Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180358
ทั้งหมด:13491592
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 85, 86, 87 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/09/2017 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

'ญี่ปุ่น' บุก 'อีอีซี' กระชากลงทุน
ฐานเศรษฐกิจ 13 September 2017

ไทยหารือญี่ปุ่นชื่นมื่นรัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมหนุนบริษัทเอกชนลงทุนในอีอีซีเพิ่มขึ้นและส่งเสริมไทย ดึงลงทุนรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยองและเส้นทาง East-West Corridorเชื่อมเวียดนามผ่านไทยถึงอินเดีย

การเดินทางเยือนประเทศไทยของคณะนักธุรกิจญี่ปุ่นจำนวน570 ราย นำโดยนายฮิโระชิเกะเซโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (เมติ) ระหว่างวันที่11-13 กันยายน 2560 ในโอกาสครบรอบ 130 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่นและได้เข้าเยี่ยมคารวะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าในการเยือนของคณะนักลงทุนญี่ปุ่นครั้งนี้ ทางรัฐบาลไทยยกประเด็นขึ้นมาหารือ 4-5 ข้อ โดยฝ่ายไทยขอให้ทางญี่ปุ่นช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี โดยเฉพาะการเข้ามาลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง รวมถึงการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก หรือ East-WestCorridor ที่เชื่อมจากเวียดนามสู่ลาวและผ่านเข้าสู่ไทย-เมียนมาออกไปยังอินเดีย เนื่องจากจะยิ่งช่วยเสริมสร้างความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับภูมิภาคนอกเหนือไปจากเส้นทางรถยนต์ที่มีอยู่แล้วในเวลานี้

นอกจากนี้ เนื่องจากไทยสนใจที่จะเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(ทีพีพี) โดยทางญี่ปุ่นมีบทบาทในการเจรจา จึงขอให้แบ่งปันข้อมูล เพื่อให้ฝ่ายไทยได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วม รวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP) ได้ขอให้ทางญี่ปุ่นแสดงบทบาทนำในการขับเคลื่อนการเจรจาโดยเฉพาะการเปิดตลาดสินค้า

ขณะที่ไทยมียุทธศาสตร์ประเทศ 20 ปี อยากให้ญี่ปุ่นสนับสนุนไทยในการปฏิรูปอุตสาหกรรมก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0และให้เข้ามาลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะการร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

นายอุตตม สาวนายนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันนักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนในไทยจำนวนมากเชื่อว่าการเดินทางมาเยือนครั้งนี้จะเกิดการขยายการลงทุนจากรายเก่าและรายใหม่เพิ่มขึ้น ตามนโยบายของประเทศที่มีการปรับเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม4.0 โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่อีอีซี ที่รัฐบาลให้สิทธิพิเศษจูงใจค่อนข้างมาก ประกอบกับทางญี่ปุ่นคาดหวังไทยค่อนข้างมากในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการขับเคลื่อนห่วงโซ่ด้านการผลิตสู่ภูมิภาคนี้ ส่วนการตัดสินใจของนักลงทุน ภายในสิ้นปีนี้น่าจะมีความชัดเจนของเม็ดเงินลงทุนที่จะออกมา เนื่องจากจะต้องรอสรุปผลการดำเนินงานของการเดินทางเยือนครั้งนี้ก่อน

++นวัตกรรมพาไปสู่เป้าหมาย
นายฮิโระชิเกะ เซโกะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น(เมติ) กล่าวในงาน “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ภายใต้การเชื่อมนโยบาย Thailand 4.0 towards Connected Industries” ซึ่งเป็นงานสัมมนาครั้งใหญ่ที่มีบริษัทญี่ปุ่นเข้าร่วมงานจำนวนมาก กล่าวว่าญี่ปุ่นพร้อมให้การสนับสนุนและเล็งเห็นว่านโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของไทยที่เน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้

ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นเองมีประสบการณ์การบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในภาคการผลิตและปฏิวัติอุตสาหกรรมภายในประเทศทั้งยังตระหนักดีถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต มาใช้เชื่อมโยงกันเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในภาคอุตสาหกรรม จากประสบการณ์ที่มีมายาวนาน ญี่ปุ่นจึงพร้อมและยินดีที่จะสนับสนุนไทยในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ รวมทั้งการส่งเสริมบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยด้วย

++อีอีซีเป็นหัวจักรขับเคลื่อน
ด้านนายฮิโระยุกิ อิชิเกะประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร)เปิดเผยว่าตัวเลขการลงทนุ ของญี่ปุ่นในประเทศไทยเมื่อปี 2559นั้น สูงถึง 71,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีบริษัทญี่ปุ่นดำเนินธุรกิจอยู่ในไทยกว่า 5,000 บริษัทซึ่งนับว่าสูงมาก สะท้อนถึงความมั่นใจและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและมั่นคง เมื่อไทยมีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีโครงการพัฒนาอีอีซี เป็นหัวจักรขับเคลื่อนสำคัญเขามองว่านี่คืออนาคตของเศรษฐกิจไทย และยังจะเป็นโครงการที่กำหนดอนาคตและบทบาทของบริษัทญี่ปุ่นในไทยอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ประธานเจโทรกล่าวว่า มีเรื่องที่ไทยต้องเร่งปรับปรุงเพื่อให้นโยบายไทยแลนด์4.0 และการพัฒนาอีอีซีรุดหน้า ตามเป้าหมาย อันดับแรกแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร การขาดแคลนวิศวกร ซึ่งในการนำคณะมาเยือนไทยครั้งนี้ ญี่ปุ่นได้เซ็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตอบโจทย์การพัฒนาวิศวกรและอาชีวศึกษาของไทยป้อนอุตสาหกรรมเป้าหมายผ่านโครงการที่ชื่อว่า Flex Campus อันดับ 2 ต้องสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา(R&D) ให้มากขึ้น ซึ่งเจโทรแนะนำว่า ไทยควรจะตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาขึ้นในพื้นที่อีอีซี

อันดับ 3 พัฒนาโครง สร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ทั้งในพื้นที่อีอีซีและการเชื่อมโยงไทยกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งครอบคลุมถึงด้านกายภาพ เช่นถนนและระบบขนส่ง โลจิสติกส์ ไปจนถึงด้านซอฟต์แวร์ เช่นการพัฒนาให้กระบวนการด้านศุลกากรมีความสะดวกรวดเร็ว จุดนี้จะช่วยหนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพื่อช่วยเสริมการทำงานของคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย ภาคเอกชนของญี่ปุ่นภายใต้หอการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย(เจซีซี) จะจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านอีอีซีขึ้นมา เพื่อทำงานร่วมกับฝ่ายไทยอย่างใกล้ชิดด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,296 วันที่ 14 - 16 กันยายน พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2017 7:01 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ไทยหวังญี่ปุ่นลงทุนหลักในอีอีซีควงลงพื้นที่พรุ่งนี้จีบลงทุนจริง
MGR Online เผยแพร่: 12 ก.ย. 2560 17:00:00

Mongwin wrote:
"สมคิด"ลั่นญี่ปุ่นหุ้นส่วนชีวิต ดึงสร้างรถไฟเชื่อมตะวันตก-ออก
เดลินิวส์ อังคารที่ 12 กันยายน 2560 เวลา 17.41 น.

