RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263338
ทั้งหมด:13574621
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 81, 82, 83 ... 148, 149, 150  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/07/2020 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีแดง หมายเลข 2061-2064
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3187716767953496&id=222323771159492&__tn__=-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2020 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวร้ายชัดๆ”รถไฟฟ้าสายสีแดงตลิ่งชัน-รังสิต”เลื่อนเปิดปี66
*ปัญหาหนักสร้างสถานีกลางบางซื่อไม่เสร็จตามแผน
*ปรับแนวเวนคืนมอเตอร์เวย์”นครปฐม-ชะอำ”ช้าชัวร์

ใครที่กำลังรอใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอาจจะต้องรอเก้อกันต่อไป เมื่อทางคมนาคมได้เผยล่าสุดว่าขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงทั้ง 2 สาย ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ได้ทำการก่อสร้างไปแล้วประมาณ 70-80% แต่ทางเอกชนผู้ดำเนินงานได้ขอขยายสัญญาออกไปอีก 500 วัน

โดยสาเหตุหลักมาจากความล่าช้าในการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและความไม่ชัดเจนในเรื่องของผู้ที่จะมาทำการเดินรถไฟฟ้า ซึ่งแต่เดิมนั้นจะให้ทางแอร์พอร์ตลิ้งค์เข้ามาดำเนินการแต่ล่าสุดมีแนวคิดที่จะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนแบบ PPP ในการเดินรถไฟฟ้าและบริหารสถานีทั้ง 28 แห่ง

แน่นอนว่าการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงนั้นจะต้องเลื่อนออกไปอีกเกือบ 2 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือน ม.ค. 64 เลื่อนไปเป็นปี 66
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2653079628246872
https://www.facebook.com/ThailandSkyline/photos/a.549139758560956/1837684593039793/?type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/07/2020 10:27 pm    Post subject: Reply with quote

เลื่อนอีกแล้ว! สายสีแดง “รถไฟฟ้ามาราธอน” ขยับวันเปิดถึงปี’66
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 - 20:43 น.

Click on the image for full size

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต งานด้านโยธาก่อสร้างไปแล้ว 70-80% ปัญหาสำคัญขณะนี้ติดขัดเรื่องการเดินรถ เนื่องจากงานสัญญา 3 งานออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟ, ระบบไฟฟ้าและส่งกำลัง, ระบบอาณัติสัญญาณ, ระบบติดต่อสื่อสาร, ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสาร มูลค่าสัญญา 32,399.99 ล้านบาท เกิดความล่าช้าและผู้รับจ้างขอยืดเวลาก่อสร้างอีก 500 วัน ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดเปิดให้บริการจากภายในปี 2564 เป็นปี 2566

และจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินรถใหม่จากเดิมที่ให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ มาเป็นผู้เดินรถได้เปลี่ยนให้ศึกษารูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) แทน โดยเปิดประมูลสัญญาเดียวทั้งก่อสร้างส่วนต่อขยาย งานติดตั้งระบบและจัดหาขบวนรถที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ลงทุนไปแล้วและการเดินรถ โดยคาดว่าจะสรุปผลการศึกษาภายในเดือนส.ค.นี้

“เนื้องานของการศึกษา ให้รวมรูปแบบการบริหารสถานีกลางบางซื่อ และงานบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ในรายทาง 29 สถานีด้วย เพราะจากผลการศึกษาที่มีระบุว่า หากปล่อยให้มีการบริหารจัดการแบบเดิม การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะขาดทุนอีก 7 ปี คิดเป็นวงเงินประมาณ 600-700 ล้านบาท และให้รวมงานก่อสร้างส่วนต่อขยายอีก 4 เส้นทางวงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาทด้วย”

สำหรับงานก่อสร้าง ประกอบด้วย ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6,645.03 ล้านบาท และบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก (Missing Link) และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง รวมระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาทเข้ามาในนี้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/07/2020 7:28 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ข่าวร้ายชัดๆ”รถไฟฟ้าสายสีแดงตลิ่งชัน-รังสิต”เลื่อนเปิดปี66
*ปัญหาหนักสร้างสถานีกลางบางซื่อไม่เสร็จตามแผน
*ปรับแนวเวนคืนมอเตอร์เวย์”นครปฐม-ชะอำ”ช้าชัวร์
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2653079628246872
https://www.facebook.com/ThailandSkyline/photos/a.549139758560956/1837684593039793/?type=3

