RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263529
ทั้งหมด:13574812
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 148, 149, 150  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2019 3:31 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.อ่วม! ผ่อนค่าโง่ “โฮปเวลล์” กระทบแผนฟื้นฟู-“อาคม” ยันไม่ชะลอโครงการใหม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังค่ารที่ 23 เมษายน 2562 เวลา 21:01
ปรับปรุง: พุธที่ 24 เมษายน 2562 เวลา 10:29

บอร์ด ร.ฟ.ท.ถก 26 เม.ย.นี้หาแนวทางผ่อนชำระหนี้ค่าโง่โฮปเวลล์ “อาคม” ยอมรับกระทบฐานะการเงิน อาจต้องรื้อแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.ย้ำไม่เบรกแผนเมกะโปรเจกต์ ย้ำรัฐบาลนี้ลงทุนพัฒนาโครงการและพัฒนาที่ดินช่วยเพิ่มผลตอบแทน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเรียกผู้บริหารและฝ่ายอนาบาล (กฎหมาย) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รายงานข้อมูลเบื้องต้น จากกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้กระทรวงคมนาคม โดย ร.ฟ.ท.คืนเงินชดเชยให้แก่บริษัทโฮปเวลล์จากการบอกเลิกสัญญารวมเป็นเงิน 11,888 ล้านบาท โดยไม่รวมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ว่าจะมีผลกระทบต่อ ร.ฟ.ท.อย่างไรบ้าง โดยขณะนี้ยังไม่ได้เสนอแนวทางที่จะดำเนินการที่ชัดเจนแต่อย่างใด

เนื่องจากจะต้องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนายกุลิศ สมบัติศิริ เป็นประธานประชุมในวันที่ 26 เม.ย.นี้ก่อน โดยบอร์ดจะพิจารณาผลจากคำพิพากษา และแนวทางที่ ร.ฟ.ท.จะดำเนินการหลังจากนี้ เนื่องจากคำสั่งศาลให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน จึงให้เร่งสรุปรายงานกระทรวงคมนาคม เพื่อจะได้รายงานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเร็ว

ร.ฟ.ท.จะต้องดูว่าวงเงินค่าชดเชยเป็นเท่าใด เพราะมีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ดูฐานะการเงินของ ร.ฟ.ท.ด้วยว่ามีขีดความสามารถชำระได้แค่ไหน และหาแนวทาง ซึ่งอาจจะต้องขอเจรจาเพื่อผ่อนชำระ เป็นต้น

ทั้งนี้ โครงการโฮปเวลล์เป็นนโยบายของรัฐบาล เมื่อมีผลออกมาแบบนี้ ร.ฟ.ท.สามารถเสนอขอให้รัฐช่วยเหลือค่าชดเชยด้วยก็ได้ อย่างไรก็ตาม การมีภาระหนี้เพิ่ม จากเดิมที่ ร.ฟ.ท.มีหนี้สะสมอยู่แล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ร.ฟ.ท.อาจต้องทบทวนแผนฟื้นฟูใหม่ด้วย



สำหรับการลงทุนโครงการต่างๆ ของ ร.ฟ.ท.ในขณะนี้นั้น นายอาคมกล่าวว่าจะไม่มีผลกระทบ โดยต้องเดินหน้าต่อตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ต้องการเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพราะมีความจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ ดังนั้นจะต้องแยกส่วนกันจากเรื่องโฮปเวลล์ อีกทั้งแนวทางการลงทุนโครงการจะมีการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งสร้างมูลค่าผลตอบแทนเพิ่มให้แก่โครงการอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2019 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ร.ฟ.ท.อ่วม! ผ่อนค่าโง่ “โฮปเวลล์” กระทบแผนฟื้นฟู-“อาคม” ยันไม่ชะลอโครงการใหม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังค่ารที่ 23 เมษายน 2562 เวลา 21:01
ปรับปรุง: พุธที่ 24 เมษายน 2562 เวลา 10:29


เล็งผ่อนหมื่นล้าน“โฮปเวลล์” “อาคม”สั่งรฟท.รื้อแผนฟื้นฟูใหม่
พุธที่ 24 เมษายน 2562

“อาคม” สั่งบอร์ดรฟท. เร่งสรุปจ่ายค่าโง่ 1.18 หมื่นล้านโฮปเวลล์ ลั่นยึดตามคำสั่งศาลยันไม่กระทบแผนลงทุน แต่ต้องทบทวนแผนฟื้นฟูใหม่ ด้าน "วรวุฒิ" แจงไม่มีเงินต้องประนอมหนี้หรือผ่อนชำระ

หลังนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เรียกฝ่ายบริหาร การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้ามารายงานข้อมูลกรณีศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาพิพากษาให้กระทรวงคมนาคม และ รฟท. จ่ายค่าเสียหายให้โฮปเวลล์เป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี เมื่อวันที่ 22 เมษายน กรณีบอกเลิกสัญญาโครงการการขนส่งทางรถไฟยกระดับ ในเขตกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2541นายอาคม เผยหลังการประชุมว่า ได้สั่งการให้คณะกรรมการ รฟท.เร่งพิจารณาผลจากคำพิพากษาของศาลว่ามีผลอย่างไร และจะต้องดำเนินการในขั้นต่อไปอย่างไร พร้อมทั้งหาแนวทางการเจรจาในการชำระหนี้ ก่อนส่งเรื่องกลับมายังกระทรวงคมนาคมโดยเร็วที่สุด เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ต่อไป
ทั้งนี้ ในการประชุม ครม. วันนี้ (24 เม.ย. 62) กระทรวงคมนาคมจะรายงานให้ ครม.รับทราบด้วย โดยเบื้องต้นคาดว่า บอร์ด รฟท. จะนัดประชุมเรื่องดังกล่าว ในวันที่ 26 เมษายนนี้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะดำเนินการตามคำสั่งของศาล

Ads by AdAsia
You can close Ad in 9 s

“เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องที่เราทำ ซึ่งเป็นภาระที่เกิดขึ้นจากผลของเมื่อปี 33 แต่รัฐบาลต้องแก้ไข หลังจากนี้ ต้องรอผลการประชุมของบอร์ด รฟท. ก่อนว่า รวมเงินทั้งหมดเท่าไหร่ และจะจ่ายอย่างไร ต้องไปดูภาระตรงนี้ และประเมินสถานะทางการเงินของรฟท.ถ้าจะชำระก็อาจจะต้องบุ๊คบัญชีไว้ ส่วนจะกระทบกับการลงทุนของรถไฟหรือชะลอโครงการในอนาคตหรือไม่ต้องบอกว่าในส่วนของการลงทุนโครงการ เป็นนโยบายของรัฐบาล เพิ่มความสามารถของประเทศ และเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทน ซึ่งเมื่อเรากำหนดแผนไว้แล้ว จำเป็นต้องทำ และเดินหน้าต่อ เพราะเป็นคนละส่วนกัน” นายอาคมกล่าว

นายอาคม ยังระบุอีกว่าจะรายงาน ครม.ว่าศาลปกครองสูงสุดมีระยะเวลาให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท.ดำเนินการ ภายใน 180 วัน ดังนั้นคณะกรรมการ รฟท.อาจจะต้องเร่งหารือเพื่อสรุปด้วยว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ถ้าต้องจ่ายจะต้องจ่ายยอดเงินเท่าไหร่ และจะมีแนวทาง ไปเจรจาร่วมกับเอกชนหรือไม่อย่างไรส่วนกรณีภาระหนี้ของ รฟท.ที่เกิดขึ้นใหม่ครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อแผนฟื้นฟูกิจการของ รฟท.หรือไม่ ว่า เมื่อคำตัดสินมาถึงที่สุดแล้ว รฟท.จะต้องจ่ายชดเชยหนี้ดังกล่าว ก็จะต้องไปประเมิน เองว่าเมื่อมีภาระหนี้ส่วนนี้เข้าไปแล้ว จำเป็นต้องบันทึกลงบัญชี ดังนั้นก็ต้อง มาทบทวนดูฐานะทางการเงินในแผนฟื้นฟูกันใหม่ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า รฟท.มีการประชุมภายในฝ่ายกฎหมาย เพื่อหารือถึงรายละเอียด โครงการการโฮปเวลล์ และแนวทางที่จะต้องปฏิบัติต่อไปในอนาคต เพื่อให้ภาครัฐเกิดความเสียหายน้อยที่สุดทั้งนี้ เบื้องต้นถือว่าคำพิพากษา ของศาลปกครองสูงสุดที่ตัดสินให้ กระทรวงคมนาคม โดย รฟท. จ่ายเงินชดเชยค่าบอกเลิกสัญญา 11,888 ล้านบาทไม่รวมอัตราดอกเบี้ย แก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใน 180 วันนับตั้งแต่คดีถึงที่สุด “ดังนั้นขั้นตอนต่อไปก็ต้องมาดูว่า รฟท.จะต้องจ่ายเงินชดเชยแบบไหนอย่างไร ซึ่งต้องมีการประเมินอย่างละเอียดในข้อกฎหมาย รวมถึงหารือกับกระทรวงคมนาคมอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากต้องชำระ รฟท.อาจจะต้องไปประนอมหนี้หรือขอผ่อนชำระ เพราะเราเองก็ไม่มีเงิน มากพอที่จะจ่าย”


