RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181755
ทั้งหมด:13492993
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 49, 50, 51 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2017 11:54 am    Post subject: Reply with quote

*“ฮิตาชิ” เล็งส่งคณะมาไทย สนผลิตตู้รถไฟฟ้าในอีอีซี*

รมว.คมนาคมเผยผลหารือตัวแทนฮิตาชิ ไทยเสนอให้ลงทุนอุตสาหกรรมสมัยใหม่รองรับเศรษฐกิจดิจิตอล เผยฝ่ายญี่ปุ่นสนใจผลิตตู้รถไฟฟ้าในอีอีซีแต่ต้องการันตีความต้องการ 1,000 ตู้ขึ้น โดยไทยเตรียมทำแผนแม่บทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมรถไฟในเขต CLMV รองรับ คาดฮิตาชิส่งคณะมาไทยเร็วๆ นี้

วันนี้ (6 มิ.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการหารือร่วมกับตัวแทนบริษัทฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น ที่โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว เมื่อช่วงบ่ายวานนี้ว่า ปัจจุบันไทยเป็นลูกค้าของฮิตาชิในการซื้อหัวรถจักรดีเซลอยู่แล้ว และรถไฟฟ้าสายสีแดงก็จะใช้ระบบรถของฮิตาชิ ซึ่งจะมีประมาณ 130 กว่าตู้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ จะเริ่มผลิตได้ในปีหน้า และทยอยส่งมอบในปี 2562 ซึ่งเราก็อยากให้เขาเร่ง แต่ว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นดำเนินงานในรูปแบบบริษัทร่วมค้าระหว่างฮิตาชิ กับซูมิโตโม และมิตซูบิชิที่ดูเรื่องระบบอาณัติสัญญาณ

นายอาคมกล่าวอีกว่า ฮิตาชิมีธุรกิจหลายอย่างในไทย เช่น การผลิตลิฟต์ บันไดเลื่อน มีศูนย์อยู่ในประเทศไทย แต่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี อยากให้มองธุรกิจอื่น นอกเหนือจากเครื่องไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตด้วย โดยอยากให้เขามองถึงการลงทุนในไทยเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ซึ่งทางฮิตาชิ ยอมรับว่าไม่ได้คิดเรื่องนี้ เราก็บอกว่าเรากำลังจะมุ่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิตอล ที่เราอยากได้เช่นการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อบริการจราจร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทางฮิตาชิก็มีความเชี่ยวชาญเรื่องระบบความปลอดภัย เช่น ระบบกล้องซีซีทีวี ซึ่งทางฮิตาชิจะมีคณะทำงานมาดูลู่ทางลงทุนในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะ ซึ่งเราก็บอกว่าเขามีโอกาสเพราะเป็นเขตอุตสาหกรรมยุคใหม่ มีการคมนาคมทันสมัย ซึ่งเขาบอกว่าเขาจะมาเร็วๆ นี้ และทางเราจะมีคณะทำงานดูแลเป็นพิเศษ และจะให้บีโอไอให้รายละเอียด

นายอาคมกล่าวอีกว่า ทางฮิตาชิมีเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ การผลิตระบบรถไฟฟ้าป้อนให้ประเทศต่างๆ ขณะนี้มีอังกฤษเป็นตลาดหลัก ประมาณ 1,500-1,600 ตู้ ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีแดงในไทยมี 130 กว่าตู้ เราจึงเชิญชวนให้เขามาตั้งโรงงานประกอบและซ่อมบำรุงในไทย รวมทั้งทำตลาดในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ในกลุ่มประเทศกัมพูชา-ลาว-พม่า-เวียดนาม (CLMV) กลุ่มอาเซียน ซึ่งถ้ามีความต้องการที่มากพอเขาก็สนใจเข้ามาลงทุน แต่ขอหลักประกันว่าต้องมีความต้องการ 1,000 ตู้ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้าในไทยแต่ละสายก็จะใช้คนละยี่ห้อ ถ้าความต้องการฮิตาชิยี่ห้อเดียวอาจไม่พอ ซึ่งทางฮิตาชิก็พร้อมที่จะกลับไปคิดดู โดยปัจจุบันฮิตาชิมีลูกค้าหลักอยู่ที่อังกฤษ และไต้หวัน และถ้าเข้ามาลงทุนในไทยเขาก็ต้องหาตลาดเอง แต่ก็มีตลาดใน CLMV รองรับ ซึ่งเราต้องทำแผนแม่บทในการทำโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันในกลุ่ม CLMV ในการเชื่อมโยงทางรถไฟ ซึ่งตอนนี้เรายังเชื่อมทางรถไฟระหว่างกันไม่ครบ

อนึ่ง เมื่อเวลา 15.30-16.15 น.วันนี้ที่ 5 มิ.ย. ตามเวลาท้องถิ่น ตัวแทนบริษัทฮิตาชิ ประกอบด้วย นายฮิกาชิฮารา ประธานและซีอีโอ นายทานาเบะ รองประธานอาวุโส นายโอกะ หัวหน้าสายธุรกิจระบบราง และนายยามากาวา ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจระบบราง ได้เข้าพบปะหารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ และนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม ที่โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2017 4:25 pm    Post subject: Reply with quote

อุปกรณ์ก่อสร้างรถไฟฟ้าหล่นใส่กระจกรถแตกยับ
โดย MGR Online 12 มิถุนายน 2560 15:25 น.

