Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311286
ทั่วไป:13268102
ทั้งหมด:13579388
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ รายงานความคืบหน้า รถไฟฟ้า 7 ขบวน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ รายงานความคืบหน้า รถไฟฟ้า 7 ขบวน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44596
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/10/2015 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม-รฟท.แจงทุกประเด็นปัญหาจัดซื้อรถแอร์พอร์ตลิงค์ใหม่ 7 ขบวนโปร่งใส
สำนักข่าวไทย กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ2015/10/07 5:25 PM

กรุงเทพฯ 7 ต.ค.-คมนาคม-รฟท.ชี้แคมนาคม-รฟท.แจงทุกประเด็นปัญหาจัดซื้อรถแอร์พอร์ตลิงค์ใหม่ 7 ขบวนโปร่งใส จงทุกประเด็นปัญหาจัดซื้อรถแอร์พอร์ตลิงค์ใหม่ 7 ขบวน ยืนยันโปร่งใส พร้อมลงนามสัญญาจัดซื้อรถ ธ.ค.นี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบายผู้บริหารบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการแอร์พอร์ตลิงค์ โดยระบุว่าได้ให้นโยบายพัฒนาบริการทั้งพนักงานและการเดินรถขอให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาบุคลากรที่ผ่านมาประสบปัญหาสมองไหล เนื่องจากกรณีที่ภาครัฐได้ว่าจ้างเอกชน ให้ทำการเดินรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ทำให้มีความต้องการเจ้าหน้าที่และพนักงานที่เชี่ยวชาญจำนวนมาก รวมถึงการแยกการบริหารจัดการของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ออกจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)นั้น ทางผู้ว่าการร.ฟ.ท.ยืนยันว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2559

ส่วนปัญหาการจัดหารถเพิ่มรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันแอร์พอร์ตลิงค์มีผู้โดยสารใช้บริการทั้ง 2 ระบบ ทั้งซิตี้ไลน์ และเอ็กซเพรส ไลน์ เฉลี่ยวันละ 60,000 คน โดยการจัดซื้อรถใหม่ 7 ขบวนมีการกล่าวหาว่ามีการซื้อ มีการล็อคสเปค และราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นนั้น นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ รฟท. ชี้แจงว่ากรณีคุณสมบัติเรื่องน้ำหนักรองรับนำ้หนักผูโดยสารบนขบวนรถ โดยรถที่จัดซื้อ 7 ชบวนนี้สามาถรองรับน้ำหนักผู้โดยสาร 6 -8 คนต่อตารางเมตร เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ส่วนที่ระบุว่าการจัดซื้อราคาแพงเมื่อเทียบกับการจัดซื้อของประเทศเพื่อนบ้านที่มาเลเซีย จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่ามาเลเซียจัดซื้อขบวนรถเปล่าไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกบนขบวนรถ โดยราคาที่จัดซื้อวงเงิน 4,400 ล้านบาทนั้น เป็นราคาที่จัดซื้อที่ไม่รวมกับเงินสำรองเพื่อจัดซื้ออะไหล่อีก 400 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตที่แอร์พอรติงค์ซื้อขบวนรถ 9 ขบวน แต่ไม่ได้สำรองอะไหล่ก็เกิดปัญหาการเดินรถตามมา

สำหรับขั้นตอนการจัดหาขบวนรถ 7 ขบวน ที่ผ่านมามีผู้ ซื้อซองประกวดราคา 4 ราย และมีผู้ยื่นซองเพียง 1. ราย คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าฉางชุน ซีอาร์ซีซี และริเวอร์ เอนจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูล โดยยืนยันว่าขั้นตอนหลังจากนี้. จะสามารถลงนามในสัญญาได้ในเดือนธันวาคมนี้ และหลังเสนอผลการจัดซื้อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณา โดยหลังการลงนามแล้ว จะมีการประกอบรถและรับมอบภายใน 24 เดือน คาดว่าทั้ง 7 ขบวนจะรับมอบครบในปี 2561 และจากการประเมินผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นแต่ละปีเชื่อว่าแอร์พอร์ตลิง์จะมีผู้โดยสารในปี 2561 ประมาณ 120,000 คน หรือ 1 เท่าตัวจากปัจจุบัน .-สำนักข่าวไทย

----

ร.ฟ.ท.เคลียร์ข้อครหาซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ ยันไม่แพง-ไม่ล็อคสเปคจ่อเซ็นสัญญาจีนธ.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 ตุลาคม 2558 19:57 น.

"คมนาคม-ร.ฟ.ท."ลั่นเดินหน้าซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวนตอกกลับ"สามารถ"กล่าวหาแพง ล็อคสเปค ไม่จริง ชี้สเปคสูงกว่ารถมาเลเซีย แถมราคาซื้อครั้งนี้ถูกกว่า ซื้อล็อตเก่า 9 ขบวนถึงตู้ละ14 ล. ด้าน"อาคม"เร่งแยกการบริหารลั่นเสร็จกลางปี 59 เพิ่มความคล่องตัว

วันนี้ (7 ต.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ซ่อมบำรุง รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ โดยนายอาคมเปิดเผยว่า ได้รับทราบการประกวดราคาซื้อ รถไฟฟ้าธรรมดา (City Line ) จำนวน 7 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ สำหรับใช้ในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ( แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ราคากลาง 4,413,108,000.00 บาทซึ่งขณะนี้ได้ข้อสรุปราคาตัวรถและระบบอาณัติสัญญาณแล้วเหลือการเจรจาส่วนของค่าอะไหล่สำรองอีก 10%

ปัจจุบันขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ 9 ขบวน ให้บริการได้ 7 ขบวน โดยอีก 2 ขบวนอยู่ระหว่างรออะไหล่ซ่อมบำรุงคาดว่าจะเสร็จในเดือนเม.ย. 2559 ในขณะที่จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาก เฉลี่ย 6 หมื่นคนต่อวัน รถที่มีไม่เพียงพอในการให้บริการ ต้องเร่งรัดการจัดซื้อรถใหม่7 ขบวน นอกจากนี้จะเร่งรัดการซ่อมบำรุงหนัก (Overhaul) รถ 9 ขบวนเดิม ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ

***แยกบริหารแอร์พอร์ตลิงก์เสร็จในกลางปี 59

ส่วนการแยกบริหาร บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ออกจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำหนดแล้วเสร็จภายในกลางปี 2559 เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร โดยร.ฟ.ท.ยังคงถือหุ้น100% จากปัจจุบันร.ฟ.ท. จะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีและจัดเก็บรายได้ไปดูแล แต่อนาคตหลังแยกการบริหาร ระบบงบประมาณรายได้รายจ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง ทางแอร์พอร์ตลิงก์จะดำเนินการเอง และทำให้สามารถตรวจสอบศักยภาพในการบริหารของแอร์พอร์ตลิงก์ได้ชัดเจน และทำให้ทราบต้นทุนในการเดินรถอีกด้วย

โดยขณะนี้ทรัพย์สินของแอร์พอร์ตลิงก์มีประมาณ 3.3 หมื่นล. จะพิจารณาวิธีการโอน ร่วมกับหนี้สิน และรายได้รายจ่ายที่มี โดยคำนึงว่าแอร์พอร์คลิงก์จะต้องอยู่ได้ ซึ่งอาจจะต้องทยอยการโอนซี่งปี2559 ร.ฟ.ท. ได้มอบอำนาจให้แอร์พอร์ตลิงก์ดำเนินการในเรื่องจัดซื้อจ้ดจ้างเองแล้ว

นอกจากนี้เน้นการปรับปรุงตามโครงการ"Smile Station" และการปรับปรุงองค์ความรู้ด้านระบบรางเพื่อสร้างบุคลากรให้เข้มแข็ง ซึ่งแอร์พอร์ตลิงก์ทำหน้าที่ เป็นระบบขนส่งมวลชนในเมืองและระหว่างเมืองได้ด้วย เนื่องจากระบบมีความเร็วที่ 160 กม./ชม.โดยจะมีการต่อยขยายเส้นทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ-ระยอง ต้นทุนการเดินรถไฟฟ้าจะเป็น ต้นทุน ของรัฐในการคัดเลือกเอกชนเข้ามาเดินรถไฟฟ้าในเส้นทางอื่นๆ ได้

*** ยันเสปคสูงกว่ารถมาเลเซีย แถมราคาถูกกว่าซื้อล็อคแรก 9 ขบวนถึง 14 ล.

ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังมีข้อท้วงติง ได้มีการชี้แจงแล้ว โดยขณะนี้ได้เจรจากับผู้เสนอราคาคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า ชางชุน ซีอาซีซี และ ริเวอร์ เอนจิเนียริง และสรุปราคาตัวรถและอาณัติสัญญาที่ 4,400 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 13 ล้านบาท และขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาในส่วนของค่าสำรองอะไหล่ คาดว่าจะส่งเรื่องไปสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ในเดือนต.ค.นี้เพื่อพิตารณาแหล่งเงิน และจะลงนามสัญญาได้ในปลายเดือนธ.ค.58 และใช้เวลาส่งมอบรถ 24 เดือนคาดรถทั้ง 7 ขบวน จะส่งมอบครบในปี 61 ระยะเวลารับประกัน 2 ปี เพิ่มขีดความสามารถรองรับ ซึ่งประมาณการณ์ผู้โดยสารในปี 61 จะมีถึง 1.2 แสนคนต่อวัน

ทั้งนี้ ครม.อนุมัติโครงการเมื่อปี 56 วงเงินรวมกว่า 4,800 ล้านบาท แยกเป็นตัวรถและอาณัติสัญญาณ ประมาณ 4,400 ล้าน และค่าสำรองอะไหล่อีก 10% เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยในรถ9 ขบวนแรกที่ไม่ได้เตรียมสำรองอะไหล่ไว้ ส่วนกรณีที่นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ท้วงติงว่า ราคาแพงและล็อคสเปคนั้น ประเด็นที่1 พื้นที่ยืน ทีโออาร์กำหนด 6 คนต่อตารางเมตร ส่วนน้ำหนักกดเพลาไม่เกิน 10 คนต่อตารางเมตร ไม่ได้กำหนดพื้นที่ยืนว่า 10 คนต่อตารางเมตร ประเด็นที่ 2 ระบบขับเคลื่อนด้วยชุดมอเตอร์ไฟฟ้า 1ขบวน(4ตู้) จะมี 2 ชุด(หน้า,หลัง)เพื่ป้องกันการจอดตายกลางทาง โดยเมื่อมอเตอร์ชุดใดเสียอีกชุดจะต้องทำงานขับเคลื่อนได้ ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีความเร็ว 160 กม./ชม. เท่าเดิม และประเด็นที่ 3 ราคาแพงโดยเปรียบเทียบกับรถของมาเลเซีย เนื่องจากรถแอร์พอร์ตลิงก์มีเสปคที่สูงกว่า ทั้งความเร็ว และมีระบบสิ่งอำนวยความสะดวกภายในตัวรถ เช่น อาณัติสัญญาณ ,CCTV ,ไวไฟ,ระบบเตือนผู้โดยสาร ,ทีวีในตัวรถ เป็นต้น ส่วนมาเลเซียซื้อแต่ตัวรถเปล่าๆ

