Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269108
ทั้งหมด:13580395
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 80, 81, 82 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2016 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้นครม.อนุมัติระบบราง ครบเซตทางคู่-รถไฟฟ้า-รถไฟเชื่อมพื้นที่ในกทม.
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
17 มิถุนายน พ.ศ. 2559
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,166 วันที่ 16 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

“คมนาคม”ผลักดันโครงข่ายระบบรางในกทม.ล็อตใหญ่ ครบเซตทั้งรถไฟฟ้าของรฟม.3 เส้น และสายสีแดงเข้ม-อ่อนของร.ฟ.ท. แอร์พอร์ตลิงค์ช่วง พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมืองพร้อมรถไฟทางคู่อีก 4 เส้นทาง ก่อนจัดประกวดราคาให้แล้วเสร็จช่วงปลายปี 59 รวมวงเงินลงทุนปลายปีนี้ทะลุ 2.6 แสนล้านบาทจากเมกะโปรเจ็กต์ระบบราง

งบลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ระบบรางที่ลุ้นครม.อนุมัติภายในปลายปี 2559
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟช่วงมิสซิ่งลิงค์ที่ประกอบไปด้วยสายสีแดงอ่อน(ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก) และสายสีแดงเข้ม(ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง) ระยะทางประมาณ 25.9 กิโลเมตร วงเงิน 4.4 หมื่นล้านบาท และแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ(วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท) ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง (วงเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท)รวมมูลค่าทั้ง 3 โครงการกว่า 7.4 หมื่นล้านบาทว่า อยู่ระหว่างการเร่งรัดโครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน( มิสซิ่งลิงค์)ซึ่งเป็นโครงข่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยจะมีการนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เรื่องความชัดเจนการก่อสร้างในช่วงพญาไท-บางซื่อ เนื่องจากมีการก่อสร้างรูปแบบการใช้ทางร่วมกันด้วย โดยจะมีการเคลียร์ความชัดเจนเรื่องแผนการก่อสร้างช่วงดังกล่าวเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาไปพร้อมกัน

โดยภายในเดือนกรกฎาคมนี้จะนำเสนอครม. พิจารณาซึ่งช่วงบางซื่อ-หัวลำโพงและบางซื่อ-หัวหมากจะเชื่อมต่อโซนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจะก่อสร้างในเส้นทางเดียวกันที่เรียกว่า “คลองแห้ง” ในช่วงพื้นที่สถานีรถไฟสามเสน ซึ่งขณะนี้โครงการสายสีแดงมิสซิ่งลิงค์มีความพร้อมแล้วรอเพียงโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมืองพร้อมเท่านั้นก็จะนำเสนอครม.พิจารณาไปพร้อมกัน

“การก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงค์นั้นจะเสนอให้ดำเนินการไปถึงดอนเมือง แต่สามารถแบ่งเฟสการก่อสร้างช่วงพญาไท-บางซื่อก่อนได้ ล่าสุดร.ฟ.ท.จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมเสนอสศช.ไปแล้ว ทั้งนี้ได้มีการแบ่งพื้นที่ช่วงหน้าสนามบินดอนเมืองเอาไว้แล้วว่าจะมีการใช้โครงสร้างร่วมกันอย่างไรบ้าง จึงต้องมีการนำเสนอตลอดทั้งสาย ส่วนการก่อสร้างจะแบ่งเฟสดำเนินการได้ โดยเส้นทางมิสซิ่งลิงค์และแอร์พอร์ตลิงค์นั้นการประกวดราคาจะดำเนินการได้ภายในปลายปีนี้ขณะนี้ได้สั่งให้จัดทำทีโออาร์พร้อมกัน”

สำหรับโครงการอื่นๆที่จะเร่งผลักดันนำเสนอครม.ต่อเนื่องกันไป ประกอบไปด้วย โครงการรถไฟทางคู่ 4 เส้นทางคือ เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท เส้นทางนครปฐม-หัวหิน วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้บอร์ดสศช.อยู่ระหว่างการพิจารณา เช่นเดียวกับเส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลนำเสนอสศช.

“ทั้ง 3 เส้นทางสายสีแดงและแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายนั้นตามแผนจะนำเสนอครม.ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ดังนั้นหากรวมรถไฟทางคู่เข้าไปด้วยจึงจะสามารถนำเสนอครม.พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการได้ทั้ง 6 โครงการ โดยจะสามารถจัดการประกวดราคาได้ภายในปลายปีนี้และเริ่มงานก่อสร้างได้ในปลายปี 2560 ต่อไป”

นายอาคมกล่าวอีกว่าในส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่นั้นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาของญี่ปุ่นอยู่ระหว่างคิดราคามานำเสนอ ซึ่งจะต้องรอความชัดเจนผลการศึกษาด้านการลงทุน

“จะใช้เงินลงทุนจากแหล่งใดบ้างนั้นขณะนี้ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ ซึ่งในการแบ่งตอนก่อสร้างอาจจะแบ่งเป็น 2 ช่วงดำเนินการคือกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และพิษณุโลก-เชียงใหม่ หรือหากจะให้เกิดขึ้นโดยเร็วอาจจะเลือกช่วงกรุงเทพฯไปถึงจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งของช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกไปดำเนินการก่อน ”

ด้านนายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกุล รองผู้ว่าการ(กลยุทธ์และแผน)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก(ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) วงเงิน 9.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ในส่วนสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) วงเงินรัฐลงทุนจ่ายค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 6,847 ล้านบาท และสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) รัฐลงทุนจ่ายค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 6,013 ล้านบาท นั้นคณะกรรมการตามมาตรา 35 อยู่ระหว่างการเร่งกำหนดเงื่อนไขเอกสารประกวดราคา ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯพ.ศ.2556 คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้และเริ่มก่อสร้างในปลายปี 2560

“ทั้ง 2 เส้นทางกับระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลรูปแบบร่วมลงทุนในเบื้องต้นได้กำหนดระยะเวลาโครงการไว้ 30 ปี บวกกับระยะเวลาการก่อสร้างอีก 3 ปี 3 เดือน ดังนั้นรวมทั้งโครงการจึงมีระยะสัมปทานทั้งสิ้น 33 ปี 3 เดือนคาดว่าจะโดนใจนักลงทุนได้ไม่มากก็น้อย”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/06/2016 8:27 am    Post subject: Reply with quote

ยันรถไฟไทย-จีน สร้างครบ 253 กม.
โพสต์ทูเดย์ 22 มิถุนายน 2559 เวลา 06:42 น.

