RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271389
ทั้งหมด:13582678
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 313, 314, 315 ... 474, 475, 476  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2018 9:54 am    Post subject: Reply with quote

เล็งสร้าง ICD แห่งที่2 "เชียงรากน้อย"
อังคารที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 17.20 น.

สั่งรฟท.รวมแผนแก้ปัญหาจราจรบริเวณ ICD ลาดกระบัง พร้อมไฟเขียวให้เอกชนรายใหม่ประมูลบริหารจัดการสถานี เล็งสร้างICDแห่งที่2 เชียงรากน้อย ลดแออัด



 นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD ) ลาดกระบัง ว่า กระทรวงคมนาคมได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรถไฟแห่งประไทย(รฟท.) กรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท(ทช.) กรมการขนส่งทางบก(ขบ.)มาหารือกรณีที่คณะอนุกรรมาธิการ
ศึกษาด้านโลจิสติกส์ ในคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งมี พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เป็นประธาน ขอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเขตICD ลาดกระบัง โดยที่ประชุมมอบหมายให้รฟท.ไปจัดทำข้อมูลลักษณะกายภาพ รวมถึงแผนงานและโครงการแก้ไขปัญหาจราจร ในเขตICDลาดกระบัง เพื่อเตรียมชี้แจงคณะอนุกรรมาธิการศึกษาด้านโลจิสติกส์ ในวันที่ 9พ.ค.นี้
 
รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ขอให้รฟท.เร่งรัดดำเนินการจัดหาผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาบริหารจัดการ ICD ลาดกระบัง โดยเร็วที่สุด เนื่องจากล่าสุดศาลมีคำสั่งให้ผู้รับสัมปทานเดิม 6 ราย ที่ไม่มีการลงทุนจัดการอุปกรณ์ยกรถและขนสินค้า เพื่อการบริหารจัดการในพื้นที่สถานี หมดสิทธิ์ในการบริหารจัดการสถานีแล้ว ทั้งนี้กำหนดให้ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องมีการลงทุนด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์ยกรถและขนสินค้า เพื่อให้มีขีดความสามารถรองรับการขนสินค้าได้จาก1.4 แสนที.อี.ยู เป็น 1.6 แสน ที.อี.ยู พร้อมให้เพิ่มสัดส่วนการขนสินค้าทางรางจากเดิม 30% และทางรถยนต์ 70 % เป็น ทางรถไฟ50% และทางรถยนต์ 50% เพื่อลดความแออัดบริเวณICDลาดกระบัง อีกทั้งให้ รฟท.ศึกษาICD แห่งที่ 2 บริเวณเชียงรากน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโรงงานจำนวนมาก เพื่อกระจายการขนส่งสินค้าไม่ต้องแออัดเฉพาะที่ลาดกระบัง

นอกจากนี้ให้รฟท.ทำแผนที่จอดรถบริเวณหน้า ICDลาดกระบัง เนื่องจากปัจจุบันมีรถบรรทุกสินค้ามาจอดจำนวนมาก ทำให้จราจรแออัดตั้งแต่หน้าสถานี ถึงถนนร่มเกล้า และติดขัดต่อเนื่องถึงถนนมอเตอร์เวย์ รวมถึงให้ รฟท.เร่งพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อให้สามารถติดตามการขนส่งสินค้าที่กระจายออกจากICD ไปตามเส้นทางต่างๆ ได้ทั้งรถไฟ รถบรรทุก จนถึงปลายทางที่ท่าเรือแหลมฉบัง(ทลฉ.) สำหรับในส่วนของทล.อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์) สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี ช่วงศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อแยกการจราจรของรถที่ต้องการไปสนามบินกับรถที่วิ่งทั่วไปหรือรถที่วิ่งเข้า ICD ลาดกระบัง คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2018 1:17 am    Post subject: Reply with quote

สหภาพฯรถไฟ ค้านตั้งบ.ลูกเดินรถ-ซ่อมบำรุง หวั่นองค์กรแตกแยก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 เมษายน 2561 19:29 น.

สหภาพฯรถไฟ พบ”อาคม-ไพรินทร์”เร่งแก้ปัญหา ขาดแคลนพนักงาน ค้านตั้งบริษัทลูก เดินรถและซ่อมบำรุง หวั่น ทำให้องค์กรแตกแยก ยังติงพ.ร.บ.กรมรางฯ หวั่นนำไปสู่การแปรรูป และเร่งซื้อรถใหม่แก้ปัญหาแอร์พอร์ตลิงก์ ด้าน”ไพรินทร์”รับลูก พร้อมชงคนร.แยกบัญชีเดินรถแทนตั้งบ.ลูกฯ ขณะที่ ยันเอกชน 3 สนามบินพร้อมซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เข้าพบ ว่า สหภาพฯ ได้หารือหลายประเด็นโดย เร่งเพิ่มอัตรากำลัง โดยปลดล็อคมติครม.ที่จำกัดการเพิ่มจำนวนพนักงานแต่ละปีไว้ที่ 5 % จากผู้เกษียณอายุ ซึ่งหากไม่เร่งแก้ไข จะทำให้เกิดปัญหาหนักเมื่อรถไฟทางคู่ก่อสร้างเสร็จ นอกจากนี้ยังกังวลว่า พ.ร.บ.การขนส่งทางราง จะนำไปสู่การแปรรูป ซึ่งเรื่องดังกล่าว กระทรวงคมนาคมได้ยืนยันชัดเจนว่า จะไม่มีการแปรรูปรถไฟฯ แต่อย่างใด โดยพ.ร.บ.การขนส่งทางราง จะทำให้มีระบบ regulator เช่นเดียวกับการขนส่ง ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ ที่มีการออกใบอนุญาต เช่น คนขับรถไฟ มีใบอนุญาต สามารถย้ายไปทำงานเอกชนได้ โดยมีคุณภาพตามมาตรฐานเดียวกัน เพราะปัจจุบันระบบรางมีการขยายตัวมาก ซึ่งทำให้ภาคเอกชนต่าง พยายามพัฒนา ตัวเอง