ซึ่งในการจัดซื้อรถและกำหนดราคากลางนั้น ได้สอบถามไปยังผู้ผลิตต่างๆ และนำมาหาค่าเฉลี่ยที่เหมาะสม ซึ่งการจัดซื้อรถ 7 ขบวนนี้ ใช้เสปคเดียวกับรถ 9 ขบวนแรก (31 ตู้) ที่มีการจัดซื้อเมื่อเดือนม.ค.48 โดยมีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและออกแบบให้ทันสมัยขึ้น โดยราคารถ 9 ขบวนแรก เฉลี่ยอยู่ที่ 149 ล้านบาทต่อตู้ ส่วนรถ 7 ขบวน (28 ตู้) เฉลี่ยอยู่ที่ 135 ล้านบาทต่อตู้

"ร.ฟ.ท.จ้างที่ปรึกษาจากเยอรมันกำหนดเสปคทีโออาร์ ซึ่งรถใหม่7 ขบวน จะต้องมีระบบอาณัติสัญญาณเชื่อมกับระบบเก่าได้ และมีเอกชนซื้อซอง 4 ราย มีการเชิญมาสอบถามข้อสงสัยต่างๆ ไม่มีการพูดถึงประเด็นล็อคสเปค และราคาแพงเลย "
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44596
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2015 10:13 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.จ่อล้มประมูลซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวน แก้ครหาล็อกสเปก
โดย MGR Online 24 ธันวาคม 2558 06:59 น. (แก้ไขล่าสุด 24 ธันวาคม 2558 09:49 น.)

จ่อล้มประมูลซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวน เผย “อาคม” สั่งทบทวนหวั่นมีปัญหา ด้านบอร์ด ร.ฟ.ท.สั่งทบทวนความเหมาะสม ชี้เป็นโครงการใหญ่แต่มียื่นข้อเสนอรายเดียวเท่านั้น คาดทำทีโออาร์เปิดประมูลใหม่ใน 60 วัน “วุฒิชาติ” เผยเตรียมสรุปรายละเอียดเสนอบอร์ด 29 ธ.ค.นี้ ยันการยกเลิกหรือเดินหน้าต่อเป็นอำนาจบอร์ด ยันเงื่อนไขเดิมเปิดประชาพิจารณาไม่มีการท้วงติง สเปกราคาได้มาตรฐาน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการประกวดราคาซื้อ รถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) จำนวน 7 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ สำหรับใช้ในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ราคากลาง 4,413,108,000.00 บาท ว่า หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้สรุปผลการประกวดราคา ซึ่งมีผู้ยื่นข้อเสนอประกวดราคาเพียง 1 ราย ในขณะที่มีการท้วงติง ร้องเรียนด้วยนั้น ล่าสุดนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เห็นว่า ร.ฟ.ท.ควรพิจารณาทบทวนการประกวดราคาอีกครั้ง และทราบว่าทางบอร์ด ร.ฟ.ท.ให้เปิดประกวดราคาใหม่เพื่อความเหมาะสม

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ที่มีนายสราวุธ เบญจกุล เป็นประธาน เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ได้มีการพิจารณาการประกวดราคาซื้อรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยมีมติให้ทบทวนความเหมาะสม และนำเสนอที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 29 ธ.ค.นี้ โดยบอร์ดเห็นว่าเป็นโครงการใหญ่ ในขณะที่มีผู้ยื่นข้อเสนอประกวดราคาเพียง 1 ราย และยังมีการท้วงติงในประเด็นต่างๆ อีกด้วย จึงอยากให้ดำเนินการอย่างรอบคอบ กรณีจะยกเลิกจะต้องพิจารณาในส่วนที่ผู้ยื่นข้อเสนอและได้รับคัดเลือกแล้วฟ้องร้องด้วย

ทั้งนี้ ในส่วนของเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) และการกำหนดคุณสมบัติต่างๆซึ่งได้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าล็อกสเปกนั้น ขอชี้แจงว่า ในการประกวดราคาที่ผ่านมาได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบแบบเปิดกว้าง ซึ่งผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาทั้งหมดไม่มีการท้วงติงหรือโต้แย้งแต่อย่างใด ทั้งนี้ หากต้องเปิดประมูลใหม่จะประชุมกับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อกำหนดรายละเอียดทีโออาร์ต่อไป และคาดว่าจะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน

รายงานข่าวแจ้งว่า ร.ฟ.ท.ได้เปิดประมูลจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวน รวม 28 คัน วงเงินกว่า 4,413 ล้านบาท (ไม่รวมค่าอะไหล่ 10%) เมื่อช่วงปลายเดือน ก.ค. 2558 โดยมีบริษัทเอกชนเข้าซื้อซองประมูล 4 ราย ประกอบด้วย กิจการร่วมค้าชางชุน ซีอาร์ซีซี และ ริเวอร์ เอนจิเนียริง 2. บริษัท ซีเมนส์ 3. กิจการร่วมค้า HU และ 4. กิจการร่วมค้า ชางซี ซีเอชซีเเอล โดยปรากฏว่ามีเอกชนยื่นข้อเสนอเพียง 1 ราย คือกลุ่มกิจการร่วมค้าชางชุน ซีอาร์ซีซี และริเวอร์ เอนจิเนียริง โดยเสนอราคาตัวรถและอาณัติสัญญาณที่ 4,400 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 13 ล้านบาท ส่วนค่าสำรองอะไหล่อีก 10% ซึ่งจะมีการเจรจาต่อรองต่างหาก ซึ่งตามแผนเดิม ร.ฟ.ท.จะส่งเรื่อง ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณาแหล่งเงินได้ในเดือน ต.ค. 2558 และลงนามสัญญาได้ในปลายเดือน ธ.ค. 58 และกำหนดส่งมอบครบในปี 61 มีระยะเวลารับประกัน 2 ปี ช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับ ซึ่งประมาณการผู้โดยสารในปี 61 จะมีถึง 1.2 แสนคนต่อวัน

