Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180080
ทั้งหมด:13491312
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมบันทึกมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมบันทึกมักกะสัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2015 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

เฝ้าระวัง! “มักกะสัน” ขบวนการล้างหนี้ หากินกับ “สมบัติชาติ” [ชมคลิป]


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน

18 ตุลาคม 2558 21:52 น.



เผลอเป็นไม่ได้! “มักกะสัน” ทำเลทอง ปอดขนาดใหญ่กลางกรุงจำนวน 497 ไร่ มีวี่แววว่ากำลังจะถูกเช่าซื้อนานถึง 99 ปีเสียแล้ว เพื่อปลดหนี้ของ ร.ฟ.ท.กว่า 6 หมื่นล้านบาท! งานนี้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย จึงทนอยู่เฉยไม่ไหวอีกต่อไป ออกมาลั่นกลองรบอย่างเป็นทางการ ว่าจะขอต่อสู้กับกลุ่มทุนและ “ขบวนการทำลายสมบัติของชาติ” ให้ถึงที่สุด เพื่อพิทักษ์รักษาพระราชมรดกที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานไว้ตลอดไป!!




มีมติเอกฉันท์ออกมาจากกระทรวงการคลังแล้วว่า ตกลงใจให้ “กรมธนารักษ์” หน่วยงานภายใต้สังกัด เช่าที่ดินย่านมักกะสัน จำนวน 497 ไร่ เป็นระยะเวลานาน 99 ปี เพื่อปลดหนี้สะสมจำนวน 6.2 หมื่นล้านบาทของ ร.ฟ.ท. (จากหนี้รวม 1.2 แสนล้านบาท) โดยกำหนดให้เปลี่ยนพื้นที่สีเขียว ปอดกลางกรุงขนาดใหญ่ในนาม “มักกะสัน” ให้กลายเป็นอาคารเชิงพาณิชย์จำนวน 317 ไร่

เหลือจากนั้นจะแบ่งให้เป็นสวนสาธารณะจำนวน 150 ไร่ และพิพิธภัณฑ์อีก 30 ไร่ เพื่อให้สอดคล้องกับเสียงเรียกร้องจากภาคประชาชนที่เคยออกมาต่อต้าน ไม่ต้องการให้ทำลายพื้นที่สีเขียว “ปอดขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ” แต่ดูเหมือนว่าการวางผังในครั้งนี้ก็ยังคงไม่ตอบโจทย์คำว่า “ประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ” อยู่ดี เมื่อกลับไปเทียบในเจตนารมณ์ของรัฐกาลที่ 5 ที่พระราชทานผืนดินแห่งนี้เอาไว้ จึงเป็นเหตุให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ทนไม่ไหว ออกแถลงการณ์เรื่อง "หยุดขบวนการนำที่ดินของการรถไฟไปจำหน่ายจ่ายแจก" โดยมีใจความดังต่อไปนี้




“พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย 2494 มาตรา 43 "รายได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับจากการดำเนินงานให้ตกเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย... แต่ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่าย... และการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่สามารถหาเงินจากทางอื่น รัฐพึงจ่ายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเท่าจำนวนที่ขาด"

ตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ ข้างต้น ทาง สร.รฟท. (สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย) จำเป็นต้องประกาศให้ทุกคนได้ทราบว่า ที่ดินรถไฟแปลงที่มักกะสันจำนวน 497 ไร่ เป็นที่ดินที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐกาลที่ 5 พระราชทานให้กับการรถไฟ เพื่อใช้ในกิจการรถไฟ เพื่อหาประโยชน์มาบำรุงกิจการ เพื่อลดต้นทุนของการรถไฟฯ เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ได้รับบริการรถไฟในราคาที่ถูก และปัจจุบันนี้ มูลค่าของที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ถ้าบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ก็สามารถเพิ่มมูลค่าได้มากกว่า 3 แสนล้านบาท

แล้วมาวันนี้ กระทรวงการคลังจะทำการยกที่ดินที่มักกะสัน จำนวน 437 ไร่ ให้กรมธนารักษ์ เป็นผู้เช่าระยะเวลา 99 ปี ในราคา 6 หมื่นล้านบาท เพื่อปลดหนี้ของ ร.ฟ.ท.จำนวน 8 หมื่นล้านบาทนั้น มันถูกต้อง และเป็นธรรมกับการรถไฟฯ แล้วหรือ? รัฐบาลยุคนักการเมืองที่ผ่านมาพยายามที่จะนำที่ดินแปลงนี้ให้เอกชนเข้ามาบริหาร แต่ก็ต้องมีอันเป็นไป ตกทอดมาถึงยุครัฐบาลชุดปัจจุบันก็ยังมีความพยายามเหมือนเดิม

พวกเราเห็นด้วยกับนโยบายแผนปฏิรูปการรถไฟฯ ของรัฐบาลชุดนี้ แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรมความถูกต้อง และความเหมาะสม ไม่ใช่จะเอาที่ดินจำนวน 497 ไร่ ไปจำหน่ายจ่ายแจกหรือโอนให้กับหน่วยงานอื่นๆ เป็นการไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ และพระราชประสงค์ในการพระราชทานที่ดินให้กับการรถไฟ พวกเราคนรถไฟจึงมีความเป็นจำเป็นต้องลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องและช่วยกันพิทักษ์รักษาพระราชมรดกชิ้นนี้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการรถไฟฯ ตลอดไป

ด้วยเหตุนี้ สร.รฟท. จึงแถลงมาเพื่อให้พี่น้องคนรถไฟและพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกท่าน ได้ทราบความเคลื่อนไหวว่า บัดนี้ได้มีขบวนการทำลายและพยายามที่จะเอาที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานไว้ให้การรถไฟฯ และประชาชนชาวไทยทุกคน แต่ขณะนี้ได้มีกลุ่มทุกบางกลุ่มเข้ามาหาผลประโยชน์ในที่ดินของการรถไฟ

ฉะนั้น จึงขอให้พี่น้องคนรถไฟทุกท่านเตรียมพร้อม และรวมพลังกันเพื่อปกป้องรักษาทรัพย์สมบัติของการรถไฟฯ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน ในการพระราชทานที่ดินให้กับการรถไฟฯ ไว้ สร.รฟท.จะทำหน้าที่ตามที่สมาชิกได้มอบหมายให้อย่างเต็มความสามารถในการเป็นผู้นำการต่อสู้ในครั้งนี้ร่วมกับพี่น้องคนรถไฟทุกคน และจงเตรียมพร้อมรอฟังสัญญาณการเคลื่อนไหวอย่างเข้มแข็ง เฉียบขาด จาก สร.รฟท.ต่อไป”




รอทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ มาต่อ “จิ๊กซอว์ตัวที่หายไป”



ไม่ใช่แค่ฝั่ง “สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย” เท่านั้นที่ส่งสัญญาณว่าพร้อมคัดค้านโปรเจกต์นี้เอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จากแถลงการณ์ดังกล่าวซึ่งประกาศเอาไว้ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ฝั่ง “เครือข่ายมักกะสัน” กลุ่มผู้แสดงจุดยืนคัดค้านการสร้าง “มักกะสันคอมเพล็กซ์” โปรเจกต์การสร้างห้างฯ ทรงสูง โรงแรมหรู และพื้นที่เชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบขึ้นเสียบแทนร่มไม้ ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก็ยังคงติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไม่วางตา

เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทางเครือข่ายได้ออกมาทวงสัญญา “คืนความสุขแก่ประชาชน” จากรัฐบาลชุดนี้ โดยเสนอให้มอบความสุขผ่านพื้นที่นี้โดยออกแบบให้เป็น “มักกะสัน สวนสร้างสรรค์” ตอบโจทย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ในแง่มุมที่ทีมผู้บริหารประเทศอาจจะลืมนึกถึงไป มาจนถึงตอนนี้ พวกเขาก็ยังคงตั้งมั่นอยู่บนจุดยืนเดิม ด้วยความเชื่อมั่นว่าทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ที่เพิ่งได้รับตำแหน่งจะมองเห็นความสำคัญของการพัฒนาอย่าง “ยั่งยืน” และนี่คือมุมมองของ อาทิตย์ โกวิทวรางกูร สมาชิก “เครือข่ายมักกะสัน”


“ขอให้รัฐบาลมองพวกเราใหม่อีกทีหนึ่งครับ เพราะถ้ามองติดภาพจำในอดีต คงคิดว่ากลุ่มคนที่ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวอะไรพวกนี้ คงมาในลักษณะเอ็นจีโอ แต่ถ้ารัฐบาลลงมามององค์ประกอบคนในเครือข่ายมักกะสันในปัจจุบันนี้ ซึ่งจะเห็นพัฒนาการได้ว่าเรารวมเอาคนจากทุกสาขาอาชีพมาไว้ด้วยกันจริงๆ ครับ ตั้งแต่นักเศรษฐศาสตร์-นักการเงิน ที่เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์, ผู้มีประสบการณ์การทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศ, คนที่พัฒนาคอนเซ็ปต์ให้กับห้างฯ ดังๆ เพื่อจะมาหารูปแบบประนีประนอมที่คิดว่าสร้างสรรค์กว่าเดิม

มีอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง Branding เห็นความสำคัญในการที่ประเทศจะต้องมีอะไรสักอย่างที่มาเสริมตรงนี้ ผมคิดว่าถ้ารัฐบาลจริงใจพอ และเห็นแก่ประโยชน์สูงสุดในทุกด้านพอ ได้โปรดให้โอกาสเครือข่าย หรือไม่ใช่แค่เฉพาะเราก็ได้ครับ เพราะเราก็เป็นแค่ตัวแทนกลุ่มเล็กๆ ที่อยากจะบอกว่ามีอีกหลายๆ คนที่ควรจะมีสิทธิมีเสียงในการคิดและตัดสินใจตรงนี้ เราไม่ได้มาโดยเอาความคิดเราเป็นตัวตั้ง แต่เราแค่อยากบอกว่ามันใช่หรือไม่ ปัญหาเรื่องหนี้ที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรก หรือแท้จริงแล้วมันมีวาระอื่นๆ ที่ไม่ได้พูดเอาไว้หรือเปล่า?

เรามองว่ามันเป็นเรื่องตลกมากครับ ที่เขากำหนดสัดส่วนเอาไว้โดยบอกอย่างชัดเจนว่าจะเอาพื้นที่เอาทำอะไรกี่เปอร์เซ็นต์ เพราะมันเป็นการคิดแบบไม่ได้มององค์รวม เป็นการมองแบบแยกส่วนมากๆ แล้วก็เป็นการยื่นหมูยื่นแมวในทางสังคม ประมาณว่าถ้าประชาชนบอกอยากได้พื้นที่สีเขียว ก็ตัดแบ่งให้คุณเท่านี้ๆ มันกลายเป็นกระบวนการต่อรองที่ทำให้ทุกฝ่ายไม่ได้ประโยชน์สูงสุดเลยแม้แต่ฝ่ายเดียว



วิธีคิดที่ดีมันต้องเริ่มจากการวางภาพใหญ่ คล้ายแผนแม่บทออกมาว่าการที่เรามีพื้นที่แปลนใหญ่ขนาดนี้ในตรงนี้ บทบาทมันเป็นอะไรได้บ้าง โดยที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ว่าพื้นที่ในนี้ต้องตัดแบ่งออกเป็นสวน, ต้องเป็นห้างฯ, โรงแรม หรือต้องเป็นกาสิโน แต่คือการมองว่าจริงๆ แล้วเมืองเราขาดอะไร เพราะพื้นที่ตรงนี้มันคือแลนด์มาร์คของเมือง เราจะไม่สามารถมองแค่ความต้องการของคนที่อยู่รอบๆ นั้นได้ และก็ไม่สามารถมองแค่วงของความเป็นกรุงเทพฯ ด้วย ผมคิดว่าเราต้องมองในบริบทวงกว้างระดับประเทศเลยด้วยซ้ำ เพราะพื้นที่แห่งนี้มันเป็นประตูของเมืองไทย เราจะจัดการกับมันยังไงเพื่อให้เกิดประโยชน์ก่อสร้างสูงสุด

เพราะฉะนั้น กรณีอย่างนี้ก็จะมีชุดความคิดออกมาหลายแบบมาก จะมีฝ่ายออกมาบอกว่าตรงนี้สามารถเป็นพื้นที่รองรับนักท่องเที่ยวได้ ทำไมไม่ทำอะไรสักอย่างที่เกิดมูลค่าเพิ่มกับชาติ และเอื้อต่อบรรดาธุรกิจรายย่อยอย่างเป็นวงจรจริงๆ, บางคนก็มองว่าตรงนี้จะเป็นที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวระดับกรุงเทพฯ เชื่อมกับระดับประเทศเลยก็ได้ เพราะมันอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในพอดี, บางคนบอกว่าสร้างพื้นที่รวมสุดยอดความเป็นไทยเอามาไว้ตรงนี้ดีไหม เอาส่วนที่ดีที่สุดจากศูนย์ศิลปาชีพและหลายๆ แห่งมาจัดเรียงใหม่ ให้เห็นตั้งแต่ต้นน้ำยังปลายน้ำว่าเรามีกระบวนการยังไง แปลงออกมาเป็นเวิร์กชอปได้ยังไง จนกระทั่งเป็นร้านของที่ระลึกที่มีการบูรณาการเชื่อมโยงสินค้าในประเทศและขายให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด ฯลฯ




ทั้งหมดนี้ มันไม่จำเป็นจะต้องคิดแบ่งแยกไปว่า เราได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจบางอย่าง แล้วเราจำต้องสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อม เพราะเทียบกับโมเดลของเมืองนอก เขามีวิธีการผนวกเอาอาคารหรือการใช้งานพื้นที่ที่ไม่ใช้กลางแจ้งอย่างเดียว มาเข้ากับสวนหรือป่าในเมืองด้วยซ้ำไป ให้มันบูรณาการอยู่ในพื้นที่ผืนเดียวกันได้เกิดประโยชน์มหาศาล เพียงแต่เราจำเป็นจะต้องก้าวข้ามกรอบเดิมๆ ที่เรานึกได้ เพราะในเมืองไทยยังมีต้นแบบอะไรพวกนี้น้อยมากเท่าที่เทียบกับหลายๆ โครงการที่ผ่านมา

อาจจะเป็นเพราะเราโตมาในสภาพที่มีแต่วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เด็กและเยาวชนก็ใช้ชีวิตอยู่แต่ในห้างฯ ไม่มีพื้นที่อื่นๆ ที่อารยประเทศเขามีกัน ซึ่งถ้าทำพื้นที่ตรงนี้ได้ พื้นที่มักกะสันก็จะกลายเป็นจิกซอว์ตัวที่หายไปของสังคมไทยได้ เราเชื่อกันอย่างนั้นครับ จิ๊กซอว์ตัวนี้มันจะช่วยถมทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มันแย่ ให้มันฟื้นกลับคืนมาในใจของคนเมืองและประเทศนี้ จิ๊กซอว์นี้อาจจะรวมถึงการใช้เวลาไปกับกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือไปจากการทำงานและการชอปปิง เพื่อให้เกิดเมืองที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ หรือจิ๊กซอว์ตัวนี้อาจจะเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจแห่งอนาคตที่จะทำให้คนทั้งชาติได้เข้ามาเรียนรู้ เกิดการปะทะสังสรรค์ แลกเปลี่ยน รวมทั้งคนอื่นๆ ในโลกที่เข้ามาพบปะช่วยให้เป็นนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้”