สำหรับการตั้ง บริษัทลูกนั้น สหภาพฯ เห็นด้วยกับแนวทางตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ยังคัดค้านการตั้งบริษัท เดินรถ และบริษัท ซ่อมบำรุง และเห็นว่าควรแยกเป็นฝ่าย หรือแผนกเดินรถ หรือแผนกซ่อมบำรุงมากกว่า เพื่อไม่ให้แยกออกจากรถไฟฯ ซึ่งอาจจะเป็นการมองต่างมุม เพราะ องค์กรที่มีพนักงาน 2-3 หมื่น หากจะอยู่ภายใต้ ซีอีโอคนเดียวที่ต้องดูทุกเรื่อง ทุกด้านอาจจะทำให้การบริหารงานไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการแยกเป็นบริษัทย่อย จะทำให้ให้สามารถคัดสรร ผู้บริหารที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน และมีข้อดี ที่จะทำให้โครงสร้างเล็ก มีตำแหน่งเพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงฯ เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ของรถไฟโดยตรง

นายไพรินทร์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ตนได้ร่วมทำแผนฟื้นฟู ซึ่งได้เสนอให้แยกบัญชีการเดินรถและการซ่อมบำรุงแต่ละสาย เช่น สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายใต้ สามารถตรวจสอบตัวเลขและแข่งขันกันเองได้ ขณะที่การแยกเป็นบริษัทลูก เป็นข้อเสนอของคนร. ซึ่งขณะนี้แผนฟื้นฟูยังอยู่ระหว่างการทบทวน และสามารถเสนอขอเปลี่ยนวิธีการได้ ซึ่งการแยกบัญชีเป็นสายๆ จะคล้ายญี่ปุ่นที่แยกเดินรถ เป็น สาย JR West ,JR East และทำให้มีกำไร โดยคนร.จะมีการประชุมปลายเดือนพ.ค.นี้

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอในการยกระดับและพัฒนาโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ เพื่อรองรับอนาคต และสร้างมาตรฐานบุคลากรรถไฟ ที่จะต้องพัฒนาพัฒนาการเรียนการสอนจาก รถจักรดีเซล ไปสู่ รถไฟฟ้าด้วย เนื่องจากปัจจุบัน ยังต้องส่งพนักงานด้านรถไฟฟ้าไปอบรมที่ บริษัทผู้ผลิตหรือบริษัท ขายรถไฟฟ้า

*****“ไพรินทร์”เผยผู้บริหาร 3 สนามบินพร้อมซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ใหม่

ส่วนของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์นั้น ได้ขอให้เร่งซื้อรถใหม่ 7 ขบวน ซึ่งเรื่องนี้ มีมติครม.อนุมัติไว้แล้วเมื่อธ.ค. 2556 แต่ตนเห็นว่า หากรถวิ่งได้ 6 ขบวน สำรอง 1 ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ ซึ่งจริงๆ มีรถถึง 9 ขบวนปัญหาของแอร์พอร์ตลิงก์คือ การซ่อมบำรุง หากซื้อรถใหม่ แต่ซ่อมแบบนี้ ซื้อมาเกรงจะมาจอดอีก อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจะรับโอนแอร์พอร์ตลิงก์ไป ซึ่งมีผู้จะเข้าประมูลหลายรายเห็นว่า พร้อมซื้อรถใหม่ แต่ตอนนี้ควรเร่งซ่อมก่อนเพื่อรักษาผู้โดยสารที่มีกว่า 7หมื่นคนไว้ เพราะในช่วงก่อสร้าง 3-5 ปี ผู้บริหาร 3 สนามบินจะมีรายได้จากการเดินรถ แอร์พอร์ตลิงก์นี้ แต่ก็เป็นไปได้ที่จะ คุยกับเอกชนหากรัฐซื้อรถได้เร็วจะซื้อแล้วให้เอกชนรับต่อ แต่ตอนนี้ 3 สนามบิน TOR ใกล้ออกแล้วต้องดู ใครซื้อจะเร็วกว่ากัน

นอกจากนี้ สหภาพฯ ขอให้รัฐบาลช่วยเจรจาและแก้ปัญหา ที่ดินเขากระโดง จ. บุรีรัมย์ ขนาด 5,000 กว่าไร ที่ศาลฎีกามีคำสั่งแล้วให้เป็นที่ดินของรถไฟแล้ว เพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับรถไฟ ซึ่งกระทรวงรับเรื่องไว้แล้ว

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯรถไฟ กล่าวว่า แม้ยืนยันว่าไม่มีการแปรรูป แต่ยังกังวลว่าบางมาตราอาจจะเขียนให้รถไฟ เสียสิทธิ์ในบางเรื่องบางประเด็น ซึ่งได้ขอให้หารือกันก่อน จะสรุปเพื่อให้สบายใจทุกฝ่าย หากไม่แปรรูปแน่นอน ก็จะเร่งเดินหน้าต่อไป ส่วนการตั้งบริษัทลูกเดินรถและซ่อมบำรุงนั้น อาจไม่เหมาะสม และเห็นว่ารถไฟควรเป็นองค์กรเดียว ไม่ควรแยกจากกันซึ่งการบริหารสามารถปรับปรุงหารูปแบบอื่นที่เหมาะสมได้

