RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181446
ทั้งหมด:13492684
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 99, 100, 101 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2019 12:08 pm    Post subject: Reply with quote

อนุมัติแผนพัฒนาพัฒนา SEC ภาคใต้ ลงทุนรถไฟทางคู่ ท่าเรือ สนามบิน วงเงินแสนล้าน

23 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:34 น.


23 ม.ค. 2562 นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชุมพร - ระนอง และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี – นครศรีธรรมราช ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor : SEC) พ.ศ. 2562 – 2565 กำหนดโครงการทั้งหมดรวม 116 โครงการ วงเงินรวม 106,790 ล้านบาท สำหรับโครงการพร้อมดำเนินการทันทีในปีงบประมาณ 2562 มี 8 โครงการ วงเงินรวม 2,677 ล้านบาท โดยใช้งบกลางปี

ทั้งนี้ในส่วนของการกำหนดกรอบการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ 1.การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก 2.การพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามัน 3.การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง และ 4.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมวัฒนธรรม และการพัฒนาเมืองน่าอยู่ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการและขอรับการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามกรอบการพัฒนาดังกล่าวต่อไป โดยมีโครงการจำเป็นเร่งด่วน 5 โครงการ วงเงิน 448 ล้านบาท เริ่มทำปี 2562 เช่น การพัฒนาเกาะพะยามและป่าชายเลน จ.ระนอง

นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้ SEC เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และเป็นต้นแบบการพัฒนาศูนย์กลางความเจริญแต่ละภูมิภาคของประเทศ หลังจากผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ที่ จ.ชุมพร จึงเร่งรัดดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก จ.ระนอง รถไฟทางคู่ลงสู่ภาคใต้ มอเตอร์เวย์ การพัฒนาเมืองน่าอยู่ส่งเสริมท่งเที่ยวเมืองรอง การพัฒนาสนามบิน จ.ชุมพร รองรับผู้โดยสาร 10 ล้านคนต่อปี

อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเกิดการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมตามมาไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคนต่อปี และจีดีพีของ SEC ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ในช่วง 10 ปีแรก เชื่อมการเดินทาง การขนส่งสินค้าทั้งอ่าวไทย อันดามัน ต่อไปยังเอเชียใต้ ที่ประเทศอินเดีย ใช้เวลาขนส่งสินค้าจากเดิมอ้อมไปทางอินโดนีเซีย 9-15 วัน ลดเหลือ 4-7 วัน เพื่อให้เศรษฐกิจภาคใต้เติบโตขึ้น



ครม.บูมศก.ภาคใต้ อนุมัติSECแสนล้านเชื่อมขนส่ง
วันพุธ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
ครม. เศรษฐกิจไทย SEC เชื่อมขนส่ง คณะรัฐมนตรี

ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562 ได้เห็นชอบศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชุมพร-ระนอง และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช ตามที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor : SEC) พ.ศ. 2562-2565

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำหรับแผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน กำหนดโครงการทั้งหมดรวม 116 โครงการ วงเงินรวม 106,790 ล้านบาท สำหรับโครงการพร้อมดำเนินการทันทีในปีงบประมาณ 2562 มี 8 โครงการ วงเงินรวม 2,677 ล้านบาท โดยใช้งบกลางปี ทั้งนี้ มุ่งหวังให้ SEC เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และเป็นต้นแบบการพัฒนาศูนย์กลางความเจริญแต่ละภูมิภาคของประเทศ

ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ที่ จ.ชุมพร ได้มีการเร่งรัดดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก จ.ระนอง รถไฟทางคู่ลงสู่ภาคใต้ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) การพัฒนาเมืองน่าอยู่ส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง การพัฒนาสนามบิน จ.ชุมพร รองรับผู้โดยสาร 10 ล้านคนต่อปี คาดว่าจะเกิดการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมตามมาไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคนต่อปี และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ของโครงการ SEC ขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วง 10 ปีแรก เชื่อมการเดินทาง การขนส่งสินค้าทั้งอ่าวไทย อันดามัน ต่อไปยังเอเชียใต้ ที่ประเทศอินเดีย ใช้เวลาขนส่งสินค้าจากเดิมอ้อมไปทางอินโดนีเซีย 9-15 วัน ลดเหลือ 4-7 วัน เพื่อให้เศรษฐกิจภาคใต้เติบโตขึ้น

นายณัฐพรกล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ยังได้อนุมัติงบกลาง ปี 2562 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับดำเนินโครงการจำเป็นเร่งด่วน (Quick-win) ที่ สศช. ขอรับการจัดสรรงบประมาณรวม 5 โครงการ วงเงิน 448 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะพยาม จ.ระนอง ใช้งบประมาณ 132.8 ล้านบาท 2.โครงการป่าชายเลนระนองสู่มรดกโลก ใช้งบประมาณ 88.5 ล้านบาท 3.โครงการสนับสนุนการแปรรูปสมุนไพรแบบครบวงจร จ.ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ใช้งบประมาณ 194.6 ล้านบาท 4.โครงเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉิน เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างความเข้มแข็งด้านบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สู่ไทยแลนด์ 4.0 ของเทศบาลเมืองชุมพร ใช้งบประมาณ 12.6 ล้านบาท และ 5.โครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญการวิจัยเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ของ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2019 11:25 pm    Post subject: Reply with quote

จี้คลอดท่าเรือชุมพร พ่วงระเบียงศก.ใต้เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน
27 มกราคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,439 วันที่ 27-30 มกราคม 2562

หอการค้าชุมพรเตรียมผลักดันอีกรอบ ขอสร้างท่าเรือนํ้าลึก 4,000 ล้านบาท หลังประชุมครม.สัญจรกลางปีที่แล้วไม่เห็นชอบ ชี้เป็นกุญแจสำคัญเชื่อมโยงการค้าการขนส่งอ่าวไทย-อันดามัน หนุนการลงทุนในภูมิภาค

นายสุพงศ์ เอื้ออารี ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า ทางหอการค้าและภาคเอกชน จ.ชุมพร เตรียมเดินหน้าผลักดันโครงการก่อสร้างท่าเรือนํ้าลึก จังหวัดชุมพร เสนอรัฐบาลอีกรอบ แม้ว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ชุมพรเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 โครงการนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบ แต่ทุกฝ่ายในพื้นที่เห็นว่า การก่อสร้างท่าเรือ นํ้าลึกชุมพร จะเป็นกุญแจในการพัฒนาภาคใต้

เนื่องจากเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน และกับอนุภูมิภาคกลุ่มความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือ หลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) ต่อไป ซึ่งท่าเรือนํ้าลึกชุมพรถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้าย ที่จะทำให้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวขับเคลื่อนต่อไปได้และเต็มระบบ นอกจากนี้ยังรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

ปัจจุบันกรมเจ้าท่าได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่บางสน แหลมคอกวาง และเขาพระตำหนัก
ซึ่งที่เหมาะสมที่สุดคือ ที่แหลมคอกวาง มูลค่าการลงทุนไม่ตํ่ากว่า 4,000 ล้านบาท




ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพรกล่าวอีกว่า ท่าเรือใหม่นี้ รองรับสินค้าในระดับภูมิภาคของภาคใต้ (ชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช) ไปยังท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง โดยสามารถรับสินค้าจากแหล่งต่างๆ เช่น เกาะสอง บกเปี้ยน มะริด เป็นต้น เข้ามาแปรรูปที่ชุมพร และสามารถเป็นท่าเรือขนส่งและกระจายสินค้าแปรรูป ไปยังทั้งทางตะวันตกฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อไปยังยุโรป อินเดีย และฝั่งตะวันออกไปยังเวียดนาม จีน และญี่ปุ่น




ที่ประชุมครม.สัญจรเมื่อ วันที่ 21 สิงหาคม 2561 ที่จังหวัดชุมพร ได้รับทราบการประชุมของนายกรัฐมนตรีกับตัวแทนพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรี ธรรมราช พัทลุง) และฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล) ที่เห็นชอบกรอบแนวคิดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ 5 ด้าน