ร้องขอ... “มักกะสัน ของขวัญให้ประเทศไทย”



“เคยทราบบ้างไหมครับว่ากรุงเทพมหานครมีบึงรับน้ำขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เสมือนไตคอยฟอกกรอง และบำบัดน้ำเสียในเมือง บึงที่เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จัดว่าเป็นแก้มลิงของกรุงเทพฯ ใช่แล้วครับบึงที่ว่านี้คือ “บึงมักกะสัน” แก้มลิงขนาดใหญ่ใจกลางเมือง กี่ร้อยกี่พันหรือกี่หมื่นครั้ง ที่คนกรุงเทพฯได้รับประโยชน์จากบึงนี้โดยไม่รู้ตัว หากไม่มีบึงแห่งนี้เหตุการณ์น้ำท่วมหลายครั้งในเมืองหลวงคงรุนแรงกว่านี้มากนัก

หากจะบอกว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองน้ำและเราจะไม่ย้ายบ้านไปอยู่บนดอยเสียก่อน เราก็ควรมีแหล่งรับน้ำ และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ขวางทางน้ำ ลองจินตนาการดูสิครับว่าถ้าบึงมักกะสันถูกถมแล้วเอาซีเมนต์ลาดหลังจากนั้นก็มีสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ผุดขึ้นเต็มไปหมด น้ำมาคราวหน้าคงดูไม่จืดเลยทีเดียว

เราคงเคยได้ยินมักกะสันทำหน้าที่ในฐานะเป็นของปอดของคนกรุง แต่อีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเป็นไตธรรมชาติของเมืองนี้ หากไตที่ชื่อ “มักกะสัน” เกิดวาย เมืองคงหายไปในวารี”




เผื่อใครยังไม่รู้ว่าเหตุใดใครต่อใครจึงต้องเดือดร้อน ออกมาคัดค้านการสร้างพื้นที่เชิงพาณิชย์ทับบนพื้นที่สีเขียวแห่งนี้กันหนักหนา ความคิดเห็นจากเครือข่ายมักกะสัน ซึ่งเขียนเอาไว้ในแฟนเพจ “Imagine มักกะสัน” ดังกล่าวน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เมื่อถามถึงความสุ่มเสี่ยงที่ปอดและไตขนาดใหญ่แห่งนี้ของกรุงเทพฯ จะถูกนำไปแปรสภาพเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามมติกระทรวงการคลังที่แจงเอาไว้ครั้งล่าสุด ทางตัวแทนเครือข่ายอย่างอาทิตย์ก็ได้แต่ตอบว่ายังไม่ทราบความคืบหน้าที่แน่ชัด เนื่องจากตั้งแต่เคลื่อนไหวมา ยังไม่เคยมีครั้งไหนที่ได้มีโอกาสเข้าหารือกับทางรัฐบาลแม้แต่ครั้งเดียว

“รู้สึกว่าพื้นที่แห่งนี้เสี่ยงมาโดยตลอดนะครับ ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ ในบริบทของรัฐบาลที่มี คสช.แบบนี้ เราก็ภาวนาครับว่า ถ้าการตัดสินใจมันเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง มันก็จะดีเลย แต่ถ้าไม่ถูกต้อง มันก็มีแนวโน้มว่าจะเสี่ยงไปอีกทางหนึ่งเลย เหมือนตอนนี้รัฐบาลกำลังดูว่าจะกดสวิตช์ให้มันเป็นยังไง เห็นหรือไม่เห็นว่าศักยภาพที่แท้จริงของมักกะสันอยู่ที่ตรงไหน สิ่งที่เครือข่ายกำลังทำก็คือว่า กำลังจะเริ่มต้นการรณรงค์และหาวิธีเข้าไปติดต่อเพื่อนำเสนอความคิด แลกเปลี่ยนกับทางรัฐบาลที่ดูแลในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่นี้ครับ

เดี๋ยวจะมีการประชุมของเครือข่ายเพื่อกำหนดทิศทางอีกครั้งหนึ่ง เพราะก่อนหน้านี้เราพยายามทำความเข้าใจรัฐบาลและปัญหาของประเทศว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไข เราพยายามดูว่าจังหวะจะโคนในการดำเนินการของรัฐบาลเป็นแบบไหน เพื่อจะได้ทำในจังหวะที่เหมาะสม เมื่อผ่านพ้นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลควรทำไปแล้ว ก็อยากให้เขามองเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญนะ ถึงจะไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนมากแต่ก็ไม่ควรปล่อยเอาไว้ให้เนิ่นนาน ควรจะมาช่วยกันคิดกันใหม่ว่ามักกะสันควรจะเป็นยังไงกันแน่



เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่ารัฐบาลมองยังไงครับ แต่เรามองว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญและเร่งด่วน แม้ว่าไม่ได้เร่งด่วนถึงขนาดที่ต้องรีบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ก็ถือว่าสำคัญและต้องรีบลงมือ เพราะถ้ายิ่งปล่อยให้ช้าออกไป การพัฒนาเมืองหรือคุณภาพชีวิตที่เราต้องการอยู่ในเมือง หรือการจะให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจ พื้นที่สำหรับ SMEs เพื่อสนับสนุนการแข่งขันระหว่างประเทศ เรื่องเหล่านี้ก็จะยิ่งช้าและตกขบวนไป แต่ถ้ากลับมาทำเร็วไปและทำไปผิดทาง มันก็จะยิ่งซ้ำร้ายหนักเข้าไปใหญ่

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี มันจำเป็นจะต้องมีกระบวนการบางอย่างที่กินเวลาปีหรือ 2 ปี เพื่อให้ได้มานั่งขบคิดถึงความเป็นไปได้ในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้ได้แลกเปลี่ยนกันจริงๆ ถ้ารัฐบาลทำให้มีความต่อเนื่องและถ้าทำให้เกิดความร่วมมือแบบนั้นได้จริงๆ โอกาสที่เราจะสร้างสิ่งที่ดีในระยะยาวก็จะเกิดขึ้นได้ในประเทศนี้

เรากำลังเตรียมยื่นรายชื่อคณะผู้เชี่ยวชาญชุดหนึ่ง น่าจะชื่อโปรเจ็กต์ “มักกะสัน ของขวัญให้ประเทศไทย” รวมผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ทุกคนเอามาไว้ที่เดียว คิดกันว่าของขวัญชิ้นนี้มันจะออกมาหน้าตาเป็นยังไงที่จะตอบโจทย์ของคนไทยจริงๆ และตอนนี้เราก็กำลังสร้างเครือข่ายของคนที่ทำงานเรื่องเมืองในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศด้วยครับ เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแง่มุมที่จะทำให้เกิดพื้นที่เมืองที่สร้างสรรค์และยั่งยืน ตรงนี้ก็จะมีการโยงกันในหลายๆ ส่วน เพราะเรารู้สึกว่าอยากให้กระบวนการของมักกะสันจะเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งในการพัฒนาเมืองในระดับประเทศครับ เพราะฉะนั้น ตรงนี้จะต้องเอาประสบการณ์มาผนึกพลังกันถึงจะทำได้