ส่วนปัญหาพนักงานและลูกจ้างไม่เพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันมี 10,309 อัตรา ยังขาดอีก 7,800 กว่าอัตรา เป็นในส่วนพนักงานกว่า 7,000 คน ลูกจ้าง 145 คน ทำให้ต้องมีการจ้างลูกจ้างแบบรายวันนอกกรอบ เข้ามาทำงาน ไม่มีระบบเบิกจ่าย ไม่มีสัญญา เมื่อมีการทำงานเกินเวลาจะไม่สามารถเบิกอะไรได้เลย เป็นการจ้างงานที่ไม่ชอบ ซึ่งหน่วยงานรัฐไม่ควรทำแบบนี้ ดังนั้นหากปลดล็อคมติครม.ได้จะทำให้การจ้างงานเข้าสู่ระบบ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/04/2018 7:52 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สหภาพฯรถไฟ ค้านตั้งบ.ลูกเดินรถ-ซ่อมบำรุง หวั่นองค์กรแตกแยก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 เมษายน 2561 19:29 น.

สหภาพรถไฟพบบิ๊กคมนาคม ค้านแผนฟื้นฟูตั้งบริษัทลูก พร้อมขอเพิ่มบุคลากร 5 พันคน
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 25 เมษายน 2561 - 23:30 น.

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลัง นายสาวิตต์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้าพบว่า สหภาพ รฟท. ต้องการเร่งรัดให้กระทรวงคมนาคม ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำหนดให้ รฟท. สามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มได้ 5% จากพนักงานที่เกษียณอายุในแต่ละปี ให้สามารถเพิ่มจำนวนบุคลากรรถไฟได้ 4,000-5,000 คน จากที่ปัจจุบันขาดแคลนอยู่ 7,000 คน เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมือง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ และแสดงความเป็นห่วง การจัดตั้งกรมราง อาจจะนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคตได้ ซึ่งกระทรวงยืนยันว่าจะไม่มีการแปรรูป รฟท. แน่นอน

นอกจากนั้น ยังคัดค้านการตั้งบริษัทลูก คือ จัดตั้ง บริษัท การเดินรถ และ บริษัท ซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน ตามแผนฟื้นฟูกิจการของ รฟท. เพราะมองว่าการบริหารจัดการควรอยู่ภายใต้องค์กรเดียวกัน มีลักษณะการบริหารจัดการ โดยให้มีการแยกบัญชีการเดินรถออกเป็นแต่ละภาค เช่น บัญชีการเดินรถภาคใต้, การเดินรถภาคเหนือ, การเดินรถภาคอีสาน และการเดินรถภาคกลาง ทั้งนี้ ได้แสดงความเห็นด้วยการบริหารจัดการแบบ หน่วยธุรกิจ หรือ บียู (business unit)โดยส่วนงานที่ควรแยกออกเป็น บียูคือ หน่วยบริหารทรัพย์สิน เพื่อเข้ามาดูแลและบริหารพื้นที่รถไฟ เพราะที่ผ่านมาพนักงานรถไฟไม่มีความชำนาญในการทำประโยชน์ที่ก่อให้เกิดรายได้

“ปลายเดือนพ.ค.นี้ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการประชุม ผมจะเข้าร่วมประชุมด้วยโดยจะเสนอขอปรับปรุงแผนฟื้นฟู รฟท.ใหม่ บางส่วน โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดตั้งบริษัทลูก ที่อาจจะเป็นในรูปแบบของหน่วยธุรกิจ และการแยกบัญชีบริหารจัดการ”

นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า สหภาพ รฟท. กังวลถึงการพัฒนาศักยภาพ โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ให้สามารถพัฒนาและรองรับในการผลิตคนเพื่อรถไฟฟ้ามากขึ้น จากเดิมผลิตนักเรียนวิศวกรรมรถไฟให้กับรถไฟดีเซลรางเป็นหลัก เพราะปัจจุบันรัฐบาลมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมหาศาล นอกจากนั้น สหภาพ รฟท. สนับสนุนให้ รฟท. เร่งรัดจัดหาขบวนรถไฟฟ้าเพื่อมาให้บริการในรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มติ ครม. อนุมัติให้จัดหาเพิ่มอีก 7 ขบวน โดยที่ไม่ต้องรอให้มีการเชื่อม 3 สนามบินตามนโยบายรัฐบาล เนื่องจากปัจจุบันมีคนใช้บริการกว่า 70,000 คน/วัน ซึ่งในเรื่องนี้จะกำชับไปยัง บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ เร่งดำเนินการคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลจัดหาได้เดือนพ.ค.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2018 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด​ ร.ฟ.ท.​ ย้ำ​ไม่​ปลด​พนักงาน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
26 เมษายน 2561 - 08:21


“กุลิศ” พร้อมลุยแก้ปัญหาการรถไฟฯ บอร์ดนัดแรก 27เม.ย.เร่งแผนฟื้นฟู
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 25 เมษายน 2561 - 18:28:
ปรับปรุง: 26 เมษายน 2561 - 10:05:

“กุลิศ” เตรียมพบ “อาคม-ไพรินทร์” รับนโยบายก่อนประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.นัดแรก 27 เม.ย. เร่งแผนฟื้นฟูรายงาน คนร., ลุยรถไฟ 3 สนามบิน, ทางคู่, แก้ปัญหาแอร์พอร์ตลิงก์และรถไฟสีแดง กำหนดตัวชี้วัด วางตารางทุกเดือนงานต้องคืบหน้า จ่อคุยสหภาพฯ ขอความร่วมมือแก้ปัญหาองค์กร

นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 26 เม.ย.นี้จะเข้าพบ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอรับนโยบายเป็นทางการก่อนที่บอร์ดจะประชุมนัดแรกในวันที่ 27 เม.ย.นี้ ซึ่งจะหารือในเรื่องแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.ก่อนเพื่อรายงานต่อคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งหลักการ ร.ฟ.ท.จะต้องดำเนินโครงการตามแผนฟื้นฟูให้สำเร็จ ดังนั้นจะมีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของงานที่จะต้องติดตาม โดยทำแผนแต่ละเดือนว่าจะทำอะไร และมีผลงานใดที่สำเร็จบ้าง

ส่วนโครงการที่ต้องเร่งรัดในขณะนี้คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งอยู่ระหว่างทบทวนทีโออาร์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก่อนจะประกาศประมูล, โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่, การจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์, โครงการรถไฟสายสีแดง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จะจัดลำดับออกมา และติดตามงานในแต่ละเดือน แต่ละเรื่องจะต้องมีความคืบหน้าออกมา

“งานของรถไฟทุกเรื่องค่อนข้างเร่งด่วนหมด แผนฟื้นฟูฯ จะต้องจัดลำดับความสำคัญ จัดเรียงลำดับความสำคัญการทำงาน ประชุมบอร์ดนัดแรกขอดูแผนฟื้นฟูก่อน เพื่อจัดลำดับความสำคัญโครงการที่รถไฟจะต้องนำเสนอ คนร.”

อย่างไรก็ตาม การบริหารงานรถไฟให้สำเร็จนั้นยังจะต้องปรับการทำงาน โดยต้องมุ่งไปข้างหน้าอย่างมีเป้าหมาย คือในแต่ละเดือนต้องมีผลงานอะไร มีตัวชี้วัดอย่างไร ต้องทำให้ได้ตามที่กำหนด ซึ่งจะขอความร่วมมือจากพนักงานและจะหารือกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟฯ ด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการปรับเปลี่ยนตัวรักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.หรือไม่ นายกุลิศกล่าวว่า ยังไม่ทราบขอดูวาระการประชุมก่อน แต่เรื่องแรกจะดูเรื่องแผนฟื้นฟูรถไฟฯ ก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2018 10:25 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดใหม่ฟิตลุยฟื้นฟูรถไฟ
พฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 07.30 น.
บอร์ดรถไฟชุดใหม่ถกนัดแรก 27เม.ย.นี้ เร่งจัดลำดับความสำคัญแผนฟื้นฟูกิจการ ยืนยันไม่พูดถึงการลดคนหรือไล่คนออก


นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 27 เม.ย.นี้ จะมีการประชุมบอร์ดชุดใหม่เป็นนัดแรก โดยจะเคลียร์ในแต่ละเรื่อง เนื่องจากกรรมการส่วนใหญ่เป็นคนใหม่ ซึ่งในการประชุมนัดแรกนี้จะพิจารณาสิ่งที่ รฟท.ต้องปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยจัดลำดับความสำคัญของการทำงานว่าสิ่งใดที่ควรเร่งดำเนินการ รวมถึงปรับการทำงานอย่างมีทิศทางจะไม่มุ่งไปข้างหน้าโดยไม่มีเป้าหมาย ซึ่งในแต่ละเดือนจะต้องมีผลงาน หรือมีความคืบหน้าออกมาจะเป็นแผนอย่างเดียวไม่ได้ จากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบานรัฐวิสาหกิจ(คนร.)ต่อไป

นายกุลิศ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการที่ รฟท.ต้องดำเนินการเร่งด่วน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. ซึ่งคงต้องทบทวนทีโออาร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ รถไฟฟ้าสายสีแดง แอร์พอร์ตลิ้งค์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมองว่าเรื่องแผนฟื้นฟูสำคัญที่สุดในเวลานี้ ดังนั้นจะไม่มีการพูดเรื่องลดคนหรือไล่คนออก ยังคงทุกคนไว้ เพราะต้องการแรงสนับสนุนจากพนักงานทุกคน และขอให้ร่วมมือกันทำงานตามแผนฟื้นฟูให้สำเร็จ รวมถึงจะคุยกับสหภาพรฟท.ด้วย สำหรับตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้หารือใดๆ ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ทั้งนี้ตนจะเข้าพบนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม ในวันที่ 26 เม.ย.เพื่อขอคำแนะนำก่อนจะประชุมบอร์ด และเมื่อประชุมบอร์ดแล้วเสร็จจะแถลงข่าวให้ทราบต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2018 10:39 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. จ่ายค่า‘ทำงานวันหยุด-โอที’ กว่าพันล้าน เหตุขาดกำลังคน