“อาคม” ยืนยันสร้างรถไฟไทย-จีน ครบทั้งเส้นระยะทาง 253 กม. แต่ทำช่วงแรก 3.5 กม.ก่อน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ฝ่ายไทยและฝ่ายจีนเห็นร่วมกันว่าจะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงรวมระยะทางทั้งหมด 253 กิโลเมตร ไม่ใช่ 3.5 กิโลเมตร ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันในขณะนี้ และสาเหตุที่ตกลงที่จะสร้างก่อน 3.5 กิโลเมตร เนื่องจากทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าต้องการให้การก่อสร้างเริ่มขึ้นได้โดยเร็วตามที่ผู้นำทั้งสองฝ่ายตกลงไว้ คือ เริ่มสร้างเดือน ก.ย.นี้

“มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าไทยจะสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทางเพียง 3.5 กิโลเมตร ซึ่งไม่ใช่ โดยทั้งสองฝ่ายต้องการเริ่มก่อสร้างให้ได้ก่อนตั้งแต่เดือน ก.ย.นี้ และจะสร้างทั้งหมดรวมเป็นระยะทาง 253 กิโลเมตร” นายอาคม กล่าว

นายอาคม ย้ำว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง โดยช่วงแรกระยะทางก่อสร้าง 3.5 กม. ซึ่งทางจีนจะออกแบบรายละเอียดให้เสร็จภายในเดือน ก.ค. เปิดประมูล ส.ค. และก่อสร้างภายใน ก.ย. สาเหตุที่ต้องดำเนินการช่วงแรกก่อน เนื่องจากจีนเห็นว่าหากต้องออกแบบรายละเอียดทั้งหมดครบทั้งระยะทางจะต้องใช้เวลานานถึง 8 เดือน

นายอาคม กล่าวว่า การก่อสร้างเส้นทางรถไฟในระยะทางที่เหลือหรือในช่วง 2-4 ฝ่ายจีนจะต้องออกแบบอย่างต่อเนื่อง ส่วนการสรุปค่าก่อสร้างทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ และจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในเดือน ก.ค.นี้ คาดว่าวงเงินไม่เกิน 1.7 แสนล้านบาท

“ส่วนที่มีการสอบถามว่าหากยืดเวลาออกไป ราคาค่าก่อสร้างจะสูงขึ้นหรือไม่ ขอตอบว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามมาตรฐานราคากลางของไทย และตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไปฝ่ายไทยและฝ่ายจีนจะร่วมกันยกร่างสัญญางานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (EPC 1) และงานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (EPC2)” นายอาคม กล่าว

นายอาคม กล่าวอีกว่า ได้รายงานให้ที่ประชุม ครม.รับทราบความคืบหน้าการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา 7.66 หมื่นล้านบาท ซึ่งแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 40 ช่วง และจะเริ่มสร้างช่วงแรกในเดือน ก.ค.นี้ ส่วนมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี 4.91 หมื่นล้านบาท แบ่งการดำเนินงานเป็น 25 ช่วง คือ ปี 2559 จะประกวดราคาและเซ็นสัญญา 7 ช่วง และปี 2560-2561 อีก 18 ช่วง

นายอาคม ระบุว่า ยังไม่ได้เสนอโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-หัวหมาก ให้ ครม.พิจารณา เนื่องจากต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณาก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2016 2:36 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นสนรถไฟตะวันออก
โพสต์ทูเดย์
26 มิถุนายน 2559 เวลา 07:02 น.

“สมคิด” เตรียมหารือ ครม. 28 มิ.ย. ดันโครงการรถไฟอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ แจ้งเกิดหลังญี่ปุ่นสนใจลงทุนเพิ่ม

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานครบรอบ 100 ปีสถานีรถไฟกรุงเทพ ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 มิ.ย.นี้ กระทรวงคมนาคมจะนำแผนพัฒนาระบบคมนาคมภาคตะวันออกเข้าหารือเพื่อขอความชัดเจนในการดำเนินการ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างทางรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก (อีสต์-เวสต์ คอริดอร์) โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ แผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา รวมถึงการพัฒนาเส้นทางถนนและทางรางที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทูตของประเทศญี่ปุ่นได้มาเข้าพบและให้ความสนใจที่จะศึกษาเส้นทางรถไฟอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ เส้นทางน้ำพุร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่จะมีการลงทุนร่วมกันอีกหนึ่งโครงการ โดยโครงการดังกล่าวจะเชื่อมต่อไปถึงโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

สำหรับแผนการย้ายสถานีรถไฟหลักของกรุงเทพฯ จากสถานีกรุงเทพฯ ไปเป็นสถานีกลางบางซื่อภายในปี 2562 นั้น ขณะนี้ต้องเร่งดำเนินการให้สภาพคล่องทางด้านการเงินของการรถไฟฯ ให้มีความมั่นคง เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณมักกะสันของการรถไฟฯ ให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์และเป็นสวนสาธารณะ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประเมินราคาทรัพย์สินทั้งหมด เชื่อว่าหากกระบวนการให้เช่าพื้นที่ระหว่างกรมธนารักษ์และการรถไฟฯ แล้วเสร็จก็จะทำให้หนี้สินของการรถไฟฯ ลดลง และมีงบประมาณในการนำไปพัฒนาการให้บริการที่ดีขึ้น

