Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262839
ทั้งหมด:13574119
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/04/2018 6:42 am    Post subject: Reply with quote

"เครือข่ายต้นไม้" จับตามอง "การย้ายต้นไม้" เพื่อทำรถไฟฟ้าสีส้ม
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 19 เม.ย. 2561 เวลา 19:21 น.

เครือข่ายต้นไม้ในเมืองกังวลกรณีผู้รับเหมาเตรียมดำเนินการย้ายต้นไม้เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. เพจเฟซบุ๊ก “เครือข่ายต้นไม้ในเมือง”ได้แสดงความกังวล กรณีที่ผู้รับเหมาเตรียมดำเนินการย้ายต้นไม้บริเวณศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) โดยระบุว่า จะขุดล้อมแบบไหน สุดท้ายจะเหลือต้นไม้ไหม และจะไปสุมไว้ที่ สนง.ใหญ่อีกหรือไม่

หลังภาพดังกล่าวเผยแพร่ออกไปก็ทำให้ผู้ที่พบเห็นเข้าไปแสดงความกังวลว่า จะทำให้ต้นไม้เสียหายหรือไม่ และรูปแบบออกจะมาเหมือนที่สังคมเคยวิจารณ์การย้ายต้นไม้บริเวณมหาลัย’เกษตรฯ บางเขน

Arrow https://www.facebook.com/thailandurbantreenetwork/posts/541209399596944
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2018 11:09 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เตรียมสรุป PPP สายสีส้มตะวันตก 1.09 แสนล้าน ชงเปิดสัมปทานก่อสร้างและเดินรถเบ็ดเสร็จ
โดย: MGR Online
เเผยแพร่: วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 10:14:
ปรับปรุง: วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 11:10:

รฟม.สรุปการศึกษาแผนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนท์ ใน พ.ค.นี้ เพื่อเสนอบอร์ด พิจารณา พร้อมประเมิน จำนวนผู้โดยสารใหม่ ให้เป็นปัจจุบันภายใต้ปัจจัยโครงข่ายสนับสนุน เช่นการเปิดเดินรถ คาดรูปแบบ ใช้ PPP Net Cost รับสัมปทานก่อสร้างด้านตะวันตกและเดินรถตลอดสาย จากบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒน์ฯ-มีนบุรี

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาแผนการร่วมทุน (PPP)โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ วงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาทและนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้ในเดือนพ.ค. เพื่อเห็นชอบในการก่อสร้างงานโยธา วงเงินค่าก่อสร้าง 85,288.54 ล้านบาท พร้อมแผนการร่วมทุน (PPP) การเดินรถสายสีส้มทั้ง ช่วงตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ) และสีส้มตะวันตก

โดนขณะนี้ อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายละเอียดโครงการใหม่ เข่นตัวเลขผู้โดยสาร และตัวเลขด้านการเงิน เนื่องจากสมมติฐานด้านการเงินที่ รฟม.ใช้ประเมินโครงการ เป็นฐานเดิมเมื่อ 10 ปีก่อน และขณะนี้กระทรวงการ คลังได้ประสานให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ช่วยศึกษาสมมติฐานทางการเงินใหม่ อีกด้วย

สำหรับจำนวนผู้โดยสาร ก่อนหน้านี้ได้ทำการประเมินว่า เมื่อเปิดบริการรถไฟฟ้าสีส้มทั้งสายทางจะมีผู้โดยสารปีแรกที่ 3 แสนคนต่อวัน แต่ประสบการณ์จากการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ซึ่งจำนวนผู้โดยสารไม่เป็นไปตามคาดการณ์ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงยังไม่เปิดให้บริการตามแผนเดิม ทำให้ต้องทบทวนการคาดการณ์ตัวเลขผู้โดยสารสายสีส้มใหม่เพื่อให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด

สำหรับแผนร่วมทุน PPP งานเดินรถนั้น มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็น PPP ประเภท Net Cost คือ การให้เอกชนลงทุน บริหารโครงการ จัดเก็บรายได้ และแบ่งรายได้ให้รัฐ เนื่องจากภาคเอกชนจะมีศักยภาพด้านการลงทุน และสามารถรับความเสี่ยงได้มากกว่ารัฐ ซึ่งจะทำให้การลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกจะมี ผู้รับงาน 1 ราย รับผิดชอบทั้งงานโยธา วางระบบ จัดหารถไฟฟ้า และเดินรถทั้งสายทาง (ส้มตะวันออกและตะวันตก)

ซึ่งจะเป็นรูปแบบเดียวกับโครงการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง โดย รฟม.จะให้การอุดหนุนไม่เกินมูลค่างานโยธา ดังนั้นหากเอกชนรายใดเสนอขอรับการอุดหนุนน้อยที่สุดก็จะเป็นผู้ได้รับงานไป

“ หากที่ประชุมบอร์ดอนุมัติ ขั้นตอนต่อไป รฟม.จะเสนอนำแผนการลงทุนไปยังกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีเวลาพิจารณา 60 วัน จากนั้นจะเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) พิจารณา โดยโครงการนี้อยู่ในแผนการลงทุนตามมาตรการเร่งรัดโครงการร่วมลงทุนระหว่างกิจการในรัฐกับเอกชน (PPP Fast Track) ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2018 10:53 am    Post subject: Reply with quote

ขยับสถานีราษฎร์พัฒนาสร้างสะพานเข้าซอยมิสทีน
พฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2561 เวลา 08.30 น.

รฟม.ขยับสถานีราษฎร์พัฒนา 500 เมตร สร้างสะพานข้ามแยกเข้าซอยมิสทีน ยันการก่อสร้างยังเป็นไปตามแผนไม่ล่าช้า

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟม.)แจ้งว่า ขณะนี้รฟม.เข้ารื้อย้ายเชิงสะพานยกระดับรามคำแหงขาเข้า เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) สัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเริ่มขุดอุโมงค์รถไฟฟ้าด้วยการสร้างกำแพงกั้นดิน ก่อนใช้เวลา 11 เดือนก่อสร้างอุโมงค์ต่อไป รวมทั้งสร้างทางลงสะพานทดแทนของเดิม ใช้เวลารวม 30 เดือน และเปิดให้ประชาชนใช้ทางลงยกระดับรามคำแหงขาเข้าได้ประมาณเดือน ส.ค.63 ขณะนี้งานก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นไปตามแผน เพื่อลดเวลาส่งผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด ส่วนสะพานข้ามแยกลำสาลีที่ต้องรื้อย้ายเชิงสะพานด้านขาเข้า เพื่อสร้างสถานีลำสาลีนั้น ผู้รับเหมากำลังวางแผนการจัดจราจรรองรับให้ได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้ คาดว่าปัญหาน่าจะไม่มากนัก

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับสัญญาที่ 4 ช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ นั้น ขณะนี้การก่อสร้างล่าช้ากว่าแผน 0.001% ส่วนใหญ่เข้าพื้นที่ได้เกือบทั้งหมดแล้ว เหลือบริเวณสถานีราษฎร์พัฒนา ที่ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณสามแยกถนนรามคำแหง-ถนนราษฎร์พัฒนา หน้าสำนักงานใหญ่บริษัทมิสทีน ที่ รฟม.ได้ประชุมหารือกับกรุงเทพมหานคร(กทม.) มีการขยับแบบก่อสร้างสถานีจากที่อยู่บริเวณกลางแยก ให้ขยับไปด้านถนนรามคำแหงขาออกก่อนถึงทางแยกประมาณ 500 เมตร เนื่องจาก กทม.มีโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกมิสทีน เนื่องจากมีปัญหารถติดอย่างมาก โดยแนวสะพานอยู่ตามแนวถนนรามคำแหง และเลี้ยวขวาเข้าซอยมีสทีน เพื่อแยกรถที่จะเข้าซอยมิสทีนซึ่งมีจำนวนมาก กับรถทางตรงถนนรามคำแหง โดยกทม.จะลงพื้นที่ก่อสร้างเร็วๆนี้ สำหรับระยะเวลาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้คือ 5 ปีครึ่ง แผนการเปิดให้บริการเป็นปี 66 เช่นเดิม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2018 12:58 pm    Post subject: Reply with quote

