RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180550
ทั้งหมด:13491784
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2020 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.สานฝันชาวโคราชชงรถรางไฟฟ้า
ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563

หอการค้าแนะระบบล้อยาง


รฟม.สร้างรถไฟฟ้าโคราชปี65เปิดปี68
เผยแพร่: 31 สิงหาคม 2563 เวลา 13:45

รฟม. เปิดทดสอบความสนใจ นักลงทุนครั้งที่ 2 ของภาคเอกชนโครงการรถไฟฟ้านครราชสีมาคาดเริ่มก่อสร้างปี65เปิดบริการปี68


นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธานจัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) ครั้งที่ 2 ของภาคเอกชน (กลุ่มนักลงทุนและผู้ประกอบการ) ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ซึ่งการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจในครั้งนี้ เป็นการจัดต่อเนื่องจากครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 ที่ รฟม. ได้จัดให้แก่ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา โดยหลังจากนี้ รฟม. จะรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มไปประกอบการจัดทำแนวทางการร่วมลงทุนของโครงการต่อไป


สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา เป็นหนึ่งในโครงการที่ รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้ดำเนินการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยจะเริ่มก่อสร้างในเส้นทาง สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลำดับแรก โครงการนี้ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) ระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร 21 สถานี ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สถานีสามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯ สถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ สถานีชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง โดยคาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างได้ในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2568 เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ของประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งยังสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน และช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศอันเกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ได้อีกด้วย

รฟม.สรุป “แทรมป์โคราช” 7.1 พันล้าน สัมปทาน 30 ปี เอกชนติง PPP-Net Cost เสี่ยงสูง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 31 สิงหาคม 2563 เวลา 13:24



รฟม.จัด Market Sounding รถไฟฟ้านครราชสีมา มูลค่า 7.1 พันล้าน คาดชง ครม.กลางปี 64 สัมปทาน 30 ปี เปิดปี 68 ค่าโดยสาร 10-21 บาท เอกชนติงรูปแบบ PPP-Net Cost เสี่ยงสูง หวั่นไม่คุ้มค่า

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานจัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) ครั้งที่ 2 ของภาคเอกชน (กลุ่มนักลงทุนและผู้ประกอบการ) ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ว่า หลังจากนี้ รฟม.จะรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมด ประกอบการจัดทำแนวทางการร่วมลงทุนเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ภายใน 1-2 เดือนนี้ จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประมาณเดือน พ.ค. 2564

จากนั้นจะจัดตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 2562 ใช้เวลาประมาณ 1 ปี คาดว่าจะลงนามสัญญาในเดือน ก.ค. 2565 และเริ่มก่อสร้างประมาณเดือน ส.ค. 2565 เปิดให้บริการเดือน พ.ย. 2568

ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายให้ รฟม.ดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ซึ่งจากการศึกษา คาดว่าจะใช้รูปแบบ PPP-Net Cost ตามแผนจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (ส.ค. 65-พ.ย. 68) เปิดบริการ พ.ย. 2568 ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี

โครงการมีมูลค่าลงทุนรวม 7,115.48 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,180.21 ล้านบาท (รัฐรับผิดชอบ) ส่วนเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา 2,254.70 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 2,260.36 ล้านบาท ค่างานจัดหาขบวนรถไฟฟ้า 995.54 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง 176.59 ล้านบาท ค่า Provisional Sum 240.08 ล้านบาท

โดยเส้นทางสายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร มี 21 สถานี กำหนดอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 10 บาท + 1 บาท/กม. คาดสูงสุดไม่เกิน 21 บาท ประมาณการจำนวนผู้โดยสารที่ 9,920 คน /วันในปีแรกที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 15,060 คน/วันในปี 2572 และ 28,340 คน/วันในปี 2597 (ปีที่ 30)

วิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 13.11% ระยะเวลาคืนทุน 11 ปี ซึ่งเอกชนจะมีรายได้จากค่าโดยสาร, การพัฒนาเชิงพาณิชย์ในพื้นที่สถานีและอาคารจอดรถ ค่าบริการจอดรถ โครงการออกแบบเป็นระบบรถรางไฟฟ้ารางเบา (Tram) ซึ่งเปิดให้เอกชนสามารถเสนอเป็นแทรมป์ล้อเหล็ก หรือล้อยาง โดยล้อยางมีต้นทุนต่ำกว่าประมาณ 20% กำหนดจำนวน 10 ขบวนในปีเปิด และสูงสุด 17 ขบวน

ทั้งนี้ ภาคเอกชนมีความกังวลความเสี่ยงในการลงทุนรูปแบบ PPP-Net Cost และการกำหนดค่าโดยสารที่การศึกษาอาจยังไม่ชัดเจน แนวเส้นทางเริ่มจาก สถานีมิตรภาพ 1 สถานีสามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯ สถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ สถานีชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง มีการเวนคืนที่ดินรวม 17 แปลง มี 2 จุด คือ ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ บริเวณบ้านนารีสวัสดิ์ ประมาณ 25 ไร่ (40,000 ตารางเมตร) และจุดจอดแล้วจร (Park&Ride) ใกล้ตลาดเซฟวัน


Live โครงการ Market Sounding รถไฟฟ้า (รถราง) โคราช สายสีเขียว
https://www.facebook.com/108236970514773/videos/764330240776145/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2020 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ไปทำรถไฟฟ้าให้โคราช ไลต์เรล 11.15 กม. ลงทุน 7 พันล้าน
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
อังคารที่ 1 กันยายน 2563 เวลา 08:55 น.