วันนี้ (12 มิ.ย.) ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Pop PastelSecret ได้โพสต์ภาพพร้อมระบุข้อความว่า "อุปกรณ์การก่อสร้างรถไฟฟ้าบริษัทอิตาเลี่ยนไทยหล่นทะลุเข้ามาในรถยนต์ผมตรงสถานีรถไฟฟ้าบางเขนครับ" ทั้งนี้ จุดเกิดเหตุอยู่บริเวณไซต์งานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีบางเขน

Arrow https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155409209529938&set=a.250173239937.136577.572074937
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/06/2017 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อุปกรณ์ก่อสร้างรถไฟฟ้าหล่นใส่กระจกรถแตกยับ
โดย MGR Online 12 มิถุนายน 2560 15:25 น.

ซ้ำซาก! เหล็กฉากไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้าสีแดงสถานีบางเขน หล่นใส่เก๋งนักบินหนุ่มทะลุกระจกหวิดดับ
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม
12 มิถุนายน 2560 16:48 น. (แก้ไขล่าสุด 12 มิถุนายน 2560 17:05 น.)


MGR Online - หนุ่มนักบินหวิดสิ้นชื่อ โร่แจ้งความ ตร.เหล็กฉาก ไซต์งานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง บางเขน หล่นใส่หลังคากระแทกทะลุกระจก ฝั่งคนขับ ด้านบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ยังเงียบไม่มีคำตอบ

วันนี้( 12 มิ.ย.)เมื่อเวลา 12.00 น. นายธนกฤต ถนอมเกียรติกร อายุ35 ปี อาชีพนักบินสายการบินเอกชนแห่งหนึ่งเดินทางเข้าแจ้งความกับ ร.ต.ท.อนุชิต ชาติชูเหลี่ยม รองสว.(สอบสวน) สน.ทุ่งสองห้องหลังรถเก๋งนิสสัน ทะเบียน 3 กฒ 5925 กรุงเทพ ของตนเองถูกเหล็กฉากตกมาจากไซต์งานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงบางเขน ใส่กระจกหน้ารถและหลังคาได้รับความเสียหาย

จากการสอบสวนนายธนกฤตให้การว่า ตอนเวลา 10.30 น.ขับรถมาตามถนนวิภาวดีรังสิตเบี่ยงเข้าถนนกำแพงเพชร 6 (โลคัล โรด) ขับผ่านแยกบางเขน ระหว่างที่ขับอยู่นั้นก็มีเหล็กตกกระแทกรถอย่างแรง ซึ่งเหล็กดังกล่าวตกลงมาจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง เป็นสถานีบางเขนอยู่ระหว่างการก่อสร้าง จึงเข้าแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ก่อนจะนำรถไปซ่อมเพราะกระจกหน้าแตกและหลังคายุบได้รับความเสียหายอย่างมาก ทางเจ้าหน้าที่รับแจ้งข้อความก่อนจะเรียกทั้งสองฝ่ายมาสอบปากคำเพื่อหาข้อเท็จจริงต่อไป

ทั้งนี้การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นดำเนินงานโดยบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเคยเกิดเหตุเครนหล่นทับคนงานเมื่อคืนวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจนมีคำสั่งพักงานไปแล้ว จนกลับมาดำเนินการก่อสร้างต่อแต่ก็มาเกิดเหตุล่าสุดจนได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2017 11:12 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เผยผู้รับเหมาสะเพร่า ทำไม้ฉาบปูนหล่นทะลุกระจกเก๋ง เรียก บ.อิตาเลียนไทยแจง
มติชน
วันที่ 12 มิถุนายน 2560 - 19:25 น.

