RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271219
ทั้งหมด:13582508
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - วิธีการสร้างล้อรถไฟ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

วิธีการสร้างล้อรถไฟ
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Serberk
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 17/07/2006
Posts: 380
Location: Burirum United

PostPosted: 09/11/2006 6:49 pm    Post subject: วิธีการสร้างล้อรถไฟ Reply with quote

เคยอ่านหนังสือเรียนวิชา วัสดุวิศวกรรม เขาบอกว่าล้อรถไฟนั้นไม่ได้ติด
เป็นชิ้นเดียวกัน ซึ่งเกิดจากการนำเอาล้อและเพลามาสวมติดกัน ดังนี้

- นำล้อไปเผาเพื่อให้เกิดการขยายตัว

- นำเพลาไปแช่นำแข็งเพื่อให้เกิดการหดตัว

จากนั้นจึงนำเอาทั้งสองมาสวมเข้าด้วยกัน จึงเป็นล้อรถดังที่เห็น


****** ไม่รู้ว่าที่ผมเขียนมาจะถูกต้องหรือเปล่า ยังไงถ้าไม่ถูกก็ช่วยเผยความลับให้ทราบด้วยนะครับ จะขอบคุณมาก******
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Derail
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/07/2006
Posts: 69

PostPosted: 09/11/2006 7:48 pm    Post subject: Reply with quote

ใช่แล้วครับ แต่ผมเข้าใจว่า ไม่ได้เผาจนแดงเพราะจะทำให้เหล็กเสียคุณสมบัติไป เขาจะอุ่นให้ร้อนประมาณ 150-200 องศาด้วยไฟแก๊สหรือ Induction heater ใช้เครื่องอัดไอโดรลิคอัดทั้งสองชิ้นให้ติดกันแน่น หรืออาจะอัดชิ้นล้อให้ติดกับเพลาในขณะที่เย็นด้วยเครื่องอัดไฮโดรลิคก็ได้ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Serberk
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 17/07/2006
Posts: 380
Location: Burirum United

PostPosted: 09/11/2006 10:44 pm    Post subject: Reply with quote

Idea Idea ขอบคุณที่ช่วยเสริมความมั่นใจในสิ่งที่รู้มาครับ Idea Idea
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 09/11/2006 11:52 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดมากและอยู่ในโครงการทำสกู๊ปพิเศษของผมด้วยเช่นกัน แม้ว่าล้อรถไฟจะมีรูปร่างค่อนข้างง่ายๆ แต่ชิ้นส่วนเหล่านี้จะถูกใช้งานในรูปแบบที่สลับซับซ้อนต่อสภาพการใช้งานตามสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น แรงสั่นสะเทือนในขณะที่รถวิ่ง , น้ำหนักที่กดลงในแนวตั้ง , แรงผลักตามแนวนอน , แรงบิดที่เกิดจากการห้ามล้อเพื่อให้รถหยุด , อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นต้น


ล้อรถไฟ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.ล้อรีดทึบ มีส่วนประกอบ คือ ล้อ และ เพลา

2.ล้อมีปลอก มีส่วนประกอบ คือ ปลอกล้อ , แว่นล้อ , แหวนบังคับปลอกล้อ และเพลา

ดังที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้นแล้วว่า เรื่องนี้มีรายละเอียดมาก คาดว่าหลังปีใหม่ไปแล้วคงจะสามารถรวบรวมเอาข้อมูลและภาพประกอบมาศึกษาได้มากกว่านี้ครับ ตอนนี้เอาเป็นว่าเรื่องของอุณหภูมิที่เกี่ยวข้องในการให้ความร้อนแก่ปลอกล้อเพื่อให้เกิดการขยายตัวจนมีขนาดใหญ่กว่าแว่นล้อนั้น จะแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ช่วงให้ความร้อนในอุณหภูมิต่ำ ( 100 - 230 องศาเซลเซียส ) และ ช่วงให้ความร้อนในอุณหภูมิสูง ( 400 - 550 องศาเซลเซียส ) แต่ยังไม่ถึงจุดเปลี่ยนตัวล่าง หรือ Lower Critical Temperature
สำหรับขั้นตอนนั้นจะซับซ้อนกว่านี้และใช้อุณหภูมิความร้อนในแต่ละขั้นตอนที่แตกต่างกันไปอีก ซึ่งจะขอกล่าวต่อไปในภายหลังเมื่อทำสกู๊ปเสร็จแล้ว