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่โรงแรมดิเอมเมอรัล กทม. นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการฝ่ายกลยุทธ์และแผน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) ครั้งที่ 2 ของภาคเอกชน โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ว่า โครงการดังกล่าวที่ปรึกษาได้ศึกษารายละเอียด เหมาะสม รวมทั้งออกแบบโครงการเป็นระบบไลต์เรล หรือแทรม ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร สถานี 21 สถานี ได้แก่

สถานีมิตรภาพ 1
สถานีสามแยกปักธงชัย
สถานีมิตรภาพ 2
สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
สถานีสวนภูมิรักษ์
สถานีหัวรถไฟ => (ใกล้สถานีรถไฟนครราชสีมา)
สถานีเทศบาลนคร
สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง
สถานีโพธิ์กลาง
สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
สถานีแยกประปา
สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา
สถานีราชภัฏฯ
สถานีราชมงคล
สถานีบ้านเมตตา
สถานีบ้านนารีสวัสดิ์
สถานีชุมพล
สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์
สถานีวัดแจ้งใน และ
สถานีดับเพลิง
แนวเส้นทางเริ่มจากตลาดเซฟวัน ถนนมิตรภาพ เข้าสู่ตัวเมือง ไปสิ้นสุดถนนสุรางค์ยาตร์ มีศูนย์ซ่อมบำรุง หรือ เดปโป้ที่บริเวณปลายทาง 1 แห่ง รวมทั้งที่จอดแล้วจร 2 แห่ง มูลค่าโครงการ 7,100 ล้านบาท แยกเป็นงานโยธา 2,200 ล้าน งานระบบ 2,200 ล้าน ค่าเวนคืน 1,200 ล้าน


ตามขั้นตอนหลังจากศึกษาแล้วเสร็จจะเสนอบอร์ด รฟม.ภายในปีนี้ และเสนอ ครม. กลางปี 2564 จากนั้นจะเริ่มขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ปี 2562 ใช้เวลาคัดเลือก 1 ปี เริ่มก่อสร้างเดือน สิงหาคม ปี 2565 การก่อสร้างใช้เวลา 3 ปีครึ่ง กำหนดเปิดให้บริการปลายปี 2568 สำหรับรูปแบบการลงทุนจะใช้วิธี PPP Net Cost เอกชนลงทุนก่อสร้างและให้บริการเดินรถ อายุสัมปทานเดินรถไฟฟ้า 30 ปี ไม่รวมระยะเวลาก่อสร้าง ค่าโดยสาร เริ่มต้นราคา 10 บาท บวกเพิ่ม กม.ละ 1 บาท ค่าโดยสารเฉลี่ย 10-12 บาท สูงสุดไม่เกิน 21 บาท อย่างไรก็ตาม รายได้จากค่าโดยสารอาจไม่เพียงพอ รัฐอาจจะต้องสนับสนุน ทั้งนี้ จากการประชุมครั้งก่อนและครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากภาคเอกชน คิดว่ามีช่องทางที่จะดำเนินธุรกิจได้ รวมทั้งเอกชนในท้องถิ่นด้วย.

อัปเดต "แทรมโคราช" ถึงไหนแล้ว
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
จันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 16:17 น.



รฟม.เร่งสรุปผลรับฟังความคิดเห็น แทรมโคราช วงเงิน 7.1 พันล้าน ลุยศึกษาออกแบบ-ทำอีไอเอ จ่อชงบอร์ดรฟม.เคาะผลปีนี้ เดินหน้าเปิดประมูลปี 2565 หั่นค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาทต่อคนต่อเที่ยว หวังลดภาระประชาชนชาวโคราช

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยในฐานะประธานจัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) ครั้งที่ 2 ของภาคเอกชน (กลุ่มนักลงทุนและผู้ประกอบการ) ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (แทรมโคราช) สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ซึ่งมีผู้แทนภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมกว่า 100 คน ว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดนครราชสีมา มูลค่า 7,115.48 ล้านบาท จะนำผลจากการประชุมครั้งนี้ไปใช้พิจารณาประกอบการจัดทำแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการต่อไป ขณะเดียวกันเตรียมดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดความเหมาะสมและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ภายในเดือนกันยายน 2563 หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ภายในปีนี้ คาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนพฤษภาคม 2564 จะเริ่มเปิดคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน ภายในปี 2565 หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือน ส.ค.2565 คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2568