มันเป็นเรื่องสำคัญครับที่พลเมืองจะลุกขึ้นมาคอยหาพื้นที่ทางสังคม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเรื่องเมืองและเรื่องที่อยู่รอบๆ ตัวเขาได้ในระยะยาว เพราะฉะนั้น วิธีคิดตรงนี้เราจะต้องค่อยๆ สื่อสารให้คนเข้าใจว่า มันไม่ใช่การคัดค้านเพื่อเอาชนะหรือไม่ชนะ แต่มันคือหน้าที่ของพลเมืองจริงๆ ที่ไม่ใช่เพียงแต่ทำงานหรืออยู่บ้านพักผ่อน ไปห้างฯ แต่พลเมืองจะต้องมีส่วนมากกว่านั้น เช่น การจัดตั้งเป็นองค์กรหรือเป็นเครือข่ายที่ดีได้ ก็จะมีการรณรงค์กันเกิดขึ้นในระยะยาว และจากนั้นมักกะสันก็จะเป็นเพียงแค่โปรเจกต์เริ่มต้นที่เป็นโปรเจกต์ใหญ่ และอาจจะต้องมีเรื่องอื่นๆ ที่ติดตามมาจากตรงนี้ต่อไปในระยะยาว

ที่ผ่านมามันเหมือนดูเป็นเรื่องใหม่ของพวกเราที่โตขึ้นมาโดยที่ไม่ได้มีบทบาทต่อสังคม แต่ต่อไป ผมคิดว่าโลกมันจะเปลี่ยนไปแล้ว ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะมันเป็นปรากฏการณ์พื้นฐานที่พลเมืองทุกคนในโลกจะเริ่มเข้ามามีบทบาท มีส่วนช่วยรัฐบาลหรือภาคส่วนอื่นๆ ในการจัดการพื้นที่สาธารณะหรือประเด็นทางสาธารณะมากขึ้นครับ

เพราะฉะนั้น ทางเครือข่ายมองไปในระยะยาวเลยว่า เราไม่ได้มองว่าเราจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นกลุ่มต่อสู้พิทักษ์มักกะสันอะไรแบบนั้น อันนั้นมันคือภาพในอดีตครับ ตอนนี้เราต้องการจะเปลี่ยนและอยากให้มักกะสันเป็นเหมือนอวัยวะหนึ่งของสังคมที่จะอยู่คู่กันไปเรื่อยๆ ในประเด็นอื่นๆ ในสังคมในฐานะพลเมืองของประเทศ”
https://www.youtube.com/v/LMyX0CSFBwc
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2016 9:43 am    Post subject: Reply with quote

แบ่ง 3 เฟสย้ายมักกะสัน ทุ่ม 1.8 หมื่นล้านผุดศูนย์ซ่อมใหญ่ “เขาชีจรรย์”
โดย MGR Online
11 เมษายน 2559 05:55 น. (แก้ไขล่าสุด 11 เมษายน 2559 07:51 น.)

ร.ฟ.ท.เร่งจ้างที่ปรึกษาทำแผนละเอียดย้ายโรงงานมักกะสัน คาดใช้งบ 1.8 หมื่นล้านเพื่อเร่งส่งมอบพื้นที่ให้ธนารักษ์ใน 2 ปี แบ่ง 3 เฟส ปรับปรุงและขยายศูนย์ซ่อมภูมิภาครับงานซ่อมรถโดยสารและรถดีเซลชั่วคราว ส่วนแก่งคอยสร้างเดปโป้เพิ่มรับซ่อมใหญ่หัวจักร เฟส 3 ผุดนิคมฯ ซ่อมที่ชุมทางเขาชีจรรย์ 500 ไร่ พร้อม ร.ร.วิศวกรรมรถไฟ

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า แผนการส่งมอบพื้นที่บริเวณโรงงานมักกะสันจำนวน 497.11 ไร่ ให้กระทรวงการคลังที่จะได้รับสิทธิในการเช่าที่ดินในระยะยาวจำนวน 99 ปี เพื่อชำระหนี้คงค้างมูลค่าประมาณ 61,846 ล้านบาท ขณะนี้ได้ปรับให้เป็นไปตามนโยบายที่ต้องการให้ย้ายออกจากพื้นที่ภายใน 2 ปี จากเดิมที่ ร.ฟ.ท.ทำแผนย้ายออกใน 5 ปี โดยการย้ายออกจากพื้นที่มักกะสันจะมีค่าใช้จ่ายในการย้ายประมาณ 18,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตามแผนในการย้ายโรงงานมักกะสันเดิมจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี โดยโรงงานมักกะสันคือจุดที่จะส่งมอบได้ช้าที่สุด ดังนั้น ฝ่ายการช่างกลจึงจ้างที่ปรึกษาให้ศึกษาแผนการย้ายให้ได้ใน 2 ปี โดยไม่กระทบต่อกิจการซ่อมบำรุง และการเดินรถ เบื้องต้น จะกระจายงานที่มักกะสันออกไปยังโรงซ่อมต่างๆ เช่น แก่งคอย โคราช ทุ่งสง อุตรดิตถ์

นายณรงค์ฤทธิ์ ศิวะสาโรช รองผู้ว่าฯ กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ได้เตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) และศึกษาออกแบบรายละเอียด (Detail Design) ในการย้ายโรงงานและโรงซ่อมบำรุงมักกะสัน วงเงินประมาณ 200 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 10 เดือน โดยได้แบ่งงานออกเป็น 3 ระยะ คือ

1. ปรับปรุงและขยายศูนย์ซ่อมภูมิภาค 3 แห่งที่มี คือ โคราช, อุตรดิตถ์ และทุ่งสง เป้าหมายเพื่อรองรับการซ่อมหนักรถโดยสาร และที่ศูนย์ซ่อมโคราชจะมีการสร้างโรงซ่อมสำหรับรถดีเซลรางเพิ่มด้วย ทำให้กระจายงานซ่อมหนักรถโดยสารและรถดีเซลรางออกจากมักกะสันได้ คาดว่าจะใช้งบดำเนินการประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท โดยจะเป็นส่วนที่ดำเนินการได้ก่อน

2. ก่อสร้างโรงซ่อมรถจักรที่แก่งคอย ซึ่งมีการออกแบบรายละเอียดไว้แล้ว ซึ่งเป็นเดปโป้รถจักรเหมือนบางซื่อ สามารถทำการซ่อมย่อย และซ่อมใหญ่ระดับกลาง (Medium Overhaul) พร้อมกันนี้จะสร้างศูนย์ซ่อมหนักรถจักรดีเซลเพิ่มอีก 1 โรงในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อรับงานซ่อมหนักแทนมักกะสัน งบประมาณ 1,000 ล้านบาท

3. สร้างนิคมอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงรถไฟที่ชุมทางเขาชีจรรย์ พื้นที่ 500 ไร่ พร้อมกับย้ายโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟไปรวมอยู่ด้วยเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ยกระดับโรงเรียนเป็นสถาบันพัฒนาบุคลากรระบบรางอาเซียน ซึ่งระยะ 3 นี้จะใช้เวลานานเนื่องจากจะเป็นศูนย์รวมการซ่อมทั้งหมด ส่วนระยะ 1, 2 เป็นการย้ายงานซ่อมรถโดยสาร รถดีเซล และหัวจักรไปไว้ชั่วคราวในช่วงที่ต้องเร่งรัดส่งมอบพื้นที่ให้กรมธนารักษ์ภายใน 2 ปี และให้กระทบต่อการซ่อมบำรุงและการเดินรถน้อยที่สุด

