Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264067
ทั้งหมด:13575350
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 148, 149, 150  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2014 12:12 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ชงคสช.อนุมัติรถไฟสายสีแดง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 31 พฤษภาคม 2557 16:27

"ร.ฟ.ท." เสนอวาระเร่งด่วน ขอ "คสช." อนุมัติแบบใหม่ โครงการรถไฟสายสีแดง พร้อมเดินหน้าทำแผนส่งจันทร์นี้



นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยหลังการประชุมผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ 58 หน่วยงาน ร่วมกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตองผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายเศรษฐกิจ ว่า ได้มีการนำเสนอวาระเร่งด่วน ขอให้ คสช.อนุมัติ โครงการรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและตั้งแบบก่อสร้างโครงการใหม่ เพื่อให้รองรับในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง โดยจะให้ คสช.อนุมัติแบบใหม่ ส่วนงานโครงสร้างสถานีกลางบางซื่อ และทางรถไฟ จะเพิ่ม 1 ราง ซึ่งจะขอให้มีการดำเนินงานเฉพาะส่วนที่เป็นฐานรากสถานีกลางบางซื่อก่อน ส่วนโครงสร้างด้านบนสามารถก่อสร้างภายหลัง ซึ่งตามแผนเดิมโครงการดังกล่าว มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 4 ปี คาดว่าการดำเนินจะล่าช้าออกไปเนื่องจากต้องรอการอนุมัติ

อย่างไรก็ตาม จะมีการส่งแผนการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวให้สำนักปฏิรูป (สปร.) ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รวบรวมข้อมูลรายละเอียดโครงการต่างๆ ภายในเที่ยงวันจันทร์ที่ 2 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ เพื่อกลั่นกรองข้อมูลและเสนอต่อ คสช.อีกที ในวันอังคารที่ 3 มิ.ย.จะถึงนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44528
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/06/2014 4:33 pm    Post subject: Reply with quote

ผวา! ขุดสร้างรถไฟฟ้าเจอระเบิด
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 2 มิ.ย. 2557 14:00

คนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายบางซื่อ ผวา!ขุดเจอระเบิดอากาศ ขนาด 500 ปอนด์ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 EODเร่งเก็บกู้

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2014 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

ย้ายสถานีรถไฟฟ้าหลักสี่ หึ่ง!เอื้อบ.เอสซีฯ
แนวหน้าโลกธุรกิจ
แนวหน้า
วันพุธ ที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2557, 06.00 น.

ย้ายสถานีรถไฟฟ้าหลักสี่ หึ่ง!เอื้อบ.เอสซีฯ อยู่ฝั่งตรงข้าม‘หมู่บ้านหรู’วิศวกรอ้างติดแนวท่อแก๊สเลยต้องเปลี่ยนจุดก่อสร้าง

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เกี่ยวกับข่าวการย้ายสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ช่วงสถานีหลักสี่ที่จากเดิมมีแผนจะก่อสร้างสถานีที่บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 ซึ่งใกล้ๆ กับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ย้ายไปสร้างที่จุดใหม่คือบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าไอทีสแควร์แทน ซึ่งประชาชนมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกิจการของ บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่มีโครงการหมู่บ้านสุดหรูตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับห้างสรรพสินค้าไอทีสแควร์หรือไม่

โดยผู้ที่ทราบข่าวนี้ตั้งประเด็นข้อสงสัยว่า การย้ายสถานีรถไฟฟ้าดังกล่าวมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ ใครเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ ซึ่งที่ผ่านมาก่อนที่จะมีการก่อสร้างก็ต้องทำการศึกษาพื้นที่ ความเหมาะสม และผลกระทบให้ชัดเจนเสียก่อน และได้มีการประกาศจุดที่จะก่อสร้างชัดเจนไปแล้ว แต่อยู่ๆ ก็กลับมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้างอย่างง่ายดาย

“เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก น่าจะมีเหตุผลที่ซ่อนเร้นอยู่ เพราะมีผลกระทบตามมาหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องราคาที่ดินในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าที่จะถีบตัวสูงขึ้น และบริเวณดังกล่าวยังจะกลายเป็นแหล่งทำเลทองที่จะดึงดูดผู้คนได้ ดังนั้นการย้ายสถานีรถไฟฟ้าครั้งนี้น่าสงสัยว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนอย่างบริษัทเอสซีฯ อย่างชัดเจนหรือไม่”ประชาชนรายหนึ่งตั้งข้อสังเกตุ