นอกจากนี้ โครงการยังถูกนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ท้วงติงว่าราคาแพงและล็อกสเปกในหลายประเด็น เช่น เรื่องพื้นที่ยืน ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้เคยชี้แจงแล้วว่าทีโออาร์กำหนด 6 คนต่อตารางเมตร ส่วนน้ำหนักกดเพลาไม่เกิน 10 คนต่อตารางเมตร ไม่ได้กำหนดพื้นที่ยืนว่า 10 คนต่อตารางเมตร ประเด็นระบบขับเคลื่อนด้วยชุดมอเตอร์ไฟฟ้า 1ขบวน (4 ตู้) จะมี 2 ชุด (หน้า, หลัง) เพื่อป้องกันการจอดตายกลางทาง และไม่ได้กำหนดว่าต้องมีความเร็ว 160 กม./ชม. เท่าเดิม ประเด็นที่ ราคาแพงโดยเปรียบเทียบกับรถของมาเลเซีย เนื่องจากรถแอร์พอร์ตลิงก์มีสเปกสูงกว่าทั้งความเร็วและมีระบบสิ่งอำนวยความสะดวกภายในตัวรถ เช่น อาณัติสัญญาณ, CCTV , ไวไฟ, ระบบเตือนผู้โดยสาร, ทีวีในตัวรถ เป็นต้น

ส่วนมาเลเซียซื้อแต่ตัวรถเปล่าๆ อีกทั้งรถ 7 ขบวน (28 ตู้) เฉลี่ยอยู่ที่ 135 ล้านบาทต่อตู้ ขณะที่รถเดิม 9 ขบวนแรก (31 ตู้) ที่จัดซื้อเดือน ม.ค. 48 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 149 ล้านบาทต่อตู้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2016 8:28 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์สามารถเปิดประเด็นเรื่องล้มประมูล Airport Link 7 ชุดรถ
https://www.facebook.com/Dr.Samart/photos/a.232032303608347.1073741828.232025966942314/753037321507840/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Aesthetics
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 31/07/2015
Posts: 30

PostPosted: 16/01/2016 2:58 pm    Post subject: Reply with quote

ผมเองอยากให้ท่านประยุทธ์ได้มีโอกาสได้อ่านกระทู้นี้มากๆครับ ประเด็น คือ เราอยากเห็นความสมเหตุสมผลของราคาที่ได้ครับ ปัญหาคือ ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงรายละเอียดไม่ได้ครับ ผมว่าผู้ผลิตระดับโลกจริงๆ เค้าไม่มั่วหรอกครับ การออกแบบ ชิ้นส่วนมันมี มาตรฐาน standard มาอ้างอิงอยู่แล้วครับ ผมดูทรงแล้วที่จะมั่วน่าจะเป็นคนที่เกี่ยวข้องแหละครับ ไม่เอาครับที่อ้างแบบมั่วๆ ลอยๆ ไม่มีข้อมูลที่ชัดแจ้งมาอ้างอิงเลย ซื้อรถไฟฟ้าให้คนในชาตินั่งนะครับ ไม่ใช่ซื้อหน่อไม้ปี๊บครับ ผมว่าสื่อมวลชนถ้าอยากให้สนุกผมแนะนำให้สาวลึกๆดูครับ อ้างถึงใคร สถาบันไหน ถามให้ถึงไปเลยว่าจริงมั้ย และที่รับรองเพราะอะไร แต่ผมแนะนำไว้ก่อนนะครับ ถ้ามาเป็นหนังหน้าไฟให้งานนี้เกรงว่าท่านจะเสียชื่อสถาบันป่าวๆครับ


ที่จริง อยากให้มีคณะทำงานเรื่องการประมูลสัก 5-7 ชุดที่มีความรู้ เป็นผู้ทรงภูมิ พิจารณาการประมูลของผู้ยื่นซองทุกเจ้า ให้ความเห็นอย่างละเอียดต่อทุกผู้ยื่น และฟันธงอย่างมีเหตุมีผลมีหลักการถูกต้องเหมาะสมครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2016 10:25 am    Post subject: Reply with quote

เคลียร์ซื้อขบวนแอร์พอร์ตลิงค์ คมนาคมจี้หลังถูกท้วงราคาสูงเกินจริง/นำราคามาเลเซียเทียบ
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 18 มกราคม 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,123 วันที่ 17 – 20 มกราคม พ.ศ. 2559

เคลียร์ซื้อขบวนแอร์พอร์ตลิงค์ คมนาคมจี้หลังถูกท้วงราคาสูงเกินจริง/นำราคามาเลเซียเทียบ
คมนาคมเร่งหาทางออกจัดซื้อ 7 ขบวนแอร์พอร์ตลิงค์ หลังถูกท้วงราคาสูงเกินจริง เตรียมเสนอคตร.เห็นชอบพร้อมแนบข้อมูลเปรียบเทียบจากมาเลเซียให้พิจารณา หลังออกเทียบเชิญบิ๊กแอร์พอร์ตลิงค์และบิ๊กร.ฟ.ท.จับเข่าหารือ คาดก.พ.นี้ได้ความชัดเจน ส่วนผลเจรจาภาระหนี้ระหว่างร.ฟ.ท.-รฟฟท. 31 มี.ค.ได้ข้อสรุปแน่

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 7 ขบวนว่า คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.) ได้เรียกนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) และพล.อ.ดรัณ ยุทธวงษ์สุข รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด(รฟฟท.) เข้าหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนดำเนินการจัดซื้อโดยเร็วต่อไป

ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การจัดซื้อรถ 7 ขบวนนั้นขณะนี้ได้รับผลสอบถามราคาการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียแล้ว เพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาตามที่มีผู้ร้องเรียนจากบริษัทเอกชนและคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ(ภตช.) กรณีการประกวดราคาจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ 7 ขบวน งบประมาณ 4.4 พันล้านบาทว่า มีการทำราคากลางสูงเกินความเป็นจริงประมาณ 2.34 เท่า และมีข้อสงสัยว่าอาจจะมีการสมยอมเสนอราคากันระหว่างบริษัทเมื่อได้รับงานไปดำเนินการแล้ว

