RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181776
ทั้งหมด:13493015
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 121, 122, 123 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2022 7:33 am    Post subject: Reply with quote

ต้อนรับปีเสือ! รถไฟฟ้าสีแดงเสิร์ฟมื้อเช้า ส่งความสุขผู้โดยสาร
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 1 มกราคม 2565 เวลา 11:30 น.
ปรับปรุง: 1 มกราคม 2565 เวลา 11:30 น.



รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงยกขบวนอินฟลูเอนเซอร์ส่งมอบความสุขต้อนรับปีเสือ เสิร์ฟอาหารเช้ามื้อแรกของปีให้แก่ผู้โดยสารทั้ง 13 สถานี

วันนี้ (1 มกราคม 2565) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จัดกิจกรรมสุดพิเศษ ส่งมอบความสุขต้อนรับปีใหม่ให้แก่ผู้โดยสาร โดยนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พร้อมทีมอินฟลูเอนเซอร์ นำโดย เกรซ นรินทร มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2019 ทูตกรมสุขภาพจิต , โจ-โจ้ คู่แฝดคนขับรถไฟฟ้าโปรไฟล์พรีเมี่ยมสุดฮอตที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ และเน็ตไอดอลรวม 13 คน ออกเสิร์ฟอาหารเช้ามื้อแรกของปีให้แก่ผู้โดยสารทั้ง 13 สถานี ตั้งแต่เวลา 06.30 น. ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2022 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสีแดง ฉลองวันเด็กฯ เพียงโพสต์ภาพถ่ายวัยเด็กสุดคิวท์และคำขวัญประทับใจ ลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 6 มกราคม 2565 เวลา 17:19 น.
ปรับปรุง: 6 มกราคม 2565 เวลา 17:19 น.


รถไฟฟ้าสายสีแดงฉลองวันเด็กแห่งชาติ สุดพิเศษแบบ“ออนไลน์”ให้ผู้โดยสารร่วมสนุกโพสต์ภาพในวัยเด็กสุดคิวท์ พร้อมคำขวัญที่ประทับใจ ลุ้นรับ “จักรยานแอลเอไบซิเคิล รุ่น อี-สปอร์ตี้ 20” จำนวน 11 รางวัล ฟรี !!!!!

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า ตามสถานการณ์ปกติเมื่อถึงช่วงวันเด็กแห่งชาติในแต่ละปี บริษัทจะมีการจัดกิจกรรมการตลาดเพื่อส่งมอบความสุข และสร้างรอยยิ้มให้แก่เด็กๆ และผู้โดยสารมาโดยตลอด แต่เนื่องจาก วันเด็กแห่งชาติในปีนี้ สถานการณ์การแพร่ระระบาดของไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มสูงขึ้น บริษัทจึงได้ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมการตลาดจากเดิมที่เป็นการจัดกิจกรรมแบบออฟไลน์ เป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในรูปแบบ “ออนไลน์” แทน

ด้วยการให้ผู้โดยสารได้ร่วมสนุกโพสต์ภาพวัยเด็กของตัวเอง พร้อมคำขวัญวันเด็กสุดประทับใจ โดยเป็นคำขวัญที่คุณคิดเองหรือจากบุคคลที่มีชื่อเสียงใครก็ได้ ในโพสต์กิจกรรม ซึ่งจะลงในวันที่ 8 มกราคม 2565 ทางเฟสบุค Airport Rail Link ( เฟซบุ๊กเพจปัจจุบันของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ) ซึ่งภาพ และคำขวัญที่ได้รับการโหวตจากคณะกรรมการมากที่สุด จะได้รับรางวัลจักรยานแอลเอไบซิเคิล รุ่น อี-สปอร์ตี้ 20 จำนวน 11 รางวัล โดยรางวัลจะจัดส่งถึงบ้าน ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ 1 บัญชีเฟสบุคแอคเคาท์สามารถร่วมสนุกได้เพียง 1 สิทธิ์เท่านั้น และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

สำหรับการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัล บริษัทจะทำการประกาศผ่านเฟซบุ๊กออฟฟิเชียลเพจของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเพจใหม่ Red Line BKK ในวันที่ 15 มกราคม 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2022 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

เช็กลิสต์คุณภาพ8ด้าน”สายสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ”
*เริ่ม 16 ม.ค.นี้ กรมรางใช้มาตรฐานสากลตรวจ
*เปิดแผนบริหารจัดการเดินรถไฟ@สถานีบางซื่อ
*เมื่อย้ายขบวนรถเชิงพาณิชย์มาจาก”หัวลำโพง”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3087196098168554
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/01/2022 5:29 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เช็กลิสต์คุณภาพ8ด้าน”สายสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ”
*เริ่ม 16 ม.ค.นี้ กรมรางใช้มาตรฐานสากลตรวจ
*เปิดแผนบริหารจัดการเดินรถไฟ@สถานีบางซื่อ
*เมื่อย้ายขบวนรถเชิงพาณิชย์มาจาก”หัวลำโพง”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3087196098168554

รถไฟสีแดง-ฮับบางซื่อ สั่ง รฟท.รับฟังประชาชนลดบทบาทหัวลำโพง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 10 มกราคม 2565 - 17:48 น.