ช.การช่างสั่งหัวเจาะขุดอุโมงค์ รถไฟฟ้าสายสีส้มเริ่มกลาง 62
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
12 พฤษภาคม 2561 เวลา 05:15

นายไพรัตน์ พรหมอินทร์ ผู้จัดการโครงการ กิจการร่วมค้า CKST (ช.การช่าง) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างว่า ขณะนี้ได้รื้อโครงสร้างสะพานยกระดับรามคำแหง บริเวณเชิงทางลงฝั่งขาเข้า ช่วงซ้อนทับงานก่อสร้างสถานีรามคำแหง 12 เสร็จแล้ว กำลังทำเข็มเจาะเตรียมก่อสร้างผนังสถานี จะแล้วเสร็จประมาณสิ้นเดือนนี้ จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างผนังสถานี

นอกจากนี้ ขณะนี้ได้เริ่มสั่งผลิตหัวเจาะอุโมงค์ใต้ดินแล้ว ตามแผนงานประมาณต้นปี 2562 จะเริ่มทยอยนำชิ้นส่วนหัวเจาะอุโมงค์เข้ามาประกอบและติดตั้ง คาดว่าจะเริ่มลงมือขุดอุโมงค์ใต้ดินได้ภายในกลางปีหน้า สำหรับแผนการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดิน จะเริ่มจากสถานีพระราม 9 สัญญาที่ 1 หน้า รฟม. ขุดเจาะไล่มายังสถานีรามคำแหง 12 หน้าเดอะมอลล์ สัญญาที่ 2 ซึ่งเป็นจุดก่อสร้างที่ยากที่สุด ผ่านไปสถานีรามคำแหง หน้าม.รามคำแหง จนถึงสถานีราชมังคลา หน้าการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จากนั้นจะยกหัวเจาะขึ้น ไปเริ่มขุดเจาะจากสถานีหัวหมาก ให้แยกลำสาลี ย้อนกลับมาสถานีราชมังคลา โดยใช้เวลาขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินประมาณ 1 ปี.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2018 12:01 pm    Post subject: Reply with quote

ถึงไทยแล้วหัวเจาะอุโมงค์สายสีส้ม
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
18 พฤษภาคม 2561 05:45
อิตาเลียนไทยฯ เตรียมประกอบเริ่มขุดปลายปีนี้-ล่าสุดงานคืบหน้า 11% ขณะนี้ ชิ้นส่วนหัวเจาะอุโมงค์งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 3 หัวหมาก-คลองบ้านม้า ของบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้ขนส่งมาถึงท่าเรือแหลมฉบังแล้ว โดยที่ อิตาเลียนไทยฯ รับผิดชอบงานก่อสร้างงานอุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ระยะทาง 4.04 กม. สถานีใต้ดิน 3 สถานี ได้แก่ สถานีลำสาลี สถานีศรีบูรพา สถานีบ้านม้า และปล่องระบายอากาศ 3 แห่ง โดยงานก่อสร้างบนถนนรามคำแหง ตั้งแต่แยกลำสาลี ถึงรามคำแหง ซอย 110
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2018 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

#อาคารซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีส้ม..กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที. เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างงานอาคารซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 5 อาคารฯ ตั้งอยู่ในที่ตั้งสำนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นำเสนอความก้าวหน้าของงานก่อสร้างฯ ในการตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างอาคารฯ ดังกล่าว
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/378096782669679
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42706
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2018 10:24 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมสรุปเดินรถสายสีส้ม รฟม.ชงบอร์ด 22 มิ.ย.เคาะประมูล PPP กว่าแสนล้าน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 07:53
ปรับปรุง: วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:41