// ---------------------


สร.รฟท.แถลงการณ์ ชี้รัฐต้องร่วมรับหนี้ค่าโง่ “โฮปเวลล์”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 24 เมษายน 2562 เวลา 22:02
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2562 เวลา 10:35




สหภาพรถไฟฯ ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลร่วมรับผิดชอบค่าโง่ "โฮปเวลล์" ชี้ไม่เป็นธรรมหากให้ ร.ฟ.ท.รับภาระ คาดมูลหนี้พร้อมดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 5.8 หมื่นล้าน

24 เมษายน 2562 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ออกแถลงการณ์ความเสียหายของประเทศ “กรณีโฮปเวลล์” ต้องไม่ผลักภาระให้ ร.ฟ.ท.แต่ต้อง..ร่วมกันหาทางออกเพื่อไม่ให้ความสูญเสียเกิดขึ้นแก่รัฐอีกในอนาคต

ภายหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา กรณีพิพาทระหว่าง บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กับกระทรวงคมนาคม และศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง เป็นยกฟ้องมีผลให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551 โดย ร.ฟ.ท.ต้องคืนเงินชดเชยให้กับบริษัทโฮปเวลล์จากการบอกเลิกสัญญารวมเป็นเงิน 11,888 ล้านบาท โดยไม่รวมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และให้คืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาทที่ออกโดยธนาคารกรุงเทพ ประกอบด้วยเงินที่บริษัทได้ชำระเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์จากที่ดินของ ร.ฟ.ท.ถึงก่อนวันบอกเลิกสัญญาเป็นเงิน 2,850 ล้านบาท รวมถึงเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38 ล้านบาท และเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับคดีถึงที่สุด

จากการคำนวณแล้วมูลค่าความเสียหายที่จะต้องชดใช้ประมาณ 58,000 ล้านบาทตามที่สื่อมวลชนและสื่อออนไลน์ได้แพร่กระจายเป็นที่รับรู้ของสังคมและเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในประเด็นต่างๆ ทั้งในเรื่องการตั้งคำถามถึงความไม่โปร่งใสของโครงการนี้ตั้งแต่ต้น การทำสัญญาของรัฐที่หละหลวม ความรับผิดชอบจะเป็นของใคร รวมถึงการทุจริตจากโครงการนี้ จนเกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และประชาชนทุกคนก็มีสิทธิในการตั้งคำถาม และร่วมกันตรวจสอบ เพราะเงินที่จะต้องจ่ายไปเป็นค่าความเสียหายเหล่านี้คือภาษีของประชาชน

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และเกิดภาวะความตระหนก ตกใจไม่ได้แตกต่างจากประชาชนทั่วไป แต่ยิ่งกว่าด้วยซ้ำเมื่อมองถึงสถานะทางการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ขาดทุนสะสมจากนโยบายของรัฐบาลในการให้บริการแก่พี่น้องประชาชนคนยากจนทั่วประเทศคิดเป็น 92% จากผู้โดยสารทั้งหมดจนเกิดภาระหนี้สินสะสมถึงกว่า 100,000 ล้านบาท

ประเด็นที่อยากให้สังคมรับทราบในจุดยืนของ สร.รฟท.ในกรณีนี้คือ
1. สร.รฟท.ไม่ได้คัดค้านการดำเนินการของโครงการโฮปเวลล์ หรือโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Elevated Road and Train System - BERTS ) ตั้งแต่ต้น และสนับสนุนเสียด้วยซ้ำเนื่องจากวิเคราะห์และมองเห็นภาพแห่งอนาคตว่าการขนส่งระบบรางนั้นมีความจำเป็นอย่างมากต่อประเทศชาติทั้งการเชื่อมต่อกับภูมิภาคต่างๆ ของประเทศและภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่มีจำนวนประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น และการเพิ่มจำนวนของยานพาหนะการจราจรที่แออัด โครงการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
2. สิ่งที่ สร.รฟท.กังวลและตั้งคำถามในช่วงเวลานั้นคือ ผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับจากโครงการเพราะโครงการนี้รัฐไม่ต้องจ่ายเงินลงทุน การออกแบบก่อสร้างและการระดมเงินทุนเป็นการดำเนินการโดยบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ในเครือโฮปเวลล์โฮลดิงส์ทั้งสิ้น ดังนั้นการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์หลังโครงการเสร็จรัฐจะได้ประโยชน์แค่ไหนอย่างไร และแรกเริ่มโครงการนี้จะทำไปพร้อมๆ กับการพัฒนาที่ดินของ ร.ฟ.ท.เพื่อนำเงินจากการพัฒนาที่ดินมาดำเนินการในโครงการนี้ด้วย ซึ่งในตอนนั้น สร.รฟท.เห็นว่าประเด็นหลักของโครงการนี้คือ โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นสิ่งที่ต้องดำเนินการก่อนคือการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟยกระดับให้เสร็จก่อนจึงไปพัฒนาที่ดิน
3. โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร หรือโครงการโฮปเวลล์เป็นโครงการที่ขาดการมีส่วนร่วมมาตั้งแต่ต้น อย่าว่าแต่ประชาชนทั่วไป แม้กระทั่งพนักงานการรถไฟฯ หรือ สร.รฟท.แทบจะไม่มีส่วนร่วมแม้แต่น้อย และในช่วงเวลาที่โครงการนี้เกิดขึ้นและมีการลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2533

นายมนตรี พงษ์พานิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในสมัยรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ และต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ และได้ออกประกาศ รสช.ฉบับที่ 54 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 ยุบเลิกสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจแล้วให้ตั้งเป็นสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจแทน การตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของสหภาพแทบทำไม่ได้เลยในเวลานั้น

4. โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร หรือโครงการโฮปเวลล์ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณในยุคเริ่มต้นและต่อมาอีกหลายรัฐบาล แม้จะมีความพยายามที่จะให้โครงการนี้เดินหน้าต่อไปแต่ก็ไม่สามารถไปต่อได้ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งเรื่องการระดมทุนและการขาดสภาพคล่องของบริษัทโฮปเวลล์เอง และเกิดจากปัญหาความถดถอยของภาวะเศรษฐกิจโลก อีกทั้งโครงการมีปัญหาที่จะต้องเจรจาทำความเข้าใจกับหน่วยงานต่างๆ ที่คาบเกี่ยวกัน รวมทั้งประชาชนที่เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ของโครงการ

โครงการดังกล่าวไม่ได้มีกระบวนการในการศึกษาสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ให้แก่หน่วยงานต่างๆ และภาคประชาชนก่อนทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนจึงทำให้เกิดปัญหาความไม่ก้าวหน้าของโครงการ จนการก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์สิ้นสุดลงในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 หลังดำเนินการก่อสร้างเป็นเวลา 7 ปี

ซึ่งความจริงแล้วโครงการโฮปเวลล์มีอายุสัมปทาน 30 ปี ระยะการก่อสร้าง 8 ปี ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2534-5 ธันวาคม 2542 แต่โครงการมีความคืบหน้าเพียง 13.77% หลังดำเนินการก่อสร้างมาเป็นเวลา 7 ปี ขณะที่แผนงานกำหนดว่าควรจะมีความคืบหน้า 89.75% ต่อมากระทรวงคมนาคมได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2541

5. จะเห็นได้ว่าโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร หรือโครงการโฮปเวลล์ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล โดยโครงการทั้งหมดสร้างในพื้นที่ของการรถไฟฯ และผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัทผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับหากโครงการนี้สำเร็จก็เกิดจากทรัพย์สินของการรถไฟฯ เท่ากับว่าโครงการนี้รัฐบาลมอบให้การรถไฟฯ รับผิดชอบในการกำกับดูแลและส่งมอบพื้นที่เพียงเท่านั้น การรถไฟฯ แทบจะไม่มีสิทธิมีเสียงในการโต้แย้งแต่ประการใด

ดังนั้น ความรับผิดชอบที่จะเกิดขึ้นหลังจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดจะปล่อยให้การรถไฟฯ รับผิดชอบเพียงลำพังคงไม่เป็นธรรมต่อการรถไฟฯ และพนักงานการรถไฟฯ โดย สร.รฟท.ไม่เห็นด้วยที่จะผลักภาระให้แก่การรถไฟฯ และเชื่อว่าสมาชิก พนักงานและครอบครัว “คนรถไฟ” คงไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน และเชื่อว่าประชาชนที่รักความเป็นธรรมคงไม่เห็นด้วยเช่นกัน คงต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่ง สร.รฟท.มีหลักการ จุดยืนที่แจ่มชัดในการปกป้องผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน โดยจะทำหน้าที่นี้ต่อไปจนถึงที่สุด

ประการต่อมา บทเรียนจากความเสียหายที่รัฐพ่ายแพ้ต่อเอกชนที่ลงทุนในโครงการต่างๆ จากความบกพร่อง ความไม่รอบคอบในสัญญาและอื่นๆ ทั้งเจตนาและไม่เจตนาก่อนหน้านี้มูลค่านับหลายล้านล้านบาท แสดงให้เห็นถึงความไม่โปร่งใสของโครงการต่างๆ และขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมจากกรณีของโครงการโฮปเวลล์ ถึงเวลาที่จะต้องทบทวนในโครงการของรัฐที่ให้สัมปทานแก่เอกชน ซึ่งขณะนี้ยังมีอีกหลายโครงการ