ล่าสุด ครม.เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562 เห็นชอบให้ศึกษารูปแบบการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน(Southern Economic Corridor-SEC) ขีดวง 4 จังหวัด คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ต้นแบบการพัฒนาศูนย์กลางความเจริญของแต่ละภูมิภาค ใน 4 กรอบการพัฒนา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2019 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

สภาพัฒน์เร่งเคาะระเบียงเศรษฐกิจ "เหนือ-อีสาน"
ออนไลน์เมื่อ พุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,441 วันที่ 3 - 6 กุมภาพันธ์ 2562 หน้า 01+15

สภาพัฒน์เร่งศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจเหนือ-อีสาน ควานหา "ตัวเปลี่ยนเกม" จัดกลุ่มยกระดับเป็นศูนย์กลางความเจริญใหม่ตามแบบ SEC มั่นใจประกาศ "ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-อีสาน" เพิ่มได้ในปี 62 นี้

ครม. เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2562 เห็นชอบศึกษารายละเอียดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor - SEC) ใน 4 จังหวัดภาคใต้ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ เพื่อเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และต้นแบบการพัฒนาศูนย์ความเจริญภูมิภาค

● ครม. ไฟเขียว! ผลศึกษา 116 โครงการ "ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้" วงเงินกว่า 1 แสนล้าน

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สศช. กล่าวว่า สภาพัฒน์กำลังเร่งศึกษาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาค รวมทั้งเร่งค้นหาว่าจะมีอะไรที่เป็นปัจจัยสร้างความเปลี่ยนแปลง (Game Changer) ที่ต้องใส่เข้าไปเพื่อให้เกิดการต่อยอดยกระดับพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ให้สูงขึ้นได้



"แต่ละพื้นที่มีศักยภาพของตนเอง เช่น โครงการ Northern Food Valley ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ แหล่งปศุสัตว์ในอีสาน ผลิตผลจากอ้อยแถบขอนแก่น-อุดรฯ ส่วนอีสานใต้ก็เป็นแหล่งมันสำปะหลัง เป็นต้น กำลังเร่งศึกษาว่า ตัวไหนมีศักยภาพที่จะต่อยอดขึ้นไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งเราศึกษาทุกพื้นที่ จากเดิมที่พึ่งฐานเดียว คือ อีอีซี-กรุงเทพฯ ต่อไปจะมี SEC ของภาคใต้ และกำลังเร่งของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือจะทยอยประกาศได้ภายในปีงบประมาณ 2562 นี้"

เลขาฯสศช. กล่าวอีกว่า โครงการอีอีซีเป็นการตั้งเป้าหมายการพัฒนา แล้วรัฐลงทุนเพื่อให้อุตสาหกรรมเป้าหมายยกระดับเทคโนโลยีสู่ขั้นสูง (นิว เอส เคิร์ฟ) แต่ SEC พัฒนาโดยต่อยอดจากศักยภาพของแต่ละพื้นที่เพื่อยกระดับให้สูงขึ้น จากการประชุม ครม.สัญจร ที่ชุมพรเมื่อกลางปีที่แล้ว ครม. เห็นชอบและให้ศึกษาเพิ่มเติมนั้น พบว่า ระนอง-ชุมพร และสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช มีศักยภาพจากชัยภูมิที่ตั้ง





ระนองมีศักยภาพทั้งเป็นประตูการค้าด้านตะวันตก เพราะมีท่าเรืออยู่แล้ว และเที่ยวเกาะแก่งในทะเลอันดามัน ขณะที่ รัฐได้ลงทุนรถไฟทางคู่สายใต้อยู่ โดยช่วงกรุงเทพฯ-ชุมพรจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่ปีนี้ และเลียบอ่าวไทยลงไปถึงปาดังเบซาร์ แล้วยังมีโครงการถนนเลียบชายฝั่งอ่าวไทยจากเพชรบุรี-ชุมพร (ไทยแลนด์ริเวียร่า)

"เพียงลงทุนทำถนน 4 เลน และรถไฟทางคู่จากชุมพรไปเชื่อม ทำให้ระนองเป็นประตูการค้าฝั่งตะวันตกของประเทศได้ทันที โดยไม่ต้องรอพึ่งคนอื่น สามารถไปค้าขายกับกลุ่มประเทศรอบอ่าวเบงกอล (กลุ่มบิมสเทค) เช่น เมียนมา ศรีลังกา บังกลาเทศ อินเดีย ที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต ลดระยะทางและเวลาลงมากกว่าครึ่งเทียบกับส่งจากท่าเรือแหลมฉบัง โดยส่งสินค้าจากแหล่งผลิตไทยใส่ตู้รถไฟไปลงท่าเรือระนอง หรือ รับสินค้าและวัตถุดิบที่มาถึงท่าเรือระนองขึ้นรถไฟทางคู่ ส่งเข้ากรุงเทพฯ หรือไปผลิตต่อที่อีอีซี"


ถนน 4 เลน ชุมพร-ระนอง จะเชื่อมเส้นทางท่องเที่ยวเลียบฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่ยาวจากเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร แล้วข้ามไปฝั่งอันดามันที่ระนอง ที่ต่อลงไปพังงา ภูเก็ต กระบี่ ทำให้เส้นทางท่องเที่ยวเลียบฝั่งทะเลของไทยยาวอีกมาก คู่ไปกับเส้นทางลงใต้เลียบอ่าวไทยที่มีอยู่แล้ว

เลขาฯสภาพัฒน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังเป็นแหล่งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และการประมง ที่เวลานี้ปาล์มน้ำมันราคาต่ำ เรายังแปรรูปได้เพียงขั้นต้น ทั้งที่เมื่อใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสกัดเป็นเคมีภัณฑ์จากธรรมชาติ (โอลีโอเคมิคัล) สามารถสกัดเป็นสารพีซีเอ็ม ใช้ผลิตฉนวนกันความร้อนที่ตลาดโลกมีความต้องการสูงมาก เป็นต้น





"เราแปรรูปเบื้องต้นแล้ว ขนขึ้นรถไฟทางคู่ ส่งไปเข้าโรงงานปิโตรเคมีในอีอีซีที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีเทคโนโลยีขั้นสูง ไม่ต้องลงทุนใหม่ เพราะใช้เม็ดเงินมหาศาล รวมทั้งประชาชนก็ไม่ต้องการให้มีอุตสาหกรรมหนักในพื้นที่ ก็จะทำอุตสาหกรรมเบา การแปรรูปสินค้าเกษตรเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น ประชาชนจะได้ขายยาง ปาล์ม สินค้าเกษตรในราคาที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำเมืองน่าอยู่"

ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการ SEC ระยะ 4 ปี (2562-2565) ประกอบด้วย 116 โครงการ วงเงินรวม 106,790.13 ล้านบาท สศช. คาดจะทำให้จีดีพีใน SEC โตอย่างน้อย 5% ต่อปี มีนักท่องเที่ยวเพิ่ม 1.2 ล้านคนต่อปี มีการลงทุนเพิ่มประมาณ 200,000 ล้านบาท ใน 10 ปีแรก เกิดการยกระดับอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจ สังคม และบริการ เชื่อมโยงพื้นที่โดยรอบและกับระดับภูมิภาคจนถึงประเทศ
https://www.facebook.com/1233859410089681/photos/a.1289629471179341/1383238658485088/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2019 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กตู่ ประชุมอีอีซี ถกเวนคืนที่ดินรถไฟ พิจารณาแผนลงทุนเอกชน
โดย ไทยรัฐออนไลน์
15 กุมภาพันธ์ 2562 11:15 น.

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะประชุมอีอีซี ถกเวนคืนที่ดินการรถไฟฯ พิจารณาแผนลงทุนเอกชน จัดตั้งเขตส่งเสริมพิเศษเพิ่มเติม จับตาโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน อาจเลื่อนจากกำหนดเดิม...

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี โดยกล่าวก่อนการประชุมว่า มีเรื่องที่ต้องพิจารณาการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แนวทางการดำเนินนโยบายต่อแผนการลงทุนของเอกชนในอีอีซี การจัดตั้งเขตส่งเสริมพิเศษเพิ่มเติม และร่างแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อมในอีอีซี

นอกจากนี้ มีรายงานว่า ที่ประชุมจะพิจารณาแนวทางการทำงานเพิ่มเติม หลังโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการที่จะลงทุนในอีอีซี อาจต้องเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิม เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 (ท่าเทียบเรือ F) วงเงินลงทุน 8.4 หมื่นล้านบาท ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2.7 แสนล้านบาท.