กลัวพัง!ก่อนได้ใช้รถไฟฟ้า-สถานีสายสีแดง
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เลื่อนเปิดบริการไปอีก2ปีเป็น66

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทลแบงค็อก กรุงเทพฯ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวตอนหนึ่งในพิธีเปิดงานนิทรรศการและการเสวนาสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปี และส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านคมนาคมขนส่งและความปลอดภัย ประจำปี 2563 ครั้งที่ 1 ภายใต้ชื่อ MOT 2020 Move On Together คมนาคมเคียงข้างคนไทย ฟันเฟืองฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19 หัวข้อ "คมนาคมภูมิใจ รวมไทยสร้างชาติ" ว่า หลังสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย กระทรวงคมนาคมได้สรุปการดำเนินงานและบทเรียนที่เกิดขึ้น พร้อมทบทวนโครงการต่าง ๆ เพื่อเตรียมขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า โครงการที่อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวน ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายนครปฐม-ชะอำ (M8) ระยะทาง 119 กม. วงเงินลงทุน 79,006 ล้านบาท ต้องทบทวนปัญหาอุปสรรคเรื่องเวนคืนที่ดิน ช่วง จ.เพชรบุรี ที่ประชาชนคัดค้าน โดยต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมให้เห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ แต่หากไม่ได้ข้อยุติเรื่องรูปแบบและเส้นทางอาจต้องปรับแนวเส้นทางโดยเลี่ยงเส้นทางเดิม ต้องจัดทำร่างรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใหม่ อาจทำให้โครงการล่าช้าออกไปอีกจากแผนเดิมจะเปิดประมูลปี 64 เมื่อได้ข้อสรุปจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติต่อไป

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ขณะที่รถไฟชานเมืองสายสีแดง (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) ก่อสร้างได้ 70-80% เอกชนคู่สัญญาขอขยายสัญญา 500 วัน ติดปัญหาเรื่องสถานีกลางบางซื่อ แต่เร่งรัดศึกษารูปแบบบริหารแล้ว เดิมจะให้แอร์พอร์ตลิงก์มาบริหาร เบื้องต้นมีแนวคิดจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการภาครัฐ (พีพีพี) เพื่อแบ่งเบาการจัดใช้งบประมาณ ภาครัฐ รวมพีพีพีทั้ง 29 สถานี แบ่งเป็น 28 สถานีย่อย และ 1 สถานีหลัก คือสถานีกลางบางซื่อ โดยเฉพาะ เรื่องสถานีกลางที่ต้องเอาไปร่วมบริหาร เพราะผลการศึกษาพบว่าในช่วง 7 ปีแรก หากแยกสัญญาบริหารสถานีจะขาดทุน เราจึงให้เอกชนเข้ามาบริหารและรับความเสี่ยง เพื่อแชร์ผลกระทบการวิ่งรถ และหารายได้จากการบริหารสถานีด้วย จากปัญหาความล่าช้าของสถานีกลาง บางซื่อ จะส่งผลให้กำหนดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ ล่าช้าออกไปเป็นปี 66 จากแผนเดิมจะเปิดเดือน ม.ค. 64

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น่าเป็นห่วงว่าเมื่อเลื่อนเปิดบริการไปจากแผนเดิมอีก 2 ปี ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังทดสอบขบวนรถไฟฟ้าจากประเทศญี่ปุ่นที่เดินทางถึงไทยแล้ว 5 ขบวน รวม 12 ตู้ เหลืออีก 20 ขบวน ที่จะทยอยมาถึงไทยจนครบภายในเดือน ส.ค.นี้ รวม 25 ขบวน 130 ตู้ แบ่งเป็น ขบวน 6 ตู้ 15 ขบวน และ 4 ตู้ 10 ขบวน ขณะที่ตัวสถานีช่วงตลิ่งชันก่อนถึงบางซื่อ ก็สร้างเสร็จหลายปีแล้ว จะต้องเสียค่าซ่อมบำรุงและพังก่อนที่ประชาชนจะได้ใช้งานหรือไม่.

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2020 9:34 am    Post subject: Reply with quote

เลื่อนอีกแล้ว! สายสีแดง “รถไฟฟ้ามาราธอน” ขยับวันเปิดถึงปี’66
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 - 20:43 น.



นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต งานด้านโยธาก่อสร้างไปแล้ว 70-80% ปัญหาสำคัญขณะนี้ติดขัดเรื่องการเดินรถ เนื่องจากงานสัญญา 3 งานออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟ, ระบบไฟฟ้าและส่งกำลัง, ระบบอาณัติสัญญาณ, ระบบติดต่อสื่อสาร, ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสาร มูลค่าสัญญา 32,399.99 ล้านบาท เกิดความล่าช้าและผู้รับจ้างขอยืดเวลาก่อสร้างอีก 500 วัน ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดเปิดให้บริการจากภายในปี 2564 เป็นปี 2566

และจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินรถใหม่จากเดิมที่ให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ มาเป็นผู้เดินรถได้เปลี่ยนให้ศึกษารูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) แทน โดยเปิดประมูลสัญญาเดียวทั้งก่อสร้างส่วนต่อขยาย งานติดตั้งระบบและจัดหาขบวนรถที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ลงทุนไปแล้วและการเดินรถ โดยคาดว่าจะสรุปผลการศึกษาภายในเดือนส.ค.นี้


“เนื้องานของการศึกษา ให้รวมรูปแบบการบริหารสถานีกลางบางซื่อ และงานบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ในรายทาง 29 สถานีด้วย เพราะจากผลการศึกษาที่มีระบุว่า หากปล่อยให้มีการบริหารจัดการแบบเดิม การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะขาดทุนอีก 7 ปี คิดเป็นวงเงินประมาณ 600-700 ล้านบาท และให้รวมงานก่อสร้างส่วนต่อขยายอีก 4 เส้นทางวงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาทด้วย”

สำหรับงานก่อสร้าง ประกอบด้วย ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6,645.03 ล้านบาท และบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก (Missing Link) และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง รวมระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาทเข้ามาในนี้ด้วย

รมต. คมนาคม บอกว่า ขยายเวลาสายสีแดง สัญญาสถานีกลางบางซื่อไปอีก 500 วัน
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
16 กรกฎาคม 2563

แปลกแต่จริง ทั้งๆ ที่จริงๆ โครงการคืบหน้าไปมากกว่า 90% แล้ว เพื่อนๆคงรู้สึกอะไรแปลกๆ ใช่มั้ยครับ แล้วที่ รมต. ออกมาบอกว่าเปิดให้บริการได้ปี 66

มันมาสอดคล้องกับโพสต์เก่าที่ผมเคยคัดค้าน การเลื่อนการให้บริการสายสีแดง จากปี 64 ไปปี 66 รึเปล่าครับ เพราะต้องการให้เปลี่ยนผู้เดินรถสายสีแดง จาก SRTET ไปเป็นเอกชนในรูปแบบ PPP ???

ใครยังไม่ได้อ่านปัญหาการเปลี่ยนผู้ให้บริการ ว่าเค้าทำไปทำไม และอื่นๆ มีทางเลือกอะไรบ้างลองอ่านในโพสต์เก่าผมดูนะครับ ผมขยี้เรื่องนี้มาพักนึงแล้ว ฮ่าๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2020 5:29 pm    Post subject: Reply with quote


ศักดิ์สยามออกมาอธิบายเหตุแผลว่าทำไมต้องยืดเวลาการเปิดรถไฟฟ้าสายสีแดง จาก มกราคม 2564 เป็น ปี 2566
https://www.youtube.com/watch?v=cYoYPqnMzUM

“ศักดิ์สยาม”ยันเสียงแข็งเลื่อนเปิดรถไฟฟ้าสายสีแดงไปปี66
*รอPPPเอกชนเทสต์รถทุกวันไม่จอดทิ้งปลูกสะระแหน่
*เปิดวิ่งก่อนไม่ได้สถานีบางซื่อสร้างไม่เสร็จอันตราย!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2653935711494597
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2020 4:24 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.อนุมัติ เปิดพีพีพีรถไฟฟ้าสายสีแดง คาดประมูล ไตรมาส 2 ปีหน้า
เศรษฐกิจ
"ข่าวสด"
วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 - 21:36 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีมติอนุมัติหลักการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) ในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ทั้งในส่วนของการบริหารการเดินรถ การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานี และงานก่อสร้างส่วนต่อขยายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เพราะการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนในรูปแบบ พีพีพีพีเป็นแนวทางที่จะช่วยประหยัดงบประมาณภาครัฐได้มาก ขณะที่ปัจจุบันรัฐมีความจำเป็นต้องนำงบประมาณไปใช้กับการเยียวยาผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งหากการใช้งบประมาณจากภาครัฐลงทุนอย่างเดียวเป็นเรื่องที่ยาก