นายสมคิด กล่าวในโอกาสครบรอบ 100 ปี สถานีกรุงเทพ ว่า อยากให้การรถไฟฯ มีการพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งและมั่นคง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในแถบภูมิภาคนี้ ด้านโครงการอื่นๆ ของกระทรวงคมนาคมก็ได้มีการเร่งรัดและกำชับ ต้องดำเนินการให้ได้ตามแผนหรือเร็วกว่าแผนที่กำหนด เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง เพราะถือว่าเป็นโครงการที่จะยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้


“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้นโยบายที่ชัดเจนและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการรถไฟฯ ให้มีความก้าวหน้า โดยอยู่ระหว่างการนำที่ดินมาแลกหนี้กับกระทรวงการคลังเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งผมต้องการให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้การรถไฟฯ มีฐานะการเงินที่เข้มแข็งและพัฒนาองค์กรให้ทันสมัยและมั่นคง” นายสมคิด กล่าว


//----------------


สมคิดเฮ! ญี่ปุ่นยอมศึกษาสร้างรถไฟทางคู่ “อีสต์-เวสต์คอริดอร์” ให้ไทยด้วย
ข่าวสด
วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เวลา 15:45 น.
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานเปิดงานเฉลิมฉลองครบรอง 100 ปีสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่สถานีหัวลำโพง เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ว่า ในอนาคตการรถไฟฯ จะต้องเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการคมนาคมของรอบภูมิภาคให้ได้ ดังนั้นต้องเร่งพัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็ง ทันสมัย และยกระดับการให้บริการคนไทยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

“ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นากรัฐมนตรี ให้นโยบายที่ชัดเจนและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการรถไฟให้มีความก้าวหน้า ซึ่งขณะนี้ถือว่าการรถไฟฯ กำลังเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยการรถไฟฯ อยู่ระหว่างการนำที่ดินมาแลกหนี้กับกระทรวงการคลังเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องขององค์กร ซึ่งผมต้องการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้การรถไฟฯ มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งและพัฒนาองค์กรไปได้อย่างรวดเร็ว และมั่นคง”

ส่วนความคืบหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมนั้น จากการหารือกับนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่าทุกโครงการจะเดินหน้าไปเป็นไปตามแผนหรืออาจจะเร็วกว่าแผนงานเดิม โดยในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ ความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่นนั้น มีสัญญาณที่ดี เนื่องจาก เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา เอกอัครทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าพบและหารือกับตนโดยแจ้งว่า ญี่ปุ่นสนใจและจะเร่งทำการศึกษาความเป็นไปได้โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางที่ 3 คือ คือ เส้นทางอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ ช่วงแม่สอด (จ.ตาก)-มุกดาหาร ให้ไทยเพิ่มเติมด้วย นอกเหนือจาก 2 เส้นทางแรกที่อยู่ระหว่างทำการศึกษาให้ไทยคือ รถไฟทางคู่ เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกใต้ ช่วงกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-สระแก้ว-แหลมฉบัง และรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

“ในการหารือกับญี่ปุ่นก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นไม่ได้ตอบรับว่าจะศึกษาความเป็นไปได้โครงการ เส้นทางที่ 3 ให้ไทย แต่ขณะนี้ท่านทูตเข้ามาหาผมเอง และบอกว่าจะเร่งศึกษาเส้นนี้ให้ไทยด้วย ถือเป็นสัญญาณที่ดีมาก เพราะญี่ปุ่นคงมองว่าเป็นเส้นทางที่สำคัญ เพราะในอนาคตจะเชื่อมต่อไปถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในประเทศเมียนมา และในอนาคตจะเชื่อมต่อไปยังสายตะวันออกที่จะเชื่อมต่อไปยัง มาบตาพุด แหลมฉบัง และอู่ตะเภาด้วย เชื่อมโยงเข้าไปในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย”

นายสมคิดกล่าวว่า ในวันอังคารที่ 28 ม.ค. จะมีการนำเสนอแนวคิดและหลักการในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งจะเป็นการนำเสนอแนวคิดในการจัดทำแผนการพัฒนาเศรษฐกิจภาพรวมครบทุกๆ ด้าน รวมไปถึงหลักการของการพัฒนาเส้นทางทางรถยนต์ รถไฟ สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบด้วย

http://www.now26.tv/view/81011

//------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2016 5:03 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นสนลงทุนรถไฟเพิ่ม
พิกัดข่าวค่ำ
Now TV26
วันที่ 25 มิถุนายน 2559
ญี่ปุ่น สนใจลงทุนระบบรางเพิ่มเติม โดยศึกษาเส้นทาง มุกดาหาร-พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด เชื่อมทวาย ด้านรองนายกรัฐมนตรี ระบุเตรียมเสนอเรื่องครม.อังคารนี้
รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ บอกว่า ทูตของประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาเข้าพบ วานนี้ (24 มิ.ย.) พร้อมแสดงความสนใจที่จะศึกษาเส้นทางรถไฟสาย มุกดาหาร-พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ที่จะมีการลงทุนร่วมกันอีกหนึ่งโครงการ
ซึ่งโครงการนี้ ก็ยังเชื่อมต่อไปถึง โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยจะนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 28 มิถุนายนนี้ พร้อมกับโครงการเส้นทางรถไฟ กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉะบัง และ โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์ สัตหีบ แผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา รวมถึง การพัฒนาเส้นทางถนนและทางรางที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าหารือร่วมกันด้วย เพื่อจัดทำแผนพัฒนาระบบการคมนาคมในเส้นทางดังกล่าวให้มีความชัดเจนอีกครั้ง
กล่าวถึงผลการลงประชามติ สหราชอาณาจักร ออกจากสหภาพยุโรป หรือ อียู ว่าในส่วนของประเทศไทย ไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล เป็นเรื่องของความผันผวนในระยะสั้นเท่านั้น โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้เตรียมรับมือมาแล้วก่อนหน้านี้ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งไทยไม่ควรไปตื่นตัวตาม เนื่องจาก ผลกระทบคงมีแต่ในยุโรปเท่านั้น
นายสมคิด ยังกล่าวถึงเป้าหมายการส่งออกของไทยว่า ยังคงตั้งเป้าไว้ที่ 5% และคงไม่ต้องคิดถึงการปรับ หรือไม่ปรับเป้า เพราะรัฐบาลจะเร่งเดินหน้า และผลักดันให้การส่งออกขยายตัวให้ดีที่สุด เพราะจาการลงประชามติของอังกฤษที่ต้องการออกจากสหภาพยุโรปนั้น คงมีผลกระทบแต่ในยุโรปเท่านั้น ไทยไม่ควรที่จะตื่นตาม