นายกฯ ถก กก.อีอีซี แย้มเลื่อนบิ๊กโปรเจกต์ รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 15 กุมภาพันธ์ 2562 10:54
ปรับปรุง: 15 กุมภาพันธ์ 2562 11:14


นายกฯ ประชุมอีอีซี พิจารณาแนวทางการดำเนินนโยบายต่อแผนการลงทุนของเอกชนใน eec การจัดตั้งเขตส่งเสริมพิเศษเพิ่มเติม แย้มเลื่อนโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และเมืองการบินที่อู่ตะเภา

วันนี้ (15 ก.พ.) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ eec โดยกล่าวก่อนการประชุมว่า วันนี้มีเรื่องที่ต้องพิจารณา เรื่องการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย แนวทางการดำเนินนโยบายต่อแผนการลงทุนของเอกชนใน eec การจัดตั้งเขตส่งเสริมพิเศษเพิ่มเติม และ ร่างแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อมใน eec

นอกจากนี้ มีรายงานว่า ที่ประชุมจะพิจารณาแนวทางการทำงานเพิ่มเติม หลังโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ ที่จะลงทุนใน eec อาจต้องเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิม เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 (ท่าเทียบเรือ F) วงเงินลงทุน 8.4 หมื่นล้านบาท ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 และ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2.7 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2019 9:09 pm    Post subject: Reply with quote

ประเทศไทยกับไฟเขียวโครงการยักษ์ใหญ่อีอีซี ทำไมต้องเร่ง ก่อนการเลือกตั้ง!!!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: เสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 16:33

เคยตั้งคำถามถึงสาเหตุหรือไม่ว่า โครงการที่สำคัญอย่างไฮสปีดเทรน ทั้งรถไฟไทยจีนอีสาน สนามบินอู่ตะเภา โครงการขนาดใหญ่แบบนี้ทำไมถึงไม่เกิด เพราะสาเหตุอะไร ทั้ง ๆ ที่มันควรจะมีมาตั้งนานแล้ว

จะว่าไปแล้วก็เป็นสิ่งที่ท้าทาย สำหรับรัฐบาลไทย ที่จะผลักดันโปรเจ็กต์ใหญ่ยักษ์ให้สำเร็จลุล่วงได้หรือไม่ อดีตสอนอะไรเราบ้าง กับอายุรัฐบาลที่สั้น และไม่สอดคล้องกับนโยบายระยะยาว การเปลี่ยนขั้วการเมืองตลอดเวลา ทำให้โครงการใหญ่ ๆ แบบนี้ ถูกรื้อแล้วรื้ออีก จนต่างชาติมองเป็นแค่วาทกรรมหาเสียง แต่วันนี้ต้องถือว่า โครงการไฮสปีดใกล้ความจริงที่สุดตั้งแต่เคยมีมา

ลองยกตัวอย่าง โครงการไฮสปีดเทรน ที่ก่อนหน้านี้ เริ่มต้นวาดฝันกันมาตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่ก็จบไปด้วยการยุบสภาปลายปี 2554 ต่อด้วยการชุบชีวิตรถไฟความเร็วสูงสมัยยิ่งลักษณ์ด้วยการเสนอโมเดลรัฐทำเอง กับร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เมื่อครั้งที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยเสนอผ่านรัฐสภาจนให้ความเห็นชอบแล้ว แต่สุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติชี้ขาดว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาจนถึงยุคนายกตู่กับรูปแบบการร่วมทุนกับเอกชน หรือที่เรียกว่า Public Private Partnership (PPP) ซึ่งมาเจรจาสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งเพียงเดือนเดียว

วาทกรรมที่ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้จัดการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคมแล้ว รัฐบาลชุดของนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ควรจะต้องระงับการตัดสินใจใด ๆ ที่มีผลต่อโครงการใหญ่ ๆ หรือกิจกรรมใดที่ควรจะเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลที่จะมาจากการเลือกตั้ง แต่ในความเป็นจริงเท่ากับค่าเสียโอกาสของประเทศหรือไม่?

คงต้องวัดใจนายก เพราะการตัดสินใจทำงานชิ้นสำคัญให้เสร็จก่อนการเลือกตั้ง เป็นการสร้างความมั่นใจให้ทุกประเทศที่จับตามอง โครงการใหญ่แบบนี้ เมื่อเข้าสู่การเมืองแบบไทย ๆ ที่ค้านกันไป ค้านกันมา มีหวัง คนที่ต้องเอาเงินมาลงทุน ก็คงเผ่นกลับบ้านหมด เพราะความโลเลไม่แน่นอนของการเมืองไทย แล้วอย่างนี้ เมื่อไหร่จะจึงจะทำให้เมืองไทย เป็นเมืองที่น่าลงทุนในภูมิภาค

//-------------------------


เมื่อ ‘SSB’ แปลงร่างเป็น ‘SEC’ แล้วรวม ‘คลองไทย’ การันตี “ศูนย์กลางพลังงาน-ขนส่งข้ามโลก” ยังอยู่ครบ! แต่ไม่เห็นมีในนโยบายพรรคการเมือง?
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 14:05
ปรับปรุง: อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 15:06



คอลัมน์... คนทุกข์ลุกสร้างสุข : สมัชชาประชาชนภาคใต้ / โดย... ปิยะโชติ อินทรนิวาส


วันที่ต้องตัดสินใจกาบัตรเลือก ส.ส.ใกล้เข้ามาชนิดบีบหัวใจเต้นแรง นักเลือกตั้งทั้งหน้าเก่าและใหม่ที่เวลานี้แบ่งขั้วแยกข้างกันอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายเอา คสช.และอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นั่งนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก กับฝ่ายที่ต่อต้าน คสช.และไม่อยากเห็นทหารเดินหน้าสืบทอดอำนาจ ต่างฝ่ายต่างสาดน้ำลายป้ายสีตีไข่เข้าใส่กันสนุกสนาน และก็ไม่ลืมที่จะหว่านโปรยคารมคมคายจูงใจ บ้างถึงขั้นสัญญิงสัญญาว่าจะให้หรือจะทำนั่นทำนี่ เพื่อได้รับเลือกเข้าไปนั่งในสภาฯ เป็นหน้าเป็นตาและเป็นช่องทางแสวงประโยชน์ ส่วนเรื่องที่จะทำเพื่อชาติและประชาชนอย่างไรก็คงต้องจับตาดูกันต่อไป

ท่ามกลางปี่กลองโหมประโคมรณรงค์การเลือกตั้งอย่างที่ว่า ซึ่งก้องกังวานจนกลบความสนใจด้านอื่นๆ ไปแทบจะหมดสิ้น นโยบายต่างๆ ของทุกพรรคการเมืองที่ถูกนำเสนอ จึงดูเหมือนจะไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร แม้ส่วนใหญ่ยังเน้นสร้างแรงจูงใจอย่างที่เคยขายกันได้ชนิดติดตลาดมาก่อน โดยเฉพาะในรูปแบบที่เรียกกันว่าประชานิยมหรือประชารัฐ ยกเว้นที่ตีกระทบไปถึง คสช.หรือกองทัพจะได้รับความฮือฮาขึ้นมาบ้างเป็นระลอกๆ

ส่วนนโยบายของพรรคการเมืองที่จัดว่าเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยแก้ไขวิกฤตปัญหาชาติในด้านต่างๆ และที่สำคัญสามารถชี้ทิศทางข้างหน้าว่าสังคมไทยจะต้องเผชิญอะไรบ้าง นโยบายเช่นนี้ยังไม่เห็นว่าจะมีพรรคการเมืองไหนนำเสนอได้โดดเด่นเตะตาตีใจผู้มีสิทธิ์ไปกาบัตรเลือกตั้งเลย


