RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179654
ทั้งหมด:13490886
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - มาว่ากันด้วยเรื่องของรถไฟฟ้ากันบ้างครับ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

มาว่ากันด้วยเรื่องของรถไฟฟ้ากันบ้างครับ
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 04/11/2006 8:59 pm    Post subject: Reply with quote

สำหรับวิธีที่สองที่ใช้ในการดึงสายไฟ คือ การใช้กระบอกสปริงดึง ซึ่งภายในจะมีชุดสปริงประกอบอยู่ คอยดึงสายไฟให้มีความตึงอยู่ตลอดเวลาตามที่ได้กำหนดเอาไว้ เช่นเดียวกันกับวิธีการแรก จะมีฉนวนป้องกันไม่ให้กระแสไฟไหลมายังสลิงที่ยึดติดที่ปลายกระบอกสปริงได้

อันนี้ดึงสายทางด้านขวา
Click on the image for full size

Click on the image for full size




ส่วนอันนี้ใช้ดึงสายทางด้านซ้าย
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
tongchit
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1164
Location: ทับยาว เขต.ลาดกระบัง

PostPosted: 05/11/2006 9:27 am    Post subject: Reply with quote

เกิดสมมุติว่า เมืองไทยมีรถไฟฟ้าใช้แบบของญี่ปุ่น แล้วถ้าเอาแผ่นเหล็กมาใช้ถ่วงน้ำหนักผมว่าแผ่นเหล็กได้มีการโดนขโมยกันบ้างล่ะครับ Shocked ขนาดสายไฟฟ้าแรงสูงยังขโมยได้เลยเลย ผมว่าถ้ามีใช้ ใช้เป็นแผ่นคอนกรีตดีที่สุด Embarassed
_________________
ความผิดฅนอื่นเท่าขุนเขา ความผิดเราเท่าขุมขน
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 16/11/2006 12:43 am    Post subject: Reply with quote

tongchit wrote:
เกิดสมมุติว่า เมืองไทยมีรถไฟฟ้าใช้แบบของญี่ปุ่น แล้วถ้าเอาแผ่นเหล็กมาใช้ถ่วงน้ำหนักผมว่าแผ่นเหล็กได้มีการโดนขโมยกันบ้างล่ะครับ Shocked ขนาดสายไฟฟ้าแรงสูงยังขโมยได้เลยเลย ผมว่าถ้ามีใช้ ใช้เป็นแผ่นคอนกรีตดีที่สุด Embarassed


อันนี้ก็ไม่แน่เหมือนกันครับ ขนาดตู้อุปกรณ์รีเลย์ตามรายทางรถไฟยังโดนถอดฝาตู้ออกไปขายเลย จนบางที่ต้องเอาแผ่นเหล็ก หรือ สังกะสีมาปิดแทน เห็นแล้วอนาถใจจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ คน เป็นอันดับแรกครับ ชักจะนอกเรื่องแล้วกลับเข้ามาในเรื่องเราต่อดีกว่า Embarassed

กลับมาต่อครับ อุปกรณ์ต่างๆที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้นั้นมีใช้อยู่กับเส้นทางรถไฟฟ้าทุกสาย ทั้งรถไฟฟ้าธรรมดาและชินกันเซน ซึ่งจะใช้วิธีการดึงสายทั้งสองแบบสลับกันไปตามเส้นทางรถไฟ จะมีระยะของสายแต่ละชุดประมาณ 1 - 1.6 กิโลเมตร
ตามหลักการทั่วไปแล้ววิธีแรก คือ การใช้แผ่นคอนกรีต หรือ แผ่นเหล็กถ่วงที่ปลายสายจะให้แรงดึงที่ดีกว่าเพราะสามารถเพิ่มน้ำหนักที่ใช้ถ่วงได้ตามต้องการ ส่วนแบบที่ใช้กระบอกสปริงดึงจะถูกจำกัดด้วยแรงของสปริงที่อยู่ภายในกระบอก แต่ทั้งนี้วิธีการแรกนั้นจะมีส่วนที่สึกหรอและเคลื่อนไหวที่จำเป็นจะต้องมีการดูแลรักษาอยู่เสมอ ส่วนแบบที่สองนั้นไม่ต้องการดูแลมากนัก

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนากระบอกสปริงให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นซึ่งมีการประมาณการไว้ถึง 30 ปี แต่กระบอกสปริงที่ใช้ในการดึงสายไฟที่พัฒนาใหม่เหล่านี้จะมีระยะของสายแต่ละชุดประมาณ 800 เมตรเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Anan124
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/07/2006
Posts: 213
Location: สมุทรสาคร

