Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180090
ทั้งหมด:13491322
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 57, 58, 59 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2018 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

อีก 2 ปีได้ใช้รถไฟฟ้าสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ

ประจำวันที่ 26 พฤษภาคม 2561

สถานีกลางบางซื่อคืบหน้าแล้วกว่า 69% รฟท.มั่นใจ รถไฟฟ้าสายสีแดงพร้อมเปิดให้บริการปี 63...

การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ว่าขณะนี้ดำเนินการไปแล้วกว่า 69% โดยตัวสถานีจะมีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้น 1 เป็นชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร ชั้นที่ 2 สำหรับรถไฟทางไกล รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม และแดงอ่อน ส่วนชั้นที่ 3 จะเป็นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าความเร็วสูง และแอร์พอร์ตลิงก์ ที่อนาคตจะมาเชื่อมต่อกันที่สถานีกลางบางซื่อ นอกจากนี้ชั้นใต้ดินยังมีที่จอดรถประมาณ 1,700 คัน และยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ซึ่งจะสร้างความสะดวกสบายให้กับคนชานเมืองจากโซนรังสิต ดอนเมือง และฝั่งตลิ่งชันในการเดินทางเข้าเมืองเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อมั่นว่า สถานีกลางบางซื่อนั้นจะสร้างแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2562 ส่วนสถานีรายทางเกือบทุกสถานีของสายสีแดงเข้ม ไล่มาตั้งแต่รังสิตจนถึงจตุจักร ขณะนี้เสร็จแล้วเกือบ 100% ยกเว้นสถานีจตุจักร ซึ่งผูกติดอยู่กับสัญญาการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ โดยภาพรวมของโครงการเหลือเพียงการวางราง และระบบเดินรถเท่านั้น เช่นเดียวกับสายสีแดงอ่อนที่วิ่งมาจากตลิ่งชัน บางซ่อน มาบรรจบที่สถานีกลางบางซื่อ เหลือเพียงการวางระบบไฟฟ้าเหนือรางเท่านั้น จากนั้นในช่วงปี 2562 จะทยอยรับมอบรถไฟฟ้าจากญี่ปุ่น และทดลองระบบต่างๆ ก่อนเปิดให้บริการในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 อย่างแน่นอน.
https://www.youtube.com/watch?v=tAuzgV9Xejo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2018 12:16 pm    Post subject: Reply with quote

SRT สั่งซื้อ ระบบควบุมการเดินรถ European Train Control System (ETCS) จาก Thales เพื่อใช้กับรถไฟฟ้าสายสีแดง
https://www.smartrailworld.com/thailand-commuter-capacity-with-thales-etcs
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2018 7:32 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
SRT สั่งซื้อ ระบบควบุมการเดินรถ European Train Control System (ETCS) จาก Thales เพื่อใช้กับรถไฟฟ้าสายสีแดง
https://www.smartrailworld.com/thailand-commuter-capacity-with-thales-etcs


การรถไฟแห่งประเทศไทย นำทีมร่วมงานสัมมนา โดย บริษัท ริเวอร์ เอนจิเนียริ่ง และ บริษัท ทาเลส กรุ๊ป
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561 13:52:





นายจุลพงษ์ จุฬานนท์ (แถวล่างสุดคนที่ 2 จากซ้าย) ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ การรถไฟแห่งประเทศไทย นำทีมการรถไฟฯ เข้าร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการในหัวข้อ “ระบบควบคุมในการเดินรถไฟของยุโรป หรือ European Train Control System (ยูโรเปียน เทรน คอนโทรล ซิสเต็ม) ETCS คำตอบสำหรับการควบคุมเส้นทางเดินรถไฟที่มีความปลอดภัยสูงสุด" ซึ่งจัดทำโดย บริษัท ริเวอร์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด และพันธมิตรทางธุรกิจบริษัท THALES group (บริษัท ทาเลส กรุ๊ป ) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุดและระบบขนส่งที่มีผู้ใช้บริการกว่า 30 ประเทศทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทได้ร่วมมือกันและประกาศการเป็น Key Industrial Partner (คู่ค้าเชิงกลยุทธ์ ) อย่างเป็นทางการ ณ โรงแรมโนโวเทลสยาม
Back to top
View user's profile Send private message
mone
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/02/2009
Posts: 76