การประชุมคณะอนุกรรมการฯ เตรียมความพร้อมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟสายสีแดง-ฮับบางซื่อ สั่ง รฟท.รับฟังประชาชนลดบทบาทหัวลำโพง

วันที่ 10 มกราคม 2565 การประชุมคณะอนุกรรมการฯ เตรียมความพร้อมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมหัวหน้ากลุ่มด้านภารกิจขนส่ง เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อและรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ครั้งที่ 1/2565

โดยมี ดร. พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม, บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด, บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด, สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ, สภาวิศวกร, สภาองค์กรของผู้บริโภค และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมเป็นอนุกรรมการเข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom Cloud meetings

นายสรพงศ์ฯ กล่าวว่า ในคราวการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางชื่อ ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจัดทำเซ็คลิสต์ (Checklist) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ

ซึ่ง ขร. ได้ดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ โดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากลต่างประเทศ ได้แก่ EN13816 CoMET and Nova IRS RSI NRPS ประกอบไปด้วย 8 ด้าน ดังนี้

1) โครงสร้างพื้นฐาน
2) การเชื่อมต่อ
3) การให้ข้อมูล
4) ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย
5) ความสะดวกสบาย
6) การออกแบบสำหรับทุกคน
7) การให้บริการ และ
8) ความสวยงาม

ซึ่งการประเมินดังกล่าวจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งทางราง ความสามารถในการรองรับการใช้บริการของประชาชนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียมในระบบรถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง ตลอดจนระบบการเตินทางเชื่อมต่อรอบสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)โดยกำหนดเริ่มลงสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ณ สถานีกลางบางซื่อ ในกรณีย้ายสถานีปลายทางของขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีกรุงเทพมายังสถานีกลางบางซื่อ ประกอบด้วย

1) การจัดระบบสัญจรโดยรอบพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ โดยมีการกำหนดการเดินทางเข้า-ออกสถานีกลางบางซื่อให้เป็นลักษณะเดินรถทางเดียว (One Way) และกำหนดจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณด้านหน้าสถานีสำหรับผู้โดยสารขาออก และด้านหลังสถานีสำหรับผู้โดยสารขาเข้า รวมทั้งได้เตรียมพื้นที่จอดรถใต้ดินซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้กว่า 1,600 คัน เพื่อรองรับการจอดรถยนต์ส่วนบุคคล

2) การจัดระบบหมุนเวียนผู้โดยสาร แบ่งเป็นผู้โดยสารขาออก (Departure) (ลูกศรสีเหลือง) โดยผู้โดยสารสามารถใช้ประตูทางเข้าได้จำนวน 6 ประตู ประกอบด้วย ประตูทางเข้าด้านหน้าสถานีจำนวน 4 ประตู สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณด้านหน้าของสถานี

และสำหรับผู้โดยสารขาออกที่เดินทางมาจากสถานีชุมทางบางซื่อ (เดิม) สามารถใช้ประตูทางออกด้านหลังสถานีกลางบางซื่อได้จำนวน 2 ประตู ได้แก่ ประตูทางออก 1 และประตูทางออก 4 เพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อได้อย่างสะดวก

โดยมีจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารไว้จำนวน 2 จุด ได้แก่ จุดจำหน่ายตั๋วสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ซึ่งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ

และจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณประตูทางเข้า 4 ด้านหน้าของสถานีกลางบางซื่อ และผู้โดยสารขาเข้า (Arrive) (ลูกศรสีส้ม) สามารถใช้บันไดเลื่อนหรือลิฟต์โดยสารลงจากชั้นชานชาลา 5 และ 6 มาสู่บริเวณพื้นที่ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร (Ground Level) ซึ่งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ โดยสามารถเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่พื้นที่สำหรับผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารแล้ว (Paid Area) ของรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) หรือเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ได้อย่างสะดวก