ดังนั้น ข้อเสนอของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) คือ



1. ความเสียหายจากคำพิพากษาประมาณ 58,000 ล้านบาท รัฐบาลต้องหาทางออกว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติน้อยที่สุด และยังมีความเสียหายที่การรถไฟฯ ได้เรียกร้องจากบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จากการสูญเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการและสูญเสียโอกาสจากการพัฒนาที่ดินเป็นจำนวนเงินประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เงื่อนไขนี้ให้เกิดประโยชน์ต่อการรถไฟฯ และประเทศชาติได้อย่างไร

ประกอบกับกรณีอื่นๆ ที่เอกชนฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายต่อรัฐ อย่างเช่น กรณีโครงการระบบบำบัดน้ำเสีย อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ ได้มีการรื้อฟื้นคดีเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยรัฐบาลปัจจุบันเพื่อพิจารณาในรายละเอียดใหม่ จนมีการชะลอการบังคับคดี และอีกโครงการหนึ่งคือโครงการก่อสร้างทางยกระดับตะวันออกหรือบูรพาวิถี ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งเอกชนเรียกร้องค่าชดเชยจากรัฐประมาณ 9,600 ล้านบาท มีกระบวนการขั้นตอนในการต่อสู้คดีจนในที่สุดเมื่อปี 2560 ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ กทพ.ชนะคดีไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัทเอกชน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรนำมาศึกษาเทียบเคียง แน่นอนว่าคำพิพากษาของศาลต้องปฏิบัติตามแต่ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ละเอียดรอบคอบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน

2. ขอให้รัฐบาลทบทวนโครงการต่างๆ ที่กำลังดำเนินการในขณะนี้ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยเฉพาะโครงการของรัฐบาลให้เอกชนร่วมลงทุนในหน่วยงานต่างๆ และโครงการที่มอบหมายให้การรถไฟฯ เป็นผู้กำกับดูแลในขณะนี้ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งลักษณะโครงการไม่แตกต่างจากโฮปเวลล์มากนัก

กล่าวคือ โครงการนี้มูลค่าโครงการประมาณ 200,000 ล้านบาท โดยรัฐร่วมลงทุนเกินกว่า 50% และงบประมาณที่เหลือให้เอกชนไปหาแหล่งเงินทุนเอง แลกกับการพัฒนาที่ดินมักกะสันของการรถไฟฯ 150 ไร่ สถานีศรีราชาอีกประมาณ 25 ไร่ และที่ดินสองข้างทางของโครงการ รวมทั้งจัดเก็บรายได้เอง อายุสัมปทาน 50 ปีและอาจต่อสัญญาเป็น 99 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาให้ได้ข้อยุติที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน และโครงการดังกล่าวก็ยังไม่ผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และที่สำคัญคือ ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

ก่อนหน้านี้ สร.รฟท.พร้อมด้วยเครือข่ายภาคประชาชนได้แถลงข่าวไปแล้วเพื่อให้มีการทบทวนโครงการ และให้รัฐบาลโดยการรถไฟฯ ดำเนินการในโครงการนี้เอง จะเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดินอีกทั้งจะเป็นการเปิดพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนมากกว่า

3. จากกรณีโฮปเวลล์นี้ ไม่ควรตั้งต้นว่าใครผิด ใครถูก โยนกันไปโยนกันมา ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนต่างพยายามเอาตัวรอดจนอาจละเลยการแสวงหาทางออก ควรที่ทุกคนต้องช่วยกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ส่วนการสืบสวนหาผู้กระทำผิดจะทำได้ไม่ได้ หรือจะกระทำกันอย่างไรก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่ง เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายของประเทศชาติซึ่งเกี่ยวพันกับประชาชนโดยตรง จึงต้องแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดเพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ประเทศชาติ ประชาชน
4. ประการสุดท้าย จากกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นทุกฝ่ายต้องตระหนักร่วมกัน และต้องไม่ปล่อยให้ความเสียหายในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ประชาชนต้องตื่นรู้ ต้องร่วมกันตรวจสอบ และรัฐบาลต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2019 5:19 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดจุดอ่อน ปัญหาค่าโง่ซํ้าซาก
ออนไลน์เมื่อ 25 เมษายน 2562

บทบรรณาธิการ ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3464 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2562


ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย จ่ายค่าเสียหายแก่บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย)ฯ กรณีถูกยกเลิกสัญญา เป็นเงินมูลค่า 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% คืนหนังสือคํ้าประกันจากธนาคารกรุงเทพให้กับโฮปเวลล์ 500 ล้านบาท เป็นประวัติศาสตร์ค่าโง่ ในข้อพิพาทจากสัญญาสัมปทานแบบเทิร์นคีย์ให้คนไทยตกตะลึงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากรัฐเป็นฝ่ายแพ้คดีกับอีกหลายคดี เป็นค่าโง่ที่ต้องจ่ายซํ้าซาก โดยไม่ได้เกิดบทเรียนให้กับหน่วยงานราชการของไทยแต่อย่างใด ก่อนหน้านี้หน่วยราชการไทยแพ้คดีและต้องจ่ายค่าเสียหาย ตามคำสั่งศาลมามากต่อมากแล้ว อย่างคดีดอนเมืองโทลล์เวย์ คดีคลองด่าน คดีทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด สายบูรพาวิถี และฯลฯ เป็นค่าโง่ที่ต้องจ่ายอันเกิดจากสัญญาสัมปทานโครงการรัฐกับเอกชน โดยเมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นมีความเป็นไปได้น้อยมากที่รัฐจะเป็นฝ่ายชนะคดี

ก่อนเข้าสู่การฟ้องร้องในศาลนั้นคดีส่วนใหญ่จะผ่านการตัดสินมาจากคณะอนุญาโตตุลาการมาก่อนแล้ว เอกชนชนะคดีในอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว จึงมาฟ้องศาลบังคับตามคำสั่งอนุญาโตตุลาการ ซึ่งแทบทุกโครงการ ต้องมีข้อสัญญาบทอนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาท หลายคดีที่ผ่านมาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการภายใต้ข้อกำหนดแห่งสนธิสัญญาทวิภาคี เพื่อการคุ้มครองการลงทุนได้เพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก ตามสนธิสัญญาทวิภาคีได้กำหนดให้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นหนึ่งในกลไกระงับข้อพิพาท อันเกิดจากการลงทุน รับรองนักลงทุนผู้ได้รับความเสียหายจากการดำเนินการของรัฐ ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้น ผู้ฟ้องส่วนใหญ่เป็นเอกชนผู้รับสัมปทานเลือกผู้แทนคนหนึ่ง ผู้ถูกฟ้องซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจเลือกตัวแทนคนหนึ่ง และมีคนกลางอีกคนหนึ่ง ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้อง โดยรายชื่อผู้ที่คัดเลือกต้องขึ้นบัญชีในอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่รัฐจะเป็นฝ่ายเลือกผู้แทนผิดโดยตลอด มักไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญจริง ขาดความแม่นยำในข้อกฎหมายอย่างแท้จริงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้มาโดยตลอด

หลังจากพ่ายแพ้ในอนุญาโตตุลาการแล้ว มาสู้คดีกันต่อในศาลเพื่อบังคับตามคำสั่งอนุญาโตตุลาการ ซึ่งฝ่ายรัฐจะมีผู้แทนอัยการเข้าว่าความต่อสู้คดี บางครั้งต้องยอมรับว่าผู้แทนอัยการจะมีความเชี่ยวชาญและถนัดในคดีอาญามากกว่า คดีค่าเสียหายทางแพ่งหรือข้อพิพาทสัญญาการลงทุน จึงควรทบทวนบทเรียนการคัดเลือกอนุญาโตตุลาการใหม่ ที่ต้องเข้าใจภาษาอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากข้อสัญญาต้องแปลเป็นภาษาต่างประเทศและต้องแม่นยำในการศึกษาข้อสัญญาอย่างละเอียดรอบคอบ ด้านอัยการก็จำต้องปิดจุดอ่อนในแง่ความเชี่ยวชาญสัญญาธุรกิจระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาค่าโง่ซํ้าซาก

//----------------------

ค่าโง่ โฮปเวลล์ มรดกประชาธิปไตย
โดย: "ฝั่งขวาเจ้าพระยา" จาก "โชกุน"
ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 เมษายน 2562


ถ้ารัฐบาลชวน หลีกภัย 2 ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไม่บอกเลิกสัญญาก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ เมื่อต้นปี 2541 สัมปทาน ของโฮปเวลล์ ซึ่งมีอายุ 30 ปี จะหมดอายุลงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564

ภายใต้สัมปทาน โฮปเวลล์ มีสิทธิใช้พื้นที่ แนวเส้นทางรถไฟใน กรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ที่ดินสองข้างทาง และที่ดินการรถไฟฯ ที่มักกะสัน บางซื่อ และหัวลำโพง อีก ราวๆ 2 00 ไร่ ตามสัญญา ซึ่งหมายความว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่กำลังก่อสร้างใกล้จะเสร็จอยู่แล้ว สถานีกลางบางซื่อ รวมทั้ง รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของโฮปเวลล์ ถูกฟ้องร้องแน่

การยกเลิกสัญญาสัมปทานโฮปเวลล์ จึงเป็นความจำเป็น เพราะหากไม่เลิก การลงทุนในระบบรางของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เห็นกันอยู่ในตอนนี้ จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก มีโฮปเวลล์ เป็นหมาหวงก้างอยู่ กล่าวงคือ แม้กอร์ดอน วู จะไม่ทำโครงการต่อแล้ว แต่สัญญาสัมปทานยังคุ้มครองสิทธิ การใช้พื้นที่ เหนือรางรถไฟ และพื้นที่สองข้างทางอยู่