PostPosted: 12/06/2018 6:52 pm    Post subject: Reply with quote

ความขัดแย้งระหว่างชุมชนเดชาพัฒนากับการรถไฟแห่งประเทศไทย กรณีรั้วกั้นรถไฟฟ้าสายสีแดงปิดกั้นชุมชนที่อยู่บริเวณด้านเหนือของสถานีหลักหก ได้ข้อสรุปแล้วนะครับ

สรุปก็คือ การรถไฟฯ อนุญาตให้ชุมชนและเทศบาลนครรังสิตสร้าง “ถนนชั่วคราว” ในเขตรถไฟได้ครับ

โดยบริเวณดังกล่าว โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงจะไม่กั้นรั้วชิดเขตรถไฟตามพิมพ์เขียวเดิม แต่จะเว้นพื้นที่ไว้ให้ประมาณ 4 เมตร ตามความกว้างของถนนชั่วคราวที่จะก่อสร้างด้วยงบประมาณของเทศบาลนครรังสิต

การรถไฟฯ ให้เหตุผลในหนังสือราชการที่ส่งไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินฯ และเทศบาลนครรังสิตว่า เนื่องจากที่ผ่านมา พิมพ์เขียวเก่าไม่ได้รองรับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราชและกรุงเทพฯ-เชียงใหม่อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่แรก จึงไม่อาจคำนวณได้ว่าจะต้องมีการเวนคืนเพิ่มหรือไม่ ตอหม้อจะลงตรงจุดไหน อันเป็นสาเหตุให้การรถไฟฯ ไม่อนุญาตให้ชุมชนและเทศบาลสร้างถนนในเขตรถไฟ

แต่ในเวลานี้ การรถไฟฯ ค่อนข้างแน่ใจว่าจะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นจริง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจำเป็นต้องเวณคืนเพิ่มอีกประมาณ 13 เมตร จึงอนุญาตให้ชุมชนและเทศบาลสร้างถนน(ชั่วคราว)ใช้ไปก่อนได้ และเมื่อถึงเวลาสร้างรถไฟความเร็วสูงมาถึงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ชุมชนและเทศบาลต้องส่งคืนพื้นที่ให้การรถไฟฯ พร้อมกับร่วมกันออกแบบถนนของชุมชนกันอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้จะเป็นการสร้าง “ถนนถาวร” ในเขตรถไฟ โดยอาจอยู่ไม่ไกลจากตอหม้อรถไฟความเร็วสูงที่จะสร้างในอนาคต

ใครลงสำรวจพื้นที่ด้านเหนือของสถานีหลักหก บริเวณโรงซ่อมรถไฟของบริษัทเอกชนจนถึงป้ายหยุดรถคลองรังสิต จะเห็นได้ชัดเจนว่าแนวรั้วกั้นไม่ได้ชิดเขตรถไฟ ลองสังเกตดูนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2018 10:16 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.จ่อชง ครม.ตั้งบริษัทลูกสายสีแดง เดินรถพ่วงพัฒนาสถานียกเว้น “ดอนเมือง-รังสิต”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 05:19
ปรับปรุง: วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08:47




ร.ฟ.ท.เร่งตั้งบริษัทลูกเดินรถสายสีแดงหลังบอร์ดไฟเขียว พร้อมชงคมนาคมและ ครม.อนุมัติ “วรวุฒิ” เผยมอบภารกิจบริหารเดินรถไฟสายสีแดงและสิทธิ์พื้นที่สถานีรายทาง ยกเว้น บางซื่อ, ดอนเมือง, รังสิต ร.ฟ.ท.ต้องบริหารเอง เหตุสถานีใหญ่และมีรถไฟความเร็วสูงจอด