สำหรับพื้นที่มักกะสันแบ่งเป็น 4 โซน โดย
โซน A จำนวน139.82 ไร่อยู่หน้าสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่สับเปลี่ยนเพื่อนำรถจักรและล้อเลื่อนเข้าซ่อมภายในโรงซ่อม จะสามารถส่งมอบได้ก่อน
โซน B จำนวน 117.7 ไร่ พื้นที่ซ่อมบำรุงหลักฝ่ายช่างกล โรงซ่อมหนัก
โซน C จำนวน 151.4 ไร่ ที่ตั้งโรงพยาบาล บุรฉัตรไชยากรและบ้านพักพนักงาน
โซน D จำนวน 88.58 ไร่ ที่ตั้งคลังพัสดุอะไหล่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2016 10:54 am    Post subject: Reply with quote


เมื่อโรงงานมักกะสันประกอบรถบชส 24 มีนาคม 2511
https://www.youtube.com/watch?v=WFoxCzL9jRA&feature=youtu.be
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2016 5:17 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แนวคิดสร้าง เมืองสมัยใหม่มักกะสัน 3 แสนล้าน กับที่ดิน 500 ไร่ เปิดทางเอกชนลงทุนสัญญา100 ปี
https://www.facebook.com/PrachachatOnline/photos/a.190710753813.127114.182927663813/10154425756408814/?type=3&theater


ปลดล็อกปล่อยเช่า50ปี ธนารักษ์หย่าศึก3โครงการยักษ์‘มักกะสัน-หมอชิต-เอ็น.ซี.ซี.’
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,165 วันที่ 12 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ธนารักษ์ปลดล็อกโครงการใหญ่ ปรับสัญญาให้เช่าพื้นที่รวดเดียวยาว 50 ปี “มักกะสัน-หมอชิต-N.C.C.” เผยคืบหน้าโครงการหมอชิตได้ข้อสรุปผลตอบแทนปลื้มรัฐได้เพิ่มกว่า 4 พันล้าน “มักกะสัน” รอเซ็น MOU, “ร้อยชักสาม” ผู้ลงทุนรุดเจรจาเตรียมส่งแผนธุรกิจเสนอ ก.ค.นี้ กรมเร่งแก้ระเบียบ/สัญญา ขยายรายได้โฟกัสประมูลเช่าที่ของเอกชนรายใหญ่ แก้ 2 พันสัญญาให้ตรงวัตถุประสงค์

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความชัดเจนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณมักกะสัน ว่า โครงการนี้คาดว่าจะมีเม็ดเงินการลงทุนอยู่อีกไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนล้านบาท โดยจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1-2 ปี ตามแผนระยะสั้นของกรมธนารักษ์

“โครงการนี้อยู่ระหว่างรอเซ็น MOU หรือบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่คืน จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หลังจากนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการของกฎหมายให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน) โดยจะต้องจ้างที่ปรึกษาในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาโครงการแล้วจึงเข้ากระบวนการ หลังจากที่ปรึกษาศึกษาโครงการเสร็จแล้ว ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเร็วที่สุดน่าจะเริ่มได้ในปี 2560

ต่อสัญญา”หมอชิต”ให้รวม50 ปี

ส่วนโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุหมอชิต มูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2538 นั้น กินระยะเวลากว่า 20 ปี ในส่วนของหน้างานที่มาจากกรมธนารักษ์นั้น ถือว่าได้เสร็จสิ้นลงแล้วขณะนี้กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างผลักดันเพื่อเสนอเข้าสู่ระดับกระทรวง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนระหว่างการเจรจาเชิงตัวเลขเพื่อเสนอกรรมการ ก่อนจะเสนอเข้าสู่กระบวนการ พ.ร.บ. ร่วมทุน โดยจะต้องเจรจาในส่วนของตัวเลขฐานรากในการก่อสร้างอาคารวงเงิน 1.4 พันล้านบาท

สำหรับในส่วนของตัวเลขผลตอบแทน ขณะนี้กรมธนารักษ์ ได้เจรจาจบแล้ว พร้อมทั้งได้ขยายกรอบระยะเวลาการเช่า จากเดิมที่ระยะเวลาสัญญาเช่าพื้นที่จะอยู่ที่ 30 ปีก่อนจะต่อให้อีก 2 ครั้ง ๆละ 10 ปี หรือรวมตลอดอายุสัญญาอยู่ที่ 50 ปี

NPVหมอชิตเพิ่ม 4 พันล้าน

แต่สำหรับการเจรจารอบใหม่นี้ สัญญาเช่าพื้นที่จะให้รวดเดียว 50 ปี ครอบคลุมระยะเวลาทั้งการก่อสร้างและบริหารโครงการ โดยคาดว่า NPV ( Net Present Value :ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้จากการลงทุนในโครงการครอบคลุมเงินลงทุน ,ผลตอบแทนที่คาดจะได้ในอนาคตและผลตอบแทนที่คาดหวัง ) จะบวกเพิ่มอีก 4 พันล้านบาท ซึ่งเป็นขึ้นหลายเท่าตัว เทียบสัญญาเดิมที่เป็น 30 ปี

“ยอมรับว่าแต่ละโครงการมีต้นทุนแฝงอยู่เยอะ โดยเฉพาะโครงการหมอชิตมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการลงทุน รวมถึงพื้นที่ที่ต้องจัดให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่นบริษัทขนส่ง และยังต้องต้องเปิดพื้นที่โล่งสำหรับทางเข้าและทางออก ตลอดจนทางเชื่อม ซึ่งการเจรจาใช้เวลานาน แต่ก็สามารถตกลงกันได้โดยภาครัฐได้ขยายเวลาการเช่าที่ดิน จาก 30 ปี ไปเป็น 50 ปี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสัญญาแบบเดิม ที่เอกชนลงทุนแล้วอาจไม่คุ้มทุน โดยที่รัฐเองก็ไม่ต้องไปเจรจาสัญญาใหม่ ผลตอบแทนที่รัฐได้ก็มากกว่าเดิม อย่าง ในสัญญาใหม่ NPV โครงการหมอชิต เพิ่มขึ้นมาอีกถึง 4 พันล้านบาท มากกว่าเดิมหลายเท่าตัว ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ภาคเอกชนก็มีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนได้จริงตามที่คาด ”

ย้ำสัญญา 50 ปีเพื่อผ่าตัดทางตัน

นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวย้ำอีกว่า การขยายระยะเวลาสัญญาเช่าเป็น 50 ปี เป็นกลยุทธ์ของกรมธนารักษ์ ที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการไปต่อได้ และอยู่ในกรอบของกฎหมาย และพิจารณาแล้วว่าผลตอบแทน NPV และ IRR (Internal Rate of Return : ผลตอบแทน(% ) ที่คาดจะได้รับจากโครงการนี้ ) ที่รัฐได้ต้องคุ้มค่าและเป็นโครงการตามเป้าหมายที่เราต้องการ

โดยที่เกณฑ์ใหม่ระยะเวลา 50 ปี จะครอบคลุมตั้งแต่ระยะเวลาการก่อสร้าง การบริหารจัดการและการเปิดดำเนินการโครงการ โดยจะเริ่มนับ 1 ตั้งแต่โครงการเริ่มต้นเซ็นสัญญา เช่นโครงการหมอชิตก็ดี หรือโครงการมักกะสันที่มีวงเงินลงทุนสูงถึง 2-3 แสนล้านบาท ที่จะให้เป็นสัญญารวดเดียว 50 ปี และหากต่อใหม่อีก 50 ปี