ทีมข่าว TCIJ : 22 เมษายน 2561 เวลา 2561

พบ ‘การรถไฟแหงประเทศไทย’ (รฟท.) จ่ายค่า 'ทำงานวันหยุด-ค่าทำงานล่วงเวลา-ค่าตอบแทนพิเศษ' ปี 2560 รวม 1,069,411,400 บาท สหภาพแรงงานฯ ชี้สาเหตุจากการ ‘ขาดกำลังคน’ พนักงานไม่เพียงพอต้องควงกะ 24 ชั่วโมง ส่งผลกระทบด้านบริการ-ความปลอดภัย หวั่นหากไม่เพิ่มบุคลากร จะไม่สามารถรองรับงานที่เพิ่มขึ้นหลังรถไฟรางคู่ทยอยสร้างเสร็จ ต้นตอจากมติ ครม. สมัยเป็นหนี้ IMF ชี้ต้องยกเลิกและเพิ่มกำลังคนด่วน ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

ต้นเดือน เม.ย. 2561 สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทยปล่อยให้พนักงานขาดแคลนเกือบ 8,000 คน จนมีพนักงานไม่เพียงพอต้องทำงานควงกะ 24 ชั่วโมง ส่งผลกระทบต่อการให้บริการและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ

ต่อมานายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ออกมาระบุว่าในปัจจุบันมีอัตราของพนักงานและลูกจ้างชั่วคราว รวม 14,220 อัตรา สามารถให้บริการเดินขบวนรถโดยสาร วันละ 234 ขบวน และขบวนรถสินค้าวันละ 40 ขบวน ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ พนักงานบางส่วนโดยเฉพาะพนักงานด้านปฏิบัติการมีจำนวนน้อยกว่ากรอบอัตรากำลังของการรถไฟฯ ทำให้ต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาและวันหยุดโดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 6 วัน มีค่าล่วงเวลาและค่าทำงานวันหยุดคิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าจ้าง โดยการรถไฟฯ มีแผนจะเพิ่มขบวนรถเป็นวันละ 389 ขบวน เพิ่มพนักงานเป็น 16,660 คน เมื่อทางคู่ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ และทางคู่ระยะที่ 2 กับทางคู่สายใหม่แล้วเสร็จ จะมีการเดินขบวนรถเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 720 ขบวน และต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 19,260 คน [1]

สหภาพแรงงานยืนยันขาดกำลังคนจริง กระทบด้านบริการ-ความปลอดภัย

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีนี้ว่า ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้ให้บริการเดินรถโดยสารทั่วประเทศ วันละ 234 ขบวน และขบวนรถสินค้าวันละ 40 ขบวน เป็นประจำอยู่แล้ว จะมีก็แต่ตัวเลขจำนวนพนักงานและลูกจ้างชั่วคราวที่ปฏิบัติหน้าที่ เปลี่ยนแปลงโดยลดจำนวนลงตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการด้านความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งตามกรอบอัตราพนักงานและลูกจ้างชั่วคราวที่การรถไฟฯ ต้องการจริงก็คือ 22,071 อัตรา แต่ปัจจุบันมี 14,220 อัตรา รวมขาดแคลนพนักงานทั้งสิ้น 7,851 อัตรา และจากตัวเลขพนักงานในปัจจุบันและลูกจ้างชั่วคราว สามารถแยกรายละเอียดได้ดังนี้



จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันการรถไฟฯ ขาดแคลนพนักงานและลูกจ้างชั่วคราวถึง 7,851 อัตรา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัยในการเดินรถ เกี่ยวข้องกับคุณภาพการให้บริการด้านโดยสาร แม้ได้แก้ปัญหาโดยนำลูกจ้างชั่วคราวมาทำหน้าที่ปฏิบัติงานในด้านที่มีความสำคัญและมีความรับผิดชอบสูง เพื่อทดแทนพนักงานที่ขาดในหลาย ๆ ด้าน อาทิ พนักงานรถนอน พนักงานห้ามล้อ (ตัดตั๋วโดยสารบนขบวนรถ) เสมียนขายตั๋ว พนักงานประจำสถานี พนักงานซ่อมบำรุงรถจักรรถโดยสาร ระบบล้อเลื่อนต่าง ๆ พนักงานที่ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัย ซ่อมบำรุงสะพาน อุโมงค์ ระบบราง ไม้หมอน สภาพทางต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์ ซึ่งลูกจ้างชั่วคราวเหล่านี้บางคนทำงานมาแล้วหลายปี แต่ก็ไม่สามารถบรรจุเข้าเป็นพนักงานประจำได้ ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ ตัวอย่างเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยในการเดินรถไฟครั้งสำคัญก็คือเมื่อวันที่ 5 ต.ค.2552 รถด่วนขบวนที่ 84 วิ่งจากสถานี จ.ตรัง ปลายทางสถานีกรุงเทพ เกิดตกรางที่สถานีเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทำให้ตู้โดยสารทั้งหมด 15 ตู้ พลิกคว่ำเสีย 6 ตู้ มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 88 ราย [2]

ทำงานล่วงเวลาเกินกฎหมายกำหนด 'ค่าทำงานวันหยุด-โอที' ทะลุพันล้าน

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ ยังให้ข้อมูลว่า ในส่วนของพนักงานประจำที่ต้องทำงานเฉพาะด้านที่ไม่สามารถให้ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่แทนได้ อาทิ พนักงานขับรถจักร ช่างเครื่อง นายสถานี นายสถานีผู้แทน ฯลฯ ต้องทำงานล่วงเวลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และต้องทำงานในวันหยุดโดยไม่สามารถใช้สิทธิ์ลาหยุดงานได้ ซึ่งขัดแย้งกับข่าวที่ผู้บริหารออกมาชี้แจงว่าโดยเฉลี่ยพนักงานจะทำงานคนละ 6 วันต่อสัปดาห์ มีค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดคิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าจ้าง สาเหตุเพราะผู้บริหารนำเอาตัวเลขของพนักงานในส่วนกลางและพนักงานตามเขตแขวงต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวน กว่า 2,000 คน โดยจะทำงานเพียงสัปดาห์ละ 5 วัน คือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และจะหยุดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งพนักงานส่วนนี้จะไม่ค่อยมีค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด มาคิดคำนวณรวมไปด้วย



