Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180970
ทั้งหมด:13492205
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 103, 104, 105 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2021 2:15 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า “สายสีแดง” ดีเลย์ หลังติดปัญหาสัญญา 3-ปรับแบบ PPP
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
จันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2564 เวลา 09:01 น.

รฟท.เผยแผนทดสอบเดินรถเสมือนจริงรถไฟสายสีแดงล่าช้า หลังติดปัญหาลงนามขยายสัญญา 3 ยันเปิดให้บริการตามแผน ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีแดงสะดุด เหตุใช้โครงสร้างทางร่วมไฮสปีดเทรน เร่งปรับรูปแบบพีพีพี กระทบโครงการล่าช้า 3 ปี

กระทรวงคมนาคมมีแผนเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตปลายปี2564แต่ทำท่าไม่เป็นไปตามแผนเนื่องจากติดอุปสรรครอบด้านที่ต้องเร่งแก้ไขรายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมแผนรายละเอียดทดสอบเดินรถเสมือนจริงคาดว่าจะล่าช้า เนื่องจากติดปัญหาการขยายระยะเวลาลงนามสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยกิจการร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ออกไป 223 วัน ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์-กันยายน 2564 ปัจจุบันทีมกฎหมายอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าว คาดว่าลงนามฯได้ภายในกลางเดือนพฤษภาคมนี้ ทั้งนี้ยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยมีกำหนดเปิดเดินรถเสมือนจริงภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้รฟท.งดให้บริการการเดินรถไฟสายสีแดงให้กับประชาชนไม่มีกำหนดหรือจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ทั้งนี้เรามองว่าหากเปิดให้บริการในกรณีที่ประชาชนใช้บริการค่อนข้างเยอะ มีความเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายและไม่อยากให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่”รายงานข่าวจากรฟท. ระบุว่าความคืบหน้าการดำเนินการหาที่มาของการเพิ่มงบประมาณการเปลี่ยนแปลงงาน (Variation order) หรือ VO ที่มีงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 10,345 ล้านบาท ในโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสรุปผลการดำเนินการฯ เพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณา ส่วนแนวโน้มที่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) จะให้เงินกู้เพิ่มเติมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เนื่องจากเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ทั้งนี้อัตราค่าโดยสารของโครงการฯ เริ่มต้นที่ 12-42 บาท เฉลี่ย 1.01 บาทต่อกิโลเมตร (กม.) ระยะทาง 41.56 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 13 สถานี ขณะที่บัตรโดยสารรถไฟสายสีแดง แบ่งเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย

1.บัตรโดยสารรายเดือน 20 เที่ยว จำนวน 700 บาท เฉลี่ย 35 บาทต่อเที่ยว 30 เที่ยว จำนวน 900 บาท เฉลี่ย 30 บาทต่อเที่ยว 50 เที่ยว จำนวน 1,250 บาท เฉลี่ย 25 บาทต่อเที่ยว
2.บัตรนักเรียน เด็กส่วนสูงไม่เกิน 90 เซนติเมตร (ซม.) ได้รับยกเว้นค่าโดยสาร บัตรเด็ก ลด 50% จากปกติ (อายุไม่เกิน 14 ปี และมีความสูงไม่เกิน 91-120 เซนติเมตร) บัตรนักเรียน/นักศึกษา อายุไม่เกิน 23 ปี ลด 10% จากอัตราค่าโดยสารปกติ 3.บัตรผู้สูงอายุ ส่วนลด 50% มีทั้งบัตรสมาร์ทการ์ดและตั๋วเที่ยวสำหรับโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

ที่ผ่านมา รฟท.มีเป้าหมายเปิดประกวดราคาและเริ่มงานก่อสร้างภายในปี 2564 รวม 3 สัญญา ประกอบด้วย
ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินโครงการ 6.57 พันล้านบาท,
ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช วงเงิน 6.64 พันล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา วงเงิน 1.02 หมื่นล้านบาท
ส่วนโครงการช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ – หัวหมาก หรือที่เรียกว่า Missing Link วงเงิน 4.41 หมื่นล้านบาทเนื่องจากต้องใช้โครงสร้างทางร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จึงเป็นโครงการที่ต้องเร่งหารือและแยกดำเนินการก่อสร้างงานโยธา

ทั้งนี้จากการปรับแผนพัฒนาโครงการในรูปแบบพีพีพีนั้น เบื้องต้นประเมินว่าจะทำให้โครงการล่าช้าออกไปราว 3 ปี เพราะต้องเริ่มกระบวนการศึกษารูปแบบร่วมลงทุน

ส่วนช่วง Missing Link ปัจจุบัน รฟท.ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) และเอกชนผู้รับสัมปทานไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพื่อหาข้อสรุปในการลงทุนโครงสร้างทางร่วมโดยนโยบายของรัฐบาล ผู้รับเหมาโครงการที่ต้องเข้าพื้นที่ก่อนเป็นผู้ลงทุนเตรียมฐานรากไว้ให้โครงการอื่นด้วย เพราะการเดินหน้าก่อสร้างครั้งเดียว ย่อมดีกว่าการก่อสร้างหลายครั้ง เนื่องจากผลกระทบประชาชนในพื้นที่น้อยกว่า

ขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการหารือว่าเอกชนโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จะสามารถลงทุนงานโครงสร้างให้ก่อน และเมื่อได้เอกชนจากพีพีพีสายสีแดง สามารถจ่ายชดเชยกันได้หรือไม่ หรือจะมีรูปแบบอื่นเหมาะสมกว่า ด้านการขุดเจาะอุโมงค์เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีบางซื่อ วงเงิน 20 ล้านบาท เบื้องต้นได้ลงนามร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง รฟม.และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการขุดเจาะผนังทางเชื่อม จำนวน 2 จุด โดยจุดแรกจะเร่งดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้เพื่อให้ทันต่อการเปิดเดินรถเสมือนจริง และจุดที่ 2 คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2564 เพื่อทันต่อการเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564“ส่วนค่าใช้ในการก่อสร้างนั้น เบื้องต้นรฟม.จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายไปก่อน โดยรฟท.จะขอตั้งงบประมาณปี 2565 วงเงิน 20 ล้านบาท เพื่อชำระคืนให้ รฟม.ในภายหลัง”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2021 4:23 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เปิดประมูล 580 ล้านบาทจ้างแม่บ้าน-รปภ.พรึ่บ!!
*ดูแลสถานีกลางบางซื่อ-12 สถานีสายสีแดง
*ทอท. พร้อมส่งบริษัทลูกเข้าชิง/งานรปภ.เป๊ะ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2900612483493584
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2021 8:56 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อมูล Missing Link จากบางซื่อไปหัวหมาก และ บางซื่อไปหัวลำโพง
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1188695864902224
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2021 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

NWR เผยกิจการร่วมค้าได้งานสร้างทางเชื่อมรพ.จุฬาภรณ์-สถานีหลักสี่ 238.22 ล้านบาท
...บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) เปิดเผยว่า กลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นดับเบิลยูอาร์-เอวีพี ซึ่งประกอบไปด้วย NWR และ บริษัท แอดวานซ์ฟรีแฟบ จำกัด (AVP) ร่วมลงนามในสัญญาก่อสร้างกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางเชื่อม Skywalk ระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ตามพระราชดำริ มูลค่าโครงการ 238.22 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) (สัดส่วน NWR 51% คิดเป็นมูลค่า 121,492,200 บาท สัดส่วน AVP 49%คิดเป็นมูลค่า 116,727,800 บาท) ระยะเวลาก่อสร้าง 240 วันนับจากวันที่แจ้งให้เริ่มงาน
https://www.thaifrx.com/nwr-%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2/
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4051030764943838
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2021 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท.ไฟเขียวปรับสัญญา 3 “สายสีแดง” เร่งงานระบบ เปิดเดินรถ ก.ค. 64
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:34 น.
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2564 เวลา 18:34 น.