Mongwin wrote:
'ญี่ปุ่น' บุก 'อีอีซี' กระชากลงทุน
ฐานเศรษฐกิจ 13 กันยายน 2560



Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size


นี่ครับทางรถไฟสาย เชื่อมตะวันตก - ตะวันออกที่พูดถึงกันจัง ต้องลงทุนตั้ง 98000 ล้านบาทกะทางรถไฟ ยาว 322 กิโลเมตร จาก บ้านพุน้ำร้อน - หนองปลาดุก - ท่าแฉลบ - พานทอง - ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ที่ ต้องแบ่งงานอย่างน้อย 7 ช่วงดั่งนี้

4.1. บ้านพุน้ำร้อน - ท่ากิเลน 36 กิโลเมตร ต้องสร้างใหม่
4.2. ท่ากิเลน - วังเย็น - 23 กิโลเมตร บูรณะทางด้วยราง 110 ปอนด์ หมอนคอนกรีต โรยหินหนา เป็นฟุต
4.3. วังเย็น - ท่าเรือน้อย - 29 กิโลเมตร ต้องสร้างใหม่ เป็นทางเลี่ยงเมืองกาญจนบุรี และ สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง ที่ ท่าเรือน้อย
4.4. ท่าเรือน้อย - หนองปลาดุก - 30 กิโลเมตร บูรณะทางด้วยราง 110 ปอนด์ หมอนคอนกรีต โรยหินหนา เป็นฟุต
4.5. หนองปลาดุก - ท่าแฉลบ - 27 บูรณะทางด้วยราง 110 ปอนด์ หมอนคอนกรีต โรยหินหนา เป็นฟุต และ อาจต้องเพิ่มทาง 3 และทาง 4 ซึ่งจะทำได้หรือเปล่าก็สุดที่จะรู้

4.6. ท่าแฉลบ - พานทอง - 118.5 กิโลเมตร ต้องสร้างใหม่ สร้างยากที่สุด เพราะ ต้องสร้างสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และ แม่น้ำบางปะกง ผ่านนครชัยศรี สามพราน กระทุ่มแบน เมืองสมุทรสาคา บางขุนเทียน พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ บางพลี บางบ่อ บางปะกง และ พานทอง

4.7. พานทอง - Laem Chabang ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง - 58.5 กิโลเมตร บูรณะทางด้วยราง 110 ปอนด์ หมอนคอนกรีต โรยหินหนา เป็นฟุต และ อาจทำทาง 3 - 4 ด้วยก็ได้

นอกจากนี้ยังต้องทำ ทางรถไฟในพม่า ยาว ราวๆ 150 กิโลเมตรจาก บ้านพุน้ำร้อนไปท่าเรือทวาย มูลค่า 7หมื่นล้านบาท ด้วย
http://www.thansettakij.com/2015/10/19/14077
http://www.prachachat.net/news_detai...sid=1430114485
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=831961023539123&set=a.823340311067861.1073741854.100001756997990&type=1&ref=notif&notif_t=like_tagged
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/646153
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=831961023539123&set=a.823340311067861.1073741854.100001756997990&type=1&ref=notif&notif_t=like_tagged
http://bit.ly/1zMpUfw
http://www.thansettakij.com/2016/12/14/119094
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430114485
http://www.mfa.go.th/business/th/news/84/56115-332%E0%B8%81%E0%B8%A1.%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81.html
http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000118462
https://www.facebook.com/Homebuyersfanpage/photos/pcb.633093136824869/633092846824898/?type=1&theater
https://www.youtube.com/watch?v=vviq3HEQJCQ
https://www.youtube.com/watch?v=s3T7XHS3amU
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431324472
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2017 11:32 am    Post subject: Reply with quote

ประมูลก่อสร้างตีปีก จัดซื้อจัดจ้าง3หมื่นรายการต่อปี
ฐานเศรษฐกิจ 17 September 2017

เข้าสู่ยุคของการปฏิบัติให้สอดคล้องกับการประกาศใช้พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่อย่างเป็นทางการที่การประมูลแต่ละโครงการจะต้องไปขึ้นตรงกับกรมบัญชีกลางทั้งหมด ส่งผลให้ภาครัฐคือหน่วยงานต่างๆ และภาคเอกชนโดยเฉพาะบริษัทรับเหมาต้องปรับตัวกันอย่างมากเพื่อให้ได้รับงานกันอย่างเต็มที่ในปลายปีนี้และปีหน้า

ทั้งนี้นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงแนวทางการเร่งขับเคลื่อนพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลว่าควรจะนำไปบังคับใช้กับโครงการขนาดใหญ่ให้สำเร็จ ให้เข้าที่เข้าทางก่อนแล้วจึงค่อยนำไปใช้กับโครงการขนาดกลางและขนาดย่อย แม้ว่าการประกาศใช้ในครั้งนี้จะดูเร่งรีบก็ตาม จึงเป็นห่วงว่าท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลให้โครงการต่างๆต้องล่าช้าออกไปหรือไม่ และเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลางมีเพียงพอและเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นอย่างดีมากน้อยแค่ไหน

สังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
สังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์



++แนะงานใหญ่ใช้วิธีอี-บิดดิ้ง
ดังนั้นหากโครงการไหนที่งบประมาณเกิน 1,500 ล้านบาทจึงควรจะเข้าไปสู่วิธีการประมูลอี-บิดดิ้งของกรมบัญชีกลางส่วนโครงการที่งบระดับ 5-10ล้านบาทควรจะชะลอการบังคับใช้ไว้ก่อนได้ หากรัฐจะหาวิธีป้องกันการฮั้วประมูลเนื่องจากหากโครงการขนาดใหญ่ทำได้สำเร็จก็จะช่วยลดงบประมาณได้มหาศาลโดยควรแบ่งเฟสดำเนินการ ไม่ควรเหมาเข่งแบบนี้เพราะบุคลากรพร้อมหรือไม่ ความร่วมมือจากหน่วยงานต้นสังกัดมีมากน้อยแค่ไหน จะส่งผลให้รัฐบาลขับเคลื่อนโครงการล่าช้าไปหรือไม่ล้วนต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ

ทั้งนี้ระบบอี-บิดดิ้งมีกระบวนการเสนอราคาและเคาะราคาที่ซับซ้อนจึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีการป้องกันการฮั้วได้พอสมควรช่วยรัฐประหยัดงบประมาณไปได้มาก แต่การประกาศใช้พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่นี้อาจจะส่งผลกระทบให้โครงการประมูลต่างๆชะลอระยะเวลาออกไปแน่นอนว่าโครงการระยะเร่งด่วนมีผลกระทบแน่