อีกอย่าง สำหรับรถไฟไทยนั้น ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแล้ว ขนาดความโตของแว่นล้อจะมีมากกว่าปลอกล้อแค่ 1.05 มิลลิเมตร เพื่อให้มีความยึดเหนี่ยวระหว่างปลอกล้อกับแว่นล้อได้ดี
Back to top
View user's profile Send private message
Serberk
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 17/07/2006
Posts: 380
Location: Burirum United

PostPosted: 10/11/2006 3:35 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคูณนะครับ

ผมจะรอสกู๊ปเต็มนะครับ Razz Razz
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
nuttakarn
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 252

PostPosted: 07/02/2009 1:45 am    Post subject: Reply with quote

Derail wrote:
ใช่แล้วครับ แต่ผมเข้าใจว่า ไม่ได้เผาจนแดงเพราะจะทำให้เหล็กเสียคุณสมบัติไป เขาจะอุ่นให้ร้อนประมาณ 150-200 องศาด้วยไฟแก๊สหรือ Induction heater ใช้เครื่องอัดไอโดรลิคอัดทั้งสองชิ้นให้ติดกันแน่น หรืออาจะอัดชิ้นล้อให้ติดกับเพลาในขณะที่เย็นด้วยเครื่องอัดไฮโดรลิคก็ได้ครับ


เรื่องวิธีการทำล้อรถไฟเนียไม่แน่ใจแต่ถ้าเผาเหล็กให้แดงเลยเส้น AC2(723C) หรือช่วงแกมม่าและไม่นานเป็นชั่วโมงๆเนี่ยและไม่เอาน้ำไปสาดใส่หรือจุ่มลงในน้ำ ผมว่าเหล็กไม่น่าจะเปลี่ยนโครงสร้างนะ เพราะว่าเหล็กหล่อที่ใช้ทำล้อรถไฟนั้นคือเหล็กหล่อสีขาวรหัสคือGTW ก่อนจะนำมาใช้งานมันต้อง Temper เพื่อจัดเรียงโครงสร้างให้มัน

คุณสมบัติของมันนั้นเมื่อหล่อออกมาแล้วจะแข็งเปราะ การที่จะทำให้คุณสมบัติเป็นไปตามต้องการคือ Tempering ที่ ประมาณ 1000 C 80 Hr แล้วปล่อยให้เย็นตัวลงในบรรยากาศอีก 20 Hr รวม 100 Hr รวมแล้วประมาณ 4 วัน

Click on the image for full size
Click on the image for full size
[img=http://img26.imageshack.us/img26/7299/fecab3.gif]
[img=http://img26.imageshack.us/img26/fecab3.gif/1/w504.png]

แกน X คือเปอร์เซ็นคาร์บอน แกน Y ขวาคืออุณหภูมิองศาเซลเซียส

เหล็กหล่อขาวหรือGTW นั้นเปอร์เซ็นอยู่ที 2.9-3.4% Heat up ถึง 1150 ถึงจะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นของเหลวซึ่งตางจากเหล็กกล้าคาร์บอนที่จะมีช่วงเป็น liquid+solid
และอีกอย่างคือเหล็กทุกชนิด Temp Start up ที่ ประมาณ 400-500 C

ส่วนที่กล่าวเรื่องการบำบัดความร้อนหรือHeat Treatment แบบ Induction นั้นเป็นการชุบผิวแข็งของกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอนซึ่งก็ต้องเลยเส้น AC2 คือ 723 องศาอยู่ดี

ณัฐกานต์ อุดมเดชาณัติ
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 09/02/2009 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

เรียน อ.ณัฐกานต์...มีข้อสงสัย เกี่ยวกับเรื่องเหล็ก คงฝาก ให้ อ. ณัฐกานต์ มาเพิ่มเติมให้ด้วยครับ

กรณีการเกิดโพรง ในเนื้อเหล็กหล่อ จะอยู่ระหว่างกระบวนการผลิตช่วงไหนครับ
และปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้การตรวจสอบ กี่ขั้นตอน และใช้เครื่องมืออะไรบ้าง

