน เดินหน้าหาผู้รับจ้างโครงการให้เกิดเป็นรูปธรรม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2565 ได้ติดตามความคืบหน้าในการประชุมขับเคลื่อนการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่าย MR-Map ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-Map) ของกรมทางหลวง (ทล.) โดยปัจจุบัน ทล.ได้จัดทำร่างแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-Map) แล้วเสร็จ 10 เส้นทาง โดยมีการปรับแนวเส้นทางบางช่วงทำให้มีระยะทางรวมประมาณ 7,003 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบรางมีระยะทางทั้งหมด 4,321 กิโลเมตร แบ่งเป็นแนวเหนือ-ใต้ จำนวน 3 เส้นทาง แนวตะวันออก-ตะวันตก จำนวน 6 เส้นทาง และวงแหวนรอบกรุงเทพมหานครรอบที่ 3 จำนวน 1 เส้นทาง

ผลการดำเนินงานในโครงการนำร่องฯ จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง MR 2 กรุงเทพฯ/ชลบุรี (แหลมฉบัง)-หนองคาย (ด่านหนองคาย) ช่วงนครราชสีมา-แหลมฉบัง เส้นทาง MR5 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา-อุบลราชธานี และเส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบเส้นทางเบื้องต้น

และจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น โดยผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการโดยบูรณาการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง แต่ยังมีข้อกังวลในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1. โครงข่ายแนวเส้นทางควรหลีกเลี่ยงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ชุมชนเมืองให้มากที่สุด โดยควรพิจารณาให้รอบคอบเรื่องการเวนคืนพื้นที่พร้อมกันทั้งมอเตอร์เวย์และระบบราง และความเป็นไปได้ทางกฎหมายร่วมด้วย และการจัดลำดับความสำคัญของแผนแม่บท เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนและประชาชน

2. ประเด็นการออกแบบแนวเส้นทาง โดยในการออกแบบมอเตอร์เวย์ควรมีถนนบริการและจุดกลับรถในพื้นที่ที่ผ่านชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการเข้า-ออกพื้นที่ ควรมีการออกแบบเป็นทางยกระดับในพื้นที่ที่ต้องผ่านชุมชนหรือพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่มต่ำ และสิ่งสำคัญในการออกแบบ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อพื้นที่ระบายน้ำ/พื้นที่น้ำท่วม อีกทั้งขอให้พิจารณาการใช้เขตทางให้เหมาะสมทั้งมอเตอร์เวย์และทางรถไฟ

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้สั่งการเน้นย้ำเรื่องการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า ลดผลกระทบต่อประชาชน และเส้นทางที่ออกแบบจะต้องสั้นและตัดตรง ซึ่งจะต้องพิจารณาการใช้โครงสร้างอุโมงค์และสะพานบกเพื่อทำให้เส้นทางมีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย โดยพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้รอบด้าน โดยโครงการที่จะเป็นโครงการนำร่องทั้ง 3 เส้นทาง ทล.จะต้องดำเนินการออกแบบในขั้นตอนการเสนอแบบเบื้องต้น (Definitive Design) ให้แล้วเสร็จ เพื่อที่จะสามารถกำหนดกรอบวงเงินการลงทุนที่ชัดเจน ที่สามารถใช้ประกอบกับเอกสารเชิญชวนผู้รับจ้างเพื่อที่จะผลักดันโครงการให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ทั้งนี้ ให้เน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เช่น การสร้างความรับรู้ของประชาชน การทำ Roadshow ของโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะเส้นทาง MR8 (Landbridge ชุมพร-ระนอง) เพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/03/2022 7:38 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม” เร่ง ทล.ออกแบบ MR-Map 3 เส้นทางนำร่อง เน้นแนวตัดตรงและสั้น เซตตัวเลขลงทุนเตรียมประมูล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:39 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:39 น.