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน นายจเร รุ่งฐานีย วิศวกรใหญ่ ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ได้รับรายงานข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่ามีเหตุไม้สามเหลี่ยมฉาบปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างได้หล่นใส่กระจกรถของประชาชนที่ขับรถผ่านบริเวณดังกล่าว พบว่าเป็นพื้นที่ก่อสร้างของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยเหตุดังกล่าวทำให้กระจกรถได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในช่วงดังกล่าว

ทั้งนี้จากการสอบ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นพบว่าสาเหตุเกิดขึ้นจากผู้รับเหมาสะเพร่า ติดตั้งแผ่นรองรับวัสดุตกหล่นจากการก่อสร้างไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่กำหนด โดยกรณีนี้พบว่าผู้รับเหมาได้มีการติดตั้งแผ่นสแลนรองรับไว้แล้ว แต่ไม่ครอบคลุมมีช่องว่างบางส่วน และในกรณีนี้ไม้สามเหลี่ยมตกหล่นมาตรงช่องว่างพอดีจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งกรณีนี้ผู้รับเหมาและบริษัทที่ปรึกษาจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ


โดยในวันที่ 13 มิ.ย. รฟท.จะเชิญบริษัทอิตาเลียนไทยฯ และบริษัทที่ปรึกษา มาชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อน เพื่อพิจารณาว่าจะมีมาตรการลงโทษอย่างไร หากสรุปได้ว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบของการก่อสร้าง รฟท.อาจจะต้องลงโทษด้วยการให้ผู้รับเหมาและบริษัทที่ปรึกษาในฐานะผู้ควบคุมออกจากพื้นที่ก่อสร้าง

__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2017 11:25 pm    Post subject: Reply with quote

จ่อเพิ่มบทปรับรับเหมาเกิดเหตุซ้ำซาก ถึงขั้น black list หลังสีแดงเกิดเหตุถี่
โดย MGR Online
13 มิถุนายน 2560 20:46 น.


ผู้บริหาร อิตาเลียนไทยฯ พบ “พิชิต” ยอมรับมาตรการยังไม่ดีพอ จนเกิดเหตุสายสีแดงซ้ำซาก ร.ฟ.ท.สั่งหยุดก่อสร้างในที่สูงทั้งหมดหลังล่าสุดเกิดเหตุเหล็กฉาบปูนตกใส่รถยนต์ พร้อมสั่งเปลี่ยนวัสดุป้องกันของตก จากสแลนเป็นผ้าใบหรือวัสดุอื่นที่ดีกว่า พร้อมเตรียมเพิ่มบทลงโทษในสัญญาก่อสร้างในอนาคตเพื่อป้องปรามอีกชั้น เริ่มตั้งแต่ปรับ ไปจน ขึ้นบัญชีดำ

นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ITD และนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เกี่ยวกับมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งล่าสุดเมื่อ วันที่ 12 มิ.ย. เกิดเหตุเหล็กฉาบปูนตกจากไซต์งานก่อสร้าง สถานีบางเขน ใส่รถยนต์ด้านล่างจนได้รับความเสียหาย ว่า ยอมรับว่าแม้จะมีการกำชับในเรื่องมาตรการความปลอดภัยในการก่อสร้างตามหลักมาตรฐานสากลแล้วแต่ยังมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งได้ให้เข้มงวดมาตรการมากขึ้น โดยให้ผู้ตรวจสอบ ทั้ง 3 ระดับ คือวิศวกรของผู้รับจ้าง,ที่ปรึกษาคุมงานก่อสร้าง(CSC) และ คณะกรรมการผู้มีอำนาจสั่งหยุดงาน ( WSC) เพิ่มความถี่ของการตรวจสอบหรือให้มีการตรวจซ้ำโดยเฉพาะจุดที่ยังไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัย

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องปราม จะมีการพิจารณาเพิ่มบทลงโทษในสัญญาก่อสร้างในอนาคต โดยจะเป็นมาตรการทั้งด้านวินัย (ปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงาน) , บทลงโทษปรับเป็นเงิน โดยกำหนดระดับของเหตุการณ์เช่น กรณี มีผู้บาดเจ็บ กรณีมีผู้เสียชีวิต หรือชะลอการจ่ายค่างวด ส่วนกรณีที่เหตุร้ายแรง อาจจะถึงขั้น ขึ้นบัญชีดำ (Black List) ซึ่งทางร.ฟ.ท. จะเร่งพิจารณาข้อกฎหมายก่อนสรุปและนำมาเขียนในสัญญาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

นายพิชิตกล่าวว่า เมื่อเหตุเหล็กฉาบปูนหล่นทะลุ ตาข่ายหรือสแลนลงมาได้สั่งการให้ ITDหยุดงานก่อสร้างในที่สูงไว้ก่อนซึ่งผู้บริหาร ITD ชี้แจงว่า จุดก่อสร้างดังกล่าวจำเป็นต้องเปิดให้มีการสัญจรด้านล่าง ดังนั้นจึงสั่งให้เปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันของตกหล่น จากสแลน เป็นวัสดุทึบ เช่น ผ้าใบหรือไม้อัด เพื่อป้องกันกรณีของหล่นแล้วทะลุลงมาด้านล่าง พร้อมกันนี้ได้กำชับมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ล่าสุดทาง ผู้บริหาร ITD ยอมรับว่า จะต้องเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นแม้ว่า ที่ผ่านมาจะระมัดระวังมากแล้ว พร้อมทั้งยืนยันที่จะดูแลชดเชยเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายทันที อย่างเหมาะสม เป็นธรรม และพอใจ โดยไม่รอกระบวนทางกฎหมาย