ดังนั้นผลการหารือร่วมคตร.-ร.ฟ.ท.และรฟฟท.ว่าจะออกมาอย่างไรนั้นคงต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง โดยหลังผลการหารือเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบต่อไป เบื้องต้นนี้ร.ฟ.ท.ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังมาเลเซีย ในเรื่องเกี่ยวกับสเปกรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ที่มาเลเซียใช้งานอยู่ปัจจุบันเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับที่ร.ฟ.ท.สั่งซื้อไป

“ขณะนี้กรณีที่จะยกเลิกหรือไม่ยกเลิกการจัดซื้อรถไฟ 7 ขบวน จะต้องมีข้อมูลประกอบการพิจารณาที่ครบถ้วน เพราะหากมีไม่อะไรอ้างอิงอาจถูกฟ้องร้องได้ ที่สำคัญการดำเนินงานตั้งแต่แรกเป็นต้นมานั้นได้ดำเนินการตามวิธีปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างอย่างถูกต้อง แต่ก็ยอมฟังข้อท้วงติง ซึ่งจะต้องมีเหตุมีผลชัดเจน หลังจากนั้นก็จะนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) ร.ฟ.ท. แต่หากพบว่ามีการนำเสนอราคาแตกต่างกันกว่า 2 พันล้านบาท ก็ถือว่ามีเหตุผลที่จะประกาศยกเลิกประมูลได้เช่นกัน”

ส่วนความคืบหน้าการแยกบัญชีทรัพย์สินและภาระหนี้สินระหว่างร.ฟ.ท.กับรฟฟท.นั้น ล่าสุดได้มีการนำเสนอข้อมูลมาแล้วบางส่วนอาทิ การนำขบวนรถทั้ง 9 ขบวน ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ มิเตอร์ประปา- ไฟฟ้า นอกจากนั้นยังจะให้เอาสัญญาเช่าที่มีอยู่โอนไปให้รฟฟท.ในช่วงแรกนี้ก่อนที่จะทยอยส่วนอื่นๆต่อเนื่องกันไป

หลังจากนั้นให้รฟฟท.มาทำสัญญาเช่าที่ดินของร.ฟ.ท.ก่อนนำไปให้เช่าช่วงตามที่รฟฟท.ต้องการ โดยต้องให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2559 นี้ทั้ง 3 เรื่องคือ 9 ขบวนรถ ระบบมิเตอร์ประปา-ไฟฟ้าและสัญญาเช่าที่มีอยู่ นายวุฒิชาติกล่าว

ทั้งนี้ การจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์จำนวน 7 ขบวน เกิดกระแสข่าวสะพัดว่า มีการตั้งงบไว้สูงเกินจริง จากราคาขายโดยทั่วไปที่อยู่เพียงคันละไม่เกิน 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 61.2 ล้านบาท รวม 7 ขบวน 28 คันราคาควรอยู่ในราว 1,713 ล้านบาท เมื่อรวมอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณที่ต้องซื้อจากซีเมนส์อีกราว 600 ล้านบาท งบประมาณรวมโครงการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้านี้ควรจะอยู่ในราว 2.5 พันล้านบาท แต่กลับมีการตั้งงบดำเนินการไว้สูงกว่า 4.4 พันล้านบาท ยังไม่รวมการจัดซื้ออะไหล่สำรองอีก 400 ล้านบาทที่การรถไฟฯจะจัดซื้อผนวกไปพร้อมกันหรือรวมทั้งสิ้นกว่า 4.8 พันล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Aesthetics
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 31/07/2015
Posts: 30

PostPosted: 18/01/2016 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

น่าสังเกตนะครับ ผมไม่แน่ใจว่าผู้บริหารนั่งAPRL เคยนั่งรถไฟฟ้าขอฃท่านครบทุกตู้ยังครับ ใช่ครับท่านฟังไม่ผิดครับ เพราะถ้าท่านครบทุกตู้จริงๆ ผมเชื่อว่าท่านไม่เคยนั่งตู้หนึ่งแน่นอนครับ มันคือตู้สำหรับขนกระเป๋าซึ่งไม่ได้ใช้งานอะไร สรุปคือทุกวันนี้ขบวนExpress lineจะขนอากาศเปล่าทุกเที่ยว 1 ตู้โดยเปล่าประโยชน์ ครับ ถ้าจะให้เข้ากับสภาวการณ์ตอนนี้ น่าจะดัดแปลงกลับมาเป็นตู้โดยสารปกติแทน อย่าบอกว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ หากวางแผนดีๆทยอยดัดแปลง ตัวรถของซีเมนส์เป็นแบบ Modular design อยู่แล้วครับ ใช้ชิ้นส่วนแบบSemi-knock down สามารถดำเนินการแบบค่อยไปเป็นค่อยไปโดยไม่กระทบกับการเดินรถ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแคปในการขนส่งเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 30 %
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 20/01/2016 10:52 am    Post subject: Reply with quote

ขนาดรถไฟฟ้าด่วนสีแดงยังมาทำเป็นรถสีน้ำเงินได้ ทำไม่ได้แค่นี้ก็เกินไปล่ะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2016 6:24 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ลุ้น คตร.ชี้ขาดประมูลซื้อแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวน ยันทำถูกระเบียบ


โดย MGR Online

21 มกราคม 2559 09:56 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มกราคม 2559 13:32 น.)