รัฐบาลชวน 2 โดยนายสุเทพ บอกเลิกสัญญา เพราะโฮปเวลล์หยุดก่อสร้างไปนานแล้ว และตอนนั้น ประเทศไมยกำลังจะเป้นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ ตอนปลายปี 2541 กระทรวงคมนาคมต้องการสร้าง ถนนโลคัลโรด จากหัวหมาก มาถึงยมราช เพื่ออรองรับการจราจร ซึ่งโลคัลโรดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ แต่โฮปเวลล์ ไมได้ส้ราง เมื่อรัฐบาลเข้าไปสร้าง ก็ถูกโฮปเวลล์ฟ้องว่า ละเมิดสิทธิ

การถามหา ผู้รับผิดชอบ ในการบอกเลิกสัญญาสัมปทานโฮปเวลล์ ซึ่งเป็นเหตุให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องจ่ายเงินที่โฮปเวลล์ลงทุนไปแล้ว รวม 11,800 ล้านบาท และดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน และต่อไป จนกว่าจะชำระเงินครบ ตามคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด จึงไม่ถูก

ผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับค่าโง่จำนวนมหาศาลนี้ คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการทำให้โคงรงการโฮปเวลล์ เกิดขึ้นมา เมื่อ 30 ปีก่อน คือ รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ที่มีนายมนตรี พงษ์พานิช สส .อยุธยา พรรคกิจสังคม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายกอร์ดอน วู นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจก่อสร้าง ชาวฮ่องกง เป็นเจ้าของไอเดีย สร้างทางยกระดับสามชั้น เหนือรางรถไฟในกรุงเทพ เพื่อแก้ปัญหา จุดตัดของทางรถไฟกับถนน จำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาการจราจร

ชั้นที่ 1 เป็นทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ชั้นที่ 2 เป็นรถไฟชุมชน ของโฮปเวล์ ซึ่งเหมือนกับรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ชั้น 3 เป็นทางด่วน สำหรับรถยนต์ ทั้งหมดนี้ การรถไฟฯ ไม่ต้องลงทุนสักบาท กอร์ดอน วู ลงทุนเองทั้งหมด แถมยังจ่ายค่าตอบแทนให้การรถไฟฯ เป็นเงินก้อนใหญ่ แบ่งชำระเป็นงวด แลกกับ การนำที่ดินการรถไฟฯประมาร 200ไร่ ไปพัฒนาหารายได้

ตอนนั้น ประเทศไทย เพิ่งเปลี่ยนจาก ระบอบอมาตยาธิปไตย ประชาธิปไตยครึ่งใบ ที่มีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีนานถึง 8 ปี มาเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เศรษฐกิจกำลังทะยานขึ้น จากรากฐานอันมั่นคงที่ระบอบอมาตยาธิปไตยสร้างไว้ และนโยบายเปลี่ยนการค้าเป็นสนามรบ ของพลเอกชาติชาย

ควบคู่กับ การเบ่งบานของประชาธิปไตย ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ คือ การทุจริต คอร์รัปชั่น ของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง จนรัฐบาลพลเอกชาติชาย ได้ฉายาว่า “ บุฟเฟ่ต์คาบิเนต” ซึ่งมีความหมายว่า ใครใคร่โกง โกง ใคร ใคร่ กินกิน

โครงการโฮปเวลล์ ก็เป็นหนึ่งในเมนูในไลน์ บุฟเฟต์ของรัฐบาลชาติชาย ที่มีแต่ความฝัน ไม่มีรายละเอียดโครงการ การออกแบบ การก่อสร้าง สร้างไปออกแบบไป จึงทำให้มีปัญหาในเรื่องการก่อสร้างอยู่ตลอดเวลา และไม่มีแผนการเงินที่ชัดเจน สร้างไปหาเงินไป จึงทำให้เมื่อ แนวโน้มธุรกิอสังหาริมทรัพย์อันเป็นหัวใจสำคัญของโครงการในช่วงหลังจากปี 2535 เริ่มเข้าสู่ขาลง โครงการโฮปเวลล์ในสายตาสถาบันการเงิน และนักลงทุนต่างชาติ เป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง

กอร์ดอน วู สามารถทำให้พลเอกชาติชาย และนายมนตรี อนุมัติโครงการได้ แม้ว่า จะไม่มีรายละเอียดใดๆเลย โดยมีการเซ็นสัญญา กันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533 หลังจากนั้น อีก เพียง 3 เดือน รัฐบาลพลเอกชาติชาย ก็ถูกรัฐประหาร โดยคณะ รสช. ของกลุ่มนายทหาร จปร รุ่น 5 และมีการตั้ง รัฐบาล ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี นายนุกุล ประจวบเหมาะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

โครงการโฮปเวลล์ เป็นโครงการหนึ่งที่รัฐบาลอานันท์ ตรวจสอบ และถูกยกเลิก การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร และสิทธิอื่น ที่รัฐบาลชาติชายรับปากไว้ รวมทั้งการสั่งให้เลิกโครงการ เพราะมีที่มาไม่โปรง่ใส แต่ก็ไม่มีมติ ครม อย่างชัดเจน ทำให้โครงการโฮปเวลล์ ยังคงเดินหน้าต่อไป แบบลูกผีลูกคน มาอีก หลายปี ก่อนจะยุติการก่อสร้าง และถูกยกเลิกสัญญาเมื่อต้นปี 2541



การบอกเลิกสัญญาของรัฐบาลชวน 2 เป็นการดำเนินการต่อ จาก มติ ครม. รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งมีมติ ครม. วันที่ 30 กันยายน 2540 แต่หลังจากนั้นเพียง 5 สัปดาห์ พลเอกชวลิต ก็ลาออก เพราะทนต่อแรงกดดันจาก วิกฤติต้มยำกุ้งไม่ไหว พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาล และนายชวนกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2

เสาตอม่อ โครงสร้างขนาดใหญ่ 100 กว่าต้น ของโครงการโฮปเวลล์ บนเส้นทางรถไฟ จากดอนเมือง มาจนถึงแถวๆบางเขน คือ อนุสรณ์การโกงกินอย่างมโหฬาร ในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ เวลาพูดถึงโฮปเวลล์ คนทีททันยุคนั้น นะนึกถึง ชื่อ มนตรี พงษ์พานิช แต่ถ้าพลเอกชาติชายไม่สั่ง หรือไม่พยักหน้า นายมนตรีจะทำได้หรือ

เสาตอม่อเหล่านี้ ถูกรื้อถอนไปเมื่อไม่นานมานี้ เพราะมีการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง บางซื่อ รังสิต

บัดนี้ เรามีอนุสรณ์ใหม่ คือ ค่าโง่โฮปเวลล์ 12000 ล้านบาท ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากยุคประชาธิปไตยเต็มใบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2019 2:10 am    Post subject: Reply with quote

สิริรวมค่าโง่ 2.5 หมื่นล้านบาท รฟท.วอนรัฐบาลช่วยจ่ายเงินโฮปเวลล์
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
27 เมษายน 2562 06:01 น.

ประธาน บอร์ด รฟท. สั่งตั้งทีมทำงานสางปัญหาค่าโง่ “โฮปเวลล์” พร้อมสั่งฝ่ายบริหาร รวบรวมข้อมูลย้อนหลังโครงการ 26 ปี ยอมรับปัญหาค่าโง่กระทบแผนฟื้นฟูกิจการ ด้านรถไฟคาด “ค่าโง่โฮปเวลล์” 2.5 หมื่นล้านบาท เร่งจ่ายคืนใน 180 วันตามคำตัดสินศาล วอนขอ “รัฐบาล-คมนาคม” ช่วยจ่ายเงินชดเชย

นายกุลิศ สมบัติศิริ ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) (บอร์ด รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟท. ว่า บอร์ด รฟท.ได้พิจารณาเรื่องคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับคดีโฮปเวลล์ โดย รฟท.ได้รายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระหว่างปี 34-7 ต.ค. 40 ให้บอร์ดรับทราบ จากนั้นที่ประชุมบอร์ดจึงมีมติให้ รฟท. แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำงานร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงคมนาคม ในการหาแนวทางปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ดีที่สุดและรัฐเสียประโยชน์น้อยที่สุด นอกจากนี้ บอร์ด รฟท.ขอให้ฝ่ายบริหาร หาข้อมูลเกี่ยวกับคดีโฮปเวลล์ให้มากที่สุด เพื่อใช้รองรับการพิจารณา เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลา 26 ปีแล้ว
ทั้งนี้คณะทำงานจะตั้งขึ้นมาเพื่อดูแนวทางปฏิบัติและข้อกฎหมายต่างๆ ภายหลังศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษา ให้ภาครัฐ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ชดเชยค่าบอกเลิกสัญญาโครงการโฮปเวลล์ 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี ภายใน 180 วัน

