Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180352
ทั้งหมด:13491586
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องจากอดีต : ทุ่งน้ำมันที่เมืองฝาง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องจากอดีต : ทุ่งน้ำมันที่เมืองฝาง

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 09/11/2006 3:27 pm    Post subject: เรื่องจากอดีต : ทุ่งน้ำมันที่เมืองฝาง Reply with quote

สวัสดีครับ ผมมีเรื่องเก่าๆ ที่ค้นได้จากวารสารรายเดือน " คนเมือง " ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 ประจำเดือน ธันวาคม 2497 โดย นิคเนม เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของการเจาะบ่อน้ำมันที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2497 โน้น ดำเนินการโดยกรมโลหกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม ในขณะนั้น ก็ติดตามดูว่า บรรยากาศในสมัยนั้น เป็นอย่างไรบ้าง ?

ขอชี้แจงไว้ก่อนนะครับว่า เนื้อเรื่อง ชื่อต่างๆ ปี พ.ศ. เป็นไปตามรูปแบบตัวสะกด และข้อมูลที่มีอยู่ในมือผู้เรียบเรียงขณะนั้น เอาไว้ให้จบเรื่องแล้ว ผมจะทำคำอธิบายเพิ่มเติมให้ครับ....

.............................

ทุ่งน้ำมันที่เมืองฝาง
ทรัพยากรของชาติจากใต้ดิน

โดย นิคเนม

ลงพิมพ์ในวารสาร คนเมือง รายเดือน ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 ประจำเดือน ธันวาคม 2497

รถยนต์โดยสารกลางเก่ากลางใหม่ที่พาเราห้อตะบึงไปตามถนนสายฝางอันยาวเหยียดเป็นเวลาร่วม 3 ชั่วโมง ได้ชะลอเครื่องปล่อยเราตรงหลักกิโลเมตรที่ 145 และจากนั่น เราก็ต้องย่ำฝุ่นไปตามทางแยก สายเชียงรายอีกประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ จึงบรรลุถึงบ่อน้ำมันฝาง ซึ่งมีอาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาล จนจรดขุนเขาลิบๆ เบื้องหน้า

ณ ที่นี้ หน่วยสำรวจน้ำมันฝางของกรมโลหกิจได้มาตั้งสำนักงานประจำอยู่ เพื่อทำการขุดค้นหา “ ทองเหลว ” ด้วยความหวังที่จะสร้าง “ อบาดาน ” แหล่งใหม่ขึ้นที่ชายแดนไทยในอนาคตอันใกล้

Click on the image for full size

ครั้งหนึ่ง ดินแดนส่วนนี้เคยเป็นถิ่นศักดิ์สิทธิ์ของประชาชนแถบเหนือ เพราะมีน้ำมันซึมขึ้นจากพื้นดินเป็นที่ประหลาด เมื่อมีผู้ทดลองใช้น้ำมันนั้นทาร่างกายที่มีบาดแผล ไม่ว่าจะเป็นแผลสด , เรื้อรัง , กลากเกลื้อน หรือความเจ็บไข้ได้ป่วย ก็หายขาดไปสิ้นอย่างน่าอัศจรรย์

กิติศัพท์น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ของเมืองฝางจึงลือกระฉ่อนไปทั่ว ประชาชนจากแหล่งต่างๆ ได้หลั่งไหลมาสู่สถานนั้นไม่ขาดสาย ชุมนุมกันทุกวันเพื่อรักษาโรคของตน แม้การเดินทางในครั้งกระโน้นแสนจะลำบาก เพราะต้องรอนแรมค้างวันค้างคืน ก็ไม่มีใครย่อท้อ

จนความทราบถึงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในสมัยนั้น จึงทรงพระกรุณาให้มีการขุดสถานที่นั้นเป็นบ่อตื้นๆ เพื่อราษฎรจะได้ใช้น้ำมันนั้นโดยสะดวก “ บ่อเจ้าหลวง ” หรือ “ บ่อหลวง ” จึงเป็นชื่อที่ประชาราษฎรสมัยนั้นเรียกกันติดปากมาจนทุกวันนี้

ต่อมา ความเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำมันวิเศษได้ค่อยๆ ซาลงไปตามกาลสมัย จนราวปี พ.ศ.2462 อันเป็นสมัยที่ได้เปิดเส้นทางคมนาคมขึ้นมาจนถึงจังหวัดเชียงใหม่ เสด็จในกรม กรมพระกำแพงเพ็ชร ผู้บัญชาการรถไฟ ได้ทรงคำนึงว่า กิจการรถไฟนับวันแต่จะเจริญก้าวหน้า ขยายอาณาเขตเดินรถขึ้นไป เรื่อยๆ หากขืนใช้ฟืนเป็นวัตถุเชื้อเพลิงสำหรับป้อนรถจักร วันหนึ่ง ป่าไม้ของไทยเราคจะถูกโค่นลงทำฟืนรถไฟจนหมดราบเรียบเป็นแผ่นดินหัวล้านแน่ๆ

