Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179779
ทั้งหมด:13491011
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2021 7:07 pm    Post subject: Reply with quote

ตามคาด! รถไฟสายสีแดงผู้โดยสารบางตา เฉลี่ย 3,000 กว่าคน/วัน ใช้สถานีกลางบางซื่อมากสุด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 5 สิงหาคม 2564 เวลา 19:56 น.
ปรับปรุง: 5 สิงหาคม 2564 เวลา 19:56 น.



เปิดรถไฟสายสีแดงท่ามกลางโควิด-19 รุนแรง ผู้โดยสารบางตาตามคาดเฉลี่ย 3,000 กว่าคน/วัน โดย 50% อยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ ขณะที่ระบบรางผู้โดยสารรวมเหลือ 10% จากช่วงปกติ ยังชี้วัดไม่ได้ ด้านสนามบินดอนเมืองเปิด SKY WALK เชื่อมสถานีเพิ่มความสะดวก

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (Soft Opening) เส้นทางบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยไม่เก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมานั้น ภาพรวมเป็นไปอย่างราบรื่น แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง ประกอบกับ ศบค.มีประกาศห้ามออกนอกเคหสถานเวลา 21.00-04.00 น. ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ทำให้ประชาชนมีการเดินทางลดลง และระบบขนส่งมวลชนมีผู้โดยสารลดลงไปด้วย

โดยพบว่าในวันที่ 2 ส.ค. ซึ่งรถไฟสายสีแดงเปิดให้บริการวันแรก ตั้งแต่เวลา 10.30-19.30 น. มีปริมาณผู้โดยสารรวม 2,205 คน แบ่งเป็นสายเหนือ จากบางซื่อ-รังสิต จำนวน 1,901 คน สายตะวันตก จากบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน 304 คน ขณะที่ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.เป็นต้นไปจะให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-19.30 น. พบว่าวันที่ 3 ส.ค.มีปริมาณผู้โดยสารรวม 3,216 คน แบ่งเป็นสายเหนือ 2,914 คน สายตะวันตก 302 คน วันที่ 4 ส.ค. มีปริมาณผู้โดยสารรวม 3,187 คน แบ่งเป็นสายเหนือ 2,856 คน สายตะวันตก 331 คน

โดยสถานีที่มีปริมาณผู้โดยสารมากที่สุด คือ สถานีกลางบางซื่อ เฉลี่ย 1,169 คน/วัน รองลงมาคือ รังสิตเฉลี่ย 440 คน ดอนเมืองเฉลี่ย 303 คน หลักสี่เฉลี่ย 257 คน ทั้งนี้ จำนวนผู้โดยสารของสายสีแดงในขณะนี้ยังไม่สามารถชี้วัดใดๆ ได้เนื่องจากเป็นภาวะการบริการในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ ซึ่งคาดว่าจะค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นเมื่อโควิดคลี่คลาย

ขณะที่ปัจจุบันผู้โดยสารในระบบรางลดลงเกือบ 90% จากช่วงปกติ ซึ่งผู้ให้บริการรถไฟฟ้ามีการจำกัดบริการและการเดินรถ ควบคุมการเว้นระยะห่างลดความหนาแน่นในขบวนและในสถานี เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส มีผู้โดยสารประมาณ 130,000 คน/วัน รถไฟฟ้า MRT มีประมาณ 67,000 คน/วัน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ มีประมาณ 10,000 คน/วัน

อย่างไรก็ตาม บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งเป็นบริษัทลูก รฟท.ทำหน้าที่เดินรถไฟสายสีแดง ยังเดินหน้าเร่งรัดการฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมในการเปิดให้บริการเต็มรูปแบบเชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 2564 ซึ่งการปิดให้บริการในเวลา 19.30 น. ทำให้มีเวลาเพิ่มสำหรับการฝึกอบรมคนขับ ซึ่งต้องใช้เวลาหลังปิดให้บริการในแต่ละวัน โดยรถไฟสายสีแดงต้องการพนักงานขับรถประมาณ 80 คน ปัจจุบันฝึกครบชั่วโมงตามมาตรฐานไปแล้ว 40 คน


@เปิด SKY WALK เชื่อมสนามบินดอนเมือง

ส่วนกิจการพิเศษและมวลชนสัมพันธ์ ฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. แจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 64 ท่าอากาศยานดอนเมืองเปิดให้บริการทางเดินลอยฟ้า (SKY WALK) เชื่อมต่อโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สถานีดอนเมือง โดยเชื่อมเข้ามายังสนามบินดอนเมือง บริเวณชั้น 2 อาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น และเชื่อมต่อไปยังอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ อาคาร 2 โดยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะเปิดให้บริการตั้งแต่ 06.30-20.00 น.