“ดังนั้นจึงควรแบ่งขนาดของงานไปดำเนินการ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ควรนำร่องประมูลก่อนแล้วค่อยไปดำเนินการในโครงการย่อยต่างๆ อาทิโครงการระดับ 1,000 ล้านบาทจะต้องเข้าสู่การดำเนินการอี-บิดดิ้งของกรมบัญชีกลาง ส่วนโครงการย่อยให้แต่ละหน่วยรับไปดำเนินการก่อน”

ปัจจุบันงานประมูลจัดซื้อจัดจ้างมีไม่น้อยกว่า 300-400 รายการหรือปีละกว่า 3 หมื่นรายการหากจะใช้บริษัทที่ปรึกษาเข้าไปดำเนินการคงจะมีจำนวนมากราย นับเป็นอีกหนึ่งการเติบโตของบริษัทที่ปรึกษาหากภาครัฐให้ความสำคัญเนื่องจากปัจจุบันมอบหมายให้เพียงการออกแบบ ควบคุมงาน แต่หากจะให้มีที่ปรึกษาจัดซื้อจัดจ้างยังไม่เห็นมีดำเนินการ อีกทั้งรัฐยังต้องขออนุมัติต้งั งบประมาณไปดำเนินการ จึงต้องจับตามองว่ารัฐจะใช้แนวทางใดแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้

“ประการหนึ่งนั้นสมาคมยังพยายามขับเคลื่อนให้มีการตั้งสภาก่อสร้างเพื่อควบคุมดูแลการก่อสร้างต่างๆ โดยมีบุคลากรหน่วยงานภาครัฐเข้ามาร่วมทำงานจากที่ปัจจุบันมีหน่วยงานกรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการอยู่บางส่วนแล้วก็ตาม”

++สมาชิกเร่งปรับตัวรับมือ
ผู้รับเหมาชั้นนำหรือรายใหญ่ที่เคยรับงานหรือรับงานกับภาครัฐขนาดใหญ่มาอย่างต่อเนื่องอาจจะไม่น่าเป็นห่วง จะห่วงก็เฉพาะรายกลางรายย่อยเท่านั้นที่อาจจะปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะการจดทะเบียนจะล่าช้าดังนั้นกรมบัญชีกลางจะต้องเร่งสร้างความชัดเจนโดยเร็ว แม้ว่าช่วงนี้จะอนุโลมให้ใช้วิธีปฏิบัติตามระเบียบเดิมไปก่อนก็ตาม ซึ่งเมื่อประกาศใช้ครบทั้งหมดก็จะมีหน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจเข้าไปสู่ระเบียบปฏิบัติกันทุกหน่วย หากรัฐไม่มองปัญหาที่จะเกิดขึ้นไว้ตั้งแต่วันนี้ก็จะสร้างผลความเสียหายตามมาได้ด้วยเช่นกัน

“รายกลาง รายย่อย บางรายอาจจะโดนเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่จะมีระบุเครื่องจักรเครื่องยนต์นั่นคือจะต้องมีการยกระดับขีดความสามารถทางธุรกิจเพิ่มขึ้น จะต้องมีการลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะทุนจดทะเบียนรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้ เช่นเดียวกับรายที่จะมีการร่วมทุนกับรายอื่นต้องเช็กรายละเอียดให้ครบถ้วนซึ่งในส่วนของสมาคมจะพยายามต่อรองกับกรมบัญชีกลางเพื่อไม่ให้ปัญหาเกิดผลกระทบตามมาได้นั่นเอง”

++ภาพรวมก่อสร้างปีนี้
ปัจจุบันบริษัทรับเหมารายใหญ่ล้วนรับงานในระดับหลักแสนล้านบาท โดยเฉพาะโครงการมอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ สนามบินสุวรรณภูมิเฟส2 ก่อสร้างท่าเรือล้วนมีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาทขึ้นไป จึงมีผลอย่างมากด้านการมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนอกจากนั้นยังมีภาคเอกชนสนใจจะลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าอีกหลายรายคาดว่าปลายปีนี้และปีหน้ายังจะมีการลงทุนเกิดขึ้นมากมายตามมาอีก

ประการสำคัญปลายปีนี้และปีหน้าภาครัฐหลายหน่วยงานยังคงมีการลงทุนอีกจำนวนมากอาทิ กรุงเทพมหานครที่ล่าสุดสภากรุงเทพมหานครได้อนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท และยังจะมีอีกหลายหน่วยเร่งดำเนินการโดยเฉพาะหน่วยงานหลักอย่างกรมทางหลวงปี 2561 คาดว่าจะได้รับงบประมาณไม่น้อยกว่า 5-6หมื่นล้านบาท กรมทางหลวงชนบทไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาทซึ่งยังเป็นหน่วยหลักที่มีการใช้งบประมาณจำนวนมากในแต่ละปี

++ปี 2561 ยังมีงานอีกมาก
ส่วนปีหน้ายังมองว่ามีโครงการรถไฟทางค่อู ีก 9 เส้นทางมูลค่ารวมกว่า 4 แสนล้านบาท นอกจากนั้นยังมีโครงการตามแผนงบประมาณของหน่วยต่างๆ เพิ่มเข้ามาอีกหลายรายการคงจะกระจายงานให้กับบริษัทรายกลางและรายย่อยได้อีกจำนวนมาก

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือบริษัทรับเหมาที่รับงานอาคารจะกระทบได้หากงานทะลักออกมาจำนวนมากอาจรับมือไม่ทันที่อาจจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีนี้เมื่อโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐแล้วเสร็จ ซึ่งหากจะให้เห็นผลชัดเจนภาครัฐควรกำหนดแผนงานด้านงานอาคารขนาดใหญ่ตามมาอีกเพื่อให้เอกชนได้วางแผนรับมือเอาไว้แต่เนิ่นๆ

“เมื่อโครงสร้างรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์แล้วเสร็จงานด้านอาคารขนาดใหญ่อย่างศูนย์ประชุมของภาครัฐและเอกชนก็คงจะเกิดขึ้นตามมา ขณะนี้พอเห็นอยู่บ้างสำหรับการก่อสร้างอาคารสถานีรถไฟรถไฟฟ้าต่างๆ แต่ละจุดมูลค่าไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีแผนกำหนดเอาไว้ในนโยบายภาครัฐก็ตามจึงฝากความหวังไว้กับรัฐบาลต่อไปเร่งขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,297 วันที่ 17 - 20 กันยายน พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2017 6:56 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯจ่อครม.สัญจรอยุธยารับฟังปชช.ช่วยเกษตรกร
INN News ข่าวการเมือง วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ.2560 18:02 น.