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ล่าสุดคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ได้เห็นชอบการจัดตั้งบริษัทลูกด้านบริหารสินทรัพย์ และบริษัทลูกรถไฟสายสีแดงแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทำรายงานเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป

ทั้งนี้ ขั้นตอนในการจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ จำกัด จะทำได้เร็วกว่า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่ เช่น บางซื่อ แปลง A, กม.11, แม่น้ำ พหลโยธิน ได้เร็ว ซึ่งจะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้จากทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเร็วไปด้วย

สำหรับการจัดตั้งบริษัทลูกเดินรถไฟสายสีแดง ซึ่งจะอัปเกรด บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (ผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) ในปัจจุบันขึ้นมา โดยเพิ่มขอบเขตงานและทุนจดทะเบียนเป็น 3,000 ล้านบาทนั้นมีรายละเอียดมากกว่า จึงใช้เวลาจัดตั้งมากกว่า

ขณะที่วัตถุประสงค์ของบริษัทลูกสายสีแดง จะทำหน้าที่บริหารการเดินรถไฟสายสีแดง (Operator). และได้รับสิทธิ์ในการบริหารพื้นที่ของสถานีรายทางของสายสีแดง ยกเว้น สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีรังสิต ซึ่งเป็นสถานีใหญ่ และมีระบบรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง จอด โดยสถานีใหญ่เหล่านี้ ร.ฟ.ท.จะดูแลเอง ซึ่งอาจจะมอบให้บริษัทลูกด้านบริหารทรัพย์สินฯ ดำเนินการ

“ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินภารกิจของบริษัทลูกสายสีแดง หลักการตอนนี้ บ.แอร์พอร์ตลิงก์ปัจจุบันจะต้องยุบภายใน 2 ปี ซึ่งในช่วงนี้จะมีการถ่ายโอนบุคลากรไปยังบริษัทเดินรถสายสีแดง ซึ่งต้องการบุคลากรประมาณ 600 คน”

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มรายได้จากการบริหารทรัพย์สินยังเป็นเป้าหมายหลักของ ร.ฟ.ท.แต่เนื่องจากต้องรอการพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่ ซึ่งจะเห็นเป็นรูปธรรมในอีก 1-2 ปี ดังนั้น จึงคาดว่าในปี 2562 รายได้ของรถไฟยังคงไม่เพิ่มมากกว่าปี 2561 มากเท่าใด.โดยปี 2561 คาดจะมีรายได้ประมาณ 9,000 ล้านบาท (เดินรถโดยสาร 4,000 ล้านบาท รถสินค้า 2,000 ล้านบาท ทรัพย์สิน 3,000 ล้านบาท) ประกอบกับรถไฟทางคู่จะทยอยแล้วเสร็จปี 2562 เช่น ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย แต่ยังไม่เห็นผลด้านการเพิ่มรายได้มากนัก เนื่องจากความจุของทางจะเพิ่มขึ้นเมื่อทางคู่ระยะแรกเสร็จหมดในปี 2566 ขณะที่ทางคู่เฟส 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2570 ซึ่งจะทำให้ปริมาณขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านตันต่อปี และผู้โดยสาร 80 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบัน 35 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/07/2018 5:48 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟชานเมืองสายสีแดง เพิ่มคุณภาพชีวิตคนเมือง-ศก.-
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 July 2018 - 07:00 น.
คอลัมน์ ช่วยกันคิด

โดย สิทธิพงษ์ อินจง, จิรวัส จันทรสุธา ทีมกรุ๊ป

Click on the image for full size

อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรในกรุงเทพมหานครแต่ละปี ก่อให้เกิดความแออัด และส่งผลให้เกิดความคับคั่งของการจราจรจากรถยนต์ส่วนบุคคลที่เพิ่มมากขึ้น สวนทางกับพื้นผิวจราจรที่มีอยู่อย่างจำกัด ระบบขนส่งสาธารณะทางรางจึงถูกผลักดันให้นำเข้ามาใช้ขนส่งผู้โดยสารในหลาย ๆ เส้นทาง เพื่อลดปัญหาการจราจร และตอบสนองความต้องการในการดำเนินชีวิตของคนเมืองที่มีความเร่งรีบ ซึ่งต้องการความสะดวกสบาย มีความรวดเร็ว และใช้ระยะเวลาที่แน่นอนในการเดินทาง