รฟม.ชงบอร์ด 22 มิ.ย.นี้เคาะแผนร่วมทุน PPP-Net Cost เดินหน้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) กว่าแสนล้าน พร้อมบริหารเดินรถตลอดสายตะวันออก-ตะวันตก ส่วนเดินรถสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) คาดสรุปเร็วๆ นี้ ยันใช้ PPP-Gross Cost เหมือนสีม่วงเหนือ (เตาปูน-บางใหญ่) ลุ้น กก.35 เคาะประมูลหรือเจรจา

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ได้เตรียมเสนอผลการศึกษาแผนการร่วมทุน (PPP) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่จะประชุมในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ โดยจะใช้รูปแบบ PPP ประเภท Net Cost คือ การให้เอกชนลงทุน บริหารโครงการ จัดเก็บรายได้ และแบ่งรายได้ให้รัฐ และลดความเสี่ยงของภาครัฐ ซึ่งจะทำให้การลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกจะมีผู้รับงาน 1 ราย รับผิดชอบทั้งงานโยธา วางระบบ จัดหารถไฟฟ้า และเดินรถสายสีส้ม ทั้งด้านตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) และด้านตะวันตก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) โดยหลังจากบอร์ดเห็นชอบจะเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

รถไฟฟ้าสายสีส้มในด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.57 กม. วงเงิน 79,221 ล้านบาท ขณะนี้ได้ก่อสร้างงานโยธาแล้ว ส่วนด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาท โดยมีค่างานโยธา 85,288.54 ล้านบาทนั้นจะรวมอยู่ในการร่วมลงทุน PPP ก่อสร้างและเดินรถ

ส่วนการศึกษารูปแบบการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม.นั้นขณะนี้การศึกษายังไม่เสร็จเบื้องต้นจะใช้รูปแบบ PPP ประเภท Gross Cost คือการลงทุนแบบเอกชนร่วมทุน โดยรัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างเดินรถให้เอกชน ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับสายสีม่วงเหนือ ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการ เนื่องจากมีเดปโป้หลักที่คลองบางไผ่แห่งเดียว

ส่วนหลักการสำคัญคือ จะต้องสามารถบริหารการเดินรถได้ตลอดสายทั้งสายสีม่วงเหนือ และสายสีม่วงใต้ หมายถึงหากผู้เดินรถเป็นคนละรายจะต้องกำหนดรูปแบบและเงื่อนไขที่สามารถให้รถของทั้ง 2 ผู้ประกอบการสามารถวิ่งทะลุกันได้ตลอดสาย โดยคณะกรรมการมาตรา 35 จะต้องพิจารณารูปแบบการคัดเลือกต่อไป เพื่อเลือกแนวทางที่เกิดประโยชน์มากที่สุด

“กรณีที่ให้เปิดประมูลและได้ผู้ประกอบรายใหม่ จะต้องมีการเปิดระบบอาณัติสัญญาณเพื่อให้รถวิ่งแบบต่อเนื่อง (Through Operation) ซึ่งในขบวนรถสายม่วงเหนือและสายม่วงใต้จะต้องติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณกลาง ทำให้มีการลงทุนเพิ่มเติมซ้ำซ้อนกว่าการเป็นผู้เดินรถรายเดียวตลอดสาย ซึ่งคณะกรรมการมาตรา 35 จะพิจารณาความเหมาะสมในขั้นตอนต่อไประหว่างการประมูลหรือใช้รูปแบบเจรจา”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/06/2018 6:54 pm    Post subject: Reply with quote

จับตาบอร์ด รฟม.เคาะเดินรถสายสีส้มตะวันตก เข็นเปิดประมูลปลายปีนี้
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 June 2018 - 17:48 น.

นายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ในวันนี้ (22 มิ.ย.) มีวาระพิจารณาที่น่าสนใจ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร เงินลงทุน 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นระบบเดินรถประมาณ 30,000 ล้านบาท และงานโยธาอีกประมาณ 90,000 ล้านบาท จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP ก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ และเดินรถของสายสีม่วงตลอดเส้นทาง

หลังจากผ่านการพิจารณาของบอร์ด รฟม.แล้ว จะส่งต่อให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา จากนั้นจะส่งต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อบรรจุเข้าคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) พิจารณารูปแบบการลงทุน แล้วจึงเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ

“คาดว่าประมาณ 3 เดือนจากนี้จะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ได้ หลังจากนั้น บอร์ด รฟม.จะนำเรื่องกลับมา เพื่อตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 เพื่อพิจารณาจัดทำร่าง TOR อีก 2 เดือน น่าจะทันช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้”

ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร เงินลงทุน 1.01 แสนล้านบาท กำลังอยู่ในระหว่างจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม แบ่งเป็นเงินทุนที่กระทรวงการคลังจะเป็นผู้จัดหาเงินทุนให้ประมาณ 90% และอีกส่วนหนึ่งจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ประมาณ 10% ส่วนรูปแบบการลงทุนจะเปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP

ขณะนี้โครงการยังติดปัญหาการเปิดหน้าดินสำหรับก่อสร้างบริเวณถนนสามเสนบริเวณเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่เป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องทำเรื่องขอใช้พื้นที่และรอการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ขออนุมัติเพิ่มเติม ซึ่งจะดำเนินการคู่ขนานไปกับการเปิดประมูล คาดว่าภายในปีนี้จะออกประกาศทีโออาร์ได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/06/2018 9:08 am    Post subject: Reply with quote

PPPสายสีส้มสะดุด กม.วินัยการเงินฯ บอร์ดรฟม.สั่งศึกษาเพิ่มหวั่นกระทบกรอบงบฯ
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2561 05:32 โดย: MGR Online

บอร์ดรฟม.สั่งศึกษารูปแบบลงทุน PPP สายสีส้มเพิ่ม เกรงไม่สอดคล้องกับพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ กระทบเพดานงบประมาณ เหตุเอกชนลงทุน 100% โยธาและเดินรถ 30 ปี รัฐต้องจัดงบอุดหนุนค่าโยธา ขณะที่แยกรัฐลงทุนเอง เกรงเจอปัญหาล่าช้า ซ้ำซาก “ประธานบอร์ด”เผย อัพเกรดตั๋วร่วมเป็น EMV แมงมุม 4.0 ในปี62 ส่วนบีทีเอส ต้องเจรจาเพื่อเปิดระบบเชื่อม

นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม.เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ได้มีการรายงานความคืบหน้าการศึกษาแผนการร่วมทุน (PPP) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม แต่เนื่องจากผลการศึกษายังไม่เสร็จเรียบร้อย โดยให้รฟม.ไปพิจารณารายละเอียดให้รอบคอบ

นอกจากนี้ บอร์ดได้เร่งรัดการพัฒนาตั๋วร่วม ในระบบบัตร EMV Contactless Smart Card (Open Loop) เทคโนโลยีระบบใหม่ โดยประเมินว่า จะใช้เวลาในการปรับปรุงหัวอ่าน ทดสอบระบบ ทดสอบการใช้งานได้ประมาณเดือนธ.ค. 2562 ซึ่งได้สั่งเร่งให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ ตัวบัตรเครดิต /เดบิต ข้อกำหนดของ Master Card และ Visa Card ที่เป็น Contactless จะมีครบในปี 2563 แต่ทางธนาคาร สามารถเร่งรัดให้เร็วขึ้นได้ เพื่อยกระดับเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วม หรือแมงมุม 2.0 เป็น แมงมุม 4.0

“กรณี บีทีเอส ยังไม่ร่วม เพราะมีบัตรแรบบิท ที่เป็นระบบปิด (Close Loop) ซึ่งเมื่อพัฒนาเป็น EMV แล้วจะสะดวกมาก และผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกรายควรจะเข้าร่วม ซึ่งบีทีเอสอยู่ภายใต้การกำกับของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ต้องเจรจากันเพื่อดึงเข้ามาเพื่อให้เป็นระบบตั๋วต่อ หรือ Commom Ticket ก่อน การเป็นตั๋วร่วมที่สมบูรณ์ ต้องเป็น Common Fair ที่ต้องมีเจ้ามือคือ รัฐ แต่จะเป็นใครอย่างไรต้องพิจารณากันต่อไป”นายไกรฤทธิ์ กล่าว