คตร.สั่ง ร.ฟ.ท.ชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนประมูลซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวน 4.4 พันล้าน หลังถูกครหาล็อกสเปกจนต้องชะลอเซ็นสัญญา “วุฒิชาติ” มั่นใจ คตร.มีทางออกเพื่อปลดล็อกปมปัญหา ยันประมูลตามระเบียบทุกขั้นตอน เผย มี.ค.นี้จะสรุปแผนร่วมทุนเอกชน (PPP) เดินรถสีแดง-แอร์พอร์ตลิงก์ และพัฒนาที่ดิน

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีข้อท้วงติงโครงการประกวดราคาซื้อรถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) จำนวน 7 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ สำหรับใช้ในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ราคากลาง 4,413,108,000.00 บาทนั้น ล่าสุดทาง ร.ฟ.ท.ได้เข้าชี้แจงรายละเอียดต่อคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว โดย คตร.ให้ ร.ฟ.ท.ทำข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งจะเร่งส่งไปยัง คตร.ภายในสัปดาห์นี้ จากนั้นเชื่อว่า คตร.จะพิจารณาความเหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

นอกจากนี้ คตร.ได้มีข้อสังเกตเพิ่มเติมถึงกระบวนการยกเลิก ว่าเหตุใดจึงไม่ยกเลิกการประกวดราคาตั้งแต่แรก หรือเร็วกว่านี้ ซึ่งจะส่งข้อมูลรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานที่ผ่านมาไปเช่นกัน โดยขอชี้แจงเบื้องต้นว่าการประกวดราคาซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวนจะเดินหน้ามาจนถึงสรุปผลการประกวดราคาไม่ได้เลยหากผิดระเบียบ ซึ่งตามระเบียบ e-Auction การมีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวสามารถเดินหน้าเคาะราคาได้ ร.ฟ.ท.ยึดตามระเบียบ โครงการนี้วงเงินลงทุนสูง การดำเนินงานต้องรอบคอบและยึดระเบียบไม่ได้พิจารณากันเอง และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.แล้ว

“ทาง ร.ฟ.ท.จะจัดทำรายละเอียดลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการตั้งแต่เริ่มต้น ขั้นตอนการประกวดราคาว่าเป็นไปตามระเบียบอย่างไรบ้าง ซึ่งประเด็นที่ถูกกล่าวหาว่าล็อกสเปกนั้น ผมได้ชี้แจงต่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แล้วด้วยในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา ประเด็นเหล่านี้ทำให้คนทำงานลำบากใจ ซึ่งเมื่อ คตร.มาช่วยตรวจสอบจะทำให้มีทางออกที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งหาก คตร.ไม่พบข้อบกพร่อง ร.ฟ.ท.จะได้เดินหน้าต่อไป เนื่องจาก ยังมีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะรับมอบขบวนรถ แต่หาก คตร.เห็นว่าการดำเนินงานของ ร.ฟ.ท.ไม่ถูกต้องก็สั่งยกเลิกประมูล”

**มี.ค.สรุปแผนร่วมทุนเอกชน เดินรถสีแดง-แอร์พอร์ตลิงก์ และ PPP พัฒนาที่ดิน

สำหรับโครงการก่อสร้างและการเดินรถไฟสายสีแดงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งที่ประชุม คนร.ต้องการให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนมากขึ้นในรูปแบบการร่วมทุนกับเอกชน (PPP) นั้น นายวุฒิชาติกล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาจัดทำแผนธุรกิจแผนการบริหาร โดยจะสรุปรายงานการศึกษาในเดือน มี.ค. 2559

ส่วนการพัฒนาที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเดินรถ (Non-Core) นั้น จะใช้แนวทางการร่วมทุนกับเอกชนเพื่อให้เข้ามาพัฒนาบริหารจัดการเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม โดยเฉพาะที่ดินแปลงใหญ่ เช่น สถานีกลางบางซื่อ, ย่านแม่น้ำ กม.11 ซึ่งที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษาในเดือน มี.ค.นี้เช่นกัน เพื่อเสนอรูปแบบการร่วมทุน PPP และเข้ากระบวนการ PPP Fast Track ต่อไป

ส่วนที่ คนร.เร่งส่งมอบที่ดินที่มักกะสันใกล้กระทรวงการคลังภายใน 2 ปี จากแผนเดิมที่จะทยอยส่งมอบใน 5 ปีนั้น ร.ฟ.ท.จะต้องกลับมาปรับแผนงานใหม่ พร้อมทั้งหารือกับสำนักงบประมาณในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรื้อย้ายโรงงาน โรงพยาบาลบุรฉัตร บ้านพักพนักงานออกจากพื้นที่ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1.2-1.5 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Aesthetics
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 31/07/2015
Posts: 30

PostPosted: 03/03/2016 2:35 am    Post subject: Reply with quote

Aesthetics wrote:
น่าสังเกตนะครับ ผมไม่แน่ใจว่าผู้บริหารนั่งAPRL เคยนั่งรถไฟฟ้าขอฃท่านครบทุกตู้ยังครับ ใช่ครับท่านฟังไม่ผิดครับ เพราะถ้าท่านครบทุกตู้จริงๆ ผมเชื่อว่าท่านไม่เคยนั่งตู้หนึ่งแน่นอนครับ มันคือตู้สำหรับขนกระเป๋าซึ่งไม่ได้ใช้งานอะไร สรุปคือทุกวันนี้ขบวนExpress lineจะขนอากาศเปล่าทุกเที่ยว 1 ตู้โดยเปล่าประโยชน์ ครับ ถ้าจะให้เข้ากับสภาวการณ์ตอนนี้ น่าจะดัดแปลงกลับมาเป็นตู้โดยสารปกติแทน อย่าบอกว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ หากวางแผนดีๆทยอยดัดแปลง ตัวรถของซีเมนส์เป็นแบบ Modular design อยู่แล้วครับ ใช้ชิ้นส่วนแบบSemi-knock down สามารถดำเนินการแบบค่อยไปเป็นค่อยไปโดยไม่กระทบกับการเดินรถ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแคปในการขนส่งเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 30 %