การนำรถไฟเข้ามาใช้ขนส่งผู้โดยสารในเขตเมืองดูจะเป็นทางออกของปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กระนั้นก็ยังคงมีจุดตัดทางรถไฟทางไกลที่วิ่งเสมอระดับคู่ไปกับถนน ทำให้รถยนต์ต้องหยุดรอเพื่อให้รถไฟวิ่งผ่าน ก่อให้เกิดปัญหารถติดในบริเวณเขตทางเดินรถไฟ

จากปัญหาการจราจรติดขัดอันเนื่องมาจากจุดตัดทางรถไฟ ทำให้รัฐบาลมีนโยบายในการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินรถไฟทางไกล จากเดิมที่วิ่งเสมอระดับไปเป็นวิ่งยกระดับลอยฟ้า เพื่อแก้ปัญหาลดจุดตัดทางรถไฟดังกล่าว และลดการเกิดอุบัติเหตุ จึงเกิดเป็นโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ขนส่งผู้โดยสารประชาชนจากด้านทิศเหนือเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร

นอกจากจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินรถไฟทางไกลในเขตเมืองแล้ว โครงการยังมีการนำรถไฟฟ้าเข้ามาวิ่งขนส่งผู้โดยสารจากเขตชานเมืองเข้ามาสู่ตัวเมืองหลวง ทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางเข้าออกกรุงเทพฯได้ภายในระยะเวลาอันสั้น อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษ ลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง เนื่องจากใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถให้ปลอดมลพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะกับสภาพพื้นที่ของตัวเมืองหลวงที่มีปริมาณการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น

และจากความต้องการขนส่งผู้โดยสารให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โครงการจึงแบ่งการเดินรถออกเป็น 3 เส้นทาง ตามแนวทางวิ่งรถไฟสายเก่า เป็นเส้นทางที่ 1 สายสีแดงเข้ม เดินรถจากทางทิศเหนือสู่ทางทิศใต้ ช่วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย, เส้นทางที่ 2 สายสีแดงอ่อน เดินรถจากทางทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก ช่วงศาลายา-หัวหมาก และเส้นทางสุดท้าย เส้นทางที่ 3 แอร์พอร์ตเรลลิงก์ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ

โดยทุก ๆ เส้นทางจะมาเชื่อมต่อกันที่สถานีกลางบางซื่อ บริเวณพื้นที่ย่านพหลโยธิน ซึ่งทางรัฐบาลกำหนดเป้าหมายให้สถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และเป็นจุดเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งทางรางจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศแทนสถานีหัวลำโพง รองรับการเดินทางทั้งรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) รถไฟทางไกล รถไฟเชื่อมท่าอากาศยานแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และรถไฟความเร็วสูงในอนาคต เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเขตเศรษฐกิจโดยรอบ ทั้งแหล่งสรรพสินค้า,สวนสาธารณะ รวมไปถึงระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ๆ

การดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ปัจจุบันมีเส้นทางดำเนินงานทางด้านโยธาแล้วเสร็จ 1 เส้นทาง ได้แก่เส้นทางเดินรถทางทิศตะวันตก ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และอยู่ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งระบบเครื่องกลไฟฟ้า และจะเปิดให้บริการพร้อมเส้นทางเดินรถในทางทิศเหนือ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง โดยจัดวางเส้นทางเดินรถทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร ระยะทางรวม 26.3 กิโลเมตร ซึ่งการรถไฟฯได้แบ่งขอบเขตการดำเนินงานการก่อสร้างออกเป็นทั้งสิ้น 3 สัญญา