เมื่อได้ทรงทราบถึงปรากฎการณ์ของน้ำมันฝาง พระองค์จึงทรงดำริที่จะดำเนินการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เพื่อใช้แทนฟืน ฉะนั้นในปีต่อมา จึงได้สั่งเครื่องเจาะสว่านที่ใช้หมุนด้วยแรงคน สามารถเจาะลึกได้ประมาณ 10 – 20 เมตร มาดำเนินการพร้อมกับว่าจ้างชาวต่างประเทศนายหนึ่ง ชื่อ นายวอล เลสลี * นักธรณีชาวอเมริกันมาสำรวจที่ด้วย แต่จะเป็นด้วยนายวอล ไม่ได้ความ หรือจะด้วยเหตุใดไม่ทราบชัด การสำรวจได้หยุดชะงักไปในปี พ.ศ.2465 โดยยังไม่ปรากฎผลอะไรเกิดขึ้น

ต่อมาในปี พ.ศ.2478 กรมเชื้อเพลิงทหารบก * ได้เริ่มงานสำรวจอีกครั้ง ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวสวิสส์ 2 คน มาดำเนินการด้วย ภายหลังที่ชาวสวิสส์ทั้ง 2 คนชื่ออะไรก็ไม่ทราบ * ทำการตรวจผิวดินและขุดบ่อตื้นๆ เปรอะไว้หลายบ่อไม่ได้ผล ประมาณเดือนเศษก็เลิกราวิ่งอ้าวกลับไปบ้านเกิด

Click on the image for full size

อีกปีหนึ่งต่อมา คือปี พ.ศ.2479 เมื่อกิจการถนนสายฝางเรียบร้อย กรมทาง * ก็ได้กระโดดเข้าดำเนินการ ตอนนี้เอาเป็นการใหญ่ แสดงโดยช่างไทยเราเอง ทำการสำรวจด้วยตา ดูชั้นดินชั้นหินเสร็จ จึงเริ่มทำการเจาะด้วยเครื่องเจาะที่สั่งจากต่างประเทศ เครื่องที่สั่งมาใหม่นี้ทันสมัยหน่อย เพราะใช้แรงเครื่องยนต์ และสามารถเจาะลึกถึง 200 เมตร ทำการเจาะตลอดแนว “ บ่อหลวง ” เป็นระยะๆ ห่างกันบ่อละประมาณ 200 เมตร จนถึงบริเวณที่กรมโลหกิจได้ทำการสำรวจอยู่ในปัจจุบัน และตอนนั้นได้พบชั้นน้ำมันด้วย

แต่เป็นที่น่าเสียดาย งานต้องหยุดชงักไปอีกครั้งหนึ่ง เพราะขาดคนชำนาญงานจริงๆ และอุปกรณ์ต่างๆ ก็ไม่มีครบ เมื่อตักน้ำมันได้ประมาณ 200 ถัง ดินทรายก็พังลงบ่อ น้ำมันเลยกลายเป็นน้ำ งานที่กำลัง เป้นล่ำเป็นสันหวังผลกันเต็มที่ ก็ปิดฉากลงดังที่ได้เป็นไปแล้ว

Click on the image for full size

จนในกลางปี พ.ศ.2492 กิจการน้ำมัน ฝาง ก็ได้ถูกโอนมาอยู่กับ กรมโลหกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม * การสำรวจและการเจาะจึงเริ่มมีชีวิตชีวา ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยกรมโลหกิจได้จัดตั้งหน่วยสำรวจน้ำมันฝางขึ้นในปีนั้น ส่งเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญงาน ประจำ ร่วมมือด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการต่างประเทศ และเริ่มงานทันที

ในปี พ.ศ.2493 กองธรณีวิทยาได้สำรวจ โดยใช้เครื่อง MEMIOGRAPH ( ไซโมกราฟท์ ? )สำรวจ และทำการถ่ายรูปทาง อากาศ สำรวจสัณฐานของชั้นหินที่ลึกลงไปในดิน สามารถเห็นบนผิวดินเป็นรูปกะเปาะน้ำมันจากภาพ และทำการสำรวจชั้นหินต่างๆ ที่ทับซ้อนเหลี่ยมกันอยู่เป็นรูปกระทะในพื้นดินที่ซ้อนชันขึ้น เพื่อหาแหล่ง กำเนิดน้ำมันจนทำแผนที่โดยเรียบร้อย กรมโลหกิจจึงได้สั่งเครื่องเจาะมาใหม่ ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกถึง 1,000 – 2,000 เมตร โดยมีเครื่องส่งน้ำโคลนลงไปหล่อลื่นสว่านยักษ์ขณะที่เจาะด้วย