รถไฟความเร็วสูง จาก Hopewell สู่ Hopeless
Voice TV
รถไฟความเร็วสูงมีแนวโน้มจะจบแบบโฮปเวลล์
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2016 8:00 pm    Post subject: Reply with quote

Action Plan เมกะโปรเจ็กต์เฟส 2 "คมนาคม" รื้อแผนเร่งลงทุนรับเมืองโต
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 12 ก.ค. 2559 เวลา 14:45:56 น.

Click on the image for full size

ขณะที่แผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนหรือ Action Plan ปี 2559 จำนวน 20 โครงการ วงเงินลงทุน 1.79 ล้านล้านบาท กำลังเดินเครื่องประมูลและตอกเข็มก่อสร้างไปตามไทม์ไลน์ที่วางไว้

ล่าสุด "กระทรวงคมนาคม" กำลังร่างพิมพ์เขียวแผนปฏิบัติการโครงการเร่งด่วนปี 2560 มาต่อยอดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อปลุกการลงทุนของประเทศในปีหน้าให้คึกคักยิ่งขึ้น นอกเหนือจากงบประมาณประจำปีที่ขอรับจัดสรร 195,510.75 ล้านบาท

เปิดพิมพ์เขียว 27 โครงการ 7 แสนล้าน

โดยมี "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" เป็นผู้จัดทำบัญชีโครงการ มีครบทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า ท่าอากาศยาน ทางด่วน และมอเตอร์เวย์ เบื้องต้นมีประมาณ 27 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวม 727,631 ล้านบาท

"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ครงการเร่งด่วนในแผนปฏิบัติการปี 2559 ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติมีรถไฟฟ้า 2 สายทาง ได้แก่ สายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 101,112 ล้านบาท เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ภายในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ กับสายสีแดง Missing Link ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 38,955 ล้านบาท

ส่วนรถไฟทางคู่มีสายมาบกะเบา-จิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,853 ล้านบาท จะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) วันที่ 11 ก.ค.นี้ จากนั้นขั้นตอนเสนอขอมติ ครม.อนุมัติ ส่วนสายลพบุรี-ปากน้ำโพ กับนครปฐม-หัวหิน คาดว่าสามารถเสนอ ครม.อนุมัติได้ในเดือน ก.ย.นี้

"ทั้ง 20 โครงการกำลังเร่งรัดให้จบในปีนี้ เพื่อเริ่มงานก่อสร้าง ซึ่งบางโครงการเริ่มได้ปีนี้ บางโครงการเริ่มต้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้ม สีชมพู และสีเหลือง"

เน้นต่อขยายรถไฟฟ้า-ทางคู่

สำหรับโครงการที่บรรจุในแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ2560"รมว.อาคม" แจกแจงว่า เป็นโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่ รวมถึงโครงข่ายถนนสนับสนุนสนามบิน วงเงินลงทุนมาจากงบประมาณประจำปี เงินกู้ เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP และอาจระดมทุนผ่านกองทุนอินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ ซึ่งทุกโครงการเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2560-2564

แยกเป็นโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมไปยังปริมณฑล เงินลงทุนรวม 192,792 ล้านบาท เช่น สายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน) ระยะทาง 16.4 กม. วงเงิน 85,316 ล้านบาท, สายสีเขียวต่อขยายสายเหนือ (คูคต-ลำลูกกา) ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 11,989 ล้านบาท, สายสีเขียวต่อขยายสายใต้ (สมุทรปราการ-บางปู) ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 13,701 ล้านบาท, สายสีแดงต่อขยายจากรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 10 กม. วงเงิน 6,028 ล้านบาท และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 21,120 ล้านบาท

อีกทั้งยังมีส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 31,139 ล้านบาท เชื่อม 2 สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ" ในอนาคตจะขยายไปถึงสนามบินอู่ตะเภา เนื่องจากโครงการนี้รัฐต้องการให้เอกชนร่วมลงทุน PPP จึงชะลอโครงการไปอยู่ในแผนปี 2560 แทน รวมกับมีรถรางไฟฟ้า (แทรม) จ.ภูเก็ต-ห้าแยกฉลองก่อน ระยะทาง 60 กม. วงเงิน 23,499 ล้านบาท ที่เปิดให้เอกชนมาร่วม PPP

ส่วน "รถไฟทางคู่" เร่งโครงการในแผนระยะที่ 2-3 ส่วนหนึ่งมาลงทุนในปี 2560 รวมระยะทาง 1,981 กม. วงเงินรวม 418,411 ล้านบาท ได้แก่ เส้นทางปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 64,921 ล้านบาท, เส้นทางจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. วงเงิน 49,951 ล้านบาท, เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. วงเงิน 23,727 ล้านบาท, เส้นทางชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 34,726 ล้านบาท และเส้นทางสุราษฎร์ฯ-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 339 กม. วงเงิน 51,065 ล้านบาท

ยังมีรถไฟขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 23,727 ล้านบาท, เส้นทางเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กม. วงเงิน 63,353 ล้านบาท, เส้นทางบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 60,512 ล้านบาท, เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. วงเงิน 10,301 ล้านบาท และสายสุราษฎร์ฯ-พังงา-ภูเก็ต ระยะทาง 131 กม. วงเงิน 36,128 ล้านบาท

