RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181517
ทั้งหมด:13492755
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2021 12:33 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. เล็งเสนอเอกชนหั่นค่าตั๋วสายสีส้ม ไม่เกิน 45 บาท
เศรษฐกิจ

วันที่ 25 มกราคม 2564 - 11:55 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า การกำหนดอัตราค่าโดยสาร โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ดังนี้ เอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (อาร์เอฟพี) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ระบุอัตราค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิง ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 เริ่มต้นที่ 17 บาท โดยมีอัตราค่าโดยสารสูงสุด 62 บาท เมื่อผู้โดยสารเดินทางตั้งแต่ 12 สถานีขึ้นไป หรือคิดค่าโดยสารตามระยะทาง 3-4 บาท/สถานี ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่ใช้ในการจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการฯ ระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) ของ รฟม. ที่มีสมมติฐานกำหนดเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในปี 2567 ซึ่งคำนวณตามมาตรฐานของ รฟม.โดยอ้างอิงมาจากดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ)​ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ


นายภคพงศ์ กล่าวว่า หลังจากได้ผู้ชนะทาง รฟม.จะมีการเจรจาขอปรับลดค่าโดยสารลง ตามนโยบายจากกระทรวงคมนาคมที่ให้เจรจากับเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุดในการปรับลดอัตราค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับค่าครองชีพ และประชาชนยอมรับได้ โดยรฟม. จะใช้สมมติฐานที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 2% ต่อปี จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นอยู่ที่ 15 บาท และมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 45 บาท คิดค่าโดยสารตามระยะทาง 2.50 บาท/สถานี หรือใกล้เคียงกับสายสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นอัตราที่ประชาชนรับได้ รวมทั้งจะใช้อัตราค่าโดยสารนี้ในการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และชมพูอีกด้วย


ส่วนความคืบหน้าการหาผู้ชนะในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งออกมาแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาหาพิจารณา​เอกสารเพื่อหาผู้ชนะการประมูล ประมาณ 2 เดือน หรือในภายเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากมีผู้ยื่นประมูลเพียง 2 ราย คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ​ จำกัด (มหาชน)​ หรือ บีอีเอ็ม และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)​ หรือ บีทีเอสซี จึงคาดว่าจะใช้เวลาในการคัดเลือกไม่มาก หลังจากนั้น รฟม.จะเร่งให้การก่อสร้างดำเนินการให้ทันตามกรอบเวลาที่กำหนด คือ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก จะเปิดให้บริการภายในปี 2567 และสายสีส้มตะวันออกจะเปิดให้บริการภายในปี 2569 โดยคาดว่าเมื่อเปิดให้บริการครบทุกเส้นทางจะมีผู้โดยสารใช้บริการ 4 แสนคนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2021 3:20 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม. เล็งเสนอเอกชนหั่นค่าตั๋วสายสีส้ม ไม่เกิน 45 บาท
เศรษฐกิจ

วันที่ 25 มกราคม 2564 - 11:55 น.


รฟม.ไม่ล้มประมูล'สายสีส้ม' รอศาลตัดสินคาดมี.ค.ได้ผู้ชนะ 
จันทร์ที่ 25 มกราคม 2564 เวลา 13.33 น.

รฟม. ไม่ล้มประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม ยังรอศาลตัดสิน คาด มี.ค.ได้ตัวผู้ชนะ มั่นใจเร่งงานประมูล-ก่อสร้างได้ เปิดให้บริการตามแผน ตะวันออกปี 67 ตะวันตกปี 69 ค่าโดยสาร 15-45 บาท หั่นต่ำกว่าราคาผลศึกษา ดึงประชาชนใช้บริการรถไฟฟ้า รออีกนิดนั่งรถไฟฟ้าเชื่อมทุกสีจ่ายค่าแรกเข้าแค่ครั้งเดียว


เมื่อวันที่ 25 ม.ค. นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยความคืบหน้าการพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวิทนวงศ์) ว่า ขณะนี้ยังรอศาลปกครองสูงสุดพิจารณาตัดสินกรณีที่ รฟม.ยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ทุเลาการประกาศใช้เอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนฯ ซึ่งเป็นเกณฑ์ใหม่ที่กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน ทั้งนี้ ยืนยันว่ายังคงเดินหน้าตามขั้นตอนการประมูล ไม่มีการล้มประมูลแต่อย่างใด และคาดว่าน่าจะได้เอกชนผู้ชนะการประมูลในเดือน มี.ค.64