บอร์ด รฟท.เห็นชอบปรับสัญญา 3 รถไฟสายสีแดง เร่งงานระบบให้สอดคลัองกับการเปิดเดินรถเปิด Soft Opening เดือน ก.ค.นี้ พร้อมเดินหน้าสรรหาพนักงาน รฟท.ส่วนที่เหลืออีก 574 อัตราตามมติ ครม.เพื่อเพิ่มคนทำงาน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน ครั้งที่ 6/2564 วันที่ 13 พ.ค. 2564 มีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา งานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ- ลิ่งชัน ที่มีกิจการร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) เป็นผู้รับจ้าง เพื่อให้สามารถดำเนินการเปิดเดินรถไฟสายสีแดง โดยไม่เก็บค่าโดยสาร(Soft Opening) ช่วงปลายเดือน ก.ค. 2564

ทั้งนี้ สัญญา 3 รถไฟสายสีแดงจะสิ้นสุดวันที่ 24 ก.ย. 2564 ขณะที่จะมีการเปิดเดินรถในเดือน ก.ค.นี้ ก่อนที่สัญญาสิ้นสุด ดังนั้นจะต้องเจรจากับผู้รับจ้างเพื่อให้ความยินยอมในการเร่งรัดการส่งมอบงานเดินรถเร็วกว่าสัญญาเพื่อให้ทันต่อการเปิด Soft Opening ด้วย โดยขณะนี้สัญญาที่ 3 มีความคืบหน้ามากกว่า 90% แล้ว

ปัจจุบันการก่อสร้างงานโยธาโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กม. และช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กม. รวมถึงสถานีกลางบางซื่อเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ และทดสอบการเดินรถเสมือนจริง ก่อนเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการในเดือนกรกฎาคม 2564 จากนั้นจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2564

@เดินหน้าสรรหาพนักงานรถไฟส่วนที่เหลืออีก 574 อัตราตามมติ ครม.

พร้อมกันนี้ บอร์ด รฟท.ยังได้เห็นชอบการสรรหาพนักงานใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561 ในส่วนอัตราที่เหลือ 574 อัตรา จากทั้งหมดที่ ครม.เห็นชอบไว้ 1,904 อัตรา ซึ่งที่ผ่านมาได้สรรหาไปแล้วจำนวน 1,330 อัตรา จึงต้องดำเนินการสรรหาในส่วนที่เหลือให้ครบจำนวนตามมติ ครม. เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณงาน โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2564

สำหรับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561 เห็นชอบให้ยกเว้นมาตรการด้านบุคลากรจากมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 ที่ให้ รฟท.งดรับพนักงานใหม่ ยกเว้นตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเดินรถและตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิพิเศษ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว โดยจะรับพนักงานใหม่ได้ไม่เกิน 5% ของจำนวนพนักงานที่เกษียณอายุในแต่ละปี
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44330
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/05/2021 7:48 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีแดงยังแรงทดสอบเดินรถ
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ปรับปรุง3สถานีร้างพังก่อนใช้ใกล้เสร็จ พร้อมเปิดให้บริการประชาชนฟรีก.ค.นี้

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ขณะนี้ยังไม่มีกำหนดเปิดให้สถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือกลุ่มประชาชนที่สนใจ ได้เยี่ยมชม และทดลองใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และสถานีกลางบางซื่อ ระยะทางรวม 41.3 กิโลเมตร (กม.) 13 สถานี ต้องรอให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลงก่อน จึงจะเปิดให้เยี่ยมชมอีกครั้ง หลังจากได้แจ้งประกาศงดตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา ในส่วนของแผนงานที่จะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรีอย่างไม่เป็นทางการ (Soft opening) ในเดือน ก.ค. 64 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แบบเก็บค่าโดยสารในเดือน พ.ย.นี้นั้น เบื้องต้นยังเป็นไปตามแผนเดิม

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งต่อว่า แม้โควิด-19 ยังคงระบาดหนัก แต่รถไฟฟ้าสายสีแดงยังทดสอบเดินรถเสมือนจริงตามปกติต่อเนื่อง ทั้งสายเหนือ (north line) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และสายตะวันตก (west line) บางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยพยายามนำทุกขบวนสลับกันขึ้นมาทดสอบ ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่พบปัญหาใด โดยต้องทดสอบในลักษณะนี้ไปจนกว่าจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรีในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อฝึกความชำนาญ และเพิ่มชั่วโมงบินให้กับพนักงานขับรถทุกคน รวมทั้งทดสอบการใช้ความเร็ว และทดสอบการเคลื่อนที่ของรถให้มีความแม่นยำมากที่สุด ที่สำคัญยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนด้วยว่า เมื่อมาใช้บริการจะได้รับความปลอดภัยอย่างแน่นอน

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า รฟท. กำลังเร่งซ่อมแซมสถานีในเส้นทางช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ทั้ง 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน เนื่องจากสร้างเสร็จมานานเกือบ 10 ปีทำให้มีสภาพทรุดโทรม และผุพังไปบ้าง โดยงานซ่อมบำรุงรางรถไฟฟ้า ลิฟต์บันไดเลื่อน และระบบควบคุมอาคารของ 3 สถานี มีความคืบหน้าในการซ่อมแซมมาก เหลือเพียงงานลิฟต์ และบันไดเลื่อน คาดว่าจะปรับปรุงแล้วเสร็จปลายเดือน มิ.ย. 64 ส่วนงานปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในของทั้ง 3 สถานี เช่น งานพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน สุขภัณฑ์ และงานสถาปัตยกรรมตกแต่งภายในสถานี เป็นต้น อยู่ระหว่างประกวดราคาหาผู้รับจ้าง คาดว่าจะเริ่มปรับปรุงเร็ว ๆ นี้ และจะพยายามเร่งรัดงานให้แล้วเสร็จก่อนเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรีในเดือน ก.ค.นี้

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งด้วยว่า ในวันที่ 24-31 พ.ค. 64 กระทรวงคมนาคมจะใช้พื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล ซึ่งในวันที่ 21 พ.ค.นี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วยนาย ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะเดินทางมาตรวจการเตรียมความพร้อมการจัดตั้งศูนย์ฯ ที่สถานีกลางบางซื่อ ก่อนจะเริ่มฉีดให้กับผู้ให้บริการด่านหน้าในระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทในสังกัดกระทรวงคมนาคมเป็นกลุ่มแรก จากนั้นคาดว่าตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. เป็นต้นไป จะเริ่มฉีดให้กับประชาชนทั่วไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2021 5:09 pm    Post subject: Reply with quote

“โควิด” ฉุดผู้โดยสารระบบรางหายกว่า 50% สายสีแดงลุยเปิด ก.ค. 64 หวัง ”สถานีกลางบางซื่อ” ศูนย์คมนาคมแห่งใหม่...ช่วยพลิกวิกฤต
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.00 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.00 น.