เร่งปรับปรุง 3 สนามบินภูธร

ในส่วนของ "ท่าอากาศยาน" โครงการในแผนมีปรับปรุงทางขับและขยายลานจอดเครื่องบิน สนามบินสกลนคร วงเงิน 95 ล้านบาท, ต่อเติมความยาวทางวิ่งสนามบินแม่สอด จ.ตาก วงเงิน 430 ล้านบาท, โครงการอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารประกอบสนามบินเบตง จ.ยะลา วงเงิน 350 ล้านบาท

ขณะเดียวกันเร่งการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกศูนย์การเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของจ.เชียงรายวงเงิน 1,431 ล้านบาท รองรับกับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

ผุดถนน-ทางด่วน-มอเตอร์เวย์

รวมถึงอาจเพิ่มโครงการลงทุนทางด่วนสายใหม่โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ศึกษาโครงการเสร็จแล้ว คือ สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก ระยะทาง 17 กม. เงินลงทุน 2.7-3 หมื่นล้านบาท เพื่อลดปัญหาจราจรบนทางด่วนบูรพาวิถี, สะพานพระราม 9, ทางด่วนขั้นที่ 1 และถนนพระราม 2 โครงการนี้ กทพ.เสนอลงทุนเอง โดยระดมทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) กับมอเตอร์เวย์สายนครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 119 กม. วงเงิน 80,600 ล้านบาท

ด้าน "พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน" อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า กรมมีโครงการขนาดใหญ่อยู่ในแผนเร่งด่วนปี 2560 จำนวน 4 โครงการ วงเงินรวม 3,522 ล้านบาท ได้แก่ โครงการแก้จราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื้องานมีปรับปรุงถนนกัลปพฤกษ์ตลอดเส้นทาง 7 กม. วงเงิน 800 ล้านบาท กับขยายถนนราชพฤกษ์ ตอนที่ 3 จากถนนรัตนาธิเบศร์-ทางหลวงหมายเลข 345 ระยะทาง 8.3 กม. วงเงิน 1,236 ล้านบาท

นอกจากนี้ มีถนนสนับสนุนสนามบินสุวรรณภูมิ ขยายถนนนครนายก 3007 แยก ทล.305-บ.คลอง 533 ระยะทาง 18 กม. วงเงิน 876 ล้านบาท และสายปทุม 3004 แยก 305-บ.ลำลูกกา 10 กม. วงเงิน 610 ล้านบาท

ทั้งหมดนี้เป็นแผนเร่งด่วนเส้นทางคมนาคมและการขนส่ง เชื่อมโครงข่ายทั้งถนน-ทางด่วน-ระบบราง เพื่อรองรับอัตราการเติบโตของเมืองที่โตเร็วมากในปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2016 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.เห็นชอบร่าง MOU โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ก่อนร่วมลงนาม 6 ส.ค. นี้
ประชาชาติธุรกิจ
2 สิงหาคม 2559 เวลา 18:20:32 น.

เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2559 เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ รายงานภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการร่วมลงนามร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทย กับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ซึ่งในวันที่ 6 ส.ค.2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น จะเดินทางมาประเทศไทย เพื่อร่วมลงนามในบันทึกดังกล่าว

โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาเส้นทางตามแนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (east-west economic corridor) จาก จ.ตาก ไปยัง จ.นครพนม จ.มุกดาหาร ไปยังประเทศเวียดนาม, การพัฒนาเส้นทาง southern economic corridor จากทวายมา จ.กาญจนบุรี ไปอรัญประเทศเข้าประเทศกัมพูชา

ทางการญี่ปุ่นจะเข้ามาทำการศึกษาว่าควรพัฒนาทั้งสองเส้นทางนี้อย่างไรบ้าง ทั้งในแง่ขนส่ง และการพัฒนาเศรษฐกิจ, การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 2%, การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง, การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

นอกจากนี้ ทางการญี่ปุ่นจะจัดทำรายงานขั้นสุดท้าย ที่กำหนดรายละเอียดเส้นทาง ตำแหน่งสถานี ต้นทุนเบื้องต้น ให้เสร็จได้ในเดือน ต.ค.-พ.ย. ปีนี้ อีกทั้งยังเสนอให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมือง ตามแนวเส้นทางรถไฟ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรูปแบบการลงทุนจะมีการพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2016 10:03 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ครม.เห็นชอบร่าง MOU โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ก่อนร่วมลงนาม 6 ส.ค. นี้
ประชาชาติธุรกิจ
2 สิงหาคม 2559 เวลา 18:20:32 น.


ดึงชินคันเซ็น ทำรถไฟเร็วสูง
โพสต์ทูเดย์
3 สิงหาคม 2559 เวลา 06:14 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2016 10:38 am    Post subject: Reply with quote

^^^

ดึงชินคันเซ็น ทำรถไฟเร็วสูง
โพสต์ทูเดย์ 03 สิงหาคม 2559 เวลา 06:14 น.