นายกุลิศ กล่าวว่า แม้ปัญหาโครงการโฮปเวลล์ จะเป็นประเด็นที่บอร์ด รฟท. ชุดปัจจุบัน ไม่เคยทราบมาก่อน แต่ก็พร้อมจะเดินหน้าสางปัญหา และดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครอง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของภาครัฐ เป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้นจึงได้สั่งการให้มีการตั้งทีมทำงานขึ้นหนึ่งชุด เพื่อดำเนินการ ตามกรอบเวลาที่ศาลกำหนดมาภายใน 180 วัน โดยทีมงานจะประกอบด้วย บอร์ด รฟท., นายวรวุฒิ มาลารักษาการผู้ว่า รฟท. ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงบประมาณ, กรมบัญชีกลาง เข้าร่วม รวมทั้งได้สั่งการให้มีการรวบรวมข้อมูลของโครงการย้อนหลัง 26 ปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ด้วย

ส่วนตัวเลขที่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามคำพิพากษาของศาล จะเป็น 25,000 ล้านบาทหรือไม่นั้น จะไม่ขอพูดถึงตัวเลขเงินชดเชยในขณะนี้เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบในรายละเอียด หากมีการพูดไป และปรากฏว่าเป็นตัวเลขที่มากหรือน้อยเกินไปก็จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ ส่วนการเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการโครงการในขณะนั้นอาจเอาผิดย้อนหลัง แต่อย่างไรก็ตามจะต้องให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ด้วยเนื่องจากบางคนเข้ามาในช่วงที่โครงการจบแล้ว

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า หลังจากนี้จะต้องมีการทำงานร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ทั้ง รฟท. อัยการ และกระทรวงคมนาคมและในวันจันทร์ที่จะถึงนี้จะมีการรายงานมติบอร์ดที่ได้ข้อสรุปในวันนี้ให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว. คมนาคมรับทราบด้านแนวทางจ่ายค่าชดเชยก็เป็นไปได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยเงินสดหรือให้สิทธิ์โฮปเวลล์เข้ามาใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟฯ โดยต้องรอให้คณะทำงานสรุปแนวทางก่อน จึงจะไปเจรจาหรือประนอมหนี้กับ โฮปเวลล์ต่อไป

ด้านนายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการ กลุ่มอำนวยการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า การพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยแก่โฮปเวลล์ หลักๆจะพิจารณามใน 3 ประเด็น คือ 1.วงเงินค่าชดเชยทั้งหมด, 2.ใครจะต้องรับผิดชอบค่าชดเชยบ้าง และจ่ายในสัดส่วนเท่าใด และ 3.กำหนดท่าทีในการเจรจากับบริษัท โฮปเวลล์ เพื่อขอลดหย่อนค่าชดเชยบางรายที่สามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ ฝ่ายบริหาร รฟท.ได้สรุปตัวเลขค่าชดเชยไว้แล้วโดยล่าสุดวงเงินค่าชดเชยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้น 12,000 ล้านบาทและดอกเบี้ย 13,000 ล้านบาทสำหรับวงเงินดังกล่าวแตกต่างจากตัวเลขที่มีผู้คำนวณไว้ก่อนหน้านี้ ว่าอาจจะสูงถึง 50,000-60,000 ล้านบาท เนื่องจากระยะเวลาการคำนวณอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน เช่น ค่าก่อสร้างได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในปี 51 ไม่ใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่บอกเลิกสัญญาในปี 40-41 หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมธนาคารก็คิดให้ดอกเบี้ยแค่ 5 ปีเท่านั้น

สำหรับผู้รับผิดชอบค่าชดเชยควรมีทั้งหมด 3 ส่วน คือ รัฐบาล, กระทรวงคมนาคม และ รฟท. โดยทาง รฟท.เห็นว่าควรจ่ายค่าชดเชยทั้งหมดแก่ โฮปเวลล์ ภายใน 180 วันตามที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เพื่อแสดงความเคารพต่อคำตัดสินของศาล และล่าสุดก็ได้หารือกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ในเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยสหภาพฯ เข้าใจ.

//---------------------------

รถไฟหนี้รุงรัง จุกหนักสรุปจ่ายค่าโง่โฮปเวลล์ ทั้งต้น-ดอก 2.5 หมื่นล้าน
โดย ไทยรัฐออนไลน์
27 เมษายน 2562 16:15 น.

รถไฟสรุปตัวเลขต้องจ่ายค่าโง่โฮปเวลล์ ทั้งเงินต้นและดอก มหาศาล 2.5 หมื่นล้านบาท จ่อเสนอครม. 30 เม.ย.นี้ ขอให้รัฐบาล-คมนาคม ช่วยจ่ายด้วย เพราะมีหนี้สะสม 1.2 แสนล้าน คงไม่ไหว...


เมื่อวันที่ 26 เม.ย. คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประชุมหารือกรณีศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้กระทรวงคมนาคม โดย รฟท.จ่ายค่าชดเชยบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จากการบอกเลิกสัญญาโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับรวมเป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยต้องจ่ายค่าชดเชยให้เสร็จภายใน 180 วันนับตั้งแต่คดีสิ้นสุดลง

ด้านนายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการ กลุ่มอำนวยการ รฟท. เปิดเผยว่า หลังจากสรุปดอกเบี้ยและเงินต้นทั้งหมดพบว่ามีจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายให้กับโฮปเวลล์ 25,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้น 12,000 ล้านบาท และดอกเบี้ย 13,000 ล้านบาท โดยขั้นตอนต่อจากนี้จะเสนอวงเงินที่ต้องจ่ายคืนให้กระทรวงคมนาคมในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ก่อนเสนอที่ประชุม ครม.วันที่ 30 เม.ย. โดยจะขอให้รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมช่วยจ่ายหนี้ก้อนนี้ด้วย เนื่องจากปัจจุบัน รฟท.มีหนี้สะสมประมาณ 120,000 ล้านบาท

ทั้งนี้แม้ค่าชดเชยดังกล่าวจะถูกบันทึกเป็นกำไรขาดทุนในผลประกอบการ แต่สุดท้ายรัฐบาลต้องช่วยเหลือ รฟท.ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย และไม่ว่ารัฐบาลจะให้ รฟท.ใช้หนี้จำนวนเท่าใด จะต้องทำเรื่องเสนอกู้เงินทั้งหมดเพื่อใช้หนี้ โดยหาจากแหล่งเงินภายในประเทศเป็นหลัก

ด้านนายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานกรรมการ รฟท. ระบุว่า เบื้องต้นจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมร่วมจ่ายด้วย โดยยอมรับกรณีที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่าหนักใจสำหรับ รฟท. เนื่องจากภาระหนี้เดิมมีจำนวนมากอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหลังจากได้แนวทางการแก้ไขปัญหาแล้วจำเป็นจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เพื่อตรวจสอบย้อนหลังการทำงานของผู้บริหาร รฟท.ที่ผ่านมา ซึ่งไม่ได้รายงานเรื่องนี้ให้คณะกรรมการ รฟท.ได้รับทราบ กระทั่งเกิดเรื่องไม่ทันตั้งตัว.

// ------------------------

ประธาน บอร์ด รฟท.สั่งตั้งทีมทำงานสางปัญหาค่าโง่โฮปเวลล์
โดย ไทยรัฐออนไลน์
26 เมษายน 2562 22:16 น.

ประธาน บอร์ด รฟท.สั่งตั้งทีมทำงานสางปัญหาค่าโง่ โฮปเวลล์ ปัดตอบต้องจ่าย 25,000 ล้านบาทหรือไม่ พร้อมสั่งฝ่ายบริหาร รวบรวมข้อมูลย้อนหลังโครงการ 26 ปี...


เมื่อวันที่ 26 เม.ย.62 นายกุลิศ สมบัติศิริ ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) (บอร์ด รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟท. ว่า บอร์ด รฟท.ได้พิจารณาเรื่องคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับคดีโฮปเวลล์ โดย รฟท. ได้มีการรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระหว่างปี 34 -7 ต.ค. 40 ให้บอร์ดรับทราบ จากนั้นที่ประชุมบอร์ดจึงมีมติให้ รฟท. แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำงานร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงคมนาคม ในการหาแนวทางปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ดีที่สุดและรัฐเสียประโยชน์น้อยที่สุด

นอกจากนี้ บอร์ด รฟท.ขอให้ฝ่ายบริหาร หาข้อมูลเกี่ยวกับคดีโฮปเวลล์ให้มากที่สุด เพื่อใช้รองรับการพิจารณา เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลา 26 ปีแล้ว

ทั้งนี้คณะทำงานจะตั้งขึ้นมาเพื่อดูแนวทางปฏิบัติและข้อกฎหมายต่างๆ ภายหลังศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษา ให้ภาครัฐ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ชดเชยค่าบอกเลิกสัญญาโครงการโฮปเวลล์ 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปีภายใน 180 วัน

นายกุลิศ กล่าวว่า แม้ปัญหาโครงการโฮปเวลล์ จะเป็นประเด็นที่บอร์ด รฟท. ชุดปัจจุบัน ไม่เคยทราบมาก่อน แต่ก็พร้อมจะเดินหน้าสางปัญหา และดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครอง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของภาครัฐ เป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้นจึงได้สั่งการให้มีการตั้งทีมทำงานขึ้นหนึ่งชุด เพื่อดำเนินการ ตามกรอบเวลาที่ศาลกำหนดมาภายใน 180 วัน โดยทีมงานจะประกอบด้วย บอร์ด รฟท. ,นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่า รฟท. ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด,สำนักงบประมาณ,กรมบัญชีกลาง เข้าร่วม รวมทั้งได้สั่งการให้มีการรวบรวมข้อมูลของโครงการย้อนหลัง 26 ปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ด้วย

