Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180160
ทั้งหมด:13491394
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/03/2020 9:42 pm    Post subject: Reply with quote

ชูTODรถไฟสายสีแดงเชียงใหม่พลิกโฉมธุรกิจ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

หอการค้าคาดเมกะโปรเจ็กต์ระบบราง "รถไฟฟ้าสายสีแดง" เม็ดเงินสะพัดเชียงใหม่ 2 หมื่นล้านบาท ดันมูลค่าที่ดินเพิ่มสูงขึ้น หนุนพัฒนา TOD รอบสถานี-ผุดย่านธุรกิจใหม่ เผยมูลค่าเวนคืนที่ดินมากกว่า 4.4 พันล้านบาท ขณะที่ค่าการก่อสร้างกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ หลังก่อสร้างเสร็จปี 2570 พลิกโฉมเศรษฐกิจ ด้าน รฟม.เปิดทางให้ท้องถิ่นร่วมลงทุน

นายสมชาย ทองคำคูณ รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชน (ระบบราง) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่รัฐบาลโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังเร่งขับเคลื่อนคือ รถไฟฟ้ารางเบา ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างสายสีแดงก่อนเป็นสายแรกในปี 2565 มีมูลค่าโครงการ 27,211 ล้านบาท คาดว่าจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงระหว่างการก่อสร้างและหลังการก่อสร้างที่จะแล้วเสร็จในปี 2570 โดยคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษารูปแบบระบบขนส่งโดยเชื่อมโยง โครงข่ายระบบขนส่งขนาดรองกับรถไฟ รถโดยสาร และท่าอากาศยาน โดย สนข.ได้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ 3 เส้นทางคือ สายสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน และ รฟม.ได้ศึกษารายละเอียดความเหมาะสมครั้งละ 1 เส้นทาง โดยจะเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นสายแรก ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐ หรือ PPP

ทั้งนี้ จากข้อมูลผลการศึกษาการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจและการเงินของโครงการ มีการกระจายค่าลงทุนทางการเงินเริ่มต้นของโครงการในหลายส่วนหลัก โดยเฉพาะค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน มีมูลค่าเวนคืนทั้งสิ้น 4,435 ล้านบาท และค่าก่อสร้างงานโยธา 15,611 ล้านบาท ซึ่งเฉพาะ 2 ส่วนนี้มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท ที่จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

นายสมชายกล่าวต่อไปว่า ที่ดินที่ถูกเวนคืนจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างรถไฟฟ้า รวมถึงสถานีขนส่งมวลชน ซึ่งเป็นโอกาสการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-oriented development หรือ TOD) เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินสามารถทำธุรกิจการค้าทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ สำนักงาน การค้าพาณิชย์ ทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มสูงขึ้น และจะเกิดย่านเศรษฐกิจใหม่ ๆ โดยรอบของแต่ละสถานี ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ในปี 2570 ที่โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ขณะที่ค่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าจำนวน 15,611 ล้านบาท เป็นเม็ดเงินที่ลงมาสู่พื้นที่เชียงใหม่ในช่วงระยะการก่อสร้าง 6 ปี (2565-2570) โดยจะก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ในหลายส่วน

สำหรับงานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง มีจุดเริ่มต้นที่โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี รวมระยะทาง 16 กิโลเมตร 16 สถานี กำหนดเป็นแนวเส้นทางทั้งบนดินและใต้ดิน ซึ่งแผนที่แนวเส้นทางจากโรงพยาบาลนครพิงค์ (ระดับดิน) ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ (ระดับดิน) สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (ระดับดิน) ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (ระดับดิน) แยกหนองฮ่อ (ระดับดิน) โพธาราม (ระดับดิน) ข่วงสิงห์ (ใต้ดิน) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ใต้ดิน) ขนส่งช้างเผือก (ใต้ดิน) มณีนพรัตน์ (ใต้ดิน) ประตูสวนดอก (ใต้ดิน) แยกหายยา (ใต้ดิน) แยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ (ใต้ดิน) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ระดับดิน) บ้านใหม่สามัคคี (ระดับดิน) แม่เหียะ สมานสามัคคี (ระดับดิน)