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า มั่นใจว่าในส่วนของความล่าช้าที่เกิดจากการฟ้องร้องนั้น เมื่อศาลฯ ตัดสินแล้ว รฟม.จะสามารถเร่งรัดการดำเนินการในขั้นตอนการประมูล และการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วได้ เพราะบริษัทที่มายื่นขอเสนอมีเพียง 2 ราย ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีทีเอ็ม และกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน – ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จึงทำให้น่าจะใช้เวลาในการประเมินข้อเสนอไม่นาน และน้อยกว่าที่ รฟม.กำหนดกรอบเวลาไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม เวลานี้ รฟม.ยังคงเป้าหมายเดิมที่จะเปิดให้บริการในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร(กม.) 17 สถานี ปี 67 และสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กม. 11 สถานี ปี 69




นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท สำหรับอัตราค่าโดยสารเบื้องต้น รฟม.จะเจรจากับผู้ชนะประมูลให้จัดเก็บในอัตรา 15-45 บาท หรือสถานีละประมาณ 2.50 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าราคาตามรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการฯ (รายงาน PPP) ของ รฟม. ที่ระบุอัตราค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิง ณ วันที่ 1 ม.ค.66 เริ่มต้นที่ 17 บาท คิดค่าโดยสารตามระยะทาง 3-4 บาทต่อสถานี โดยมีอัตราค่าโดยสารสูงสุด 62 บาท

นายภคพงศ์ กล่าวด้วยว่า ยืนยันว่าอัตราค่าโดยสารตามรายงานการศึกษาฯ ที่ปรากฏในเอกสาร RFP ไม่ใช่อัตราค่าโดยสารที่ รฟม. จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเปิดบริการรถไฟฟ้าสีส้ม แต่เป็นอัตราที่คำนวณตามมาตรฐานของ รฟม. ที่กำหนดให้รถไฟฟ้าแต่ละสายต้องใช้คิดคำนวณ จากนั้นเมื่อได้ผู้ชนะประมูลจึงจะมาเจรจาต่อรองปรับลดอัตราค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับค่าครองชีพ และประชาชนยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม การเก็บค่าโดยสารในราคาที่แพงเกินไปจะเป็นภาระแก่ประชาชน และจะทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนทำได้ยาก จึงต้องปรับให้เหมาะสมเพื่อดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการ โดยในอนาคตรถไฟฟ้าทุกสีที่เป็นของ รฟม. ไม่ว่าจะเป็น สายสีส้ม สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง และสีม่วง จะเก็บค่าแรกเข้า 14 บาทเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ส่วนสายสีเขียว ทาง กทม. เป็นผู้ดูแล คงต้องรอให้หมดสัมปทานก่อน จึงจะเจรจาได้.

เปิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีส้ม”บางขุนนนท์-มีนบุรี”15-45 บาท
*รฟม.ยันยังไม่ล้มประมูล/คาดได้ผู้ชนะมี.ค.64
*อดทนรอนั่งเชื่อมทุกสีจ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2824090954479071

รฟม.แจงค่าตั๋วรถไฟฟ้าสีส้มราคาอยู่ที่ 15-45บาท

25 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:37 น.



25 ม.ค.64-นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงถึงประเด็นที่นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย วิจารณ์ว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น เมื่อเปิดให้บริการแล้ว ราคาก็จะแพงเช่นกัน ขณะที่เป็นช่วงที่มีการโต้ตอบเรื่องปัญหาการขยายสัมปทานและราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ระหว่างกระทรวงคมนาคมและกรุงเทพมหานคร ที่กำกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