และสามารถใช้ประตูทางออกเพื่อไปจุดจอดรับ-ส่ง (Pick Up & Drop Off) บริเวณด้านหลังสถานี หรือไปสถานีชุมทางบางซื่อ จำนวน 2 ประตู ได้แก่ ประตูทางออก 1 และประตูทางออก 4 ทั้งนี้ ประตูทางออก 2 และ 3 เป็นทางเข้าออกสำหรับประชาชนผู้มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด 19 เท่านั้น

3) ความพร้อมด้านขบวนรถ มีการการปรับปรุงห้องน้ำภายในขบวนรถ การลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลที่มาจากหัวรถจักรโดยให้มีการทำเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งจุดจอดของรถไฟให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟจอดรถไฟตรงกับช่องดูดควันของสถานี เพื่อช่วยระบายควันจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4) ความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีกลางบางซื่อ มีการปรับปรุงระบบป้ายบอกทางภายในสถานีกลางบางซื่อให้สอดคล้องกับผังการสัญจรภายในสถานีฯ เพิ่มป้ายบอกทางในระบบการเดินทางที่ยังไม่มีให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบรถไฟความเร็วสูง (HSR) และระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) เพื่อป้องกันความสับสนแก่ประชาชน

ปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางบางจุดที่มีการติดตั้งไม่สอดคล้องกับเส้นทางสัญจรภายในสถานี เช่น ป้ายบอกทางออกเพื่อลงบันได บันไดเลื่อน หรือลิฟต์ ติดตั้งป้ายบอกทางเพื่อชื่อมต่อการเดินทาง การปรับปรุงระบบการสื่อสารและเสียงประกาศภายในสถานีกลางบางซื่อการจัดเตรียมเก้าอี้ส้าหรับผู้โดยสารนั่งพักคอย

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นดังกล่าว และเห็นควรให้การรถไฟแห่งประเทศไทยนำความเห็นที่ประชุมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ และผู้ที่ไม่เห็นด้วย รวมทั้งจัดทำข้อมูลการปรับปรุงห้องสุขาบนขบวนรถไฟให้เป็นระบบปิด ผลทดสอบการดูดควันในชั้นชานชาลา ความคืบหน้าการปรับปรุงป้ายบอกทาง และทิศทางการหมุนเวียนของผู้โดยสารภายในสถานีและบริเวณใกล้เคียง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2022 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

📢 ประกาศ !!!! #รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงย้ายเพจแล้วนะ 🚇
📢 ตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อนๆสามารถติดตามข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความเคลื่อนไหวต่างๆ ของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และ กิจกรรมส่งเสริมการตลาดสุดพิเศษ!!!
ได้ที่ Facebook RED Line BKK 🚇
📲กดติดตามถูกใจได้เลย 👉🏻 RED Line BKK
📲หรือคลิกที่ลิงค์นี้ 👉🏻 https://www.facebook.com/REDLineSRTET/
🚇รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง🚇
☎️Call Center : 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4812460248800882
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/01/2022 8:13 am    Post subject: Reply with quote

ปลดล็อก"รฟฟท."หารายได้เพิ่ม คนใช้สายสีแดงแค่8พันคน/วัน
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, January 14, 2022 04:54

ปลดล็อก'รฟฟท.'หารายได้เพิ่ม คนใช้สายสีแดงแค่8พันคน/วัน

ผู้จัดการรายวัน360- "อนุทิน" ถกบอร์ดเชื่อมโยงรถไฟ "ไทย-ลาว-จีน" มอบ รฟท.ของบกลางออกแบบสร้างสะพานข้ามโขงแห่งที่ 2 ด้าน "บอร์ด รฟท." เคาะปลดล็อกช่องทางทำธุรกิจอื่น เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ เผยผู้โดยสารสายสีแดงเหลือ 8 พันคน/วัน

ผู้จัดการรายวัน360 - "อนุทิน" ถกบอร์ดเชื่อมโยงรถไฟ "ไทย-ลาว-จีน" มอบ รฟท.ของบ กลางออกแบบสร้างสะพานข้ามโขงแห่งที่ 2 ด้าน "บอร์ด รฟท." เคาะปลดล็อกช่องทางทำธุรกิจอื่น เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ เผยผู้โดยสารสาย สีแดงเหลือ 8 พันคน/วัน

วานนี้ (13 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน เพื่อพิจารณาแผนการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน และได้เห็นชอบแผนการดำเนินงาน และเห็นชอบให้แต่งตั้นคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามความก้าวหน้าสถานะการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบการจัดทำ Framework Agreement การขนส่งทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยการเชื่อมต่อการเดินทางข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคายเวียงจันทน์ ซึ่งในการเจรจาระหว่างประเทศนั้น ให้ดำเนินการเจรจาบนพื้นฐานที่ไทย ลาว และจีน มีความเกี่ยวข้องและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยอาจยกระดับให้เป็นบันทึกข้อตกลงที่มีความผูกพันเพิ่มเติม

