Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180464
ทั้งหมด:13491698
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 82, 83, 84 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2016 11:03 pm    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่"บุกคมนาคมเกาะติดงบลงทุน "สมคิด"สั่งคลัง-ก.พ.ร.กำจัดจุดอ่อนขั้นตอนทำธุรกิจ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 พฤศจิกายนร 2559 เวลา 23:30:43 น.


"บิ๊กตู่" บุกคมนาคม เกาะติดแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ บก ราง น้ำ อากาศ หลังติดบ่วง EIA ต่อเวลา ม.44 อีก 30 วัน เจรจาเดินสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สั่งสร้างความเข้าใจประชาชนลุยไฮสปีดไทย-จีน "กทม.-โคราช" ฟาก "สมคิด" เร่งกำจัดจุดอ่อน ยกอันดับ "ยาก-ง่าย" ทำธุรกิจ หวังเป็นตัวดึงดูดนักลงทุน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้ติดตามงานคมนาคม ส่วนใหญ่ติดปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ขอให้ประชาชนเข้าใจถึงประโยชน์ของโครงการว่าเป็นการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ พัฒนาเมืองใหม่ กระจายความหนาแน่นจากในเมืองสู่ภูมิภาค อีกทั้งยังติดตามโครงการพัฒนาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) และพร้อมเดินหน้าโครงการ

"โครงการคมนาคมส่วนใหญ่ผ่าน ครม.ไปแล้ว แต่ติด EIA ส่วนการแก้ปัญหาการบินยังเป็นไปตามแผน ขณะที่การเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะขยายเวลาตามมาตรา 44 ให้เจรจากับเอกชนอีก 30 วัน"พลเอกประยุทธ์กล่าว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ติดตามโครงการลงทุนต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านคมนาคมขนส่ง มีโครงการเร่งด่วนปี 2559 จำนวน 20 โครงการ ขณะนี้ดำเนินการแล้ว 16 โครงการ ส่วนปี 2560 โครงการทางบก น้ำ อากาศ และราง ให้ยึดตามแผนแม่บท เช่น ขยายถนน 4 ช่องจราจร รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง

นายกรัฐมนตรีให้คำแนะนำแผนยุทธศาสตร์กระทรวง 20 ปี (2559-2579) แบ่งเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 5 ปี พัฒนาโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพและเชื่อมต่อกันได้ทั้งบก น้ำ ราง อากาศ ทั้งกำชับให้ทำงานบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง EIA และกระทรวงมหาดไทยเรื่องผังเมือง ให้การทำงานราบรื่น

เมื่อเสนอ ครม.อนุมัติ พร้อมให้ออกแบบสอดรับกับวิถีชีวิตประชาชน สภาพภูมิทัศน์กับสิ่งแวดล้อม เช่น การออกแบบหลีกเลี่ยงการตัดต้นไม้ และให้สร้างการรับรู้การก่อสร้างรถไฟไทย-จีน (กทม.-โคราช) แบ่ง 4 ตอนที่เริ่มสร้าง 3.5 กม.ก่อน เพราะเป็นพื้นที่ไม่ติดปัญหา ซึ่งการประชุมครั้งที่ 16 ปลาย พ.ย.นี้จะได้ข้อสรุป ซึ่งการพัฒนาโครงการยังยึดตามกรอบเวลาทำงานเดิม

ขณะที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปกระทรวงการคลังเพื่อประชุมเรื่อง การประเมินอันดับความยากง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของธนาคารโลก กล่าวว่า ในปี 2560เชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถผลักดันให้อันดับดีขึ้นได้มาอยู่ในช่วง 30 อันดับแรก จากปีนี้อยู่อันดับที่ 46 โดยได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

"ปีนี้ต้องทำให้ดี กว่าเดิม เพราะเรื่องนี้เหมือนเป็นโจทย์ที่ธนาคารโลกแจกให้เราล่วงหน้า เราต้องรู้ว่าจะทำอะไร ตรงไหน ซึ่งรอบนี้มีเวลาถึงเดือน พ.ค. 2560 ที่จะต้องส่งการบ้าน ซึ่งผมให้ ก.พ.ร.สรุปรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบด้วย ว่าเรามีจุดอ่อนตรงไหน ใครจะต้องรับผิดชอบ"

นายสมคิดกล่าวว่า ประเทศไทยยังมีหลายส่วนที่ปรับปรุงได้ อย่างเช่น การให้บริการไฟฟ้าที่เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่กลับถูกมองว่าเพิ่มขั้นตอน ด้านการชำระภาษีที่หลายประเทศมีจุดบริการจุดเดียว แต่ประเทศไทยยังติดข้อกฎหมาย เพราะภาษีเกี่ยวข้องกับหลายกรม และคาบเกี่ยวกระทรวงอื่น จึงต้องค่อย ๆ ปรับปรุง แต่ส่วนที่เกี่ยวกับกรมสรรพากร ได้ให้กระทรวงการคลังเร่งลดขั้นตอนให้ได้มากที่สุด เพราะภาษีเป็นเรื่องใหญ่ และถือว่าเป็นตัวถ่วงที่ยังทำให้คะแนนยังไม่ดี ขณะที่รมว.คลังกำลังทำเรื่องอีเพย์เมนต์

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือกันด้วยว่า จะว่าจ้างธนาคารโลกเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีจุดไหนที่จะต้องปรับปรุง มีจุดอ่อนตรงไหนบ้าง เพื่อปรับปรุงให้อันดับดีขึ้น และสามารถช่วยเป็นปากเสียงให้ประเทศไทยได้ด้วย

"ประเด็นพวกนี้จะ เกี่ยวกับการวัดขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ถ้าทำตรงนี้ได้ดี เชื่อว่าประเทศไทยจะเป็นเป้าหมายแห่งการลงทุน" นายสมคิดกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2016 8:31 am    Post subject: Reply with quote

“ธำรงศักดิ์” เทียบระบบรางอาเซียน ชี้ ไทยพัฒนาเชื่องช้า ภูมิศาสตร์อยู่ตรงกลางแต่ไม่เปิดทางเชื่อมโยงคมนาคม
มติชนออนไลน์ 25 พ.ย. 59 เวลา: 22:51 น.