การแพร่ระบาดโควิดในระลอกนี้ นอกจากจะหนักกว่าปี 2563 อย่างมากแล้ว สถานการณ์ยังไม่มีทีท่าว่าจะควบคุมได้โดยยังคงพบผู้ติดเชื้อและคลัสเตอร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกวัน มาตรการที่รัฐบาล โดย ศบค.ได้ขอความร่วมมือทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนให้พนักงาน Work From Home หรือ ทำงานอยู่ที่บ้าน ลดการพบปะ ลดการเดินทาง เพื่อหยุดการระบาดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะระบบขนส่งทางราง ซึ่งพบว่าผู้โดยสารลดลงไปมากกว่า 50%

ซึ่งจากข้อมูลปริมาณผู้โดยสารระบบขนส่งทางรางทุกระบบก่อนเกิดการระบาดระลอก 3 ช่วงเดือน มี.ค.-17 เม.ย. 2564 มีผู้โดยสารเฉลี่ยจำนวน 790,931 คน/วัน หลังการระบาดระลอก 3 ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 2564 เป็นต้นมา ปริมาณผู้โดยสารเหลือเฉลี่ย 339,494 คน/วัน เท่านั้น หรือลดลงถึง 57.08%

หากแยกลงไปในแต่ละระบบ พบว่า รถไฟฟ้า BTS จากที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 471,366 คน/วัน เหลือ 205,994 คน/วัน หรือลดลง 56.30%

รถไฟฟ้า MRT จากที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 246,553 คน/วัน เหลือ 104,243 คน/วัน หรือลดลง 57.72%

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จากที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 36,854 คน/วัน เหลือ 15,394 คน/วัน หรือลดลงื58.23%

การรถไฟแห่งประเทศไทย จากที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 36,158 คน/วัน เหลือ 13,864 คน/วัน หรือลดลง 61.66%

หากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่สามารถควบคุมได้ในเร็ววัน จำนวนผู้โดยสารระบบรางคงจะไม่เพิ่มมากไปกว่านี้แน่ ในทางกลับกัน การเดินทางของประชาชนมีแนวโน้มที่จะน้อยลงไปอีกหากมีการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้น



ขณะที่โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่มีกำหนดเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการ (Soft Opening) ในเดือน ก.ค. 2564 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบเดือน พ.ย. 2564 หากโควิดยืดเยื้อ รถไฟสายสีแดงเปิดบริการได้แต่คงไม่ปัง... ไม่เปรี้ยง!!! ตามที่ตั้งความหวังไว้แน่นอน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นว่ารถไฟสายสีแดงมีการประมาณการผู้โดยสารไว้ที่ 80,000 คน/วัน ซึ่งภายใต้สถานการณ์ปกติ ในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าช่วงแรก ผู้โดยสารจะไม่ถึงเป้าหมายแน่นอน เฉลี่ยอาจจะต่ำกว่าคาดการณ์ประมาณ 50% แต่วิกฤตโควิด คือสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ผู้โดยสารในระบบรางที่มีปัจจุบันยังลดไปกว่า 50% สำหรับสายสีแดงมีความเป็นไปได้ที่จำนวนผู้โดยสารอาจจะอยู่ในระดับ 30% จากที่ประมาณการไว้

และจากที่มีการศึกษาคาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร ทั้งจากรถไฟชานเมืองสายสีแดงและรถไฟทางไกลที่เข้าใช้บริการสถานีกลางบางซื่อในปี 2564 จำนวน 208,000 คน/วัน ได้มีการปรับเป้าหมายลงเหลือที่ประมาณ 100,000 คน/วัน

ซึ่งรถไฟสายสีแดง เป็นเส้นทางที่มีโครงข่ายเชื่อมการเดินทางจากชานเมืองกับเมือง มีเส้นทางครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ เชื่อมกับปริมณฑล และเป็นระบบขนส่งมวลชนหลักของเมืองที่จะช่วยแก้วิกฤตจราจรในกรุงเทพฯ เพื่อทำให้การเดินทางของประชาชนมีความสะดวก ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงของประเทศ และลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ

แต่ความเสี่ยงของโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งมักเป็นความเสี่ยงที่เป็นจริงเสมอ คือ ปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการจริงต่ำกว่าประมาณการไว้ ซึ่งปัจจัยหลักๆ มาจากระบบเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้า กับที่อยู่อาศัย ชุมชน ไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สะดวกในการใช้บริการ ที่จอดรถไม่เพียงพอ ความถี่ในการให้บริการไม่สอดคล้องกับความต้องการ และปัจจัยสำคัญคือ อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ยังค่อนข้างสูง จึงไม่จูงใจให้คนหันมาใช้บริการมากนัก

“โจทย์ยากของรถไฟสายสีแดงดังกล่าว ...แม้จะมีความพยายามแก้ไข ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง สร้างจุดขาย ไว้แล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าเมื่อเปิดเดินรถจริงแล้วจะได้ผลแค่ไหน ..เมื่อมีวิกฤตโควิดเพิ่มเข้ามาอีก ยิ่งทำให้โจทย์ยากขึ้นเป็นทวีคูณ..เดิมจากที่พยายามแก้ไขโดยปรับแผนธุรกิจ ทำการตลาด ดึงดูดให้มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุด พร้อมกับเพิ่มพื้นที่ของสถานีกลางบางซื่อออกมาใช้หารายได้เชิงพาณิชย์ ให้มากที่สุด ซึ่ง “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ได้ให้ใช้โมเดลการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เป็นต้นแบบ

มีการปรับตัวเลขลดการขาดทุนจากเดิม 5 ปีมาเป็น Ebitda ตั้งแต่ปีแรก...วันนี้ ต้นแบบอย่าง ทอท.ขาดทุนในช่วง 6 เดือนแรกไปแล้ว 7 พันล้านบาท”



รถไฟสายสีแดงฝ่าวิกฤตโควิด เดินหน้าเปิดตามแผน ก.ค. Soft Opening ลุยเชิงพาณิชย์ ธ.ค. 2564

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และเปิดบริการสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางระบบขนส่งทางรางของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมโดยระบบต่างๆ (Multi-Modal Transportation) เพราะจะมีทั้งรถไฟชานเมืองสายสีแดง รถไฟทางไกล (สายเหนือ อีสาน ใต้ ตะวันออก ตะวันตก) รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสามารถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (MRT)

ขณะนี้ รฟท.กำลังดำเนินการประกวดราคาจ้างทำความสะอาด และจ้างบริการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ และบริเวณสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง จำนวน 12 สถานี ได้แก่ 1. สถานีจตุจักร 2. สถานีวัดเสมียนนารี 3. สถานีบางเขน 4. สถานีทุ่งสองห้อง 5. สถานีการเคหะ 6. สถานีหลักสี่ 7. สถานีดอนเมือง 8. สถานีหลักหก 9. สถานีรังสิต 10. สถานีบางซ่อน 11. สถานีบางบำหรุ 12. สถานีตลิ่งชัน

โดยจะดำเนินการจ้างเอกชน 4 สัญญา วงเงินรวมประมาณ 585 ล้านบาท มีระยะเวลาจ้างสัญญาละ 3 ปี ประกอบด้วย 1. สัญญาจ้างทำความสะอาดอาคารและบริเวณสถานีกลางบางซื่อ กรอบวงเงิน 128.3 ล้านบาท 2. สัญญาจ้างทำความสะอาดอาคารและบริเวณสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง จำนวน 12 สถานี กรอบวงเงิน 198.81 ล้านบาท

3. สัญญาจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรบริเวณสถานีกลางบางซื่อ กรอบวงเงิน 81.4 ล้านบาท และ 4. สัญญาจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรบริเวณสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง จำนวน 12 สถานี กรอบวงเงิน 176.7 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังต้องเร่งซ่อมบำรุงโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน กรอบวงเงินรวมประมาณ 130 ล้านบาท ทั้งตัวอาคารสถานี และถนนเลียบทางรถไฟ รวมถึงอาคารประกอบอื่นๆ งานซ่อมบำรุงรางรถไฟฟ้า ลิฟต์บันไดเลื่อน และระบบควบคุม เพื่อให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เนื่องจากช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันซึ่งมี 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชันนั้น ได้มีการก่อสร้างเสร็จตั้งแต่เมื่อปี 2555

รวมไปถึงเร่งออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนได้มีสิทธิใช้ประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีกลางบางซื่อ พื้นที่จำนวน 52,375 ตารางเมตร โดยจะรวมการให้บริการในส่วนของศูนย์อาหาร และร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าจำเป็นในการเดินทาง อายุสัญญา 15-20 ปี