ในส่วนของค่าตอบแทนค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) ของพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าจ้าง หรือปีละ 750 ล้านบาท ก็เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะจากข้อมูลค่าทำงานวันหยุด ค่าทำงานล่วงเวลา และค่าตอบแทนพิเศษของการรถไฟฯ ประจำปี 2560 จะมีค่าใช้จ่ายรวมถึง 1,069,411,400 บาท [แบ่งเป็น ค่าทำงานในวันหยุด 774,311,271 บาท ค่าล่วงเวลา 191,405,246 บาท และค่าตอบแทนการทำงานเกินกว่าเวลาปกติ (ค่าตอบแทนพิเศษ) 103,694,883 บาท] ถ้าหากเอาจำนวนเงินดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวหรือจ้างพนักงานเพิ่ม เพื่อนำมาทดแทนพนักงานที่มีไม่เพียงพอก็จะทำให้คนไทยมีงานทำเพิ่มขึ้นอีกหลายพันอัตรา นอกจากนี้ลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานมานานแล้วก็จะมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ได้อีกด้วย

หวั่นหากไม่เพิ่มบุคลากร จะไม่สามารถรองรับงานเพิ่มหลังรถไฟทางคู่เสร็จ

ในประเด็นที่ผู้บริหารแถลงว่า “การรถไฟฯ มีแผนจะเพิ่มขบวนรถเป็นวันละ 389 ขบวน เพิ่มพนักงานเป็น 16,660 คน เมื่อทางคู่ ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ และทางคู่ระยะที่ 2 กับทางคู่สายใหม่แล้วเสร็จ จะมีการเดินขบวนรถเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 720 ขบวน และต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 19,260 คน” นั้น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ ให้ข้อมูลว่าการดำเนินการก่อสร้างทางคู่ระยะที่ 1 จะแล้วเสร็จในเดือน ต.ค. 2565 เท่ากับว่า อีก 4 ปี 6 เดือนข้างหน้า การรถไฟฯ ถึงจะสามารถรับพนักงานและลูกจ้างชั่วคราวได้อีก 2,440 อัตรา แต่ในระหว่างปี 2561 ถึง ต.ค. 2565 จะมีผู้ที่เกษียณอายุ 2,387 คน ซึ่งแน่นอนคงไม่ต้องรอจนทางคู่ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ หากยังไม่สามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มได้โดยเร็วในอีก 1 - 2 ปีข้างหน้า การรถไฟฯ จะเข้าสู่ภาวะวิกฤตหนักกว่านี้จนถึงขั้นต้องยกเลิกเดินขบวนรถในหลายเส้นทาง เพื่อนำพนักงานมาเกลี่ยในเส้นทางเฉพาะที่มีความจำเป็นเท่านั้น

สำหรับสาเหตุสำคัญของการขาดอัตรากำลังของการรถไฟฯ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ ระบุว่ามาจาก มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 หลังจากประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เงื่อนไขที่ผูกไว้กับ IMF คือการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในรัฐวิสาหกิจลง สำหรับการรถไฟฯ มติ ครม.ดังกล่าวสาระคือ “ตำแหน่งที่ไม่จำเป็นให้ยุบเลิกและหากจะรับพนักงานใหม่ให้รับได้เพียงร้อยละ 5 ของจำนวนผู้เกษียณอายุ” จากวันนั้นถึงปัจจุบัน 20 ปี จึงเกิดวิกฤตเรื่องอัตราพนักงาน

ทั้งนี้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ ระบุว่าควรให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และรัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องอัตรากำลังของพนักงานเป็นการเร่งด่วน โดยเบื้องต้นให้ทบทวนยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 เพื่อเปิดโอกาสให้การรถไฟฯ สามารถรับบุคลากรเพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมสำหรับงานที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยเร่งบรรจุลูกจ้างเฉพาะงานในการรถไฟฯ ก่อน จำนวน 3,911 คน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2018 10:41 am    Post subject: Reply with quote

สถาบันวิจัยฯระบบรางเกิดแน่สิ้นปีนี้

พฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2561

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สถาบันวิจัยฯ ดังกล่าว ดำเนินงานครอบคลุมกับทุกโครงการที่เกี่ยวกับระบบราง ไม่ใช่เพียงแค่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเท่านั้น โดยขณะนี้กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อจัดตั้งในรูปแบบขององค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม

นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า สถาบันวิจัยฯ จะต้องพิจารณาตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน พ.ศ. 2554 พร้อมทั้งจะมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้วย อย่างไรก็ตามได้กำหนดให้คณะอนุกรรมการดังกล่าว ต้องประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าและข้อสรุปในทุกเดือน คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายใน 6 เดือนนี้ เพื่อให้สามารถจัดตั้งได้ภายในสิ้นปีนี้ สำหรับสถาบันวิจัยฯ ต้องมีการบริหารเนื้อหา และพัฒนาการวิจัย รวมทั้งงบประมาณ เพราะอนาคตอาจจะมีงบประมาณวิจัยจากทางผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถส่งต่องบประมาณไปที่หน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมวิจัยได้