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา มีการจัดสัมมนาประจำปี 2559 โดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ และมหาวิทยาลัยพะเยา ในหัวข้อ “ASEAN : SIAM THAILAND,+JAPAN+CHINA+AND INDIA” โดยมีวิทยากรทั้งนักวิชาการท้องถิ่น และนักวิชาการพิเศษเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

หนึ่งในหัวข้อการเสวนา คือเรื่อง “อาเซียนไร้พรมแดน” ซึ่ง ผศ.ดร. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวถึงระบบรางของไทยและมาเลเซีย รวมถึงประเทสต่างๆในอาเซียน เนื้อหาโดยสรุปว่า ตนเดินทางไปยังชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านตลอด 20 ปี ไม่ว่าจะเป็น ลาว กัมพูชา พม่า แต่แห่งเดียวที่ไม่กล้าไปคือมาเลเซีย เพราะมีปัญหา อย่างไรก็ตาม เมื่อได้เดินทางไปแล้ว ตนได้พบเห็นถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่ในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กับพื้นที่ในเขตมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็น การเมือง เศรษฐกิจ และระบบการคมนาคม เป็นต้น โดยสามารถสรุปได้ 3 ข้อหลักดังนี้

จากปีนัง มาเลเซีย ถึงอำเภอ เบตง จังหวัดยะลา มองเห็นความต่างอย่างสิ้นเชิง ทั้งเรื่องการเมืองและความปลอดภัย กล่าวคือ ชายแดนภาคใต้ของไทย เต็มไปด้วยความหวาดกลัว แต่เมื่อข้ามด่านไป ได้พบความเสถียรภาพ และบ้านเมืองที่ศิวิไลซ์
เพียงข้ามด่านไปถึงมาเลเซีย จะเห็นสภาพชีวิตและเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง เฟื่องฟู ซึ่งน่าตั้งคำถามว่าเหตุใดความมั่งคั่งไม่ตกอยู่ที่คนไทยในภาคใต้ด้วย ทั้งที่มีมูลค่าการค้าระหว่างกันถึง 46 เปอร์เซ็นต์ ชายแดนใต้กลับเป็นพื้นที่ไกลปืนเที่ยง และยากจน
ไทยพัฒนาอย่างเชื่องช้าในแง่ของการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมและรถไฟความเร็วสูง เมื่อเทียบกับมาเลเซียและ สิงคโปร์ ซึ่งต่างเดินไปล่วงหน้าเพื่อเชื่อมต่อกับไทย แต่ไทยไม่เชื่อมด้วย ทั้งที่ประเด็นนี้เป็นแผนการใหญ่ของอาเซียนและเอเชีย เพื่อเชื่อมโยงโลกตะวันออกกับตะวันตก เหนือและใต้ ไม่ใช่แค่อาเซียน ทั้งที่ประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ตรงกลาง แต่กลับไม่สามารถเปิดทางเชื่อมโยงระบบราง นี่คือปัญหา

“เมื่อปี 2015 ระบบรางของมาเลเซีย เปลี่ยนจากระบบดีเซลรางแบบบ้านเราไปเป็น อีทีเอส หรือ อิเล็คทริค เทรน เซอร์วิส คือ ระบบรางแบบไฟฟ้า ตรงเวลา ทดสอบได้ จากปาดัง เบซาร์ ไปกัวลาลัมเปอร์ เดิมใช้เวลาเป็นวัน ตอนนี้แค่ 4 ชม.ครึ่งเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจคือจากกัวลาลัมเปอร์ไปสิงคโปร์ ระยะทาง 400 กม. เขาตกลงกันว่าจะสร้างรถไฟความเร็ว 300 กม.ต่อชม. แต่กัวลาลัมเปอร์มาไทย สร้างแค่ 140-160 กม. เพราะรัฐไทย ต้องการความเร็วปานกลาง ซึ่งในภาษาอังกฤษ ไม่มีศัพท์คำนี้ การเดินทางไปมาเลเซีย ทำให้เห็นการเชื่อมโยงระบบการคมนาคม มีสถานีรถบัสตอบสนองคนโดยสารเมื่อลงจากรถไฟ ในขณะที่เมืองไทย ต้องดูว่าจะมีอะไรมารับไหม สำหรับท้องถนนของมาเลเซีย ไม่มีด่าน การทำผิดถูกยึดใบขับขี่อย่างจริงจัง ไม่มีการต่อรอง แทบไม่มีขายของริมถนน” ผศ.ดร. ธำรงศักดิ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2016 10:36 am    Post subject: Reply with quote

เอกซเรย์ระบบรางรัฐบาล คสช. แผนแม่บท “รถไฟฟ้า-ทางคู่” ได้เริ่มต้นครบ
โดย MGR Online
6 ธันวาคม 2559 08:18 น. (แก้ไขล่าสุด 6 ธันวาคม 2559 08:51 น.)