นอกจากนี้ นายอนุทิน ยังได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการของบกลางเพื่อออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเร่งดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

"โครงการรถไฟจีน - ลาว เปิดเดินรถอย่างเป็นทางการแล้ว ในวันที่ 4 ธ.ค.64 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันตกประเทศจีน มายัง สปป.ลาว และประเทศไทย เส้นทางรถไฟดังกล่าวมีความสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เมื่อมีการเชื่อมต่อโครงข่ายโดยสมบูรณ์จากจีน ลาวมายังไทยแล้ว จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าตลอดเส้นทางได้ถึง 30-50% โดยใน 3-5 ปีข้างหน้า" นายอนุทิน ระบุ

อีกด้าน นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท.เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เพิ่มเติม 2 คน ได้แก่ นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ในฐานะผู้แทนกระทรวงคมนาคม และนายปัญญา ชูพานิช ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ โดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เรียบร้อยแล้ว โดยก่อนหน้านี้ บอร์ด รฟท.ได้เห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ รฟฟท. ไป 2 คน ได้แก่ นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการฯ รฟท. กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า และนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รฟฟท. (เลขานุการคณะกรรมการ) โดยมีนายระพี ผ่องบุพกิจ เป็นประธานกรรมการบริหาร ทำให้ขณะนี้บอร์ด รฟฟท. มีจำนวน 5 คน ซึ่งทำให้สามารถดำเนินการบริหารและพิจารณาต่างๆ ได้ตามปกติ ทั้งนี้ บอร์ด รฟฟท.จะมีจำนวนทั้งหมด 11 คน ซึ่งคาดว่าจะทยอยแต่งตั้งให้ครบจำนวนต่อไป

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟท.ยังมีมติเห็นชอบให้ รฟฟท.เพิ่มพันธกิจในการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และพิจารณาให้สามารถขยายช่องทางด้านธุรกิจอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งมติ ครม.เดิม ได้กำหนดพันธกิจ รฟฟท.เดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ต่อมาได้มีการเพิ่มพันธกิจให้เดินรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งการเพิ่มพันธกิจให้สามารถขยายช่องทางด้านธุรกิจอื่นๆ ครั้งนี้ เพื่อให้ รฟฟท.มีความคล่องตัวมากขึ้น ในการดำเนินธุรกิจที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้ รฟท.อีกทางหนึ่งด้วย โดยให้เสนอบอร์ด รฟท. ขออนุมัติอีกครั้งเมื่อจะมีการดำเนินการใดๆ

ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ รฟฟท. กล่าวว่า การเพิ่มพันธกิจให้บริษัทฯเพื่อเป็นการปลดล็อก เปิดช่องทางเพื่อให้บริษัทฯมีความคล่องตัวในการดำเนินการด้านรถไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสในการหารายได้เพิ่มในอนาคต เช่น รับจ้างฝึกอบรมบุคลากรด้านระบบราง รับจ้างซ่อมบำรุง รับจ้างเดินรถ เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ มีประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้ามา 10 ปี ก่อนหน้านี้มีผู้แสดงความสนใจ แต่บริษัทฯไม่สามารถทำได้ แต่เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ก็จะเป็นการสร้างโอกาสในอนาคต

ในที่ประชุมยังมีรายงานการดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน หลังจากให้บริการเชิงพาณิชย์ที่มีการจัดเก็บค่าโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.64 ว่า จำนวนผู้โดยสารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง จนเกือบถึง 1.3 หมื่นคน/วัน ในช่วงเดือน ธ.ค.64 แต่หลังเกิดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ทำให้จำนวนผู้โดยสารปรับลดลงไป อยู่ที่ประมาณ 8 พันคน/วัน ทั้งนี้ คาดว่า หากสถานการณ์การแพร่ระบาดโอมิครอนลดลง จำนวนผู้โดยสารก็จะกลับมาเพิ่มขึ้น.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 14 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2022 2:31 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท.เคาะปลดล็อก "รฟฟท." ทำธุรกิจหารายได้เพิ่ม “โอมิครอน” ฉุดผู้โดยสารสีแดงเหลือ 8,000 คน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:30 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:30 น.