ล่าสุดได้ข่าวว่าจะมีการดัดแปลง Express line เป็น ซิตี้ไลน์ โอเคว่ากันไปครับ แต่ผมว่าอันที่จริงมันเป็นแค่ก้าวแรกเท่านั้นครับผม ไหนๆก็จะสร้างรางมาตรฐาน กันอยู่แล้ว จะเอารถที่มีความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงกันอยู่แล้ว ทำไมไม่ตั้งโรงงานทำในไทยเองเลยละครับ หาแบบที่จะมาเป็น National Platform ขึ้นมาละครับ จะได้ใช้ได้ทั้ง APRL และใช้กับรางใหม่ที่กำลังจะสร้างไปเลย อันที่จริงเจ้า Siemens Desiro แค่ปรับเรื่องอากาศพลศาสตร์ กับอุปกรณ์ แคร่ ระบบไฟฟ้า ก็สามารถทำความเร็ว 180 กม/ชม สบายๆอย่างที่บิ๊กตู่คาดหวังไว้อยู่แล้วครับ ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ไหนบอกว่ารัฐไม่มีเงินละครับ ไหนบอกว่าต้องประหยัด ถ้าตั้งโรงงงานทำเองตอนนี้ APRL ก็ได้ใช้ รางมาตรฐานที่จะสร้างในอนาคตก๋ได้ใช้รถที่สร้างจากโรงงานในประเทศ ผมเชื่อเหลือเกินว่าจำนวนขบวนรถที่ต้องใช้ แบบที่ใกล้เคียงExpress Line แบบมีที่นั่งทั้ง 4 คันใน 1 ขบวน น่าจะไม่น้อยกว่า 50 ขบวนแน่นอน ในรอบ 7-10 ปี ข้างหน้า หากทางรถไฟขนาดมาตรฐานที่จะสร้างเพิ่มเกิดขึ้นจริง มองอนาคตยังไงก็คุ้มครับ นี้ผมยังไม่นับรวมดีเซลรางที่การรถไฟจะต้องจัดหาเพิ่ม เผลอๆอาจเป็นEMU อีกด้วยเพื่อใช้กับราง 1 เมตร จะได้ไม่ขายหน้ามาเลย์มันมาก(พูดด้วยอารมณ์ของคนรักรถไฟและเห็นพัฒนาการในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาทั้งเค้าและเรา) ไหนจะรถไฟฟ้าสายสีรุ้งใน กทม ภูเก็ต เชียงใหม่ โคราช ฯลฯ ซึ่งมิติของตัวรถที่ใช้ในAPRL ก็เป็นมิติเดี่ยวกับClass 360 สไตร์ Britpop สไตร์UK เหมือนที่เราเห็นใน APRLและ Sprinter ตัวรถไม่ได้กว้างมาก เปลี่ยนแค่Bogieเป็นแบบราง 1 เมตรได้เลย หลายคนอาจคิดว่าแคร่โบกี้ สำหรับราง 1 เมตรมันแพงซึ่ง หาได้เป็นเช่นนั้นครับ อันที่จริง หัวเพลา ลูกปืน ระบบช่วงล่าง Coil spring , Air spring ก็ใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานเดี่ยวกันกับที่ใช้ในราง 1.435 เมตรนั้นแหละครับ อุปมาเหมือนคุณจะทำลิ้นชักที่ขนาดเล็กกว่าปกติก็สามารถใช้ชุดรางลิ้นชักที่ใหญ่กว่าอย่างของ Hafele มาใส่ได้ เป็นต้นครับ เมื่อชิ้นส่วนใช่ร่วมกันได้ ปริมาณมาก ต้นทุนการสั่งก็ต่ำ ยิ่งทำในประเทศเองได้อีก แทนที่เอาเงินให้จีน เงินหมุนในชาติ 5 รอบ เผลอๆ เหมือนได้รถไฟมาใช้ฟรีครับ ไม่ใช่แค่การตั้งโรงงานแล้วจบครับ ผมเห็นอิหร่านซื้อแบบรถจักรของSiemensไปสร้างเอง เห็นเกาหลีที่ได้เทคโนโลยีTGVจากAlstomไปอย่างโชคช่วย เค้าไม่หยุดแค่นั้น ต้องต่อยอดต่อพัฒนาต่อเลยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ครับ สวทช Railtech มหาลัยโน้น มหาลัยนี้ ต่อยอดต่อได้เลยครับผม มันไม่ดีกว่าคุณเที่ยวไปเซ็นต์MOUกับบริษัทดังๆ สถาบันระดับโลก ผมว่ามันไม่ต่างอะไรกับสมมติว่าคุณเป็นตัวประกอบละครฉายคั่นเวลาแต่บังเอิญได้เจอได้ถ่ายรูปคู่กับWill Smith ที่พัฒพงษ์แล้วแชร์รูปโชว์เพื่อนในFacebook ดูกากครับผม ผมไม่ค่อยจะได้ยินข่าวเด็กอิหร่าน เด็กเกาหลี ได้เหรียญทองโอลิมปิควิชาการ หรือแม้แต่งานแข่งฝีมือแรงงาน ไม่เคยได้ยินคนเกาหลีคิดระบบลงจอดบนดาวอังคาร แต่ทำไมเค้าทำได้ละครับ????????? หรือเพราะประเทศเรามีนักธุรกิจการเมือง??????????
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44596
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2016 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

ต้านครหาไม่ไหว! ล้มประมูลซื้อรถแอร์พอ์ตลิงก์ 7 ขบวน คตร.สั่งแก้สเปกระบบอาณัติฯ
ผู้จัดการออนไลน์ 21 มี.ค. 2559 13:08

คตร.สั่งล้มประมูลซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวน วงเงินกว่า 4.4 พันล้าน พร้อมให้ ร.ฟ.ท.ปรับแก้สเปก ทีโออาร์ ปลดล็อกระบบอาณัติสัญญาณ เปิดกว้างเพื่อรองรับการเชื่อมต่อเส้นทางต่อขยายในอนาคต "วุฒิชาติ"เตรียมชงบอร์ด 29 เม.ย. เดินหน้าเปิดประมูลใหม่ใน 6 เดือน