เพราะเป็นเรื่องที่ เวลาเกิด อุบัติเหตุ มักจะมีการเปิดประเด็นเรื่องมีนอกมีใน ทั้ง ๆ ที่
สาเหตุอาจเกิดจากความบกพร่องจากกระบวนการผลิด และค่ามาตรฐาน ประกอบการจัดซื้อใช้ค่ามาตรฐานไหน

ที่สำคัญคือเราไม่รู้ว่ารถไฟในบ้านเรายึดมาตรฐาน จากญี่ปุ่น สหรัฐ หรือกลุ่มประเทศ ใน EU เป็นบรรทัดฐานหรือไม่
ถ้าลองเอามาตรฐานประเทศที่กล่าวข้างต้น มาเทียบกับมาตรฐานของกลุ่มสหภาพโซเวียด หรือจีน

ค่าทางเคมี หรือค่าทางกล ค่อนข้างห่างกัน เอาเรื่อง ครับ (จากประสบการณ์ ตอนที่ทำงานเกี่ยวโรงงานที่ใช้เหล็กแผ่นม้วนทั้งรีดร้อนและรีดเย็น)
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
nuttakarn
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 252

PostPosted: 12/02/2009 12:02 am    Post subject: Reply with quote

nathapong wrote:
เรียน อ.ณัฐกานต์...มีข้อสงสัย เกี่ยวกับเรื่องเหล็ก คงฝาก ให้ อ. ณัฐกานต์ มาเพิ่มเติมให้ด้วยครับ

กรณีการเกิดโพรง ในเนื้อเหล็กหล่อ จะอยู่ระหว่างกระบวนการผลิตช่วงไหนครับ
และปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้การตรวจสอบ กี่ขั้นตอน และใช้เครื่องมืออะไรบ้าง

เพราะเป็นเรื่องที่ เวลาเกิด อุบัติเหตุ มักจะมีการเปิดประเด็นเรื่องมีนอกมีใน ทั้ง ๆ ที่
สาเหตุอาจเกิดจากความบกพร่องจากกระบวนการผลิด และค่ามาตรฐาน ประกอบการจัดซื้อใช้ค่ามาตรฐานไหน

ที่สำคัญคือเราไม่รู้ว่ารถไฟในบ้านเรายึดมาตรฐาน จากญี่ปุ่น สหรัฐ หรือกลุ่มประเทศ ใน EU เป็นบรรทัดฐานหรือไม่
ถ้าลองเอามาตรฐานประเทศที่กล่าวข้างต้น มาเทียบกับมาตรฐานของกลุ่มสหภาพโซเวียด หรือจีน

ค่าทางเคมี หรือค่าทางกล ค่อนข้างห่างกัน เอาเรื่อง ครับ (จากประสบการณ์ ตอนที่ทำงานเกี่ยวโรงงานที่ใช้เหล็กแผ่นม้วนทั้งรีดร้อนและรีดเย็น)