เมกะโปรเจกต์ คสช.ฟื้นเศรษฐกิจปี 59-60 รัฐบาลอนุมัติลงทุน “รถไฟฟ้า-รถไฟทางคู่” ครั้งประวัติศาสตร์ ภายในเวลา 2 ปีตั้งเป้าเคาะ รถไฟทางคู่เชื่อมโครงข่ายทั่วประเทศ ส่วนรถไฟฟ้า 10 สายในแผนแม่บทจะประมูลครบ เริ่มต้นก่อสร้างอีก 6 ปี ทยอยเปิดให้บริการได้หมด ซึ่งจะพลิกโฉมการเดินทางใน กทม.และปริมณฑลครั้งใหญ่ “เปลี่ยนชีวิตและยกระดับชีวิตคนเมือง”

นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะเข้าสู่ห้วงเวลาแห่งการก่อสร้าง ทั้งโครงการรถไฟฟ้าสารพัดสี รถไฟทางคู่หลายสายเชื่อมโยงในทุกภูมิภาคแบบปูพรมเต็มที่ เรียกว่าแทบทุกโครงการที่เคยเป็นแผนของหลายรัฐบาลที่ผ่านมาได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แบบที่ไม่มีรัฐบาลชุดไหนทำมาก่อน

กระทรวงคมนาคมรับหน้าที่สำคัญในการนำนโยบาย คสช.มาขับเคลื่อน โดยกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปี 2559 จำนวน 20 โครงการ วงเงินลงทุนกว่า 1.4 ล้านล้านบาท โดยมีทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ ท่าเทียบเรือ และสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 ซึ่งล่าสุดเตรียมจะเสนอแผนปฏิบัติการปี 2560 ซึ่งจะมีอีกไม่น้อยกว่า 30 โครงการ ครอบคลุมทั้ง “บก-ราง-น้ำ-อากาศ” ประเมินว่าวงเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 7-8 แสนล้านบาท

เช็กผลงาน “ครม.พลเอก ประยุทธ์” ได้เข้ามาเร่งรัดระบบรางของกระทรวงคมนาคม ประเดิมด้วยการอนุมัติโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. วงเงินลงทุน 11,348.35 ล้านบาท เมื่อปี 2558 และเริ่มก่อสร้างในเดือน ก.พ. ปี 2559 หลังจากนั้นได้อนุมัติเพิ่มอีก 6 โครงการ ตามแผนงานระยะเร่งด่วน วงเงินรวม 139,103.76 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น แล้ว อีก 5 เส้นทางอยู่ระหว่างประมูล จะเคาะราคากันในต้นปี 2560

ส่วนระบบรถไฟฟ้าที่อยู่ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 10 สายนั้น ปี 2559 มีการอนุมัติโครงการในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 3 โครงการ ได้แก่ สายสีเหลือง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 54,644 ล้านบาท ช่วงลาดพร้าว-สำโรง, สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 56,691.01 ล้านบาท ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอ โดยจะได้ตัวผู้ชนะในกลางเดือน ธ.ค.นี้ตามนโยบาย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเร็วกว่าแผนงาน 1 เดือน ส่วนสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 21 กม. วงเงิน 109,540.84 ล้านบาท เปิดยื่นซองข้อเสนอเมื่อวันที่ 31 ต.ค. ขณะนี้ได้เปิดซองข้อเสนอด้านคุณสมบัติและข้อเสนอด้านเทคนิคแล้ว โดยจะเปิดซองข้อเสนอด้านราคาในช่วงเดือน ก.พ. 2560 และคาดว่าจะลงนามได้เดือน เม.ย. 2560

เหลือสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 131,004.30 ล้านบาท ขณะนี้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ทำข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะประชุมในเดือน ธ.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอ ครม.ได้ปลายปีหรือต้นเดือน ม.ค. 60

ส่วนรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. คือ รถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแบบรายละเอียดเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ และการบริหารจัดการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง คาดประมูลได้ประมาณกลางปี 2560

สำหรับแผนในปี 2560 เตรียมเสนอ ครม.อนุมัติรถไฟทางคู่ระยะ 2 อีก 7 โครงการ ระยะทาง 1,493 กม. และสายใหม่ 2 โครงการ รวมวงเงินถึง 433,995.4 ล้านบาท ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม., ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม., ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม., ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม., ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 324 กม., ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม., ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม.

ทางคู่สายใหม่ 2 สาย ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 76,980 ล้านบาท
สายบ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 60,353 ล้านบาท

ส่วนรถไฟฟ้าของ รฟม. เตรียมเสนอ ครม.ในปี 2560 จำนวน 4 โครงการ วงเงินรวม 125,174.15 ล้านบาท ได้แก่ ส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ ช่วงสมุทรปราการ-บางปู, สายสีเขียวเหนือ ช่วงคูคต-ลำลูกกา, สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 และสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ

และยังมีรถไฟฟ้าของการรถไฟฯ อีก 3 โครงการ วงเงินรวม 55,123.51 ล้านบาท ได้แก่ สายสีแดง ส่วนต่อขยายจากรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา/ตลิ่งชัน-ศิริราช และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง

ซึ่ง “พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล” ผู้ว่าฯ รฟม.ระบุว่า หาก ครม.อนุมัติสายสีม่วงใต้ รฟม.จะทำราคากลางเรียบร้อยใน 1 เดือน หรือเปิดประมูลได้ในไตรมาสแรกปี 2560 และหากในปี 2560 ครม.อนุมัติรถไฟฟ้าอีก 4 สาย รฟม.จะเร่งการประกวดราคา เท่ากับปี 2560 รถไฟฟ้าในแผนแม่บทในส่วนของ รฟม.จะได้ก่อสร้างครบทั้งหมด