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม. กล่าวว่า บอร์ดมีข้อสังเกตุในการลงทุน PPP ของสายสีส้ม หลายประเด็น โดยให้รฟม.พิจารณาในทุกมิติอย่างรอบคอบ เช่น ความเป็นไปตามทางการเงิน อัตราดอกเบี้ย ปริมาณผู้โดยสาร รวมถึง จะต้องสอดคล้องกับ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วย. ที่มีกรอบเพดานการใช้งบประมาณ เพราะรูปแบบ PPP ให้เอกชนลงทุน 100% งานโยธาและระบบเดินรถเป็นสัญญาเดียวนั้น จะมีเงื่อนไขที่รัฐจะอุดหนุนค่างานโยธา เช่น รัฐชำระในระยะ 10 ปี เป็นการผูกพันงบประมาณ ซึ่งรูปแบบนี้ ใช้กับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสีเหลือง แต่ขณะนั้นยังไม่มี พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ จึงไม่มีเพดานการตั้งงบผูกพัน

ส่วนกรณีรัฐลงทุนก่อสร้างงานโยธาเองให้เอกชนลงทุนเฉพาะการเดินรถ จะต้องพิจารณาผลกระทบหนี้สาธารณะ ที่กำหนดไว้ว่าต้องไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ผลต่อภาระของรัฐและความเสี่ยงที่การก่อสร้างจะล่าช้าเหมือนสีน้ำเงิน หรือสายสีแดงที่งานโยธาเสร็จแล้วยังเปิดเดินรถไม่ได้ เป็นต้น

“ตอนนี้มีโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ ดังนั้น บอร์ดจึงอยากให้ศึกษาและตรวจสอบปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกมิติ ซึ่งจะศึกษาเพิ่มเติมเร่งสรุปเพื่อนำเสนอบอร์ดอีกครั้งในการประชุมเดือนก.ค.ซึ่งตามกรอบเวลา สายสีส้ม(ตะวันออก) จะก่อสร้างเสร็จปี 2566 ดังนั้นการจัดหาเรื่องระบบและเดินรถจะต้องสรุปและเปิดประมูลในปี 2562 เพราะจะต้องใช้เวลาในการจัดหาผลิตรถไฟฟ้าและติดตั้งระบบ 36 เดือน”

ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ด้านตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาท โดยมีค่างานโยธา 85,288.54 ล้านบาท ซึ่งรฟม.ศึกษารายงานวิเคราะห์ลงทุน PPP พร้อมกับการขออนุมัติงานโยธา ตามมติครม. โดยผลการศึกษา ให้มีรูปแบบให้มีผู้รับงาน 1 ราย รับผิดชอบทั้งงานโยธา ด้านตะวันตก งานวางระบบ จัดหารถไฟฟ้า และเดินรถสายสีส้ม ตลอดสาย (มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ- บางขุนนท์ ) ระยะทางรวม 39 กม. PPP ประเภท Net Cost ระยะเวลา 30 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/06/2018 11:46 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้ม-รถไฟทางคู่เฟส2สะดุด ติดล็อกกม.ใหม่วินัยการคลัง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 June 2018 - 11:31 น.

แผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์คมนาคม ติดหล่ม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ หวั่นเพิ่มหนี้สาธารณะ เป็นภาระงบประมาณ บอร์ด รฟม.สั่งศึกษาการเงินสายสีส้ม-สีม่วงใต้เพิ่ม รถไฟทางคู่ เฟส 2 ติดล็อกยกแผง 9 เส้นทาง ส่อหลุดโค้งประมูลไม่ทันสิ้นปีนี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อ 19 เม.ย. 2561 อาจส่งผลกระทบต่อการขออนุมัติลงทุนโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม เนื่องจากแต่ละโครงการต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังเพิ่มอีกขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งมีหลักเกณฑ์หลายอย่างต้องพิจารณาประกอบ อย่างไรก็ตาม จะเร่งรัดให้เร็วที่สุด คาดว่ากระบวนการพิจารณาจะช้าจากเดิม 2-3 เดือน