สำหรับโครงการนี้จะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) รวมถึงเปิดให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ได้แก่ เทศบาลตำบลสุเทพ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลตำบลช้างเผือก อบต.ช้างเผือก อบต.ดอนแก้ว อบจ.เชียงใหม่ เทศบาลเมืองแม่เหียะ เทศบาล ตำบลป่าแดด โดยรูปแบบการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ร่วมลงทุน (ในฐานะของผู้ร่วมลงทุน) เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ รฟม.ลงทุนร่วมกัน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจทำหน้าที่เวนคืนที่ดิน ส่วน รฟม.ลงทุนก่อสร้างโครงสร้างระบบรถไฟฟ้า หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ รฟม.ลงทุนร่วมกัน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจลงทุนก่อสร้างโครงสร้างระบบรถไฟฟ้า ส่วน รฟม.ทำหน้าที่เวนคืนที่ดิน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ รฟม.ลงทุนโครงการร่วมกัน ในสัดส่วนต่าง ๆ เช่น 25 : 75 35 : 65 50 : 50 หรือเอกชนท้องถิ่น และ รฟม. ลงทุนโครงการร่วมกัน ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน

อีกรูปแบบคือ ร่วมดำเนินงาน (ในฐานะผู้ร่วมให้บริการ) เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งนิติบุคคล (บริษัท) ร่วมกับ รฟม. เพื่อบริหารจัดการโครงการ หรือในรูปแบบร่วมควบคุม กำกับ ตรวจสอบ (ในฐานะกรรมการร่วม ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ ฯลฯ) และดำเนินกิจการที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการ อาทิ ทำ feeder หรือดำเนินธุรกิจส่วนที่เป็น nonfare

บรรยายใต้ภาพ
รอสร้างอีก 2 ปี- หลังจาก รฟม. เร่งขับเคลื่อนรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าจะเกิดย่านเศรษฐกิจใหม่รอบสถานีในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2020 11:07 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชูTODรถไฟสายสีแดงเชียงใหม่พลิกโฉมธุรกิจ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563


ดูได้ที่นี่ครับ: ชูTODรถไฟสายสีแดงเชียงใหม่พลิกโฉมธุรกิจ
https://www.prachachat.net/local-economy/news-431068
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/03/2020 7:48 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ลุยระบบขนส่งทางรางเชียงใหม่แก้จราจรติดขัด
ศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 15.36 น.

รฟม.เดินหน้าพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ หวังแก้ปัญหาการจราจรติดขัดวงเงินลงทุน 27,000 ล้านบาท คาดชง.ครม.อนุมัติโครงการได้กลางปี64

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายในงานสัมมนา เรื่อง “Red Line Chiang Mai จากรถไฟฟ้ามหานครสู่รถไฟฟ้าเมืองภูมิภาคว่า  รฟม. ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนเมืองหลักในภูมิภาค ซึ่งโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เป็นหนึ่งในโครงการระบบขนส่งมวลชนในเมืองภูมิภาคที่ รฟม. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินโครงการ
 
ทั้งนี้จะเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน  มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ ระยะทางรวมประมาณ 16 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 9 สถานี และสถานีใต้ดิน 7 สถานี ได้แก่ สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่  700 ปี สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ สถานีแยกหนองฮ่อ สถานีโพธาราม


 
สถานีข่วงสิงห์ สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก สถานีมณีนพรัตน์ สถานีประตูสวนดอก สถานีแยกหายยา สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ สถานีบ้านใหม่สามัคคี และสถานีแม่เหียะสมานสามัคคี มีอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณจุดเริ่มต้นโรงพยาบาลนครพิงค์ รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 1,600 คัน และรถจักรยานยนต์ 800 คัน และบริเวณที่ว่างข้างสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 1,200 คัน และรถจักรยานยนต์ 2,800 คัน มีศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการตั้งอยู่บริเวณแยกหนองฮ่อ ขนาดพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ โดยมีกรอบวงเงินลงทุนโครงการรวมประมาณ 27,000 ล้านบาท 
 
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการดำเนินงานอยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ซึ่งตามแผนงานเมื่อการศึกษาออกแบบแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรีประมาณกลางปี  64 และเริ่มก่อสร้างภายในปี 65 คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 70 และหากโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะเป็นการเพิ่มอีกหนึ่งทางเลือกการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน มีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย
 
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานฯ – ห้าแยกฉลอง และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองฯ บ้านนารีสวัสดิ์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการ ทั้งนี้ในส่วนของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วง ม.นเรศวร – เซ็นทรัลฯ พิษณุโลก ครม.เมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้ รฟม. ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าฯ จังหวัดพิษณุโลกแล้ว...

ไปต่อไม่รอแล้วจ้า!!”แทรมเชียงใหม่”เดินเครื่องตามแผน
*ภาวนาเวนคืน-ย้ายสาธารณูปโภคไร้ปัญหา
*ยันงานก่อสร้างไม่กระทบชงเมืองมรดกโลก
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2546619155559587
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/03/2020 1:56 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.ลุยระบบขนส่งทางรางเชียงใหม่แก้จราจรติดขัด
ศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 15.36 น.