บอร์ด รฟท.ตั้ง กก.บริษัท รฟฟท.ส่ง "ผอ.สนข.และอธิบดี ทย." ช่วยบริหารสีแดง พร้อมเคาะปลดล็อกเพิ่มพันธกิจ ขยายช่องทางทำธุรกิจอื่นเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ เล็งรับจ้างอบรมและซ่อมบำรุง ขณะที่ผู้โดยสารสีแดงลดเหลือ 8 พันคน/วันหลัง "โอมิครอน" ระบาดหนัก

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2565 มีมติเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เพิ่มเติมจำนวน 2 คน ได้แก่ นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ในฐานะผู้แทนกระทรวงคมนาคม และนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ โดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เรียบร้อยแล้ว

ก่อนหน้านี้ บอร์ด รฟท.ได้เห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ รฟฟท.ไป 2 คน ได้แก่ นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการ รฟท. กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า และนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รฟฟท. (เลขานุการคณะกรรมการ) โดยมี นายระพี ผ่องบุพกิจ เป็นประธานกรรมการบริหาร ทำให้ขณะนี้บอร์ด รฟฟท.มีจำนวน 5 คน ซึ่งทำให้สามารถดำเนินการบริหารและพิจารณาต่างๆ ได้ตามปกติ ทั้งนี้ บอร์ด รฟฟท.จะมีจำนวนทั้งหมด 11 คน ซึ่งคาดว่าจะทยอยแต่งตั้งให้ครบจำนวนต่อไป

นายนิรุฒกล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟท.ยังมีมติเห็นชอบให้ รฟฟท.เพิ่มพันธกิจในการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและพิจารณาให้สามารถขยายช่องทางด้านธุรกิจอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดิมได้กำหนดพันธกิจ รฟฟท.เดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์เรลลิงก์ ต่อมาได้มีการเพิ่มพันธกิจให้เดินรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งการเพิ่มพันธกิจให้สามารถขยายช่องทางด้านธุรกิจอื่นๆ ครั้งนี้ เพื่อให้ รฟฟท.มีความคล่องตัวมากขึ้นในการดำเนินธุรกิจที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้ รฟท.อีกทางหนึ่งด้วย โดยให้เสนอบอร์ด รฟท.ขออนุมัติอีกครั้งเมื่อจะมีการดำเนินการใดๆ

ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รฟฟท. กล่าวว่า การเพิ่มพันธกิจให้บริษัทฯ เพื่อเป็นการปลดล็อก เปิดช่องทางเพื่อให้บริษัทฯ มีความคล่องตัวในการดำเนินการด้านรถไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสในการหารายได้เพิ่มในอนาคต เช่น รับจ้างฝึกอบรมบุคลากรด้านระบบราง รับจ้างซ่อมบำรุง รับจ้างเดินรถ เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ มีประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้ามา 10 ปี ก่อนหน้านี้มีผู้แสดงความสนใจแต่บริษัทฯ ไม่สามารทำได้ แต่เมื่อได้รับอนุมัติแล้วก็จะเป็นการสร้างโอกาสในอนาคต

สำหรับจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันหลังจากให้บริการเชิงพาณิชย์ที่มีการจัดเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. 2564 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนเกือบถึง 13,000 คน/วัน ช่วงเดือ นธ.ค. 2564 แต่หลังเกิดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน มีมาตรการ work from home ทำให้จำนวนผู้โดยสารปรับลดลงไปอยู่ที่ประมาณ 8,000 คน/วัน ทั้งนี้คาดว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดโอมิครอนลดลง จำนวนผู้โดยสารก็จะกลับมาเพิ่มขึ้น

ส่วนกรณีที่มีการลักลอบตัดสายใยแก้วนำแสงรถไฟฟ้าสายสีแดง ขณะนี้ได้ดำเนินการป้องกันแก้ไขอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้การเดินรถสายสีแดงเป็นไปตามปกติ โดยในเดือน ธ.ค. 2564 ระดับการให้บริการมีความตรงต่อเวลา 99.45% โดยสายเหนือ (บางซื่อ-รังสิต) อยู่ที่ 99.66% สายตะวันตก (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) 99.07% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน สนข.กำหนดที่ 98.5%

ขณะที่ความน่าเชื่อถือรวมอยู่ที่ 99.52% โดยสายเหนืออยู่ที่ 99.98% สายตะวันตกอยู่ที่ 98.97% มีระยะทางวิ่งให้บริการรวม 162,057 กม. (สายเหนือ 105,510 กม., สายตะวันตก 56,547 กม.) มีจำนวนเที่ยวให้บริการรวม 7,737 เที่ยว (สายเหนือ 4,289 เที่ยว, สายตะวันตก 3,448 เที่ยว)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2022 9:48 am    Post subject: Reply with quote

ถนนกำแพงเพชร 6 ตำนาน 24 ปีพังซ้ำซาก กทม.รับไม่ไหวสภาพเกินเยียวยา
เผยแพร่: 15 ม.ค. 2565 17:20 ปรับปรุง: 15 ม.ค. 2565 17:20 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