ส่วนเหตุโครงสร้างของ support launcher รถไฟสายสีแดงหล่น เมื่อวันที่ 28 เม.ย. บริเวณหน้าวัดดอนเมือง จนทำให้คนงานเสียชีวิต 3 ราย นั้น ปัจจุบันยังให้ ITD หยุดงานอยู่ และอยู่ในขั้นตอนการสรุปแนวทางการตรวจสอบ จากคณะกรรมการผู้มีอำนาจสั่งหยุดงาน ( WSC) ซึ่งมีผู้แทน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ( ไจก้า), วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ,กระทรวงแรงงาน,ร.ฟ.ท. และตรวจสอบ launcher ที่มีประมาณ 4-5 ตัว และหากพบว่ามีความพร้อมจะอนุมัติให้เริ่มทำงานได้

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการหยุดก่อสร้างในจุดที่เกิดอุบัติเหตุอาจทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าออกไปซึ่งผู้รับเหมาจะต้องปรับแผนเพื่อเร่งงานก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญาหากไม่ทันจะต้องถูกปรับ และไม่สามารถนำมาอ้างเป็นเหตุของต่อสัญญาได้ เพราะถือเป็นความผิดของผู้รับจ้างเอง ซึ่งอาจจะต้องเพิ่มคน เพื่อเครื่องมือในงานที่ล่าช้า

โดย บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นรับจ้างสัญญาที่ 2 สายสีแดงมูลค่า21,235,400,000 บาท เริ่มสัญญาวันที่ 4 มี.ค. 2556-10 ก.พ. 2560 (1,440 วัน) ได้รับการขยายเวลาก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือกรณีขึ้นค่าแรง 300 บาทตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)โดยสัญญาจะสิ้นสุดในเดือนก.ค. 2560 และอยู่ระหว่างพิจารณาขยายออกไปอีกจนถึงเดือนก.พ. 2561
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2017 3:09 am    Post subject: Reply with quote

7 ความชุ่ย! เหยื่อความซวย แนวก่อสร้างสายสีเลือด!!
โดย ผู้จัดการรายวัน
13 มิถุนายน 2560 19:50 น.
เฉียดตายเพราะเข้าใกล้แนวรถไฟฟ้า เหตุเพราะผู้รับเหมาสะเพร่า เหล็กหล่น - ปูนสาด - คานร่วง - เครนถล่ม- ไม้ฉาบปูนเสียบฯลฯ เกิดปัญหาซ้ำซากจน ร.ฟ.ม. เล็งยกเลิกสัญญา ชุ่ยบ่อยไปมั้ยถามใจดู!

เกือบได้กลายเป็นฉากในภาพยนตร์เรื่อง Final destination เสียแล้ว เมื่อ ธนกฤต ถนอมเกียรติกร นักบินของสายการบินเอกชนแห่งหนึ่ง ถูกวัตถุคล้ายเหล็กรูปทรงยาวตกลงใส่กระจกรถของเขา ห่างจากตำแหน่งที่นั่งคนขับไปเพียงไม่กี่นิ้ว ในขณะที่เขากำลังขับรถผ่านบริเวณไซต์งานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงบางเขน ซึ่งผลของเหตุการณ์นั้น ทำให้กระจกรถแตกร้าวเป็นวงกว้างและหลังคารถได้รับความเสียหาย ส่วนตัวเขาเองไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ เขาจึงถ่ายภาพและโพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัวประกอบข้อความ “อุปกรณ์การก่อสร้างรถไฟฟ้าบริษัทอิตาเลี่ยนไทยหล่นทะลุเข้ามาในรถยนต์ผม ตรงสถานีรถไฟฟ้าบางเขนครับ”





อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นล่าสุด ทำให้ทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ต้องกลับมาคิดทบทวนถึงการก่อสร้างภายใต้การดูแลของบริษัทผู้รับเหมายักษ์ใหญ่รายนี้ ว่าในอนาคตจะมีการลงดาบบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ด้วยการยกเลิกสัญญาหรือขึ้นบัญชีดำหรือไม่ แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด ได้มีการพักงานก่อสร้างชั่วคราวไว้ก่อน

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดอุบัติเหตุจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าไม่เพียงแค่สายสีแดง หากยังจำกันได้ ยังมีอีกหลายต่อหลายเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินมาแล้วทั้งสิ้น