ถ้าไม่นับการเลือกตั้ง ส.ส.ที่พิกลพิการจนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เป็นโมฆะเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ก็ต้องถือว่าเรามีการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ดังนั้นประเทศไทยจึงว่างเว้นการเลือกตั้งมาถึง 8 ปี ประกอบกับเวลานี้ประเทศเราก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 หรือยุคดิจิทัลเต็มตัวแล้ว จึงเป็น 8 ปีที่เนินนานเอามากๆ กับการว่างเว้นประสบการณ์การเลือกตั้ง และความที่ดิจิทัลนำพาสังคมไทยเปลี่ยนแปลงรวดเร็วทบเท่าทวีคูณ จึงยากที่จะคาดเดาได้ว่าการเลือกตั้งเที่ยวนี้จะมีปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังวันเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้งบ้าง

อยากจะมองในแง่ดีไว้ก่อนว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 นี้ผ่านพ้นไปได้จะด้วยรูปแบบไหนก็ตาม หลังจากนั้นกำหนดวันต่างๆ เป็นไปตามโรดแมป แล้วในที่สุดเราก็ได้คณะบุคคลที่จะมากุมบังเหียนอำนาจรัฐชุดใหม่ โดยจะมาในคราบ “รัฐบาลพลเรือน” หรือยังคงเป็น “รัฐบาลทอปบู๊ต” หรือจะเป็น “รัฐบาลผสมครึ่งๆ กลางๆ แบบไทยๆ” ก็ตามแต่

ภายหลังจากเรามีคณะผู้กุมรัฐนาวาชุดใหม่ ประเทศชาติและประชาชนจะต้องเผชิญอะไรบ้าง นี่เป็นเรื่องที่ทั้งสังคมไทยเราควรต้องช่วยกันขบคิดอยู่ไม่น้อย


ในฐานะได้รับการสอนสั่งไม่ให้มองบ้านเมืองเฉพาะแบบ “เรียลลิตี้” แต่ต้องสามารถเชื่อมโยงให้ได้ทั้งในแนวตั้งที่ใช้ “สายตานก” มองให้เข้าใจป่าทั้งป่า และใช้ “สายตาหนอน” มองให้เข้าใจต้นไม้แต่ละต้น ขณะที่ในแนวนอนก็ต้องสามารถร้อยเรียงความเข้าใจ “อดีต” ต่อเนื่องมาถึง “ปัจจุบัน” แล้วเลยไปคาดเดา “อนาคต” ให้ออก จากการที่ทำหน้าที่เฝ้ามองปรากฏการณ์บ้านเมืองมานานกว่า 3 ทศวรรษ โดยเฉพาะกับทิศทางการพัฒนาบนแผ่นดินด้ามขวาน และเช่นเดียวกันขอคิดในแง่ดีที่ไม่น่าจะมีภาวะเลวร้ายอะไรแทรกซ้อนเข้ามา

ผมเชื่อว่าหลังเรามีรัฐบาลใหม่ช่วงผ่านกลางปีนี้ไปแล้ว ประเทศไทยและสังคมไทยคงจะถูกกดดันและเร่งรัดให้ต้องเดินหน้าไปในทางเลือกของการพัฒนาไปสู่ความเป็น “ศูนย์กลางพลังงานข้ามโลก” และ “ศูนย์กลางขนส่งข้ามโลก” แห่งใหม่อย่างจริงจัง ซึ่งก็สอดรับกับแหล่งพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ของโลกไหลมากองรวมกันอยู่ที่เอเชียในฟากฝั่งตะวันออก

อย่างไรก็ตามบทบาทความเป็นศูนย์กลางทั้ง 2 ด้านนี้อาจจะถูกมองว่าเป็น “คู่แข่ง” ที่สำคัญของ “ช่องแคบมะละกา” แต่ในความเป็นจริงอาจจะเป็นการ “เสริมศักยภาพ” ซึ่งกันและกัน นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าไทยเราจะตัดสินใจเดินหน้าสร้าง “เมกะโปรเจกต์”อะไรลงบนคาบสมุทรมลายู แผ่นดินเรียวยาวจากเหนือลงใต้ที่ขวางกัน 2 ฟากมหาสมุทรคือ มหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก หรือนั่นก็คือบริเวณภาคใต้ของไทยนั่นเอง ระหว่างการขุด “คลองไทย” กับการทำ “สะพานเศรษฐกิจ(แลนด์บริดจ์)” เชื่อม 2 ฝั่งทะเลอันดามัน-อ่าวไทย


ทำไมจึงต้องเร่งรัดผลักดันให้ต้องเลือกปักหมุด 2 เมกะโปรเจกต์นี้บนแผ่นดินปักษ์ใต้นะหรือ?!

อันที่จริงจะว่าเหตุผลไม่มีอะไรซับซ้อนก็น่าจะได้ เนื่องเพราะทั้ง 2 โครงการถูกชะลอจนอาจเรียกได้ว่ายืดเยื้อมานานเกินไปแล้ว จนเมกะโปรเจกต์อื่นๆ ทั่วประเทศสามารถเดินหน้าลงมือหรือวางแผนสร้างไว้ได้เกือบจะหมดแล้ว อย่างล่าสุดก็รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งโครงข่ายที่ขยายเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคต่างๆ ของไทยเอง ต่อเนื่องไปยังประเทศเพื่อนบ้านล้อมรอบ อีกทั้งลึกเข้าไปในทวีปถึงจีนแผ่นดินใหญ่และรัสเซีย เป็นต้น

ความจริงแล้วเรื่องนี้ถูกกำหนดโดยอำนาจรัฐและทุนไทยฝ่ายเดียวก็หาไม่ เพราะมีอิทธิพลของชาติมหาอำนาจที่พ่วงเอาทุนโลกบาลกดดันอย่างหนักหน่วงอยู่ด้วย โดยเฉพาะมหาอำนาจใหม่ของโลกอย่างจีนที่ทั้งแผ่อิทธิพลและพร้อมหว่านเม็ดเงินลงมาให้ กรณีการผลักดันให้โครงข่ายรถไฟฟ้านั่นก็เป็นตัวอย่างชัดเจน ภายใต้ยุทธศาสตร์ “1 แถบ 1 เส้นทาง” ที่รับรู้กันทั่วโลก ขณะที่มหาอำนาจเก่าอย่างอเมริกาก็ดิ้นปรับยุทธศาสตร์จาก “เอเชีย-แปซิฟิก” ไปเป็น “อินโด-แปซิฟิก” เพื่อปิดล้อมจีนมาไม่นาน โดยยึดโยงเอา 2 ฟากฝั่งมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ามารวมกัน แถมเวลานี้จีนกับอเมริกาก็เปิดสงครามเศรษฐกิจและการค้ากันมันหยด

แหล่งความเจริญทางเศรษฐกิจใหม่ของโลกที่ไหลมาอยู่เอเชียเวลานี้ มีจีนเป็นศูนย์กลางแล้วผูกโยงแผ่ขยายเอื้อไปยังหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นเกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น กระทั่ง 10 ชาติอาเซียนก็ได้รับอานิสงส์ไปด้วย ความต้องการใช้พลังงานและเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามซีกโลกในย่านนี้จึงเพิ่มปริมาณหลายเท่าตัว ช่องแคบมะละกาที่แม้รวมรัฐยะโฮร์ของมาเลเซียเอาไว้ด้วย แต่สิงคโปร์กับดำรงตนเป็นศูนย์กลางทั้งด้านพลังงานและการขนส่งข้ามโลกไปพร้อมๆ กัน เวลานี้ไม่สามารถที่ขยับขยายให้รองรับแหล่งความเจริญใหม่ได้แล้ว โลกทั้งโลกจึงเล็งแลมาที่ด้ามขวานไทยว่า สมควรต้องพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ขึ้นมาแบ่งเบาภาระเหล่านี้โดยเร็ว


สำหรับ “คลองไทย” เคยศึกษาไว้ 10 เส้นทาง แล้วก็ไปจบที่แนว 9A เหมาะสมที่สุดระยะทาง 135 กิโลเมตร จากฝั่งอันดามันพื้นที่รอยต่อ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ กับ อ.สิเกา จ.ตริง ไปยังอ่าวไทยที่ อ.ระโนด จ.สงขลา ซึ่งก็ไม่น่าจะต่างจาก “คลองสุเอซ” ที่อียิปต์ระหว่างยุโรปและแอฟริกา หรือ “คลองปานามา” ระหว่างอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ โดยสามารถสร้างทั้งท่าเรือน้ำลึก โรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซ ฯลฯ ตามมาได้ เพื่อให้ทำหน้าที่ศูนย์กลางทั้งด้านพลังงานและการขนส่งข้ามโลกไปพร้อมๆ กันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