ส่วนของสัญญาที่ 1 การก่อสร้างอาคารสถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร และศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ รับผิดชอบดำเนินการโดยกิจการร่วมค้าเอสยู (บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ยูนิค เอ็น
จิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)

สัญญาที่ 2 การก่อสร้างสถานีรายทาง 8 สถานี อันได้แก่ สถานีวัดเสมียนนารี, สถานีบางเขน, สถานีทุ่งสองห้อง, สถานีหลักสี่, สถานีการเคหะ, สถานีดอนเมือง, สถานีหลักหก และสถานีรังสิต รวมไปถึงทางวิ่งรถทั้งแบบยกระดับและเสมอระดับ รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างโดย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์

และสัญญาที่ 3 การดำเนินงานติดตั้งระบบเครื่องกลไฟฟ้า และงานติดตั้งรางในพื้นที่โครงการ รวมถึงออกแบบและจัดหาตู้รถไฟชานเมือง รับผิดชอบดำเนินการโดยกลุ่มบริษัท Mitsubishi-Hitachi-Sumitomo Consortium (MHSC) เพื่อให้บริการประชาชนเมื่อเปิดดำเนินการ

สำหรับในส่วนของการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต การรถไฟฯได้ว่าจ้าง บมจ.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ ให้เป็นหัวเรือใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาและควบคุมการก่อสร้างงานโยธาและเครื่องกลไฟฟ้า รวมไปถึงระบบรางและระบบการควบคุมรถไฟภายในโครงการ

ด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการในการลดจุดตัดทางรถไฟ เพื่อแก้ปัญหาการจราจร โดยการยกระดับทางวิ่งรถไฟทางไกล จากเดิมที่วิ่งเสมอระดับ ซึ่งใช้โครงสร้างรองรับรางแบบใช้หินโรยทาง (ballasted track) ไปเป็นทางวิ่งยกระดับ ที่ใช้โครงสร้างรองรับรางแบบเทคอนกรีตถาวร (ballastless track) และดำเนินการจัดทำทางวิ่งขนาด meter-gauge track ความกว้างระหว่างราง 1.00 เมตรสำหรับการเดินรถไฟทางไกลและรถไฟชานเมือง

เพื่อให้สอดคล้องกับทางวิ่งเดิมและสามารถเชื่อมต่อกับทางวิ่งของประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างสะดวก โดยติดตั้งรางมาตรฐาน UIC60 สำหรับทางวิ่งหลัก โดยมีหมอนคอนกรีตอัดแรงรองรับทุก ๆ ระยะ 60 เซนติเมตร ตลอดแนวทางรถไฟ และยึดรางเข้ากับหมอนคอนกรีตด้วยเครื่องยึดเหนี่ยวรางแบบ DSR (double resilient fastening system) ซึ่งจะช่วยลดมลพิษทางเสียงที่เกิดขึ้นจากการเดินรถในเขตตัวเมือง

และอีกหนึ่งจุดมุ่งหมายที่จะนำระบบรถไฟฟ้าเข้ามาให้บริการประชาชน เพื่อขนส่งผู้โดยสารที่อาศัยอยู่บริเวณชานเมืองเข้ามายังพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ระบบจ่ายไฟแบบระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะ OCS (overhead catenary system) แรงดันไฟฟ้า 25 กิโลโวลต์ ทำให้รถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้ระบบอาณัติสัญญาณควบคุมการเดินรถไฟชานเมืองแบบ ETCS (European train control system) level 1 ที่จะทำให้รถไฟชานเมืองสามารถเดินรถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าในเส้นทางอื่นได้

โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต เมื่อแล้วเสร็จคาดว่าพร้อมให้บริการได้ในปี 2563 ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับการคมนาคมทางรางที่ต้องการจะพัฒนาให้มีความทันสมัย ทัดเทียมนานาอารยประเทศ และเปิดให้บริการให้ผู้โดยสารได้รับด้วยความสะดวก และคล่องตัวมากขึ้น

ที่สำคัญยังยกระดับเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนเมืองและเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2018 12:45 pm    Post subject: Reply with quote

“อาคม” หารือผู้บริหาร “ฮิตาชิ” เร่งผลิตขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดงให้เสร็จปีหน้า
วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 21:48 น.

เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2561 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หารือกับผู้บริหาร บริษัท Hitachi โดยมี นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเข้าร่วมหารือ ณ บริษัท Hitachi กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น


ทั้งนี้นายอาคมได้ติดตามเร่งรัดการผลิตรถไฟฟ้าสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งบริษัทฯ ให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบรถได้ตามกำหนดภายในปีหน้า จากนั้นจะทดสอบพร้อมเปิดใช้ในปี 2563 ปัจจุบันงานก่อสร้างช่วงบางซื่อ-รังสิต คืบหน้าแล้ว 67% ส่วนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันสร้างเสร็จแล้ว



นอกจากนี้บริษัทฯ ได้แสดงเทคโนโลยี Robotics ที่คิดค้นและพัฒนาระบบเพื่อรองรับอนาคต อาทิ ระบบการแก้ปัญหาการจราจรติดขัด และระบบการจัดการการขนส่งอัจฉริยะ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2018 11:20 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นรับปากผลิตโบกี้”รถไฟฟ้าสายสีแดง”เสร็จแน่ปีหน้า
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 18:57 น.
เร่งผลิต - รูปแบบภายนอกและภายในขบวนรถที่จะใช้วิ่งบริการในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง "ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต" โดยบริษัท อิตาชิจากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ออกแบบและผลิตให้ วิ่งด้วยความเร็ว 120-160 กม./ชม. จะเปิดไลน์ผลิตในเดือน ส.ค.นี้ส่งมอบให้ไทยในปี 2562 พร้อมเปิดบริการกลางปี 2563
คมนาคมจี้ญี่ปุ่นเปิดไลน์ผลิตขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง “ฮิตาชิ” รับปากเริ่ม ส.ค.นี้ ปีหน้าส่งมอบชัวร์ ด้าน ร.ฟ.ท.มึนโครงการเสร็จไม่มีระบบไฟฟ้าจ่ายทดสอบเดินรถ เตรียมควัก 50 ล้านซื้อไฟฟ้าสำรองแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เร่งบูรณะโครงการสร้างช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เข็นเปิดหวูดพร้อมกันกลางปี”63

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ช่วงระหว่างร่วมคณะกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 18 ก.ค. 2561 ได้ติดตามเร่งรัดการผลิตรถไฟฟ้าสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งบริษัทฮิตาชิที่เป็นหนึ่งในกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC ประกอบด้วย



มิตชูบิชิ-ฮิตาชิ-สุมิโตโม ที่ชนะประมูลด้วยวงเงิน 32,399 ล้านบาท ให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบรถได้ตามกำหนดภายในปีหน้า จากนั้นจะทดสอบพร้อมเปิดใช้ในปี 2563 คาดว่ามีผู้โดยสารอยู่ที่ 300,000 เที่ยวคนต่อวัน ปัจจุบันงานก่อสร้างช่างบางซื่อ-รังสิตคืบหน้าแล้ว 67% ส่วนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันสร้างเสร็จแล้ว

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางฮิตาชิได้รายงานว่าจะเปิดไลน์การผลิตขบวนรถของสายสีแดงภายในเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งมีการปรับการดีไซน์สีคาดตัวรถใหม่ โดยจะใช้เวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จพร้อมส่งมอบให้ภายใน 14 เดือน หรือภายในปลายปี 2562 จากนั้นจะเริ่มนำมาทดสอบระบบ คาดว่าพร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือน ก.ค. 2563

“การก่อสร้างสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ปีนี้งานก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับพร้อมสถานีและสกายวอล์ก 12 แห่ง เชื่อมจากสถานีจตุจักร วัดเสมียนนารี บางเขน หลักสี่ เคหะทุ่งสองห้อง และดอนเมือง ข้ามถนนวิภาวดีฯจะเสร็จ ส่วนสถานีกลางบางซื่อเสร็จปี”62 แต่การเปิดใช้อาจจะล่าช้าไปบ้าง”

เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องของระบบไฟฟ้าที่จะนำมาใช้จ่ายไฟในการทดสอบรถ เพราะทางการไฟฟ้านครหลวงไม่สามารถก่อสร้างสถานีจ่ายไฟให้เสร็จตามกำหนด กำลังพิจารณาจะซื้อไฟฟ้าสำรองจากการไฟฟ้านครหลวงมาทดสอบการเดินรถไปก่อน คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าสายสีแดงจะใช้ระบบ ETCS และคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ที่ กสทช.จัดสรรให้ ซึ่งจะไม่มีปัญหาเหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอส

สำหรับรูปแบบรถไฟฟ้าที่จะใช้ให้บริการในโครงการ เป็นรถไฟฟ้าวิ่งบนรางขนาด 1 เมตร มีระบบสายส่งไฟเหนือศีรษะ เป็นระบบเทคโนโลยีของฮิตาชิจากประเทศญี่ปุ่น ถูกออกแบบวิ่งได้ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. แต่วิ่งให้บริการจริงด้วยความเร็ว 120 กม./ชม. ขบวนรถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท 4 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,126 คน และประเภท 6 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,714 คน

นอกจากนี้ จะต้องเตรียมงบประมาณจำนวน 10-20 ล้านบาท สำหรับบูรณะสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่สร้างเสร็จไปตั้งแต่ปี 2555 เช่น อุปกรณ์ในห้องน้ำที่ชำรุด ค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) มาดูแลโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/08/2018 2:28 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งเครื่องประมูลสายสีแดงส่วนขยาย6หมื่นล้าน
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 02 ส.ค. 2561 เวลา 08:15 น.

"กุลิศ" ขีดเส้นเปิดประมูลสารพัดงานรถไฟฟ้าสายสีแดง 6 หมื่นล้านปีนี้ ลุยแผนส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-มหาชัย หวังเปิดใช้ใน 5 ปี

นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานกรรมการบริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในปี 2561 รฟท.มีแผนผลักดันโครงการส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงรังสิต-บางซื่อเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเตรียมเปิดประมูลโครงการที่มีมูลค่ารวม 2.42 หมื่นล้านบาท เนื่องจากภาพรวมโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงมีความคืบหน้างาน โยธาก่อสร้างเกือบจะเสร็จทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงแต่งานระบบและการจัดหารถไฟ คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2563

สำหรับโครงการส่วนต่อขยาย ประกอบไปด้วย ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน- ศาลายา วงเงิน 1.02 หมื่นล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 7,460 ล้านบาท และช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,570 ล้านบาท เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงมิสซิ่งลิงก์ประกอบด้วยสายสีแดงอ่อน (ช่วงบางซื่อ-พญาไทมักกะสัน-หัวหมาก) และสายสีแดงเข้ม (ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 4.41 หมื่นล้านบาท ที่จะเห็นความคืบหน้าการประกวดราคาในปีนี้เช่นกัน

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ รฟท.เร่งศึกษาแผนต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้า สายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง-บางบอนมหาชัยเพื่อเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าชานเมืองให้เข้าถึงประชาชนรอบปริมณฑล เชื่อว่า จะสามารถออกแบบ เปิดประมูล ก่อสร้าง และเปิดใช้บริการได้ภายใน 5 ปีนับจากนี้หรือประมาณปี 2565

อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ รฟท. ต้องการเร่งโครงการส่วนต่อขยายโครงข่ายออกไปนั้น เพราะมองเห็นศักยภาพพื้นที่เป้าหมายว่าจะมีความต้องการจาก ผู้โดยสารจำนวนมากทำให้โครงการนั้นมีความคุ้มทุนรวดเร็วมากยิ่งขึ้นจากปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น

นายกุลิศ กล่าวถึง การจัดตั้งบริษัทลูกตามแผนฟื้นฟูกิจการของ รฟท.นั้น ในส่วนของบริษัทบริหารทรัพย์สินนั้นมีความคืบหน้าไปมากอยู่ระหว่างเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ก่อนส่งเรื่องไปยัง ครม.ภายในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2018 7:51 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”จ่อประมูล 4 รถไฟฟ้า 3 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 24 August 2018 - 12:37 น.