สำหรับทางเดินลอยฟ้าของสนามบินดอนเมือง จะเริ่มตั้งแต่แนวเขตรั้วสนามบิน เลียบขนานไปตามแนวรั้วและเลี้ยวขวาเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับทางเดินบริเวณชั้น 2 อาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ความยาว 110 เมตร พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้แก่ ป้ายบอกทาง ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง กล้องวงจรปิด ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ทางหนีไฟ รวมถึงติดระบบปรับอากาศตลอดทางเดิน นอกจากนี้ยังมีทางลาด พร้อมลิฟต์ 1 ตัว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ รวมทั้งยังมีบันไดเดินลงระดับพื้นถนน สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางต่อด้วยรถโดยสารสาธารณะบริเวณริมถนนวิภาวดีรังสิตอีกด้วย ช่วยอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในการเดินทางมายังอาคารผู้โดยสารให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้เป็นอย่างดี

ติดล็อกดาวน์เหงาๆใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง 3 พันคน/วัน
*รฟท.วางเป้าผู้โดยสารวันละ 8.6 หมื่นคน/วัน
*ส่วนสถิติบริการรถเมล์เชื่อม 4 สายพันคน/วัน
*หัวลำโพง-ยมราช-สถานีกลางบางซื่อเยอะสุด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2969094473312051
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2021 5:33 am    Post subject: Reply with quote

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปเพื่อสอบคัดเลือกเป็นลูกจ้างชั่วคราว หลายอัตรา ระหว่างวันที่ 9 - 15 สิงหาคม 2564
รายละเอียดเพิ่มเติมการสมัครสามารถ Scan QR CODE แล้วกดดาวน์โหลดเพื่อดูรายละเอียดคุณสมบัติ และสามารถกดส่งใบสมัครได้เลยค่ะ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1968902743275322&id=1101839013315037
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2021 5:38 am    Post subject: Reply with quote


ภาพข่าวเปิดใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดงจากนักข่าวญี่ปุ่นค่ะ
เพิ่งเปิดใช้งานแต่สภาพแวดล้อมโดยรอบกลายเป็นสลัมไปเรียบร้อยแล้วค่ะ ในภาพคือสถานีดอมเมืองกับสถานีจตุจักร งามหน้าสุดๆ

ผมตอบกลับไปว่า:
กรณี แถวจตุจักรนี่ มีคนรถไฟแถว กม. 11 อยู่ปนไปกะคนที่ เช่าที่รถไฟด้วยนะครับ ส่วนตลาดดอนเมืองที่คุณพาดพิงถึง นั้น คนเช่าที่ทหารอากาศ และ ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ซึ่งอยู่ติดกับที่รถไฟนะครับ ดังนั้น กรุณาระวังคำพูดหน่อยครับ ที่รู้เพราะ ผมไปแถวตลาดดอนเมืองบ่อยๆ
https://www.facebook.com/groups/685357704847197/posts/4204150452967887/
https://www.youtube.com/watch?v=dr01JbzWMLE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2021 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

“ค่าโง่โฮปเวลล์” ยิ่งยื้อนาน ยิ่งจ่ายมาก!? | ลึกแต่ไม่ลับ | THAN TALK | 9 ส.ค.64

“ค่าโง่โฮปเวลล์” ดอกเบี้ยบาน ข้องใจหาช่องทางล้มคำตัดสิน มีเจตนาอะไร และเกิดประโยชน์กับใคร
.
อ่านต่อที่
1. ศาลปกครอง ไม่รับคำขอ พิจารณาคดีโฮปเวลล์ใหม่
https://www.thansettakij.com/politics/490753
2. “คนรถไฟ”ยื่นศาลปกครองขอนำเรื่องจ่าย“ค่าโง่โฮปเวลล์”เข้าที่ประชุมใหญ่
https://www.thansettakij.com/politics/484887

https://www.youtube.com/watch?v=2vSqEC7AQ6A
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 11/08/2021 6:11 pm    Post subject: Reply with quote

ปลายปีนี้เตรียมเฮ ขึ้นรถไฟสายสีแดง ใช้ระบบตั๋วร่วม-EMV ได้แล้ว
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project

10 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:19 น.