PostPosted: 16/11/2006 1:11 am    Post subject: Reply with quote

ท่าทางจะยุ่งยากและอันตราย ในการบำรุงรักษานะครับเนี๊ยะเพราะเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าทั้งนั้น

ปล. ขอบพระคุณในเนื้อหาข้อมูลมากๆครับ (ปูเสื่ออยู่แถวหน้าแล้วครับ) Wink
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 16/11/2006 1:31 am    Post subject: Reply with quote

ยังดีที่มีคนติดตามนะเนี่ย Laughing

ที่ผมเอาเรื่องนี้มาลงเพราะเรากำลังจะใช้ระบบที่ว่าในอีกไม่นานนี้ ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าของเราจะมีหน้าตาอย่างไร แต่ปีหน้าคงจะชัดเจนกว่านี้ว่ารูปแบบเป็นอย่างไร คาดว่าไม่ต่างไปมากนัก

สำหรับเรื่องราวของรถไฟฟ้ายังไม่จบครับ แต่ตอนนี้ผมขาดทีมกราฟฟิคอยู่ อยากได้ รถกระป๋อง ...( เอ๊ะ!! หรืออ่านว่ารถกล่อง (box_car) Laughing Laughing ) มาช่วยงานจังเลย

จะพยายามนำลงเรื่อยๆครับ เมื่อรูปภาพและรายละเอียดพร้อมแล้ว รอสักหน่อยก็แล้วกัน
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 28/10/2008 3:14 am    Post subject: Reply with quote

Shocked ....ไม่น่าเชื่อว่าผมลืมกระทู้นี้ไปสนิท วันนี้ทีแรกตั้งใจว่าจะกลับมาต่อเรื่องของชินกันเซนเลยค้นหารูปของ pantograph ใน photobucket ปรากฏว่าเจอรูปภาพเก่าที่ใช้ประกอบกระทู้นี้อยู่ ทำให้นึกขึ้นมาได้ Ahhh


งั้นก็กลับมาเข้าเรื่องนี้กันบ้าง ( รู้สึกว่าจะเปิดหลายหัวข้อแล้ว Confuse )


" ระบบการรับเอากระแสไฟจากสายส่งมาใช้งาน "

ในปัจจุบันระบบการรับกระแสสำหรับรถไฟฟ้ามีสองแบบหลักๆ คือ
1. การรับไฟจากสายส่งด้านข้าง, รางที่สาม หรือ Third Rail System
2. การรับไฟจากสายส่งด้านบน หรือ Overhead Catenary System




ระบบการรับไฟจากสายส่งด้านบน หรือ Overhead Catenary System เป็นระบบที่เป็นที่ได้รับความนิยมมากกว่าแบบแรก เนื่องจากสามารถใช้งานหลากหลายทั้งไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันตั้งแต่ 750-3,000 โวลท์ ไปจนถึงไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันสูง 50,000 โวลท์



ไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันต่ำนั้นบางส่วนใช้ระบบThird Rail สำหรับรถที่มีความเร็วไม่มากนัก เช่น รถไฟฟ้าภายในเมือง หรือ รถไฟใต้ดิน รวมทั้งรถไฟฟ้า BTS และรถไฟใต้ดิน MRT ในประเทศไทย สายส่งมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าระบบ Overhead ปกตินิยมใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงที่มีแรงดันไม่เกิน 1,200 โวลท์ เช่น 500 โวลท์ , 600 โวลท์ หรือ 750 โวลท์ ระบบThird Rail นี้ในการทดลองสามารถใช้กับขบวนรถที่มีความเร็วได้ถึง 170 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กับขบวนรถที่มีความเร็วสูง เนื่องจากความไม่เสถียรของหน้าสัมผัสเมื่อรถวิ่งที่ความเร็วสูงๆส่งผลให้เกิดความชำรุดได้ง่ายต่อรางส่งไฟและขั้วรับไฟ อีกทั้งระบบนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการจ่ายกระแสไฟอันเกิดจากการสูญเสียแรงดันในระบบ ต้องมีสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยตามรายทางเป็นระยะ ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์อีกประการหนึ่งที่มีผลดีสำหรับรถไฟใต้ดินที่ใช้ระบบนี้ คือ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอุโมงค์ให้เล็กลง โดยไม่จำเป็นต้องสร้างให้ใหญ่ขึ้นเพื่อติดตั้งระบบสายไฟด้านบน ( แต่ก็มีรถไฟใต้ดินที่ใช้ระบบรับไฟจากด้านบนเช่นกัน )