ไปต่อไม่รอแล้วจ้า!!”แทรมเชียงใหม่”เดินเครื่องตามแผน
*ภาวนาเวนคืน-ย้ายสาธารณูปโภคไร้ปัญหา
*ยันงานก่อสร้างไม่กระทบชงเมืองมรดกโลก
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2546619155559587



ลุยสร้างแทรมเชียงใหม่ ค่าโดยสาร 14บาท
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
ศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563

รฟม. เดินหน้าศึกษาแทรมป์เชียงใหม่ ระยะทาง 16 กม. คาดผู้โดยสารใช้บริการปี 70 ราว 16,000 คนต่อวัน เตรียม ชงครม.ไฟเขียวกลางปี 64 พร้อมประเมินค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท วันนี้ (13 มีนาคม 2563) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดงานสัมมนาสื่อมวลชน (Press Seminar) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการฯ และสร้างการรับรู้บทบาทของ รฟม. ในการริเริ่มดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าเมืองภูมิภาคให้สื่อมวลชนรับทราบ โดยมี นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ให้เกียรติเป็นประธาน และเข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “Red Line Chiang Mai จากรถไฟฟ้ามหานครสู่รถไฟฟ้าเมืองภูมิภาค” พร้อมด้วย นายถนอม รัตนเศรษฐ ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม. นายกันต์ณธีร์ เนติโรจนชัยชาญ ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการ นายเฉลิมศักดิ์ สุรนันท์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และนายสมชาย เอื้อวงษ์ชัย กรรมการเลขาธิการหอการค้าเชียงใหม่ เข้าร่วมเสวนา ณ ห้องดอยหลวง โรงแรมแคนทารีฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนเมืองหลักในภูมิภาค ซึ่งโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เป็นหนึ่งในโครงการระบบขนส่งมวลชนในเมืองภูมิภาคที่ รฟม. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินโครงการ นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับรูปแบบแทรมป์เชียงใหม่ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะ นั้นเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ ระยะทางรวมประมาณ 16 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 9 สถานี และสถานีใต้ดิน 7 สถานี ได้แก่ สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ สถานีแยกหนองฮ่อ สถานีโพธาราม สถานีข่วงสิงห์ สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก สถานีมณีนพรัตน์ สถานีประตูสวนดอก สถานีแยกหายยา สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ สถานีบ้านใหม่สามัคคี และสถานีแม่เหียะสมานสามัคคี มีอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณจุดเริ่มต้นโรงพยาบาลนครพิงค์ รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 1,600 คัน และรถจักรยานยนต์ 800 คัน และบริเวณที่ว่างข้างสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 1,200 คัน และรถจักรยานยนต์ 2,800 คัน มีศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการตั้งอยู่บริเวณแยกหนองฮ่อ ขนาดพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ โดยมีกรอบวงเงินลงทุนโครงการรวมประมาณ 27,000 ล้านบาท สำหรับการดำเนินงานขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ซึ่งตามแผนงานเมื่อการศึกษาออกแบบแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรีประมาณกลางปี 2564 และเริ่มก่อสร้างภายในปี 2565 โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะเป็นการเพิ่มอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน มีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้ นายถนอม รัตนเศรษฐ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่าในช่วงการเปิดให้บริการแทรมป์เชียงใหม่ในปี 70 ซึ่งเป็นปีแรกนั้น คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการ ราว 16,000 คนต่อวัน และมีจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการต่อชั่วโมง ราว 1,200 คน ขณะที่อัตราค่าโดยสารเบื้องต้นจะมีดารจัดเก็บ 2 ส่วน ประกอบด้วย ค่าแรกเข้า 14 บาท และตามระยะทาง +1 บาท ทุกๆ 1 กิโลเมตร "เรามองว่าสำหรับการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารนั้น เป็นราคาที่เหมาะสมเมืาอเทียบกับค่าครองชีพของประชาชนผู้ใช้บริการ ขณะเดียงกันมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ อยู่ที่ 13% โดยภาครัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบด้านงานโยธา ราว 70-80% และเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบอีก 20%"


นอกจากนี้ความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานฯ – ห้าแยกฉลอง และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองฯ บ้านนารีสวัสดิ์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการ ทั้งนี้ในส่วนของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วง ม.นเรศวร – เซ็นทรัลฯ พิษณุโลก คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้ รฟม. ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าฯ จังหวัดพิษณุโลก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/03/2020 8:39 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ดันรถไฟฟ้าเชียงใหม่-ดึงเอกชนร่วมทุน 20% เพิ่มแรงจูงใจ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 19:04
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 19:19