การผลักดันลงทุนระบบรางครั้งใหญ่ในรอบ 2 ปีของรัฐบาล คสช. ถือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลที่ผ่านๆ มา ซึ่ง “อาคม เติมพิมยาไพสิฐ” รมว.คมนาคม ระบุว่า ที่ผ่านมา “ระบบราง ระบบขนส่งมวลชน” เป็นนโยบายของทุกรัฐบาล แต่การขับเคลื่อนไม่มี ต่างจากรัฐบาลนี้เขียนนโยบายแล้วมีการลงสู่การขับเคลื่อนอย่างจริงจัง “ติดตาม-ติดขัดตรงไหน-เร่งรัด” โดยมีกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ปฏิบัติ

ซึ่งนอกจากระบบรางแล้ว ที่ผ่านมารัฐบาลได้ผลักดันทั้งโครงข่ายถนน 4 ช่องจราจร มอเตอร์เวย์ 3 สาย และในปี 2560 จะมีมอเตอร์เวย์สายนครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 119 กม. วงเงิน 80,600 ล้านบาท และทางด่วน สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 16.923 กม. มูลค่าโครงการกว่า 3 หมื่นล้านบาท, ทางด่วน N2, ทางด่วนกระทู้-ป่าตอง

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครั้งประวัติศาสตร์นี้ “รองนายกฯ สมคิด” ระบุว่าไม่ใช่มองแค่เรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศเท่านั้น สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือเป็นการวางพื้นฐานศักยภาพของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ผ่านมา “รางไม่ต่อ...ถนนไม่เพิ่ม” ขณะใครจะเข้ามาลงทุนจะมองที่โครงสร้างพื้นฐานก่อนว่าประเทศไทยพร้อมแค่ไหน จะขนส่งสินค้าไปท่าเรือแหลมฉบัง ถนนเป็นอย่างไร ตรงนี้มีการเพิ่มโครงข่าย ขยายเป็น 4 เลน เพิ่มรถไฟทางคู่ สินค้าจากภาคอีสาน จากชายแดนกัมพูชา มาใช้ท่าเรือแหลมฉบังได้สะดวกมากขึ้น

นับได้ว่าเวลา 2 ปีภายใต้รัฐบาล คสช.เป็นห้วงเวลาสำคัญแห่งการสร้างพื้นฐานความแข็งแกร่งของประเทศเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน อย่างแท้จริง...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2016 9:12 pm    Post subject: Reply with quote

แผน 'Action Plan' ปี2560 พร้อมแล้ว36โครงการวงเงิน8แสนล้าน
แนวหน้า
วันอังคาร ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559, 19.54 น.

13 ธ.ค.59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าได้มีการรายงานให้ ครม.รับทราบเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนพ.ศ. 2560 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีโครงการที่มีความพร้อมจำนวน 36 โครงการ วงเงินลงทุน 895,757.55 ล้านบาท แบ่งการลงทุนเป็นระบบราง 73.28% เป็นทางพิเศษและทางหลวงพิเศษ 18.67% ส่วนที่เหลือจะเป็นทางน้ำ ศูนย์ขนถ่ายสินค้า และในส่วนของสนามบินที่ส่วนใหญ่จะได้รับอนุมัติงบประมาณในปี 2559 แล้ว

ทั้งนี้กลุ่มโครงการที่พร้อมให้บริการได้จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 1,355.34 ล้านบาท ได้แก่ การเดินเรือ Ferry เชื่อมอ่าวไทยตอนบน และการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม กลุ่มโครงการที่เริ่มก่อสร้างได้จำนวน 5 โครงการ วงเงิน 54,798.50 ล้านบาท ได้แก่ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ,การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาค ,ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวน

รอบนอกด้านตะวันตก ,โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ที่ ครม. อนุมัติ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา และปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนกลุ่มโครงการที่เสนอ ครม./คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP)พิจารณาจำนวน 8 โครงการ วงเงิน 298,004.67 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย –เชียงราย-เชียงของ ,โครงการรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่ – นครพนม ,โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา ,โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ,ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor ,ทางพิเศษ สายกระทู้-ป่าตอง ,ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ ,ศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม กลุ่มโครงการสำคัญที่ต้องการผลักดันจำนวน 2 โครงการ วงเงิน 24,049.00 ล้านบาท ได้แก่ การพัฒนาจุดพักรถบรรทุกตามเส้นทางหลัก และระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

โดยกลุ่มโครงการที่ประกวดราคาได้จำนวน 15 โครงการ วงเงิน 468,564.48 ล้านบาท ได้แก่ จัดซื้อรถโดยสารรถไฟฟ้า จ้านวน 200 คัน และสถานีประจุไฟฟ้า ,โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ,โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม สมุทรปราการ-บางปู ,โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม คูคต-ลำลูกกา ,โครงการสายสีส้มตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ,โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย(ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท) ,โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ,โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงปากนำ้โพ – เด่นชัย ,โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ,โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น – หนองคาย ,โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร –สุราษฎร์ธานี ,โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี –สงขลา ,โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ ,โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย –เชียงใหม่ และ MRO ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ส่วนกลุ่มโครงการที่เตรียมข้อเสนอโครงการ จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 48,985.56 ล้านบาท ได้แก่ การพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมอ่าวไทยตอนบน (ระยะยาว) ,ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหาดใหญ่-ชายแดนไทย/มาเลเซีย ,การพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (ชายแดน 9 จังหวัด)และการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (เมืองหลัก 8 จังหวัด)