"คมนาคม" ถก กรุงไทย ดึงระบบตั๋วร่วม-EMV ใช้นำร่องขึ้นรถไฟสายสีแดง ภายในเดือนธ.ค.นี้ เล็งใช้ข้ามระบบสายสีม่วง-น้ำเงิน ช่วงต้นปี 65 สั่งรฟท.-รฟม. เร่งหาข้อสรุปเคาะค่าแรกเข้าร่วมกัน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าการนำระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ EMV (Europay Mastercard and Visa)มาใช้ในการชำระค่าโดยสารรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน นั้น ที่ผ่านมาจากการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคม และธนาคารกรุงไทย ได้ข้อสรุปว่า จะสามารถเริ่มใช้ระบบ EMV กับรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ก่อนในเดือน ธ.ค. 64



ขณะเดียวกันในส่วนการใช้ข้ามระบบหรือตั๋วร่วมโดยเฉพาะการเชื่อมระบบกับรถไฟฟ้า MRT ทั้งสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าจะเริ่มได้ประมาณต้นปี 65 หรือประมาณเดือน ก.พ.65 จากนั้นจะสามารถใช้บริการกับระบบขนส่งสาธารณะในระบบอื่นๆ ต่อไป ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ประชาชน


สำหรับการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดง กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้น ขณะนี้กระทรวงคมนาคมมอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และ รฟม. นำไปประกอบการกำหนดเงื่อนไขไม่มีค่าแรกเข้าระบบ ในร่างสัญญาสัมปทานของโครงการรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการ หรือมีการแก้ไขสัญญาสัมปทานในอนาคต เพื่อให้ผู้ใช้บริการขนส่งทางรางที่เดินทางเปลี่ยนถ่ายระหว่างเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงข่ายทั้งหมด ให้จัดเก็บค่าโดยสารที่มีค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าที่เดินทางเข้าระบบแรกเพียงครั้งเดียว



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ทั้งนี้แนวโน้มการจัดเก็บค่าแรกเข้าในระยะแรก หากเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมาต่อสายสีแดง ทางสายสีแดงจะไม่เก็บค่าแรกเข้าซ้ำอีก แต่หากเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีแดงมาต่อสายสีน้ำเงิน อาจจะต้องเสียค่าแรกเข้าใหม่อีกครั้ง เนื่องจากสัญญาสัมปทานของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จัดทำมาก่อนที่สายสีแดงจะเปิดให้บริการ และไม่ได้กำหนดไว้ว่าให้ยกเว้นค่าแรกเข้าเมื่อเดินทางมาจากรถไฟฟ้าสายอื่นที่ไม่ใช่ของ รฟม.

อย่างไรก็ตามส่วนอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีแดง อยู่ที่ 12-42 บาท ขณะนี้จะต้องรอเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายจริงจากการให้บริการในเดือน ก.ย.64 ก่อน เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดโครงสร้างค่าโดยสารต่อกิโลเมตร (กม.) ว่าอยู่ในอัตราเท่าใด ซึ่งจะนำค่าใช้จ่ายจริงหารด้วยจำนวนตั๋ว จะทำให้ทราบว่าแต่ละสถานีต้องเก็บค่าโดยสารเพิ่มขึ้นในอัตราเท่าใด เช่น สถานีแรก 12 บาท สถานีต่อไปอาจเก็บเพิ่มเป็น 14 บาท แต่ทั้งหมดตลอดสายค่าโดยสารต้องไม่เกิน 42 บาท คาดว่าในเดือน ต.ค.นี้ จะสามารถประกาศอัตราค่าโดยสารแต่ละสถานีได้ เพื่อนำมาใช้ในการเก็บค่าโดยสาร ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีแดงจะเริ่มให้บริการแบบเก็บค่าโดยสารในเดือน พ.ย.64 เป็นต้นไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2021 4:25 pm    Post subject: Reply with quote