ในปี พ.ศ.2494 เมื่อเครื่องเจาะมาถึง จึงได้เริ่มทำการเจาะจากริมแอ่งด้านตะวันออกที่สำรวจพบ ขยายแนวออกไปจนถึงกลางแอ่ง ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2496 จึงพบน้ำมันที่แท้จริงในบ่อที่ 6 และต่อมาในบ่อที่ 7 ได้ใช้เครื่อง BAILER ตักน้ำมันจากบ่อ เพราะเครื่องสูบยังไม่มี ได้น้ำมันแล้วร่วมสองแสนลิตร

เมื่อกลั่นแยกน้ำออกจากน้ำมันแล้ว ปรากฏว่ามีน้ำมัน DIESEL ประมาณ 30% น้ำมันเชื้อเพลิง 30% อีก 10% เป็น ASPHALT กากของมันซึ่งได้นำไปทำเป็นยางลาดถนนที่อำเภอฝางเป็นอย่างดี ส่วนน้ำมัน BENZINE ได้เปอร์เซ็นต์น้อยมาก เพราะน้ำมันฝางเป็นน้ำมันที่สกัดได้จากพืช ไม่เหมือนน้ำมันที่สกัดได้จากการสะสมตัวของสัตว์ทะเล ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ของ BENZINE มาก

แต่เป็นที่น่าเสียดาย ( อีกครั้งหนึ่ง ) ของหน่วยสำรวจน้ำมันฝางปัจจุบันนี้ ที่ความไม่สมบูรณ์ของเครื่อง มือในการผลิต งานจึงต้องชะงักลงเมื่อเดือนเมษายน ศกนี้ ได้แต่ทำการเจาะเป็นบ่อๆ ไว้แล้วปิดปากบ่อเฉยๆ รอจนกว่าเครื่องสูบจะมาถึง ขณะนี้ กำลังดำเนินการเจาะบ่อที่ 9 และกำลังสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาดกลั่นได้วัันละ 500 บาร์เร่ล ( 1 บาร์เร่ลเท่ากับ 160 ลิตร ) อยู่ โดยกลั่นได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันทุกชนิดตามแบบมาตรฐาน

กิจการของบ่อน้ำมันฝาง จึงยังคงเป็นที่หวังของเราต่อไป.


...........................

หมายเหตุเพิ่มเติม :


1. นายวอล เลสลี นามจริงคือ นายวอลเลส ลี ( Mr.Wallace Lee ) ผลการเจาะบริเวณบ่อหลวง จำนวน 2 หลุม หลุมแรกลึก 216 เมตร การเจาะขัดข้อง พบเพียงร่องรอยแก๊สธรรมชาติ อีกหลุมหนึ่ง อยู่บริเวณใกล้เคียง เจาะลึก 185 เมตร ท่อกรุขาด จึงระงับการเจาะ

2. อธิบดีกรมทาง ( ม.ล.กรี เดชาติวงค์ ) ให้ช่างกรมทางสำรวจหาปริมาณทรายน้ำมันที่อยู่ใกล้ผิวดิน ใช้แทนยางแอสฟัลต์ การสำรวจใช้เครื่องเจาะสว่านหมุนด้วยแรงคนเรียกว่า เครื่องเจาะบังก้า เจาะลึกประมาณ 10 - 20 เมตร ได้ปริมาณทรายน้ำมันประมาณ 3.8 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนั้น ยังใช้เครื่องเจาะที่สามารถเจาะได้ 200 เมตร ทำการเจาะอีกหลายหลุม พบน้ำมันในระดับความลึก ประมาณ 70 เมตร เรียกหลุมที่เจาะพบน้ำมันว่า “บ่อระเบิด” และผลิตน้ำมันออกมารวม 40,000 ลิตร พร้อมทั้งสร้างโรงกลั่นทดลองเพื่อกลั่นน้ำมันที่ได้มา แต่ขาดอุปกรณ์ ขาดความชำนาญ รวมทั้งกิจการน้ำมันมิใช่หน้าที่ของกรมทาง งานทั้งหมดจึงยุติ

3. กรมเชื้อเพลิงทหารบก เริ่มงานสำรวจ ปี พ.ศ.2480 ว่าจ้าง นักธรณีวิทยาชาวสวิส 2 นายคือ Dr.Arnold Heim และ Dr.Hans Hirchi ทำการสำรวจ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย 3 นาย ด้วยการตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาผิวดินและขุดบ่อตื้น ๆ ด้วยแรงคนหลายบ่อ เพื่อหาทิศทางการซึม ของน้ำมันขึ้นมาบนผิวดิน การสำรวจดำเนินไป ประมาณเดือนเศษ ได้เลิกล้มไป