การรับไฟจาก Third Rail นั้นมีรูปแบบการรับ 3 แบบ คือ
1.Top contact - ขั้วรับไฟของรถกดลงด้านบนของรางส่งไฟที่อยู่ขนานกับราง
2.Side contact - ขั้วรับไฟของรถกดลงด้านบนของรางส่งไฟที่อยู่ด้านข้างรถ
3.Bottom contact - ขั้วรับไฟของรถดันขึ้นสัมผัสรางส่งไฟที่อยู่ขนานกับราง โดยที่รางนี้ยกขึ้นเล็กน้อยและกลับเอาหัวลง


-เราลองมาดูรูปแบบของระบบ Third Rail บางส่วนกันครับ



ในภาพเป็น Third Rail แบบ Top contact ชนิดมีฝาครอบรุ่นแรกๆของญี่ปุ่น แท่นติดตั้งขั้วรับไฟทำด้วยไม้ติดอยู่ข้างโครงแคร่ เมื่อต้องการรับไฟ ขั้วรับไฟจะถูกดันลงโดยกระบอกสูบซึ่งใช้แรงดันลมอัดสั่งการให้แนบชิดกับรางส่งไฟ การมีฝาครอบนั้นมีผลดีที่ช่วยป้องกันการปกคลุมของน้ำแข็งและหิมะอันจะทำให้การจ่ายไฟไม่สะดวก

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size


Last edited by conrail on 28/10/2008 9:57 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 28/10/2008 3:40 am    Post subject: Reply with quote

- Third Rail แบบ Top contact ชนิดมีฝาครอบเช่นกันของรถไฟใต้ดินสายมิโดสึจิ ( Midosuji ) ที่โอซากา ซึ่งใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ รางส่งไฟนั้นจะใช้ทั้งสองข้างสลับกันไปตลอดเส้นทางและตอนที่รถวิ่งผ่านช่วงช่องว่างนั้นรู้สึกจะมีประกายไฟจากการอาร์คด้วยเมื่อขั้วรับไฟหลุดพ้นจากรางส่งไฟ


Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 28/10/2008 10:26 am    Post subject: Reply with quote

- ต่อมาเป็นThird Rail แบบ Side contact

มีรางส่งกระแสไฟอยู่ด้านข้างของตัวรถ ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมใช้กับรถไฟฟ้าที่ใช้ล้อยางและใช้ความเร็วไม่สูงมาก ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันระหว่าง 750 - 1,500 โวลท์ ในภาพเป็นรถไฟฟ้าที่รับส่งระหว่างอาคารรับส่งผู้โดยสาร 1 กับอาคารรับส่งผู้โดยสาร 2 ของสนามบิน Taiwan Taoyuan International เป็นระบบ Automated People Mover คือ ไม่มีคนขับ ใช้ระบบอัตโนมัติในการควบคุม

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 28/10/2008 10:50 am    Post subject: Reply with quote

- Third Rail แบบ Side contact ของรถไฟฟ้า New Shuttle สายอินะ ( Ina ) ในไซตามะ เป็นรถไฟฟ้าที่ใช้ล้อยาง วิ่งระหว่างสถานีโอมิยะ ( Omiya ) - อุชิจูกุ ( Uchijuku ) ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร ซึ่งถ้าใครจะไปที่พิพิธภัณท์รถไฟ (Tetsudou hakubutsukan) ที่ไซตามะก็จะพบกับรถไฟฟ้าสายนี้ โดยวิ่งขนานไปกับทางรถไฟชินกันเซนสายโจเอทสึ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size



ลืมบอกไปว่า ระบบ Third Rail นี้ ค่อนข้างมีอันตรายมากกว่าระบบ Overhead ถ้ามีคนตกลงไปโอกาสที่จะได้รับอันตรายมีสูงมาก (เคยมีคนกระโดดลงไปในรางของรถไฟฟ้า BTS มาแล้ว ) ไม่ว่าจะตั้งใจ หรือ อุบัติเหตุก็ตาม ดังนั้นจึงมักจะมีคำเตือนให้เห็นเสมอ ข้อความด้านล่างบอกว่า " อันตราย ! ถ้าอยากตายก็เชิญกระโดดลงไป " Laughing ......( ความหมายจริงๆก็ตรงกันข้ามครับ Embarassed )

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©