เรียนพี่ Nuthapong

ผมไม่อาจเอื้อมตำแหน่งนี้จริงๆครับ ผมไม่ได้เป็นอาจารย์ ตอนนี้ทำงานเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ที่เดียวกับพี่วิศรุต
ตอบพี่เรื่องแรกเรื่องโพรงเหล็กหล่อเนี่ย ปัญหามันเกิดตั้งแต่ต้นเลยครับ ตั้งแต่การหลอมเหล็ก การออกแบบกระสวนหล่องานนั้นๆ ซึ่งสิ่งบกพร่องเราจะแบ่งเป็นหลักๆเท่าที่ทราบ คือ
1.ฟองก๊าซ(GasGavity)อาจจะเกิดจากการออกแบบหล่อไม่ดีเมื่อน้ำเหล็กเทเข้าแบบหล่อแล้วจะฟองอากาศอยู่ในเพื่อป้องกกันการเกิดแก๊ซCO (FeO+C------>Fe+CO)จำเป็นต้องเติมสารลดอ็อกซิเจน(Deoxidiser)อย่างพวกอลูมิเนียมช่วยเสริมทำให้จำนวนอ็อกซิเจนลดลงอย่างมาก
2.สารผังใน(Inclusion)เช่นซัลเฟอร์หรือออกไซต์ต่างๆจะฝังอยู่ในเนื้อเหล็กจะอันตรายอย่างยิ่งเมื่อเอาเมื่อนำไปใช้งานจริง
3.การแยกตัวของสาร(Segregation)งานหล่อที่มีขนาดใหญ่หรือมีความหนามากๆเมื่อไม่ใช้สารลดอ็อกซิเจนตามข้อ1 งานหล่อนั้นส่วนมากจะพบที่ใจกลางของงานจะทำให้ค่าความต้านแรงดึงน้อยลงอย่างมาก และที่สำคัญกับรถไฟเลยคือค่าความยืดตัวหรือค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัว
4.การแยกตัวบริเวณหดตัวของแท่งหล่อออกไม่หมดแท่งหล่อเนื้อแน่นบางครั้งอาจไม่มีการหดยุบตัวที่ด้านบนของแท่งหล่อเท่านั้นอาจจะมีการหดเป็นช่องยาวเข้าไปในแท่งหล่อ (Secondary Pipe)
สรุปสิ่งพกพร่องในงานโลหะวิทยานั้นแบ่งเป็น บกพร่องภายในและภายนอก
ส่วนงานหล่อล้อรถไฟนั้นตัวแปรที่สำคัญๆคือ
1.จุดหลอมตัวของเหล็ก เหล็กหล่อขาวนั้นน่าจะประมาณ 1300 C
2.ขนาดและรูปร่างชิ้นงาน
3.เงื่อนไขการเย็นตัว
4.คุณสมบัติของวัสดุแบบหล่อตัวนี้ก็น่าคิดในกรณีที่ซื้อล้อรถไฟจากจีนไม่รู้ว่าโลหะวิทยาเค้าสู้ทางตัวจริงเสียงจริงอย่างอเมริกาหรือญี่ปุ่นได้รึเปล่า

เรื่องการตรวจสอบนั้นแน่นอนว่าการรถไฟเรานั้นจะต้องพึงพาการตรวจสอบแบบไม่ทำลายแน่นอนซึ่งเราเรียกว่า NDT(Nondestructive Test)
1.VT(Visual Inspection) ชื่อก็บอกว่าใช้สายตานั่นเลยดูว่าผิวงานนั้นๆบกพร่องรึเปล่า
2.PT(Penetrant Testing) สารแทรกซึมใช้สเปร์ฉีดทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วเช็ดออกเพื่อดูสิ่งบกพร่องที่ผิว
3.MT(Manetic Particle Testing) ใช้เส้นแรงแม่เหล็กขนาดกับ Defect ของงานที่จะตรวจสอบ
4.UT(Ultrasonic Testing)พระเอกของเราทีจะกล่าวถึง
5.RT(Radiographic Testing)ใช้รังสีพวกงานเชื่อมจะใช้กันมาก
6.ET(Eddy Current Testing)กระแสวนเพื่อหา defect ใช้กันมากกับงาน Turbine ต้องการความชำนาญสูงและโดน limit ที่ความหนา

พอจะทราบวิธีการทดสอบไปแล้ว1,2,3และ 6จะเป็นแค่ผิวชิ้นงานและอาจจะหนาไม่มากมาที่การทดสอบแบบUTรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินใช้เครื่องนี้ทดสอบล้อและรางเพื่อหาร่องรอยสิ่งบกพร่องทั้งในล้อรถและรางรถไฟ
หลักการทำงานนั้นคือ คลื่นเสียงความถี่สูง Frequency > 20,000 Hz มีคุณสมบัติสามารถเคลื่อนที่เข้าไปในวัสดุได้ โดยมีทิศทางเป็นแนวตรงถ้ากระทบตั้งฉากกับผิวของสิ่งบกพร่องภายในวัสดุ หรือผิวหลังชิ้นงาน คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมายังต้นกำเนิดเสียง ถ้าสามารถทำการวัดเวลาเดินทางของเสียงที่วิ่งไปและกลับได้รวมทั้งทราบความเร็วที่เสียงวิ่งในตัวกลางนั้น ก็สามารถคำนวณระยะทางที่คลื่นเสียงเดินทางได้
หลักการนี้นำมาใช้ในการตรวจสอบอุลตร้าโซนิค

เรื่องที่สอง เรื่องค่ามาตรฐานในกระบวนการผลิต ถ้าเจาะจงพูดเรื่องนี้เนี่ยต้องยอมรับว่าต้องยอมรับไปเลยว่าเท่ากัน(มันควรจะเท่ากัน)สมมุติว่า