ย้อนกลับไปครั้งที่ 1 วันที่ 26 เมษายน 2556 กำแพงคอนกรีตจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เกิดหล่นใส่รถยนต์บริเวณแยกเตาปูน อุบัติเหตุในครั้งนั้นทำให้แท็กซี่ได้รับความเสียหาย และมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 1 คน





ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นใน 6 มิถุนายน ปีเดียวกัน เกิดเหตุแท่งเหล็กเส้นขนาด 4 X 4 นิ้ว ยาวประมาณ 10 เมตร อยู่ในระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงสถานีเตาปูน หล่นลงมาทับรถแท็กซี่และรถยนต์ ที่กำลังวิ่งอยู่บนถนนประชาราษฎร์สาย 2 จำนวน 4 คันได้รับความเสียหาย และมีผู้บาดเจ็บ 1 คน เป็นผู้หญิงที่โดยสารมากับรถแท็กซี่นั่นเอง จุดก่อสร้างสถานีเตาปูนนี้มีกิจการร่วมค้าซีเคทีซี (CKTC JOINT VENTURE) ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด

เวลาผ่านไปจนถึงปี 2560 เรียกได้ว่าเป็นปีทองของการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าก็ว่าได้ เพราะผ่านไปเพียงแค่ครึ่งปีเท่านั้น อุบัติเหตุเกิดขึ้นมาติดๆ กันถึง 5 ครั้งรวด!





ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นวันที่ 17 มี.ค. 60 เกิดเหตุการณ์ที่คานเหล็กจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว น้ำหนักกว่า 1 ตัน หล่นทับรถยนต์นิสสัน มาร์ช สีเขียว แต่โชคดีที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากคานเหล็กหล่นมายังกระโปรงหน้า ไม่ถึงด้านห้องโดยสาร โดยที่เกิดเหตุอยู่บนถนนพหลโยธินขาเข้า ก่อนถึงฝั่งตรงข้ามห้างฯ เมเจอร์รัชโยธิน 500 เมตร มีบริษัทอิตาเลี่ยนไทยเป็นผู้ดูแล





ครั้งที่ 4 เกิดขึ้นวันที่ 21 มี.ค. 60 น้ำปูนจากไซต์งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว เทลงใส่รถยนต์หลายคันบริเวณหน้าโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช บนถนนพหลโยธิน ส่งผลให้รถยนต์มิตซูบิชิ แอททราจ ถูกห่อหุ้มไปด้วยน้ำปูนได้รับความเสียหายภายนอกเกือบตลอดทั้งคัน ผู้รับผิดชอบการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว สัญญาที่ 2 ช่วงสะพานใหม่-คูคต คือบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)





ครั้งที่ 5 เกิดขึ้นวันที่ 28 เม.ย. 60 อุบัติเหตุครั้งนี้กลายเป็นโศกนาฏกรรม เพราะมีผู้เสียชีวิตถึง 3 ราย โดยทั้งหมดเป็นคนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากเครนทำงานผิดปกติ เมื่อผู้ควบคุมฝืนยกน้ำหนักเกินกว่าที่เครนจะรับได้ ทำให้ฐานรองรับแท่นเครนทั้งหมดหล่นลงมาพร้อมกับคนงาน 3 คนที่กำลังควบคุมอยู่ด้านบน ทำให้ทั้งหมดเสียชีวิต โดยที่เกิดเหตุอยู่บริเวณหน้าวัดดอนเมือง โดยมีบริษัทอิตาเลี่ยนไทยรับผิดชอบ





ครั้งที่ 6 เกิดขึ้นวันที่ 7 มิ.ย.60 แม้จะไม่มีอะไรหล่นลงมา แต่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่คนบนโลกโซเชียลฯ ให้ความสนใจไม่น้อย เพราะรถเครนที่ใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว เกิดเสียหลักชี้ฟ้า ใกล้โรงเรียนนายเรืออากาศ ประกอบกับฉากหลังที่เป็นเครื่องบินจำลองจากโรงเรียนดังกล่าว ทำให้ภาพที่ออกมานั้น ดูคล้ายกับภาพยนตร์หุ่นยนต์ชื่อดังเรื่อง “ทรานฟอเมอร์” แม้เหตุการณ์นี้ไม่มีผู้ในได้รับบาดเจ็บ แต่ทำให้รถติดยาวแทน เนื่องจากผู้คนชะลอดูรถเครนที่กำลังเสียหลักอยู่