จากการลงพื้นที่ของผู้สื่อข่าวพบว่า บริษัท ทีมกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) รับผิดชอบดูแลช่วงสถานีหลักสี่ โดยวิศวรกรรายหนึ่งในบริษัททีมกรุ๊ปให้ข้อมูลถึงการย้ายสถานีหลักสี่ว่า จากการลงพื้นที่สำรวจจุดก่อสร้างในแผนเดิม คือบริเวณถนนกำแพงเพชร 6 พบว่าใต้พื้นถนนบริเวณแยกหลักสี่ มีท่อแก๊สวางขวางตลอดแนวถนนแจ้งวัฒนะ จึงตัดสินใจย้ายสถานี ไปสร้างบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าไอทีสแควร์แทน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า สำหรับสถานีอื่นๆ นั้น จะไม่มีการย้ายการก่อสร้างอย่างแน่นอน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ประมาณ 5-6 ปี ที่ผ่านมา เคยมีเหตุการณ์ทุบสะพานลอยบริเวณหน้าวัดหลักสี่ก่อนที่จะมีการก่อสร้างโครงการหมู่บ้านสุดหรูของบริษัทเอสซีฯฝั่งตรงข้ามวัดหลักสี่ ซึ่งในครั้งนั้นมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากเนื่องจากสะพานลอยดังกล่าวถูกสร้างมานาน และมีขนาดกว้างขวางสามารถนำรถจักรยานขับขี่ข้ามไปมาได้อย่างสะดวก ซึ่งสาเหตุการทุบสะพานลอยดังกล่าว ถูกมองว่าเนื่องจากทางขึ้นลงสะพานมีขนาดใหญ่บดบังภูมิทัศน์ของหมู่บ้าน

ต่อมาได้มีสร้างสะพานลอยใหม่ห่างจากจุดเดิม 20 เมตร แต่เล็กกว่าเดิม และบริเวณทางขึ้นลงไม่บดบังความสวยงามของหมู่บ้าน ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวเคยถูก นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เคยไปอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฏรมาแล้ว และเมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้หนักเข้า ปรากฎว่า ได้มีการนำสติ๊กเกอร์ไปติดไว้ที่บริเวณสะพานลอยระบุว่า บริษัทเอสซีแอสเสทเป็นผู้ออกเงินค่าก่อสร้างสะพานลอยให้ทั้งหมด และการก่อสร้างสะพานลอยขึ้นใหม่นี้ ได้รับความเห็นชอบจากกรมทางหลวงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
//------------

'ประภัสร์'โต้ย้ายสถานีเอื้อเอสซีฯ แค่ปรับหลบสิ่งกีดขวาง-ท่อแก๊ส
แนวหน้าโลกธุรกิจ
แนวหน้า
วันพุธ ที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2557, 16.31 น.


4 มิ.ย. 57 นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แถลงถึงกรณีการย้ายสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงสถานีหลักสี่ ซึ่งจากเดิมจะก่อสร้างบริเวณถนนกำแพงเพชร 6 ใกล้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ไปสร้างบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าไอทีสแควร์ และกรณีที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การย้ายสถานีครั้งนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับโครงการหมู่บ้านหรู ของบริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด

นายประภัสร์ ยืนยันว่าไม่มีการย้ายจุดก่อสร้างสถานี เพียงแต่มีความจำเป็นต้องปรับฐานตอม่อในจุดที่มีการก่อสร้าง ให้พ้นสิ่งกีดขวาง รวมถึงท่อแก๊สที่วางขวางตลอดแนวถนนแจ้งวัฒนะเท่านั้น และยืนยันว่าไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจของใครอย่างแน่นอน

"ถ้าจะมีการย้ายจุดก่อสร้างสถานีจริงต้องมีการรายงานแจ้งให้ผมทราบ และกระบวนการขั้นตอนในการที่จะทำการย้ายสถานที่ก่อสร้างของสถานีต้องมีกระบวนการหลายอย่าง ผ่านหลายขั้นตอนจึงจะทำได้ จะย้ายปุปปับไม่ได้ และจากข้อเท็จจริงเป็นเพียงการปรับฐานตอม่อในจุดที่มีการก่อสร้างให้พ้นสิ่งกีดขวางเท่านั้น" นายประภัสร์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2014 12:32 pm    Post subject: Reply with quote

อีกยาวนานแค่ไหน ความหวังได้นั่งรถไฟฟ้า10สาย
ทีมข่าวกทม./จราจร
เดลินิสส์
วันจันทร์ 9 มิถุนายน 2557 เวลา 09:32 น.

ทางเลือกลดปริมาณการใช้รถยนต์บนท้องถนน คือ การก่อสร้างรถไฟฟ้า

ปัญหาการจราจรในเมืองกรุง นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เกือบจะเกิดกับเมืองหลัก ๆ ทั่วประเทศ เป็นปัญหาที่ทุกรัฐบาลหยิบยกขึ้นมาหาหนทางแก้ไข ซึ่งความหวังหนึ่งที่จะช่วยคลี่คลายปัญหาได้คือการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เป็นทางเลือกให้ลดปริมาณการใช้รถยนต์บนท้องถนน การก่อสร้างรถไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกสำคัญ

การบริหารประเทศภายใต้การนำของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว มาดูกันซิว่า ตามแผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 สาย ที่วางกันไว้ จะมีการขับเคลื่อนอย่างไร อนาคตข้างหน้า อีกยาวนานแค่ไหนที่จะได้ใช้กัน

ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการอยู่ทั้งสิ้น 4 สาย ได้แก่
1. รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท จากหมอชิตถึงแบริ่ง
2.รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม จากสนามกีฬาแห่งชาติ ถึงบางหว้า ซึ่งเป็นเส้นทางแรกที่เปิดให้บริการในพื้นที่ฝั่งธนบุรี
3. รถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล จากบางซื่อถึงหัวลำโพง และ
4. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จากพญาไทถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นระยะทางรวมกว่า 87 กม.

แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ซึ่งแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าของกระทรวงคมนาคม มีการจัดทำในแผนแม่บทไว้ล่าสุดที่ 10 เส้นทาง ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีทั้งโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างขณะนี้ และที่อยู่ในแผนยังไม่ได้ดำเนินการ

นี่คือความคืบหน้าของรถไฟฟ้าแต่ละสาย ซึ่งโครงการจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และการให้ความสำคัญของ คสช. ผู้นำในการบริหารประเทศ.

********************

เส้นทางที่จะได้ใช้ภายใน 5 ปี

1. สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. มีแผนเปิดให้บริการกลางปี 2559

2. สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กม. และ ช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กม. มีแผนเปิดให้บริการในปี 2560

3. สายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กม. เปิดให้บริการในปี 2559

4. สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กม. อยู่ในขั้นตอนการประกวดราคา ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี

5. สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีแผน เปิดให้บริการปี 2560 6. สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต มีแผนเปิดให้บริการปี 2560

*********************

สายที่มีแผนจะสร้างในอนาคต

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ศึกษาไว้และมีแผนที่จะสร้างต่อขยายเส้นทางในอนาคตอีก คือ

1. สายสีแดงอ่อน จาก ตลิ่งชัน-ศาลายา

2. สายสีแดงอ่อน ช่วงจากบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน 9 กม.

3. สายสีแดงอ่อน ช่วงบางบำหรุ-มักกะสัน 10.5 กม.

4. สายสีแดงเข้ม ช่วงจากรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5. สายสีแดงเข้ม จากบางซื่อ-หัวลำโพง 6.5 กม.

6. สายสีแดงเข้ม ช่วงบางบอน-มหาชัย 20 กม.

7. สีเขียวอ่อน จากสนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส ระยะทาง 1 กม.

**********************

สายที่รอการอนุมัติก่อสร้าง

1. สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 36 กม.

2.สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 19.8 กม.

3. สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) 37.5 กม.

4. สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง) 30.4 กม.

5. สายเชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) 7.9 กม.

**********************
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44528
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2014 10:44 am    Post subject: Reply with quote

สถาบันจุฬาภรณ์โต้ รฟท.มั่ว! โยนบาปอ้างใบสั่งย้าย
หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 10 มิถุนายน 2557 06:00:00 น.

สถาบันจุฬาภรณ์โต้ รฟท.มั่ว! โยนบาปอ้างใบสั่งย้ายสถานีรถไฟฟ้าหลักสี่ รถไฟแจงคลาดเคลื่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ฝ่ายบริหารและประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ออกคำแถลงการณ์ชี้แจงต่อสื่อมวลชน หลังจากที่มีข่าวปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ เรื่องการย้ายการก่อสร้างสถานีหลักสี่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) จากบริเวณเดิม คือ ด้านข้างสถานีรถไฟหลักสี่ ใกล้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ไปอยู่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า ไอที สแควร์

โดยแถลงการณ์ระบุว่า กรณีดังกล่าว นายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ร.ฟ.ท. อ้างว่า “แต่เดิมมีการวางจุดของสถานีไว้บริเวณหน้าสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์จริง แต่เนื่องจากทางสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ให้ความเห็นว่า ในการก่อสร้างสถานีดังกล่าวจะทำให้บดบังทัศนียภาพในบริเวณนั้น จึงได้มีการย้ายไปสร้างสถานีในจุดใหม่คือ บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า ไอที สแควร์ มิใช่เพื่อเอื้อต่อประโยชน์แก่หมู่บ้านฝั่งตรงข้าม ซึ่งมี บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด เป็นเจ้าของ” นั้น สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขอชี้แจงว่า ข้อมูลและเหตุผลที่ นายจเร กล่าวอ้างนั้น ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ไม่เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับการวางจุดของสถานีหลักสี่ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงแก่หน่วยงานใดๆ ทั้งสิ้น

“สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร เห็นว่าการก่อสร้างสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสีแดง ณ บริเวณใกล้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากภายในบริเวณสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีองค์กรหลักๆ อีก 2 องค์กร คือ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ซึ่งมีนักศึกษาทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่มีบุคลากรทางการแพทย์มากมาย ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่จะต้องเดินทางเข้ามารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงญาติผู้ป่วยที่จะเดินทางมาเยี่ยมให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งอีกด้วย ดังนั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า การก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง ณ บริเวณใกล้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ผู้ที่ได้รับอานิสงส์คือประชาชนทั่วไป ผู้ป่วย และนักศึกษา” แถลงการณ์ ระบุ

แถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ยังได้ระบุทิ้งท้ายว่า การย้ายสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงบริเวณแยกหลักสี่ จากด้านข้างสถานีรถไฟเดิม ใกล้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ไปยังบริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าไอที สแควร์นั้น ทางสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด แต่เห็นว่าจะทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง บุคลากรทางการแพทย์ นักวิจัย นักศึกษาจำนวนมาก และประชาชนส่วนหนึ่งได้รับความสะดวกน้อยลง