นายกรัฐมนตรี เตรียมนำ ครม. ลงพื้นที่ภาคกลางประชุม ครม.นอกสถานที่ 18 - 19 ก.ย. ตั้งเป้าพัฒนาสู่มหานครทันสมัย เป็นฐานเชื่อมโยงไทยสู่เส้นทางขนส่ง 2 ฝั่งทะเล

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เตรียมนำคณะรัฐมนตรีลงพื้นที่ภาคกลาง ติดตามความคืบหน้าโครงการตามนโยบายรัฐบาล พร้อมรับฟังประชาชนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ จ.อยุธยา 18-19 ก.ย. 2560

ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง อาทิ จัดที่ดินทำกินแก่ราษฎรยากไร้ ส่งเสริมพัฒนาอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมวิจัยและพัฒนาอ้อยพันธุ์ดี ขยายพันธุ์อ้อยปลอดโรคสู่เกษตรกร พัฒนาขีดความสามารถ SMEs ในการแปรรูปการเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่มครบวงจร รวมถึงโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งใน 7 ลุ่มน้ำหลักของภาคกลาง ได้แก่ ก่อสร้างปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานกว่า 200,000 ไร่ มีผู้ได้ประโยชน์กว่า 155,000 ครัวเรือน ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ ขุดลอก กำจัดวัชพืช ให้เก็บกักน้ำได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในฐานะเมืองโบราณในพระนครศรีอยุธยาเป็นมรดกโลก ซึ่งที่ผ่านมาประสบปัญหาความเป็นระเบียบและความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว จึงจัดโครงการประชารัฐ เนรมิตอยุธยา โดยบูรณะโบราณสถาน ส่งเสริมเดินทางโดยจักรยาน เรือ รถราง สร้างจุดแวะพัก ดูแลปลอดภัยนักท่องเที่ยว พร้อมเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมแหล่งท่องเที่ยวเมืองอื่น ๆ เช่น โครงการมอเตอร์เวย์สาย บางปะอิน-นครราชสีมา บางใหญ่-กาญจนบุรี และก่อสร้างรถไฟทางคู่ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ มาบกะเบา-ชุมทางจิระ ลพบุรี-ปากน้ำโพ เป็นต้น ส่วนการดูแลรักษาความสะอาด รัฐบาลได้สร้างระบบฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิชาการ ล่าสุดได้นำร่องก่อสร้างศูนย์บริหารจัดการขยะแบบครบวงจรที่บ่อขยะกลางทุ่ง อ.บางบาล

สำหรับการประชุม คณะรัฐมนตรี ตั้งเป้าพัฒนาภาคกลางสู่มหานครทันสมัยเป็นฐานเชื่อมโยงไทยสู่เส้นทางขนส่ง 2 ฝั่งทะเล เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก บรรเทาความเสียหายให้แก่ประชาชน ช่วยเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยจากพายุเซินกาและตาลัสด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2017 8:17 pm    Post subject: Reply with quote

อัดเม็ดเงิน 9.8 แสนล้านหนุนอีอีซี ผุดสารพัดโครงข่ายเชื่อมรอบทิศ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 20 กันยายน 2560 - 19:50 น.

หลังรัฐบาล คสช.ประกาศจะดึงนักลงทุนทุกมุมโลกมายังระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ครอบคลุมพื้นที่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง

ล่าสุด “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” จัดสรรเงิน 10 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษาศึกษาและจัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์รองรับ และสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน จะแล้วเสร็จ ก.ย.นี้ ตามไทม์ไลน์จะสรุปรายงานฉบับสมบูรณ์ เสนอคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) มี “อุตตม สาวนายน” เจ้ากระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน 20 ก.ย. 2560

ก่อนจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มี “บิ๊กตู่-พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ประทับตรา ก่อนรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบต่อไป

“ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ” ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลด้านต่าง ๆ เช่น อีอีซี เขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้ความต้องการในการเดินทางและการขนส่งเพิ่มขึ้นในอนาคต จึงต้องมีแผนการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์รองรับ ช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัด สนับสนุนการค้าชายแดนที่มีปริมาณสูงขึ้นทุกปี และการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ

“การศึกษาเน้นพื้นที่ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี รวมถึง สระแก้ว จันทบุรี และตราด โดยศึกษาและวิเคราะห์ระบบเครือข่ายโลจิสติกส์รองรับ เขตเศรษฐกิจพิเศษ Super Cluster และประตูการค้าสำคัญทั้งโครงข่ายหลัก โครงข่ายรอง รวม 101 โครงการ วงเงิน 342,000 ล้านบาท ยังไม่รวมโครงการ PPP”


เมื่อมีการพัฒนาจะส่งให้ GDP เพิ่มขึ้น 4% ในปี 2564 และ 4.9% ในปี 2569 ในพื้นที่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง คาดว่าจะเติบโต 18% ในปี 2564 และ 40% ในปี 2569

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในพื้นที่อีอีซี จะมี 168 โครงการ วงเงิน 988,948 ล้านบาท โดยแหล่งเงินก่อสร้างมาจาก 4 แหล่ง คือ งบประมาณประจำปี เงินรัฐวิสาหกิจ ให้เอกชนร่วม PPP และกองทุนหมุนเวียน แบ่งดำเนินการ 3 ระยะ เร่งด่วนปี 2560-2561 วงเงิน 217,412 ล้านบาท

ระยะกลางปี 2562-2564 วงเงิน 414,360 ล้านบาท และระยะยาวหลังปี 2565 เป็นต้นไป วงเงิน 328,349 ล้านบาท แยกเป็น “กรมทางหลวงชนบท” 22 โครงการ วงเงิน 62,946 ล้านบาท เช่น ถนนหมายเลข 7-ท่าเรือแหลมฉบัง, สายนิคมสร้างตนเอง-บ.ห้วยโป่ง, แยกถนน 314-ลาดกระบัง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นต้น

Click on the image for full size

“กรมทางหลวง” 64 โครงการ 151,620 ล้านบาท อาทิ สาย 304 มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา ตอน 2 และตอน 3, สาย 331 หนองขาม-มาบเอียง, สาย 344 บ้างบึง-แกลง ตอน 1

“การรถไฟแห่งประเทศไทย” 8 โครงการ 378,490 ล้านบาท อาทิ ก่อสร้างสถานีรถไฟอู่ตะเภา, รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง เชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ เป็นต้น

“กรมการขนส่งทางบก” 1 โครงการ เปิดเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางรองรับสนามบินอู่ตะเภา”กรมเจ้าท่า” 2 โครงการ 1,109 ล้านบาท มีพัฒนาเส้นทางเดินเรือเฟอรี่พัทยา-หัวหิน เป็นต้น

“การท่าเรือแห่งประเทศไทย” 3 โครงการ 146,443 ล้านบาท ได้แก่ พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3, ศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟ และพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่งท่าเทียบเรือ A