ซึ่งในภาพรวมจะสามารถดำเนินการทำสัญญาจัดจ้างได้แล้วเสร็จทันการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แน่นอน



ตั้ง ”ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด” ใช้สถานีกลางบางซื่อเปิดประโยชน์สูงสุด

ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้ให้การสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขใช้พื้นที่สถานีกลางบางซื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล ซึ่งจะเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรในภาคการขนส่งสาธารณะตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. 2564 เป็นต้นไป โดยสถานีกลางบางซื่อมีพื้นที่รวมภายในอาคาร 298,200 ตร.ม. มีการจัดพื้นที่สำหรับใช้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 14,294 ตร.ม. ซึ่งในการเปิดเดินรถสายสีแดง เดือน ก.ค.นี้ จะมีการแบ่งพื้นที่อย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดการปะปน และสับสน



แหล่งข่าวจาก รฟท.ระบุว่า การที่สามารถจัดสรรพื้นที่ให้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนค่อนข้างมากเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการใช้พื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ประกอบกับรัฐบาลต้องการเร่งฉีดวัคซีนให้กงแก่ประชาชน เพื่อทำให้ประเทศไทยเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) ซึ่งจะทำให้คนไทยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว รฟท.จึงได้จัดพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ สำหรับรองรับการฉีดวัคซีนอย่างเต็มที่

แต่ยอมรับว่าอาจจะมีผลต่อการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่จะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนบ้าง ซึ่งอาจจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขในทีโออาร์ เรื่องการส่งมอบพื้นที่ เชิงพาณิชย์เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้พื้นที่บางส่วนสำหรับเป็นศูนย์ฉีดวัคซีน ซึ่งหลังจากการเร่งฉีดวัคซีนช่วงแรกเชื่อว่า การใช้พื้นที่สำหรับฉีดวัคซีนจะปรับลดลง



ปิ๊งไอเดีย! กันพื้นที่เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนต่อเนื่องรองรับเปิดประเทศได้

ด้วยขนาดพื้นที่กว้างขวางของสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งแบ่งการบริการออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนด้านใต้ จะเป็นโซนรถไฟสายสีแดง ที่จะเปิดใช้ก่อนเดือน ก.ค. 2564 พร้อมกับพื้นที่ด้านเหนือ ซึ่งเป็นโซนบริการสำหรับรถไฟทางไกล ส่วนพื้นที่โถงตรงกลางอาคารสถานี ซึ่งเป็นโซนสำหรับรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งจะเปิดให้บริการในระยะต่อไป

ดังนั้นใน 2-3 ปีแรกจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เช่น กรณีที่การฉีดวัคซีนยังมีความจำเป็น ยังสามารถใช้พื้นที่โซนตรงกลาง ขนาดประมาณ 8,000 ตร.ม. ที่รองรับรถไฟฟ้าความเร็วสูง เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนได้เหมือนเดิม โดยปรับลดขนาดพื้นที่ลงตามความเหมาะสม

นอกจากนี้ หากกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในอนาคต สามารถปรับพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวได้ โดยสามารถเดินทางเชื่อมจากสนามบินดอนเมืองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ซึ่งนอกจากช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐบาลแล้ว ยังจะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารให้กับรถไฟสายสีแดงอีกทางหนึ่งด้วย

อย่างไรก็ตาม รฟท.คาดหมายว่าการเปิดเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดงอย่างไม่เป็นทางการในเดือน ก.ค. 2564 จะทำให้เห็นสภาพการใช้บริการของผู้โดยสารที่เป็นจริง เห็นปริมาณการเดินทาง เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็ง เห็นปัญหาอุปสรรคในทุกมิติ ความสะดวกของการเดินทางเข้าสู่สถานี ระบบฟีดเดอร์ที่เตรียมไว้รองรับเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงแก้ไขตรงไหนอย่างไร

โดยมีเวลากว่า 3 เดือนที่จะสามารถปรับแก้ได้ ในขณะเดียวกัน จะสามารถประเมินไปถึงจำนวนผู้โดยสารได้ว่าจะมีปริมาณเท่าไรและเปรียบเทียบกับคาดการณ์เพื่อประเมินเรื่องรายได้ที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงส่วนของค่าใช้จ่ายของสายสีแดงทั้งระบบและที่สถานีกลางบางซื่อจะบริหารจัดการเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างไรบ้าง

รถไฟชานเมืองสายสีแดง โครงการที่ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 10 ปี ทำสถิติสุดมาราธอน มูลค่าลงทุนล่าสุดกว่า 90,000 ล้านบาท ต้องฝ่าวิกฤต ต้องแก้ปัญหาสารพัด ซึ่งหลายปัญหาที่หมักหมมในอดีต รฟท.ยังแก้ไม่จบ...การเปิดเดินรถเดือนก.ค. 2564 นี้จะเป็นบทพิสูจน์ว่า รฟท.จะปรับบทบาท ปรับการบริหารงานหลุดพ้นจากวิถีเดิม แล้วขับเคลื่อน...รถไฟสายสีแดง ผลักดัน ”สถานีกลางบางซื่อ” เป็นศูนย์กลางระบบรางของไทยและอาเซียน ได้ตามเป้าหมายหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2021 3:05 am    Post subject: Reply with quote