ทางด้าน นายจเร ได้ยืนยันเรื่องการย้ายตำแหน่งของการสร้างสถานีหลักสี่ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งว่า การก่อสร้างสถานีหลักสี่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าไอทีสแควร์ เป็นการก่อสร้างที่ตำแหน่งเดิมตามแบบในสัญญาที่แจ้งไว้กับทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ไม่มีการย้ายตำแหน่งตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด ส่วนการเสนอข่าวว่าทางสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ให้ความเห็นว่าในการก่อสร้างสถานีดังกล่าวจะทำให้บดบังทัศนียภาพในบริเวณนั้น เป็นการเสนอข่าวคลาดเคลื่อน ขอยืนยันว่าสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาเรื่องนี้แต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44528
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2014 9:56 am    Post subject: Reply with quote

ย้ายสถานีรถไฟฟ้าหลักสี่ เรื่องจำเป็นหรืออื้อนายทุน?
แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557, 02.00 น.

Click on the image for full size

แผนผังเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง เดิม ในเวบไซต์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ระบุชัดว่า ที่ตั้งของสถานีหลักสี่อยู่บริเวณใกล้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ความไม่ชอบมาพากลในการ”ย้าย”ที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ช่วงสถานีหลักสี่ จากเดิมที่มีแผนจะก่อสร้างตัวสถานีบริเวณถนนกำแพงเพชร 6 ใกล้กับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขยับไปสร้างที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าไอทีสแควร์แทน ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพื้นที่โครงการที่อยู่อาศัยของ บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของตระกูล”ชินวัตร” ทำให้เกิดประเด็นข้อสงสัยเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในสังคมอย่างมาก

ข่าวดังกล่าว ทำให้เกิดการตั้งข้อสงสัยว่า การย้ายตัวสถานีรถไฟฟ้า ถือเป็นเรื่องใหญ่ ต้องมีเหตุผลเพียงพอ ก่อนสร้างก็ต้องศึกษาผลกระทบให้ชัดเจนเสียก่อน การเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้างอย่างฉับพลัน จึงน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ กรณีนี้จึงถูกมองว่า มีการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทของตระกูลชินวัตรหรือไม่

เรื่องนี้ไม่ใช่คิดกันขึ้นมาลอยๆ เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันมาแล้ว คือ การทุบสะพานลอยบริเวณใกล้แยกหลักสี่ทิ้ง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ภาคธุรกิจ ในยุครัฐบาลทักษิณ หลังจากคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร สมัยเป็นภรรยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เข้ามาซื้อที่ดินฝั่งตรงข้ามวัดหลักสี่ ทำโครงการหมู่บ้านจัดสรรระดับหรูหรา ภายใต้แบรนด์บริษัทเอสซี แอสเสท แล้วเห็นว่า สะพานลอยดังกล่าวบดบังภูมิทัศน์ทางเข้าหมู่บ้านจัดสรรดังกล่าว

ดังนั้น เมื่อมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาลักษณะเดียวกันขึ้นอีกครั้ง “แนวหน้า”จึงพยายามเสาะหาความจริงจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากวิศวกรตรวจสอบงานก่อสร้าง บริษัท ทีมกรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ซึ่งควบคุมงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) รับผิดชอบดูแลช่วงสถานีหลักสี่ ได้รับคำตอบว่า จะมีการย้ายจุดก่อสร้างสถานีจริง โดยอ้างตอนแรกว่า เนื่องจากจุดก่อสร้างในแผนเดิม บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 นั้น สำรวจพบว่า ใต้พื้นถนนบริเวณแยกหลักสี่มีท่อแก๊สของปตท.วางขวางตลอดแนวถนนแจ้งวัฒนะ จึงตัดสินใจย้ายสถานีไปสร้างบริเวณหน้าห้างฯไอทีสแควร์แทน

แต่ทางด้าน นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการดังกล่าว ออกมายืนยันเสียงแข็งว่า ข่าวดังกล่าวไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด ไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้กับใคร แต่จำเป็นต้องมีการปรับฐานตอม่อในจุดที่มีการก่อสร้างให้พ้นสิ่งกีดขวางเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ไม่มีการย้ายจุดที่ทำการก่อสร้างสถานีแน่นอน ทั้งนี้ หากจะมีการย้ายจุดก่อสร้างสถานีจริง ต้องมีการรายงานให้ตนทราบ และกระบวนการที่จะย้ายสถานที่ก่อสร้างของสถานี ต้องมีกระบวนการหลายอย่าง ผ่านหลายขั้นตอน จึงจะทำได้

ในขณะที่ นายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ก็อ้างเช่นเดียวกันว่า ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นความจริง ไม่มีการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ฝ่ายใด ซึ่งแต่เดิมมีการวางจุดที่ตั้งสถานีไว้บริเวณหน้าสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ แต่เนื่องจากทางสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ให้ความเห็นว่า ในการก่อสร้างสถานีดังกล่าวจะทำให้บดบังทัศนียภาพในบริเวณนั้น จึงได้ย้ายไปสร้างสถานีไปอยู่ที่บริเวณหน้าไอทีสแควร์แทน ดังนั้นจึงไม่มีมูลความจริงในการเอื้อประโยชน์กับเอกชน เพราะดำเนินไปตามแผนเดิมที่มีแบบที่ได้รับจากทางสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตั้งแต่แรก