รฟม. ลุยรถไฟฟ้าเชียงใหม่มูลค่ากว่า 2.7 หมื่น ล.คาดสรุปผลศึกษา PPP เสนอ ครม.ปลายปี 63 เปิดประมูลร่วมทุน PPP ปี 64 ปรับการศึกษาเอกชนลงทุนเฉพาะระบบ 5 พัน ล. หวังเพิ่มผลตอบแทนการเงิน จูงใจร่วมทุน

วันนี้ (13 มี.ค.) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้จัดสัมมนาสื่อมวลชน (Press Seminar) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการ และสร้างการรับรู้บทบาทของ รฟม. ในการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าเมืองภูมิภาค โดยมี นายถนอม รัตนเศรษฐ ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม. นายกันต์ณธีร์ เนติโรจนชัยชาญ ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการ นายเฉลิมศักดิ์ สุรนันท์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และ นายสมชาย เอื้อวงษ์ชัย กรรมการเลขาธิการหอการค้าเชียงใหม่ เข้าร่วมเสวนา

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า การศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี รูปแบบเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ ระยะทางรวมประมาณ 16 กิโลเมตร กรอบวงเงินลงทุนรวมประมาณ 27,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ตามแผนงานเมื่อการศึกษาออกแบบแล้วเสร็จในเดือน พ.ค. 2563 จากนั้นจะนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการตามขั้นตอนการร่วมลงทุนเอกชน (PPP) จากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประมาณใน ธ.ค. 2563 ทำการสำรวจและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ต.ค. 2564-พ.ย. 2577 ดำเนินการคัดเลือกเอกชน ก.พ. 2564-ก.พ. 2565 และเริ่มก่อสร้างงานโยธา ระบบรถ มี.ค. 2565 โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570

โดยคาดว่า ในปีแรกที่เปิดให้บริการ (ปลายปี 2570 ) จะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 16,000 คน /วัน และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ40,000 คน/วัน ภายใน 30 ปี ขณะที่ในชั่วโมงเร่งด่วน จะมีผู้โดยสารหนาแน่นที่ประมาณ 1,200 คน

ทั้งนี้ การศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ PPP-Net Cost โดยโครงการมีมูลค่ารวม 27,200 ล้านบาท ซึ่งรัฐจะลงทุนค่าเวนคืน ประมาณ 4,400 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา (Civil Work) ประมาณ 15,000 ล้านบาท จัดหาขบวนรถไฟฟ้า (Rolling Stock) ประมาณ 5,000 ล้านบาท และบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงตลอดอายุ สัมปทาน 30 ปี โดยตามหลักรัฐจะอุดหนุนการลงทุนเอกชนไม่เกินมูลค่างานโยธา

ซึ่งจากการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) อยู่ที่ 13% ถือว่ามีความคุ้มค่า ส่วนผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ค่อนข้างต่ำ ซึ่งจากการศึกษา จะประเมินการลงทุนของเอกชนเฉพาะ (Rolling Stock) ประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อปรับFIRR ให้คุ้มค่ามากขึ้น

“รถไฟฟ้าใช้เงินลงทุนสูงขณะที่รัฐมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ จึงต้องทยอยลงทุนทีละเส้นทาง โดยจัดลำดับเส้นทาง โดย รฟม.พร้อมร่วมมือกับท้องถิ่นในการลงทุนและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าของโครงการและเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยรัฐจะร่วมลงทุนในระดับหนึ่ง” ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าว

ด้าน นายสมชาย เอื้อวงษ์ชัย กรรมการเลขาธิการหอการค้าเชียงใหม่ กล่าวว่า หอการค้าฯได้เสนอความเห็นต่อรฟม.ไปแล้วว่า ควรดำเนินการรถไฟฟ้าเชียงใหม่ ทั้ง 3 สายตามที่มีการศึกษาไว้ในแผนแม่บท ซึ่งนอกจากสายสีแดง ที่นะเริ่มดำเนินการได้ก่อน ควรผลักดันให้มีการออกแบบสายสีเขียวและสีน้ำเงิน ในปี 2564 เพราะทั้ง 3 สายเป็นโครงข่ายที่เชื่อมต่อกันและจะทำให้การเดินทางด้วยระบบรางมีความสมบูรณ์ หากทำสายสีแดงอย่างเดียว จะไม่เกิดประโยชน์ตามแผน ขณะที่รถไฟฟ้าเป็นโครงการที่มีส่วนกระตุ้นภาคลงทุนอื่นๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี มีรูปแบบเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ ระยะทางรวมประมาณ 16 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 9 สถานี และสถานีใต้ดิน 7 สถานี ได้แก่ สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ สถานีแยกหนองฮ่อ สถานีโพธาราม สถานีข่วงสิงห์ สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก สถานีมณีนพรัตน์ สถานีประตูสวนดอก สถานีแยกหายยา สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ สถานีบ้านใหม่สามัคคี และสถานีแม่เหียะสมานสามัคคี

มีอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณจุดเริ่มต้นโรงพยาบาลนครพิงค์ รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 1,600 คัน และรถจักรยานยนต์ 800 คัน และบริเวณที่ว่างข้างสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลประมาณ 1,200 คัน และรถจักรยานยนต์ 2,800 คัน มีศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการตั้งอยู่บริเวณแยกหนองฮ่อ ขนาดพื้นที่ประมาณ 25 ไร่

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะเป็นการเพิ่มอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน มีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย

https://www.facebook.com/ThaiRailNews/posts/2794855867263054?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/03/2020 2:24 pm    Post subject: Reply with quote

ต่างชาติ-ท้องถิ่นรุมจีบ ร่วมทุน'แทรม'เชียงใหม่
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563

ทุนต่างชาติธนาคารจีน-ท้องถิ่น พร้อมร่วมลงทุน "แทรม" เชียงใหม่ ค่า 2.7 หมื่นล้าน หลัง รฟม.เดินหน้าลุยเปิดให้บริการปี 2570 อบจ.-หอการค้า เชื่อการเดินทางสะดวก-ภาค อสังหาฯ โต ขณะแทรมโคราชพิษณุโลก-ภูเก็ต เร่งศึกษาออกแบบเต็มสูบ

นอกจากการลงทุนเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ มหานครและจังหวัดปริมณฑลแล้ว การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังมีแผนขยายระบบขนส่งทางรางครอบคลุมทุกจังหวัดในภูมิภาค รองรับเมืองขยายในอนาคต เป็นสาเหตุให้การขยายถนน มีข้อจำกัดทั้งการเวนคืนและงบประมาณ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนภูมิภาค จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา และภูเก็ต ขณะที่อีก 3 จังหวัดอยู่ในความดูแลรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี และสงขลา สำหรับรูปแบบโครงการขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ นั้นเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน โดยแบ่งเป็นระบบ 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี 2.สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่แยกศรีบัวเงินพัฒนา 3.สายสีเขียว ช่วงแยกรวมโชคมีชัย-ท่าอากาศยานเชียงใหม่
ความคืบหน้าอยู่ระหว่างออกแบบ ศึกษาความเหมาะสมและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาตามแผนเมื่อการศึกษาออกแบบแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรีประมาณกลางปี 2564 และเริ่มก่อสร้างภายในปี 2565 คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะเพิ่มอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทางสะดวก รวดเร็วปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน ซึ่งจะช่วยปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้

"ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุนเอกชน พบว่ามีกลุ่มผู้ประกอบการและนักธุรกิจท้องถิ่นให้ความสนใจลงทุนโครงการนี้ เบื้องต้นมีกลุ่มธนาคารจากประเทศจีนที่สนใจสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน รวมถึงนักลงทุนต่างประเทศภาคเอกชนสนใจที่จะลงทุนในส่วนของซัพพลายเออร์และงานระบบ ส่วนด้านการเดินรถนักธุรกิจท้องถิ่นจะเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากเป็นสัญญาระยะยาว ซึ่งคล้ายกับการเดินรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ"

นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการสำนักการช่าง องค์การ บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สะท้อนถึงแผนลงทุนระบบขนส่งทางรางในจังหวัดว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเชียงใหม่ประสบปัญหาด้านการจราจรหนาแน่นทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยว มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทต่อปี หากมีรถแทรมเข้ามาพัฒนาด้านขนส่งมวลชนสาธารณะ จะช่วยให้การเดินทางสำหรับประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่มีความสะดวกมากขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า

นายสมชาย เอื้อวงษ์ชัย กรรมการเลขาธิการหอการค้าเชียงใหม่ กล่าวว่า หากโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่จะสมบูรณ์ได้ทั้งระบบนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งรัดโครงการดังกล่าวทั้ง 3 เส้นทางสามารถเดินหน้าไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันทำให้ราคาที่ดินของภาคอสังหาฯ ปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต หลังจากที่ซบเซาในช่วงที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2020 10:52 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าเชียงใหม่เนื้อหอม! เอกชน-ท้องถิ่น สนใจร่วมทุนเพียบ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2927907457256180&set=a.2073045072742427&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/04/2020 1:02 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายแรกของจังหวัดเชียงใหม่


ตอนนี้มีหลายจังหวัดเลยนะครับ ที่ สนข.ศึกษาแผนแม่บทรถไฟฟ้า และส่งต่อให้ รฟม.ศึกษาออกแบบ

จังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นอีกจังหวัดที่ สนข.ได้วางแผนรถไฟฟ้า โดยวางไว้ว่าจะมีรถไฟฟ้า 3 สาย ใช้ Tram ในการวิ่งให้บริการ

ทั้ง 3 สายมีรายละเอียดดังนี้
สายสีแดง โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี
ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร
เป็นทางวิ่งใต้ดิน 7.3 กิโลเมตร

สายสีเขียว แยกรวมโชคมีชัย - ท่าอากาศยานเชียงใหม่
ระยะทาง 11.9 กิโลเมตร
เป็นทางวิ่งใต้ดิน 8.7 กิโลเมตร

สายสีน้ำเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่ - แยกศรีบัวเงินพัฒนา
ระยะทาง 10.4 กิโลเมตร
เป็นทางวิ่งใต้ดิน 7.9 กิโลเมตร

จากผลการศึกษาการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละสาย สายสีแดงมีความคุ้มค่ามากที่สุด แต่จากการประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวเชียงใหม่ต้องการให้สร้างพร้อมกันทั้ง 3 สาย รวมมูลค่าก่อสร้างทั้ง 3 สาย ประมาณ 100,000 ล้านบาท

ด้วยความคุ้มค่าของโครงการ รฟม.ก็นำโครงการสายสีแดงมาศึกษาออกแบบก่อนครับ

สายสีแดงมีเส้นทางเริ่มจากถนนโชตนา หน้าโรงพยาบาลนครพิงค์ เป็นทางวิ่งระดับดิน เลี้ยวขวาไปที่ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ข้ามคลองชลประทานแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน เลี้ยวซ้ายที่แยกหนองฮ่อตรงไปถึงแยกกองกำลังผาเมือง ตรงนี้ทางวิ่งรถไฟฟ้าจะลดระดับลงใต้ดินครับ

จากนั้นเลี้ยวขวาไปตามถนนโชตนา ผ่านแยกข่วงสิงห์ ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฎ ไปจนถึงถนนมณีนพรัตน์ เลี้ยวขวาไปถึงแจ่งหัวลิน เลี้ยวซ้ายไปตามถนนบุญเรืองฤทธิ์ ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ไปตามถนนมหิดล ถึงหน้าเซ็นทรัล แอร์พอร์ต ทางวิ่งรถไฟฟ้าตัดตรงเข้าไปที่หน้าสนามบินเชียงใหม่ ก่อนถึงสถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ ทางวิ่งยกระดับขึ้นมาเป็นทางวิ่งระดับพื้นดิน

จากนั้นตรงไปยังคลองระบายน้ำข้างสนามบิน ออกไปที่ถนนเชียงใหม่ - หางดง ตรงไปจนสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี

มีสถานีใต้ดิน 7 สถานี สถานีระดับพื้นดิน 9 สถานี
จะมีเฉพาะช่วงถนนเชียงใหม่ - หางดง เท่านั้นที่ทางวิ่งรถไฟฟ้าจะอยู่ที่เกาะกลางถนน ส่วนบริเวณอื่นจะอยู่ด้านข้างของถนนครับ

มีจุดจอดแล้วจร 2 จุดคือ

สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ จอดรถยนต์ได้ 1,600 คัน มอเตอร์ไซค์ 800 คัน

สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี จอดรถยนต์ได้ 1,200 คัน มอเตอร์ไซค์ 2,800 คัน

รถจะวิ่งให้บริการที่ความเร็วสูงสุด 70 กม./ชม.ในทางวิ่งใต้ดิน
และวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 50 กม./ชม. บนทางวิ่งระดับพื้นดินครับ

ตัวรถจะเป็นรถรางไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Tram มีความกว้าง 2.4 เมตร ยาว 32 เมตร สามารถต่อตู้เพิ่มได้เป็น 45 เมตร ในอนาคต



ความคืบหน้าตอนนี้ รฟม.ศึกษาออกแบบเตรียมเอกสารประกวดราคา คาดว่าจะเสนอขออนุมัติ ครม.กลางปี 2564 ก่อสร้างภายในปี 2565 ครับ
https://www.facebook.com/RenderThailand/posts/2539200156340198
ชมคลิปแนะนำโครงการได้ที่นี่ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=WvAQ0IB8LxY
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/05/2020 11:10 pm    Post subject: Reply with quote

เลาะแนวรถไฟฟ้าเชียงใหม่ ลอด “เซ็นทรัล” ทะลุ “แยกแม่เหียะ”

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2563 เวลา 09:00 น.