# ค่าโง่โฮปเวลล์ 24,000 ล้านบาท
หมูจะหาม นายกเอาคานไปสอด
ทำไมเพื่อไทยถึงอยากให้รัฐรีบจ่าย?
หรือที่ไล่นายกรายวัน เพราะเหตุนี้?
เอามาเล่าให้ช่วยกันจับตาดู
อภิมหากาพย์โครงการ โฮปเวลล์
เริ่มโครงการสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ยกเลิกโครงการตามมติครม.สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต เหตุผลที่ยกเลิกเพราะไม่มีความคืบหน้า
เอกชนหยุดก่อสร้าง ไม่ดำเนินงานต่อ โครงการอนุมัติโดยขาดความละเอียด
ทำให้มีปัญหาในการดำเนินงาน
ทางโฮปเวลล์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย อนุญาโตตุลาการตัดสินให้รัฐจ่ายค่าเสียหาย และสุดท้ายเมื่อปีที่แล้ว ศาลปกครองสูงสุดยืนยัน
ที่ให้รัฐต้องจ่ายค่าเสียหาย
เป็นเงินรวมกว่า 24,000 ล้านบาท
แต่จากข้อมูลงบการเงิน พบว่าโฮปเวลล์(ฮ่องกง) ได้ขายบจ.โฮปเวลล์(ปทท)
ให้กับบริษัทสัญชาติมอริเชียส ตั้งแต่ปี 48
เป็นเงิน 500 ล้านบาท
เท่ากับเจ้าของโครงการขายตอทิ้ง เพื่อให้ผู้อื่นมาฟ้องค่าเสียหายเอง
ส่วนผู้ซื้อเป็นใคร ไม่เปิดเผยตัวตน ใครคือผู้สวมตอ?
หากมองในแง่ธุรกิจ ถ้าเป็นนักลงทุน
ทั่วไป คงไม่น่าจะมีใครกล้าซื้อโครงการต่อ เพราะต้องมาฟ้องร้องจากรัฐโอกาสชนะมีน้อยมาก เพราะโครงการไม่โปร่งใสตั้งแต่ต้น อีกทั้งการ
ก่อสร้างไม่เป็นไปตามสัญญา คนที่ลงทุนน่าจะเป็นนักการเมืองที่มั่นใจ
ในเพาเวอร์ตัวเอง ว่าจะสามารถผลักดันให้รัฐต้องจ่ายค่าเสียหาย
ซึ่งต้องถือว่ามีกำลังภายในพอสมควร เพราะสามารถผลักดัน เกือบที่จะสำเร็จ จนศาลตัดสินให้รัฐต้องจ่าย 24,000 ล้าน
เท่ากับงานนี้ กำไรเหนาะๆ 23,500 ล้านบาท
แต่งานนี้ หมูกำลังจะหาม ดันมีนายกชื่อลุงตู่ ผู้ที่ประกาศเป็นศัตรูกับการโกง ดันเอาคานมาสอด
โดยให้ทีมที่ปรึกษา ซึ่งมีคุณพีระพันธ์ฯ ร่วมกับหน่วยงานรับผิดชอบ ไปศึกษาเพื่อหาข้อโต้แย้ง
จนสรุปยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จนมีคำแถลงของศาลรธน. ว่าคำสั่งศาลปกครอง ไม่ชอบ ซึ่งทำให้ทางคมนาคม มีโอกาสรื้อคดี
และ มีโอกาสสูงที่จะไม่ต้องจ่ายค่าโง่ดังกล่าว
เป็นที่น่าแปลกใจ ท่าทีของพรรคเพื่อไทย ซึ่งผ่านการเป็นรัฐบาลมาตั้งแต่ยุคพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน. กลับไม่แก้ไขเพื่อให้รัฐ ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย ทั้งที่ในพรรคมีทีม กฎหมายมากมาย กลับปล่อยให้หน่วยงานต่อสู้คดี จนแพ้เอกชน แบบไม่ควรแพ้
และยิ่งน่าแปลกใจไปอีก ตรงที่เอาเรื่องนี้ มาเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกประยุทธ์
ที่ไม่ยอมจ่ายให้โฮปเวลล์ ทั้งยังเร่งรัดให้รัฐบาลรีบจ่าย
พรรคเพื่อไทยเอง เป็น สส.กินเงินเดือนภาษีปชช. แทนที่จะปกป้อง ผลประโยชน์ประเทศ แต่กลับมาเร่งให้จ่าย... เจ้าของโครงการเดิมก้อถอดใจไปนานแระ
มีแต่นักลงทุนใหม่ ที่ไม่เปิดเผยว่าเป็นใคร ที่มาสวมตอ ใช้ทุนแค่ 500 ล้าน
เริ่มสงสัยว่าที่ออกมาไล่นายกรายวัน อยากเข้าไปเป็นรัฐบาล เพราะอยากที่จะเข้าไปจัดการ เรื่องค่าโง่ ให้เสร็จๆ รึป่าว ให้ไอ้คนที่มาลงทุนใหม่ได้กำไรสะดือบาน
คงไม่พอใจที่หมูจะหาม นายกดันเอาคานมาสอด
ปชช.ต้องช่วยกันจับตา อย่าให้รัฐต้องเสียค่าโง่ ที่ผ่านๆมา มีสารพัดโง่ ไม่รู้แท้จริงใครโง่ แต่ประเทศเสียหายด้วยเงินภาษีปชช. คงไม่ใช่ค่าโง่
แต่น่าจะเป็นค่าเจ้าเล่ห์
ของบรรดานักการเมืองมากกว่า...
https://www.facebook.com/groups/810687445692040/permalink/4016111738482912/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2021 10:09 pm    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม ตรวจความพร้อมรถไฟชานเมืองสายสีแดง สถานีกลางบางซื่อ
เศรษฐกิจเศรษฐกิจ-นโยบาย
ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เวลา 17:45 น.

ศักดิ์สยาม ตรวจการบ้านเตรียมพร้อมเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ ยืนยันเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการเดือน ก.ค. เปิดใช้จริงเดือน พ.ย. ดันใช้ตั๋วร่วมได้ในสิ้นปี 64


เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง หรือ สายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ ว่า กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบรถไฟ สายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ



ทั้งนี้ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเดินทางของระบบรางของประเทศแล้วเสร็จ และยืนยันว่าจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ (Soft Opening) ในช่วงเดือน ก.ค. 64 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเดือน พ.ย. 64


และให้บริการและการบริหารโครงการฯ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด ตนจึงได้เร่งรัดให้มีการเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งระบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง ประกอบด้วย ปรับลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)

โดยวางแผนปรับลดขบวนรถไฟ เหลือเพียง 22 ขบวน โดยมีแผนจะเริ่มปรับตารางเดินรถวันที่ 1 ส.ค. 64 นี้เพื่อให้ผู้โดยสารได้ปรับพฤติกรรมการเดินทาง ทั้งนี้ ขบวนรถไฟที่ให้บริการในระยะนี้ ยังคงจะวิ่งให้บริการบนทางรถไฟเดิม และในวันที่ 1 ธ.ค. 64 จะใช้ตารางเดินรถเช่นเดียวกับเดือนสิงหาคม แต่จะวิ่งให้บริการบนโครงสร้างยกระดับ สำหรับรถไฟเส้นทางสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

ขณะเดียวกัน ให้ปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง โดยให้กรมการขนส่งทางบก และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ได้ปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับสถานีหลัก โดยจะปรับปรุงเส้นทางให้แล้วเสร็จก่อนการเปิดให้บริการแบบ Soft Opening ในเดือนกรกฎาคม 64


ในส่วนของการเตรียมความพร้อมด้านสถานีรถไฟสายสีแด ได้ประกวดราคาหาผู้รับจ้างเพื่อปรับปรุงสถานีตลิ่งชัน บางบำหรุ บางซ่อน คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างภายในเดือนมิถุนายน 64 และการจ้างบริการเตรียมการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟฟ้า 12 สถานี ทั้งในงานจ้างทำความสะอาดและกำจัดขยะ

งานจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและจราจร งานจ้างบริหารจัดการงานอาคารและสถานที่บริเวณรถไฟฟ้าสายสีแดง งานจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและทำความสะอาดอาคารและพื้นที่โดยรอบของโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดง และทำความสะอาดขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง งานจ้างติดตั้งระบบจัดการจราจรภายในบริเวณลานจอดรถสถานีกลางบางซื่อ และจัดเก็บค่าบริการจอดรถ

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ในส่วนของราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสารที่จะจัดเก็บนั้น จะให้เก็บค่าโดยสารให้เหมาะสมสอดคล้องตามต้นทุน โดยไม่เป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน และไม่เป็นภาระทางการเงินของ รฟท. รวมถึงให้สามารถใช้ระบบตั๋วร่วม ตามมาตรฐานเทคโนโลยีบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) ได้ด้วยภายในปลายปี 64


ขณะเดียวกันจะยกเว้นค่าแรกเข้าระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟชานเมืองสายสีแดง ขณะเดียวกันจะยกเว้นค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าสายสีชมพูในอนาคตด้วย นอกจากนี้ได้ลงนามแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มขึ้นอีก 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฯ ด้านการพิจารณาดำเนินการขอพระราชทานชื่อโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และพิธีการที่เกี่ยวข้อง


และคณะอนุกรรมการฯ ด้านการพัฒนาสถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) และพื้นที่ช่วงสถานีกลางบางซื่อ-สถานีกรุงเทพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ให้สามารถดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อไป

//------------------------------

เปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ก.ค.นี้ “ศักดิ์สยาม” ประกาศความพร้อม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 1 มิถุนายน 2564 - 17:58 น.