ไทย-ญี่ปุ่น เตรียมลงนามเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 6 ส.ค. เผยญี่ปุ่นเสนอวางแผนพัฒนาเมืองและที่ดินตามแนวรถไฟฟรี

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือ (MOC) ด้านระบบรางและร่างบันทึกความปลอดภัยทางถนนระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองประเทศจะมีการลงนามในวันที่ 6 ส.ค.นี้

ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทยและญี่ปุ่นประกอบด้วย การพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยใช้ระบบชินคันเซ็นของญี่ปุ่น ซึ่งฝ่ายไทยจะลงทุนในส่วนของระบบกราวด์ แฟซิลิตี ประกอบด้วยการเวนคืนที่ดิน งานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล โดยจะมีการลงทุนในช่วงบางซื่อ-พิษณุโลกก่อน และการจัดหาผู้ประกอบการเดินรถดำเนินการ โดยรัฐวิสาหกิจก่อนในช่วงแรกและจะพิจารณาให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมงานในระยะถัดไป

ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือฝ่ายไทยในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจตามแนวรถไฟฟ้า จากนั้นจะมีการหารือกันในเรื่องการพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้และด้านตะวันออก-ตะวันตก ต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนการขนส่งสินค้าทางรถไฟจะจัดตั้งสำนักงานส่งเสริม เพื่อเตรียมการสำรวจและการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ณ กรุงเทพฯ เมื่อต้นเดือน มิ.ย.นี้ และจะให้บริการขนส่งสินค้ารูปแบบใหม่พร้อมจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.มอบหมายให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เร่งจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า 200 คัน มาใช้นำร่องได้ภายในเดือน พ.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2016 10:08 am    Post subject: Reply with quote

คค.จ่อผุดไอซีดี2แห่งหนุนขนสินค้าทางรถไฟ ตั้งบ.ร่วม"ไทย-ญี่ปุ่น"ทำตลาด
โดย MGR Online
9 สิงหาคม 2559 09:32 น.



"อาคม"ถก"ไจก้า"พัฒนาเส้นทางรถไฟแนวเศรษฐกิจด้านใต้ "กาญจนบุรี– กรุงเทพฯ – แหลมฉบัง-อรัญประเทศ"จ่อก่อสร้างไอซีดี 2 แห่ง "เชียงรากน้อย,อมตะ"รองรับสินค้าจากนิคมอุตฯในพื้นที่ พร้อมเตรียมตั้งบริษัทร่วมทุน ไทย-ญี่ปุ่น บริหารการตลาด

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับตัวแทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการพัฒนารถไฟเส้นทางตามแนวเศรษฐกิจด้านใต้ (Southern Economic Corridor) เส้นทางกาญจนบุรี (บ้านพุน้ำร้อน) – กรุงเทพฯ – แหลมฉบังและกรุงเทพฯ –อรัญประเทศ ระยะทาง 574กม. ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ในการปรับปรุงการขนส่งสินค้าทางรถไฟนั้น จำเป็นที่ต้องมีสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง หรือไอซีดี อีก 2 แห่ง คือ เชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี และ อมตะนคร จังหวัดชลบุรี ซึ่งทั้ง 2 แห่งมีความเหมาะสมด้านกายภาพเนื่องจากมีนิคมอุตสาหกรรมอยู่จำนวนมาก ในขณะที่ไทย ได้เสนอให้พิจารณาก่อสร้างไอซีดีเพิ่มอีก 1 แห่ง คือที่ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ และเป็นจุดรองรับสินค้าจากจังหวัดขอนแก่นด้วย โดยจะขนส่งสินค้าแบบตู้คอนเทนเนอร์เล็กขนาด 12 ฟุต ซึ่งจากการสำรวจ พบลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบ การรายย่อย (SME)

ทั้งนี้ ในส่วนของรูปแบบการบริหารและการลงทุนนั้น จะมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น โดยฝ่ายไทยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ถือหุ้น เพื่อดำเนินการด้านการตลาด และการขาย เนื่องจาก ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญในการบริหารการตลาด สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต โดยจะมีการสรุปรายละเอียด รูปแบบและสัดส่วนการถือหุ้นที่ชัดเจนอีกครั้ง

นอกจากนี้ ไทยยังได้เสนอให้ญี่ปุ่นช่วยศึกษารายละเอียดเพื่อสร้างทางรถไฟแนวใหม่จากเชียงรากน้อยไปยังคลอง 21 เพื่อเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) โดยไม่ต้องผ่านมายังสถานีกลางบางซื่อ มีระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตรซึ่งจะช่วยลดความแออัดในการเดินรถ เนื่องจากสถานีกลางบางซื่อเป็นเทอร์มินอลใหญ่ที่รองรับระบบรางทุกประเภทโดยเน้นการขนส่งผู้โดยสาร จะสามารถสรุปผลศึกษาได้ภายในเดือนตุลาคม 2559

ส่วนการทดลองเดินรถขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต
เส้นทางที่ 1 เส้นทางบางซื่อ – ลำพูน – บางซื่อ ระยะทาง 722 กม. โดยกำหนดให้สถานีลำพูนเป็นพื้นที่กระจายสินค้าในภาคเหนือ เปิดให้ทดลองใช้บริการระหว่างวันที่ 8 – 12 กุมภาพันธ์ 2559
เส้นทางที่ 2 เส้นทาง บางซื่อ – กุดจิก (จ.นครราชสีมา) – ท่าพระ (จ.ขอนแก่น) – กุดจิก (จ.นครราชสีมา) – บางซื่อ ระยะทาง 433 กม. โดยมีสถานีกุดจิก และสถานีท่าพระเป็นพื้นที่กระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นั้น

ซึ่งตู้ขนาด 12 ฟุต เหมาะสมในการขนส่งสินค้าธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งประเทศที่ให้ความสนใจคือ เกาหลี , ญี่ปุ่น และจีน เนื่องเพิ่มความสะดวกด้านการขนส่ง ในส่วนของผู้ประกอบการเอกชนไทยให้ความสนใจลงทุนตู้สินค้าขนาด 10 ฟุต มากกว่า ซึ่งขนาดเล็กกว่าที่ได้มีการทดลอง โดยในอนาคตประเทศไทยต้องมีแผนที่ใช้รถขนาดเล็กเพื่อการขนส่งสินค้ามากขึ้น

//-------------------

ดึงญี่ปุ่นศึกษาไอซีดี 2 แห่ง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 09 สิงหาคม 2559, 09:45
อ่านแล้ว 238 ครั้ง