ทดสอบรถไฟทางไกลวิ่งราง'สายสีแดง'รังสิต-บางซื่อ-ตลิ่งชันแก้'รถติด'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

ผ่านมาจะครึ่งเดือนหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กดปุ่มทางออนไลน์ ในวันที่ 2 ส.ค. 2564 เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการเดินรถโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (Soft Opening) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร (กม.) และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กม. โดยให้บริการระหว่าง 06.00-20.00 น. ระยะเวลาเดินทางจากบางซื่อ-รังสิต ใช้เวลา 25 นาที และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ใช้เวลา 15 นาที

ในภาวะที่สถานการณ์โควิด-19 ในกรุงเทพฯยังวิกฤติ รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ ทำให้จำนวนผู้ใช้บริการมีเพียงแค่หลักพัน (2 ส.ค. ผู้โดยสารมาใช้บริการประมาณ 2,200 คน) ทั้งนี้คาดว่าเมื่อสถานการณ์อยู่ในช่วงปกติ มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามา สนามบินเปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารในปีแรกเฉลี่ย 86,000 คนต่อวัน

ปลายเดือน พ.ย. รถไฟฟ้าสายสีแดงจะเริ่มเก็บค่าโดยสาร เบื้องต้น อัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 12-42 บาท และในเดือนเดียวกันถึงคิว "รถไฟทางไกล" วิ่งลอยฟ้าขึ้นทางยกระดับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้าสถานีกลางบางซื่อ

ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้นำขบวนรถไฟทางไกล (ดีเซลราง) วิ่งทดสอบเดินรถในเส้นทางเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน แล้ว เบื้องต้นไม่พบปัญหาใด ๆ แต่หลังจากนี้ยังต้องทดสอบให้ครบทุกมิติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ และซ้อมแผนฉุกเฉิน คาดว่าจะเริ่มให้รถไฟทางไกลสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เดินรถบนทางยกระดับเส้นทางเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ปลายปี 2564 หรืออย่างเร็วในช่วงปลายเดือน พ.ย. 2564 โดยจะเริ่มเส้นทางบางซื่อ-รังสิตก่อน เนื่องจากช่วงนี้มี 4 ทางวิ่ง (track) จึงใช้ทางวิ่งคนละรางกับรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ซึ่งมีความปลอดภัย

ส่วนเส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน มี 2 ทางวิ่ง ดังนั้นรถไฟทางไกลสายใต้ ให้วิ่งทางเดิมของรถไฟทางไกลไปก่อน ยังไม่สามารถให้ใช้เส้นทางร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ ต้องรอให้ได้หัวรถจักรใหม่จำนวน 50 คัน ที่จะเข้ามาประมาณกลางปี 2565 เพราะหัวรถจักร ใหม่นี้ จะติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณที่เป็นระบบควบคุมรถไฟของยุโรป (European Train Control System : ETCS) โดยเป็นระบบ มาตรฐานในการป้องกัน และควบคุมความปลอดภัยอัตโนมัติของรถไฟ (ATP) มาให้เรียบร้อยเหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจะทำให้การเดินรถมีความปลอดภัย

ดังนั้นเราจะเห็นภาพของรถไฟดีเซลรางวิ่งขนานไปกับรถไฟฟ้าสายสีแดงในบางช่วง เหมือนกับในประเทศญี่ปุ่นที่มีทั้งรถไฟชานเมืองและรถไฟความเร็วสูงวิ่งสลับไปมา เป็นปรากฏการณ์ของการเดินทางของรถไฟ

ในเบื้องต้นรถไฟดีเซลรางจะหยุดที่สถานีบางซื่อ แล้วมีเส้นทางเดินทางเชื่อมเข้ากับสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งอนาคตสถานีกลางบางซื่อจะเป็น ฮับ หรือ "ศูนย์กลางรถไฟไทย" ที่ใหญ่สุดในอาเซียน รองรับทั้งรถไฟชานเมือง รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ สายอีสาน สายใต้ รวมทั้งรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ ดอนเมือง) โดยก่อสร้างชานชาลาไว้รองรับแล้ว 12 ชานชาลา ซึ่งสถานีกลางบางซื่อสามารถรองรับผู้โดยสารมากถึง 624,000 คนต่อวัน

ขณะเดียวกันบทบาทของสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือหัวลำโพง จะยุติลงในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการเดินทางทางรถไฟมากว่า 100 ปี เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ชั้นใน โดยใช้สถานีกลางบางซื่อเชื่อมต่อการเดินทาง มีระบบฟีดเดอร์ขนส่งผู้คน

ในสัปดาห์นี้กระทรวงคมนาคม จะประชุมเรื่องการปรับลดจำนวนรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง คาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เบื้องต้นจะมีขบวนรถไฟที่สิ้นสุดการเดินรถที่สถานีหัวลำโพง 22 ขบวน จากทั้งหมด 118 ขบวน แบ่งเป็น รถไฟทางไกล สายเหนือ 4 ขบวน สายอีสาน 2 ขบวน สายใต้ 2 ขบวน และสายตะวันออก 14 ขบวน โดยรถไฟสายเหนือ สายอีสาน และสายใต้ จะวิ่งเส้นทางเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดง แต่ไม่เข้าสถานีกลางบางซื่อ จะลงวิ่งด้านล่างเข้าสู่เส้นทางเดิมบริเวณจตุจักร และเลี้ยวขวาเข้าสู่สถานีรถไฟบางซื่อ เพื่อไปสิ้นสุดการเดินรถที่สถานีหัวลำโพง ส่วนสายตะวันออกจะเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง ได้เลย ไม่ผ่านสถานีกลางบางซื่ออยู่แล้ว

สำหรับขบวนรถไฟทางไกลที่เหลืออีก 96 ขบวน จะสิ้นสุดการให้บริการเดินรถที่สถานีรังสิต ยกเว้นรถโดยสารเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่ ของ รฟท. 115 คัน ที่มีบริการวันละ 8 ขบวน จะสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯอุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-ชุมทางหาดใหญ่ เนื่องจากเป็นขบวนรถใหม่ที่มีตู้ไฟฟ้ากำลัง (Power Car) จึงไม่มีปัญหาเรื่องควันรถ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษภายในสถานี

นอกจากนี้จะมีขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์ชั้น 1 ที่จะสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ เพิ่มเติมด้วย โดยขณะนี้กำลังเร่งจัดทำ Power Car เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องควัน ส่วนจะเป็นขบวนใดบ้างนั้น อยู่ระหว่างพิจารณา

เหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลง ที่จะเห็นเมื่อบริการรถไฟฟ้าสายแดงเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกันจำเป็นต้องพัฒนาฟีดเดอร์ (Feeder) อื่น ๆ ที่เข้ามาในบริเวณของสถานีกลางบางซื่อ โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เชื่อมต่อที่สถานีบางซื่อ, รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงเชื่อมที่สถานีบางซ่อน นอกจากนี้มีทางเดินลอยฟ้า (สกายวอล์ก) ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง ที่สถานีดอนเมือง และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่, รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่ สถานีบางเขน มีสกายวอล์กเดินเชื่อมไปยังสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ รวมทั้งสถานีขนส่งหมอชิต 2 ที่ ไม่ได้ไกลกัน โดย ขสมก. จัดรถเมล์ให้เข้าถึงสถานีกลางบางซื่อ เมื่อออกมาจากชานชาลาสถานีกลางบางซื่อต่อรถไฟฟ้าหรือต่อรถเมล์ได้สะดวก

นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า เดือน พ.ย.นี้ จะปรับปรุง เส้นทางเดินรถ เปิดให้บริการประชาชนเดินทางเชื่อมต่ออีก 4 เส้นทาง ได้แก่ 1.สาย 3 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2-คลองสาน (เดิม) ปรับปรุงเป็นเส้นทางแยกวงกลมสถานีกลางบางซื่อ-หมอชิต 2-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต 2.สาย 11 อู่เมกาบางนา-มาบุญครอง (เดิม) ปรับปรุงเป็นเส้นทางแยกช่วงแอร์พอร์ตเรลลิงก์สถานีมักกะสัน-หัวลำโพง (ทางด่วน) 3.สาย 77 สาธุประดิษฐ์-หมอชิตใหม่ (เดิม) ปรับปรุงเป็นเส้นทางแยกช่วงแอร์พอร์ตเรลลิงก์สถานีมักกะสัน-สถานีกลางบางซื่อ 10 กม. และ 4.สาย 93 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง-สี่พระยา (เดิม) ปรับปรุงเป็นเส้นทางแยกช่วงแอร์พอร์ตเรลลิงก์สถานีมักกะสัน-หัวลำโพง