เปิดประเด็นถนนกำแพงเพชร 6 ใต้สถานีรถไฟสายสีแดงพังซ้ำซาก ย้อนตำนาน "เทพเทือก" ดันถนนสายนี้เมื่อ 24 ปีก่อน แต่พบว่าสร้างแล้วพัง อุบัติเหตุอื้อ ส่วนถนนเป็นลูกคลื่น ผู้รับเหมาสายสีแดงไม่สกัดฐานรากออก อ้างค่าใช้จ่ายสูง กทม.จะรับมอบเจอสารพัดชำรุด บ่นการรถไฟฯ ไม่ได้แก้ไขก่อนส่งมอบเลย เขตดอนเมืองนัดถกแก้ปัญหาถาวรอังคารนี้ (18 ม.ค.)

จากกรณีที่นายจอจาน เอกราช ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล เปิดประเด็นถนนใต้แนวรถไฟฟ้าสายสีแดง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นลูกคลื่น เกิดอันตรายแก่ผู้สัญจรไปมา ต่อมาได้เผยแพร่หนังสือที่มีนายชัยพร บัวสรวง ผู้อำนวยการกองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค สำนักการโยธา ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ได้ทำหนังสือลงวันที่ 7 ม.ค. 2565 ชี้แจงว่า ถนนเส้นดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงประสานเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

อ่านโพสต์ต้นฉบับ คลิกที่นี่

รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า สำนักงานเขตดอนเมืองจะมีการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เขตดอนเมือง สำนักงานโยธาธิการ สน.ดอนเมือง และการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เข้าร่วมประชุมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขในวันอังคารที่ 18 ม.ค. โดยก่อนหน้านี้ กรุงเทพมหานครได้เข้าไปซ่อมแซมถนนกำแพงเพชร 6 เป็นการชั่วคราว 3 จุด ได้แก่ บริเวณซอยวิภาวดีรังสิต 25 ฝั่งขาออก หน้าโรงแรมมิราเคิล แกรนด์ และหน้าสำนักงานเขตดอนเมือง ส่วนบริเวณที่ผิวจราจรชำรุดเป็นหลุมบ่อขนาดใหญ่ รวมถึงเป็นคลื่น ไม่เรียบเสมอกัน ได้ประสานการรถไฟฯ ให้ตรวจสอบและเร่งซ่อมแซมเป็นระยะ

อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครไม่สามารถเข้าไปดำเนินการซ่อมแซมถนนกำแพงเพชร 6 ถาวรได้ เนื่้องจากถนนดังกล่าวอยู่ในกรรมสิทธิ์และความรับผิดชอบของการรถไฟฯ ซึ่งที่ผ่านมาการรถไฟฯ ยกเลิกสัญญาอนุญาตให้ กทม.ใช้สิทธิเหนือพื้นดินบริเวณดังกล่าว เพื่อใช้ก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

Click on the image for full size

แม้ภายหลังการรถไฟฯ จะมีหนังสือแจ้งส่งมอบถนนให้ กทม.เป็นผู้ดูแลรักษา แต่ กทม.ไม่สามารถรับมอบถนนดังกล่าวได้ เพราะไม่มีบันทึกข้อตกลงการส่งมอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน ถนนชำรุดทรุดตัว คันดินและทางเท้าไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีป้ายจราจรและระบบไฟฟ้าส่องสว่าง และท่อระบายน้ำสูงกว่าระดับผิวจราจร การรถไฟฯ ไม่ได้แก้ไขให้เรียบร้อย นอกจากนี้ กรณีที่ถนนกำแพงเพชร 6 ตั้งแต่แยกวัดเสมียนนารี ถึงบริเวณแยกคลังน้ำมัน ใต้สถานีรถไฟฟ้าดอนเมือง (สายสีแดง) มีสภาพเป็นเนินลูกคลื่นตลอดแนว เพราะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟฯ จัดซ่อมผิวจราจรไม่ได้ระดับและไม่เรียบร้อย รวมทั้งสกัดเสาตอม่อโฮปเวลล์เดิมออกไม่หมด ทำให้ถนนทรุดตัวไม่เท่ากันผิวจราจรนูนเป็นคลื่น