สำหรับโครงการที่จำเป็นจะเป็นต้องขยายระยะเวลาเพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำเนินการจำนวน 7 โครงการ วงเงินลงทุน 874,235.14 ล้านบาทแบ่งเป็นกลุ่มโครงการที่เริ่มก่อสร้างได้ จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 402,617.98 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม – หัวหิน ,โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ ,โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (งานโยธา) และโครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย – จีน (ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) กลุ่มโครงการที่ประกวดราคาได้จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 247,201.16 ล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ – หัวหิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ – ระยอง และกลุ่มโครงการที่เสนอ ครม./คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) พิจารณา จำนวน 1 โครงการ วงเงิน 224,416.00 ล้านบาท ได้แก่โครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย – ญี่ปุ่น (ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อย่างไรก็ตามเชื่อว่าวงเงินลงทุนการก่อสร้างดังกล่าวจะเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างน้อย 1% เฉพาะในส่วนของการก่อสร้างต่อ GDP เพราะหากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จหรือเริ่มขับเคลื่อนก็จะช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อีก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/12/2016 8:22 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แผน 'Action Plan' ปี2560 พร้อมแล้ว36โครงการวงเงิน8แสนล้าน
แนวหน้า
วันอังคาร ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559, 19.54 น.

เดินหน้าแอคชั่นแพลนโครงสร้างพื้นฐานปี 60 รวม 36 โครงการวงเงินกว่า 8 แสนล้าน
โดย ฐานเศรษฐกิจ จำกัด - 13 December 2559593

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 13 ธันวาคม 2559 โดยมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม ดังนี้ 1. ครม.อนุมัติการจัดทำและลงนามร่างกฎเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนสิทธิการจราจรสำหรับการขนส่งข้ามพรมแดน ณ จุดผ่านแดนอรัญประเทศ – ปอยเปต ซึ่งกระทรวงฯจะประชุมในระดับรัฐมนตรีของโครงการอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามพรมแดน ในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ในวันที่ 16 ธันวาคม 2559 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะเสนอการร่างกฎเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 ของ MOU การแลกเปลี่ยนสิทธิการจราจรระหว่างไทย – กัมพูชา มีประเด็นสำคัญ คือ การเพิ่มจำนวนรถขนส่งสินค้าและรถโดยสารไม่ประจำทาง ณ จุดผ่านแดนอรัญประเทศ – ปอยเปต ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ไม่เกิน 40 คัน เพิ่มเป็น 150 คัน เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

นอกจากนี้ กระทรวงฯจะลงนามบันทึกความเข้าใจการเริ่มก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำพรหมโหมดเพิ่มเติม เพื่อเชื่อมการเดินทางระหว่าง 2 ประเทศ เนื่องจากสะพานข้ามแดนเดิมที่ปอยเปตค่อนข้างหนาแน่น จึงจำเป็นต้องสร้างเส้นทางให้เกิดการขนส่งสินค้าได้สะดวกขึ้น

2. ครม.เห็นชอบการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7 (กรุงเทพฯ – ชลบุรี) และทางหลวงพิเศษ หมายเลข 9 (วงแหวนรอบนอก ถนนกาญจนาภิเษก ช่วงบางปะอิน – บางพลี) ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 29 ธันวาคม 2559 ถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 4 มกราคม 2560 รวมจำนวน 7 วัน เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนที่เดินทางออกต่างจังหวัด และลดปัญหาการจราจรบริเวณหน้าด่าน

3. ครม.รับทราบแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน ปี 2560 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในร่างกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) รวมทั้งยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. 2558 – 2565) โดยมีโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 36 โครงการ วงเงินรวม 895,757.55 ล้านบาท แบ่งเป็น

– รถไฟทางคู่ จำนวน 10 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ช่วงชุมพร – สุราษฎร์ธานี ช่วงสุราษฎร์ธานี – สงขลา ช่วงหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ ช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย ช่วงเด่นชัย – เชียงใหม่ ช่วงเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ช่วงขอนแก่น – หนองคาย ช่วงชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี และช่วงบ้านไผ่ – นครพนม

– รถไฟชานเมือง จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ รังสิต สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช และตลิ่งชัน – ศาลายา

– รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จำนวน 6 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงิน บางแค – พุทธมณฑล สาย 4 สายสีส้ม ตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมฯ สายสีเขียว สมุทรปราการ – บางปู สายสีเขียว คูคต – ลำลูกกา ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย (ช่วงดอนเมือง – บางซื่อ – พญาไท) และระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต

– ทางหลวงพิเศษ และทางพิเศษ จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ ทางหลวงพิเศษ สายนครปฐม – ชะอำ ทางหลวงพิเศษ สายหาดใหญ่ – ชายแดนไทย/มาเลเซีย ทางพิเศษ สายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอก กรุงเทพฯ ด้านตะวันตก ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E – W Corridor และโครงการทางพิเศษ สายกระทู้ – ป่าตอง

– สิ่งอำนวยความสะดวกทางถนน จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาจุดพักรถบรรทุกตามเส้นทางหลัก ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขขนส่งสินค้าเชียงของ ศูนย์การขนส่งชายแดน จังหวัดนครพนม การพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (ชายแดน 9 จังหวัด) และการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (เมืองหลัก 8 จังหวัด)