อย่างไรก็ดีเพื่อเหตุผลเดียวกัน ในเรื่องของการแก้ปัญหา กรมฯยังให้สิทธิสัญญาเช่ายาวเป็นพิเศษ ในพื้นที่ สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี , เกาะเต่า จังหวัดชุมพร และช่องแสมสาร จังหวัดชลบุรี โดยพื้นที่ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการเช่าเพื่อเชิงพาณิชย์ ทำธุรกิจโรงแรม ก็ให้ถึง 30 ปี แตกต่างกับสิทธิสัญญาการเช่าเป็นการทั่วไป ที่กรมฯ ไม่เคยอนุมัติยาวเช่นนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2016 9:00 pm    Post subject: Reply with quote


เปิดประเด็นเรื่องมักกะสัน

https://www.youtube.com/watch?v=UqIv_w8yNTU&feature=share
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2016 12:48 am    Post subject: Reply with quote

ไฟเขียวโอนที่มักกะสันใช้หนี้คลัง
เดลินิวส์
พุธที่ 22 กรกฎาคม 2558 เวลา 06.25 น.

เคาะโอนที่มักกะสันใช้หนี้คลัง 70,000 ล้านบาท เช่า 99 ปี เตรียมเปิดประมูลเอกชนใช้เชิงพาณิชย์ต้นปี 59


นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 22 ก.ค.58 ได้ข้อสรุปการโอนที่ ร.ฟ.ท. บริเวณมักกะสัน กว่า 497 ไร่ เพื่อนำมาชำระหนี้คืนให้กระทรวงการคลัง ในวงเงิน 70,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่คณะทำงานทั้งในส่วนกรมธนารักษ์ และ ร.ฟ.ท.มีความเห็นตรงกันแล้ว จากนี้จะเสนอแนวทางการโอนที่ใช้หนี้ทั้งหมดให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม พิจารณาเห็นชอบ ก่อนดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ หากสามารถตกลงกันได้กับกระทรวงคมนาคม ก็จะเสนอแผนโอนที่ เข้าสู่คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้ช่วงเดือน ส.ค.เพื่อกำหนดโรดแม็ปการโอนพื้นที่และกำหนดสัดส่วนพื้นที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเบื้องต้น สัดส่วนพื้นที่เพื่อการพาณิชย์จะอยู่ที่ประมาณ 70% ส่วนที่เหลือจะเป็นสวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ โดย ร.ฟ.ท.จะทยอยโอนที่ให้เป็นช่วงๆ แบ่งเป็นพื้นที่ที่โอนได้ทันที และพื้นที่ที่สามารถส่งมอบได้ภายใน 2 ปี และ 4 ปี เป็นต้น

นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มระยะเวลาการเช่าที่ราชพัสดุใหม่ จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 50 ปี เป็น 99 ปี โดยครอบคลุมจำนวนหนี้ 7 หมื่นล้านบาท ยังมีหนี้ส่วนที่เหลือที่ ร.ฟ.ท.จะต้องใช้คืนคลัง ซึ่งจะต้องทยอยบริหารจัดการต่อไป โดยกระบวนการขยายระยะเวลาการเช่า ต้องมีการแก้ไขกฎหมายการเช่าที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ซึ่งเรื่องนี้คลังได้หารือกับกระทรวงมหาดไทยแล้วเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยกระบวนการแก้ไขกฎหมาย จะต้องผ่านความเห็นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็จะทำควบคู่ไปกับโรดแม็ปที่ คนร.วางไว้

“จะต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อขอขยายเวลาเช่าที่ โดยในกรณีนี้คือระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน คือกรมธนารักษ์ กับ รัฐวิสาหกิจ หรือ ร.ฟ.ท. จะสามารถเช่าได้ถึง 99 ปี กฎหมายที่แก้ไขก็สามารถใช้ได้กับกรณีอื่นๆ ที่เป็นการเช่าที่ระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน ส่วนการเช่าระหว่างรัฐและเอกชน ยังคงกำหนดไว้ที่ 50 ปี”

นายสมหมาย กล่าวว่า การให้เช่าที่เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ จะต้องตั้งคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) เข้ามากำหนดแนวปฏิบัติการเช่าใช้พื้นที่ ซึ่งหลายโครงการมีเม็ดเงินลงทุนที่สูง และเปิดกว้าง ไม่ได้จำกัดกิจการที่มาเช่าใช้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลให้เช่าพื้นที่ได้ในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 59 แต่ไม่มีแนวคิดที่จะให้กรมธนารักษ์เข้าไปบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์เอง.

//-------------------

"ไพศาล"โวย โอนที่ดินร.ฟ.ท.ขัดพระราชประสงค์ร.5 ซัดแหลก "มักกะสัน"เหลือ7หมื่นล.ได้ไง
มติชน
วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14:47:45 น.


วันที่ 27 ก.ค. นายไพศาล พืชมงคล อดีตวุฒิสภาและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมการผู้ช่วยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Paisal Puechmongkol แสดงความเห็นถึง
แผนการนำที่ดินมักกะสันจำนวน 497 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังเช่านำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยเบื้องต้น ราคาประเมินที่ดิน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในตัวกำหนดมูลหนี้ จะอยู่ระหว่าง 6-7 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ แผนดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินที่สะสมมานานของ ร.ฟ.ท. โดยปัจจุบันภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท. มีอยู่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท

นายไพศาล ระบุว่า ต้องขอความเป็นธรรมให้การรถไฟ การรถไฟได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เพื่อให้นำมาใช้ในกิจการของรถไฟส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเพื่อใช้เชิงพาณิชย์ จะได้มีรายได้มาบำรุงรถไฟเพื่อทำให้ค่าโดยสารรถไฟถูกลง ราษฎรจะได้ใช้บริการรถไฟด้วยราคาถูก

ดังนั้น การที่จะเอาที่ดินการรถไฟแปลงมักกะสัน 497 ไร่ ไปโอนให้หน่วยงานอื่นจึงไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์และพระราชประสงค์ ในการพระราชทานที่ดินให้กับการรถไฟ

คนไทยจึงต้องช่วยกันพิทักษ์รักษาพระราชมรดกชิ้นนี้ให้เป็นของการรถไฟไว้ตลอดไปและการรถไฟก็สามารถนำที่ดินแปลงนี้ออกบริหารจัดการแสวงหาประโยชน์ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์เองก็ได้เรื่องอะไรต้องไปโอนให้กับหน่วยงานอื่น

และถ้าบริหารจัดการเป็นด้วยความสัตย์สุจริตรถไฟสามารถหาประโยชน์จากที่ดินแปลงนี้ไม่น้อยกว่า3แสนล้านบาทโดยที่ยังเป็นเจ้าของที่ดินด้วย

มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่พี่น้อง ในยุครัฐบาลนักการเมือง ยังตั้งราคาที่ดินรถไฟที่มักกะสัน 497 ไร่ถึง 1 แสนล้านบาท มาตอนนี้ ราคาแกว่งขึ้นลง ยิ่งกว่าราคาหุ้นในตลาด

ตอนแรกตั้งราคา 7 หมื่นล้านบาท ต่อมาเห็นประชาชนนิ่งเฉยก็ตีราคาลดเหลือ 5 หมื่นล้านบาท เห็นประชาชนนิ่งอีกก็กดราคาเหลือ 3 หมื่นล้านบาท จึงถูกโวยวายว่าทำอะไรกัน จึงปรับราคาขึ้นไปเป็น 5 หมื่นล้านบาท ต่อมา นายกฯตู่สั่งให้ตีราคาใหม่ ตอนนี้ก็ขยับราคาไปที่ 7 หมื่นล้านบาท