มีเหล็กมาตรฐานที่1 บอกว่าสูตรผสมทางเคมีคือ 0.50C Si0.10 Mn0.60 P0.045Max S0.050Max
ทางจีนทำเหล็กได้ตามสูตรนี้ทางหลักวิศวกรรมนั้นถือว่า ค่าความต้านแรงดึง ค่าความยืด ค่าทั้งหมดนี้ได้ตามสเปค แต่พอเอาไปใช้งานจริงนั้นอีกเรื่อง ตอนนี้ในมือมีมาตรฐาน JIS E1101 แต่อ่านแล้วยังงงๆอยู่
ตลอดจนผมไม่รู้จริงๆว่าเรายึดมาตรฐานของประเทศไหน ไว้วันศุกร์ที่ 13 (ผมจะเป็นอะไรรึเปล่าเนี่ยศุกร์13) ผมทำรายงานเรื่องการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ของรถไฟจะเข้าไปที่ รจ.บางซื่อ ถ้าได้ข้อมูลยังไงจะมาเล่าสูกันฟัง

อ้อลืมเล่าไปว่าทาง Airport link เนี่ยเค้ากำลัง Set program ที่จะให้ ผศ.สมนึก วัฒนศรียกุล ไปอบรมเรื่อง UT ให้การรถไฟซึ่งผมบอกอาจารย์ท่านไปแล้วว่าขอไปด้วย ถ้าเข้าไปแล้วมีคำตอบตรงนี้ผมจะรีบเอามาเล่าสู่กันฟังครับ

ปล.ขอโทษด้วยที่ไม่มีรูปประกอบเพราะกล้องถ่ายรูปอยู่กับน้องแฟน

ณัฐกานต์ อุดมเดชาณัติ
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 13/02/2009 11:15 pm    Post subject: Reply with quote

อ่า... คุณณัฐกานต์ ครับ

Quote:
ตั้งแต่การหลอมเหล็ก การออกแบบกระสวนหล่องานนั้นๆ ซึ่งสิ่งบกพร่องเราจะแบ่งเป็นหลักๆเท่าที่ทราบ คือ
1.ฟองก๊าซ(GasGavity)อาจจะเกิดจากการออกแบบหล่อไม่ดีเมื่อน้ำเหล็กเทเข้าแบบหล่อแล้วจะฟองอากาศอยู่ในเพื่อป้องกกันการเกิดแก๊ซCO (FeO+C------>Fe+CO)จำเป็นต้องเติมสารลดอ็อกซิเจน(Deoxidiser)อย่างพวกอลูมิเนียมช่วยเสริมทำให้จำนวนอ็อกซิเจนลดลงอย่างมาก


ตรงกระบวนการนี้ ที่เข้าไปอ่านที่เวบสถาบันเหล็ก และเจอกูรู เรื่องเหล็ก เขาเล่าว่า แต่ะเป็นใคร ขอละไว้ก่อน ขอรับ

ถ้าเป็นโรงงานผลิตเหล็กที่สร้างในช่วงปีปลาย คศ 1995 - 2007 (หรือปรับปรุง ส่วนใหญ่ก็ค่าย คุณลักษมี.....ที่แกเคยมาเมืองไทย เมื่อปีก่อนโน้น
ค่ายนี้จะมีการพัฒนาของเตาหลอมที่ลดการเกิดฟองก๊าซ โดยเฉพาะ โรงงานขนาด Mini Mill ซึ่งถือเป็นการปฎิวัติกระบวนการผลิตเหล็ก
แต่ การลงทุนแบบนี้เท่ากับเป็นการโละกระบวนการผลิตในแบบเดิม ๆ นำมาใช้ที่เมืองจีน กับ กลุ่มประเทศยุโรบตะวันออกและรัสเซียเดิม

ซึ่งประเทศเหล่านี้ต้นทุนทางพลังงาน ที่รัฐอุดหนุน ทำให้ราคาเหล็กถูกกว่าทางยุโรบและญี่ปุ่น............พาเป๋ ไปอีกแล้ว อะครับ

ส่วนเรื่องการตรวจสอบ
ในกรณีข้อ 5 มีข้อจำกัด ไม่แน่ใจว่าเครื่องทดสอบแบบนี้ในบ้านเรา มีที่สถาบันไหนบ้าง