แต่ถ้าขุดคลองไม่ได้ก็ต้องหันมาทำ “แลนด์บริดจ์” แทน ซึ่งก็ต้องมีท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 ฝั่งที่อันดามัน-อ่าวไทย แล้วเชื่อมต่อด้วยถนนมอเตอร์เวย์ เส้นทางรถไฟ ระบบท่อน้ำมันและท่อก๊าซ ส่วนโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ ฯลฯ จะตามต่อมาเพื่อความสมบูรณ์ของศูนย์กลางพลังงานและการขนส่งข้ามโลก ไทยเราเคยเริ่มคิดทำแนวแรกในภาคใต้ตอนบนที่ “ระนอง-ชุมพร” แล้วมีอันต้องเลื่อนลงมาภาคใต้ตอนกลางที่ “กระบี่-นครศรีธรรมราช” สุดท้ายไหลลงสู่ภาคใต้ตอนล่างที่ “สตูล-สงขลา” ว่ากันว่าน่าจะจบเพราะเลื่อนต่อไปไม่ได้อีกแล้ว แต่เวลานี้กลับยังไม่จบ

จึงดูเหมือนการดันตั้งศูนย์กลางพลังงานและขนส่งข้ามโลกแห่งใหม่ในภาคใต้มีความไม่แน่นอนอยู่มาก เนื่องจากทั้งคลองไทยและแลนด์บริดจ์มากไปด้วยความไม่แน่นอนช่วงที่ผ่านมา แต่ ณ วันนี้ต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่แล้ว เพราะมีสัญญาณแรงส่งมาในช่วงท้ายรัฐบาลทอปบู๊ตลุงตู่ว่า ไม่มีอะไรทำให้ต้องให้ชะลอต่อไปอีก เนื่องจากมีการใช้ทั้งกลไกรัฐผสมผสานกับอำนาจพิเศษ ระดมออกกฎหมาย แก้กฎกติกา ปรับระเบียบต่างๆ ไว้ให้เอื้อต่อการเดินหน้าได้แบบเต็มสูบ แถมรัฐบาลที่จะมาใหม่ในอนาคตไม่ว่าจะมีนายกรัฐมนตรีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือไม่ก็ตาม ล้วนจะต้องเดินไปตามแนวกำกับของ “แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี” อย่างยากจะหลีกเลี่ยง


รวบรัดให้เห็นกันชัดๆ คือ การดันตั้งศูนย์กลางพลังงานและขนส่งโลกแห่งใหม่ที่ภาคใต้เคยอยู่ภายใต้แผน “โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้” หรือ “เซาเทิร์นซีบอร์ด(SSB)” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ต่อเนื่องมาจาก “โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก” หรือ “อีสเทิร์นซีบอร์ด(ESB)” ที่ทำหน้าที่ “ศูนย์กลางพลังงาน(แบตเตอรี่)ไทย” และ “ศูนย์กลางขนส่งไทย” มาแล้วกว่า 4 ทศวรรษ

ทว่าเวลานี้รัฐบาลทหารลุงตู่ได้ผ่าตัดแปลงโฉมที่ภาคตะวันออกให้ไปเป็น “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” หรือ “EEC (Eastern Economic Corridor)” ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 อันเป็นการเดินหน้าพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจาก ESB ให้เป็น EEC พร้อมๆ กับยกระดับสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขณะเดียวกันที่ภาคใต้ก็ได้ประกาศแปลงโฉมต่อยอดจาก SSB สู่การเป็น “SEC (Southern Economic Corridor)” หรือ “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้” ด้วยเช่นกัน เพียงแต่การทำให้เกิดขึ้นจริงยังต้องรอเวลา แต่ว่ากันว่าไม่น่าจะนานนัก เนื่องจากจำต้องให้รับไม้ต่อกันอย่างเป็นระบบ

แล้วทำไม SEC จึงต้องประกาศเอาพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชเป็นฐานที่มั่น นั่นเพราะเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจาก EEC และที่สำคัญคือต้องการ “เปิดประตู EEC” ที่ตั้งอยู่ริมทะเลอ่าวไทยชายฝั่งตะวันออก หรือฟากมหาสมุทรแปซิฟิก ให้สามารถมีช่องทางออกสู่ทะเลอันดามันฝั่งตะวันตก หรือฟากมหาสมุทรอินเดียได้ง่ายขึ้น โดยมีแผนจะใช้ “ท่าเรือน้ำลึกระนอง” เป็นแขนขาเชื่อมโยงไปสู่พม่า บังกลาเทศ ศรีลังกาและอินเดีย เป็นต้น


ดังนี้แล้วจึงอย่าได้แปลใจว่าทำไมช่วงหลังๆ ปีสองปีมานี้ รัฐบาลและกลไกอำนาจรัฐจึงจ้องแต่จะเดินหน้าผุดประดาเมกะโปรเจกต์ที่มุ่งเน้นการเตรียมโครงการสร้างพื้นฐานต่างๆ ไว้ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนและตอนกลางเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สร้างเขื่อน ขุดคลอง ฯลฯ อันปรากฏภาพความขัดแย้งกับภาคประชาชนและชุมชนกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบนั้น ทั้งที่ก่อนหน้าความขัดแย้งในลักษณะดังกล่าวเคยกระจุกอยู่ในภาคใต้ตอนล่างต่อเนื่องถึงตอนกลางเสียมากกว่า

จึงอย่าได้แปลกใจที่เมื่อไม่กี่วันมานี้ ทำไมจึงมีกลุ่มชาวบ้านจากภาคใต้ที่เดือดร้อนจากโครงการสร้างเขื่อน ทำคลองผันน้ำและทำประตูกั้นน้ำรวมตัวกันในนาม “เครือข่ายปกป้องดิน น้ำ ป่า นครศรีธรรมราช-พัทลุง” ยกทัพขึ้นไปบุกทำเนียบรัฐบาล โดยมีนักวิชาการและประชาชนเข้าร่วมสนับสนุน แถมกลับมาแล้วยังขยายความร่วมมือไปยังทุกพื้นที่ที่ชาวบ้านเดือดร้อนจากเมกะโปรเจกต์รัฐทั่วภาใต้กลายเป็น “เครือข่ายปกป้องดิน น้ำ ป่า ภาคใต้” แถมยังประกาศฮึ่มๆ จะมีปฏิบัติการกันอีกหากรัฐไม่ยุติโครงการ และไม่เพียงเท่านั้นต้นเดือนหน้านี้ยังจะมีการรวมตัวกันหลายพันคนในนาน “สมัชชาประชาชนภาคใต้” แสดงพลังที่ จ.นครศรีธรรมราชอีกระลอก

ณ วันนี้แนวคิดที่ต้องการจะผลักดันประเทศไทย โดยเฉพาะกับภาคใต้ให้เดินหน้าสู่การเป็น “ศูนย์กลางพลังงานข้ามโลก” และ “ศูนย์กลางขนส่งข้ามโลก” ยังคงอยู่ ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการตั้งฐาน “อุตสาหกรรมปิโตรเคมี”ขนาดใหญ่แห่งใหม่ขึ้นมา อันจะส่งผลให้ท้ายที่แล้วสุดภาคใต้จะกลายเป็นพื้นที่รองรับ “นิคมอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค” ที่ใหญ่โตกว่าที่ภาคตะวันออกเคยเป็นมา อันเป็นเหมือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคมและวิถีชีวิตของผู้คนจากที่เคยหยัดยื่นอยู่บน 3 ขาหยั้งคือ ท่องเที่ยว เกษตรและประมง ให้แปรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง


เพียงแต่ว่าจะมีการปักหมุด “คลองไทย” หรือ “แลนด์บริดจ์” ที่อาจจะมีการ “ปรับเปลี่ยนรูปแบบ” ไปตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ในเวลาไหน อาจจะยังเป็น “แลนด์บริดจ์ในประเทศ” เหมือนเดิม หรือแปลงร่างเป็น“แลนด์บริดจ์ไทย-มาเลเซีย” ลงบนแผ่นดินภาคใต้ก็เท่านั้น

ดังนั้นจึงอยากตั้งข้อสังเกตช่วงปี่กลองรณรงค์เลือกตั้งยังประโคมโหมแห่กันแบบเร้าใจเวลานี้ว่า เรื่องราวที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศชาติ และกระทบกับวิถีชีวิตคนไทยอย่างวงกว้างดังที่กล่าวมา ทำไมจึงไม่มีพรรคการเมืองไหนคิดที่หยิบไปใส่ไว้ในนโยบายพรรค หรือนักการเมืองคนใดใช้ปราศรัยเรียกคะแนนเสียงก็ยังดี เนื่องเพราะเชื่อว่าน่าจะสามารถโน้มน้าวให้ชาวสะตอปักษ์ใต้ตัดสินใจกาบัตรลงคะแนนเลือก ส.ส.ของพรรคการเมืองนั้นได้อย่างน่าจะเป็นกอบเป็นกำ?!

เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่การเลือกตั้งกระหึ่มโซเซียลมีเดียเวลานี้ ขอสรุปเป็นข้อความสั้นๆ ไว้ท้ายเรื่องราวที่บอกเล่ามานี้ว่า

“ฟ้า” อยากบอก “พ่อ” กับ “แม่” ทั้งหนุ่มและแก่ในทุกพรรคการเมืองว่า ถ้ามองไม่ออกว่าอนาคตประเทศไทยและสังคมไทยจะเจออะไรหลังเลือกตั้ง ทุกท่านก็ควรกลับไปเล่นจ้ำจี้หรือนั่งเล่นขี้ตัวเองจะดีกว่าไหม?!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2019 11:05 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมโชว์ผลงาน 3 ล้านล้าน ลงทุนทุกโหมด ตอบโจทย์ประเทศไทย ปีนี้เร่ง 21 โปรเจ็กต์
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 13:53 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 4 มี.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมจัดงานนิทรรศการและการเสวนาสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี และส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านการคมนาคมขนส่งและความปลอดภัย ประจำปี 2562 ครั้งที่ 1 ภายใต้ชื่อ “ONE Transport for All 2019 : Mobility Connect Technology” พร้อมมีปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “คมนาคมทุกโหมด ตอบโจทย์ประเทศไทย” โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมกล่าวปาฐกถา

กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง ของประเทศ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565

เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการระบบการขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพการเป็นประตูการค้าหลักและเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศ อำนวยความปลอดภัย สะดวก รวดเร็วในการเดินทาง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี




โดยมีกรอบการดำเนินงานประกอบด้วย การบูรณาการระบบคมนาคมขนส่ง (Integrated Transport Systems) ให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการขนส่ง การบริการภาคคมนาคมขนส่ง (Transport Services) ให้มีมาตรฐานสากล และสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและปฏิรูปองค์กร (Regulations and Institution) การพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้พัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง (Technology and Innovation)

การจัดนิทรรศการและการเสวนาสร้างการรับรู้ฯ ในครั้งนี้ เป็นการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน นำเสนอโครงการที่กระทรวงคมนาคมเร่งรัดเพื่อให้สามารถเดินหน้าได้ภายในเดือนมีนาคม 2562 รวม 21 โครงการ

ได้แก่ รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น – หนองคาย ช่วงชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี ช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย ช่วงเด่นชัย – เชียงใหม่ ช่วงชุมพร – สุราษฎร์ธานี ช่วงสุราษฎร์ธานี – สงขลา ช่วงหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ และช่วงบ้านไผ่ – นครพนม รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ) รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – หัวหิน รถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – บางขุนนนท์ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน – ศาลายา และตลิ่งชัน – ศิริราช ทางถนน ก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ทางน้ำ ขยายท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ปรับปรุงท่าเรือกรุงเทพฯ (คลองเตย) และปรับปรุงท่าเรือระนอง ทางอากาศ จัดหาฝูงบินใหม่ จำนวน 38 ลำ โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน และชิ้นส่วนอากาศยาน (MRO) โครงการก่อสร้างอาคารแซทเทิลไลท์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และขยาย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ รวมมูลค่าการลงทุนกว่า 1.29 ล้านล้านบาท

รวมถึงการนำเสนอภาพรวมยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 – 2565) วงเงินลงทุนรวม 1,714,241 ล้านบาท ซึ่งโครงการส่วนใหญ่มีการดำเนินการที่เห็นเป็นรูปธรรมและบางโครงการใกล้แล้วเสร็จ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – โคราช ที่จะสามารถเปิดให้บริการได้ในปีนี้
ท่าอากาศยานเบตง จะเปิดให้บริการได้ปี 2563

ส่วนระยะที่ 2 จะเป็นโครงการที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2566 – 2570 วงเงินลงทุนรวม 636,863 ล้านบาท ระยะที่ 3 ดำเนินการในปี พ.ศ. 2571 – 2575 วงเงินลงทุนรวม 418,121 ล้านบาท และระยะที่ 4 ดำเนินการในปี พ.ศ. 2576 – 2580 วงเงินลงทุนรวม 318,436 ล้านบาท

ทั้งนี้ การจัดงานนิทรรศการและเสวนาการสร้างการรับรู้ฯ “ONE Transport for All 2019 : Mobility Connect Technology” จะจัดขึ้นอีก 3 ครั้ง ได้แก่ ภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดนครราชสีมา และภาคใต้ ณ จังหวัดกระบี่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2019 6:43 pm    Post subject: Reply with quote

“สมคิด” เร่งพัฒนา 3 ท่าเรือปั้น “คลองเตย” ทำเลทอง ลุย “ระนอง” เชื่อมรถไฟทางคู่
วันที่ 14 March 2019 - 14:26 น.
พร็อพเพอร์ตี้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าได้เร่งรัดการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ดำเนินการลงทุน 3 โครงการสำคัญ

@เร่งพัฒนา 3 ท่าเรือ

1.โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F เงินลงทุน 84,361 ล้านบาท ได้รับการยืนยันจากผู้บริหารว่าภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้น่าจะคัดเลือกเอกชนได้ และในเดือน เม.ย.จะประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกได้ ส่วนตัวคิดว่าจะได้ตัวผู้คัดเลือกอย่างแน่นอน จะไม่ประสบปัญหาเหมือนครั้งที่แล้วอีก

2.โครงการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) จำนวน 2,353 ไร่ กทท.ได้ชี้แจงถึงความสำคัญของทำเลดังกล่าวแล้ว ตนเห็นด้วย เพราะที่ดินตรงนั้นถือเป็นทำเลทองที่มีมูลค่าสูงมาก และเป็นจุดที่มีน้ำลึก เรือขนาดใหญ่สามารถจอดเทียบท่า เพื่อขนส่งสินค้าได้ ถือเป็นโชคดีของ กทท.ที่มาตั้งฐานอยู่ที่นี่ ทั้งนี้ยังได้กำชับเรื่องการจ้างที่ปรึกษาที่ใช้งบประมาณ 42.8 ล้านบาท จะต้องว่าจ้างที่ปรึกษาที่มีคุณภาพและมีความสามารถสูงที่สุด





อย่างไรก็ตาม นอกจากการพัฒนาแล้ว พื้นที่ดังกล่าวยังมีผู้อยู่อาศัยเดิมเป็นจำนวนมาก จึงกำชับไปว่าต้องดูแลให้ชาวบ้านเหล่านั้นสามารถอยู่อาศัยร่วมกับโครงการให้ได้และเติบโตไปด้วยกัน อย่าให้กระทบกระเทือนกับความเป็นอยู่ของประชาชน

และ 3.โครงการท่าเรือระนอง วงเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท จะต้องพัฒนาให้ได้ โดยระยะแรกจะต้องเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมพร – สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168.20 กม. เงินลงทุน 3.35 หมื่นล้านบาท เพื่อให้สินค้าของประเทศเราส่งออกไปทางทะเลอันดามันและกลุ่มประเทศเอเชียใต้ เช่น ศรีลังกา บังกลาเทศ และอินเดีย เป็นต้น จากนั้นในระยะที่ 2 จะต้องขยายการพัฒนาไปทางทิศใต้ของท่าเรือ เพื่อให้เรือเดินสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาได้