เป็นอีกหนึ่งโครงการที่กำลังเป็นที่จับตาจะเกิดได้จริงหรือได้แค่ศึกษา สำหรับ “โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.เชียงใหม่ สายสีแดง” นำร่องช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 27,211 ล้านบาท

ซึ่ง “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” กำลังศึกษารายละเอียดโครงการและทดสอบความสนใจจากภาคเอกชน ให้มาลงทุนรูปแบบ PPP net cost เดินรถ เก็บค่าโดยสารและซ่อมบำรุงโครงการ ระยะเวลา 30 ปี ก่อสร้าง 5 ปี เป็นโมเดลเดียวกับสายสีชมพูและสายสีเหลือง รัฐจะสนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินค่างานโยธา 15,000-16,000 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุนงานวางระบบรถไฟฟ้า (M&E) 3,334 ล้านบาท, งานระบบล้อเลื่อน 2,168 ล้านบาท

คาดตอกเข็มปี’65
ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในเดือน มี.ค. 2565 เปิดบริการในเดือน ธ.ค. 2570 แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการได้รับอนุมัติรายงานด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จะได้รับไฟเขียวเร็วหรือช้า

เพราะเมื่อเอกซเรย์แล้วน่าจะเป็นโจทย์หินอยู่พอสมควร เพราะมีทั้งโครงสร้างบนระดับดินและใต้ดิน โดยแนวเส้นทางเป็นโครงสร้างระดับดินเริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์วิ่งไปตามถนนโชตนาเลี้ยวขวาที่ทางแยกศูนย์ราชการร่วมใจ ผ่านศูนย์ราชการเลี้ยวซ้ายเข้าถนนรอบเมืองเชียงใหม่ ผ่านสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี และศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา

แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนน 1366 หนองฮ่อ-ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ ผ่านสถานีตำรวจช้างเผือก เลี้ยวขวากลับเข้าถนนโชตนา แล้วเปลี่ยนเป็นโครงสร้างใต้ดินบริเวณแยกข่วงสิงห์ ไปตามถนนช้างเผือกผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 1 เลี้ยวขวาวิ่งไปตามถนนมณีนพรัตน์

จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบุญเรืองฤทธิ์ ผ่านโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ประตูสวนดอก โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ เลี้ยวขวาเข้าถนนมหิดลผ่านเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เลี้ยวขวาเข้าถนนผ่านสนามบินเชียงใหม่แล้วเปลี่ยนเป็นโครงสร้างระดับดินไปตามถนนเชียงใหม่-หางดง ผ่านสำนักงานขนส่ง บิ๊กซี หางดง สิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี

เวนคืน 4 พันล้าน ผุด 16 สถานี
รวมระยะทาง 16 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 38 นาที มี 16 สถานี ได้แก่ สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ ศูนย์ราชการ จ.เชียงใหม่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ แยกหนองฮ่อ โพธาราม ข่วงสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ขนส่งช้างเผือก มณีนพรัตน์ ประตูสวนดอก แยกหายยา แยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ บ้านใหม่สามัคคี และแม่เหียะสมานสามัคคี

ทั้งโครงการมีการเวนคืนที่ดินอยู่บริเวณจุดขึ้น-ลงสถานี จุดใหญ่อยู่ที่แยกหนองฮ่อ เวนคืน 25 ไร่ เพื่อสร้างเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณแยกหนองฮ่อ หรือโครงการลัดดาแลนด์เดิม ใช้เงินเวนคืน 4,400 ล้านบาท ยังมีจุดจอดแล้วจรที่สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ 1,600 คัน และสถานีแม่เหียะฯ 1,200 คัน

รูปแบบโครงการที่ศึกษาไว้ขณะนี้ จะเป็นรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (tram) ขนาดความกว้างของราง 2.4 เมตร ผู้ลงทุนสามารถเลือกใช้ล้อยางหรือล้อเหล็กก็ได้

ค่าโดยสาร 14-30 บาท
ด้านค่าโดยสารเริ่มต้น 14 บาท จากนั้นคิดเพิ่ม กม.ละ 1 บาท สูงสุด 30 บาทตลอดสาย ในปีแรกเปิดบริการคาดการณ์ผู้โดยสารอยู่ที่ 16,487 คน/วัน และเมื่อสิ้นสุดโครงการในปี 2590 คาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะอยู่ที่ 42,321 คน/วัน มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ที่ 13% ส่วนผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ค่อนข้างต่ำ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รถไฟฟ้าเชียงใหม่เป็น 1 ใน 5 โครงการรถไฟฟ้าภูมิภาคที่ รฟม.ได้รับนโยบายจากรัฐให้เป็นผู้ดำเนินการ ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบ เตรียมการเปิดประมูล และขออนุมัติตามขั้นตอน โดยรถไฟฟ้าเชียงใหม่จะเป็นโครงการลงทุนต่อจากภูเก็ต