ผุดรถไฟเลี่ยงเมืองแหลมฉบัง
โพสต์ทูเดย์
09 สิงหาคม 2559 เวลา 07:16 น.
"อาคม"เปิดทางญี่ปุ่นศึกษาสร้างไอซีดีเชียงรากน้อย-อมตะนคร หนุนเส้นทางรถไฟสายเศรษฐกิจอีส-เวสต์ คอร์ริดอร์ รองรับขนส่งสินค้าระดับเอสเอ็มอีเพิ่ม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ที่ประชุมได้หารือกันถึงความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ด้านระบบรางเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ ช่วงพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และฉะเชิงเทรา-มาบตาพุด

จากที่ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้เข้ามาทดลองการขนส่งสินค้าทางรางด้วยตู้สินค้า (คอนเทนเนอร์) ขนาด12ฟุต ในเส้นทางระหว่างสถานีชุมทางหนองปลาดุก จ. ราชบุรี สู่สถานีบางซื่อเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถใช้บริการขนส่งสินค้าทางรางในขนาดเล็กได้

โดยจากการทดลองเดินรถในช่วงที่ผ่านมา ทางไจก้าจึงเสนอว่าหากไทยต้องการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ควรจะต้องมีการจัดสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) เพิ่มเติม จำนวน 2 แห่ง เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าจากฝั่งภาคตะวันตก และภาคเหนือเชื่อมต่อไปยังภาคตะวันออก บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โดยการศึกษาเบื้องต้นที่ประเมินเห็นศักยภาพในการพัฒนาไอซีดีจุดแรกคือบริเวณ อ.เชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และจุดที่สองคือบริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีโรงงานผลิตสินค้าจำนวนมากโดยเฉพาะโรงงานของญี่ปุ่น และยังมีความต้องการในการใช้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ตอนนี้ญี่ปุ่นก็ประเมินว่าจะต้องสร้างไอซีดีเพื่อเป็นจุดแยกสินค้าเพิ่มเติมในแนวเส้นทางรถไฟสายนี้ จากเดิมที่ไทยมีอยู่แล้ว 1 แห่งคือไอซีดีลาดกระบัง แต่ภายในที่ประชุมฝ่ายไทยก็เสนอไปด้วยว่าอยากให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ ในการสร้างไอซีดีเพิ่มเติมพื้นที่ต่างจังหวัด โดยพบว่าพื้นที่ที่เป็นแนวเส้นทางรถไฟและมีศักยภาพเพียงพอ จะพัฒนาเป็นไอซีดี เช่น .อุดรธานี และ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งอาจจะเป็นไอซีดีขนาดเล็กที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก”

นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังขอให้ญี่ปุ่นศึกษาการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเพิ่มเติม ระยะทาง 50 กิโลเมตร (กม.) เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากเส้นทางภาคเหนือ และภาคตะวันตกไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยไม่ต้องวิ่งเข้ามายังสถานีกลางบางซื่อ เนื่องจากในอนาคตบริเวณสถานีกลางบางซื่อจะเน้นให้บริการขนส่งคนโดยสารเท่านั้น ดังนั้นเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้าที่ไม่มีความจำเป็นผ่านเข้ามาในกรุงเทพฯ หากสามารถปรับแนวเส้นทางออกไปยังแหลมฉบังได้โดยตรงก็จะลดระยะเวลาในการขนส่ง ทั้งนี้ แนวเส้นทางที่จะปรับคาดว่าจะเริ่มจากอ. เชียงรากน้อยผ่านไปยังบริเวณคลอง 21 จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 50 กิโลเมตร และมุ่งตรงไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี

อย่างไรก็ดี ในประเด็นของการลงทุนขณะนี้ได้มอบให้ญี่ปุ่นไปพิจารณารูปแบบการลงทุนและการบริหาร โดยเบื้องต้นเสนอให้ศึกษาการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 2 บริษัท คือ

1.บริษัทที่ทำการขาย และการตลาด ซึ่งส่วนนี้แนวทางจะให้บริษัทญี่ปุ่นมาลงทุน ทำการหาลูกค้า และจะขอให้มีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ร่วมทุนอยู่ด้วยแต่ในสัดส่วนที่น้อยกว่าเนื่องจาก ร.ฟ.ท.ไม่ถนัดในการทำการตลาดหาลูกค้า และ

2.บริษัทบริหารการยกตู้คอนเทนเนอร์กับบริหารไอซีดี ส่วนนี้ ร.ฟ.ท.จะถือหุ้นหลัก และเปิดให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุน ซึ่งคาดว่าข้อสรุปในประเด็นต่างๆ จะได้ข้อสรุปทั้งหมดภายในเดือน ต.ค. นี้

ส่วนโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ได้หารือกับญี่ปุ่นล่าสุดใช้เทคโนโลยีระบบรถไฟชินคันเซน พร้อมทั้งจะต้องทำการแยกระบบรางออกจากรางรถไฟเดิมที่มีอยู่ โดยแผนการดำเนินงานจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก และพิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งได้เร่งรัดให้ทางญี่ปุ่นเร่งศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาได้ในเดือน ต.ค- พ.ย.นี้ ก่อนจะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนพิจารณารูปแบบการลงทุนในปี 2560 และก่อสร้างโครงการในปี 2561

สำหรับตัวโครงการพบว่าจะมีผลตอบแทนทางการเงินค่อนข้างต่ำซึ่งจะใช้ ระยะเวลาประมาณ 50 ปีในการคืนทุน ส่งผลให้ไทยขอให้ทางญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลือในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีและการพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มผลตอบแทน

ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่าโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. วงเงินลงทุน 2.24 แสนล้านบาท

//---------------------

เพิ่มทางรถไฟขนส่งสินค้าอยุธยา-แปดริ้ว
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา 22.04 น.