ส่วนตัวเลขที่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามคำพิพากษาของศาล จะเป็น 25,000 ล้านบาท หรือไม่นั้น จะไม่ขอพูดถึงตัวเลขเงินชดเชยในขณะนี้ เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบในรายละเอียด หากมีการพูดไป และปรากฏว่าเป็นตัวเลขที่มากหรือน้อยเกินไปก็จะเกิดความเสียหายขึ้นได้

ส่วนการเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการโครงการในขณะนั้น อาจมีการเอาผิดย้อนหลัง แต่อย่างไรก็ตามจะต้องให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ด้วย เนื่องจากบางคนเข้ามาในช่วงที่โครงการจบแล้ว นอกจากนี้นายกุลิศ ยอมรับเลยว่าปัญหาค่าโง่ โฮปเวลล์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อแผนฟื้นฟูกิจการ ของ รฟท.แน่นอน ดังนั้นหลังจากนี้จะต้องไปดูว่าจะมีการปรับแผนฟื้นฟูกิจการอย่างไร

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่า รฟท. กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้จะต้องมีการทำงานร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ทั้ง รฟท. อัยการ และกระทรวงคมนาคม และในวันจันทร์ที่จะถึงนี้จะมีการรายงานมติบอร์ดที่ได้ข้อสรุปในวันนี้ให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว. คมนาคมรับทราบด้านแนวทางจ่ายค่าชดเชยก็เป็นไปได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยเงินสดหรือให้สิทธิ์โฮปเวลล์เข้ามาใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟฯ โดยต้องรอให้คณะทำงานสรุปแนวทางก่อน จึงจะไปเจรจาหรือประนอมหนี้กับบริษัท โฮปเวลล์ต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2019 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

สายสีแดงวิ่งปี’63 รฟฟท.เปิดแผนหั่นค่าตั๋ว50%

วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด(รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง รฟฟท. ผู้เดินรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต อยู่ระหว่างการศึกษาระบบขนส่งเสริม (Feeder) เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนให้มาใช้บริการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่อยู่โดยรอบรัศมี 2-4 กิโลเมตร ของสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยเฉพาะบริเวณสถานีรังสิต หลักหก หลักสี่ ที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก และจากผลการศึกษาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่คาดการณ์ว่าจะมีประชาชนมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 13 สถานี รวมประมาณ 86,620 คนต่อวัน แต่ รฟฟท.คาดว่าจะมีผู้โดยสารมากกว่านั้น โดยได้ตั้งเป้าปีแรกของการเปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการประมาณ 116,620 คนต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 30,000 คนต่อวัน


สำหรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นนั้นได้แบ่งกลุ่มผู้ใช้บริการเป็น 3 กลุ่มได้แก่
1.กลุ่มผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 10,000 คน
2.กลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการ ร.ฟ.ท. เดิม จำนวน 10,000 คน และ
3.กลุ่มลูกค้าที่เดินทางโดย Feeder ที่เชื่อมต่อมายังสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง จำนวน 10,000 คน



นายสุเทพกล่าวว่า ประมาณ เดือนพฤษภาคมนี้ จะมีการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี(ครม. ) ให้ รฟฟท. ไปทำหน้าที่บริหารจัดการเดินรถไฟสายสีแดง ขณะที่การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นทาง รฟฟท. ได้เตรียมเสนอขอบริหารพื้นที่เพิ่มเติมอีก 1 สถานี คือ สถานีดอนเมือง เนื่องจากคาดว่ากลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นนักท่องเที่ยว ที่จะเชื่อมต่อการเดินทางจากสายการบินต้นทุนต่ำ(Low-cost) มาใช้บริการ นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับแสดงผลงานของนักศึกษา หรือแสดงนิทรรศการต่างๆ ไว้ด้วย

ทั้งนี้ขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดงขบวนแรกจะมาถึงประเทศไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2562 และสามารถทดสอบระบบได้ในช่วงเดือนมกราคม 2563 ในช่วงแรกจูงใจให้ประชาชนมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงด้วยการลดค่าโดยสาร 50% หรือเสนอโปรโมชั่นราคา 17 บาทตลอดสาย ในช่วง 3-6 เดือนแรก จากค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 34 บาทตลอดสาย

นอกจากนี้เตรียมหารือร่วมกับ ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต เพื่อให้บริการรถ Shuttle Bus ขนส่งผู้โดยสารมาใช้บริการ พร้อมทั้งจัดจุดจอด-จุดกลับรถไว้รองรับ รวมถึงจะมีการหารือกับสถาบันการศึกษา ห้างสรรพสินค้าอื่นๆ และศูนย์ราชการต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ล่าสุดมีผู้ประกอบการเดินเรือมาเจรจาเพื่อเข้าร่วมเป็นหนึ่งในระบบ Feeder จากคลองรังสิต มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/04/2019 8:30 am    Post subject: Reply with quote

30 เมษาฯ ค่าโง่โฮปเวลล์ถึงมือ”บิ๊กตู่” การรถไฟฯเผยอาจเปิดเจรจาเอกชนพ.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 29 April 2019 - 15:12 น.

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รายงานผลการประชุมนัดพิเศษเมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา กรณีโครงการโฮปเวลล์ โดยมีสาระสำคัญคือ จะตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาความเสียหาย ประเด็นที่เกี่ยวข้อง และคิดค่าเสียหายทั้งหมดรวมอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน

ทั้งนี้จะสรุปประเด็นทั้งหมดรายงานต่อนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมภายในวันนี้ ก่อนที่ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) จะได้นำเรียนประเด็นดังกล่าวให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบต่อไป แต่ทั้งนี้การจะรายงานให้ครม.ทราบหรือไม่นั้น ถือเป็นดุลยพินิจของรัฐมนตรี

ส่วนการจัดตั้งคณะทำงานฯคาดว่าภายใน 2 วันนี้จะสามารถแต่งตั้งได้ ส่วนจะมีการเจรจากับบจก.โฮปเวลล์(ประเทศไทย)หรือไม่ ต้องรอให้จัดตั้งคณะทำงานให้ได้ก่อน แล้วจึงมาวางรายละเอียดการดำเนินการ และหาข้อมูลให้ได้เพียงพอและตรงกันก่อน จึงจะเริ่มดำเนินการเจรจา

ขณะที่การดำเนินการเอาผิดทางละเมิดกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในแต่ละช่วงนั้น ถือเป็นอีกประเด็น เพราะวันนี้เป็นเพียงการตรวจดูรายละเอียดคำตัดสินของศาลและการคิดคำนวณค่าเสียหายและดอกเบี้ย และที่ประชาชนสงสัยว่าระหว่างร.ฟ.ท.กับกระทรวงคมนาคม ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ก็ยังไม่ได้พิจารณากัน เป็นเรื่องในระดับนโยบาย

“วันนี้ขออนุญาตไม่พูดถึงเรื่องรายละเอียดอะไรทั้งสิ้น ขอให้คณะทำงานที่จะตั้งขึ้นมาได้ทำงานก่อน แล้วก็หน้าที่ของคณะทำงาน รัฐมนตรีจะเป็นผู้ให้ข้อมูลเอง วันนี้จะไม่ลงรายละเอียด” นายจิรุตม์ระบุ

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่า ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้น่าจะตั้งคณะทำงานดังกล่าวได้ สัดส่วนของกรรมการมาจากหลากหลายหน่วยงาน เช่น ร.ฟ.ท. กระทรวงคมนาคม อัยการสูงสุด สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เป็นต้น ซึ่งได้ทำหนังสือไปถึงหน่วยงานดังกล่าวไปแล้ว และอาจจะเริ่มประชุมคณะทำงานนัดแรกได้ในสัปดาห์นี้เช่นกัน จะพยายามสรุปข้อมูลทุกอย่างให้ได้เร็วที่สุด เพื่อดำเนินการให้ทันตามที่ศาลกำหนดกรอบเวลาไว้ที่ 180 วัน อาจจะเริ่มเจรจากับโฮปเวลล์คู่ขนานได้กับการหาข้อมูลของคณะทำงานประมาณต้นเดือน พ.ค.นี้ หากมีข้อมูลที่ตรงกันและเพียงพอ

นอกจากนี้ ผู้ว่า ร.ฟ.ท.ยังชี้แจงถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ว่า ร.ฟ.ท.จะยกที่ดินให้บริหาร แลกกับค่าเสียหายว่า กรณีดังกล่าวเป็นเพียงการตั้งสมมติฐานเท่านั้น และประเด็นดังกล่าวเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ใช่ของบอร์ด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2019 10:36 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สายสีแดงวิ่งปี’63 รฟฟท.เปิดแผนหั่นค่าตั๋ว50%

วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.