ผ่าโครงข่าย MR-MAP บูม "EEC-SEC แสนล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, March 09, 2022 05:54

"คมนาคม"เดินหน้าสร้าง MR-MAP 10 เส้นทาง 7,003 กม. เชื่อมโครงข่ายมอเตอร์เวย์ร่วมรถไฟ 4,321 กม. เล็ง 4 เส้นทางหลัก เชื่อมขนส่งเศรษฐกิจเปิดทำเลทอง พื้นที่อีอีซี-SEC ภาคใต้ ประเดิมเส้นทางชุมพร-ระนอง 114 แสนล้าน ลดเวนคืน 2 พันไร่ อัพเกรดแลนด์บริดจ์"

กระทรวงคมนาคมเร่งรัดจัดทำแผนแม่บทพัฒนาโครงการ MR-MAP 10 เส้นทาง 7,003 กิโลเมตร(กม.) เชื่อมโยงระหว่างเส้นทางของถนนหรือทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และระบบรางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาอุบัติเหตุการจราจรติดขัดบนทางหลวงของไทยในปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังเพิ่มศักยภาพการพัฒนาเชิงพาณิชย์ กระจายความเจริญเข้าสู่พื้นที่ อย่างไรก็ตาม แผนศึกษาดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2565 ปัจจุบันอยู่ระหว่างประเมินมูลค่าโครงการ ทั้งนี้เฉพาะโครงการนำร่อง เส้นทางชุมพรระนอง มีมูลค่าสูงถึง 1.14 แสนล้านบาท เนื่องจากรวมโครงการแลนด์บริดจ์เข้าด้วยกัน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ความคืบหน้าผลศึกษาพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) ว่าปัจจุบันกรมทางหลวง (ทล.) อยู่ระหว่างประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายละเอียดแผนแม่บทโครงการดังกล่าว ซึ่งตามเป้าหมายกระทรวงฯ คาดว่าจจะสามารถสรุปได้ภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการในขั้นตอนจัดหาเอกชนร่วมลงทุน

สำหรับแผนแม่บทดังกล่าวกระทรวงฯ จะศึกษาพัฒนามอเตอร์เวย์บูรณาการคู่ไปกับรถไฟทางคู่ 10 เส้นทาง ตั้งแต่เหนือจรดใต้ (N-S Corridors) และตะวันออกจรดตะวันตก (E-W Corridors) และเชื่อมกับเส้นทางรางรถไฟจะรองรับรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และรถไฟสายใหม่ ที่จะทยอยดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ ปี 2566-2580

ที่ผ่านมาที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบร่างโครงข่ายแผนแม่บท MR - Map ที่กระทรวงคมนาคมเคยนำเสนอแนวเส้นทางดังกล่าว รวมทั้งเห็นชอบผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) พิจารณาผลักดันแผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป

ทั้งนี้แนวเส้นทาง MR-MAP ทั้งหมดมีระยะทาง 7,003 กิโลเมตร (กม.) โดยพัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง 4,321 กิโลเมตร (กม.) ส่วนแผนดำเนินการระยะแรก กระทรวงฯจะผลักดันพัฒนา 4 เส้นทางแรกที่มีศักยภาพ และจะสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง ประกอบไปด้วย 1. เส้นทาง MR2 กรุงเทพฯ/ชลบุรี (แหลมฉบัง)-หนองคาย (ด่านหนองคาย) ช่วงนครราชสีมา-แหลมฉบัง 2.เส้นทาง MR5 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา-อุบลราชธานี 3.เส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง และ 4.เส้นทาง MR10 เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ด้านความคืบหน้าล่าสุดการศึกษาในเส้นทางศักยภาพสูงอย่างเส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง มีความชัดเจนในส่วนของแนวเส้นทางแล้ว โดยจะมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณแหลมริ่ว ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และสิ้นสุดโครงการที่บริเวณอ่าวอ่าง ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง โดยจะก่อสร้างมีทางเข้าออก 3 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 3 แห่ง ศูนย์บริการทางหลวง 1 แห่ง สถานกที่บริการทางหลวง 1 แห่ง และจุดพักรถ 1 แห่ง