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ที่ประชุมได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กลับไปจัดลำดับความสำคัญของอำนาจหน้าที่ รวมถึงกรอบนโยบายต่างๆ ของสถาบัน และบทบาทต่างๆ ก่อนส่งให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งต่อไป

สำหรับสถาบันวิจัยฯ ดังกล่าวจัดตั้งขึ้น เนื่องจากจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 60 มีคำสั่งให้กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อดำเนินงานพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาบุคลากรทั้งระดับวิศวกรและช่างเทคนิคสำหรับรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2018 5:21 pm    Post subject: Reply with quote

“กุลิศ”โยนเป็นอำนาจนายกฯ พิจารณาสรรหาผู้ว่า รฟท.คนใหม่
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 16:13:
นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีการสรรหาผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยคนใหม่ว่า เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีพิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2018 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเปิดหวูดท่องเที่ยวเมืองรองสระแก้ว
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 May 2018 - 10:11 น.

ขยายเพิ่ม - ผลตอบรับจากการเปิดเดินรถไฟเส้นทางท่องเที่ยวหลายจังหวัด ล่าสุดร.ฟ.ท.เตรียมเปิดบริการเพิ่ม ไปสระแก้ว หัวหินและปราณบุรี เริ่ม ก.ค.นี้
การรถไฟฯสนองนโยบายรัฐบาล คสช. จัดขบวนรถนำเที่ยว 55 เมืองรอง เตรียมเปิดบริการเต็มรูปแบบ “กรุงเทพฯ-บ้านพลูตาหลวง” หลังคนตีตั๋วแน่น ดีเดย์ ก.ค.เปิดหวูดเส้นทางชายแดนสระแก้ว ขยายรูด “หัวหิน-สามร้อยยอด-ปราณบุรี” เพิ่ม ต.ค.นี้

นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างพิจารณาเพิ่มขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศและแบบพัดลมสำหรับเป็นเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวขยายไปยังเส้นทางอื่น ๆ เหมือนกับที่ได้ดำเนินการเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-บ้านพลูตาหลวง-กรุงเทพฯ ซึ่งเปิดบริการเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2561 มีกระแสตอบรับอยู่พอสมควร มีการจองตั๋วโดยสารเต็มแทบทุกอาทิตย์ ซึ่ง 1 เดือนที่เปิดทดลองให้บริการ มียอดจองตั๋วโดยสารอยู่ที่ 90% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบหลังพ้นระยะทดลอง 6 เดือนในช่วงเดือน ก.ย.นี้แน่นอน

เพื่อเป็นการขานรับนโยบายด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลที่ต้องการให้ ร.ฟ.ท.เพิ่มกิจกรรมการตลาดเพื่อหารายได้จากการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ 55 หัวเมืองรองและพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อสนับสนุนแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติในปี 2561

โดยที่ผ่านมาร.ฟ.ท.ดำเนินการโครงการท่องเที่ยวตามเส้นทางรถไฟปัจจุบันแล้ว 14 จังหวัด ได้แก่ แพร่ อุตรดิตถ์ ลพบุรี นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ชุมพร พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา นครปฐม กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี

“ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีเส้นทางเดินรถเพื่อการท่องเที่ยวอยู่แล้ว ซึ่งทำรายได้ให้ไม่มาก ต่อไปจะพยายามเพิ่มเส้นทางให้ครอบคลุมมากขึ้น”

นายทนงศักดิ์กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้หารือร่วมกับหอการค้าจังหวัดปราจีนบุรีกับจังหวัดสระแก้วและการท่องเที่ยว เพื่อเปิดเส้นทางเดินรถเพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางภาคตะวันออกจากกรุงเทพฯ-ชายแดนอรัญประเทศ ซึ่งมีด่านการค้าเชื่อมกับประเทศกัมพูชา คาดว่าจะเริ่มเปิดบริการภายในเดือน ก.ค.-ส.ค. 2561

นอกจากนี้ยังเตรียมจะขยายเส้นทางท่องเที่ยวกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.เปิดบริการอยู่แล้ว โดยจะขยายไปยังแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่สามร้อยยอดและปราณบุรี คาดว่าจะเปิดบริการภายในเดือน ต.ค. 2561

สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-บ้านพลูตาหลวง เป็นเส้นทางพาดผ่านจังหวัดท่องเที่ยวภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดชลบุรีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เช่น ตลาดน้ำ 4 ภาคพัทยา สวนนงนุช เรือหลวงจักรีนฤเบศร หาดนางรำ หาดนางรอง สวนน้ำการ์ตูนเน็ตเวิร์ก อเมโซน ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ เพอร์คูล่าฟาร์ม ฟาร์มปลาการ์ตูน ฯลฯ

ขบวนรถเป็นดีเซลราง นั่งปรับอากาศชั้น 2 รองรับการเดินทาง และอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยจะมีให้บริการเป็นประจำทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ระยะแรกเปิดทดลองเป็นระยะเวลา 6 เดือนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2561 มีให้บริการวันละ 2 ขบวน ไปและกลับ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.จัดรถไฟนำเที่ยวน้ำตก กรุงเทพฯ-น้ำตกไทรโยค ทุกวันเสาร์-อาทิตย์, ขบวนรถนำเที่ยวเลาะชายแดนชมน้ำโขงจากกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี-มุกดาหาร-นครพนม-ศรีสะเกษ, ขบวนนำเที่ยวลอดผ่านอุโมงค์ขุนตาน, ขบวนนำเที่ยวไปเช้า-เย็นกลับกรุงเทพฯ-ชายทะเลหัวหิน-สวนสนประดิพัทธ์, ขบวนนำเที่ยวกรุงเทพฯ-อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2018 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเปิดหวูดท่องเที่ยวเมืองรองสระแก้ว
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 May 2018 - 10:11 น.