คมนาคม มอบไจก้าศึกษาทำทางรถไฟเพิ่ม 50 กม. จากเชียงรากน้อย ไปแหลมฉบังทางคลอง 21 ลดการขนส่งสินค้าให้เข้ามาสู่ใจกลางเมือง เล็งตั้งไอซีดี 2 แห่งเป็นศูนย์รวมตู้คอนเทนเนอร์



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า เข้าพบว่า ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าการปรับปรุงการให้บริการการขนส่งสินค้าตู้ทางรถไฟ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ด้านระบบราง เส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ (กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ,
กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง) ซึ่งได้มีการทดลองขนส่งสินค้าด้วยตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต เส้นทางจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก จ.ราชบุรี สู่สถานีบางซื่อ กรุงเทพฯ โดยขณะนี้เอกชนไทยเริ่มลงทุนตู้ขนาด 12 ฟุต และ 10 ฟุตมากขึ้นแล้ว

โดยมีตลาดทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งตู้ขนาดดังกล่าวทำให้ได้รับความสะดวกสบาย เพราะลูกค้าโลจิสติกส์ไม่ต้องจองตู้ขนาด 40 ฟุตแล้ว สามารถที่จะใช้ตู้ขนาดเล็กได้ ทำให้การเดินทางเข้าเมืองก็สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ในอนาคตจะต้องพิจารณาเรื่องของการยอมให้รถขนาดเล็กเข้าไปส่งสินค้าภายในเมืองด้วย้ซึ่งก็เป็นเรื่องที่จะต้องเดินหน้าปรับปรุงต่อไป

นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องมีสถานีบรรจุ และแยกสินค้ากล่อง หรือไอซีดี เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าจากฝั่งภาคตะวันตก และภาคเหนือ ไปยังภาคตะวันออกบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี โดยที่ประชุมเห็นว่าควรมีอยู่ 2 แห่งคือ เชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี

ซึ่งเป็นจุดที่เหมาะสม เพราะมีโรงงานตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงงานของญี่ปุ่น อีกทั้งยังสามารถเป็นศูนย์รวบรวมตู้คอนเทนเนอร์ได้ ขณะเดียวกันได้เสนอให้พิจารณาการตั้งไอซีดีในต่างจังหวัดด้วย เช่น ที่บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งจุดเหล่านี้สามารถพัฒนาไอซีดีขนาดเล็กได้

นายอาคม กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันยังให้ไจก้าพิจารณาเรื่องรูปแบบการลงทุนและการบริหาร โดยขณะนี้ได้เสนอว่าเรื่องการตลาดจะเป็นบริษัทของญี่ปุ่นที่มาลงทุนในการให้บริการ หาลูกค้า และทำการตลาด ซึ่งเบื้องต้นจะขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้าไปร่วมถือหุ้นอยู่ด้วยแต่จะเป็นส่วนน้อย

ส่วนการบริหารเรื่องการยกตู้คอนเทนเนอร์ และไอซีดี ทาง รฟท. จะถือหุ้นหลัก และมีบริษัททางญี่ปุ่นอาจมาร่วมทุนแต่เป็นส่วนน้อย นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ให้ไจก้าศึกษาเพิ่มเติมในการทำทางรถไฟเพิ่มจากช่วงเชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ออกไปยังคลอง 21 จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เพื่อให้รถสินค้าที่มาจากภาคตะวันตก หรือภาคเหนือ ที่ลงมาถึงเชียงรากน้อย สามารถออกไปแหลมฉบังทางคลอง 21 ได้เลย ไม่ต้องผ่านสถานีบางซื่อ เพราะสถานีนี้เรากำหนดให้เป็นสถานีใหญ่ที่เน้นหนักทางด้านผู้โดยสาร

ดังนั้นก็ต้องลดการขนส่งสินค้าให้เข้ามาสู่ใจกลางเมือง อย่างไรก็ตามการทำทางรถไฟเพิ่มเส้นทางดังกล่าวนี้ จะเป็นเส้นทางใหม่ที่ช่วยทำให้เส้นทางการขนส่งสินค้า จากภาคเหนือ กับทางภาคตะวันตกไปสู่แหลมฉบัง มีระยะทางสั้นลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะรถไม่ต้องเข้ามาในกรุงเทพฯ โดยผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวทางไจก้าจะรายงานให้ทราบภายในเดือน ต.ค.59 นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/08/2016 9:53 pm    Post subject: Reply with quote

ก.คมนาคมชงกรอบรถไฟไทยจีนเข้าครม.
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2559 21:09 น.

กระทรวงคมนาคม เตรียมชงกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน เข้า ครม. พรุ่งนี้ ขณะ 24 ส.ค. ประชุมครั้งที่ 13 ที่กรุงปักกิ่ง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 สิงหาคมนี้ คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน จะประชุมครั้งที่ 13 ที่กรุงปักกิ่ง เพื่อเจรจาเรื่องรูปแบบ Engineering Procurement and Construction (EPC) ในส่วนของ EPC-2 ที่ได้ปรับใหม่ พร้อมแยกออกเป็น 3 สัญญา และจะมีการเสนอกรอบความร่วมมือการดำเนินการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ หรือ FOC (Framework of Cooperation) ที่มีการแก้ไขใหม่ หลังจากที่ผู้นำไทยและจีนได้ตกลงกันว่าจะปรับการก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง จากเดิมเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง และไทยจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้

ทั้งนี้ ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ช่วงแรกจะดำเนินโครงการก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ระยะทาง 252.5 กิโลเมตร และแบ่งออกเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร (สถานีกลางดง - ปางอโศก) ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับรายละเอียด โดยจะเร่งหาข้อสรุปเพื่อนำไปสู่การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างตามกำหนดในเดือนกันยายนนี้
ตอนที่ 2 จากปากช่อง - คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร
ตอนที่ 3 แก่งคอย - โคราช ระยะทาง 119 กิโลเมตรและ
ตอนที่ 4 กรุงเทพฯ - แก่งคอย ระยะทาง 119 กิโลเมตร
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. จะดำเนินการพัฒนาพื้นที่ 2 ข้างทาง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 80, 81, 82 ... 121, 122, 123  Next
Page 81 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©