– รถโดยสารสาธารณะ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ การจัดซื้อรถโดยสารรถไฟฟ้า จำนวน 200 คัน พร้อมก่อสร้างสถานีประจุไฟฟ้า

– ระบบบริหารจัดการขนส่งสาธารณะ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

– ทางน้ำ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ การเดินเรือเฟอร์รี่เชื่อมอ่าวไทยตอนบน การพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมอ่าวไทยตอนบน และท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3

– ทางอากาศ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาค การปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ MRO ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา

ทั้งนี้ ในปี 2560 กระทรวงฯ มีแผนการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ โครงการต่อเนื่องจากปี 2559 และโครงการปี 2560 ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และกระทรวงฯ จะเร่งรัดและผลักดันการดำเนินงานโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยเร็วต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/12/2016 7:06 am    Post subject: Reply with quote

ประกาศแล้ว! แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ 12 มุ่งศก.ดิจิทัล-ขนส่งทางราง-ปลูกฝังคนไทยไม่โกง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 30 ธ.ค. 2559 เวลา 20:44:00 น.

วันนี้ (๓๐ ธันวาคม) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) โดยระบุว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และแผนการปฏิรูป ประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังมีสาระสําคัญตามที่แนบ ท้ายนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔

คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวมีความยาวกว่า ๒๑๕ หน้า โดยในส่วนคำนำระบุว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๖๔) ได้จัดทำขึ้นในช่วงเวลา ของการปฏิรูปประเทศท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญาน าทางในการพัฒนาประเทศต่อเนื่องจาก แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙–๑๑ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง เกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย ๔.๐ ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ

นอกจากนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ” การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการเชื่อมต่อกับ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีในลักษณะการแปลงยุทธศาสตร์ระยะยาวสู่การปฏิบัติ โดยในแต่ละยุทธศาสตร์ของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดประเด็นการพัฒนา พร้อมทั้งแผนงาน/โครงการสำคัญที่ต้องดำเนินการให้ เห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วง ๕ ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และ ระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน ยังได้กำหนดแนวคิดและกลไกการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลที่ชัดเจนเพื่อกำกับให้ การพัฒนาเป็นไปอย่างมีทิศทางและเกิดประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2017 2:09 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่าโครงการเมกะโปรเจกท์ปีการลงทุนด้านคมนาคม
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 3 มกราคม 2560 00:00:03 น.

ปี2560 จะเป็น"ปีทองการลงทุน" อีกปีของ กระทรวงคมนาคม หลายโปรเจกท์จะเป็นกลไกกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า การปฏิรูปที่สำคัญในปี 2560 คือการจัดตั้ง "กรมการขนส่งทางราง" ขึ้นมารองรับ และการผลักดันโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายที่จะถูกอนุมัติการก่อสร้างได้ครบในปี2560 พร้อมเชื่อว่าวงเงินลงทุนการก่อสร้างในปีนี้จะเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างน้อย 1%

ด้าน ชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามแผนปฏิบัติการ เร่งด่วนปี 2560 มีโครงการมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ วงเงินลงทุน 63,998 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) จะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนทั้งโครงการ ซึ่งรูปแบบจะคล้ายกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าวสำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วง แคราย-มีนบุรี ที่รัฐเวนคืนที่ดิน เอกชนลงทุนงานก่อสร้าง ดำเนินการ บำรุงรักษาและที่พัก ริมทางหลวง มูลค่าลงทุน 54,510 ล้านบาท โดยให้เอกชนจะได้สัมปทาน 30 ปี มีรายได้จากค่าผ่านทางและรายได้จากที่พักริมทาง โดยจะมีการเสนอผลการศึกษาให้คณะกรรมการ PPP อนุมัติ ได้ต้นปี 2560 และคาดว่าจะได้ผู้รับจ้างปลายปี 2560 รวมถึงลงนามในสัญญาก่อสร้างปี 2561 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2565

ขณะที่วุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)เปิดเผยว่า ในส่วนของ การรถไฟฯมีแผนการดำเนินงานในปี 2560 ในโครงการรถไฟทางคู่ 9 โครงการได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางบ้านไผ่นครพนม และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัยเชียงราย-เชียงของ ที่คาดว่าจะเสนอให้ ครม.อนุมัติโครงการไม่เกินเดือน ก.พ.2560

พร้อมคาดว่าในช่วงกลางปี 2560 จะมีการเปิดขายซองประกวดราคาได้ในอีก 7 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี คาดว่าเสนอเข้า ครม.ได้ในช่วงเดือน มิ.ย.2560

ทั้งนี้มีรายงานว่าปี 2560 ทางกระทรวงคมนาคมมีการพิจารณาโครงการที่มีความพร้อมในการลงทุนจำนวน 36 โครงการ วงเงินลงทุน 895,757.5 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการรถไฟทางคู่ 10 เส้นทาง วงเงิน 408,616.28 ล้านบาท ได้แก่

1.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน- ประจวบคีรีขันธ์ 10,239.5 ล้านบาท
2.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 23,384.9 ล้านบาท
3.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา 51,823.83 ล้านบาท
4.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 7,941.8 ล้านบาท
5.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย 56,066.2 ล้านบาท
6.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ 59,924.2 ล้านบาท
7.โครงการ รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัยเชียงราย-เชียงของ 76,978.8 ล้านบาท
8.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่นหนองคาย 26,065.7 ล้านบาท
9.โครงการรถไฟทางคู่ช่วง ชุมทางถนนจิระอุบลราชธานี 35,839.7 ล้านบาท และ
10.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่ - นครพนม 60,351.9 ล้านบาท