ขณะเดียวกันแทรม จังหวัดนครราชสีมา มูลค่าโครงการ 7,115.48 ล้านบาท แบ่งเป็นค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,180.21 ล้านบาท ค่างานก่อสร้างโยธา 2,254 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้า 2,260.36 ล้านบาท ค่างานจัดหาขบวนรถไฟฟ้า 995.54 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง. 176.59 ล้านบาท คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ. จำนวน 24,266 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 13.11% นายธีระพันธ์ กล่าวต่อว่า ด้านการประมาณรายได้นั้น จะเสนอการจัดเก็บค่าโดยสารในรูปแบบตามระยะทาง อัตราค่าบริการ 10+1 กิโลเมตร (กม.) หรือ ค่าโดยสารอยู่ที่ 11-20 บาทต่อคนต่อเที่ยว เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน จังหวัดนครราสีมา มีรายได้อื่นๆ เช่น รายได้จากการเช่าโฆษณา ค่าเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ คาบริการจอดรถ คิดเป็น 5% ของรายได้ค่าโดยสาร เบื้องต้นคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร ที่เปิดให้บริการในปี 2568 อยู่ที่ 9,920 คนต่อวัน

ทั้งนี้โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา เป็นหนึ่งในโครงการที่ รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้ดำเนินการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Netcost) โดยจะเริ่มก่อสร้างในเส้นทาง สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลำดับแรก โครงการนี้ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) ระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร 21 สถานี ได้แก่

สถานีมิตรภาพ 1
สถานีสามแยกปักธงชัย
สถานีมิตรภาพ 2
สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
สถานีสวนภูมิรักษ์
สถานีหัวรถไฟ => (ใกล้สถานีรถไฟนครราชสีมา)
สถานีเทศบาลนคร
สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง
สถานีโพธิ์กลาง
สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
สถานีแยกประปา
สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา
สถานีราชภัฏฯ
สถานีราชมงคล
สถานีบ้านเมตตา
สถานีบ้านนารีสวัสดิ์
สถานีชุมพล
สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์
สถานีวัดแจ้งใน และ
สถานีดับเพลิง



เปิดค่าโดยสาร"แทรมโคราช"11-20 บาทเปิดปี68
หน้าข่าว เศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 13.45 น.

เปิดค่าโดยสาร "แทรมโคราช”รอบเมืองจากตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองฯ 11.15 กม. 21 สถานี เก็บ 11 บาท ไม่เกิน 20 บาท ตั้งแต่ 6 โมงเช้า-5 ทุ่ม 21 สถานีเปิดบริการ พ.ย.68

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่รร.ดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจ ครั้งที่ 2 ของภาคเอกชน และหน่วยงายที่เกี่ยวข้อง (Market Sounding) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา หรือรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร(กม.) ซึ่งมีผู้แทนภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมกว่า 100 คนว่า จะนำผลจากการประชุมครั้งนี้ไปใช้พิจารณาประกอบการจัดทำแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการต่อไป คาดว่าผลการศึกษาจะเสนอให้คณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. พิจารณาภายในปี 63

 นายธีรพันธ์ กล่าวต่อว่า จากนั้นจะเสนอให้กระทรวงคมนาคม และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาไม่เกินเดือน พ.ค. 64 เปิดประมูลเดือน ก.ค. 64 เริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค.65 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการประมาณเดือน พ.ย.68 สำหรับโครงการการแทรมโคราช สายสีเขียว วงเงินลงทุนประมาณ 7.11 พันล้านบาท เป็นรูปแบบ PPP Net Cost สัมปทาน 30 ปี เบื้องต้นรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา, งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลค่าขบวนรถไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง โดยเอกชนได้รับรายได้จากค่าโดยสารและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ หากมีกำไรเกินกว่ากำหนดต้องส่งคืนให้รัฐตามข้อตกลงร่วมกัน
 
นายธีรพันธ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการฯ จะใช้งบประมาณ 1,200 ล้านบาท มีการเวนคืนที่ดินประมาณ 17 แปลง ใช้พื้นที่จัดทำเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) ประมาณ 25 ไร่ และจุดจอดแล้วจร สำหรับอัตราค่าโดยสาร กำหนดไว้ที่ประมาณ 11-21 บาทต่อคนต่อเที่ยว เบื้องต้นจะปรับลดให้เหลือสูงสุดไม่เกิน 20 บาทต่อคนต่อเที่ยว เพื่อให้เป็นราคาที่ใกล้เคียงกับระบบขนส่งใน จ.นครราชสีมา และดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการ คาดว่าในปีเปิดให้บริการในปี 68 จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการประมาณ 9,900 คนต่อวัน และเกือบ 30,000 คนต่อวันในปี 97 ทั้งนี้แทรมโคราช อย่างไรก็ตามหากแทรมโคราชสามารถดำเนินการได้ตามกรอบเวลาที่วางไว้ ไม่ติดปัญหาอะไร ก็จะถือเป็นแทรมสายแรกในประเทศไทย

            
รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งว่า สำหรับโครงการแทรมโคราช มีทั้งหมด 21 สถานี โดยเป็นทางวิ่งระดับดินทั้งหมด ซึ่งจะมีขบวนรถให้บริการประมาณ 10-12 ขบวนต่อวัน ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 50 กม.ต่อชั่วโมง(ชม.) เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-23.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/10/2020 7:42 am    Post subject: Reply with quote