แต่หลังจากฝั่ง ร.ฟ.ท.ออกมาชี้แจงอยู่ฝ่ายเดียวได้ไม่นาน ทางฝ่ายบริหารและประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ก็มีคำแถลงการณ์ชี้แจงต่อสื่อเรี่องที่ นายจเรอ้างว่า ทางสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ให้ความเห็นว่า การก่อสร้างสถานีจะทำให้บดบังทัศนียภาพของสถาบัน จึงต้องย้ายไปสร้างสถานีบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า ไอที สแควร์นั้น “ไม่เป็นความจริง” สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ไม่เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับการวางจุดที่ตั้งสถานีหลักสี่ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงแก่หน่วยงานใดๆทั้งสิ้น

แถลงการณ์ดังกล่าวยืนยันว่า สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร การก่อสร้างสถานีโครงการรถไฟฟ้าสีแดง ณ บริเวณใกล้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนทั่วไปที่เดินทางมาติดต่อกับสถาบัน ทั้งในส่วนนักศึกษา ผู้ป่วยและญาติจะได้รับประโยชน์โดยตรง ทางสถาบันฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะตัดสินใจย้ายหรือไม่ย้ายสถานีแต่อย่างใด

จากคำแถลงการณ์ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ในครั้งนี้ ทำให้ นายจเร วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ร.ฟ.ท. ออกมาแก้ข่าวอีกครั้งว่า เรื่องการย้ายตำแหน่งของการสร้างสถานีรถไฟฟ้าหลักสี่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าไอทีสแควร์นั้น เป็นการก่อสร้างที่ตำแหน่งเดิม ตามแบบในสัญญาที่แจ้งไว้กับทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ไม่มีการย้ายตำแหน่งตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

ส่วนการที่มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ว่า การย้ายสถานีดังกล่าวนั้น ส่วนหนึ่งมีเหตุผลมาจากการที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ให้ความเห็นว่าในการก่อสร้างสถานีดังกล่าวจะทำให้บดบังทัศนียภาพในบริเวณนั้น นายจเรอ้างว่า เป็นการเสนอข่าวคลาดเคลื่อน ขอยืนยันว่าสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาเรื่องนี้แต่อย่างใด

เกี่ยวกับเรื่องนี้ แหล่งข่าวจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต นั้น ในการออกแบบสถานีรถไฟฟ้า ทางสนข.ไม่ทราบรายละเอียดของในการก่อสร้างตัวสถานี รวมถึงการย้ายสถานีหลักสี่ว่า เป็นอย่างไร เนื่องจากในกระบวนการขั้นตอนในการทำการก่อสร้างนั้น เป็นในส่วนของการบริหารสัญญาการก่อสร้างที่มี การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. เป็นผู้รับผิดชอบสัญญาการก่อสร้าง

ขณะที่ นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข. ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวสั้นๆ ว่า “ไม่ทราบเรื่องครับ เนื่องจากเป็นการบริหารสัญญาก่อสร้างที่ รฟท. รับผิดชอบสัญญาก่อสร้าง”

จนถึงขณะนี้คำชี้แจงของรฟท.กับผู้รับเหมาก่อสร้างก็ยังคงคลุมเคลือ ตกลงการย้ายจุดก่อสร้างตัวสถานีหลักสี่เป็นเช่นไรกันแน่ ปัญหาในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ควรจะต้องให้ความกระจ่างต่อสังคมให้ได้ว่า การดำเนินการทั้งหมดทั้งมวล เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่ และที่สำคัญ ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจรายใดอย่างหนึ่ง ดังที่ประชาชนตั้งข้อแคลงใจอยู่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2014 10:59 am    Post subject: Reply with quote

อิตัลไทยยัน 20 มิ.ย. ทุบสะพานเอกทักษิณแน่นอน
โพสโดย: journalism108
เมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557, 19:01

ทางเบี่ยง, การรถไฟแห่งประเทศไทย, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน), ทุบสะพาน, ชาวบ้านเมืองเอก
อิตัลไทย รับสาเหตุเลื่อนทุบสะพาน เพราะปัญหาค่าชดเชยผู้อาศัย แจงแก้ปัญหาเรียบร้อยจึงกำหนดวันทุบใหม่เป็น 20 มิถุนายน เผยปรับทางเบี่ยงใหม่ เป็นทางตรง จากเดิมต้องอ้อม 300 เมตร เสร็จแล้ว 80 เปอร์เซนต์ เชื่อ 18 มิถุนายน เปิดใช้ได้หากไม่มีเหตุการณ์สุดวิสัย

จากกรณีก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมือง(สายสีเเดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ส่งผลให้มีการรื้อถอนสะพานเอกทักษิณ (ทางผ่านเข้าหมู่บ้านเมืองเอก ซึ่งเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต) เนื่องจากตัวสะพานต่ำจนหัวขบวนรถไฟไม่สามารถลอดผ่านใต้สะพานได้ เดิมที่มีกำหนดว่า บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)ซึ่งรับผิดชอบโครงการก่อสร้าง จะมีการรื้อถอนสะพานในวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา เเต่ขณะนี้ผ่านมากว่า 3 เดือน ยังไม่มีความคืบหน้าในการรื้อถอน มีเพียงป้ายประกาศจากการรถไฟเเห่งประเทศไทยเเจ้งว่า จะมีการปิดการจราจรสะพานเอกทักษิณเพื่อก่อสร้างสะพานใหม่ ตั้งเเต่ 20 มิถุนายน 2557 - 20 มิถุนายน 2558