ส่วนรถไฟชานเมือง 2 เส้นทาง วงเงิน 26,639.07 ล้านบาทได้แก่
1.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต 7,596.9 ล้านบาท และ
2.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 19,042.1 ล้านบาท และตลิ่งชัน-ศาลายา,

ด้านระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน วงเงิน 221,148.3 ล้านบาท
1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแคพุทธมณฑลสาย 4 21,197 ล้านบาท
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ 123,354 ล้านบาท
3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มช่วงสมุทรปราการ-บางปู 12,146 ล้านบาท
4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มช่วงคูคตลำลูกกา 9,803 ล้านบาท
5.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย (ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท) รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ 31,149.3 ล้านบาท และ
6.ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต 23,499 ล้านบาท

ขณะที่ทางหลวงพิเศษและทางพิเศษ 5 เส้นทาง วงเงิน 167,222.6 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ 80,600 ล้านบาท
2.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหาดใหญ่ชายแดนไทย/มาเลเซีย 30,500 ล้านบาท
3.โครงการ ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวน รอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตกวงเงิน 31,244 ล้านบาท
4.โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor 14,382 ล้านบาท และ
5.โครงการทางพิเศษสายกะทู้- ป่าตอง 10,496.6 ล้านบาท

และทางน้ำ 3 โครงการ 36,081.2 ล้านบาท ได้แก่
1.การเดินเรือเฟอร์รี่ เชื่อมอ่าวไทยตอนบน
2.การพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมอ่าวไทยตอนบน 981.7 ล้านบาท และ
3.ท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 35,099.5 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีโครงการต่อเนื่องจากปี 2559 มีทั้งสิ้น 7 โครงการ วงเงิน 874,235.14 ล้านบาท โดย ครม.อนุมัติแล้วและเริ่มก่อสร้างได้ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหิน และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(งานโยธา) และโครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน(ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ก็สามารถเริ่มก่อสร้างได้เช่นกัน ส่วนโครงการที่สามารถประกวดราคาได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯหัวหิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯระยอง รวมถึงโครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย-ญี่ปุ่น (ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/03/2017 8:03 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมตั้งเป้าเพิ่มรางรถไฟเป็น 10,000 กม.ภายใน 10 ปี
โดย MGR Online 9 มีนาคม 2560 13:33 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า แม้ปัจจุบันคนไทยจะสามารถผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ระบบรางได้เอง เช่น การเดินรถ งานโยธา การซ่อมบำรุง แต่ยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศอีกหลายด้านในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เกิดผลสำเร็จ ดังนั้น การจัดซื้อจัดจ้างโครงการคมนาคมขนส่งทางรางของรัฐบาล ที่มีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท รวมถึงโครงการรถไฟรางคู่อีก 5 เส้นทาง ที่ยังอยู่ระหว่างการรอประมูล จึงจะเป็นรูปแบบใหม่ โดยจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือการจัดซื้อจัดจ้างที่มีเงื่อนไขความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Collaboration Program : ICP)

ทั้งนี้ รูปแบบใหม่ดังกล่าว มีเงื่อนไขให้ผู้ขายต่างประเทศต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศไทย เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีที่สำคัญจากต่างประเทศ และพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับการพัฒนาด้านระบบรางอย่างมีประสิทธิภาพ และจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของชิ้นส่วนและอุปกรณ์ภายในประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และนำไปสู่โอกาสในการผลิตชิ้นส่วนรถไฟฟ้าในประเทศเพื่อใช้เองในอนาคต ซึ่งในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย และประเทศตะวันออกกลาง มีการใช้ระบบ ICP แล้ว และประสบความสำเร็จ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวด้วยว่า รัฐบาลมีเป้าหมายเพิ่มระบบการขนส่งระบบรางจากปัจจุบันที่สัดส่วนการขนส่งระบบรางเพียงร้อยละ 2 ของจีดีพี เป็นร้อยละ 5 ของจีดีพี ในปี 2565 ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และรถไฟรางคู่หลายเส้นทาง เพื่อเพิ่มการขนส่งระบบราง หรือเพิ่มรางรถไฟอีกประมาณ 5,000 กิโลเมตร จากปัจจุบันอยู่ที่ 4,000 กิโลเมตร รวมเป็น 9,000 - 10,000 กิโลเมตร เพื่อรองรับความต้องการใช้ระบบรางที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 กิโลเมตร ในอีก 10 ปีข้างหน้า และจะช่วยลดต้นทุนลอจิสติกส์ จากร้อยละ 14 เหลือ 12 ของจีดีพี ในระยะเวลา 8 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/03/2017 10:56 am    Post subject: Reply with quote

เมกะโปรเจ็กต์ 2.2 ล้าน ล. จุดเปลี่ยนระบบคมนาคมไทย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 28 มี.ค. 2560 เวลา 07:30:40 น.

คอลัมน์ ดาต้าเบส

ขณะนี้ "คมนาคม" กำลังเร่งรัดแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 2559-2560 56 โครงการ เงินลงทุนกว่า 2.2 ล้านล้านบาท หลังขาดการลงทุนนับ 10 ปี

ล่าสุดเจียดเงิน 10 ล้านบาท เดินสายสร้างความเข้าใจใน 3 จังหวัด กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-ขอนแก่น เพื่อบอกกล่าว "ประเทศไทย" ได้อะไรจากการลงทุนครั้งใหญ่ในปี 2565 (ดูกราฟิก)

Click on the image for full size

"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รมว.คมนาคม ระบุว่า ระบบรางเป็นจุดอ่อน รัฐให้ความสำคัญทั้งการขนส่งและเดินทาง

ปัจจุบันรถไฟมีทางเดี่ยว 91% ทางคู่ 9%ทำให้ต้องรอสับหลีก อนาคตเพิ่มทางคู่ ตามแผนทยอยเปิดปี′62 มี 5 สาย 713 กม.