จัดโปรโมชั่น 17 บาทตลอดสาย รฟฟท.รับเปิดเดินรถไฟสายสีแดง
วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562,

‘รฟฟท.’ เตรียมจัดโปรโมชั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต17 บาทตลอดสายเผยรถไฟขบวนแรกถึงไทยพ.ย.นี้ก่อนเดินหน้าทดสอบระบบในม.ค. 63 “สุเทพ” จ่อคุย“ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต” ส่งซัตเติลบัสขนคนใช้บริการเพิ่มเป้าผู้โดยสารอีก3 หมื่นคน/วันเน้นเจาะ3 กลุ่มเป้าหมาย

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด(รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดเผยว่าจากผลการศึกษาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ว่าจ้างสถาบันศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการนั้นคาดว่าจะมีประชาชนมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง13 สถานีรวมประมาณ86,620 คนต่อวันนั้นรฟฟท.ได้ตั้งเป้าหมายว่าในปีแรกของการเปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการประมาณ116,620 คนต่อวันหรือเพิ่มขึ้น3 หมื่นคนต่อวันจากผลการศึกษาดังกล่าว โดยจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นนั้นแบ่งเป็น3 กลุ่มละ1 หมื่นคนประกอบด้วย

1.กลุ่มผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
2.กลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการรฟท. เดิมและ
3.กลุ่มลูกค้าที่เดินทางโดยระบบขนส่งรอง(Feeder) ที่เชื่อมต่อมายังสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง

ในขณะนี้รฟฟท. อยู่ระหว่างการศึกษาระบบFeeder รองรับการเดินทางของประชาชนให้มาใช้บริการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่อยู่ในรัศมี2-4 กิโลเมตรของสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงโดยเฉพาะบริเวณสถานีสำคัญๆอาทิรังสิตหลักหกหลักสี่ที่เชื่อว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ขณะที่การอนุมัติให้รฟฟท. ไปทำหน้าที่บริหารจัดการเดินรถไฟสายสีแดงนั้นคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบภายในเดือนพ.ค.นี้อย่างไรก็ตามขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดงขบวนแรกจะมาถึงประเทศไทยในช่วงเดือนพ.ย.นี้และสามารถทดสอบระบบได้ในช่วงเดือนม.ค.2563

“เมื่อรฟฟท. ได้เข้ามาบริหารรถไฟฟ้าสายสีแดงในรูปแบบNet Cost เราจะต้องรับผิดชอบทั้งหมดทั้งรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นการบริหารเพื่อให้มีผู้โดยสารมาใช้บริการมากๆเป็นสิ่งสำคัญจึงได้กำหนดหลายโมเดลเพื่อดึงคนมาใช้บริการทั้งการเพิ่มความสะดวกสบายเช่นจัดทำแอพพลิเคชั้นตรวจสอบตารางเวลาของรถไฟแบบเรียลไทม์การจ่ายค่าโดยสารผ่านQR Code ที่กำลังคุยกับธนาคารกรุงไทยรวมไปถึงการนำเสนอโปรโมชั่นต่างๆด้วย”นายสุเทพกล่าวต่ออีกว่าเพื่อเป็นการจูงใจให้ประชาชนมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตรฟฟท. จึงเตรียมเสนอลดค่าโดยสาร50% หรือเสนอโปรโมชั่นราคา17 บาทตลอดสายในช่วง3-6 เดือนแรกจากค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่34 บาทตลอดสายโดยจะให้บริการเดินรถด้วยความถี่ 8 นาทีต่อขบวนซึ่งนำประสบการณ์จากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์มาบริหารจัดการขณะเดียวกันเตรียมหารือร่วมกับห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิตเพื่อให้บริการรถซัตเติลบัส(Shuttle Bus) ขนส่งผู้โดยสารมาใช้บริการพร้อมทั้งจัดจุดจอด-จุดกลับรถไว้รองรับด้วยรวมถึงจะมีการหารือกับสถาบันการศึกษาห้างสรรพสินค้าอื่นๆและศูนย์ราชการต่อไปในอนาคตล่าสุดมีผู้ประกอบการเดินเรือเจ้าพระยารายหนึ่งมาเจรจาเพื่อเป็นอีกหนึ่งระบบFeeder จากคลองรังสิตมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง

ขณะที่การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงจำนวน10 สถานีจากทั้งหมด13 สถานีนั้นนายสุเทพกล่าวว่ารฟฟท. เตรียมเสนอขอบริหารพื้นที่เพิ่มเติมอีก1 สถานีคือสถานีดอนเมืองที่คาดว่ากลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นนักท่องเที่ยวจะเชื่อมต่อการเดินทางจากสายการบินโลว์คอสต์มาใช้บริการโดยรฟฟท. ได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรต่างๆเช่นสายการบิน สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(ATTA) สมาคมการโรงแรมไทยสถาบันการศึกษาเป็นต้นนอกจากนี้ยังได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับแสดงผลงานของนักศึกษาหรือแสดงนิทรรศการต่างๆไว้ด้วย และเตรียมที่จะมีการRoad Show ในเร็วๆนี้ “ปัจจุบันเราทำร่วมกับศูนย์การค้าเดอะไนน์พระราม9 พร้อมบริการจุดจอดรถหัวหมากและรามคำแหงไว้รองรับโดยจะนำโมเดลนี้ไปใช้กับสายสีแดงต่อไปสำหรับกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้บริการรถไฟสายสีแดงถือว่ามีศักยภาพไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยชั้นนำห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้าสถานที่อีกทั้งประชาชนในชุมชนใกล้เคียงระยะทางในรัศมี2-4 กิโลเมตรให้สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกสบายรวดเร็วขึ้นจึงต้องจัดวางระบบฟีดเดอร์เพื่ออำนวยความสะดวกรูปแบบต่างๆ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2019 9:01 pm    Post subject: Reply with quote

โชว์คำวินิจฉัย อสส.ยุค‘คณิต’ ชี้เลิกสัญญาโฮปเวลล์ฯได้ ถ้าฝ่ายรัฐไม่มีส่วนผิด?
เขียนโดยisranews
หมวดหมู่Isranews | รายงาน-สกู๊ป | Investigative | ข่าวทั่วไปศูนย์ข่าวสืบสวน

เขียนวันที่ วันจันทร์ ที่ 06 พฤษภาคม 2562 เวลา 12:01 น.

“…คู่สัญญาฝ่ายรัฐย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยดำเนินการตามขั้นตอนในสัญญาข้อที่ 27.1 และ 27.2 ทั้งยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากบริษัท โฮปเวลล์ฯ ได้ตามสัญญาข้อที่ 27.3 และ 27.4 โดยที่บริษัท โฮปเวลล์ฯ ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่สัญญาฝ่ายรัฐ … อย่างไรก็ตามในการบอกเลิกสัญญาดังกล่าว ควรต้องตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อเท็จจริง และผลกระทบของการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวให้ชัดเจน…”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/05/2019 5:35 am    Post subject: Reply with quote

อัดฉีดสายสีแดงรอบที่ 5 รถไฟสร้างบานตะไท 6 ปี ทะลุแสนล้าน
ประชาชาติธรุกิจ วันที่ 9 May 2019 - 18:16 น.

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต

ไม่ใช่แค่สร้างกันมาราธอนอย่างเดียว

ล่าสุด กลายเป็นโปรเจ็กต์ที่ทุบสถิติขอเพิ่มงบประมาณก่อสร้างบ่อยที่สุดถึง 5 ครั้ง สำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วง “บางซื่อ-รังสิต” ระยะทาง 26 กม. มี “ร.ฟ.ท.การรถไฟแห่งประเทศไทย” เป็นผู้ดำเนินการ ค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นมีหลายสาเหตุ ย้อนไป ครั้งแรกเมื่อปี 2552 เพิ่ม 15,660 ล้านบาท จาก 59,888 ล้านบาท เป็น 75,548 ล้านบาท หลังแบบก่อสร้างฉบับเดิมที่บริษัทที่ปรึกษาคำนวณไว้ไม่สอดคล้องกับต้นทุนในขณะนั้น

ถัดมาปี 2555 ขยับเพิ่มเป็นครั้งที่ 2 อยู่ที่ 80,375 ล้านบาท เนื่องจากผู้รับเหมาเสนอราคาประมูลทั้ง 3 สัญญา เกินจากกรอบราคากลาง ทำให้ “ร.ฟ.ท.” ขอขยายกรอบวงเงินเพิ่ม 4,827 ล้านบาท


ครั้งที่ 3 ในปี 2558 ขอเพิ่ม 8,104 ล้านบาท หลังปรับแบบก่อสร้าง “สถานีกลางบางซื่อ” ส่วนของชานชาลาสถานีและโครงการทางให้รองรับกับรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในอนาคต ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มอยู่ที่ 88,479 ล้านบาท

ครั้งที่ 4 ในปี 2559 เกิดจากผลเจรจาประมูลสัญญาที่ 3 กับกลุ่มร่วมค้า MHSC (มิตซูบิชิ เฮฟวี่-ฮิตาชิ-สุมิโตโม) ผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งติดหล่มการประมูลอยู่นานนับปีกว่าจะเคาะราคาสุดท้ายที่ 32,399 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มจากเดิม 25,656 ล้านบาท อีก 6,743 ล้านบาท ทำให้ค่าก่อสร้างโครงการเพิ่มเป็น 95,222 ล้านบาท

ล่าสุด นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า กำลังจะขอเพิ่มอีกเป็นครั้งที่ 5 กว่า 9,000 ล้านบาท ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.แล้ว อยู่ระหว่างทำข้อมูลเพิ่มเติมส่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนเสนอ ครม. เพื่อขอขยายกรอบวงเงินเพิ่ม ซึ่งขอเป็นกรอบไว้แต่เวลาเบิกงบประมาณใช้จริงอาจจะไม่ถึงก็ได้