“ศักดิ์สยาม” ตั้งกรรมการ ขอชื่อพระราชทาน โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ปักหมุดเปิดใช้ ก.ค.64

วันที่ 1 มิถุนายน 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมติดตามความก้าวหน้าการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ได้เตรียมพร้อมการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ (Soft Opening) ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 แบ่งการดำเนินงานแต่ละด้าน ดังนี้



1. การเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งระบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง ประกอบด้วย

1 ส.ค. ลดเที่ยววิ่งเข้าหัวลำโพงเหลือ 22 ขบวน
1.1 ปรับลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยวางแผนปรับลดขบวนรถไฟ เหลือเพียง 22 ขบวน โดยมีแผนจะเริ่มปรับตารางเดินรถในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 เพื่อให้ผู้โดยสาร ได้มีการปรับพฤติกรรมในการเดินทาง

ทั้งนี้ ขบวนรถไฟที่ให้บริการในระยะนี้ ยังคงจะวิ่งให้บริการบนทางรถไฟเดิม และในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 จะใช้ตารางเดินรถเช่นเดียวกับเดือนสิงหาคม แต่จะวิ่งให้บริการบนโครงสร้างยกระดับ สำหรับรถไฟเส้นทางสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

เร่งปรับเส้นทางเดินรถสาธารณะรอบสถานีกลาง
1.2 ปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ ) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับสถานีหลัก โดยจะปรับปรุงเส้นทางให้แล้วเสร็จก่อนการเปิดให้บริการแบบ Soft Opening ในเดือนกรกฎาคม 2564




เร่งปรับปรุงฝั่งตลิ่งชัน จ้างแม่บ้าน-รปภ.-ที่จอดรถ
2. การเตรียมความพร้อมด้านสถานีของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ซึ่งได้ดำเนินการประกวดราคาหาผู้รับจ้างเพื่อปรับปรุงสถานีตลิ่งชัน บางบำหรุ บางซ่อน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขออนุมัติ ออกประกวดราคา ซึ่งคาดว่าจะได้ผู้รับจ้างภายในเดือนมิถุนายน 2564

และการจ้างบริการเตรียมความพร้อมการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟฟ้า 12 สถานี ประกอบด้วย งานจ้างทำความสะอาดและกำจัดขยะ งานจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและจราจร งานจ้างบริหารจัดการงานอาคารและสถานที่บริเวณรถไฟฟ้าสายสีแดง งานจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและทำความสะอาดอาคารและพื้นที่โดยรอบของโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดงและทำความสะอาดขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง งานจ้างติดตั้งระบบจัดการจราจรภายในบริเวณลานจอดรถสถานีกลางบางซื่อ และจัดเก็บค่าบริการจอดรถ



ปักหมุด Gateway นำร่อง “รังสิต-ตลิ่งชัน”
3. การเตรียมความพร้อมด้านการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า (Gateway/Hub) โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงจุดเชื่อมต่อผู้โดยสาร และจุดเชื่อมต่อสินค้า โดยแบ่งแผนการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะเร่งด่วน ปรับปรุงพื้นที่ทางเข้าสถานีรถไฟรังสิตทั้งทางฝั่งตะวันออก (รังสิต) และฝั่งตะวันตก (ปทุมธานี) ให้แล้วเสร็จก่อนการเปิดให้บริการ Soft Opening ในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ และปรับปรุงพื้นที่จุดจอดรถอโศกให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 ก่อนการเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงอย่างเป็นทางการ

ระยะกลาง ปรับปรุงสถานีตลิ่งชัน เพื่อรองรับการหยุดขบวนของรถไฟทางไกลเพื่อเชื่อมต่อระบบเข้าสู่รถไฟฟ้าชานเมือง โดยคาดกว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565

เชียงราก-ศาลายา รอปี 66
ระยะยาว พัฒนาสถานีเชียงรากน้อยและสถานีวัดสุวรรณ โดยออกแบบและก่อสร้างเป็นจุดเชื่อมต่อสำหรับการขนถ่ายสินค้า และการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าอย่างครบวงจร โดยคาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565 และก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2566 รวมถึงการออกแบบและก่อสร้างสะพานกลับรถบริเวณทิศใต้ของสถานีรังสิต เพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะสามารถเข้าถึงสถานีรังสิตทั้ง 2 ฝั่งได้โดยสะดวก โดยมีแผนการดำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2566 เช่นเดียวกัน




ยันให้ “รถไฟ” ดูค่าโดยสารให้เหมาะสม
ส่วนการกำหนดอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ให้เหมาะสม สอดคล้องตามต้นทุน โดยไม่เป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน และไม่เป็นภาระทางการเงินของ รฟท. โดย รฟท. ได้ประมาณการต้นทุน ปริมาณผู้โดยสาร และความถี่การเดินรถ เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางให้มีความเหมาะสม รวมถึง พิจารณาแนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายและการส่งเสริมการเดินทางเพื่อเพิ่มรายได้ต่อไป

จ่อออกบัตร EMV
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารรองรับตามมาตรฐานเทคโนโลยีบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) โดยให้จัดทำข้อมูลกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน งบประมาณที่คาดว่าจะใช้ รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สามารถเปิดใช้บริการได้ภายในปลายปี 2564

และยังได้พิจารณาร่างข้อกำหนดการพัฒนาระบบบัตรโดยสาร หรือระบบตั๋วโดยสาร ซึ่งอยู่ระหว่างรวบรวมข้อเสนอแนะและความเห็นเพิ่มเติม ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไป

เชื่อม “แดง-น้ำเงิน” ไร้รอยต่อ
และยังได้กำหนดแนวทางการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อ โดยการจัดเก็บค่าแรกเข้าแบบไม่ซ้ำซ้อน ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม ประกอบด้วย เงื่อนไขการจัดเก็บค่าแรกเข้า กรณีที่ผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายระบบรวมถึงเงื่อนไขการจัดแบ่งและชดเชยค่าแรกเข้า ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายระบบ และกรณีเปลี่ยนถ่ายกับระบบรถไฟฟ้าที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของดารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยการเดินทางเชื่อมระหว่างรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าสายสีชมพูในอนาคต อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดวิธีการแบ่งรายได้และค่าใช้จ่ายร่วมกันก่อนเสนอต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป

ระดมความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก
และสุดท้ายการสื่อสารสาธารณะ ร.ฟ.ท.ได้เปิดช่องทางในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารการดำเนินงาน และรับฟังความคิดของประชาชนผู้ใช้บริการ โดยประชาชนผู้ใช้บริการสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารความก้าวหน้าการดำเนินงานและแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ได้ทาง Facebook Fanpage : Bang sue Grand Station เพื่อจะได้นำมาใช้ในการปรับปรุงเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ดีที่สุดต่อไป

ทูลเกล้าขอชื่อพระราชทาน-แย้มแผนพัฒนาหัวลำโพง
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยว่า ได้ลงนามแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มขึ้นอีก 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฯ ด้านการพิจารณาดำเนินการขอพระราชทานชื่อโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และพิธีการที่เกี่ยวข้อง และคณะอนุกรรมการฯ ด้านการพัฒนาสถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) และพื้นที่ช่วงสถานีกลางบางซื่อ-สถานีกรุงเทพ เพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ให้สามารถดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อไป
//----------------------

มิ.ย.นี้ “คมนาคม” สั่ง รฟท.เตรียมเปิดประมูล “สายสีแดง”
หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 1 มิถุนายน 2564 -17:05 น.