ตัด2พันล้าน'แทรมโคราช'
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ลดเด็บโป้ลงทุนเหลือ5พันล้าน ดึงดูดเอกชนเริ่มประมูลปีหน้า

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา หรือรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) สายสีเขียว (ตลาด เซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้าน นารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 7.11 พันล้านบาท ว่า ขณะนี้ที่ปรึกษาโครงการได้นำรายงานผลการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและการจัดทำแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุน เสนอให้ รฟม. พิจารณาแล้ว แต่รฟม.ให้กลับไปทบทวนในส่วนของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และปรับรูปแบบรายละเอียดโครงการอีกเล็กน้อยเพื่อลดมูลค่าการลงทุนโครงการให้เหลือประมาณ 5 พันล้านบาท จากเดิมกำหนดไว้ที่ประมาณ 7.11 พันล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า การปรับลดวงเงินลงทุนนอกจากให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและช่วยให้โครงการมีความเป็นไปได้มากขึ้นแล้ว ยังจูงใจเอกชน สนใจลงทุนด้วยซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) หากผลตอบแทนน้อยและลงทุนสูง เอกชนจะไม่สนใจ ทั้งนี้เบื้องต้นจะปรับรายละเอียดโครงการในส่วนของขนาดพื้นที่จุดจอดแล้วจรและศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ให้เล็กลง จากเดิมใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 25 ไร่ เพื่อลดต้นทุนลง แต่จะเป็นขนาดเท่าใดและจะปรับลดได้หรือไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้ต้องแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 63 ก่อนเสนอ รฟม. พิจารณาต่อไปโดยต้องเร่งดำเนินการไม่ให้กระทบกับกรอบเวลาที่วางไว้เดิม

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า เบื้องต้นถือว่าโครงการยัง เดินหน้าตามแผนงานที่วางไว้ว่าจะต้องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณาภายในปี 63 จากนั้นจะเสนออีไอเอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)พิจารณา ซึ่งตามปกติจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 ปี หากเห็นชอบจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าอีไอเอจะยังไม่ผ่านความเห็นชอบ แต่ รฟม.สามารถดำเนินการในขั้นตอนการเปิดประมูลควบคู่ไปกับการพิจารณาอีไอเอได้เพียงแต่เมื่อได้ผู้ชนะประมูลแล้วยังไม่สามารถลงนามได้ ต้องรอจนกว่าอีไอเอจะผ่านโดยตามแผนตั้งเป้าหมายว่าจะเปิดประมูลได้ประมาณเดือน ก.ค. 64 เริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค. 65 ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดบริการประมาณเดือนพ.ย. 68

รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งด้วยว่าแนวเส้นทางโครงการยังเหมือนเดิม เป็นทางวิ่งระดับดิน มี 21 สถานี ได้แก่สถานีมิตรภาพ 1 สถานี สามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯสถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ สถานีชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2020 11:04 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ตัด2พันล้าน'แทรมโคราช'
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ลดเด็บโป้ลงทุนเหลือ5พันล้าน ดึงดูดเอกชนเริ่มประมูลปีหน้า

“แทรมโคราช”ยังไปต่อ!! แต่ขอตัดงบ 2 พันล้าน
*ปรับเดปโป้ลดค่าก่อสร้างเหลือ 5 พันล้าน
*ดึงดูดเอกชนร่วมลงทุนเปิดประมูลปีหน้า
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10:16 น.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2748970998657734
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2020 7:32 am    Post subject: Reply with quote

แทรมโคราชเหลือ 5.4 พันล้าน
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ตัดงานศูนย์ซ่อมเอาแค่เนื้อๆเน้นๆ รฟม.ชงบอร์ดสิ้นปีมั่นใจแจ้งเกิด

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา หรือรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กม. ว่า ที่ปรึกษาโครงการได้นำรายงานผลการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และการจัดทำแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุน เสนอให้ รฟม. พิจารณาแล้ว ซึ่งเป็นฉบับที่ก่อนหน้านี้ รฟม. ให้กลับไปทบทวนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และรูปแบบรายละเอียดโครงการ เพื่อ ลดวงเงินลงทุนโครงการ โดยที่ปรึกษาได้ปรับลดวงเงินลงทุนลงประมาณ 1,700 ล้านบาท เหลือประมาณ 5,400 ล้านบาท จากเดิม ประมาณ 7,100 ล้านบาท

วงเงินที่ปรับลดลงนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนของงานระบบภายในศูนย์ควบคุมและซ่อมบำรุง (Depot) ซึ่งเป็นงานด้านเทคนิค เช่น เครื่องกลไฟฟ้า โดยเดิมสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ออกแบบให้ Depot เผื่อไว้สำหรับการก่อสร้างแทรมโคราชส่วนต่อขยายระยะถัด ๆ ไปในอนาคตอีก 2 เส้นทางด้วย แต่เวลานี้เมื่อจำเป็นต้องให้ปรับลดวงเงิน จึงทำเพียงแค่ให้แทรมในเส้นทางหลักนี้เดินรถได้ก่อน และเมื่อจะก่อสร้างแทรมระยะถัดไปในเส้นทางต่อขยาย จึงค่อยเพิ่มเติมในส่วนที่ตัดออกไป

รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งอีกว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ รฟม. ต้องเสนอผลการศึกษาฯ ให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณา ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้พิจารณาได้ภายในปีนี้ จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ไม่เกินเดือน พ.ค. 64 หากเห็นชอบจะเปิดประมูลได้ในเดือน ก.ค. 64 เริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค.65 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดบริการประมาณเดือน พ.ย.68 ทั้งนี้ในปีแรกที่เปิดบริการจะมีผู้โดยสารประมาณ 9,900 คนต่อวัน และเกือบ 30,000 คนต่อวันในปี 97

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับอีไอเอนั้น ขณะนี้ได้ส่งรายงานให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ได้ภายในปีนี้ ซึ่งตามปกติจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 ปี รฟม.มั่นใจว่าแทรมโคราชสามารถเกิดขึ้นได้จริง เพราะวงเงินลงทุนไม่สูงมาก และในการทดสอบความสนใจ (Market Sounding) ก็พบว่ามีภาคเอกชนให้ความสนใจหลายราย ส่วนหลังจากนี้จะมีการให้ปรับรูปแบบการเดินรถจากแทรมเป็นรูปแบบอื่นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหาร แต่เวลานี้ผลการศึกษายังคงยืนยันเป็นรูปแบบแทรมเหมือนเดิม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2020 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
แทรมโคราชเหลือ 5.4 พันล้าน
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ตัดงานศูนย์ซ่อมเอาแค่เนื้อๆเน้นๆ รฟม.ชงบอร์ดสิ้นปีมั่นใจแจ้งเกิด

โคราชยังได้”แทรม”หั่นงบลงทุนเหลือ5.4พันล้าน
*ตัดงานศูนย์ซ่อม1.7พันล้านเอาเนื้อๆ เน้นๆ
*รฟม.แพลนเสนอบอร์ดสิ้นปีมั่นใจแจ้งเกิด
วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 14:52 น.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2772901252931375
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/12/2020 8:55 am    Post subject: Reply with quote

ฝ่าด่านหิน3รถรางไฟฟ้าหัวเมือง ลุ้นชงครม.ปักธงอนุมัติปี 64
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

การเปิดใช้รถไฟฟาสายใหม่ต่อเนื่องในกรุงเทพฯ ทำให้เป็น"โครงข่าย" ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับขณะที่ระบบขนส่งมวลชนในหัวเมือง 7 จังหวัดหลักนั้นรอบปี 2563 นี้ที่คืบหน้าไปมากอย่างน้อย 3 แห่งที่มีลุ้นว่าจะสามารถเสนอเข้าครม.ขออนุมัติโครงการในปี 2564 นี้

โครงการระบบขนส่งมวลชนในหัวเมืองที่คืบหน้ามาก 3 จังหวัด นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า

1.ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาทางเลือกใหม่ เนื่องจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีแนวคิดให้ปรับรูปแบบระบบการเดินรถใหม่ เป็นแบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เพื่อลดภาระต้นทุนค่าก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดประมูลภายในปลายปี 2564 โดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2565 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี

ขณะเดียวกันที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ได้รายงานผลการศึกษาทางเลือกออกเป็น 2 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.รถรางแบบล้อยาง ที่สามารถเดินรถเลี้ยวตามเส้นทางได้สะดวก แต่สภาพอากาศในไทยที่ค่อนข้างร้อนอาจจะทำให้ยางเสียหรือระเบิดได้ รวมทั้งมีผู้ผลิตในตลาดต่างประเทศน้อย ส่งผลให้ต้นทุนการจัดหาระบบค่อนข้างสูงกว่าระบบรถรางล้อเหล็กราว 15% 2.รถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) เป็นรถที่ขับด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ต้นทุนถูกว่าระบบเดิมประมาณ 30 %

2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์ วงเงิน 7.11 พันล้านบาท หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายงานรูปแบบการร่วมลงทุนโดยให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในต้นปี 2564 คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในปี 2565 ซึ่งโครงการฯนี้จะล่าช้ากว่าแทรมภูเก็ต เนื่องจากจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด รฟม.) เพิ่มเติม

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2571 โดยมีรูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tramway) ซึ่งมีลักษณะเป็นระบบรถไฟฟ้าที่วิ่งไปตามทางวิ่งหรือรางบนพื้นถนน รูปแบบคล้ายกับรถไฟฟ้า MRT ที่ใช้ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่มีขนาดเล็กกว่า มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร 21 สถานี

3.ขณะที่ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท แหล่งข่าวเผยว่า ปัจจุบันที่ปรึกษาโครงการฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมค่าก่อสร้างเพื่อประหยัดต้นทุนดำเนินการ เนื่องจากแนวเส้นทางโครงการต้องขุดอุโมงค์ใต้ดินซึ่งมีต้นทุนค่าก่อสร้างค่อนข้างสูง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในต้นปี 2564