“วงเงินที่เพิ่มมามีหลายส่วน เช่น มีการปรับสร้างรางเพิ่มจาก 3 ราง เป็น 4 ราง ผู้รับเหมาขอค่าชดเชยขยายเวลา ภาษีนำเข้ารถ เป็นต้น”

รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างงานโยธาขอค่าชดเชยจากการขยายเวลาก่อสร้าง เนื่องจากโครงการนี้ใช้เงินกู้จากไจก้า (องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น) ในสัญญาระบุให้ผู้รับเหมาเรียกค่าชดเชยได้ หากมีการขยายเวลาก่อสร้าง

แยกเป็นสัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ) เป็นผู้ก่อสร้างขอขยายเวลาถึงเดือน พ.ย. 2562 ขอค่าชดเชยประมาณ 3,000 ล้านบาท

เพราะมีการรื้อสิ่งปลูกสร้างของ ร.ฟ.ท.ออกจากพื้นที่และปลูกสร้างขึ้นใหม่ขึ้นมาแทน เช่น ย้ายตึกบริการสินค้า เนื่องจากเป็นงานที่ไม่ได้อยู่ในการดำเนินการตั้งแต่แรก

และสัญญาที่ 2 งานโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและระดับพื้น งานสถานี 8 แห่ง และถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้าม มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ขอขยายถึงเดือน ก.ย. 2562 เนื่องจากติดส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างสกายวอล์ก ขอค่าชยเชยประมาณ 1,000 ล้านบาท

เมื่อรวม 5 ครั้งที่สะสมมา เท่ากับรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต ที่ใช้เวลาก่อสร้างมาถึงปีที่ 6 ได้ใช้เงินก่อสร้างรวมกว่า 104,222 ล้านบาท

แต่สิ่งที่น่าติดตามต่อไป นั่นคือไทม์ไลน์การเปิดบริการที่ ร.ฟ.ท.ย้ำหมุดหนักหนาจะเปิดในเดือน ม.ค. 2564 จะยังเป็นไปตามเป้าหรือเจอโรคเลื่อน เพราะดูจากที่ของบประมาณเพิ่มแล้ว ไม่รู้ยังมีเนื้องานใหม่งอกขึ้นมาระหว่างทางอีกหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2019 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ใกล้แจ้งเกิด บริษัทลูก”ทรัพย์สินและเดินรถ - ปลายปีประมูลเชิงพาณิชย์สถานีบางซื่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 14 พฤษภาคม 2562 - 19:04




รฟท.ชงคนร.เคาะ แผนฟื้นฟู พร้อมลุยตั้ง 2 บ.ลูก “ทรัพย์สินและสายสีแดง” ยอมรับ สีแดงจะเห็นกำไรหลังปีที่13 ต้องวางแผนเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย คาดมีเก็บค่าธรรมเนียมช่วยลดขาดทุน ขณะที่ปลายปี 62 เปิดประมูลเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 พ.ค. คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟู รฟท.และการจัดตั้งบริษัทลูก ด้านบริหารสินทรัพย์ และบริษัทลูกรถไฟสายสีแดง ซึ่งรฟท.ได้เตรียมพร้อมข้อมูลและการชี้แจงเพิ่มเติมซึ่งการจัดตั้งบริษัทลูกเดินรถไฟสายสีแดง จะเป็นการอัปเกรดบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (ผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) เพิ่มพันธกิจขอบเขตงาน กำหนด ซึ่งจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ 3,400 ล้านบาท ซึ่งหากคนร.เห็นชอบ จะคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป และจัดตั้งบริษัทลูกต่อไป

โดย บริษัทลูกสายสีแดงนั้น ประเมินว่า จะมีกำไรในปีที่ 13-14 โดยคาดว่าจะต้องมีผู้โดยสารมากกว่า 8-9 หมื่นคน/วัน ขณะที่จะเปิดให้บริการ ในเดือนม.ค. 2564 ตั้งเป้าผู้โดยสารไว้ที่ 8 หมื่นคน/วัน แต่ปีที่เปิดให้บริการคาดว่าจะยังมีผู้โดยสารไม่มากนัก ซึ่ง บริษัทลูกสายสีแดง จะทำหน้าที่บริหารการเดินรถไฟสายสีแดง (Operator) และได้รับสิทธิในการบริหารพื้นที่ของสถานีรายทางของสายสีแดง เพื่อหารายได้เสริม ยกเว้นสถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีรังสิต

*** หาทางเพิ่มรายได้โป๊ะรายจ่าย บริหารสถานีกลางบางซื่อ

นายวรวุฒิกล่าวว่า ในส่วน สถานีกลางบางซื่อ รฟท.อยู่ระหว่างศึกษา โดยเปิดรับฟังความเห็นและความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ และจัดทำร่างเอกสารประกอบการจัดจ้างเอกชนเพื่อบริหารจัดการพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะมีกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีรายได้ และส่วนของบริการ ที่เป็นค่าใช้จ่าย โดยประเมินว่า ส่วนของรายได้จะต่ำกว่ารายจ่าย ดังนั้น จะศึกษากำหนดรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุน และหารายได้เพิ่ม โดยไม่ให้กระทบต่อ Level Of Service

“สถานีรถไฟจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก ครบถ้วน และให้ทุกคนเข้าถึงบริการได้เท่าเทียมกัน และเป็นบริการที่ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ทำให้มีรายได้ไม่มากนัก ไม่เหมือนสนามบินที่มีค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ดังนั้น จะต้องหาแนวทางการบริหารจัดการลดรายจ่าย และต้นทุน และหากจำเป็นต้องเก็บค่าธรรมเนียมจะต้องกำหนดอัตราที่เหมาะสมและนำเสนอรัฐบาลเพื่อขออนุมัติต่อไป”

***รับฟังความเห็นนักลงทุน บริหารเชิงพาณิชย์ สถานีกลางบางซื่อ

ด้าน นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ รฟท. กล่าวว่า สถานีกลางบางซื่อจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนม.ค. 2564 พร้อมกับ รถไฟสายสีแดง ซึ่ง รฟท. ได้กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ กิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่สร้างรายได้ เบื้องต้นแล้ว โดยจะรับฟังความคิดเห็นและความสนใจของนักลงทุนและสรุปเสนอบอร์ด รฟท.ในเดือนมิ.ย.ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2562 เพื่อให้ได้ตัวผู้รับจ้างในกลางปี 2563

โดยเบื้องต้นกำหนดสัญญาระยะ 5 ปี แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ พื้นที่ในอาคาร 13,000 ตรม. รูปแบบให้เช่าพื้นที่ โดยเปิดประมูลภายใต้ระเบียบการรถไฟฯ เลือกผู้ให้ผลประโยชน์ตอบแทน รฟท.สูงสุด ประเมินจะมีรายได้จากค่าเช่าในระยะเวลา 5 ปี ประมาณ 100 ล้านบาท (ประเมินจากมูลค่าเช่าที่ 1,400 บาท/ตรม.) และ สัญญาจ้างบริหารจัดการพื้นที่ส่วนกลาง เช่น งานรักษาความสะอาด รักษาคาวามปลอดภัย ที่จอดรถ ประมูลพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง 2560 ส่วนนี้ประเมินค่าใช้จ่าย ประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี โดยจะรับฟังความเห็นเอกชนเพื่อปรับให้มีความเป็นไปได้มากที่สุด

สำหรับการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ กิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่สร้างรายได้ทั้งในส่วนพื้นที่พาณิชยกรวมร้านค้า พื้นที่ป้ายโฆษณา และกิจกรรมบริหารสถานี ได้แก่ การรักษาความปลอดภัย การทำความสะอาด การบริหารอาคาร โดยเมื่อเปิดให้บริการ สถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางหลักของประเทศที่เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมโดยระบบต่างๆ (Multi-Modal Transportation) ได้แก่ รถไฟทางไกล (Inter-City Train) รถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train Red Line) รถไฟฟ้าความเร็วสูง (High-Speed Railway) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link)

สำหรับขอบเขตของพื้นที่ของอาคารสถานีกลางบางซื่อเป็นอาคารสูง 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่จอดรถประมาณ 1,613 คัน มีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถ (58,210 ตรม.) ทางเดินขึ้นไปยังชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร ชั้น 1 (พื้นที่ประมาณ 122,810 ตารางเมตร) ประกอบด้วย โถงพักคอยของผู้โดยสาร และโถงชานชาลาผู้โดยสาร มีจุดเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของ MRT ในปัจจุบัน

และพื้นที่ส่วนพาณิชยกรรมร้านค้า ชั้นลอยที่ 1 (พื้นที่ประมาณ 9,800 ตารางเมตร) เป็นพื้นที่ส่วนพาณิชยกรรมร้านค้า ชั้น 2 รวมชั้นลอย 2 (พื้นที่ประมาณ 50,860 ตารางเมตร) ประกอบด้วย พื้นที่ต้อนรับบุคคลสำคัญ (VIP) ส่วนควบคุมระบบการเดินรถและพื้นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่อาคาร ส่วนชานชาลารถไฟทางไกล (LD Platform Level) ชานชาลารถไฟชานเมือง (CT Platform Level) ชั้น 3 (พื้นที่ประมาณ 43,800 ตารางเมตร) ประกอบด้วย ชานชาลารถไฟมาตรฐานและรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 64, 65, 66 ... 148, 149, 150  Next
Page 65 of 150

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©