วิศวกรเเหล่งข่าวจากบริษัทอิตาเลียนไทยฯ กล่าวถึงความล่าช้าในการทุบสะพานว่า ที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ใต้สะพานเอกทักษิณทำให้การทุบสะพานไม่เป็นไปตามกำหนด แต่ขณะนี้็ได้แก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีประกาศกำหนดวันทุบสะพานใหม่ขึ้นมา

วิศวกรบริษัทอิตาเลียนไทยฯ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ทางเบี่ยงที่จะใช้สัญจรเข้าหมู่บ้านเมืองเอกเเทนเส้นทางสะพานเอกทักษิณ มีความคืบหน้าในการก่อสร้างแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็น โดยมีการปรับเส้นทางจากเดิมที่เคยอ้อม 300 เมตรให้สามารถเดินรถในเส้นทางตรงเพื่อแก้ปัญาการจราจรติดขัด อีกทั้งยังมีการขยายทางข้ามทางรถไฟให้กว้างจากแผนเดิม โดยทางข้ามทางรถไฟจะมีลักษณะคล้ายกับทางข้ามทางรถไฟบริเวณดอนเมือง ซึ่งการก่อสร้างบริเวณดังกล่าวได้รับคำสั่งโดยตรงมาจากทางการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เนื่องจากมีประชาชนเมืองเอกบางส่วนเรียกร้องกับคณะรัฐมนตรีชุดก่อนให้สร้างทางข้ามทางรถไฟดังกล่าวเป็นเส้นทางตรงเพื่อรองรับหากจะมีการทุบสะพานเอกทักษิณขึ้น และในวันที่ 14 มิถุนายน 2557จะมีการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางเบี่ยงดังกล่าว เเละคาดว่าวันที่ 18 มิถุนายน เส้นทางเบี่ยงจะเเล้วเสร็จหากไม่มีเหตุการณ์สุดวิสัย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44528
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2014 11:11 am    Post subject: Reply with quote

สะพานเอกทักษิณ คือ สะพานข้ามทางรถไฟของถนนเอกทักษิณ ด้านเหนือของป้ายหยุดรถหลักหกครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
rungrodn
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 11/06/2014
Posts: 3

PostPosted: 16/06/2014 9:15 am    Post subject: Reply with quote

ท่านคิดว่าส่วนต่อขยายไปม.ธรรมศาสตร์จะสร้างเมื่อไรได้ข่าวว่าจะเพิ่มรางจาก สามเป็นสี่ ความคิดผมน่าจะอีกสองสามปี เส้นนี้คนใช้น่าจะใช้เยอะมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44528
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/06/2014 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

แนวรถไฟฟ้า10สาย กับอนาคตกรุงเทพฯ สยามฯแพงสุด1.7ล./ตร.ว. พระราม4-กล้วยน้ำไท แป้ก!

รถไฟฟ้ามีผลสำคัญต่อราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างยิ่ง ประชาชนผู้บริโภคอสังหาริมทรัพย์ จึงพึงสังวร
เดลินิวส์ วันจันทร์ 16 มิถุนายน 2557 เวลา 09:17 น.

รถไฟฟ้ามีผลสำคัญต่อราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างยิ่ง ประชาชนผู้บริโภคอสังหาริมทรัพย์ จึงพึงสังวร ครั้งนี้เรามาทบทวนรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกัน

รถไฟฟ้ามีผลอย่างสำคัญ

ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ที่เก็บข้อมูลมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานที่สุดและเป็นแห่งแรกในประเทศไทยพบความจริงประการหนึ่งว่า รถไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อราคาที่ดินอย่างชัดเจน ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้

จะเห็นได้ว่า รถไฟฟ้าที่ผ่านสยามสแควร์ ทำให้บริเวณนั้นซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าสำคัญ ๆ หลายแห่งมีราคาที่ดินแพงสุดในประเทศไทยในขณะนี้ ตกเป็นเงินถึง 1,700,000 บาทต่อตารางวา ส่วนสีลมที่เป็นศูนย์ธุรกิจการเงิน ที่เคยมีราคาแพงกว่าในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน กลับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่า เพราะมีรถไฟฟ้าผ่านเพียงสายเดียว ในขณะที่บริเวณถนนเยาวราชที่แต่เดิมราคาแพงสุด กลับเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำ เพราะยังไม่มีรถไฟฟ้าผ่านนั่นเอง

อีกบริเวณหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ บริเวณท้องฟ้าจำลอง ถนนสุขุมวิท กับบริเวณกล้วยน้ำไท ถนนพระรามที่ 4 ปรากฏว่าแต่เดิมราคาเกือบจะเท่ากัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปีกลับปรากฏว่าราคาต่างกัน “ราวฟ้ากับเหว” เพราะถนนสุขุมวิทมีรถไฟฟ้าในขณะที่ถนนพระรามที่ 4 ไม่มีรถไฟฟ้า อันที่จริงที่ถนนพระรามที่ 4 และถนนเพชรบุรีตัดใหม่จะมีรถไฟฟ้า ไม่ใช่ถนนสุขุมวิท แต่รถไฟฟ้าสายดังกล่าวที่ลงนามกันเพียง 1 วัน ก่อนรัฐบาลน้าชาติจะถูก รสช. (คณะรัฐประหาร) โค่นในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งแนวรถไฟฟ้าจึงเปลี่ยนไปแทบหมด อันนี้อาจเป็นกรณีตัวอย่างของการทุจริตเชิงนโยบายในอดีตก็ว่าได้

ความคืบหน้าของรถไฟฟ้า

ตามโครงการ 2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาลปูที่ถูกล้มล้างไปแล้ว และคาดว่า คสช. (คณะรัฐประหาร) ในปัจจุบันอาจนำมาสานต่อ มีรถไฟฟ้า 10 สาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมอยู่ด้วย ความคืบหน้าเป็นดังนี้ :

1. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย) โดยระยะที่ 1 ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-บางซื่อ ปัจจุบันมีการประมูลงานโยธาแล้วอยู่ระหว่างดำเนินการรื้อย้ายตอม่อโฮปเวลล์เพื่อเปิดทางก่อสร้าง ระยะที่ 2 บางซื่อ-หัวลำโพง กำหนดเปิดประกวดราคาในปี 2556 ส่วนระยะที่ 3 หัวลำโพง-บางบอน และระยะที่ 4 บางบอน-มหาชัย คาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการหลังปี 2562

2. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก) โดยระยะที่ 1 บางซื่อ-ตลิ่งชัน อยู่ระหว่างเปิดทดลองให้บริการ 3 สถานี (ตลิ่งชัน-บางบำหรุ-บางซ่อน) ส่วนระยะที่ 2 คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลภายในปี 2557

3. ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) ทั้งนี้ส่วนแรก พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่ปี 2551 ส่วนต่อขยายนี้ได้รับการเห็นชอบด้าน EIA แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปี 2557

4. สายสีม่วง ส่วนเหนือ-ใต้ (บางใหญ่-บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ) ในส่วนด้านเหนือคือ บางใหญ่-บางซื่อ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คืบหน้าไปราว 75% แต่ในส่วนใต้ บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 2557-58

5. สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ-บางปู) นี่เป็นรถไฟฟ้าที่ต่อเชื่อมจากโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท (หมอชิต-อ่อนนุช) ที่เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2542 ทั้งนี้ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างแล้ว 20% ช่วงสมุทรปราการ-บางปู คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างไปแล้วประมาณ 10% สำหรับช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลได้ภายในปี 2557-58

6. สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ-พุทธมณฑล สาย 4) เป็นเส้นทางต่อขยายจากรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล ทั้งนี้ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คืบหน้าประมาณ 40% ช่วงหัวลำโพง-บางแค อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 จะเริ่มดำเนินโครงการหลังปี 2562

7. สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ทั้งนี้ช่วงจรัญสนิทวงศ์-ศูนย์วัฒนธรรม ยังมีปัญหาเรื่องการจัดสรรพื้นที่เวนคืนในบางช่วง และยังไม่สามารถประเมินงบประมาณได้ ส่วนช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ และช่วงบางกะปิ-มีนบุรี อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 2557-58

8. สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) อยู่ระหว่างทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปี 2557-58

9. สายสีเหลือง (ลาด พร้าว-พัฒนาการ-สำโรง) ปรากฏว่าช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ (แฮปปี้แลนด์) การออกแบบเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในปี 2557-58

10. สายสีเขียวอ่อน (ยศเส-สนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน-บางหว้า) ทั้งนี้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อมาจากโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน) ที่เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2552 โดยช่วงตากสิน-บางหว้า อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนช่วงสนามกีฬา-ยศเส คาดว่าจะดำเนินการในระยะต่อไปหลังปี 2562

จะสังเกตได้ว่าบางเส้นยังไปไม่ถึงไหน หากคิดจะซื้อที่อยู่อาศัยไว้ ก็จงอย่าเพิ่งผลีผลาม อย่าลืมว่า “ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” นะครับ

บทวิพากษ์รถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าบางสายอาจขัดกันบ้าง เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต กับรถไฟฟ้าสายสีเขียวบนถนนพหลโยธิน ซึ่งวิ่งขนานไปทางทิศเหนือห่างกันเพียง 2 กิโลเมตร อาจแย่งลูกค้ากันเองบ้าง อย่างไรก็ตามโครงการที่พึงดำเนินการมากที่สุดได้แก่โครงการที่ 3 ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กม. เชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง 2 สนามบิน เพราะการติดต่อระหว่างกันทำได้จำกัดในเวลานี้ รวมทั้งโครงการที่ 5 รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) และโครงการที่ 6 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-ท่าพระ, บางซื่อ-พุทธมณฑล สาย 4) ซึ่งเชื่อมต่อกับสายเฉลิมรัชมงคลในลักษณะวงแหวนเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน