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ได้มีมติให้ยกเลิกการประกวดราคาโครงการจัดซื้อรถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) จำนวน 7 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ สำหรับใช้ในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง(แอร์พอร์ต เรล ลิงก์) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ราคากลาง 4,413,108,000.00 บาท หลังจากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีผู้ยื่นประกวดราคาเพียงรายเดียว และมีข้อครหาเรื่องการล็อคสเปก ซึ่งคตร.ให้ ร.ฟ.ท.ปรับแก้ร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ในการกำหนดสเปกระบบอาณัติสัญญาณ โดยให้เปิดกว้างมากขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับการต่อขยายสายทางในอนาคตด้วย

ทั้งนี้ คตร.และร.ฟ.ท. มีความเห็นตรงกันว่า ขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์มีความจำเป็นอย่างมากต่อการให้บริการ ต้องเปิดประกวดราคาใหม่ทันที ซึ่งร.ฟ.ท.จะจัดทำแผนรายละเอียดการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ใหม่โดยปรับแก้ ทีโออาร์ ตามความเห็นคตร. และนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนายสราวุธ เบญจกุล เป็นประธาน ในการประชุมวันที่ 29 เม.ย.นี้ โดยหลังจากบอร์ดอนุมัติ จะใช้เวลาในการเปิดประกวดราคาใหม่ภายใน 6 เดือน

"ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ผมและประธานบอร์ด ร.ฟ.ท. ได้เข้าชี้แจงต่อคตร. ด้วยกัน และรับทราบความเห็นของคตร. และข้อเสนอแนะในประเด็นเรื่องการกำหนดเสปกระบบ ที่อาจจะแิดกั้นมากเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาการเชื่อมต่อสายทางใหม่ในอนาคต” นายวุฒิชาติ กล่าว

ส่วนกรณี กิจการร่วมค้าชางชุน ซีอาซีซี และริเวอร์ เอ็นจิเนียริง จากประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ยื่นเสนอราคา จะฟ้องร้องกรณียกเลิกประกวดราคาครั้งนี้ ถือเป็นสิทธิที่เอกชนสามารถทำได้

รายงานข่าวแจ้งว่า ร.ฟ.ท.ได้เปิดประมูลจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 7 ขบวนรวม 28 คัน วงเงินกว่า 4,413 ล้านบาท (ไม่รวมค่าอะไหล่10%) เมื่อช่วงปลายเดือน ก.ค. 2558 โดยมีบริษัทเอกชนเข้าซื้อซองประมูล 4 ราย ประกอบด้วย กิจการร่วมค้าชางชุน ซีอาซีซี และ ริเวอร์ เอนจิเนียริง 2.บริษัท ซีเมนส์ 3.กิจการร่วมค้า HU และ 4. กิจการร่วมค้า ชางซี ซีเอชซีเเอล โดยปรากฏว่ามีเอกชนยื่ยข้อเสนอเพียง 1 ราย คือกลุ่มกิจการร่วมค้าฉางชุน ซี อาร์ซีซีและริเวอร์เอนจิเนีย โดยเสนอราคาตัวรถและอาณัติสัญญาที่ 4,400 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 13 ล้านบาท ส่วน ค่าสำรองอะไหล่อีก 10% ซึ่งจะมีการเจรจาต่อรองต่างหาก ซึ่งตามแผนเดิม ร.ฟ.ท.จะส่งเรื่อง ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) พิจารณาแหล่งเงินได้ในเดือนต.ค. 2558 และลงนามสัญญาได้ในปลายเดือนธ.ค.58 และกำหนดส่งมอบครบในปี 61มีระยะเวลารับประกัน 2 ปี ช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับ ซึ่งประมาณการณ์ผู้โดยสารในปี 61 จะมีถึง 1.2 แสนคนต่อวัน

นอกจากนี้ โครงการยังถูกนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ท้วงติงว่า ราคาแพงและล็อคสเปค ในหลายประเด็นเช่น เรื่องพื้นที่ยืน ซึ่งร.ฟ.ท.ได้เคยชี้แจงแล้วว่าทีโออาร์กำหนด6คนต่อตารางเมตรส่วนน้ำหนักกดเพลาไม่เกิน 10 คนต่อตารางเมตร ไม่ได้กำหนดพื้นที่ยืนว่า 10 คนต่อตารางเมตร ประเด็น ระบบขับเคลื่อนด้วยชุดมอเตอร์ไฟฟ้า 1ขบวน (4ตู้) จะมี 2 ชุด(หน้า,หลัง) เพื่อป้องกันการจอดตายกลางทาง และไม่ได้กำหนดว่าต้องมีความเร็ว 160 กม./ชม. เท่าเดิม ประเด็นที่ ราคาแพงโดยเปรียบเทียบกับรถของมาเลเซีย เนื่องจากรถแอร์พอร์ตลิงก์มีเสปคสูงกว่าทั้งความเร็วและมีระบบสิ่งอำนวยความสะดวกภายในตัวรถ เช่น อาณัติสัญญาณ ,CCTV ,ไวไฟ,ระบบเตือนผู้โดยสาร ,ทีวีในตัวรถ เป็นต้น

ส่วนมาเลเซียซื้อแต่ตัวรถเปล่าๆอีกทั้งรถ7ขบวน(28ตู้)เฉลี่ยอยู่ที่ 135 ล้านบาทต่อตู้ ขณะที่ รถเดิม9 ขบวนแรก (31 ตู้) ที่จัดซื้อ เดือนม.ค.48ราคาเฉลี่ยอยู่ที่149ล้านบาทต่อตู้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
Page 4 of 7

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©