@รัฐหนุนเต็มที่

“ส่วนความล่าช้าของการลงทุน ก็ไม่ต้องกลัว เพราะวันนี้มาให้กำลังใจแล้ว บางทีสิ่งดีๆ มีแต่ไม่กล้านำเสนอ เพราะไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะสนับสนุนหรือไม่ วันนี้ทาง กทท.ก็คงมั่นใจขึ้นเยอะ ขณะที่โครงการอื่นๆ ในอีอีซี ทุกอย่างอยู่ในไทม์ไลน์อยู่แล้ว และกำชับว่าทุกอย่างจะดีเลย์ไม่ได้ ภาพรวมเชื่อมโยงกันหมด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ทำได้เร็วที่สุดแล้ว” นายสมคิดกล่าวในช่วงท้าย



@ท่าเรือฟันรายได้ 1.5 หมื่นล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของรองนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ กทท.ได้เปิดเผยผลประกอบการในปี 2561 มีรายได้รวม 15,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 764 ล้านบาท จากปี 2560 ที่มีรายได้รวม 14,556 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 6,227 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 230 ล้านบาท จากปี 2560 ที่มีกำไรสุทธิ 5,997 ล้านบาท

ส่วนปริมาณตู้สินค้า (TEUs) พบว่าในปี 2561 มีปริมาณตู้สินค้ารวม 9,513 TEUs แบ่งเป็นตู้สินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง 8,016 TEUs และท่าเรือกรุงเทพ 1,497 TEUs เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีตู้สินค้ารวม 9,175 TEUs แบ่งเป็นตู้สินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง 7,677 TEUs และตู้สินค้าในท่าเรือคลองเตย 1,498 TEUs

จี้โปรเจกท์ท่าเรือ ‘สมคิด’ยันลงนามทันรัฐบาลนี้

วันศุกร์ ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.


เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางตรวจเยี่ยมกิจการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) พร้อมรับฟังความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาที่สำคัญนายสมคิดกล่าวว่า การท่าเรือฯมีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนโดยโครงการแรกอย่างโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 วงเงิน 84,000 ล้านบาท คาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้ จะสามารถทราบเอกชนผู้ชนะ และได้รับสัมปทานโครงการดังกล่าวจากนั้นก็จะเริ่มต้นโครงการได้เร็วๆ นี้



ทั้งนี้นายสมคิดยังชี้แนะว่า ในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว หากเอกชนมีการยื่นข้อเสนอนอกเงื่อนไขมาให้พิจารณานั้นก็คงไม่สามารถรับไว้ได้เพราะอาจทำให้ขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกตัวและลงนามสัญญาต้องล่าช้าออกไปอย่างเช่น งานประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) อยากให้ การท่าเรือฯเก็บประสบการณ์มาเป็นบทเรียนในการประมูลโครงการพัฒนาท่าเรืออื่นต่อไป

ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพฯ(คลองเตย)นั้น เนื่องจากมีมูลค่าที่ดินที่สูง และเป็นท่าเรือที่มีน้ำลึกสามารถจอดเรือสินค้าขนาดใหญ่ได้ รวมถึงมีศักยภาพในเชิงการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางการท่าเรือฯจึงมีแผนที่จะพัฒนาโครงการให้ท่าเรือกรุงเทพฯใหญ่ขึ้นและทันสมัย มีแผนที่จะเป็นท่าเรือที่นำนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยให้มากขึ้น

ขณะที่โครงการท่าเรือระนองจะเป็นการพัฒนาจากท่าเรือเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง หากสามารถเชื่อมโยงโครงข่ายในระบบนี้ได้จะทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย จะสามารถเข้าถึงไปยังฝั่งอันดามัน เอเชียใต้ อินเดียและบังกลาเทศในระยะแรก ส่วนการพัฒนาในระยะที่ 2 จะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้มีขีดความสามารถในการเป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านและเกิดการขนส่งไปยังมหาสมุทรระดับโลก

สำหรับแผนลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) นั้น เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, โครงการเมืองการบินอู่ตะเภา, โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 และอุปกรณ์เกี่ยวเนื่อง และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด เป็นต้น ก็มั่นใจว่าจะสามารถเดินไปตามขั้นตอนประมูลและคัดเลือกเอกชนร่วมทุนได้ตามเป้าหมาย รวมถึงสามารถได้ตัวเอกชนพร้อมลงนามสัญญาภายในรัฐบาลชุดนี้

ด้านนายกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการ กทท.กล่าวว่า โครงการแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 มีกำหนดให้เอกชนยื่นซองในวันที่ 29 มีนาคม และในวันที่ 11 เมษายนจะสามารถสรุปผลผู้ชนะได้ก่อนส่งรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไปทั้งนี้คาดว่าจะมีเอกชนรายใหญ่จับกลุ่มกันมาแข่งขันยื่นข้อเสนอเพียง 2 ราย

ส่วนการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพฯนั้นทางการท่าเรือฯจะมีการแบ่งโซนในการพัฒนา โดยในการพัฒนาที่ดินท่าเรือกรุงเทพฯให้เป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

กรณ์ #แก้จนสร้างคนสร้างชาติ ภาคใต้
ยุทธศาสตร์ความเจริญด้านการค้าเชื่อมจีน
สร้างคนทั้งระบบชูแรงงานทักษะสูง
รองรับอุตสาหกรรมจากวัตถุดิบท้องถิ่น

ลงพื้นที่เขตสส.ใต้
สงขลา-พัทลุง-นครศรีฯ
วิรัตน์ กัลยาศิริ สงขลา
เดชอิศม์ ขาวทอง สงขลา
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ พัทลุง
นริศ ขำนุรักษ์ พัทลุง
ชัยชนะ เดชเดโช นครศรีธรรมราช

#แก้จน :
ประกันรายได้ชาวสวนยางพารา ชาวสวนยางพารา สวัสดิการพื้นฐานต่างๆ

#สร้างคน :
เรียนฟรีปวส.ฝึกสกิลพื้นฐาน พัฒนาสูงแรงงานทักษะสูง ให้มุ่งทำงานในอุตสาหกรรมจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่นการแปรรูปอาหารทะเล อุตสาหกรรมยางพาราและไม้ยางพารา สกิลภาษารับการท่องเที่ยวใต้ ฯลฯ

#สร้างชาติ :
รถไฟทางคู่ถึงด่านสะเดา รถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน-สิงคโปร์ ผ่านปาดังเบซาร์ ท่าเรือน้ำลึกเชื่อมการค้าไทย-จีน ยกระดับด่านการค้าชายแดนใต้ มอเตอร์เวย์จากสุไหงโกลขึ้นกรุงเทพฯ รวมไปถึงการกระจายอำนาจลงท้องถิ่น

ภาคใต้ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจของไทยมีจุดเด่นที่ชัดเจน มีทรัพยากรมากมายในตัวพื้นที่เอง และเป็นจุดยุทศาสตร์การค้าสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเรือ และทางราง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดสงขลาที่การค้าชายแดนสูงถึงกว่า 6 แสนล้าน นับเป็นมูลค่าเกินครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าชายแดนรวมของทั้งประเทศ แต่ประเด็นคือเป็นการส่งสินค้าที่จะส่งออกไปจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ผ่านด่านตรงนั้นแล้วไปขึ้นท่าเรือในมาเลเซียหากเป็นท่าเรือปีนังก็ต้องเสียเวลาและต้นทุนเพิ่มอีก 2 วัน การพัฒนาท่าเรือสงขลาจึงสำคัญมากในเชิงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคใต้ และพรรคประชาธิปัตย์พร้อมสนับสนุนเต็มที่

#เลือกตั้ง62 #ประชาธิปัตย์
#ทีมกรณ์ #แก้จนสร้างคนสร้างชาติ
ผลิตโดย ทีมกรณ์ จาติกวณิช
พรรคประชาธิปัตย์ 67 ถ.เศรษฐศิริ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
จำนวน 1 ชุด ตามวันเวลาที่ปรากฏที่ส่งมาในครั้งนี้
https://www.facebook.com/TeamKornChatikavanijPage/posts/2167532133340375
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2019 10:45 am    Post subject: Reply with quote