นอกจากนี้ ผลการศึกษาของรฟท. ยังพบว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบที่รฟท. จะบริหารเอง กับเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนนั้น รูปแบบให้เอกชนร่วมทุนมีความคุ้มค่ามากกว่า เพราะผลการศึกษาพบว่าในช่วงเดินรถ 7 ปีแรก จะอยู่ในภาวะขาดทุน ดังนั้นความเสี่ยงเหล่านี้ หากจะนำมากระจายกับผลตอบแทนด้านอื่นๆ ที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมทุน ถือเป็นแนวทางที่ดีกว่า

“รฟท. จะต้องเสนอมติที่ประชุมมายังกระทรวงคมนาคม ก่อนไปคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะเปิดประมูลได้อย่างเร็วในช่วงไตรมาส 2 ปี 2564 หรืออย่างช้าในช่วงไตรมาส 3 ปี 2564”

สำหรับความคืบหน้าของการเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะนี้คาดว่าจะต้องเลื่อนเปิดเป็นปี 2566 จากเดิมมีกำหนดเปิดในเดือน ม.ค. 2564 เนื่องจากเอกชนได้เสนอขอขยายอายุสัญญางานก่อสร้าง ส่วนของสัญญา 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อ ออกไปอีก 500 วัน รวมทั้งยังไม่ต้องการให้เร่งเปิดเดินรถและกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน เพราะเมื่อสถานีกลางบางซื่อยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ก็อาจกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรถไฟ

เคาะแล้ว!! “สายสีแดง” จ่อเปิดเดินรถแบบพีพีพี
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 - 18:21 น.


บอร์ด รฟท.เห็นชอบหลักการเปิดเดินรถสายสีแดง รูปแบบพีพีพี เน็ตคอส พร้อมเปิดเดินรถ รวมถึงบริหารสถานีพร้อมกัน ย้ำเปิดเดินรถได้ภายในปี 2566 คาดประกวดราคาเร็วสุดไตรมาส 2 ปี 2564


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ขณะนี้ได้รับรายงานจากที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการผลการศึกษารูปแบบการลงทุนให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP NetCost) รวมถึงการเดินรถ การก่อสร้างส่วนต่อขยายที่จะเกิดขึ้น และการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานี ซึ่งปัจจุบันได้เร่งรัดดำเนินการโครงการดังกล่าวให้เร็วที่สุด แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2566 จากเดิมที่เปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค.2564 เนื่องจากติดปัญหาเอกชนคู่สัญญาได้ขอขยายสัญญางานก่อสร้างออกไป 500 วัน รวมถึงสัญญางานโยธาในส่วนของสถานีกลางบางซื่อ ออกไปอีก 500 วัน ทำให้เกิดความล่าช้า

เลื่อนอีกแล้ว!! รถไฟฟ้าสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ เลื่อนเปิดยาวไปปี 66!!
Thailand Future
วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 -

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวกับผู้สื่อข่าววันนี้ (15 ก.ค.) ถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต งานด้านโยธาก่อสร้างไปแล้ว 70-80% ปัญหาสำคัญขณะนี้ติดขัดเรื่องการเดินรถ

รมว.คมนาคม ระบุว่า เหตุติดขัดดังกล่าวนี้เกิดจากงานสัญญา 3 งานออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟ, ระบบไฟฟ้าและส่งกำลัง, ระบบอาณัติสัญญาณ, ระบบติดต่อสื่อสาร, ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสาร มูลค่าสัญญา 32,399.99 ล้านบาท

เกิดความล่าช้าและผู้รับจ้างขอยืดเวลาก่อสร้างอีก 500 วัน ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง และ สถานีกลางบางซื่อ จากภายในปี 2564 เป็นปี 2566

จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินรถใหม่จากเดิมที่ให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ มาเป็นผู้เดินรถ