ราคาเช่าที่ดินรถไฟพหลโยธิน 34 ไร่ 30 ปี รถไฟยังได้ 30,000 ล้านบาท ที่มักกะสันราคาสูงกว่าเยอะ ทำไมเนื้อที่ 497 ไร่ 99 ปี จึงเหลือเพียง 70,000 ล้าน

มันเกิดอะไรขึ้น ! ทำไมต้องโอนที่รถไฟไปให้ไอ้โม่งที่ไหนเช่าแบบนี้ เราทั้งผองต้องร่วมใจกันรักษาพระราชมรดกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 นี้ไว้ให้กับการรถไฟตลอดไปครับ

พี่น้องสามารถเข้าใจแผนการ โอนที่ดินรถไฟได้ดีขึ้น ถ้าหากได้ทราบและเข้าใจกระบวนการหาประโยชน์กับ "ศูนย์ราชการ" อย่าคิดว่าศูนย์ราชการเป็นของหลวงนะครับ ศูนย์ราชการบริหารจัดการโดยกองทุน ซึ่งหลวงถือหุ้นข้างน้อย นักธุรกิจการเมืองถือหุ้นข้างมาก ได้สิทธิประโยชน์ในการใช้ที่ดินหลวงเกือบจะฟรีๆ ได้สิทธิประโยชน์ในการกำหนดให้ส่วนราชการ ต้องมาเช่าใช้พื้นที่

ลงทุนโดยกองทุน 2 หมื่นล้านบาท แต่ได้ประโยชน์จากค่าเช่าจากรัฐบาลถึง 9 หมื่นล้านบาท นักธุรกิจนักการเมืองถึงรวยกันเปรม แต่รัฐบาลจะต้องแบกรายจ่ายถึง 9 หมื่นล้านบาท ของดีอย่างนี้ทำไมไม่ทำเอง ทำไมจึงไปทำเป็นกองทุนแบบนี้เพื่อประโยชน์ ให้กับใคร

สังเกตสิครับว่า จะโอนที่รถไฟ ให้กระทรวงการคลังอ้างว่าชำระหนี้ แต่ทำไมมากำหนดวิธีบริหารจัดการเสียตั้งแต่ตอนนี้

นี่มิไม่ใช่กระบวนการมัดมือชกรัฐบาลแบบม้วนเดียวจบดอกหรือประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอยศูนย์ราชการนะครับ

คำนวณเล่นๆก็ได้ลงทุนศูนย์ราชการ2 หมื่นล้านเอาค่าเช่าจากรัฐบาล 9 หมื่นล้าน มาถึงที่รถไฟ 497 ไร่ จะให้ราคา 7 หมื่นล้าน ค่าเช่าเท่าไหร่ละครับ มันจะไม่ถึง 5-7แสนล้านดอกหรือ
ต้องช่วยกันแล้วล่ะครับงานนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2016 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย : Thai Labour Museum
10 กันยายน เวลา 16:23 น. ·
ทำไมต้องคุยเรื่องมักกะสัน พื้นที่แห่งนี้เกี่ยวข้องกับแรงงาน ประวัติศาสตร์ และการพัฒนาเมืองอย่างไร มีคลิปจากรายการพลิกปมข่าวมาให้ชมก่อนการเสวนา "มักกะสัน ชักกะเย่อ : พื้นที่ | ประวัติศาสตร์ | การพัฒนาเมือง" กับผู้ร่วมเสวนา
คุณสาวิทย์ แก้วหวาน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย
คุณปริญญา ชูแก้ว สถาปัตยกรรมและการวางแผนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คุณพงศ์พรหม ยามะรัต กลุ่ม Big Tree
ดำเนินการเสวนาโดยคุณอรุชิตา อุตมะโภคิน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
เวลา 17.00 - 19.00 น. ในนิทรรศการ-เสวนา #แรงงานไม่มีประวัติศาสตร์ ณ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/thailabourmuseum/videos/1783283011949604/?hc_ref=NEWSFEED
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2016 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

ธนารักษ์เลื่อนแลกหนี้ที่ดินมักกะสันกับ ร.ฟ.ท.เหตุขัดกฎหมายเวนคืน
มติชน
วันที่: 11 กันยายน 2559 เวลา: 17:30 น.
ปิดฉาก! ข้อตกลงธนารักษ์แลกหนี้ที่ดินมักกะสันกับ ร.ฟ.ท.เหตุขัดกฎหมายเวนคืน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่: 11 กันยายน 2559 เวลา: 18:58:06 น.


นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวถึงที่ดินมักกะสันว่า ขณะนี้กรมธนารักษ์และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องยุติแผนการส่งมอบที่ดินมักกะสันเพื่อแลกกับภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท.จำนวนกว่า 6.1 หมื่นล้านบาท ไปก่อน เพื่อส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความในข้อกฎหมาย ว่าสามารถนำที่ดินที่ ร.ฟ.ท.เวนคืนมาเพื่อกิจการรถไฟไปใช้กิจการอื่นได้หรือไม่ ซึ่งการโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินมักกะสัน จำนวน 492 ไร่ มาให้กระทรวงการคลัง ทางกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีเป้าหมายเพื่อให้แลกกับภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท. 6.1 หมื่นล้านบาท ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซุปเปอร์บอร์ด และมีแนวคิดนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยมีกำหนดให้ส่งมอบพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อมีปัญหาในข้อกฎหมาย การโอนที่ดินเพื่อล้างหนี้ต้องชะลอไปก่อน

สำหรับการเข้าไปช่วย ร.ฟ.ท.บริหารที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับการเดินรถที่มีหลายหมื่นไร่ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) นั้น อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวว่า เบื้องต้นคงต้องมีการคัดแยกประเภทที่ดินออกเป็นหมวดหมู่ก่อนว่า ที่ดินใดใช้ประโยชน์ได้ ที่ดินใดใช้ไม่ได้ เพราะที่ดินของการรถไฟมีหลายประเภท ส่วนการบริหารหรือปรับปรุงสัญญาเช่า คงจะดูรูปแบบที่กรมธนารักษ์ใช้บริหารที่ราชพัสดุนำไปปรับใช้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การโอนที่ดินมักกะสันเพื่อแลกหนี้ 6.1 หมื่นล้านบาทนั้น เป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูกิจการของ ร.ฟ.ท.เพื่อลดภาระหนี้ที่มีอยู่กว่า 1.8 แสนล้านบาท ให้ลดลง นอกจากแผนการโอนที่ดินล้างหนี้แล้ว คนร.ยังตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อไปดูแลการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ร.ฟ.ท. ที่มีอยู่กว่า 3.6 หมื่นไร่ หรือกว่า 1 หมื่นสัญญาทั่วประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะครบกำหนดสัญญาในเดือนกันยายนนี้กว่า 7 พันสัญญา คณะทำงานชุดนี้มีนายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน มีกรมธนารักษ์ร่วมเป็นกรรมการ