ขณะเดียวกันจากผลการศึกษายังประมาณราคาของแนวเส้นทางเบื้องต้น ช่วงแหลมริ่ว-อ่าวอ่าง วงเงินลงทุน 114,775 ล้านบาท แบ่งเป็น ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 91 กิโลเมตร (กม.) เป็นค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1,970 ล้านบาท ราคาค่าก่อสร้าง 66,690 ล้านบาท รวม 68,660 ล้านบาท ส่วนทางรถไฟจะก่อสร้าง 91 กิโลเมตร (กม.) รวมใช้งบประมาณ 46,115 ล้านบาท เป็นค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 330 ล้านบาท และราคาค่าก่อสร้างโครงการอีก 45,785 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของการพัฒนาโครงการ MR-MAP ชุมพร - ระนอง จะลดพื้นที่การเวนคืนที่ดินประมาณ 2,000 ไร่ เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีกการบูรณาการมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง รวมทั้งจะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้งอ่าวไทยและอันดามันตามนโยบายแลนด์บริดจ์ ช่วยให้เกิดความรวดเร็วและความปลอดภัยในการขนส่ง เชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งระหว่างพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) และพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ระบุว่าโครงข่ายดังกล่าว ส่งผลดีก่อให้เกิดทำเลทองที่อยู่อาศัยใหม่ ขยายไปตามแนวเส้นทาง โดยเฉพาะโซนอีอีซีและพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคใต้ ที่รัฐมีแผนลงทุนก่อน

"โครงข่ายดังกล่าวส่งผลดีก่อให้เกิดทำเลทองที่อยู่อาศัยใหม่ ขยายไปตามแนวเส้นทางโดยเฉพาะโซนอีอีซี และพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคใต้"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 - 12 มี.ค. 2565

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2022 5:36 am    Post subject: Reply with quote

^^^^
ลิงก์มาแล้วครับ

ผ่าโครงข่าย MR-MAP บูม “EEC-SEC”แสนล้าน
หน้าเศรษฐกิจMega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพุธ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:58 น.
https://www.thansettakij.com/economy/516775
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/03/2022 10:14 am    Post subject: Reply with quote

รบ.เผยโครงข่ายพื้นฐานคมนาคมไทย “บก-ราง-น้ำ-อากาศ” ก้าวหน้าเป็นรูปธรรม
กรุงเทพธุรกิจ 23 มี.ค. 2565 เวลา 10:04 น.

รบ.เผยโครงข่ายพื้นฐานคมนาคมไทย “บก-ราง-น้ำ-อากาศ” ก้าวหน้าเป็นรูปธรรม
โฆษกรัฐบาล เผยโครงข่ายพื้นฐานคมนาคมไทย “บก-ราง-น้ำ-อากาศ” พัฒนาก้าวหน้าเป็นรูปธรรม พร้อมรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะยาว ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และโครงสร้างขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โครงข่ายด้านการสื่อสาร ระบบคมนาคมขนส่งทั้งทางราง ทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ รวมถึงการเกิดของนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศ

นายธนกรกล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปในทิศทางที่ดีมากยิ่งขึ้นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขนส่งทางราง (รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง) การเปิดประมูลและให้บริการรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ การพัฒนาโครงข่ายถนน เช่น การสร้าง Motorway การพัฒนาท่าเรือ รวมถึงการพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือ SEZ

โดยออก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปี 2561 เพื่อรองรับการดำเนินการที่สำคัญในอนาคต เช่น เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย เมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อให้คนไทยมีความสุข อยู่ดี กินดี สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม รัฐบาลได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดโครงข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์ในประเทศและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทาง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจไทย

ซึ่งโครงการต่าง ๆ มีความคืบหน้าค่อนข้างมาก หลายโครงการเป็นการลงทุนต่อเนื่อง เมื่อโครงการต่าง ๆ แล้วเสร็จ จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกับนานาประเทศได้ และประชาชนคนไทยจะได้รับประโยชน์จากแผนการการลงทุนด้านคมนาคม โดยเฉพาะในเชิงเศรษฐกิจจากเม็ดเงินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม

ซึ่งในปี 2565 ประเทศไทยจะมีโครงการลงทุนทั้งทางบก ทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ในวงเงินสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย โครงการที่ได้ลงนามสัญญาแล้ว 516,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 974,000 ล้านบาท ด้วยวงเงินการลงทุนที่สูงนี้ มีการคาดการณ์เบื้องต้นว่าจะก่อให้เกิด การจ้างงานประมาณ 154,000 ตำแหน่ง และมีส่วนที่จะต้องจัดหาวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ รวมทั้งเครื่องจักรและยานพาหนะะต่าง ๆ ประมาณ 1.24 ล้านล้านบาท จะทำให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ หรือ Multiply Effect ประมาณ 4 แสนล้านบาท/ปี หรือคิดเป็น 2.35% ของ GDP

“รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นจักรกลที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจากช่วยยกระดับความสามารถ เพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมการผลิตในรูปแบบเดิม เพิ่มระดับในขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และดึงเม็ดเงินลงทุนใหม่ ๆ รวมถึง Supply chain จากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ซึ่งจะต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ให้เติบโตตามมา เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Logistics และการคมนาคมขนส่ง โดยรัฐบาลได้ดำเนินการปลดล็อคข้อจำกัดต่างๆ ในการประกอบกิจการ เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน รวมถึงช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท” นายธนกร กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/05/2022 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

กพศ.เห็นชอบประกาศระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค นายกฯสั่งเร่งเครื่อง
กรุงเทพธุรกิจ 05 พ.ค. 2565 เวลา 15:40 น.

กพศ. เห็นชอบการประกาศพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค นายกฯ ย้ำเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ฟื้นฟูประเทศจากสถานการณ์โควิด-19 เน้นดำเนินงานตามแผน เพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาล

วันนี้ (5 พ.ค.65) เวลา 09.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ครั้งที่ 1/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (VDO Conference) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วมด้วย นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และฟื้นฟูประเทศจากสถานการณ์โควิด -19 เพื่อให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า รวมทั้งการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง-ตะวันตก และภาคใต้) ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อทำให้ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตพร้อมเพรียงกันทุกภาค อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยพัฒนาฐานเศรษฐกิจในประเทศให้เจริญเติบโตและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคด้วย ขณะเดียวกันต้องเร่งหารายได้เข้าประเทศให้มากขึ้น ควบคู่กับการสร้างเศรษฐกิจใหม่ของประเทศให้เพิ่มขึ้นและทำให้ทุกพื้นที่มีการเจริญเติบโตที่ใกล้เคียงกัน


ดังนั้น จึงขอให้ทุกภาคส่วนทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ช่วยกันประสานงานขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องต่อไปตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล

พร้อมทั้ง นายกรัฐมนตรีกำชับให้ทุกหน่วยงานนำนโยบายแปลงไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมให้ได้ และให้มีการติดตามประเมินผลเพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบรรลุเป้าหมายตามแผนที่กำหนดไว้ โดยย้ำเรื่องใดที่ติดขัดอุปสรรค ข้อกฎหมาย หรือกติกาในพื้นที่ ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาเพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมีก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ


นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปหาแนวทางในการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามแนวเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ และตามแนวเส้นทางรถไฟต่าง ๆ มาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับประเทศ รวมไปถึงจะเป็นการกระจายความเจริญและกระจายคนจากเมืองใหญ่ไปสู่พื้นที่นอกเมืองและภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศด้วย ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่มีอยู่ โดยให้พิจารณาดำเนินการในพื้นที่มีศักยภาพและสามารถดำเนินการได้ให้ดำเนินการก่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม


พร้อมกันนี้ ขอให้มีการพัฒนาเตรียมแรงงานของประเทศและบริหารจัดการแรงงานทั้งในประเทศและแรงงานต่างประเทศให้เพียงพอ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค รวมไปถึงให้เร่งส่งเสริมขับเคลื่อนให้เกิดวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ให้ได้ตามศักยภาพที่แต่ละพื้นที่มีอยู่ โดยการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม และมีการดูแลเรื่องที่พักที่ปลอดภัยให้กับแรงงานเพื่อให้คนกลับไปทำงานในพื้นที่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ในภูมิภาคต่าง ๆ เกิดการสร้างงาน อาชีพ และรายได้ในพื้นที่ให้กับแรงงานในประเทศอันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในที่สุด

นายกรัฐมนตรี ย้ำว่าต้องมีการพัฒนาและใช้ศักยภาพแต่ละพื้นที่ให้เกิดประโยชน์รวมถึงการดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนและเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของโลก

โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการดำเนินการและคำนึงถึงการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามนโยบายรัฐบาล พร้อมสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศเข้มแข็ง และมีการพัฒนาด้านการตลาดที่ตอบสนองตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์เพื่อเพิ่มมูลค่าและจำหน่ายได้มากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำการดำเนินงานต้องเป็นไปตามแผนและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ทางกายภาพ การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) การพัฒนาตามแนวชายแดน รวมทั้งการลงทุนด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการวางแผนในระยะยาวสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่วางไว้อย่างยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยและสถานการณ์โลกได้ตลอดเวลา