ขณะที่การรถไฟฯ ประสบปัญหาขาดทุนทุกปี ประกอบกับวัตถุประสงค์ขององค์กรไม่ได้กำหนดมาให้ซ่อมแซมหรือก่อสร้างถนนโดยตรง ทำให้การของบประมาณซ่อมแซมถนนดังกล่าวทำได้ยาก ซึ่งปัญหาถนนทรุดตัวไม่เท่ากันผิวจราจรนูนเป็นคลื่น เพราะในขณะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น ผู้รับเหมารื้อถอนเฉพาะเสาตอม่อที่อยู่เหนือพื้นดิน แต่ไม่ได้รื้อถอนบริเวณฐานรากของโครงการโฮปเวลล์เดิมได้ทั้งหมด เพราะต้องใช้เทคนิคพิเศษในการรื้อถอน และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ที่ผ่านมาพยายามส่งมอบถนนสายนี้ให้ กทม. ดูแล แต่ กทม.มองว่าหากรับไปบริหารเอง ค่าซ่อมบำรุงในภายหลังจะตามมาเป็นจำนวนมาก

Click on the image for full size

ย้อนกลับไปในอดีต ถนนกำแพงเพชร 6 มีชื่อว่า ถนนโลคัลโรด (Local Road) ก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2540 สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น รมว.คมนาคม หลังบอกเลิกสัญญาโครงการโฮปเวลล์ เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพปี 2541 ระยะทาง 33.79 กิโลเมตร มีกรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ แบ่งการก่อสร้างเป็น 10 ตอน งบประมาณ 693.23 ล้านบาท เป็นถนนนลาดยางขนาด 4 ช่องจราจร มีกำแพงคอนกรีตกั้นระหว่างถนนกับทางรถไฟ มีการควบคุมน้ำหนัก ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกผ่านเข้าวิ่ง ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2541

ถนนโลคัลโรดแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 จากถนนรังสิต-ปทุมธานี เลียบทางรถไฟสายเหนือ ถึงถนนกำแพงเพชร 2 บริเวณสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ เรียกว่าถนนกำแพงเพชร 6, ช่วงที่ 2 จากบริเวณคลองบางซื่อ เลียบทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออก ถึงถนนพระราม 6 ใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ เรียกว่าถนนกำแพงเพชร 5 และช่วงที่ 3 จากถนนนิคมมักกะสัน เลียบทางรถไฟสายตะวันออก ถึงถนนศรีนครินทร์ เรียกว่าถนนกำแพงเพชร 7 แต่เนื่องจากถนนดังกล่าวมีจุดตัดจำนวนมาก ถนนซิกแซ็กไปมาเป็นบางช่วง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะบริเวณหน้าวัดเสมียนนารี จึงต้องคอยแก้ไขปัญหาเป็นระยะ ไม่นับรวมปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณช่วงถนนกำแพงเพชร 7 ปัญหาแผงคอนกรีตกันตกข้างถนน และเสาไฟข้างทางถูกชนแต่ไม่ได้ซ่อมแซม เป็นต้น

ที่ผ่านมาการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปิดถนนโลคัลโรดเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าชั่วคราว และหลังก่อสร้างแล้วเสร็จได้กลับมาเปิดการจราจรตามปกติ ได้แก่ ปี 2548 ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าเชื่้อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงก์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จได้เปิดการจราจรตามเดิม ต่อมาในปี 2558 การรถไฟฯ ได้ปิดถนนกำแพงเพชร 6 เริ่มตั้งแต่ด้านหลังสถานีขนส่งหมอชิต ถึงที่หยุดรถไฟ กม.11 บริเวณใต้ทางด่วนศรีรัชเป็นการถาวร เพื่อก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยได้ก่อสร้างถนนใหม่ทดแทน ตลอดแนวด้านข้างฝั่งทิศเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2 ช่องจราจร เพื่อใช้เป็นเส้นทางเชื่อมถนนกำแพงเพชร 6 กับถนนกำแพงเพชร 2 รวมทั้งมีการปิดการจราจรเป็นระยะ เมื่อก่อสร้างแต่ละจุดแล้วเสร็จก็เปิดการจราจรตามปกติ

อนึ่ง เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2564 การรถไฟฯ ได้เคยส่งมอบถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ช่วงตั้งแต่ถนนประชาชื่น ถึงถนนกาญจนาภิเษก เขตตลิ่งชัน กทม. ให้กรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดูแลงานบำรุงรักษา รวมทั้งประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อขอเชื่อมระบบไฟฟ้าเป็นไฟฟ้าสาธารณะอีกด้วย ในรายละเอียดบันทึกข้อตกลงดังกล่าว การรถไฟฯ ได้ส่งมอบทางเท้า ท่อระบายน้ำ ป้าย เครื่องหมายจราจร ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้าง ให้กรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดำเนินการดูแลบำรุงรักษา ครอบคลุมทั้งในด้านการติดตั้งเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟจราจร อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย การจัดระบบการระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง การจัดการจราจร ปลูกต้นไม้ และจัดทำสวนหย่อม โดยการรถไฟฯ ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพื้นที่อยู่เช่นเดิม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2022 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