โดยหลักการแล้ว หลายเส้นไม่พึงทำ เพราะจำนวนประชากรอาจมีน้อยเกินไป และที่สำคัญทำให้เมืองขยายออกไปข้างนอกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้สาธารณูปโภคต้องขยายตัวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และสิ้นเปลืองงบประมาณอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่แน่นอนว่าประชาชนที่อยู่แถวนั้นคงอยากได้ เพียงแต่สร้างแล้วคุ้มทุนยากเมื่อเทียบกับสายอื่น ตัวอย่างเช่น รถไฟฟ้าสายที่ 4 รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสะพานใหม่-คูคต โครงการที่ 8 รถไฟฟ้าสายสีส้ม (จรัญสนิทวงศ์-มีนบุรี) โดยเฉพาะช่วงจากบางกะปิไปมีนบุรี ที่ประชากรเบาบางกว่าพื้นที่อื่น และโครงการที่ 9 รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) เชื่อมทิศเหนือ-ตะวันออก และศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ เพราะน่าจะมีประชากรน้อยกว่าที่อื่นเช่นกัน

บริเวณชานเมือง หากมีรถไฟรางคู่ที่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้การขนส่งสินค้าและคนทำงาน เดินทางเข้าเมืองได้อย่างสะดวกไม่ต้องใช้รถไฟฟ้าแต่อย่างใด ดังเช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต–มหาชัย) 80.8 กม. เชื่อมการเดินทางพื้นที่ชานเมืองเข้าสู่กรุงเทพมหานครในแนวเหนือ–ใต้

พึงสร้างรถไฟฟ้ามวลเบา

นอกจากโครงการรถไฟฟ้า 10 สายที่ต้องลงทุนสูงแล้ว สิ่งที่กรุงเทพมหานครพึงมีที่สุดในขณะนี้ก็คือรถไฟฟ้ามวลเบา โดยพื้นที่ที่ควรดำเนินการได้แก่ :

1. บริเวณถนนเจริญกรุง (ถนนตก) ถนนจันทน์ ถนนเซ็นต์หลุยส์ ถนนนราธิวาส ถนนนางลิ้นจี่ ถนนงามดูพลี ออกถนนพระรามที่ 4 ซึ่งเป็นการเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าหลักสาทร สุรศักดิ์ และสถานีลุมพินีของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (MRT)

2. บริเวณถนนอุดมสุข ออกสวนหลวง ร.9 วกออกสถานีอ่อนนุช

3. ประดิพัทธ์-ซอยอารีย์ประดิพัทธ์-วิภาวดีรังสิต

4. อินทามระ-ห้วยขวาง

5. พระรามที่ 1-บรรทัด ทอง-พระรามที่ 1

6. คลองเตย-พระรามที่ 4-พระโขนง ฯลฯ

การทำรถไฟฟ้ามวลเบา จะทำให้เปิดทำเลใหม่ ๆ ในการพัฒนาเมือง นอกจากนั้นยังควรสร้างรถไฟฟ้าแบบ BTS บนเกาะกลางถนนของถนนอีกหลายสายในเขตกรุงเทพมหานคร เช่น ถนนลาดพร้าว ถนนสามเสน และอื่น ๆ เป็นต้น แต่ไม่ควรสร้างรถ BRT อีกต่อไป เพราะกีดขวางการจราจร โครงการ BRT บนถนนนราธิวาส-พระรามที่ 3 ควรเปลี่ยนใหม่เป็นรถไฟฟ้า

การพัฒนารถไฟฟ้าควรดำเนินการในใจกลางเมือง และอนุญาตให้ใจกลางเมืองสร้างอาคารได้สูง ๆ โดยกำหนดอัตราส่วนพื้นที่ก่อสร้างต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) เป็น 20 เท่าต่อ 1 แต่ให้คิดภาษีการก่อสร้างเพิ่มเติม เพื่อนำเงินมาพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ทุกวันนี้อาคารต่าง ๆ จำเป็นที่ต้องมีที่จอดรถประมาณ 20-30% ของพื้นที่อาคารเพื่อการจอดรถ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ แต่หากพัฒนาระบบรถไฟฟ้าที่ดี ก็ให้ก่อสร้างที่จอดรถน้อยลงได้ อากาศก็จะดีขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโครงการ 2.2 ล้านล้านบาท รัฐบาลน่าจะจัดการประมูลให้เอกชนดำเนินการเช่นกรณี BTS แต่ต้องทำสัญญาให้รัดกุมเพื่อจะไม่ “เสียค่าโง่” เช่นที่ผ่าน ๆ มา และให้แต่ละระบบสามารถประสานงานร่วมกันได้ด้วย

การลงทุนขนาดใหญ่นี้ อาจมีข้อครหาถึงความโปร่งใสต่าง ๆ คสช. ซึ่งมีภารกิจหลักในการรักษาความสงบเป็นสำคัญ จึงไม่ควรดำเนินการเอง แต่เมื่อรักษาความสงบแล้ว ก็ควรจัดการเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว เพื่อให้ได้รัฐบาลปกติ ซึ่งนานาชาติเชื่อถือให้สามารถกู้เงินมาดำเนินโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ ต่อไป.

คอลัมน์ : กูรู'ส่อง'อสังหาฯ
ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 148, 149, 150  Next
Page 24 of 150

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©