การเปิดใช้บริการรถไฟสายสีแดงที่ใช้เวลาก่อสร้างยาว นานมากที่สุดกว่า 10 ปี แต่นับเป็นการเปลี่ยนการเดินทาง ของกรุงเทพฯ ในหลายมิติ ที่ชัดเห็นจะเป็นขบวนรถไฟทางไกล วิ่งผ่านเข้ากรุงเทพฯ ชั้นในน้อยลง และจะหายไปในที่สุด ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯลงได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2021 10:00 pm    Post subject: Reply with quote

รู้จัก รถไฟฟ้าสายสีแดง ทำไม รถบนทางด่วนแข่งด้วยยาก
หน้า เศรษฐกิจมหภาคคมนาคม
15 สิงหาคม 2564 เวลา 11:11 น.

ไขข้อข้องใจ รถไฟฟ้าสายสีแดงหรือ รถไฟชานเมืองสายสีแดง สายสีแดง รางแค่ 1เมตร ทำไมรถบนทางด่วนแข่งด้วยยาก การออกแบบรางวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมงกันแน่

นับตั้งแต่วันที่2สิงหาคม 2564 รถไฟชานเมืองสายสีแดงหรือรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง บางซื่อ-รังสิตและช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเดินรถให้ประชาชนทดลองนั่งฟรีนาน2เดือนก่อนเก็บค่าโดยสาร ขณะหลายฝ่ายตั้งคำถามตามมามากมายภายหลังทดลองใช้บริการว่ารางมีขนาดเล็ก 1เมตร ต่างจาก รถไฟฟ้าทั่วไป ความเร็วและความปลอดภัยอาจไม่เท่าเทียมเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นที่เปิดให้บริการ ในปัจจุบัน หรือบางรายบอกว่า ขณะเดินรถมีเสียงดังรบกวนค่อนข้างมาก



เพจโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure ขอ เปิด เรื่องราวของ “หนูแดง” หรือรถไฟฟ้าสายสีแดงที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ข้อเท็จจริง เริ่มจากสายสีแดง เป็นรถ รถไฟขนาดราง 1 เมตร ที่เร็วที่สุดในไทย ใช้ความเร็วสูงสุด (ให้บริการจริง) ถึง 145 กิโลเมตร/ชั่วโมง และออกแบบรองรับความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยความเร็วหากเทียบกับ รถบนทางด่วนรับรองว่าแข่งด้วยยากเพราะหากรถไฟฟ้าสายสีแดงเกิดซิ่งขึ้นมา เรียกว่า ความเร็วรถบนทางด่วน เร่งเครื่องไม่ทันแน่นอน

หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่า หนูแดง หรือสายสีแดง ทำความเร็วสูงสุดที่ให้บริการจริงได้ถึง 145 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในทางระดับดิน ช่วงสถานี ดอนเมือง-หลักหก นับได้ว่าเป็นรถไฟบนขนาดราง 1 เมตร ที่เร็วที่สุดในปัจจุบัน

ไม่เพียงแค่นั้น เส้นทางในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงนอกเมืองถูกออกแบบมาให้รองรับความเร็วสูงสุดถึง 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง และขอย้ำอีกครั้งนึงว่า ทางรถไฟขนาดราง 1 เมตรนั้น ไม่ได้เป็นทางรถไฟที่ล้าสมัยและทำความเร็วได้ต่ำตามที่หลายๆคนเข้าใจแต่มีความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งโดยทั่วไปจะลดความเร็วสูงสุดในการให้บริการลงประมาณ 10% ซึ่งจะให้บริการอยู่ประมาณ 145 กิโลเมตร/ชั่วโมง