ส่วนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดแล้วเสร็จภายในปี 2564 หลังจากนั้นจะเปิดประมูลได้ภายในปี 2565 ทั้งนี้จะต้องเสนอต่อกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร ทั้งนี้ มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2571 โดยมีรูปแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tramway) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 16 สถานี

โครงการรถรางไฟฟ้าขนส่งมวลชน 3 หัวเมืองหลัก ที่โคราชน่าจะมีปัญหาน้อยสุด เนื่องจากสายทางสั้นภายในเขตเมือง และเป็นรางระดับดินทั้งหมด ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างโครงการต่ำ ขณะที่รถรางไฟฟ้าภูเก็ตเป็นเส้นทางเชื่อมตัวเมืองกับสนามบิน มีระยะทางยาวถึง 42 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นทางระดับดิน แต่มีบางช่วงเช่นสถานีสนามบินเป็นทางยกระดับ และช่วงผ่านเขตอำเภอถลาง 3 กิโลเมตรเป็นระดับใต้ดิน ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างสูง จนต้องพิจารณาปรับรูปแบบใหม่ อาจเปลี่ยนแป็นรถเมล์พิเศษ(บีอาร์ที)แทน ส่วนที่เชียงใหม่แม้เป็นเส้นทางในเขตเมือง แต่สายทางผ่านเขตชุมชนหนาแน่นต้องทำเป็นทางระดับใต้ดิน ทำให้ต้นทุนก่อสร้างค่อนข้างสูง ซึ่งต้องหาแนวทางปรับลดค่าก่อสร้างลง

เป็นอุปสรรคที่ต้องฝ่าฟันเพื่อแจ้งเกิดระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดหัวเมืองในภูมิภาค เชื่อมโยงกับโครงข่ายขนส่งทางรางที่รัฐทุ่มลงทุนครั้งใหญ่ ทั้งรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสู่แต่ละภูมิภาค

ที่โคราช

น่าจะมีปัญหาน้อยสุดเนื่องจากสายทางสั้นภายในเขตเมือง และเป็น รางระดับดินทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2021 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

‘LRT สีเขียว’รอผล EIA

ความคืบหน้าโครงการขนส่งระบบขนส่งมวลชนฯ (LRT) สายสีเขียว ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองบ้านนารีสวัสดิ์ นางสาวจริยา ทองจันทึก ตัวแทนที่ปรึกษาโครงการ เปิดเผยว่า “ปัจจุบันดำเนินการรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชนเสร็จสิ้นแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่การลงนามสัญญาเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ และมีการดำเนินงานเรื่อยมา กระทั่งสิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ รวมระยะเวลา ๑๖ เดือน โดยล่าสุดที่ปรึกษาได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ ๒ สรุปผลการศึกษาโครงการ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๓ ถือว่าโครงการมีความก้าวหน้าครบ ๑๐๐% ตรงตามแผนทั้งหมด ส่วนงานที่อยู่ระหว่างดำเนินงานคือ การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)”

ด้านนายภานุ เล็กสุนทร เจ้าของเพจ “โคราชเมืองที่คุณสร้างได้” สอบถามว่า “ที่ผ่านมาของภูเก็ตมีการยกเลิกการก่อสร้าง และมีข่าวว่าโคราชมีการปรับลดขนาดการลงทุน มีความชัดเจนหรือยัง” ซึ่งนางสาวจริยา ทองจันทึก ตอบว่า “ขณะนี้กำลังศึกษาข้อมูล
http://www.koratdaily.com/blog.php?id=12431
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/05/2021 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

ดับฝันอีก2จว.'แทรมโคราช-เชียงใหม่'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564

รฟม.นัดถกที่ปรึกษาปรับเป็น ART เสียเวลาศึกษาใหม่แต่ประหยัดงบ

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทำหนังสือภายในส่งถึงที่ปรึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา หรือรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) และที่ปรึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชน (แทรม) จ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วง รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เพื่อให้พิจารณาหาแนวทางว่าจะดำเนินการปรับรูปแบบระบบขนส่งมวลชนอย่างไรได้บ้าง ให้สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ที่ รฟม. ได้ปรับแผนจากการสร้างแทรม เป็นระบบรถโดยสารอัจฉริยะ (Automated Rapid Transit) หรือเออาร์ที (ART)ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม

เบื้องต้นจะประชุมหารือร่วมกันในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อพิจารณาว่าจะปรับรูปแบบแทรมทั้งนครราชสีมา และเชียงใหม่ เป็น ART เหมือน จ.ภูเก็ต ได้หรือไม่ เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้าง ซึ่งในส่วนของแทรมภูเก็ต เมื่อปรับเป็น ART แล้วสามารถลดวงเงินการก่อสร้างได้เกือบ 2 หมื่นล้านบาท หากท้ายที่สุดแล้วแทรมนครราชสีมา และแทรมเชียงใหม่ ต้องปรับเป็น ART คาดว่าต้องศึกษาใหม่ทั้งหมด เพราะผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ข้อกฎหมาย รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของแทรม และ ART มีความแตกต่างกัน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ขณะนี้ที่ปรึกษาฯ ทั้ง 2 โครงการ ยังจัดทำรายงานผลการศึกษาแทรมนครราชสีมา และแทรมเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ทาง รฟม. ยังไม่ได้สั่งให้หยุดศึกษา อยู่ระหว่างปรับแก้รายละเอียดของผลการศึกษาอีกเล็กน้อย เพื่อให้รายงานผลการศึกษามีความสมบูรณ์มากที่สุด อย่างไรก็ตามยอมรับว่าเวลานี้แผนงานทั้ง 2 โครงการ ล่าช้าจากที่วางไว้แล้ว นอกจากจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว ยังรวมถึงความไม่ชัดเจนของนโยบายการทำระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาคด้วย ทำให้กรอบเวลาการดำเนินงานต้องขยับออกไป

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับแทรม จ.นครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.17 กม. วงเงินประมาณ 8 พันล้านบาท ตามแผนงานเดิมคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ไม่เกินเดือน พ.ค. 64 หากเห็นชอบจะเปิดประกวดราคาได้ประมาณเดือน ก.ค. 64 เริ่มก่อสร้างประมาณเดือน ส.ค. 65 ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดบริการประมาณเดือน พ.ย. 68

ส่วนแทรม จ.เชียงใหม่ สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะ สมานสามัคคี) ระยะทาง 15.8 กม. วงเงินประมาณ 2.7 หมื่นล้านบาท ตามแผนงานเดิมคาดว่าจะเสนอ ครม. พิจารณาได้ประมาณ กลางปี 64 เปิดประกวดราคาประมาณปลายปี 64 เริ่มก่อสร้างประมาณกลางปี 65 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดบริการได้ประมาณปี 70.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2021 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

ดัน "เมืองใหม่สุรนารี" แผนแรกพัฒนาโคราช ศูนย์กลางวิจัยนวัตกรรมภูมิภาค
กรุงเทพธุรกิจ By ชนาภา ศรจิตติโยธิน12 ธ.ค. 2564 เวลา 11:00 น.

วิจัยชี้ "เมืองใหม่สุรนารี" กำหนดเป็นเมืองนำร่องพัฒนา มีความคุ้มค่าระยะยาว และเป็นไปได้ดำเนินงานจริงที่สุด ระบุแผนเมืองใหม่โคราชจะเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งเศรษฐกิจ รองรับงานใหม่และโอกาสการลงทุนหลังวิกฤติโควิด-19

จังหวัดนครราชสีมา มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูง โครงการท่าเรือบกนครราชสีมา (Dry Port) นอกจากนี้ ยังเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรมนุษย์มากเป็นเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพฯ รวมทั้งมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ซึ่งพร้อมจะผลิตบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ ดังนั้นจังหวัดนครราชสีมาต้องเตรียมความพร้อมพัฒนาพื้นที่ให้ทันการเติบโตของเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและใช้ประโยชน์ที่ดินได้เต็มศักยภาพ

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ที่โรงแรมดิอิมพีเรียลโคราช อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมพร้อมนายอนุชา เจริญพันธ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมา และนายธนิชา นิยมวัน ผู้จัดการโครงการศึกษาแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมา ร่วมจัดการประชุมรับฟังเพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 2 "การศึกษาแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมา"

โดยมีผู้แทนภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่สนใจร่วมรับฟังร่างผังพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนา ซึ่งเป็นการนำผลจากการประชุมมาวิเคราะห์สังเคราะห์และคัดเลือก "เมืองใหม่สุรนารี" เป็นต้นแบบนำร่อง จาก 4 พื้นที่ศักยภาพที่ได้นำเสนอไปแล้วในการประชุมครั้งก่อน เพื่อพัฒนาแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมา ทั้งนี้ ได้นำเสนอร่างผังพื้นที่เฉพาะรวมถึงการรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการจากทุกภาคส่วน

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตก้าวสู่การเป็นมหานคร ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่โดยมีความคิดเห็นและประเด็นที่ต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกัน วันนี้เราจึงต้องการรวมยุทธศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อกำหนดภาพเมืองใหม่

โดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมา ได้ว่าจ้างบริษัท แพลนเนอร์ 26 จำกัด เป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาแผนแม่บทเมืองใหม่นครราชสีมา เพื่อสร้างภาพอนาคตพัฒนาเมืองใหม่ใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งมีระยะเวลาศึกษา 600 วัน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ เมื่อผลการศึกษาวิจัยและรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชนได้ข้อสรุปแล้ว จะมีการเสนอต่อกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อออกผังที่ดินบังคับ จองพื้นที่พัฒนาเมืองใหม่ไม่ให้การถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์เปลี่ยนไประหว่างรอผู้ร่วมลงทุนและการอนุมัติโครงการจากภาครัฐ เพื่อให้การศึกษาแผนแม่บทเมืองใหม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