ได้เปลี่ยนให้ศึกษารูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) แทน โดยเปิดประมูลสัญญาเดียวทั้งก่อสร้างส่วนต่อขยาย งานติดตั้งระบบและจัดหาขบวนรถที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ลงทุนไปแล้วและการเดินรถ โดยคาดว่าจะสรุปผลการศึกษาภายในเดือนส.ค.นี้


Last edited by Wisarut on 17/07/2020 2:21 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/07/2020 7:49 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.เคาะPPPสายสีแดง ชงคนร.ทบทวนมติรวมแพก
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ผู้จัดการรายวัน360 - บอร์ด ร.ฟ.ท.เห็นชอบผลศึกษา PPP สายสีแดง เตรียมเสนอคมนาคม และ คนร.ทบทวนมติเดิม ให้ ร.ฟ.ท. ทำเองโดยอัปเกรด บ.แอร์พอร์ตลิงก์ เผยข้อดี PPP ลดความเสี่ยง ร.ฟ.ท. ไม่มีหนี้เพิ่มอย่างน้อย 9 หมื่นล. ขณะที่เคาะผลประมูลรถไฟ ไทย-จีนสัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-โคราช วงเงิน 7.7 พันล.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธานวานนี้ (16 ก.ค.) ได้เห็นชอบผลการศึกษาการเปรียบเทียบการบริหารจัดการ การเดินรถโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ระหว่าง การรถไฟฯ ดำเนินการ กับการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ซึ่งเบื้องต้นพบว่า รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) มีข้อดีมากกว่าทั้งแง่การลงทุน ลดความเสี่ยงภาครัฐ ลดภาระหนี้สิน ร.ฟ.ท. การบริหารจัดการ และไม่มีปัญหาด้านบุคลากร ซึ่งจะสรุปผลศึกษาเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อน จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ขอทบทวนมติเดิมที่ให้ ร.ฟ.ท.จัดตั้งบริษัทลูก โดยการ อัปเกรดบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ตามขั้นตอน หากเห็นชอบจึงจะเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) ต่อไป

ทั้งนี้ คณะทำงานได้สรุปผลศึกษาแนวทาง PPP สายสีแดงพบว่า มีความเหมาะสม เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ไม่ต้องลงทุนเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 9 หมื่นล้านบาท ในการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย ทำให้ไม่ต้องกู้เงิน และไม่มีภาระหนี้เพิ่ม ส่วนประชาชนได้ประโยชน์จากบริการที่มีการบริหารจัดการที่ดีกว่า ขณะที่จะมีแนวทางดูแลพนักงานของบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ที่ถือเป็นบุคลากรที่มีประสบการณ์ ซึ่งอาจจะกำหนดเป็นเงื่อนไขในการประมูล PPP เป็นต้น

สำหรับ โมเดล PPP รถไฟสายสีแดงนั้นจะเป็น Net Cost เบื้องต้นเอกชนจะต้องลงทุนก่อสร้าง สายสีแดงส่วนต่อขยายทั้งหมด รับบริหาร การเดินรถ ซึ่งระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 ปี รวมถึง บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีสายสีแดงตลอดสายและสถานีกลางบางซื่อ รวม 29 สถานี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสายสีแดง เนื่อง จากสถานีกลางบางซื่อ มีรถไฟ 3 ระบบ คือนอก จากสายสีแดงแล้วยังมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมอยู่ด้วย ซึ่งรูปแบบ PPP สายสีแดง นอกจากรถไฟไม่ต้องลงทุนเพิ่มแล้ว ยังไม่มีความเสี่ยงใดๆ และจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ในปีแรกๆ อีกด้วย

สำหรับการเปิดเดินรถนั้นนายนิรุฒกล่าวว่า จะเปิดเดินรถทันทีเมื่อมีความพร้อม คือโครงสร้างเสร็จและทดสอบระบบพร้อม ขณะที่บุคลากรนั้น รถไฟจะยังคงเตรียมภายใต้หลักการเดิมไปก่อน ดังนั้น หากระบบพร้อมจะสามารถเปิดเดินรถ ได้ และเมื่อ PPP เสร็จได้ตัวเอกชนสามารถเข้ามาสวมได้เลย โดยจะกำหนดรายละเอียดไว้ในเงื่อนไขประมูล แต่อย่างไรก็ตาม ต้องดูว่าเมื่อเปิดPPP แล้วจะมีเอกชนเข้ามาด้วยหรือไม่ ซึ่งหากไม่มีเอกชนสนใจ ร.ฟ.ท.พร้อมเดินรถเอง

ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาขยายสัญญาที่ 3 (งานระบบอาณัติสัญญาณ) ซึ่งเอกชนขอมา 512 วัน โดยเห็นชอบไปแล้ว 87 วัน

สำหรับการลงทุนของเอกชนเบื้องต้น มี 5 ส่วน ประกอบด้วย 1. ก่อสร้างรถไฟสายสีแดงเข้มส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มธ. ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม.กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท 2. สายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา กรอบวงเงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท มีระยะทาง 14.8 กม.3. สายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท 4. รถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสันหัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม.วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท และ 5. งาน VO วงเงิน 10,345 ล้านบาท

อนุมัติผลประมูลรถไฟ "ไทย-จีน" สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-โคราช

นอกจากนี้ บอร์ด ร.ฟ.ท.ยังได้เห็นชอบ การจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้มีประเด็นข้อสงสัยเรื่องคุณสมบัติของผู้ชนะประมูล ซึ่งได้สอบถามกรมบัญชีกลาง และได้รับการยืนยันว่าคุณสมบัติครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม รายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา ผ่านคณะกรรมการ ผู้ชำนาญการ (คชก.)แล้ว รอคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) อนุมัติ จะเร่ง ลงนามสัญญากับผู้รับจ้าง ต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/07/2020 7:58 am    Post subject: Reply with quote

ดับฝันปชช.นั่งรถไฟฟ้าสีแดง
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

'ศักดิ์สยาม'รอPPPเปิดบริการ66 เทสต์ทุกวันไม่พังปลูกสะระแหน่

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม (คค.) เปิดเผยกรณีได้ประกาศเลื่อนการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดง(ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) จากกำหนดเดิมต้นปี 64 เป็นปี 66 ว่า ขอยืนยันตามนั้น เนื่องจากได้รับรายงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. อนุมัติหลักการผลการศึกษาเรื่องให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(บอร์ดพีพีพี) โดยใช้รูปแบบการลงทุนแบบพีพีพี เน็ตคอส ทั้งก่อสร้างส่วนที่เหลือการบริหารและเดินรถ รวมทั้งบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีทั้งหมด เมื่อ รฟท.ส่งผลการศึกษามาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วจะส่งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจากนั้นจึงเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่าง รัฐและเอกชน (พีพีพี) คาดว่าจะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างไตรมาส 3 ปี 64 หรือเร็วสุดไตรมาส 2 ปี 64

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า เบื้องต้นยังประเมินว่าจะเปิดบริการได้ในปี 66 แต่จะเร่งรัดให้เร็วที่สุด ส่วนเวลาที่ชัดเจนต้องดูว่าทั้งโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยังโดยเฉพาะสถานีกลางบางซื่อหากยังก่อสร้างไม่เสร็จหรืออยู่ระหว่างก่อสร้างรถก็ไม่สามารถวิ่งผ่านได้เพราะเสี่ยงต่อความปลอดภัยที่อาจมีสิ่งของตกใส่ผู้โดยสารจนเกิดอันตรายได้จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยที่สุด

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ในการเปิดพีพีพีนั้นเนื่องจากปัจจุบันงบประมาณถูกใช้เรื่องการป้องกันโควิด-19 ค่อนข้างมาก จึงมีคำถามว่าหาก รฟท.ต้องดำเนินการเองจะต้องใส่งบฯเข้าไปเท่าไหร่อย่างไรประกอบกับผลการศึกษายังพบว่าช่วงแรกจะไม่มีกำไร วันนี้เราต้องอยู่บนความจริงหากบริหารโดยไม่อยู่บนความจริงแล้วสุดท้ายพบเสียหายจะทำอย่างไรและยังมองว่าการเปิดพีพีพีไม่ได้เอื้อเอกชนรายใดรายหนึ่ง เพราะเวลาเปิดประมูลต้องสู้กันไม่ได้มีรายเดียวเช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ก็เปิดประมูลก่อสร้างพร้อมบริหารเช่นกัน