สามารถดูตัวอย่างการให้บริการรถไฟขนาดราง 1 เมตร ที่ความเร็ว 145 กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้จากมาเลเซียเพื่อนบ้านเรา ซึ่งปรับปรุงทางรถไฟฟ้าระหว่างเมือง (ETS) มาจ่อเราอยู่ที่สถานีปาดังเบซาร์

หนูแดงหรือรถไฟฟ้าสายสีแดง ก็ทำความเร็วไปไม่น้อยไปว่า ETS ของมาเลเซียเลย ซึ่งให้บริการอยู่ที่ 145 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่เป็นในช่วงสั้นๆ ช่วงนอกเมือง คือช่วง ดอนเมือง-หลังหก

เพื่อเป็นตัวอย่าง และพิสูจน์ความสามารถของทางรถไฟขนาดราง 1 เมตร ที่เราพัฒนาในทางรถไฟทางคู่ ที่กำลังสร้างอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

ในอนาคต หาก รฟท. ของเรามีการขยายรถไฟฟ้าสายสีแดงออกไปชานเมือง เช่น อยุธยา, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา และมหาชัย ตามแผนการพัฒนา คงจะได้เห็นหนูแดง(สายสีแดง) อัดมิดไมล์ ร่อนไปทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มากกว่านี้อีกมากอย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2021 2:42 am    Post subject: Reply with quote

อนาคต รถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีต่อไป... ธรรมศาสตร์ รังสิต !!!
Real EsTect
15 สิงหาคม 2564 เวลา 20:05 น.

หลังจากรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วง ตลิ่งชัน - บางซื่อ - รังสิต
เปิดใช้งานไปเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา
โดยมีทั้งหมด 13 สถานี แบ่งเป็น
ช่วงสถานีกลางบางซื่อ - รังสิต ระยะทาง 26 กม. มีจำนวน 10 สถานี
ช่วงสถานีกลางบางซื่อ - ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กม. มีจำนวน 3 สถานี
.
โดยเส้นทางที่น่าจับตาคือสายสีแดงเหนือช่วง บางซื่อ - รังสิต เนื่องจากเชื่อมโยงการเดินทางจาก ปทุมธานี-รังสิต-ดอนเมือง เข้าสู่เมือง โดยที่สุดสายจะไม่ได้หยุดถึงแค่ "รังสิต" เนื่องจากทางการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทยได้มีแผนส่วนต่อขยายอีก 2 ช่วงคือ รังสิต - ธรรมศาสตร์ รังสิต และ ธรรมศาสตร์ รังสิต - บ้านภาชี คาดว่าจะเปิดให้บริการ ปี 2567 และ 2572 ตามลำดับ
.
โดยที่น่าจับตาส่วนต่อขยาย รังสิต – ธรรมศาสตร์ รังสิต ที่จะขยายไปสู่แหล่งงานและชุมชนขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต และนิคมอุสาหกรรม นวนคร โดยสถานะอยู่ระหว่างเร่งรัดโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย คาดก่อสร้างภายใน ธ.ค. ปี 2564 รวมระยะทาง 10.3 กม. มีทั้งหมด 4 สถานี ประกอบไปด้วยสถานี
1. คลองหนึ่ง
2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
3. เชียงราก
4. ธรรมศาสตร์ รังสิต
.
วันนี้ทีมงาน Real EsTect จึงรวบรวม ไฮไลท์ในอนาคตของรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และ ส่วนต่อขยาย รังสิต - ธรรมศาสตร์รังสิต มาให้ทุกท่านได้รับรู้กัน ซึ่งบอกได้เลยว่างานนี้ไม่ธรรมดา อนาคตจะช่วยกระจายความเจริญจากกรุงเทพ ให้ "รังสิต" เป็นศูนย์กลางสำคัญของภูมิภาค (Regional Center) ตอนเหนืออย่างแท้จริง
.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2021 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

เพื่อความปลอดภัยในการสัญจรข้ามทางรถไฟบริเวณนิคมรถไฟ กม.11 โปรดใช้สะพานลอยข้ามทางรถไฟที่สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/6487895534557790
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2021 1:39 pm    Post subject: Reply with quote

"รถไฟฟ้าสายสีแดงสถานีดอนเมือง มี Skywalk เชื่อมต่อสนามบิน แต่มีบันได 8 ขั้นคั่นกลาง และไม่มีทางลาด!"
Render Thailand
15 สิงหาคม 2564 เวลา 15:30 น.