แมสทรานสิต - โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ จตุจักร-สะพานใหม่-คูคต เป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟฟ้าที่ลงทุนก่อสร้างโดยมีต้นทางจากในเมืองพาดผ่านเส้นทางออกนอกเมือง เชื่อมการเดินทางจากที่เคยไกลให้กลายเป็นใกล้
คมนาคมเข็นประมูลรถไฟฟ้า 4 สาย “ม่วง-ส้ม-แดงเข้ม-แดงอ่อน” วงเงินร่วม 3 แสนล้าน จ่อชง ครม.ไฟเขียวเพิ่ม 2 สายทาง ส่วนต่อขยายสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายาและรังสิต-ธรรมศาสตร์ ชะลอยาวส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน “บางแค-พุทธมณฑลสาย 4” รอประเมินผู้โดยสารใช้สายสีน้ำเงินทั้งระบบในปี”63 ด้านสีเขียวขยายจากคูคต-ลำลูกกาและสมุทรปราการ-บางปู ยังลูกผีลูกคน หลัง กทม.ยื้อโอนหนี้แสนล้าน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลส่วนที่เหลือ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 365,667 ล้านบาท ให้ครบ 10 สายทาง ตามแผนแม่บทภายในปี 2565 ขณะนี้เตรียมจะเปิดประมูล 4 โครงการ เงินลงทุน 298,831 ล้านบาท ได้แก่ สายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 128,235 ล้านบาท สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน วงเงิน 120,459 ล้านบาท สายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และสายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง วงเงิน 50,137 ล้านบาท

นอกจากนี้มีอีก 2 โครงการเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีสายสีแดงอ่อนตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา วงเงิน 17,671 ล้านบาท และสายสีแดงเข้มรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,570 ล้านบาท รวมถึงเตรียมนำ 3 โครงการที่จะผลักดันต่อไป ได้แก่ สายสีเขียวส่วนต่อขยาย คูคต-ลำลูกกา สายสีเขียวต่อขยายสมุทรปราการ-บางปู และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปลายปีนี้จะเสนอสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กม. เงินลงทุน 1.2 แสนล้านบาทให้ ครม.พิจารณา หลังจากผ่านที่ประชุมบอร์ด รฟม.ภายในเดือน ส.ค.นี้แล้ว เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56) ต่อไป

ส่วนสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ด รฟม. ก่อนจะเสนอเข้า ครม.ในเดือน ก.ย.นี้ สำหรับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 17,262 ล้านบาท จะชะลอออกไปก่อนรอประเมินปริมาณผู้โดยสารหลังเปิดบริการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแคในปี 2563 จะเป็นไปตามประมาณการหรือไม่ เนื่องจากแนวเส้นทางอยู่ในพื้นที่ชานเมืองโดยต่อเชื่อมกับจังหวัดนครปฐม อาจจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการน้อย และอาจจะซ้ำรอยกับสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ที่เปิดวันแรกมีผู้โดยสารมาใช้บริการต่ำกว่าที่ประมาณการไว้

“สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงสุดท้ายนี้ต้องรอในปี 2563 ซึ่ง รฟม.จะเปิดดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP net cost ทั้งก่อสร้าง จัดหาระบบและเดินรถ 30 ปีเพราะเป็นส่วนต่อเชื่อมกับสายเดิม”

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 7กม. วงเงิน 11,989 ล้านบาท และสายสีเขียวส่วนต่อขยายสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 13,344 ล้านบาท จะชะลอการขออนุมัติโครงการออกไปจนกว่าจะมีข้อสรุปการโอนหนี้และทรัพย์สินส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาทกับกรุงเทพมหานคร (กทม.)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 57, 58, 59 ... 147, 148, 149  Next
Page 58 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©