พร้อมกล่าวว่า สิ่งสำคัญคือการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และสร้างความร่วมมือระหว่างกันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน โดยการดำเนินการต่าง ๆ ประชาชนต้องได้รับประโยชน์มากที่สุด ควบคู่ไปกับการลงทุนของภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางดิจิทัลออนไลน์ การสร้างสร้างอาชีพ พัฒนาแรงงาน ในพื้นที่เศรษฐกิจของแต่ละภาค รวมทั้งแนวชายแดน พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน ปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติ

สำหรับที่ประชุม กพศ. มีการพิจารณาและเห็นชอบในประเด็นสำคัญสรุปดังนี้

1. เห็นชอบการประกาศพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค และให้นำเรื่องการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยกำหนดให้พื้นที่

จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor : NEC – Creative LANNA เพื่อยกระดับให้เป็นพื้นที่ลงทุนด้านการพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน
จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคายเป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern Economic Corridor : NeEC – Bioeconomy เพื่อพัฒนาให้เป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง - ตะวันตก หรือ Central - Western Economic Corridor : CWEC เพื่อพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำในด้านอุตสาหกรรมเกษตรการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูงระดับมาตรฐานสากล เชื่อมโยงกรุงเทพฯ พื้นที่โดยรอบ และ EEC
จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor : SEC เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศและประเทศในภูมิภาค ฝั่งทะเลอันดามัน และเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง รวมทั้งเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวระดับนานาชาติ

ทั้งนี้ กพศ. มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์ กำหนดพื้นที่และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน และผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกระทรวงมหาดไทย ร่วมเป็นฝ่ายเลขานุการ เร่งพิจารณากำหนดกิจการเป้าหมาย และสิทธิประโยชน์ รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกการลงทุนให้ผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษแต่ละแห่ง และได้เห็นชอบให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามองค์ประกอบของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษใน 5 ด้าน ประกอบด้วย

การให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ
การพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ
การวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับเขตตรวจราชการกำกับการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจในแต่ละภาคตามองค์ประกอบดังกล่าว โดยให้นำความก้าวหน้าการดำเนินงานมารายงานต่อ กพศ. โดยเร็วต่อไป

2. เห็นชอบการขยายระยะเวลาสิทธิประโยชน์การยกเว้นค่าเช่าที่ดินราชพัสดุในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากหนองคาย มุกดาหาร นครพนม และกาญจนบุรี จากเดิม ระยะเวลาสิ้นสุดภายในปี 2563 เป็น ให้สิ้นสุดภายในปี 2566 เพื่อเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดยหากเอกชนลงทุนภายในปี 2565 จะได้รับการยกเว้นค่าเช่าเป็นเวลา 2 ปี และหากเอกชนลงทุนภายในปี 2566 จะได้รับการยกเว้นค่าเช่า 1 ปี และมอบหมายให้กรมธนารักษ์ดำเนินการเปิดประมูลที่ราชพัสดุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก หนองคาย และมุกดาหารตามกรอบเวลาที่ได้กำหนดไว้

3. เห็นชอบการปรับปรุงแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม ประกอบด้วย โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR – Map) จำนวน 10 เส้นทาง มีระยะทางรวม 6,530 กิโลเมตรเพื่อรองรับการพัฒนาและเชื่อมโยงฐานการผลิตและบริการกับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศและโครงการถนนสาย ทล. 2 – สถานีรถไฟนาทา อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย และรองรับขนส่งสินค้าทางรถไฟ