กระทบเมกะโปรเจ็กต์คมนาคม

โครงการที่ต้องเข้ากระบวนการนี้ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนใหม่ที่ยังไม่ผ่านอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่วนที่ได้รับอนุมัติก่อน พ.ร.บ.ฉบับนี้บังคับใช้ ไม่จำเป็นต้องนำกลับมาพิจารณาใหม่

โครงการที่ต้องนำกลับไปให้คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินคลังฯพิจารณา อันดับแรกคือ รถไฟทางคู่ เฟส 2 จำนวน 9 เส้นทาง เงินลงทุน 427,012 ล้านบาท ที่ต้องเร่งดำเนินการให้ได้ในปีนี้ โดยเส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323.10 กม. เงินลงทุน 76,978 ล้านบาท ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการชุดนี้แล้ว รอเสนอ ครม.อนุมัติ

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การขออนุมัติทุกโครงการต้องทำตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งสำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง จะมีแบบฟอร์มให้แต่ละหน่วยงานกรอกเพิ่ม เช่น ความคุ้มค่าด้านการเงิน เพื่อนำไปวิเคราะห์ตรวจสอบเรื่องผูกพันงบประมาณของรัฐบาล จากเดิมสภาพัฒน์พิจารณาแล้วเสนอ ครม.อนุมัติได้เลย แต่ต่อไปต้องส่งข้อมูลเพิ่มให้คณะกรรมการพิจารณา



บอร์ด รฟม.ตีกลับสายสีส้ม

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. เมื่อ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ให้ รฟม.นำรูปแบบการร่วมลงทุน PPP โครงการก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ และการเดินรถสายสีส้มจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ รวม 34.6 กม.ไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางการเงินให้ครบทุกมิติ เช่น อัตราดอกเบี้ย ปริมาณผู้โดยสาร ความคุ้มค่าของโครงการ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ ที่จะกำหนดกรอบเพดานหนี้สาธารณะ และกรอบการใช้เงินงบประมาณ ซึ่งจะเร่งดำเนินการและเสนอบอร์ดพิจารณาในการประชุมครั้งหน้าเดือน ก.ค.นี้

สำหรับสายสีส้ม ใช้เงินลงทุน 120,000 ล้านบาทเป็นค่าก่อสร้าง 90,000 ล้านบาท ค่าเดินรถ 30,000 ล้านบาท ใช้รูปแบบการลงทุน PPP net cost เวลา 30 ปี โดยรัฐเวนคืนที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนทั้งก่อสร้างและระบบเดินรถ โดยรัฐสนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินเพดานค่างานโยธา 10 ปี เหมือนสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งบอร์ดมองว่า แม้จะให้เอกชนลงทุน PPP ทั้งโครงการ แต่มีเงื่อนไขรัฐต้องสนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินเพดานค่างานโยธา และต้องจัดสรรประมาณผูกพันระยะยาว จะสร้างภาระให้รัฐบาล

“การที่ รฟม.เสนอแบบ single one single package คือ ให้งานก่อสร้างและเดินรถไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เปิดบริการได้ตามแผน เดิมเริ่มงานก่อสร้างแล้วถึงจะเปิดประมูลเดินรถ หากมีปัญหาจะเปิดใล่าช้า เหมือนสายสีแดง”

หวั่นกระทบเปิดหวูดปี”66

นายภคพงศ์กล่าวว่า คาดว่างานเดินรถของสายที่ยังไม่ได้รับอนุมัติ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปิดบริการสายสีส้มปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คืบหน้า 9.98% ตามแผนจะเปิดปี 2566 เนื่องจากปกติงานระบบจะใช้เวลา 36 เดือนในการผลิต ติดตั้งและทดสอบระบบ หากหาเอกชนดำเนินการได้ในปี 2562-2563 ถือว่ายังอยู่ในแผนงาน ตั้งเป้าไตรมาส 4 จะประกาศทีโออาร์ความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) 23.6 กม. เงินลงทุน 1.01 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างจัดหาแหล่งเงินลงทุนเพิ่ม แบ่งเป็นเงินทุนที่กระทรวงการคลังจะจัดหาเงินทุนให้ 90% อีกส่วนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) 10% รูปแบบการลงทุนจะเปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP เหมือนสายสีส้ม ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP ที่เหมาะสมระหว่าง PPP net cost และ PPP gross cost รวมถึงทำตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯใหม่ด้วย