ในการทำสัญญา ในเรื่องการรับรองคุณภาพ ส่วนใหญ่ จะล้อตาม Mill Certificate และอ้างอิงตามมาตรฐาน ที่ผู้ขายกำหนด

แต่ ลองทดสอบตาม Mill กับมาตรฐาน ว่าเป็นไปตามมาตรฐานเมื่อไหร่
ยิ่งทดสอบโดยบริษัทกลาง เช่นพวก Omic ที่อยู่ต่างประเทศ และสถาบันที่รับทดสอบ ในบ้านเรา ไม่ค่อยมั่นใจ ครับ แต่บางทีผลที่ออกมา มีเฮ แต่คนตรวจรับจะเฮด้วยหรือไม่

ไม่เกี่ยวกับผม เน้อ
-------------------------------------------------------------------------------------
กรณีมาตรฐานที่เกี่ยวกับระบบราง ไม่มั่นใจว่าในบ้านเรา เครื่องมือทดสอบมีครบหรือไม่

(เชิญกูรู อย่างพี่มิ้งหรือ อ.กิตติ ถ้าว่างช่วยมาแนะนำด้วยขอรับ)

----------------------------------------------------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
nuttakarn
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 252

PostPosted: 14/02/2009 2:30 pm    Post subject: Reply with quote

ตามที่พี่nathapongว่าถ้าได้ผู้รู้จริงจากสถาบันเหล็กเป็นคนแนะนำก็ต้องเชื่อผู้ที่มีประสบการณ์ เพราะของผมเนี่ยเอาความรูจากตอนเรียน ปวส สายช่างกลโรงงาน เมื่อปี 41-42 มาเล่า

ส่วนเรื่อง RT นั้น ส่วนมากงานเชื่อมนั้นจะใช้เป็นส่วนมากเพราะหลักการเดียวกันกับที่เวลาเราจะเข้าศึกษาต่อนั้นเค้าจะให้เรา X-ray เพื่อหาโรคติดต่อจากปอด งานเชื่อมนั้น defect ก็เหมือนวัณโรค ฉายปุ๊บล้าง film เห็นทันทีเก็บเป็นเอกสารถาวรไว้กำกับได้อีกต่างหากข้อเสียราคาแพงทั้งเครื่องและน้ำยาล้าง เข้มงวด ไม่รู้ว่า Defect ลึกตื้นขนาดไหน และสุดท้ายจำกัดด้านความหนา ส่วนเรื่องที่ไหนมีบ้างที่รู้ อย่าง THAI NDT ผมรู้จักเจ้าเดียวถ้าอยากรู้คงต้องรบกวนพี่nathapongสอบถามจาก ปส(สำนักงานปรมณูเพื่อสันติ ตรงมหาวิทยาลัยเกษตร) เพราะใครจะนำเข้าเครื่องที่มีสารกำมันตภาพรังสีจะต้องข้ามศพพี่แกไปก่อน

ว่าถึงเรื่องสารกำมันตภาพรังสีเมื่อเทอมที่แล้วเรียน โลหะวิทยากับ รศ.สมนึก ท่านเล่าว่า ไอ้สาร Cobolt คนใน ปส เล่าให้ฟังว่าโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใช้จนมันไม่มีพลังงานพอทีจะ x-rayได้ จึงได้โทรตามบริษัทที่นำเข้าเอาไปเก็บทำลายตามกฎระเบียบการใช้สารกำมันตภาพรังสี บริษัทดังกล่าวเก็บ Cobolt ไว้ในโกดังเปล่าๆโล่งๆ(กะว่ามีมากๆจะส่งกลับไปทำลายทีเดียวพร้อมกัน) ทีนี้ยามกับซาเล้งเนียมันมีธุรกิจคู่ค้ากันอยู่ แล้วไอ้ซาเล้งเนี่ยมันเก่งขนาดแยกทุกอย่างจนไปถึงแกนกลาง

เรื่องเครื่องตรวจสอบรางเนี่ยตอนเรียนอาจารย์ท่านไม่ได้บอกด้วยว่าไอ้เครื่อง Ultrasonic ที่ไปอบรมให้ BTS และ รถใต้ดิน เนี่ยเค้าเอามาตรวจรางด้วยรึเปล่า

ขอบคุณครับ
ณัฐกานต์ อุดมเดชาณัติ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©