“เมืองพัทยา” 1 โครงการ 20,102 ล้านบาท รถไฟรางเบา (Tram) เมืองพัทยา “กองทัพเรือ” มี 19 โครงการ รองรับการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค 168,814 ล้านบาท อาทิ ก่อสร้างไฮสปีดแท็กซี่เวย์, อาคารจอดรถ, ติดกล้องวงจรปิด เป็นต้น

และอีก 13 โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ 2,050 ล้านบาท เช่น สำรวจออกแบบใช้ประโยชน์พื้นที่ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ, ก่อสร้างท่าเรือเฟอรี่ เป็นต้น

“บมจ.การบินไทย” 1 โครงการ 5,030 ล้านบาท คือ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ในสนามบินอู่ตะเภา

“การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” 1 โครงการ 11,005 ล้านบาท พัฒนาท่าเรือมาบตาพุด

“การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค” 10 โครงการ 18,261 ล้านบาท อาทิ โครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าระยะที่ 3, พัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าระยะที่ 9 ส่วนที่ 3

“การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” 2 โครงการ 22,198 ล้านบาท ขยายระบบไฟฟ้าระยะที่ 12 และปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า

“การประปาส่วนภูมิภาค” 18 โครงการ 806 ล้านบาท และ “สนข.” 3 โครงการ 70 ล้านบาท ศึกษาการพัฒนาลานจัดคิวรถบรรทุกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง, การพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ (ICD) และศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่อีอีซี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2017 7:00 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลปักธงไทยศูนย์กลาง ศก. เชื่อมโลกลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง-ถนน
สยามรัฐออนไลน์ 20 กันยายน 2560 เศรษฐกิจ

นับตั้งแต่มีการลงทุนโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเสร็จสิ้นเมื่อสิบปีก่อนแล้ว ประเทศไทยก็ยังไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่จะดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ประเทศเลย ส่งผลให้ปัญหาด้านระบบการขนส่งคมนาคม หรือ โลจิสติกส์ สะสมมายาวนาน เป็นผลให้ต้นทุนในการทำธุรกิจสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และบั่นทอนขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศให้ลดลง

ภายหลังรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อ 12กันยายน 2557 เข้ามาบริหารประเทศ ก็ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 รวมระยะเวลา 8 ปี มีเป้าหมายเพื่อเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศขนาดใหญ่ทุกรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางและการขนส่งภายในประเทศ เชื่อมโยงระหว่างเมืองหลักกับหัวเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาค ตลอดจนสามารถติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบายที่แถลงต่อ สนช.

โครงการพัฒนาระบบราง โดยเฉพาะรถไฟระหว่างเมืองได้ถูกจัดอันดับให้เป็นโครงการที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ เพราะถือเป็นหัวใจสำคัญของการขนส่งสมัยใหม่ ทั้งประหยัด รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งที่ผ่านมาเส้นทางรถไฟทั่วประเทศที่มีกว่า 4,043 กิโลเมตร ได้ขาดช่วงการพัฒนามานานจนมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ขณะที่เป็นแบบรางเดี่ยว 3,763 กิโลเมตร หรือร้อยละ 93 เป็นรางคู่เพียงแค่ 7%

พลเอกประยุทธ์ ได้ปักธงตามแผนยุทธศาสตร์ว่า ภายในปี 2565 ประเทศไทยจะต้องมีทางรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นจาก 357 ก.ม. เป็น 3,994 ก.ม. โดยผลักดันให้อยู่แผนปฏิบัติการคมนาคมระยะเร่งด่วน ปี 2559 และคัดเลือกโครงการลงทุนรถไฟทางคู่สำคัญ 7 เส้นทางมาดำเนินการก่อน และได้เริ่มก่อสร้างแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 ก.ม. และสายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 132 ก.ม. ตามแผนจะเปิดใช้งานได้ภายในปี 2561-62

ส่วนแผนพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่เพิ่มอีก 9 เส้นทาง ระยะทาง 2,217 กิโลเมตร มูลค่ารวม 3.9 แสนล้านบาท ก็อยู่ในแผนเร่งด่วน ซึ่งมี 1 โครงการที่ได้รับการอนุมัติจากบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว คือ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ส่วนอีก 8 เส้นทางอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดของโครงการ คาดว่าจะสามารถจัดทำเสนอได้ภายในปี 2560
หากมีการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่เสร็จสิ้น จะทำให้ไทยมีระบบรถไฟเป็นทางคู่ยาวตลอดตั้งแต่เหนือจรดใต้ รวมถึงภาคอีสานในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 39 เป็น 60 ก.ม./ชั่วโมง และความเร็วขบวนรถไฟโดยสารเพิ่มขึ้นจาก 60 เป็น 100 ก.ม./ชั่วโมง เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มจาก 2.5% เป็น 5% และการขนส่งผู้โดยสารผ่านทางรถไฟเพิ่มจาก 45 ล้านต่อปี เป็น 75 ล้านคน

อีกหนึ่งไฮไลท์ที่เป็นผลงานสำคัญของรัฐบาล นั่นคือ การลงทุนพัฒนา รถไฟความเร็วสูงระหว่างเมือง 4 สายทาง สายแรกที่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมแล้วคือ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 252.5 ก.ม. ภายใต้วงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2560 – 2563) คาดเปิดใช้ปี 2564 จากนั้นจะพัฒนาระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา- หนองคาย และช่วงที่ 3 ช่วงแก่งคาย- มาบตาพุด ต่อไป ซึ่งล่าสุด รมว.คมนาคม ได้ลงนามกับรัฐบาลจีนแล้ว 2 สัญญา คือ สัญญาการออกแบบรายละเอียดและสัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง

นับเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าแรกให้กับประเทศไทยในการพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรก ที่สำคัญโครงการนี้ยังก่อให้เกิดการโอนถ่ายวิทยาการ และเทคโนโลยีการขนส่งสมัยใหม่ให้แก่ประเทศไทย ตลอดจนช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและจ้างงานในไทย เพราะงบลงทุนกว่า 75% ของงบลงทุนทั้ง 1.79 แสนล้านบาท จะถูกใช้สำหรับว่าจ้างผู้รับเหมาและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างของไทยทั้งหมด

นอกจากความร่วมมือกับจีนแล้ว รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ยังมีแผนพัฒนาความร่วมมือด้านระบบรางไทย-ญี่ปุ่นอีกด้วย ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 ก.ม. ซึ่งการศึกษารายละเอียดก่อสร้างจะเสร็จในสิ้นปีนี้ , เส้นทาง Southern Corridor เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ซึ่งได้เริ่มนำร่องทดลองขนส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ผลักดันรถไฟความเร็วสูงสู่ภาคตะวันออกและภาคใต้อีก 2 เส้นทาง คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193.5 ก.ม. และกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 ก.ม. โดยทั้งสองโครงการนี้จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) เพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ ซึ่งทั้งสองโครงการเมื่อแล้วเสร็จจะช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวใน 2 พื้นที่ และกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลด้วย