นายจักรกฤศฎิ์กล่าวถึงความคืบหน้าการให้เอกชนประมูลที่ราชพัสดุเพื่อพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษว่า ขณะนี้ได้นำเสนอคัดเลือกผู้ลงทุนพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) แล้ว ในจังหวัดตาก ที่มีผู้ประมูลเพียงรายเดียว คาดว่าจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุม กนพ.ในวันที่ 5 ตุลาคมนี้ ส่วนพื้นที่อื่นนั้นคงต้องรอให้กฤษฎีกาตีความว่าไม่ผิดกฎหมายของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในเรื่องที่เอกชนจะพัฒนาที่ดินแล้วนำไปให้เช่าในลักษณะนิคมได้หรือไม่

นายจักรกฤศฎิ์กล่าวต่อว่า กรมเตรียมเสนอพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 คือ จังหวัดกาญจนบุรี บึงกาฬ เชียงราย นราธิวาส นครพนม พร้อมกันนี้กรมอยู่ระหว่างหารือผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำเมืองการค้าชายแดนปลอดภาษี (บอร์เดอร์ทาวน์) 4 จังหวัดตามนโยบายของนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เบื้องต้นคัดเลือก 4 พื้นที่ คือ ตาก สงขลา หนองคาย นครพนม ซึ่งจะต้องมีการเสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อจูงใจให้เอกชนลงทุน และสามารถดำเนินการไปควบคู่กับเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ เพราะจะมีการกันบางส่วนของเขตเศรษฐกิจพิเศษมาเป็นบอร์เดอร์ทาวน์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2016 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

ชะลอโอนที่มักกะสันไม่กระทบย้ายโรงงาน ร.ฟ.ท.ตั้งงบกว่า 200 ล้านลุยจ้างที่ปรึกษาฯ
โดย MGR Online
19 กันยายน 2559 11:33 น. (แก้ไขล่าสุด 19 กันยายน 2559 12:05 น.)


ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ยันชะลอแผนโอนที่มักกะสันให้คลัง เพื่อหักหนี้กว่า 6 หมื่นล้าน ไม่กระทบการย้ายโรงซ่อมมักกะสัน ระบุเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้า เตรียมชงบอร์ด เห็นชอบจ้างที่ปรึกษางบกว่า 200 ล้าน ปรับปรุงศูนย์ซ่อมภูมิภาค 3 แห่ง “โคราช-อุตรดิตถ์-ทุ่งสง” และพัฒนาศูนย์ซ่อมใหญ่ “เขาชีจรรย์”

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการชะลอแผนการนำที่ดินมักกะสันแลกหนี้กับกระทรวงการคลัง มูลค่าประมาณ 61,846 ล้านบาทนั้น เนื่องจากต้องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความกฎหมายการเวนคืนที่ดินว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างนั้น เป็นประเด็นทางข้อกฎหมายการได้มาของที่ดิน เข้าใจว่าหากมีความชัดเจนทางข้อกฎหมายซึ่งจะมีการพิจารณาเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการนำที่ดินมาใช้ประโยชน์ต่อไป โดยที่ดินรถไฟได้มาทั้งจากการพระราชทาน, เวนคืน, ยกให้และซื้อ ขณะที่ที่ดินมักกะสันได้จากพระราชทานและเวนคืนเพิ่ม วัตถุประสงค์ให้ทำเป็นศูนย์ซ่อม ที่พัก และที่ทำการ

ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวจะไม่กระทบต่อแผนการย้ายโรงงานมักกะสัน ส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มประสิทธิภาพและการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารซึ่งเป็นธุรกิจหลัก (Core Business) นั้นจะสามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าได้อย่างไร เพราะปัจจุบันส่วนแบ่งของขนส่งทางรถไฟยังน้อยมาก โดยการย้ายและขยายโรงซ่อมในภูมิภาคจะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์ซ่อมหัวรถจักร รถดีเซล เป็นต้น โดยจะใช้งบของ ร.ฟ.ท.ในการย้ายและพัฒนาโรงซ่อมเอง

“สิ่งที่รถไฟต้องทำตอนนี้ คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริหารจัดการต่างๆ เพื่อหารายได้เพิ่ม ส่วนการส่งมอบพื้นที่บริเวณโรงงานมักกะสันจำนวน 497.11 ไร่ ให้คลังที่จะได้รับสิทธิในการเช่าที่ดินในระยะยาวจำนวน 99 ปี เพื่อชำระหนี้นั้น ต้องแยกว่าที่บอกว่ารถไฟมีหนี้ 1.2 แสนล้านบาทเป็นหนี้ที่มาจากการดำเนินงานเท่าไหร่ และหนี้ของรัฐที่ต้องรับผิดชอบเท่าไหร่ เพราะไม่ใช่หนี้ทั้งหมดเกิดจากรถไฟ การหักหนี้ออกไปจะมีผลต่อตัวเลขทางบัญชี และเป็นธรรมต่อการรถไฟมากขึ้น” นายวุฒิชาติกล่าว

ด้านนายณรงค์ฤทธิ์ ศิวะสาโรช รองผู้ว่าฯ กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ร.ฟ.ท กล่าวว่า ตามแผนเดิมจะเร่งย้ายโรงงานมักกะสันเพื่อส่งมอบที่ให้คลังภายใน 2 ปี จากเดิมที่ ร.ฟ.ท.ทำแผนย้ายออกใน 5 ปี ขณะนี้ได้มีการทำ Short List เพื่อเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) และศึกษาออกแบบรายละเอียด (Detail Design) ในการย้ายโรงงานและโรงซ่อมบำรุงมักกะสัน วงเงินกว่า 200 ล้านบาท โดยอยู่ในกระบวนการทำร่างทีโออาร์เพื่อนำเสนอผู้ว่าฯและคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.อนุมัติ ซึ่งการที่ชะลอโอนที่มักกะสันทำให้ไม่ต้องเร่งรีบการย้ายมากนักและมีเวลาศึกษารายละเอียดรอบคอบมากขึ้น

โดยแผนงานย้ายมักกะสันแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

1. ปรับปรุงและขยายศูนย์ซ่อมภูมิภาค 3 แห่งที่มี คือ โคราช, อุตรดิตถ์ และทุ่งสง เป้าหมายเพื่อรองรับการซ่อมหนักรถโดยสาร และที่ศูนย์ซ่อมโคราชจะมีการสร้างโรงซ่อมสำหรับรถดีเซลรางเพิ่มด้วย ทำให้กระจายงานซ่อมหนักรถโดยสารและรถดีเซลรางออกจากมักกะสันได้ คาดว่าจะใช้งบดำเนินการประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท โดยจะเป็นส่วนที่ดำเนินการได้ก่อน

2. ก่อสร้างโรงซ่อมรถจักรที่แก่งคอย ที่มีการออกแบบรายละเอียดไว้แล้วซึ่งเป็นเดโป้รถจักรเหมือนบางซื่อ สามารถทำการซ่อมย่อย และซ่อมใหญ่ระดับกลาง (Medium Overhaul) พร้อมกันนี้จะสร้างศูนย์ซ่อมหนักรถจักรดีเซลเพิ่มอีก 1 โรงในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อรับงานซ่อมหนักแทนมักกะกัน งบประมาณ 1,000 ล้านบาท

3. สร้างนิคมอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงรถไฟที่ชุมทางเขาชีจรรย์ พื้นที่ 500 ไร่ พร้อมกับย้ายโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟไปรวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ยกระดับโรงเรียนเป็นสถาบันพัฒนาบุคลากรระบบรางอาเซียน โดยระยะ 3 นี้จะใช้เวลานาน เนื่องจากจะเป็นศูนย์รวมการซ่อมทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message
casanotoey
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 412

PostPosted: 19/09/2016 8:02 pm    Post subject: Reply with quote

ใช้เงินทุนจากแหล่งไหนครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 3 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©