ยึดต้นแบบ "อีอีซี" บูม "เศรษฐกิจใต้"
ออนไลน์เมื่อ
10 เมษายน 2562
รายงาน โดย โต๊ะข่าวภูมิภาค
ตีพิมพ์ใน หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,459 วันที่ 7 - 10 เมษายน 2562

สำนักวิจัยธนาคาร "ซีไอเอ็มบี ไทย" โดย นายประธาน จิวจินดา หัวหน้าส่วนวิจัยนโยบายรัฐและปัจจัยทางธุรกิจ เผยแพร่งานวิจัย "รีเสิร์ชทอล์ก" หัวข้อ เอสอีซี ... ยึดต้นแบบอีอีซี บูมเศรษฐกิจใต้ เปรียบเทียบการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่เป็นต้นแบบกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ที่เป็นการขยายผลไว้อย่างน่าสนใจ

... ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (เอสอีซี) เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2561 ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งพื้นที่รองรับการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควบคู่กัน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ ทั้งด้านการลงทุนและการท่องเที่ยว โดยในระยะแรกจะครอบคลุม 4 จังหวัด คือ จ.ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ ธานี และนครศรีธรรมราช

ขณะที่ โครงการอีอีซีเป็นโครงการใหญ่ ทั้งในแง่ขนาดโครงการในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น ถนน ระบบราง ท่าเรือ สนามบิน การเชิญชวนนักลงทุนข้ามชาติให้เข้ามาปักหลักลงทุน การนำเสนอสิทธิประโยชน์สิทธิพิเศษ การพัฒนาเมืองใหม่ และการใช้วงเงินลงทุนจำนวนมากที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โครงการอีอีซีจึงมีความหลากหลายภารกิจที่ต้องดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ เพื่อพลิกอนาคตเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้แบบก้าวกระโดด อีอีซีกำลังจะเป็นต้นแบบให้เอสอีซีเดินตาม เมื่อพิจารณาจากความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ ด้าน

1.ภาพรวมของแผนปฏิบัติการ กล่าวคือ ตามกรอบการพัฒนาอีอีซีจะมีโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 168 โครงการ วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ กรอบการพัฒนาเอสอีซีจะมีโครงการรวม 116 โครงการ วงเงิน 1.06 แสนล้านบาท

2.ประตูการค้า กล่าวคือ กำหนดให้การพัฒนาโครงการอีอีซีเป็นประตูการค้าฝั่งตะวันออก (Eastern Gateway) สู่มหาสมุทรแปซิฟิก โดยเน้นไปที่กลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี รวมถึงการค้าผ่านแดนทางบกจากจีน ขณะที่ การพัฒนาโครงการเอสอีซีเป็นประตูการค้าฝั่งตะวันตก (Western Gateway) สู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย โดยเน้นไปที่กลุ่มบิมส์เทคเป็นสำคัญ

3.การพัฒนาอุตสาหกรรม อีอีซีเน้น 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ต่อยอดโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ขณะที่ เอสอีซีดูความเหมาะสมของภูมิศาสตร์ในพื้นที่ เพราะภูมิประเทศของภาคใต้ส่วนใหญ่เน้นไปเรื่องประมงและภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงเน้นไปที่การพัฒนาต่อยอดโดยใช้นวัตกรรม การนำวัตถุดิบท้องถิ่น เช่น การนำนํ้ามันปาล์มมาสกัดวิตามินอี ผลิตฉนวนป้องกันความร้อน การพัฒนาสัตว์นํ้าเศรษฐกิจ โรงงานต้นแบบสำหรับผลิตนวัตกรรมยางพารา โดยเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (ไบโออีโคโนมี) และการแปรรูปการ เกษตรมูลค่าสูง รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ที่จะต้องชูจุดเด่นมาเป็นจุดขาย

4.การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ถ้าเป็นอีอีซีจะเน้นเมืองน่าอยู่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ส่วนเอสอีซีจะเน้นเมืองน่าอยู่ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช


นโยบาย "ประเทศไทย 4.0" ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน คงจะไม่ได้เน้นพื้นที่อีอีซีเพียงด้านเดียว หากทว่าอีอีซีคงจะเป็นต้นแบบ หรือ เป็นโมเดลที่จะเอื้อให้เกิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อช่วยกันผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตและขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ในระยะปานกลางถึงระยะยาว จังหวัดทางภาคใต้ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโครงการเอสอีซี ได้แก่ จังหวัดฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะชุมพรและสุราษฎร์ธานี จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะภูเก็ตและกระบี่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะสงขลาและสตูล รวมไปถึงจังหวัดทางภาคตะวันตก ได้แก่ เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

สำหรับประเด็นท้าทาย คือ นักท่องเที่ยวยังกระจุกตัวอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหมู่เกาะและชายหาดหลัก เช่น ภูเก็ต กระบี่ สมุย พะงัน เกาะเต่า พีพี หลีเป๊ะ เป็นต้น แต่ขาดการเชื่อมโยงกับแหล่งชุมชน เพื่อให้พืชเศรษฐกิจหลัก อาทิ ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน เกิดการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น หากสนับสนุนโครงการท้องถิ่นที่เป็น Winning Project เช่น โครงการของดีชุมชน เทศกาลอาหารอร่อย เพื่อยกระดับการผลิตสินค้า ตลอดจนทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับบรรยากาศและวัฒนธรรมท้องถิ่น ก็จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและมีผลต่อการขับเคลื่อนกำลังซื้อด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2019 4:39 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. ขอนำส่งข่าวที่ ประจำวันพุธที่ 10 เมษายน 2562 ดังนี้

1. หนังสือพิมพ์มติชน หัวข้อข่าว “ คอลัมน์ อินฟรา'sFun: ลุยระบบราง1.12ล้านล.”
ก้าวเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทยแล้ว มาดูกันว่าโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่อยู่ภายใต้ แผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟ พ.ศ.2562-2568 จะเป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับการดำเนินงานภายใต้แผนดังกล่าว วงเงินลงทุนรวม 1,120,295 ล้านบาท แบ่งเป็น1.เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ-สายตะวันออก มีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2562 นี้ คือ รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ที่จะแล้วเสร็จปี 2566 คือ รถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ , ช่วงขอนแก่น-หนองคาย และช่วงชุมทางถนน จิระ-อุบลราชธานี ส่วนช่วงบ้านไผ่-มุกดาหารนครพนม ซึ่งเป็นรถไฟสายใหม่จะแล้วเสร็จในปี 2568 ขณะที่รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯนครราชสีมา และกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา วงเงิน 224,544 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในปี 2566
2.เส้นทางสายเหนือ ที่จะแล้วเสร็จในปี 2565 คือ รถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ที่จะแล้วเสร็จในปี 2566 คือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งเป็นเส้นทางสายใหม่ ส่วนช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย และเด่นชัย-เชียงใหม่ จะแล้วเสร็จในปี 2567
3.สายใต้ ที่จะแล้วเสร็จในปี 2564 คือ รถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐมหัวหิน ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 8,653 ล้านบาท และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ที่จะแล้วเสร็จในปี 2566 คือ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี และช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ขณะที่ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา จะแล้วเสร็จในปี 2567
4.รถไฟชานเมืองสายสีแดง ที่จะแล้วเสร็จในปี 2564 คือ ช่วงบางซื่อ-รังสิต วงเงิน 88,003 ล้านบาท และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่จะแล้วเสร็จในปี 2566 คือ ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน ส่วนช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และบางซื่อ-หัวหมาก จะแล้วเสร็จในปี 2567
ทั้งนี้ การเดินหน้าทุกโครงการดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะขยายเส้นทางรถไฟให้ครอบคลุมมากขึ้น หลังหยุดชะงักไปในอดีต โดยในปี 2494 มีระยะทางรถไฟ 3,377 กิโลเมตร (กม.) ในปี 2561 เริ่มเพิ่มขึ้นมาเป็น 4,044 กม. เป็นรถไฟทางคู่ 357 กม. และในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นเป็น 4,370 กม. เป็นรถไฟทางคู่ 2,464 กม.
https://www.facebook.com/pr.railway/photos/a.708007162547491/2632523016762553/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 99, 100, 101 ... 121, 122, 123  Next
Page 100 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©