ยังต้องปรับปรุง! เช็กลิสต์คุณภาพ 8 ด้าน สถานีกลางบางซื่อ-รถไฟสีแดง
เดลินิวส์ 16 มกราคม 2565 13:50 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

คณะอนุกรรมการฯ ลงพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เช็กลิสต์คุณภาพ 8 ด้าน ยังมีสิ่งต้องปรับปรุง! ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ในสถานี การแจ้งข้อมูลรถไฟสีแดง ตะแกรงทางระบายน้ำ เพิ่มความปลอดภัยบนชานชาลาให้ผู้ใช้วีลแชร์ ขร.เร่งสรุปผลเสนอคณะอนุกรรมการฯ ก่อนชงคมนาคม

เมื่อวันที่ 16 ม.ค. กรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ และรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดี ขร., ผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้แทนอนุกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งภาคีเครือข่ายประชาชน ลงสำรวจตรวจประเมินคุณภาพสถานีกลางบางซื่อ เพื่อประเมินความพร้อมการให้บริการ ตามเกณฑ์การประเมินความพร้อมด้านการบริการ (Checklist) 8 ด้าน ของ ขร. ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานสากล

สำหรับเกณฑ์ดังกล่าว ประกอบด้วย
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. ด้านการเชื่อมต่อ
3. ด้านการให้ข้อมูล
4. ด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย
5. ด้านความสะดวกสบาย
6. ด้านการออกแบบเพื่อคนทุกคน
7. ด้านการให้บริการ และ
8. ด้านสุนทรียภาพความงดงาม
ทั้งนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้สำรวจในภาพรวมสำหรับเตรียมการรองรับผู้โดยสาร ตั้งแต่ทางเข้า-ออก จุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร ที่พักคอย สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน ห้องสุขา เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ เป็นต้น

การประเมินดังกล่าวเป็นการบูรณาการความเชี่ยวชาญ ความรู้ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งทางราง ให้สามารถรองรับการใช้บริการของประชาชนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียมในระบบรถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง ตลอดจนการเดินทางเชื่อมต่อรอบสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) รวมทั้งพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ณ สถานีกลางบางซื่อ ในกรณีย้ายสถานีต้นทาง/ปลายทางของขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ จากสถานีกรุงเทพมายังสถานีกลางบางซื่อ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ แจ้งต่อว่า การประเมินดังกล่าว คณะอนุกรรมการฯ ได้มีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ อาทิ เสนอให้ปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ภายในสถานีให้สื่อเข้าใจได้โดยง่าย เสนอให้มีการแจ้งข้อมูลรถไฟชานเมืองสายสีแดงขบวนถัดไปที่จะเข้าจอดบนจอ LED ภายในสถานี การเพิ่มข้อมูลชานชาลา และตำแหน่งที่จะขึ้นลงรถไฟบนตั๋วโดยสาร การเพิ่มทางลาด และปรับปรุงตะแกรงบริเวณทางระบายน้ำ ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการสัญจรของวีลแชร์ ตลอดจนการกำหนดมาตรการเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้วีลแชร์บนชั้นชานชาลา เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ ขร. จะประมวลผลการตรวจประเมิน ตลอดจนข้อเสนอแนะแนวทางการในการดำเนินการเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ และรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) พิจารณา ก่อนรายงานกระทรวงคมนาคมต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2022 8:00 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ถนนกำแพงเพชร 6 ตำนาน 24 ปีพังซ้ำซาก กทม.รับไม่ไหวสภาพเกินเยียวยา
เผยแพร่: 15 ม.ค. 2565 17:20 ปรับปรุง: 15 ม.ค. 2565 17:20 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ประเด็นที่ทีมข่าวพีพีทีวีติดตามต่อเนื่อง คือ ปัญหาถนนโลคัลโรด หรือ กำแพงเพชร 6 เลียบขนานเส้นวิภาวดีรังสิต ที่มีลักษณะเป็นเนินลูกคลื่นตลอดแนวยาวหลายกิโลเมตร (เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565)
ย้อนดูต้นตอปัญหาถนนโลคัลโรด ในรายการ “สารตั้งต้น” ตอน “Local Road คนเหิน ใครซ่อม” (ออกอากาศ 12 มีนาคม 2564)
https://youtu.be/IyeiLzlv6CA
https://youtu.be/4MsTM65K12A
https://youtu.be/3RamTfY0A-c
https://www.facebook.com/PPTVHD36/photos/a.620420501309066/7417177041633344/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 121, 122, 123 ... 147, 148, 149  Next
Page 122 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©