โครงการพัฒนาทางถนน ซึ่งยังเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศไทย รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เพิ่มเติม จำนวน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 196 ก.ม. ขณะนี้ได้ลงมือก่อสร้างแล้วและจะเปิดใช้ได้ภายในปี 2563 พร้อม ๆ กับ มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 ก.ม. ที่เชื่อมต่อเส้นทางภาคตะวันตกไปถึงโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในประเทศเมียนมาได้

เส้นสุดท้ายเป็น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร ขณะนี้การก่อสร้างก้าวหน้าไปแล้วถึง 1 ใน 3 และจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2562 ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าต่าง ๆ ในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญหลายแห่ง ตั้งแต่อีอีซี ไปจนถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในจังหวัดระยอง ชลบุรี ให้สามารถขนส่งสินค้าไปส่งออกต่อยังทางเรือผ่านท่าเรือแหลมฉบัง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ง่ายและเร็วขึ้น

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เห็นว่า การที่ภาครัฐหันมาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเน้นระบบรางและถนนถือว่าถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ประเทศและลดต้นทุนการขนส่งแก่ภาคธุรกิจ ทำให้ประเทศไทยมีความน่าสนใจในการลงทุนต่อนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากเงื่อนไขที่ต่างชาติจะเลือกมาลงทุนในประเทศใดในปัจจุบัน จะดูเรื่องความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานมาเป็นลำดับแรก

“อีกจุดที่สำคัญจะช่วยผลักดันให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่ง การค้า การลงทุนของภูมิภาคด้วย หรือเรียกว่า 1 ภูมิภาคเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจโลก เพราะโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในแผนของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นระบบราง หรือถนนมีจุดมุ่งหมายเข้าไปเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจที่สำคัญๆ ของโลก เช่น รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน อนาคตก็จะมีการขยายไปเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงของลาว และจีน หรือภาคตะวันตกจะมีการทำทางมอเตอร์เวย์เส้นทาง บางใหญ่-กาญจนบุรี เพื่อรองรับการเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเมียนมา และยังต่อเชื่อมไปถึงอินเดีย มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอีกประเทศได้ รวมถึงรถไฟทางคู่ในภาคใต้ก็จะสนับสนุนพื้นที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจของไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ดังนั้นการทำโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐกำลังทำอยู่นี้จะเป็นการสร้างพื้นฐานให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อไปได้อีกหลายสิบปี” นายอัทธ์ ระบุ

นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางรถบรรทุกแห่งอาเซียน กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถบรรทุกสนับสนุนให้เร่งการทำรถไฟทางคู่ให้เสร็จตามแผนโดยเร็ว ทั้ง 5 เส้นทางที่กำลังจะเปิดประมูลอยู่นี้รวมถึงแผนอื่น ๆ ในอนาคต เพราะถ้าใช้ระบบรางมากขึ้นแล้วจะช่วยทำการขนส่งในประเทศมีประสิทธิภาพขึ้นทวีคูณ นอกจากประหยัดขึ้นแล้ว ยังลดมลพิษ และการสูญเสียจากอุบัติเหตุได้มาก ในส่วนผู้ประกอบการเชื่อว่าทุกคนพร้อมปรับตัวเข้ากับระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่เกิดขึ้น

ขณะที่ นายเอนก ศรีชีวะชาติ ประธานที่ปรึกษานายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว กล่าวว่า การพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ถ้าทำให้เชื่อมต่อการเดินทางไปยังประเทศลาว จีนได้ จะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยการท่องเที่ยวของประเทศได้ในระยะยาว เพราะปกติเวลาชาวต่างชาติเลือกมาท่องเที่ยวที่ใดที่หนึ่ง จะมองเรื่องระบบขนส่ง ความสะดวกในการเดินทางด้วย ซึ่งปัจจุบันไทยยังเดินทางมาได้แค่ทางเครื่องบิน ซึ่งบางครั้งก็ยังมีข้อจำกัด เช่น เที่ยวบินไม่พอ หรือสนามบินแออัดอยู่ แต่หากมีรถไฟความเร็วสูงเข้ามาช่วย เชื่อมต่อก็จะทำให้ดีขึ้นมาก

จากแผนการเดินหน้าพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และถนนมอเตอร์เวย์ของรัฐบาลครั้งนี้ จึงนับเป็นการวางรากฐานของโครงสร้างพื้นฐานครั้งสำคัญของประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว และช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศได้อีกหลายสิบปี สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีพีพีลงจาก 14.4%เหลือ 12% ช่วยประหยัดน้ำมันลดความสูญเสียจากเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท ที่สำคัญทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการก้าวไปสู่ประตูการค้า รองรับการเดินทางของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าในภูมิภาคได้อย่างเต็มตัว นับเป็นการปูทางเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2017 6:57 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเผยรบ.เน้นขนส่งทางรางเป็นขนส่งหลักของไทย
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ.2560 18:11 น.

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เผย รัฐบาลให้ความสำคัญขนส่งทางราง ผลักดันเป็นขนส่งหลักของประเทศ เล็งผลักดันการขนส่งทางน้ำเพิ่มเนื่องจากมีต้นทุนต่ำ

นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาเรื่อง “แผนปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานไทย เพื่อสนับสนุนธุรกิจ 4.0” ในงานสัมมนา “กรุงศรี บิซิเนส ฟอรั่ม : ซีอีโอ 4.0 การปฏิรูปทางความคิด” โดย กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเพิ่มมาตรการด้านการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ซึ่งกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่ง ด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟระหว่างเมือง การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเชื่อมโยงฐานการผลิตของประเทศ รวมถึงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

ทั้งนี้ ในอนาคตการขนส่งทางน้ำ จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเทียบเท่ากับการขนส่งทางราง ดังนั้นจึงเตรียมที่จะผลักดันให้มีการขนส่งทางน้ำมากเพิ่มมากขึ้น เพราะมีต้นทุนโลจิสติกส์ที่ต่ำที่สุด คือ 0.65 บาท ต่อ 1 กม. ต่อ 1 ตัน นอกจากนี้ เตรียมเปิดให้บริการการขนรถบรรทุกสินค้า โดยเรือเฟอร์รี่ ผ่านท่าเรือบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังท่าเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการขนส่งจากทางภาคใต้ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนความคืบหน้าการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง ถือว่าเป็นไปตามแผนงานที่ทางการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้วางกรอบไว้ ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะส่งผลให้รองรับปริมาณการขนส่งสินค้าได้มากถึง 1 ล้านทียู จากปัจจุบันรองรับได้ 3แสน-4.5 แสน ทียู
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/09/2017 2:43 pm    Post subject: Reply with quote

การสัมมนารับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ดำเนินการจัดสัมนารับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อให้ได้รับทราบรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ โดยพัฒนาระบบรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทาง ในวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2560 เวลา 09.00 - 13.00 น. ณ ห้องประชุมเมแฟร์บี โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าวข้างต้น กรุณาแจ้งการเข้าร่วมหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณจริยาภรณ์ ดวงนภา หมายเลขโทรศัพท์ 08 1025 0422 (รายละเอียดตามเอกสารแนบ)

Arrow http://www.publicreport.opm.go.th/uploading/uploadfile/project_file/20179718527070960_02.pdf

Arrow https://goo.gl/Gu7ybh


วีดิทัศน์โครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟ
Daoreuk Studio Published on Sep 22, 2017

ประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่


https://www.youtube.com/watch?v=n5JGfscqBag

ระยะเร่งด่วน 2560-2564
ระยะกลาง 2565-2569
ระยะยาว 2570-2579

พัฒนาทางคู่ในโครงข่ายทางรถไฟปัจจุบัน
ระยะเร่งด่วน 7 สายทาง 993 กิโลเมตร
- ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย
- ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น
- ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
- ลพบุรี-ปากน้ำโพ
- มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
- นครปฐม-หัวหิน
- หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์

ระยะกลาง 7 สายทาง 1,392 กิโลเมตร
- ปากน้ำโพ-เด่นชัย
- ขอนแก่น-หนองคาย
- ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
- ชุมพร-สุราษฎร์ธานี
- สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา
- ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์
- ชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด

ระยะยาว 2 สายทาง 392 กิโลเมตร
- เด่นชัย-เชียงใหม่
- ชุมทางคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ

พัฒนาทางรถไฟสายใหม่ ขนาดทาง 1 เมตร
ระยะเร่งด่วน 3 สายทาง 839 กิโลเมตร
- เด่นชัย-เชียงของ
- บ้านไผ่-นครพนม
- สุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น

ระยะกลาง 4 สายทาง 642 กิโลเมตร
- นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด
- กาญจนบุรี-บ้านภาชี
- สงขลา-ปากบารา
- ชุมทางบ้านภาชี-นครหลวง

ระยะยาว 7 สายทาง 871 กิโลเมตร
- มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด
- อุบลราชธานี-ช่องเม็ก
- กาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน
- นครสวรรค์-บ้านไผ่
- ทับปุด-กระบี่
- สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก
- ชุมพร-ระนอง

พัฒนาการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า
ระยะกลาง 2 สายทาง 307 กิโลเมตร
- หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์
- ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย-ชุมทางถนนจิระ
ระยะยาว 6 สายทาง 1,098 กิโลเมตร
- ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน
- ชุมทางบ้านภาชี-ปากน้ำโพ
- ชุมทางบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา
- ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น
- ปากน้ำโพ-พิษณุโลก
- หัวหิน-ชุมพร

พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ขนาดทาง 1.435 เมตร
ระยะเร่งด่วน 3 สายทาง 675 กิโลเมตร
- กรุงเทพ-ระยอง
- กรุงเทพ-นครราชสีมา
- กรุงเทพ-หัวหิน

ระยะกลาง 2 สายทาง 735 กิโลเมตร
- กรุงเทพ-พิษณุโลก
- นครราชสีมา-หนองคาย

ระยะยาว 3 สายทาง 1,047 กิโลเมตร
- พิษณุโลก-เชียงใหม่
- หัวหิน-สุราษฎร์ธานี
- สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์

พัฒนา Freight Station
ระยะเร่งด่วน 8 แห่ง
- คลองลึก
- นาม่วง
- บ้านกระโดน
- หว้ากอ
- นาผักขวง
- มาบอำมฤต
- บ้านสะพลี
- หนองปลาดุก

ระยะกลาง 9 แห่ง
- ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า โลจิสติกส์ นาทา
- บ้านตะโก
- บุฤๅษี
- หนองแวง
- บุ่งหวาย
- บางกระทุ่ม
- วังกะพี้
- บางกล่ำ
- สุไหงโก-ลก

ระยะยาว 3 แห่ง
- ห้างฉัตร
- สารภี
- หนองสัง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/09/2017 4:42 pm    Post subject: Reply with quote

กางแผนลงทุนรถไฟ 20 ปี เฉียด 3 ล้านล้าน
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 22 กันยายน 2560 - 16:18 น.

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการสัมมนาเปิดรับฟังความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ระยะ 20 ปี ว่า สนข. ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ระยะ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2579 เพื่อให้เห็นแนวทางการพัฒนารถไฟในมุมกว้าง รองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในภูมิภาคต่างๆ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการ สร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการและนักลงทุน ตลอดจนส่งเสริมระบบรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทาง พร้อมทั้งเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายรถไฟ บรรจุโครงการพัฒนาทั้งหมด 38 โครงการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ แผนระยะสั้น (ระยะเร่งด่วน) ระหว่างปี 2560-2564 เป็นโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน หรือโครงการที่สามารถดำเนินได้ภายใน 5 ปีแรกตามแผนแม่บทฯ จำนวนรวม 13 โครงการ

แผนระยะกลางระหว่างปี 2565-2569 เป็นโครงการที่สามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในช่วงปีที่ 6-10 ตามแผนแม่บทฯ จำนวน 13 โครงการ

และแผนระยะยาว ปี 2570-2579 เป็นโครงการที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายหลังปีที่ 10 ตามแผนแม่บทฯ จำนวน 12 โครงการ

การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟจะประกอบการด้วย 5 รูปแบบ คือ 1. การพัฒนาทางคู่ในโครงข่ายทางรถไฟปัจจุบันรวม 16 โครงการ ระยะทาง 2,777 กิโลเมตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย, ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น, ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น,

2. การพัฒนาทางรถไฟขนาดราง 1 เมตร (Meter gauge) เส้นทางใหม่ในพื้นที่ที่มีความจำเป็น 14 โครงการ รวมระยะ 2,352 กิโลเมตร เช่น สายเด่นชัย-เขียงของ, สายบ้านไผ่-นครพนม เป็นต้น


3. แผนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง (Standard gauge) ขนาดราง 1.435 เมตร รวม 8 โครงการ รวมระยะ 2,457 กิโลเมตร เช่น รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง, สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, สายกรุงเทพฯ-หัวหิน, สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เป็นต้น,

4. การจัดสรรตำแหน่งคลังเก็บสินค้า (Container yard : CY) เช่น หว้ากอ, หนองปลาดุก ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าโลจิสติกส์นาทา เป็นต้น 5. แผนการพัฒนาระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า เช่น การศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่นำทางในการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้ระบบไฟฟ้าในการเดินรถ การก่อสร้างและติดตั้งระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางช่วงชุมทางบางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย-ถนนจิระ เป็นต้น ซึ่งส่วนที่ 4 และ 5 จะอยู่ในงบลงทุนโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงต่างๆ