ขยายเพิ่ม - ผลตอบรับจากการเปิดเดินรถไฟเส้นทางท่องเที่ยวหลายจังหวัด ล่าสุดร.ฟ.ท.เตรียมเปิดบริการเพิ่ม ไปสระแก้ว หัวหินและปราณบุรี เริ่ม ก.ค.นี้
การรถไฟฯสนองนโยบายรัฐบาล คสช. จัดขบวนรถนำเที่ยว 55 เมืองรอง เตรียมเปิดบริการเต็มรูปแบบ “กรุงเทพฯ-บ้านพลูตาหลวง” หลังคนตีตั๋วแน่น ดีเดย์ ก.ค.เปิดหวูดเส้นทางชายแดนสระแก้ว ขยายรูด “หัวหิน-สามร้อยยอด-ปราณบุรี” เพิ่ม ต.ค.นี้

นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างพิจารณาเพิ่มขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศและแบบพัดลมสำหรับเป็นเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวขยายไปยังเส้นทางอื่น ๆ เหมือนกับที่ได้ดำเนินการเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-บ้านพลูตาหลวง-กรุงเทพฯ ซึ่งเปิดบริการเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2561 มีกระแสตอบรับอยู่พอสมควร มีการจองตั๋วโดยสารเต็มแทบทุกอาทิตย์ ซึ่ง 1 เดือนที่เปิดทดลองให้บริการ มียอดจองตั๋วโดยสารอยู่ที่ 90% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบหลังพ้นระยะทดลอง 6 เดือนในช่วงเดือน ก.ย.นี้แน่นอน

เพื่อเป็นการขานรับนโยบายด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลที่ต้องการให้ ร.ฟ.ท.เพิ่มกิจกรรมการตลาดเพื่อหารายได้จากการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ 55 หัวเมืองรองและพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อสนับสนุนแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติในปี 2561

โดยที่ผ่านมาร.ฟ.ท.ดำเนินการโครงการท่องเที่ยวตามเส้นทางรถไฟปัจจุบันแล้ว 14 จังหวัด ได้แก่ แพร่ อุตรดิตถ์ ลพบุรี นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ชุมพร พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา นครปฐม กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี

“ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีเส้นทางเดินรถเพื่อการท่องเที่ยวอยู่แล้ว ซึ่งทำรายได้ให้ไม่มาก ต่อไปจะพยายามเพิ่มเส้นทางให้ครอบคลุมมากขึ้น”

นายทนงศักดิ์กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้หารือร่วมกับหอการค้าจังหวัดปราจีนบุรีกับจังหวัดสระแก้วและการท่องเที่ยว เพื่อเปิดเส้นทางเดินรถเพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางภาคตะวันออกจากกรุงเทพฯ-ชายแดนอรัญประเทศ ซึ่งมีด่านการค้าเชื่อมกับประเทศกัมพูชา คาดว่าจะเริ่มเปิดบริการภายในเดือน ก.ค.-ส.ค. 2561

นอกจากนี้ยังเตรียมจะขยายเส้นทางท่องเที่ยวกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.เปิดบริการอยู่แล้ว โดยจะขยายไปยังแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่สามร้อยยอดและปราณบุรี คาดว่าจะเปิดบริการภายในเดือน ต.ค. 2561

สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-บ้านพลูตาหลวง เป็นเส้นทางพาดผ่านจังหวัดท่องเที่ยวภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดชลบุรีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เช่น ตลาดน้ำ 4 ภาคพัทยา สวนนงนุช เรือหลวงจักรีนฤเบศร หาดนางรำ หาดนางรอง สวนน้ำการ์ตูนเน็ตเวิร์ก อเมโซน ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ เพอร์คูล่าฟาร์ม ฟาร์มปลาการ์ตูน ฯลฯ

ขบวนรถเป็นดีเซลราง นั่งปรับอากาศชั้น 2 รองรับการเดินทาง และอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยจะมีให้บริการเป็นประจำทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ระยะแรกเปิดทดลองเป็นระยะเวลา 6 เดือนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2561 มีให้บริการวันละ 2 ขบวน ไปและกลับ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.จัดรถไฟนำเที่ยวน้ำตก กรุงเทพฯ-น้ำตกไทรโยค ทุกวันเสาร์-อาทิตย์, ขบวนรถนำเที่ยวเลาะชายแดนชมน้ำโขงจากกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี-มุกดาหาร-นครพนม-ศรีสะเกษ, ขบวนนำเที่ยวลอดผ่านอุโมงค์ขุนตาน, ขบวนนำเที่ยวไปเช้า-เย็นกลับกรุงเทพฯ-ชายทะเลหัวหิน-สวนสนประดิพัทธ์, ขบวนนำเที่ยวกรุงเทพฯ-อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 313, 314, 315 ... 474, 475, 476  Next
Page 314 of 476

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©