หลังจากเปิดทดลองให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา จุดนึงที่ถูกพูดถึงมากคือทางเชื่อมสายสีแดงกับสนามบินดอนเมือง ที่เป็น Skywalk ต่างระดับแต่ไม่มีทางลาด มีเพียง platform lift สำหรับวีลแชร์เท่านั้น ซึ่งไม่สะดวกสำหรับคนที่มีสัมภาระ โดยเฉพาะนี่คือทางเชื่อมกับสนามบิน ทางลาดจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ครับ 🧳🧳🧳
แต่ว่าทำไมเฉพาะสถานีนี้ไม่มีทางลาด? ทั้งที่รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม 🔴 หลายสถานีที่ skywalk ช่วงข้ามถนนสูงไม่เท่ากับพื้นชั้นจำหน่ายตั๋วเพราะต้องลอดใต้โทลล์เวย์ แต่ก็มีทางลาดทุกสถานี แล้วทำไม "เฉพาะที่นี่" ถึงไม่มี?
---------------
🚅🚈 สาเหตุหลักเป็นเพราะพื้นที่ที่ควรจะต้องเป็นทางลาด เพื่อให้ความสูงพ้นจากคานใต้โทลล์เวย์ จะสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงในเร็วๆ นี้ สถานีความเร็วสูงที่กำลังจะสร้างก็มีความสูงเท่ากันกับสถานีสายสีแดง พอสร้างเสร็จแล้ว บันไดเจ้าปัญหาที่ไม่มีทางลาดนี้ก็จะต่อพอดีกับสถานีความเร็วสูงครับ
นั่นทำให้พื้นที่นอกเขตสถานีความเร็วสูง กับโทลล์เวย์เหลือพื้นที่ไม่มากพอที่จะทำทางลาดได้ ถึงทำไปก็จะเดินชนคานครับ...
---------------
หากใช้ความลาดเอียงตามมาตรฐานของลาดที่เป็น Universal Design ทางเชื่อมนี้จะต้องมีความยาวประมาณ 30 เมตร ผมได้ลองทำ 3D ทางลาดดูว่าจะแก้ปัญหานี้ยังไงได้บ้าง ก็พบว่า #เราไม่สามารถสร้างทางลาดเพิ่มเติม ลงไปใน Skywalk นี้ได้เลย เพราะตัวโครงสร้างไม่ได้ออกแบบเอาไว้แต่แรกครับ
เนื่องดัวยตัวโครงสร้าง Skywalk ที่เป็นโครงเหล็กขนาดใหญ่ (Truss) เพราะต้องรองรับน้ำหนักของทางเลื่อนด้วย ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะปรับโครงสร้างได้มากนัก
---------------
🧱 เราเลยลองจำลองภาพดูหลายๆ แนวทาง และเท่าที่ลองดู วิธีที่น่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ ดีสุด ง่ายสุด และใช้งานง่าย คือการสร้างทางลาดด้านข้าง skywalk เดิม เป็นทางลาดแบบตรง อาจจะต้องลงเสาใหม่ แต่ทางลาดมีน้ำหนักไม่เยอะเท่า skywalk โครงสร้างก็ไม่น่าจะใหญ่มากครับ
และอนาคตเมื่อสร้างสถานีความเร็วสูง ตำแหน่งเสาสถานีจะตรงกับทางลาดพอดี ก็อาจจะปรับให้โครงสร้างอ้อมเสาได้ครับ
---------------
💡 ทั้งนี้ก็เป็นเพียงแนวคิดของพวกเรา Render Thailand เอง ไม่ได้เป็นแผนงานการแก้ไขอะไรของการรถไฟหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เราก็คาดหวังว่าจะมีการปรับปรุงในจุดนี้ ก่อนที่เราจะเปิดประเทศกลับมาเริ่มเดินทางกันอีกครั้งหนึ่งครับ
ใครมีความคิดเห็นว่าควรแก้ปัญหานี้ยังไงดีมาแลกเปลี่ยนกันได้ครับ 😃
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 147, 148, 149  Next
Page 111 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©