ทั้งนี้ หลังรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้แล้ว สนข. จะสรุปแผนแม่บทและนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาไม่เกินปลายปี 2560

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กล่าวว่า การลงทุนตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟฯ ระยะเวลา 20 ปี จะใช้วงเงินรวมกว่า 2,702,934 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 1,973,851 ล้านบาท และภาคเอกชน 729,083 ล้านบาท ถ้าเฉลี่ยวงเงินลงทุนแต่ละปีจะอยู่ที่ 135,147 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐเฉลี่ยปีละ 98,693 ล้านบาท และภาคเอกชนเฉลี่ยปีละ 36,454 ล้านบาท

แผนงานระยะเร่งด่วนจะมีมูลค่า 829,802 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 642,802 ล้านบาท และจากภาคเอกชน 187,000 ล้านบาท, แผนระยะกลางวงเงินลงทุนรวม 897,568 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 692,128 ล้านบาท และภาคเอกชน 205,441 ล้านบาท, แผนระยะยาว มีมูลค่าอยู่ที่ 975,564 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 638,922 ล้านบาท และภาคเอกชน 336,642 ล้านบาท

สำหรับการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการลงทุนตามแผนแม่บท ซึ่งจะเสร็จสิ้นในปี 2580 จะอยู่ที่ 408,008.64 ล้านบาทต่อปี แบ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยานพาหนะ 158,138.90 ล้านบาทต่อปี, ประโยชน์จากการลดเวลาเดินทาง 94,35160 ล้านบาทต่อปี, ประโยชน์จากการลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน 17,258.41 ล้านบาทต่อปี และประโยชน์จากการลดมลพิษและก๊าซเรือนกระจก 138,259.73 ล้านบาทต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/09/2017 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟรับเศรษฐกิจพิเศษลงทุน 2.7 ล้านล้านบาท
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 22 กันยายน 2560 เวลา 17.39 น.

สนข. เปิดแผนลงทุนกว่า 2.7 ล้านล้านบาท ศึกษาแผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ และพัฒนาพื้นที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ที่โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธาน เปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ เพื่อนำเสนอผลการศึกษา วัตถุประสงค์ของโครงการ และแนวทางการจัดทำแผนแม่บทตลอดจนประโยชน์ของการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุน เขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และประชาชน ร่วมงานกว่า 100 คน

นายชยธรรม์ เปิดเผยว่า สนข. ได้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทโครงการดังกล่าว เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในภูมิภาคต่างๆ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการ สร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการและนักลงทุน ตลอดจนส่งเสริมระบบรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทาง พร้อมทั้งเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะสั้น (เร่งด่วน) โครงการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และโครงการที่ดำเนินการก่อสร้างได้ภายใน 5 ปีแรก ปี 60-64 2.ระยะกลาง โครงการที่เริ่มก่อสร้างได้ในช่วงปีที่ 6-10 ปี 65-69 และ 3.ระยะยาวโครงการที่เริ่มก่อสร้างภายหลังปีที่ 10 ปี 70-79

นายชยธรรม์ กล่าวต่อว่า แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟครอบคลุมทั่วประเทศ ประกอบด้วย  1.การพัฒนาทางคู่ในโครงข่ายทางรถไฟปัจจุบัน รวมระยะทาง 2,777 กม. แบ่งเป็น ระยะเร่งด่วน เช่น รถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย, ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะกลาง เช่น รถไฟทางคู่สายปากน้ำโพ-เด่นชัย, ชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด, สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา, ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะยาว เช่น รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่, ช่วงชุมทางคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ

2.แผนพัฒนาโครงการทางรถไฟสายใหม่ (Meter gauge) รวมระยะ 2,352 กม. แบ่งเป็น ระยะเร่งด่วน เช่น รถไฟสายเด่นชัย-เชียงของ, บ้านไผ่-นครพนม ระยะกลาง เช่น นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด, กาญจนบุรี-บ้านภาชี ระยะยาว เช่น มาบตาพุด–ระยอง–จันทบุรี–ตราด, อุบลราชธานี–ช่องเม็ก, สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก 3.แผนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง (Standard gauge) รวมระยะ 2,457 กม. แบ่งเป็น ระยะเร่งด่วน ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะกลาง ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก, นครราชสีมา-หนองคาย ส่วนระยะยาว ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่, หัวหิน-สุราษฎร์ธานี, รถไฟความเร็วสูง  สายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 

4.การจัดสรรตำแหน่งคลังเก็บสินค้า (Container yard : CY) แบ่งเป็นระยะเร่งด่วน เช่น หว้ากอ, หนองปลาดุก ระยะกลาง เช่น ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าโลจิสติกส์นาทา ส่วนแผนระยะยาว เช่น ห้างฉัตร, สารภี และ 5.แผนการพัฒนาระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า แบ่งเป็น ระยะเร่งด่วน คือการศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่นำทางของการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้ระบบไฟฟ้าในการเดินรถ ส่วนระยะกลาง เช่น การก่อสร้างและติดตั้งระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางช่วงชุมทางบางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย-ถนนจิระ และระยะยาว เช่น การก่อสร้างและติดตั้งระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า ในเส้นทางช่วงชุมทางบางซื่อ–หนองปลาดุก-หัวหิน นอกจากนี้ยังปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัย และการวางแผนจัดหารถจักรและล้อเลื่อนด้วย

ด้านการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการตามแผนแม่บทนั้น แบ่งเป็น 3 ระยะเช่นกัน โดยรวมทุกแผนงานในระยะเร่งด่วนมูลค่า 829,802 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ  642,802 ล้านบาท และจากภาคเอกชน 187,000 ล้านบาท ส่วนระยะกลางการลงทุนรวม 897,568 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 692,128 ล้านบาท และภาคเอกชน 205,441 ล้านบาท ส่วนการลงทุนในระยะยาว มีมูลค่าอยู่ที่ 975,564 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 638,922 ล้านบาท และภาคเอกชน 336,642 ล้านบาท รวมงบประมาณในการลงทุนตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว

และการพัฒนาพื้นที่ระยะเวลา 20 ปี ปี 60-79 รวมมูลค่ากว่า 2,702,934 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐทั้งสิ้น 1,973,851 ล้านบาท และจากภาคเอกชนรวม 729,083 ล้านบาท โดยหากคิดค่าเฉลี่ยของการลงทุนในระยะเวลา 20 ปีของแผนแม่บท จะมีมูลค่าลงทุนเฉลี่ยปีละ 135,147 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐเฉลี่ย   ปีละ 98,693 ล้านบาท และภาคเอกชนเฉลี่ยปีละ 36,454 ล้านบาท สำหรับการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากการลงทุนตามแผนแม่บท ซึ่งจะเสร็จสิ้นในปี 80 รวมกว่า 408,008.64 ล้านบาทต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 85, 86, 87 ... 121, 122, 123  Next
Page 86 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©