งานทางหลวงติดหล่มถ้วนหน้า

ขณะที่นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า กรมได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวเช่นกัน ทั้งโครงการมูลค่า 1,000 ล้านบาท ที่จะขอจัดสรรงบประมาณประจำปี ในปี 2562 ไม่ต่ำกว่า 20-30 โครงการ จะเริ่มเปิดประมูลเดือน ส.ค.นี้ ให้ทันเบิกจ่ายงบประมาณเดือน ต.ค. อาจล่าช้าออกไปอีกรวมถึงโครงการขนาดใหญ่ มอเตอร์เวย์สายใหม่ เช่น นครปฐม-ชะอำ 119 กม. เงินลงทุน 80,600 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 62,600 ล้านบาท ค่าเวนคืน 18,000 ล้านบาท จะให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost รัฐเวนคืน และให้เอกชนก่อสร้างงานโยธา ติดตั้งงานระบบ และรับสัมปทานบริหารโครงการ 30 ปี

นอกจากนี้ มีมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-วังมะนาว จะสร้างเฟสแรก ช่วงต่างระดับบางขุนเทียน-มหาชัย 11.5 กม. เงินลงทุน 15,000 ล้านบาท ส่วนต่อขยายโทลล์เวย์ช่วงรังสิต-บางปะอิน 18 กม. เงินลงทุน 30,538 ล้านบาท ส่วนต่อขยายถนนบรมราชชนนี-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 6,000-7,000 ล้านบาท รวมถึงโครงการ PPP ให้เอกชนร่วมลงทุนระบบเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี 6 หมื่นล้านบาท และค่าเวนคืนสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่จะขอเพิ่มเติม 14,217 ล้านบาทด้วย

ห้ามสร้างภาระเกิน 30%

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลกล่าวว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ บังคับใช้ตั้งแต่ 20 เม.ย. 2561 ดังนั้น ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้ วันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ได้เป็นประธานประชุมคณะกรรมการชุดนี้ครั้งแรก และมีมติกำหนดกรอบวินัยการเงินการคลังบางส่วนออกมาแล้ว

สาระสำคัญของกฎหมายมีเรื่องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของรัฐไว้ โดยกำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานรัฐตามที่ได้รับมอบหมาย ต้องมียอดคงค้างรวมกันไม่เกินอัตรา 30% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จึงให้โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เตรียมเสนอ ครม. จัดทำรายงานเพิ่มเรื่องการสูญเสียรายได้รัฐมาด้วย

ชี้ไม่ต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่

“โครงการที่เข้าเงื่อนไขนี้ ส่วนใหญ่เป็นรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ รถไฟทางคู่ เป็นต้น แม้เป็นโครงการที่เอกชนลงทุน แต่มีเงื่อนไขว่า หากรัฐต้องรับภาระก็จะรับได้ไม่เกินในส่วนที่เป็นการลงทุนตัวโครงสร้างพื้นฐาน ไม่เกี่ยวการเดินรถ”

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ จะต้องจัดทำแนวปฏิบัติที่ชัดเจน จะได้ไม่เกิดปัญหาการตีความภายหลัง

ด้านนายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ชี้แจงว่า การปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ไม่ถึงขนาดต้องกลับไปเริ่มนับ 1 ใหม่ และเชื่อว่าจะไม่ส่งผลทำให้การประมูลโครงการต่าง ๆ ล่าช้า ส่วนจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับหน่วยงานเจ้าของโครงการมากกว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มต้องดูรายละเอียดว่ามีข้อติดขัดอย่างไร หากมีปัญหาก็จะจัดการในภาพรวมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 89, 90, 91  Next
Page 13 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©