อาทิ มาบกะเบา-จิระ, นครปฐม-หัวหิน, ลพบุรี-ปากน้ำโพ ฯลฯ ล่าสุดกำลังก่อสร้างช่วงจิระ-ขอนแก่น คืบหน้า 16%, ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย คืบหน้า 33%

ทางคู่เฟส 2 อีก 9 สาย เช่น ปากน้ำโพ-เด่นชัย, ขอนแก่น-หนองคาย เป็นต้น

ด้านรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมือง-เชื่อมระหว่างประเทศ 4 เส้นทาง 1,039 กม. จะทยอยเสร็จตั้งแต่ปี 2563 มีทั้งโครงการระหว่างรัฐต่อรัฐและให้เอกชนร่วมลงทุน

อีกหนึ่งความท้าทายคือสร้างรถไฟฟ้าให้ครบ 10 สายทาง 464 กม.ในปี′65 เช่นเดียวกับโครงการถนน ขยาย 4 เลนสร้างมอเตอร์เวย์ ทางด่วน สถานีขนส่งสินค้าให้มากขึ้น ส่วนทางน้ำ-อากาศ เน้นเพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสินค้าและรองรับการส่งออกและท่องเที่ยวที่เติบโตทุกปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/07/2017 8:03 pm    Post subject: Reply with quote

เส้นทางรถไฟโคราช-มาบตาพุดแก่งคอย-บางซื่อขนาดทางมาตรฐานเพิ่มศักยภาพการขนส่ง
ฐานเศรษฐกิจ 19 July 2017

นับเป็นมิติใหม่ของการเพิ่มศักยภาพของการขนส่งสำหรับการเร่งผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (1.435 เมตร) โดยใช้ระบบไฟฟ้าเข้าไปให้บริการเพื่อยกระดับการให้บริการเดินทางและการขนส่งสินค้าทางรถไฟ โดยโครงการนี้เริ่มมีการศึกษาและออกแบบรายละเอียด (Definitive Design) มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2559

โครงข่ายการพัฒนาระบบรางขนาดมาตรฐานเส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อ 3 ประเทศด้วยระบบรถไฟความเร็วปานกลางที่สามารถพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคตรองรับไว้ด้วย โดยรถไฟโดยสารที่ให้บริการความเร็ว 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนรถไฟขนสินค้าให้บริการความเร็ว 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ หนองคาย-นครราชสีมา, นครราชสีมา-แก่งคอย,แก่งคอย-บางซื่อ, แก่งคอย-มาบตาพุด

Click on the image for full size

โดยในการออกแบบมีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมเส้นทาง 3 ช่วง คือช่วงนครราชสีมา-แก่งคอย, ช่วงแก่งคอย-บางซื่อ และช่วงแก่งคอย-แหลมฉบัง-มาบ ตาพุด และแบ่งออกเป็น 4 ช่วงย่อย คือช่วงบางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโล เมตร ช่วงฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด 141 กิโลเมตร ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138 กิโลเมตร และช่วงแก่งรอย-ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 105 กิโลเมตร มีทั้งโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้น โครงสร้างยกระดับช่วงสั้นๆ และโครงสร้างอุโมงค์

ทั้งนี้รถไฟโดยสารจะเดิน รถคู่ขนานไปกับรถไฟขนาด 1 เมตรจากหนองคาย ไปยังสถานีนครราชสีมา เข้ากรุงเทพมหานครผ่านสถานีปากช่อง สระบุรี อยุธยา ดอนเมือง ไปสิ้นสุดที่สถานีบางซื่อ ส่วนผู้โดยสารที่จะเดินทางไปยังภาคตะวันออกสามารถเดินรถแยกออกมาจากสถานีแก่งคอยไปยังสถานีฉะเชิงเทราไปใช้เส้นทางเดียวกับรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองเดินทางไปชลบุรีและระยองต่อไป

Click on the image for full size

ส่วนรถไฟขนสินค้าจะเดินทางจากหนองคายไปนครราชสีมา แก่งคอย ฉะเชิงเทราไปยังท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด โดยจะมีลานกองเก็บตู้สินค้าหรือคอนเทนเนอร์ยาร์ดอยู่ที่อำเภอองครักษ์เพื่อใช้กระจายสินค้าไปสู่พื้นที่โดยรอบ และยังจะมีการสร้างทางหลีกเป็นช่วงๆจำนวน 8 จุด มีตำแหน่งศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ 4 จุดคือโคกกรวด มวกเหล็ก และองครักษ์จะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงทาง และที่จุดเชียงรากน้อย จะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงหนัก ส่วนสถานีเชื่อมต่อจะอยู่ที่สถานีฉะเชิงเทรานั่นเอง ส่วนจะได้สร้างให้เกิดขึ้นจริงหรือไม่นั้นยังมีลุ้นช่วงเส้นทางทับซ้อนโครงการรถไฟไทย-จีนจะสำเร็จหรือไม่เมื่อไหร่ เท่านั้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,279 วันที่ 16 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 82, 83, 84 ... 121, 122, 123  Next
Page 83 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©