“คมนาคม” สั่ง รฟท.เตรียมพร้อมเปิดเดินรถไฟสายสีแดง เล็งเปิดประมูลหาผู้รับจ้างภายในเดือนมิ.ย.นี้ เร่งปรับปรุงจุดเชื่อมต่อผู้โดยสาร-สินค้า

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 3/2564 (ผ่านระบบ Zoom) ว่า กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเดินทางของระบบรางของประเทศแล้วเสร็จ และเตรียมการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ (Soft Opening) ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 เพื่อให้การเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการฯ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด ทั้งนี้ได้ลงนามแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มขึ้นอีก 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฯ ด้านการพิจารณาดำเนินการขอพระราชทานชื่อโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และพิธีการที่เกี่ยวข้อง และคณะอนุกรรมการฯ ด้านการพัฒนาสถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) และพื้นที่ช่วงสถานีกลางบางซื่อ-สถานีกรุงเทพ เพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ให้สามารถดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อไป

สำหรับการเร่งรัดการดำเนินการในด้านต่างๆ ดังนี้1. การเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งระบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง ประกอบด้วย การปรับลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยวางแผนปรับลดขบวนรถไฟ เหลือเพียง 22 ขบวน โดยมีแผนจะเริ่มปรับตารางเดินรถในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 เพื่อให้ผู้โดยสาร ได้มีการปรับพฤติกรรมในการเดินทาง ทั้งนี้ ขบวนรถไฟที่ให้บริการในระยะนี้ ยังคงจะวิ่งให้บริการบนทางรถไฟเดิม และในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 จะใช้ตารางเดินรถเช่นเดียวกับเดือนสิงหาคม แต่จะวิ่งให้บริการบนโครงสร้างยกระดับ สำหรับรถไฟเส้นทางสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง โดยกรมการขนส่งทางบก และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้ปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับสถานีหลัก โดยจะปรับปรุงเส้นทางให้แล้วเสร็จก่อนการเปิดให้บริการแบบ Soft Opening ในเดือนกรกฎาคม 2564 ขณะที่การเตรียมความพร้อมด้านสถานีของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ซึ่งได้ดำเนินการประกวดราคาหาผู้รับจ้างเพื่อปรับปรุงสถานีตลิ่งชัน บางบำหรุ บางซ่อน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขออนุมัติออกประกวดราคา (ประมูล) ซึ่งคาดว่าจะได้ผู้รับจ้างภายในเดือนมิถุนายน 2564 และการจ้างบริการเตรียมความพร้อมการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟฟ้า 12 สถานี ประกอบด้วย งานจ้างทำความสะอาดและกำจัดขยะ งานจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและจราจร งานจ้างบริหารจัดการงานอาคารและสถานที่บริเวณรถไฟฟ้าสายสีแดง งานจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและทำความสะอาดอาคารและพื้นที่โดยรอบของโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดงและทำความสะอาดขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง งานจ้างติดตั้งระบบจัดการจราจรภายในบริเวณลานจอดรถสถานีกลางบางซื่อ และจัดเก็บค่าบริการจอดรถ นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า การเตรียมความพร้อมด้านการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า (Gateway/Hub) โดย รฟท. ได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงจุดเชื่อมต่อผู้โดยสาร และจุดเชื่อมต่อสินค้า โดยแบ่งแผนการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะเร่งด่วน ปรับปรุงพื้นที่ทางเข้าสถานีรถไฟรังสิตทั้งทางฝั่งตะวันออก (รังสิต) และฝั่งตะวันตก (ปทุมธานี) ให้แล้วเสร็จก่อนการเปิดให้บริการ Soft Opening ในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ และปรับปรุงพื้นที่จุดจอดรถอโศกให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 ก่อนการเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงอย่างเป็นทางการ ขณะที่ระยะกลาง ปรับปรุงสถานีตลิ่งชัน เพื่อรองรับการหยุดขบวนของรถไฟทางไกลเพื่อเชื่อมต่อระบบเข้าสู่รถไฟฟ้าชานเมือง โดยคาดกว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565 ส่วนระยะยาว พัฒนาสถานีเชียงรากน้อยและสถานีวัดสุวรรณ โดยออกแบบและก่อสร้างเป็นจุดเชื่อมต่อสำหรับการขนถ่ายสินค้า และการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าอย่างครบวงจร โดยคาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565 และก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2566 รวมถึงการออกแบบและก่อสร้างสะพานกลับรถบริเวณทิศใต้ของสถานีรังสิต เพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะสามารถเข้าถึงสถานีรังสิตทั้ง 2 ฝั่งได้โดยสะดวก โดยมีแผนการดำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2566 เช่นเดียวกัน ทั้งนี้การเตรียมความพร้อมด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสารได้มอบหมายให้กำหนดอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ให้เหมาะสม สอดคล้องตามต้นทุน โดยไม่เป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน และไม่เป็นภาระทางการเงินของ รฟท. โดย รฟท. ได้ประมาณการต้นทุน ปริมาณผู้โดยสาร และความถี่การเดินรถ เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางให้มีความเหมาะสม รวมถึง พิจารณาแนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายและการส่งเสริมการเดินทางเพื่อเพิ่มรายได้ต่อไป นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารรองรับตามมาตรฐานเทคโนโลยีบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) โดยให้จัดทำข้อมูลกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน งบประมาณที่คาดว่าจะใช้ รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สามารถเปิดใช้บริการได้ภายในปลายปี 2564และยังได้พิจารณาร่างข้อกำหนดการพัฒนาระบบบัตรโดยสาร หรือระบบตั๋วโดยสาร ซึ่งอยู่ระหว่างรวบรวมข้อเสนอแนะและความเห็นเพิ่มเติม ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไปและยังได้กำหนดแนวทางการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อ โดยการจัดเก็บค่าแรกเข้าแบบไม่ซ้ำซ้อน ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม ประกอบด้วย เงื่อนไขการจัดเก็บค่าแรกเข้า กรณีที่ผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายระบบรวมถึงเงื่อนไขการจัดแบ่งและชดเชยค่าแรกเข้า ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายระบบ และกรณีเปลี่ยนถ่ายกับระบบรถไฟฟ้าที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของ รฟม. โดยการเดินทางเชื่อมระหว่างรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าสายสีชมพูในอนาคต อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดวิธีการแบ่งรายได้และค่าใช้จ่ายร่วมกันก่อนเสนอต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป

// ----------------------------------------------

.....นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนมาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 3/2564 (ผ่านระบบ Zoom) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เวลา 14.30 น. โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าหน่วยงานและผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงบประมาณ และคณะกรรมการฯ ร่วมประชุม
....รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเดินทางของระบบรางของประเทศแล้วเสร็จ และเตรียมการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ (Soft Opening) ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 เพื่อให้การเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการฯ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด จึงได้เร่งรัดการดำเนินการ ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งระบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง ประกอบด้วย
1.1 ปรับลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยวางแผนปรับลดขบวนรถไฟ เหลือเพียง 22 ขบวน โดยมีแผนจะเริ่มปรับตารางเดินรถในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 เพื่อให้ผู้โดยสาร ได้มีการปรับพฤติกรรมในการเดินทาง ทั้งนี้ ขบวนรถไฟที่ให้บริการในระยะนี้ ยังคงจะวิ่งให้บริการบนทางรถไฟเดิม และในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 จะใช้ตารางเดินรถเช่นเดียวกับเดือนสิงหาคม แต่จะวิ่งให้บริการบนโครงสร้างยกระดับ สำหรับรถไฟเส้นทางสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
1.2 ปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง โดยกรมการขนส่งทางบก และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้ปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับสถานีหลัก โดยจะปรับปรุงเส้นทางให้แล้วเสร็จก่อนการเปิดให้บริการแบบ Soft Opening ในเดือนกรกฎาคม 2564
2. การเตรียมความพร้อมด้านสถานีของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ซึ่งได้ดำเนินการประกวดราคาหาผู้รับจ้างเพื่อปรับปรุงสถานีตลิ่งชัน บางบำหรุ บางซ่อน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขออนุมัติ ออกประกวดราคา ซึ่งคาดว่าจะได้ผู้รับจ้างภายในเดือนมิถุนายน 2564 และการจ้างบริการเตรียมความพร้อมการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟฟ้า 12 สถานี ประกอบด้วย งานจ้างทำความสะอาดและกำจัดขยะ งานจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและจราจร งานจ้างบริหารจัดการงานอาคารและสถานที่บริเวณรถไฟฟ้าสายสีแดง งานจ้างบริการรักษาความปลอดภัยและทำความสะอาดอาคารและพื้นที่โดยรอบของโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดงและทำความสะอาดขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง งานจ้างติดตั้งระบบจัดการจราจรภายในบริเวณลานจอดรถสถานีกลางบางซื่อ และจัดเก็บค่าบริการจอดรถ
3. การเตรียมความพร้อมด้านการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า (Gateway/Hub) โดย รฟท. ได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงจุดเชื่อมต่อผู้โดยสาร และจุดเชื่อมต่อสินค้า โดยแบ่งแผนการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย
ระยะเร่งด่วน ปรับปรุงพื้นที่ทางเข้าสถานีรถไฟรังสิตทั้งทางฝั่งตะวันออก (รังสิต) และฝั่งตะวันตก (ปทุมธานี) ให้แล้วเสร็จก่อนการเปิดให้บริการ Soft Opening ในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ และปรับปรุงพื้นที่จุดจอดรถอโศกให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 ก่อนการเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงอย่างเป็นทางการ
ระยะกลาง ปรับปรุงสถานีตลิ่งชัน เพื่อรองรับการหยุดขบวนของรถไฟทางไกลเพื่อเชื่อมต่อระบบเข้าสู่รถไฟฟ้าชานเมือง โดยคาดกว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565
ระยะยาว พัฒนาสถานีเชียงรากน้อยและสถานีวัดสุวรรณ โดยออกแบบและก่อสร้างเป็นจุดเชื่อมต่อสำหรับการขนถ่ายสินค้า และการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าอย่างครบวงจร โดยคาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565 และก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2566 รวมถึงการออกแบบและก่อสร้างสะพานกลับรถบริเวณทิศใต้ของสถานีรังสิต เพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะสามารถเข้าถึงสถานีรังสิตทั้ง 2 ฝั่งได้โดยสะดวก โดยมีแผนการดำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2566 เช่นเดียวกัน
4. การเตรียมความพร้อมด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้กำหนดอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ให้เหมาะสม สอดคล้องตามต้นทุน โดยไม่เป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน และไม่เป็นภาระทางการเงินของ รฟท. โดย รฟท. ได้ประมาณการต้นทุน ปริมาณผู้โดยสาร และความถี่การเดินรถ เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารตามระยะทางให้มีความเหมาะสม รวมถึง พิจารณาแนวทางการปรับลดค่าใช้จ่ายและการส่งเสริมการเดินทางเพื่อเพิ่มรายได้ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารรองรับตามมาตรฐานเทคโนโลยีบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) โดยให้จัดทำข้อมูลกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน งบประมาณที่คาดว่าจะใช้ รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สามารถเปิดใช้บริการได้ภายในปลายปี 2564และยังได้พิจารณาร่างข้อกำหนดการพัฒนาระบบบัตรโดยสาร หรือระบบตั๋วโดยสาร ซึ่งอยู่ระหว่างรวบรวมข้อเสนอแนะและความเห็นเพิ่มเติม ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไป
และยังได้กำหนดแนวทางการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อ โดยการจัดเก็บค่าแรกเข้าแบบไม่ซ้ำซ้อน ระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม ประกอบด้วย เงื่อนไขการจัดเก็บค่าแรกเข้า กรณีที่ผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายระบบรวมถึงเงื่อนไขการจัดแบ่งและชดเชยค่าแรกเข้า ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายระบบ และกรณีเปลี่ยนถ่ายกับระบบรถไฟฟ้าที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของ รฟม. โดยการเดินทางเชื่อมระหว่างรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าสายสีชมพูในอนาคต อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดวิธีการแบ่งรายได้และค่าใช้จ่ายร่วมกันก่อนเสนอต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป
5. ด้านการสื่อสารสาธารณะ
รฟท.ได้เปิดช่องทางในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารการดำเนินงาน และรับฟังความคิดของประชาชนผู้ใช้บริการ โดยประชาชนผู้ใช้บริการสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารความก้าวหน้าการดำเนินงานและแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ได้ทาง Facebook Fanpage : Bang sue Grand Station เพื่อกระทรวงฯ และ รฟท. จะได้นำมาใช้ในการปรับปรุงเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ดีที่สุดต่อไป
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยว่า ได้ลงนามแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มขึ้นอีก 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฯ ด้านการพิจารณาดำเนินการขอพระราชทานชื่อโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และพิธีการที่เกี่ยวข้อง และคณะอนุกรรมการฯ ด้านการพัฒนาสถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) และพื้นที่ช่วงสถานีกลางบางซื่อ-สถานีกรุงเทพ เพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ให้สามารถดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อไป
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4117352908311623
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2021 1:36 am    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม โว รถไฟฟ้าสายสีแดง ใช้บัตรเครดิตชำระค่าโดยสารได้
เด่นออนไลน์
1 มิถุนายน 2564 เวลา 18:24 น.

รมว.คมนาคม เปิดเผยความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีแดง เผยเตรียมให้ประชาชนทดลองใช้งาน ก.ค. นี้ พร้อมใช้บัตรเครดิตชำระค่าโดยสารได้

1 มิ.ย. 2564 – นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ว่า เตรียมเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ ในช่วงเดือน ก.ค. และเปิดทางการเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย.

ข่าวแนะนำ

ด่วน! 'ลุงพล' ควงป้าแต๋น-ทนายตั้ม เข้ามอบตัวที่ตร.แล้ว พร้อมสู้คดีน้องชมพู่

ทนายตั้ม พา ลุงพล มอบตัวกับ ผบ.ตร. ลั่น! สู้คดีฆ่า น้องชมพู่

ลุงพล ไลฟ์จากในบ้าน เผยถึงหมายจับ ดีใจคนถูกหวยอายุ ก่อนตร.บุก

โดยได้เร่งรัดให้ รฟท. เร่งปรับลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ให้เหลือเพียง 22 ขบวน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. เป็นต้นไป ซึ่งระยะนี้จะวิ่งให้บริการบนทางรถไฟเดิม และในวันที่ 1 ธ.ค. จึงจะวิ่งให้บริการบนโครงสร้างยกระดับ สำหรับรถไฟเส้นทางสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ




ทั้งนี้ได้มอบให้ กรมการขนส่งทางบก และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับสถานีหลัก ให้แล้วเสร็จก่อนเดือน ก.ค. และเร่งปรับปรุงสถานีเก่าคือสถานีตลิ่งชัน บางบำหรุ และบางซ่อน

รมว.คมนาคม กล่าวต่อว่า ด้านราคาค่าโดยสาร และบัตรโดยสารอยู่ระหว่างกำหนดอัตราที่เหมาะสม แต่ต้องไม่เป็นภาระของประชาชน และภาระทางการเงินของ รฟท. พร้อมกันนี้ยังเตรียมนำระบบชำระค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิต หรือจัดเก็บค่าโดยสารรองรับตามมาตรฐานเทคโนโลยีบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) มาใช้ในช่วงปลายปี 2564 และยังได้พิจารณาร่างข้อกำหนดการพัฒนาระบบบัตรโดยสาร หรือระบบตั๋วโดยสาร ซึ่งอยู่ระหว่างรวบรวมข้อเสนอแนะและความเห็นเพิ่มเติม ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับระบบการจ่ายค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิตนั้น เบื้องต้น ธนาคารกรุงไทยจะเป็นผู้ลงทุนติดตั้งระบบอ่านบัตรเครดิจชำระค่าโดยสารให้ โดยจะคิดอัตราค่าบริการในการชำระค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิต


Last edited by Wisarut on 02/06/2021 2:54 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 103, 104, 105 ... 147, 148, 149  Next
Page 104 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©