เอกชนไทย-ยุโรปสนใจลงทุน
“มีเอกชนจากบริษัทไทยและยุโรป ไม่ว่าฝรั่งเศส สเปน ให้ความสนใจจะเข้ามาลงทุน ตามแผนงานหลังศึกษาออกแบบเสร็จปีนี้ ในปี 2564 จะคัดเลือกเอกชนร่วม PPP เริ่มสร้างปี 2565”

ก่อนหน้านี้ รฟม.เปิดทดสอบความสนใจ มีเอกชนที่เข้าร่วม อาทิ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS), บจ.บีทีเอส อินฟราสตรัคเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น, บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง, บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการ, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บมจ.ยูนิคฯ, บมจ.ราช กรุ๊ป, บมจ.ล็อกซเล่ย์ และ บจ.ซีเมนส์ โมบิลิตี้, บจ.ทีซีซี ภูมิพัฒน์ บริษัทในเครือทีซีซี กรุ๊ปของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี และ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ส่วนบริษัทต่างประเทศ เช่น บอมบาดิเอร์ จากแคนาดา บริษัทจากจีน เกาหลีใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2020 9:30 pm    Post subject: Reply with quote

“ภูเก็ต vs เชียงใหม่” รถไฟฟ้าไปถึงไหนแล้ว?

นอกจากโครงการรถไฟฟ้าหลากสีในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่กำลังก่อสร้างกันอยู่หลายเส้นทางในตอนนี้ 2 หัวเมืองหลักในภูมิภาคอย่าง “ภูเก็ต” และ “เชียงใหม่” ก็มีโครงการที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) ในพื้นที่ด้วยเช่นกัน

มาดูกันครับว่าความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าใน “ภูเก็ต” และ “เชียงใหม่” ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว?

รถไฟฟ้า LRT ภูเก็ต เฟส 1 จากสนามบินนานาชาติภูเก็ต ไปห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร เฟส 2 จาก เมืองใหม่ ข้ามช่องปากพระ ไปท่านุ่น ยาว 16.5 กิโลเมตร เฉพาะ ทางจากสนามบินนานาชาติภูเก็ต ไปห้าแยกฉลอง มี สถานีบนดิน 19 สถานี สถานีลอยฟ้า 1 แห่งที่ สนามบินนานาชาติภูเก็ต และ สถานีใต้ดิน 1 แห่งที่ ห้าแยกฉลอง จะเริ่มสร้างธันวาคม 2564 สำเร็จ มีนาคม 2568 โดยให้เป็น PPP โดยโครงการ นี้ราคา 35,000 ล้านบาท

ถ้าอยากให้มีทางไปป่าตองรอสายสองเหอะ เพราะมีรถสมาร์ทบัส ไปป่าตองอยู่แล้วครับ

รถไฟฟ้า LRT เชียงใหม่ มี 3 เส้นทาง แดงเขียวน้ำเงิน แต่จะทำสายแดงก่อน

สายสีแดง: โรงพยาบาลนครพิงค์ - สนามบินเชียงใหม่ - สี่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี 15.6 กิโลเมตร มี 9 สถานีบนดิน 7 สถานีใต้ดิน เริ่มทำ มีนาคม 2565 สำเร็จ ธันวาคม 2570 ที่ล่าช้าเพราะ ต้องเคลียร์เรื่องโบราณคดี รอบกำแพงและคูรอบเวียงเชียงใหม่ เพื่อให้ EIA ผ่านได้ โดยโครงการ นี้ราคา 27,000 ล้านบาท

สายเขียว: แยกรวมโชค - สนามบินเชียงใหม่ 12 กิโลเมตร

สายน้ำเงิน: สวนสัตว์เชียงใหม่ - สถานีรถไฟเชียงใหม่ - ดอนจั่น 11 กิโลเมตร

https://www.facebook.com/ThailandSkyline/photos/a.549139758560956/1773002226174697/?type=3&theater

โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต (ระยะที่ 1 : ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง
https://www.facebook.com/thailand.etc.club/posts/2887996347916823?hc_location=ufi
https://km.mrta.co.th/files/article/attachment/3e6ba3446268544df85d203766a2438c.PDF
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11, 12  Next
Page 10 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©