4. เห็นชอบแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมุ่งเน้นการตลาด การประชาสัมพันธ์ และ Roadshow เพื่อสร้างโอกาสของประเทศไทยในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจของโลกเผชิญกับความผันผวนและห่วงโซ่อุปทานเกิดความเปลี่ยนแปลงในแต่ละภูมิภาค นอกจากนี้ให้สร้างการรับรู้ต่อสาธารณะเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง ปัจจุบันมีการลงทุนของภาคเอกชนแล้วประมาณ 36,882 ล้านบาท โดยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ปี 2563 –ปัจจุบัน) ยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกิจการถุงมือยางและการผลิตไฟฟ้าจากขยะ และภาครัฐได้มีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรซึ่งมีความก้าวหน้ากว่าร้อยละ 89 โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2570 โดยโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ เช่น ทางหลวงหมายเลข 12 ตาก-แม่สอด สะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 ด่านพรมแดนแม่สอดแห่งที่ 2 อาคารท่าอากาศยานแม่สอด (เขตฯ ตาก) ด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ (เขตฯ สงขลา) ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ (เขตฯ เชียงราย) นิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว (เขตฯ สระแก้ว) และนิคมอุตสาหกรรมสงขลา (เขตฯ สงขลา) เป็นต้น และกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งรัดการดำเนินโครงการตามมติ กพศ. เช่น การก่อสร้าง ทล.3646 อ.อรัญประเทศ – ชายแดนไทย/กัมพูชา (บ.หนองเอี่ยน - สตึงบท) ช่วงแยก ทล.33 บรรจบ ทล.3586 ให้เป็นขนาด 4 ช่องจราจร การก่อสร้างถนนแยก ทล.4 - ด่านสะเดา แห่งที่ 2 การพัฒนาถนนเข้าพื้นที่พัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคายและมุกดาหาร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/05/2022 8:20 am    Post subject: Reply with quote

“ทลฉ.เฟส 3”ส่อหลุดเป้า งานถมทะเลล่าช้า น้ำมัน-เหล็กแพง ราคากลางงานสาธารณูปโภคพุ่ง 7 พันล.
เผยแพร่: 23 พ.ค. 2565 07:07 ปรับปรุง: 23 พ.ค. 2565 07:07 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

กทท.เร่งทีโออาร์ ระบบสาธารณูปโภค แหลมฉบังเฟส 3 ตั้งเป้าประมูลในก.ค.นี้ ราคากลางใหม่พุ่งเกิน 7 พันล้านบาท เหตุ เงินเฟ้อ น้ำมัน-เหล็กขยับขึ้น ส่วนงานถมทะเล สร้างเขื่อนสุดอืดผ่าน 1 ปี คืบหน้าไม่ถึง 10% หวั่นกระทบส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม GPC และอาจต้องเลื่อนเปิดบริการ

นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้างานโครงสร้างพื้นฐานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ว่า การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 กทท.เป็นผู้ดำเนินการเอง มีจำนวน 4 งานได้แก่ 1. การก่อสร้างทางทะเล เป็นงานขุดลอกถมทะเล สร้างเขื่อนกันคลื่น อยู่ระหว่างเร่งรัดการก่อสร้าง 2. งานก่อสร้างอาคารท่าเทียบเรือ ระบบถนนและระบบสาธารณูปโภค ได้รับความเห็นชอบจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแล้ว กทท.อยู่ระหว่างจัดทำร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) คาดว่าเดือนมิ.ย. -ก.ค. นี้ จะเริ่มขั้นตอนการประกวดราคาได้

3. งานก่อสร้างระบบรถไฟ และ 4. งานจัดหาประกอบและติดตั้งเครื่องจักรและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ในลำดับต่อไป ภายในปี 2565 นี้

@งานถมทะเลดีเลย์หนัก ผ่าน 1 ปี คืบไม่ถึง10% เสี่ยงส่งมอบพื้นที่สัมปทานไม่ทัน

รายงานข่าว แจ้งว่า กทท.ได้ลงนามสัญญากับกิจการร่วมค้า ซีเอ็นเอ็นซี (CNNC)ประกอบด้วย บริษัท เอ็น.ที.แอล.มารีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ. พริมามารีน บริษัท นทลิน จำกัด และ บริษัท จงก่าง คอนสตรั๊คชั่น กรุ๊ปจำกัด (ประเทศจีน) วงเงิน 21,320 ล้านบาท เป็นผู้รับจ้าง การก่อสร้างทางทะเล เป็นงานขุดลอกถมทะเล สร้างเขื่อนกันคลื่น วงเงิน 21,320 ล้านบาท เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2563 ระยะเวลาสัญษ 4 ปี โดยมีการออกหนังสือเริ่มงาน ( NTP) เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564