ส่วนว่าเปิดบริการปี 66 จะนานเกินไปเพราะรับรถมาแล้วสถานีก็สร้างเสร็จแล้วจะพังเสียหายก่อนเปิดบริการได้นั้นรถที่เข้ามามีวิธีดูแลรักษาและทดลองวิ่งแล้วไม่ได้มาจอดนิ่ง ๆ เหมือนยานยนต์ประเภทอื่นที่มีกระบวนการดูแลรักษาอยู่แล้วไม่ใช่จอดทิ้งจนปลูกสะระแหน่ได้ไม่ต้องห่วงคนที่ดูก็ต้องรักษาระเบียบกฎหมายแต่นำมาทดลองวิ่งอยู่เป็นระยะ หากไม่ต้องวิ่งถึงบางซื่อก็อาจเดินรถได้ก่อนแต่ต้องพิจารณารายละเอียดให้ชัดเจน ส่วนทรัพย์สินที่ รฟท.ลงทุนไปแล้ว เช่น หัวรถไฟต้องตีราคาและขายให้เอกชนผู้ชนะการประมูล.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2020 10:27 am    Post subject: Reply with quote

มีสมาชิกถามมาของสายสีแดง แอดเลยทำให้ดูระบบไฟฟ้าในภาพรวมของสายสีแดงครับ👷‍♂️🇯🇵🇹🇭🚅
The Electric Railway System - เรียนรู้ระบบรถไฟฟ้า
17 กรกฎาคม 2563

จากกระทู้ที่แล้วที่แชร์ของ ARL ไปแล้วนั้นก็คล้ายๆกันครับ
ทางโครงการนี้จะรับไฟฟ้าระดับแรงดันระดับ 115kVAC จาก การไฟฟ้านครหลวง ถ้าใครขับรถผ่านแถวๆ ศูนย์ซ่อมบำรุงเลยไปจะออกวิภาวดีจะเห็นสถานีไฟฟ้าย่อยประธาน หรือ Bulk sub station
.
-จากนั้นผ่านเข้า GIS : Gas Insulation Switchgear เป็นระบบปิด เพื่อตัดต่อวงจรก่อนเข้ามายังหม้อแปลง
.
-เข้ามายังหม้อแปลงจะแปลงลงมาจาก 115 kVAC ลงมาเป็นระดับ 24kVAC
.
- TSS Power Supply มีหม้อแปลงไฟฟ้าปรับระดับแรงดัน 25 kVA (ประมาณ 27 kVA) 1 เฟส จ่ายเข้าสู่สายส่งไฟฟ้าเหนือศรีษะ overhead catenary จ่ายรถไฟตลอดทั้งสายนี้ ถ้าเทียบกับ ฺ BTS และ MRT จะเห็นว่าต้องมี TSS อยู่ตลอดทาง ทำไมนะหรอ ? ลองตอบกันมานะครับ
.
- SSS Power Supply ส่ง 24kVAC ส่งไปยังสถานีแล้วลดระดับแรงดันลงมาเหลือ 230/400VAC เพื่อจ่ายให้อุปกรณ์ในสถานี เช่น ลิฟท์ บันไดเลื่อน ตู้ขายตั๋ว ไฟฟ้า แสงสว่าง เป็นต้น

ถ้าไฟหายไปจะทำอะไรยังไงนะครับ แนวคิด ในการออกแบบระบบนั้นต้อง Redundancy ”
แล้ว Redundancy คืออะไร ?

จริงๆ แล้ว Redundancy เราเจอในชีวิตประจำวันของเราหลายๆอย่าง ลองนึกๆดูสิว่ามีอะไรตรงกับจุดนี้บ้างครับ
--------------------------------------------------------------------------------------
Redundancy คือ การมีสำรองหรือเผื่อ เช่นกระบวนการผลิต เครื่องจักร พนักงาน หรืออะไรก็ตามที่มีเหมือนกับที่กำลังใช้งานอยู่อีกหนึ่งชุดหรือมากกว่า (ไม่ใช่แค่การเก็บหรือสำรองอะไหล่) ทั้งนี้เพื่อให้ทำงานแทนได้ทันทีหากเกิดความเสียหาย…

ซึ่งทำให้ความน่าเชื่อถือ (Reliability )ของระบบนั้นมีมากขึ้น … :] ตามตัวอย่างเลยครับ
https://www.facebook.com/ERailsRoom/photos/a.738076039711248/813059672212884/?type=1&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 81, 82, 83 ... 148, 149, 150  Next
Page 82 of 150

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©