4. กรมโลหะกิจ ( กรมทรัพยากรธรณี ในปัจจุบัน ) ดำเนินงานในปี พ.ศ.2492 - 2499 โดยใช้ชื่อหน่วยงานว่า “ หน่วยสำรวจน้ำมันฝาง ” มีคณะกรรมการทำหน้าที่รับผิดชอบอยู่ชุดหนึ่ง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ ทำการสำรวจธรณีวิทยาผิวดินและทางอากาศ สำรวจธรณีฟิสิกส์ ปี พ.ศ.2499 สั่งซื้อเครื่องเจาะชนิด Rotary เจาะได้ลึก 1,000 - 1,500 เมตร จากประเทศเยอรมนี เจาะพบน้ำมันที่ระดับความลึกประมาณ 230 เมตร บริเวณบ่อต้นขาม เรียกว่า “ แหล่งน้ำมันไชยปราการ ” ต่อมา ซื้อเครื่องเจาะขนาดเล็ก ชนิดติดตั้งบนรถยนต์จากสหรัฐอเมริกา ตลอดจนอุปกรณ์ทำหลุมสำเร็จรูป เจาะทำหลุมสำเร็จรูประดับ 200 - 300 เมตร เป็นบางหลุม ทางด้านการกลั่น ได้สร้างโรงกลั่นทดลองขนาดเล็ก ทำการกลั่นเป็นคราว ใช้น้ำมันดิบประมาณ 1,000 ลิตร ดำเนินการในระหว่างปี พ.ศ.2497 - 2499 และคณะกรรมการมีความเห็นว่า ในด้านการเจาะน้ำมัน ควรทำการ เจาะสำรวจเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านการกลั่น มุ่งในการทำแอสฟัลต์

4. โรงกลั่นน้ำมันโรงแรก ออกแบบและสร้างขึ้นโดยนายช่างไทย ของกรมโลหะกิจ และทำพิธีเปิดโรงกลั่น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2498 ได้ลงมือทดลองกลั่นในวันนั้น ปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ โรงกลั่นทดลองนี้เป็น แบบกลั่นทีละครั้ง เมื่อบรรจุน้ำมันดิบเข้าไปในหม้อกลั่นครั้งหนึ่ง ก็ทำการกลั่นไปจนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ถ่ายเอากากกลั่นในหม้อออก แล้วบรรจุน้ำมันดิบเข้าไปใหม่และกลั่นครั้งต่อไปอีก

5. ในปี พ.ศ. 2496 คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วลงมติให้กระทรวงกลาโหม ดำเนินงานขยายกิจการด้านองค์การเชื้อเพลิง ให้ครอบคลุมไปถึงพลังงานอื่น ๆ ด้วย กระทรวงกลาโหมจึงมีคำสั่ง (พ) ที่ 76/27217 เมื่อ 30 ตุลาคม 2496 ตั้ง กรมการพลังงานทหาร และ ปรับปรุงขยายกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

6. เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2499 Dr.Harold Hutton ผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียม ดูกิจการของ หน่วยสำรวจน้ำมันฝาง แล้วรายงานว่า น้ำมันดิบที่ฝางเป็นน้ำมันที่ควรกลั่นออกขายได้ และเสนอให้มีการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อตั้งโรงกลั่นขนาด 1,000 บาเรล ถ้าหากมีปริมาณเพียงพอ คณะรัฐมนตรี จึงมีมติให้โอนกิจการน้ำมันฝางจากกรมโลหกิจ ไปขึ้นกับกรมการพลังงานทหาร เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2499

..........................

ข้อมูล : กรมการพลังงานทหาร http://www.npdc.mi.th/Npdc/History_Npdc.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Mahachai
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 05/07/2006
Posts: 407
Location: ชั.

PostPosted: 09/11/2006 4:57 pm    Post subject: Reply with quote

มันยาวมากเลยครับ พี่ black_express เหอะๆ แต่สนุกดี อ่านเรื่อยๆ เพลินดีครับ ขอบคุณครับผม สำหรับ เรื่องยาวๆ นี่อ่ะครับ ... Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2007 4:23 pm    Post subject: Reply with quote

ทุ่งน้ำมันเมืองฝางนี้เองที่ทำให้ต้องตั้งกองแร่ในปี 2464 ก่อนที่จะยุบกองแร่ เมื่อ 27 ธันวาคม 2466 เพราะน้ำมันปริมาณไม่แน่นอนมิหำซ้ำเกิดอุปสรรคมากมาย อย่างที่คาดไม่ถึง Sad
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©