ซึ่งขณะนี้ พบว่า งานก่อสร้างมีความล่าช้าจากแผนประมาณ 12 เดือนแล้ว โดยตามเงื่อนไขสัญญากำหนด Key Date การทำงานเป็น 3 ช่วง คือ 1. ครบ 1 ปี หลังจากออก NTP หรือวันที่ 5 พ.ค. 2565 จะต้องก่อสร้างและส่งพื้นที่ถมทะเล ในโซน A จำนวน 3 แสนลูกบาศก์เมตร โดยขณะนี้ผลงานอยู่ที่ 3 หมื่นลูกบาศก์เมตรเท่านั้น คืบหน้าไม่ถึง 10% ขณะที่การเบิกจ่ายเงิน ทำได้เพียง 2% ต่ำกว่าแผนงานที่กำหนดไว้ 30%

ล่าสุด งาน Key Date ที่ 1 ล่าช้าและเข้าเงื่อนไขบทปรับวันละ 1.5 แสนบาท ซึ่งกทท.ได้ทำหนังสือแจ้งสงวนสิทธิ์ไปแล้วจนกว่าบริษัท จะส่งมอบงานได้ครบตามสัญญา ซึ่งในกรณีนี้ ทางเอกชนสามารถขอใช้เงื่อนไข กรณีที่มีสถานการณ์โควิด -19 แต่ถึงแม้จะไม่โดนปรับแต่ในเรื่องการทำงานจะต้องเร่งรัดเพราะระยะเวลาในสัญญาไม่สามารถขยายได้

ในขณะที่ Key Date ที่ 2 กำหนดไว้ในเดือนพ.ย.2565 ต้องส่งมอบพื้นที่ถมทะเลอีก 1 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีบทปรับ วันละ 5 แสนบาท และ Key Date ที่ 3 กำหนด ภายใน2 ปี เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้รับสัมปทาน โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ระยะที่ 1 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F เข้าดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือ ลานวางตู้ อาคารสำนักงาน ติดตั้งเครื่องมือ เพื่อเปิดดำเนินการในปลายปี 2568

แหล่งข่าวกล่าวว่า กทท.จะต้องเร่งแก้ปัญหาการก่อสร้างโดยด่วน เพราะจะมีผลต่อสัมปทาน และการสร้างรายได้ไม่เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน และ อาจส่งผลให้เอกชนฟ้องกทท.กรณีไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ได้ตามเงื่อนไข หรือ สุดท้ายอาจต้องเจรจาเพื่อแก้ไขสัญญา ซึ่งทำให้กระทบต่อผลประโยชน์ของรัฐ

@ราคาเหล็ก-น้ำมันพุ่ง ปรับราคากลาง”งานอาคาร-ถนนและระบบสาธารณะสูปโภค กว่า 7 พันล.

สำหรับงานก่อสร้างอาคารท่าเทียบเรือ ระบบถนนและระบบสาธารณูปโภคนั้น อยู่ระหว่างเตรียมประกาศร่างทีโออาร์ใหม่ หลังจากที่ต้องยกเลิกประกาศก่อนหน้านี้ ซึ่งจากเศรษฐกิจ ปัจจุบันที่มีภาวะเงินเฟ้อ ต้นทุนราคาน้ำมัน เหล็กและวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้ต้องปรับเพิ่มวงเงินดำเนินการจาก 6,502 ล้านบาท ขึ้นเป็น 7,100-7,200 ล้านบาท

ส่วนงานที่ 3. งานก่อสร้างระบบรถไฟ วงเงิน 600 ล้านบาท และ 4. งานจัดหา ประกอบและติดตั้งเครื่องจักรและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ วงเงิน 2,200 ล้านบาท จะต้องทบทวนราคากลางใหม่ เช่นกัน โดยคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปลายปี 2565

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 กทท.เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ ซึ่งได้แยกงานโครงสร้างพื้นฐาน การถมทะเล ก่อสร้างท่าเรือมาดำเนินการประมูลเอง แยกจากสัญญาสัมปทานร่วมลงทุน (PPP) การบริหาร อยู่ภายใต้ อีอีซี ซึ่งแตกต่างจาก โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ซึ่ง ผู้รับสัมปทานเป็นผู้ดำเนินการทั้งงานโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารท่าเรือ ทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 121, 122, 123  Next
Page 122 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©