นายธนิชา นิยมวัน ผู้จัดการโครงการการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย กล่าวว่า โครงการพัฒนาเมืองใหม่ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของถึงภาคส่วน โดยได้จัดประชุมและสัมมนามาแล้ว 7 ครั้ง จากการประชุมโครงการเมืองใหม่และการเลือกพื้นที่นำร่องครั้งแรก โดยการวิเคราะห์พื้นที่ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GIS) มาวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ด้วยกรอบแนวคิด Potential Surface Analysis (PSA) หรือ Sieve analysis ร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคนิคการมองภาพอนาคต (foresight) เป็นเครื่องมือช่วยในการออกแบบและวางผังยุทธศาสตร์ให้มีความแม่นยำ ยืดหยุ่น สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนในอนาคตและนำไปสู่ข้อเสนอในการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอันเป็นเครื่องมือที่หลายเมืองใหญ่ทั่วโลกใช้สำหรับจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองในระยะยาว นำมาสู่การกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสม ในการพัฒนาเมืองใหม่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาทั้งด้านการเดินทาง การเชื่อมโยงพื้นที่โดยรอบ และโอกาสในการขยายตัวของผู้อยู่อาศัย

นอกจากนี้ การออกแบบและวางผังเมืองใหม่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่26 (COP26) คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คาร์บอนนิวทรัล (Carbon Neutral) ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเมืองในโลกปัจจุบันและอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่เข้ามาลงทุนต่างมีเป้าหมายสู่การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

ผลการวิเคราะห์ปรากฏพื้นที่ศักยภาพ 4 พื้นที่ ประกอบด้วย
    1. เมืองใหม่สุรนารี เมืองแห่งการเสริมสร้างทักษะและความรู้ สู่ความเป็นศูนย์กลางการวิจัยนวัตกรรมแห่งภูมิภาค

    2. เมืองใหม่ปากช่อง เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ระดับนานาชาติ บนพื้นฐานของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศน์อันบริสุทธิ์ต่อยอดฐานเกษตรกรรมสู่การพัฒนาพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพในระดับสากล

    3. เมืองใหม่บัวใหญ่ เมืองศูนย์กลางโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าของอนุภูมิภาค ภายใต้ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว

    4. เมืองใหม่หนองระเวียง แหล่งรวมองค์ความรู้ เมืองแห่งการเสริมสร้างทักษะและความรู้ สู่ความเป็นศูนย์กลางการวิจัยนวัตกรรมแห่งภูมิภาค

จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบหาพื้นที่นำร่องเริ่มลงทุน ทั้งด้านงบประมาณ รูปแบบการลงทุน ผลตอบแทนทางตรงและทางอ้อม การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงได้ข้อสรุปว่า เมืองใหม่สุรนารีสมควรได้รับเลือกเป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาโครงการเมืองใหม่เป็นอันดับแรก เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ด้วยมีปัจจัยหนุนด้านพื้นที่ซึ่งเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 3,800 ไร่ จึงสามารถดำเนินงานได้โดยให้สำนักงานโยธาการและผังเมืองจังหวัด กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักที่รับไปดำเนินงาน

โดย "เมืองใหม่สุรนารี" ถูกวางบทบาทให้เป็น เมืองแห่งการเสริมสร้างทักษะและความรู้ สู่ความเป็นศูนย์กลางการวิจัยนวัตกรรมแห่งภูมิภาค เพื่อรองรับประชากรกว่า 208,070 คน ตีมูลค่างบประมาณรวม 97,035 ล้านบาท โดยจะผลักดันให้ท้องถิ่นพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเองและสร้างฐานเศรษฐกิจสมัยใหม่ รวมทั้งออกแบบให้เมืองมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า LRT (Light Rail Transit) เชื่อมโยงเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงและพื้นที่เมืองเดิม

โดยจะแบ่งการใช้ประโยชน์เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ
    - ทางทิศเหนือ จะเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ตั้งแต่หนาแน่น จนถึงเบาบาง แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่

    - ทางทิศใต้ บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ มาจนถึงกลางของพื้นที่โคราช จะใช้เป็นพื้นที่สีเขียว และนันทนาการ รวมถึงเป็นพื้นที่กันชนสีเขียวของโครงการ 3,689.15 ไร่ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก 3.15 เท่า มีสามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 34% ต่อปี

ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนเสนอให้รัฐบาลเปิดให้ลงทุนในรูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้จัดหาพื้นที่ เตรียมพื้นที่พร้อมกับทำสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนน ในพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนา จากนั้นจะให้เอกชน จากบริษัทพัฒนาเมืองของท้องถิ่น หรือเอกชนภายนอกร่วมทุน เข้ามาพัฒนาพื้นที่และให้ประชาชนเข้ามาเช่าต่ออีกที ซึ่งรูปแบบที่รัฐบาลลงทุนน้อยสุดและเปิดโอกาสให้เอกชน หรือหน่วยงานในท้องถิ่นสามารถเข้าร่วมพัฒนาพื้นที่ได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 7 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©