และล่าสุดครั้งที่ 7 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.60 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม้ฉาบปูนหล่นใส่กระจกรถของนักบินหนุ่ม จนทะลุเข้ามาในห้องโดยสาร ห่างจากคนขับไปเพียงไม่กี่นิ้ว โชคดีที่เจ้าของรถไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่กระจกรถและหลังคาได้รับความเสียหายหนัก ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบริเวณแนวการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงภายใต้การดูแลของบริษัทอิตาเลี่ยนนั่นเอง

อุบัติเหตุทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น ผู้รับเหมาหลายรายยอมรับเองว่าเกิดจาก “ประมาท” ของตนเอง แม้หลายครั้งที่จะมีการสั่งพักงานไปก่อน แต่สุดท้ายก็มีการกลับมาก่อสร้างต่อ จนเกิดเหตุซ้ำอีกอยู่ดี

ในเมื่ออะไรต่อมิอะไรหล่นบ่อยขนาดนี้ และหวังพึ่งการรักษาความปลอดภัยจากบริษัทผู้รับเหมาไม่ได้ เห็นทีต่อไปผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องผ่านเส้นทางที่กำลังก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ จะระวังแค่ซ้าย - ขวาคงเห็นทีจะไม่พอ คงต้องระวังข้างบนด้วย เพราะไม่รู้ว่าอะไรจะร่วงลงมา และหากทาง ร.ฟ.ม. ยังไม่เด็ดขาดกับบริษัทเหล่านี้ เหตุการณ์ลักษณะนี้คงไม่จบแค่ครั้งที่ 7 แน่นอน...

ขอบคุณภาพประกอบ : เฟซบุ๊ก “Pop PastelSecret” , “FM91 Trafficpro” , “Uri Lemon” และ ทวิตเตอร์@js100radio
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2017 4:55 pm    Post subject: Reply with quote

ขู่ขึ้นบัญชีดำกลุ่ม'ไอทีดี'คุมก่อสร้าง
เศรษฐกิจภาครัฐ
15 มิถุนายน 2560 เวลา 07:13 น.

ผู้บริหารพักการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีแดง หลังเกิดเหตุอุปกรณ์หล่นใส่รถ
โดย MGR Online
14 มิถุนายน 2560 15:52 น. (แก้ไขล่าสุด 14 มิถุนายน 2560 15:54 น.)

นายธนกฤต ถนอมเกียรติกร ผู้เสียหายจากกรณีถูกชิ้นส่วนอุปกรณ์ประกอบการก่อสร้าง โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบางเขน หล่นใส่รถยนต์จนกระจกหน้ารถและหลังคาได้รับความเสียหาย ได้โพสต์ข้อความผ่านเเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "สำหรับการเจรจากับผู้ที่เกี่ยวข้องวันนี้ ผ่านไปด้วยดีครับ ทางผู้บริหารได้หยุดการก่อสร้างพื้นที่สูงและทำการทบทวนระบบความปลอดภัยในการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีกครั้ง ซึ่งผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย ส่วนการเยียวยาทางจิตใจ การตรวจร่างกายและกระเช้าขอขมา ที่มอบมาให้ก็ถือได้ว่าเป็นไปตามความเหมาะสมครับ สุดท้ายผมขอขอบคุณพี่น้องสื่อทุกแขนงนะครับ ที่ให้ความสำคัญกับข่าวนี้เป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการมาตรฐานความปลอดภัยมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้อย่างจริงจัง จึงอยากขอให้สื่อช่วยติดตามความเปลี่ยนแปลงเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยกับทุกการก่อสร้างและประชาชนทุกท่านก็ช่วยกันเป็นกระบอกเสียงแจ้งข่าวได้เช่นกันครับ"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/06/2017 11:24 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟแจงยิบสร้างสายสีแดงช้าติดปรับแบบ-รื้อย้ายท่อน้ำมัน ยันค่าเคลม800ล้านยังไม่ได้จ่ายผู้รับเหมา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 16 มิ.ย. 2560 เวลา 18:33:21 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า กรณีมีประเด็นการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ล่าช้ากว่ากำหนดเวลาและงบประมาณบานปลายนั้น มีรายละเอียดข้อเท็จจริงคือ

โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2550 วงเงิน 59,888 ล้านบาท ในงานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ค่ารื้อย้าย ค่าจ้างที่ปรึกษา และเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด โดยไม่รวมการจัดซื้อขบวนรถ

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2552 ครม.ได้อนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 75,548 ล้านบาท เนื่องจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) กำหนดเงื่อนไขในการให้เงินกู้โดยให้รวมค่างานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้าเข้าไปด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีขบวนรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแก่ประชาชน

อีกทั้งการออกแบบงานระบบอาณัติสัญญาณ การควบคุมการเดินรถ ระบบจ่ายไฟฟ้า และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการให้ถูกต้อง สอดคล้อง เป็นระบบที่สัมพันธ์กับผู้ผลิตรถ

ปัจจุบันแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 สัญญา ได้แก่

1.สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างงานโยธาสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง

2.สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต

3.สัญญาที่ 3 งานระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2559 หลังจากที่ประกวดราคาครบทั้ง 3 สัญญา มติ ครม.ปรับกรอบวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นอีก จำนวน 93,950 ล้านบาท (โดยแยกเป็นช่วงบางซื่อ-รังสิต 88,003 ล้านบาท และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 5,947 ล้านบาท) เนื่องจากการปรับราคาให้เป็นปัจจุบัน ณ ช่วงเวลาที่ประกวดราคา และการแก้ไขแบบรายละเอียด ซึ่งประกอบด้วยงานหลักๆ ดังนี้

1.การปรับรูปแบบสถานีกลางบางซื่อ ทั้งในส่วนของชานชาลา การเพิ่มโครงสร้างทางวิ่ง และการปรับแนวเส้นทางการเดินรถของโครงการระบบขนส่งมวลชนฯ (สายสีแดง) ให้สอดคล้องกับแนวเส้นทางรถไฟประเภทต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2.การแก้ไขแบบทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยเพิ่มจาก 3 ทางวิ่ง เป็น 4 ทางวิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถ และปรับโครงสร้างความกว้างของสถานีรายทาง

สำหรับประเด็นที่มีข่าวเกี่ยวกับ ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้บริษัทเอกชนเป็นจำนวนเงิน 800 ล้านบาท เนื่องจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้ากว่ากำหนดนั้น เงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่ผู้รับจ้างที่ขอชดเชยจากการขยายอายุสัญญา เนื่องจากการปรับรูปแบบการก่อสร้าง และความล่าช้าในการรื้อย้ายท่อน้ำมันบริเวณสถานีกลางบางซื่อ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา ยังไม่ได้มีการจ่ายค่าชดเชยให้ผู้รับจ้าง ซึ่งรถไฟฯ จะดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขออนุญาตใช้พื้นที่ที่มีการส่งมอบล่าช้าต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2017 3:42 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เคาะขยายสัญญารถไฟสายสีแดง
โพสต์ทูเดย์
21 มิถุนายน 2560 เวลา 15:20 น.

รฟท.เคาะขยายสัญญารถไฟสายสีแดง เร่งต่อรองเอกชนเคลียร์ค่าโง่ ลุยขายซองทางคู่ 5 สัญญา 3.6 หมื่นล้านบาท

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ กรรมการและรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารกิจการ (บอร์ด) รฟท. มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 2 ภายหลังจากที่รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาได้ตามกรอบเวลาที่กำหนดส่วนการขยายระยะเวลาครั้งนี้จะสั้นลงเนื่องจากขยายเวลาให้ผู้รับเหมาไปแล้ว 150 วัน เพื่อชดเชยผลกระทบเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทในอดีต

สำหรับสัญญาที่ 1 การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล มูลค่า 29,640 ล้านบาท ของกิจการร่วมค้าเอสยู ซึ่งประกอบด้วยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECและบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอน์ด คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บอร์ดเห็นชอบขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปประมาณ 800 วัน ให้กำหนดสิ้นสุดสัญญาในปี 2562

ส่วนด้านสัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟบางซื่อ-รังสิต 6 สถานี ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร มูลค่า 23,925 ล้านบาท ของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD บอร์ดเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาออกไปประมาณ 200 วัน ให้กำหนดสิ้นสุดสัญญาปี 2561

นายอานนท์กล่าวต่อว่า สำหรับค่าโง่หรือค่าชดเชยโครงการที่รฟท.ต้องจ่ายให้เอกชนรวม 800-900ล้านบาทให้กับผู้รับเหมาทั้งสองสัญญานั้นบอร์ดยังไม่พิจารณาเห็นชอบเพราะวงเงินดังกล่าวเป็นข้อเสนอเอกชนฝ่ายเดียว รฟท.จึงต้องกลับไปพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้งว่าภาคเอกชนได้รับความเสียหายจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้ามากน้อยเพียงใด ซึ่งสัญญาก็ระบุว่า รฟท.ต้องจ่ายค่าชด
เชยให้เอกชนตามความเหมาะสมอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ระบุว่าต้องจ่ายเมื่อใด เพราะฉะนั้นจึงพอมีระยะเวลาในการเจรจา

นายอานนท์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด ยังได้พิจารณาปรับเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ ราคากลาง 9,326.83 ล้านบาท เพราะมีภาคเอกชน 2-3 ราย เข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง) ว่า ร่าง ทีโออาร์ดังกล่าวกำหนดให้เอกชนต้องมีผลงานการก่อสร้างอุโมงค์หิน ซึ่งทำให้บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นเอกชนไทยรายเดียวที่สามารถเข้าประมูลแบบเดี่ยวได้

นายอานนท์ กล่าวต่อว่า รฟท.ได้เริ่มเปิดขายซองตั้งแต่วันที่ 20มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเปิดซองประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ที่ซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้างสั่งให้เปิดประมูลใหม่อีก 5 สัญญา มูลค่ารวม 36,244 ล้านบาท ได้แก่

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – บางสะพานน้อย ราคากลาง 6,579 ล้านบาท และ
สัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย – ชุมพร ราคากลาง 6,071 ล้านบาท

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา–คลองขนานจิตร ราคากลาง 7,721 บาท และ
สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร–ชุมทางถนนจิระ ราคากลาง 7,060 ล้านบาท และ

โครงการก่อสร้างถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ
สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค – ปากน้ำโพ ราคากลาง 8,813 ล้านบาท

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ - โคกกะเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) วงเงิน 10,091 ล้านบาทนั้น บอร์ด มีมติให้ใช้ร่าง ทีโออาร์ฉบับเดิมที่นำขึ้นรับฟังความคิดเห็น เพราะทีโออาร์ ดังกล่าวเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลแบบเดี่ยว 5-6 ราย ซึ่งเพียงพออยู่แล้ว และจะเปิดขายซองประกวดราคาต่อไปในเร็วๆ นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2017 10:00 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ฯเติมเต็มโครงข่ายการเดินทางอย่างสมบูรณ์
ออนไลน์เมื่อ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,271 วันที่ 18 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แม้ว่าขณะนี้รถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างการเร่งก่อสร้าง แต่หากจะเปิดให้บริการแบบครบเต็มเส้นทางจริงๆนั้นยังคงมีอีกหลายช่วงที่จะต้องเร่งดำเนินการให้สามารถเปิดให้บริการได้อย่างสอดคล้องกัน โดยเฉพาะเส้นทางช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่จะเชื่อมโซนเหนือของกรุงเทพฯซึ่งเข้าสู่พื้นที่จังหวัดปทุมธานีด้วยนั้นให้สามารถอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อและหัวลำโพงตลอดจนพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น

สำหรับช่วงที่เหลือของโซนเหนือระยะทางอีกประมาณ 10 กิโลเมตรจะเชื่อมถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตนั้นจัดอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟสายสีแดงเข้ม เพิ่มจากช่วงบางซื่อ-รังสิตอีก 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ เป็นแนวเส้นทางระดับพื้นดิน ขนาดราง 1 เมตร(มิเตอร์เกจ)


นอกจากนั้นร.ฟ.ท.จะก่อสร้างทางรถไฟใหม่จำนวน 2 ทาง ใช้ระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนแนวเส้นทางเริ่มต้นจาก กม.32+350 ช่วงจุดสิ้นสุดของโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ไปสิ้นสุดที่กม.41+187 พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในแนวเขตทางรถไฟ พร้อมสร้างรั้ว 2 ข้างทางตลอดแนวเส้นทาง ก่อสร้างสะพานลอยจำนวน 3 แห่งเพื่อแก้ไขปัญหาทางลักผ่าน

โดยจะให้มีบริการทุกๆระยะเวลา 20 นาที พร้อมหยุดรับ-ส่งทุกสถานี โดยขบวนรถที่จะนำมาให้บริการสามารถใช้ร่วมกับขบวนรถช่วงบางซื่อ-รังสิตได้ทันที ดังนั้นช่วงดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องไปจัดซื้อขบวนรถมาวิ่งให้บริการประหยัดงบประมาณได้อีกมาก

ทั้งนี้ตามผลการศึกษาที่เกี่ยวกับการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารในช่วงดังกล่าวนี้ ในปี 2564 จะมีเที่ยวการเดินทางประมาณ 28,150 เที่ยวต่อวัน และจะเพิ่มเป็น 64,080 เที่ยวต่อวัน ในปี 2594 ส่วนการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ(EIRR) นั้นพบว่ามีจำนวน 24.61% มูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) 8,825 ล้านบาท

ล่าสุดอยู่ระหว่างลุ้นสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ร.ฟ.ท.ดำเนินโครงการในกรอบวงเงิน 6,570 ล้านบาท(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี(ปีงบประมาณ 2560-2564) พร้อมกับให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปีหรือกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้ตามความเหมาะสมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ เพื่อให้การก่อสร้างและการเปิดให้บริการในเส้นทางรถไฟสายสีแดงสามารถให้บริการได้ครบทั้งเส้นทางทั้งหมดโดยเร็วนั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 49, 50, 51 ... 147, 148, 149  Next
Page 50 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©