เดินได้สะดวกไม่ปวดทรมาน ไม่คิดว่าจะดีขึ้นได้ง่ายขนาดนี้ อาการปวด ลดลงเหมือนไม่เคยมี
Npraya
สำหรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น คาดการณ์อัตราค่าโดยสาร ของสายสีส้มตะวันออก(ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) จะมีราคาที่ 15 – 45 บาท เป็นราคาที่มีที่มาที่ไป และจะเป็นราคาที่ รฟม.จะใช้เจรจากับเอกชนที่ชนะการประมูล ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกด้วย ส่วนราคาที่มีการกล่าวอ้างถึง ที่ค่าโดยสารเริ่มต้น 17 บาท และมีการคิดค่าโดยสารตามระยะทาง 3 – 4 บาทต่อสถานีโดยมีอัตราค่าโดยสารสูงสุด 62 บาทเมื่อผู้โดยสารเดินทางตั้งแต่ 12 สถานีขึ้นไป โดยอัตราดังกล่าว เป็นแค่อัตราที่ระบุในเอกสาร

สำหรับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP อ้างอิง ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเอกชนทุกราย ในการประเมินรายได้จากการลงทุน สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตามแผนจะเปิดให้บริการในช่วงปี 2567

“ค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีส้มที่ราคา 15 – 45 บาท นั้น เป็นราคาที่มีที่ไปที่มา โดยเป็นการคำนวณตามดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI Non-food มีการเทียบเคียงกับราคาค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงในปัจจุบัน มีการสำรวจความเห็นของผู้ใช้บริการ และเทียบเคียงกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น โดยยืนยันว่าวิธีดังกล่าวนั้นซึ่งมีการใช้คำนวณค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในปัจจุบัน ซึ่งมีการคำนวณเพื่อปรับราคาค่าโดยสารทุก 2 ปีหากราคาดัชนีผู้บริโภคไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับลดลงในบางปี ราคาค่าโดยสารก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นแล้วในอดีต 7 – 8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดราคาค่าโดยสารที่จะต้องพิจารณาเป็นโครงข่าย ระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดโดยหากมีการกำหนดค่าโดยสารที่แพงเกินไปก็จะส่งผลกระทบ ทำให้ประชาชน เข้ามาใช้ระบบ”นายภคพงศ์ กล่าว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม จากฐานข้อมูลของรฟม.ขณะนี้ หากเปิดให้บริการในปี 2567 ในส่วนของสายสีส้มตะวันออก จะมีผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 100,000 เที่ยว-คน /วัน และเมื่อมีการเปิดให้บริการครบทั้งเส้นรวมกับสายสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2569 ก็จะมีผู้ใช้บริการประมาณ 400,000 เที่ยว-คน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2021 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอกับสายสีเขียวที่ ก.คมนาคมแย้งว่าแพง
หน้า อสังหาริมทรัพย์ /
23 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:12 น.

ดร.สามารถ โพสต์เฟซบุ๊ก "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอๆ กับสายสีเขียวที่ ก.คมนาคมแย้งว่าแพง หลัง กทม.รถไฟฟ้า สายสีเขียว ออกประกาศอัตราค่าโดยสาร 104บาท เริ่มเก็บวันแรก16ก.พ.นี้ กระทรวงคมนาคม-กรมราง กมธ.คมนาคม ค้านว่าแพง



ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ส่วนตัว โดยระบุว่ากระทรวงคมนาคมค้านการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ด้วยเหตุผลหลักคือค่าโดยสารแพง แต่ค่าโดยสารที่ว่าแพงนี้มีราคาพอๆ กับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มในสังกัดกระทรวงคมนาคม เมื่อเป็นเช่นนี้กระทรวงคมนาคมจะหั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มลงหรือไม่?
เป็นข่าวครึกโครมเมื่อกระทรวงคมนาคมออกโรงคัดค้านการขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ กทม.ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยออกไป 30 ปี ตั้งแต่ปี 2572-2602 ด้วยเหตุผลหลักคือค่าโดยสารสูงสุด 65 บาทนั้นแพงเกินไป แพงกว่าค่าโดยสารสูงสุดของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีค่าโดยสารสูงสุดเท่ากับ 42 บาท แม้ว่าได้มีการชี้แจงให้เห็นข้อเท็จจริงว่าหากคิดค่าโดยสารต่อระยะทางหนึ่งกิโลเมตร จะพบว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าเสียงค้านของกระทรวงคมนาคมก็ยังไม่เบาลงค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอกับสายสีเขียวที่ ก.คมนาคมแย้งว่าแพง
ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอกับสายสีเขียวที่ ก.คมนาคมแย้งว่าแพง

พอหันมาดูรถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม.ในสังกัดกระทรวงคมนาคมซึ่งอยู่ในระหว่างการคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุนพบว่ามีค่าโดยสารพอๆ กับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว กล่าวคือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มจะอยู่ระหว่าง 17-62 บาท ในขณะที่ ณ เวลานั้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะอยู่ระหว่าง 16-68 บาท ซึ่งคำนวณจากค่าโดยสารในปัจจุบัน 15-65 บาท (กรณีขยายสัมปทานออกไป 30 ปี) โดยใช้อัตราเงินเฟ้อ 2% ต่อปี ทั้งนี้ ในช่วงสถานีที่ 1-13 ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1-4 บาท ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่จะเดินทางไม่เกิน 13 สถานี แต่ตั้งแต่สถานีที่ 14 เป็นต้นไป ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มจะถูกกว่า 2-6 บาท ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะรถไฟฟ้าสายสีส้มได้รับเงินสนับสนุนด้านงานโยธาจากรัฐบาล แต่รถไฟฟ้าสายสีเขียวไม่ได้รับเงินสนับสนุนด้านงานโยธาจากรัฐบาลเลย
ได้เห็นตัวเลขค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีส้มชัดๆ กันอย่างนี้แล้ว หากกระทรวงคมนาคมเห็นว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวยังแพงอยู่ ก็พอจะพูดได้ใช่ไหมว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มซึ่งมีราคาพอๆ กับสายสีเขียวทั้งๆ ที่รัฐบาลช่วยสนับสนุนค่างานโยธาก็แพงเช่นกัน

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระทรวงคมนาคมก็ควรหั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มให้ถูกลงด้วยให้เหมือนกับความต้องการที่จะหั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถ้าทำได้เช่นนี้ พี่น้องประชาชนจะได้ใช้รถไฟฟ้าในราคาที่ถูกลง แต่รัฐบาลจะต้องแบกภาระหนักในการสนับสนุนค่าโดยสาร รัฐบาลจะแบกไหวมั้ย? ดูน้อยลง

รฟม.แจงปมค่าโดยสารสีส้ม 62 บาท ชี้เป็นฐานประมูล เปิดจริงเก็บ 15-45 บาท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:59 น.
ปรับปรุง: 25 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:59 น.


รฟม.โต้ “สามารถ” ค่าตั๋ว รถไฟฟ้าสายสีส้ม เก็บจริงแค่ 15-45 บาท
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:38 น.

รฟม.โต้ “สามารถ” แจงค่าโดยสารสีส้ม 17-62 บาทเป็นสมมติฐานอ้างอิงเอกสารประมูล เผยต้องเจรจากับเอกชนอีก เผยเปิดส่วนตะวันออกปี 67 เก็บจริง 15-45 บาท อนาคตทำระบบร่วมเดินทางข้ามสาย จ่ายค่าแรกเข้าแค่ครั้งเดียว

วันนี้ (25 ม.ค.) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้แถลงข่าวชี้แจงกรณีที่มีข่าวจากสื่อหลายแห่งเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2564 ที่อ้างอิงข้อความใน Facebook ของนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ระบุว่า “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอๆ กับสายสีเขียว ที่กระทรวงคมนาคมแย้งว่าแพง” ซึ่งเป็นเรื่องการกำหนดอัตราค่าโดยสาร โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 17-62 บาท นั้น เบื้องต้นอัตราค่าโดยสารข้างต้นยังไม่ใช่อัตราค่าโดยสารที่ รฟม.จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการเนื่องจากจะต้องมีการเจรจากับเอกชนผู้ชนะการประมูลก่อน

ซึ่งในเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (Request for Proposal : RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ระบุอัตราค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิง ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 เริ่มต้นที่ 17 บาท คิดค่าโดยสารตามระยะทาง 3-4 บาท/สถานี โดยมีอัตราค่าโดยสารสูงสุด 62 บาท เมื่อผู้โดยสารเดินทางตั้งแต่ 12 สถานีขึ้นไป ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่ใช้ในการจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการฯ (รายงาน PPP) ของ รฟม.ที่มีสมมติฐานกำหนดเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในปี 2566-2567 โดยคำนวณตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization

การกำหนดอัตราค่าโดยสารไว้ใน RFP เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้เอกชนทุกรายใช้อ้างอิงในการประเมินรายได้เพื่อจัดทำข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการฯ ซึ่ง รฟม.จะประเมินข้อเสนอของเอกชนแต่ละรายบนบรรทัดฐานเดียวกันได้อย่างชัดเจน และจะมีการเจรจากับเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุด เพื่อปรับลดอัตราค่าโดยสารให้เหมาะสม สอดคล้องกับค่าครองชีพ และประชาชนยอมรับได้ (Willingness to pay)

ทั้งนี้ ได้คาดการณ์อัตราค่าโดยสารเมื่อเปิดให้บริการโครงการสายสีส้มส่วนตะวันออก ในปี 2567 (โดยใช้สมมติฐานที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 2% ต่อปี) จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นอยู่ที่ 15 บาท และสูงสุดที่ 45 บาท คาดปริมาณผู้โดยสารประมาณ 1 แสนคน/วัน และเปิดตลอดสาย จากบางขุนนนท์-มีนบุรี ปี 2569 ซึ่งคาดว่าจะมีผู้โดยสาร 4 แสนคน/วัน

ปัจจัยในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เหมาะสมนั้น ได้แก่ พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร ระยะเดินทางเฉลี่ย ความเต็มใจในการจ่ายค่าโดยสารของประชาชน (Willingness to pay) เป็นต้น ซึ่งสายสีส้มใช้ค่าโดยสารพื้นฐานของสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงที่ประชาชนยอมรับได้มาเป็นฐานในการกำหนดค่าโดยสารสีส้ม ณ ปีเปิด

ส่วนกรณีที่ระบุรถไฟฟ้าสายสีเขียวค่าโดยสารสูงสุดที่ 104 บาท โดยพิจารณาเทียบกับระยะทาง 84 กม. คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ยเพียง 1.23 บาท/กม. จึงอาจไม่ได้สะท้อนค่าโดยสารจริงที่ประชาชนพึงพอใจในการจ่ายค่าเดินทาง เพราะไม่ได้นำปัจจัยด้านพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารมาประกอบการพิจารณาด้วย

ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า ในอนาคตกรณีเดินทางข้ามสายรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม.รับผิดชอบ จะจ่ายค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวซึ่งเป็นเป้าหมายของ รฟม. ซึ่งจะมีการเจรจากับเอกชนเพื่อกำหนดเป็นอัตราค่าโดยสารร่วมทั้งระบบต่อไป (Common Fair) โดยสีชมพู และสีเหลืองกำหนดค่าโดยสารที่ 15-45 บาทในปีเปิด หรือเฉลี่ย 2-3 บาท/สถานี

ทั้งนี้ ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นบริการสาธารณะ ดังนั้นอัตราค่าโดยสารจึงควรเป็นอัตราที่เหมาะสมและประชาชนยอมรับได้ นอกจากนี้ กิจการรถไฟฟ้าไม่ใช่กิจการที่ภาครัฐลงทุน โดยโครงการต้องมีความคุ้มทุน หรือเป็นกิจการที่ภาครัฐมุ่งทำกำไรเป็นหลัก จึงสมควรที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารอย่างรอบคอบ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนตัว ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดแล้ว ยังจะสามารถช่วยลดปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่หนาแน่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบันได้ด้วย

@คาดหลังมีคำสั่งศาล ประเมินข้อเสนอสีส้มเสร็จใน 2 เดือน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ยังมีกรณีฟ้องร้องนั้น นายภคพงศ์คาดว่า เมื่อศาลมีคำสั่งออกมาจะสามารถเร่งรัดขั้นตอนการพิจารณาประเมินข้อเสนอได้เรียบร้อย ภายใน 2 เดือน หรือในเดือน มี.ค. เนื่องจากมีผู้ยื่นข้อเสนอจำนวน 2 ราย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

รฟม. ชี้แจงข้อเท็จจริง การกำหนดอัตราค่าโดยสาร โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
25 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:23 น.

ตามที่ ปรากฏเป็นข่าวเผยแพร่บนสื่อสาธารณะหลายแห่ง เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2564 อ้างอิงถึงข้อความใน Facebook ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ที่ระบุหัวข้อว่า “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอๆ กับสายสีเขียว ที่กระทรวงคมนาคมแย้งว่าแพง” นั้น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าโดยสาร โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ดังนี้
1) เอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (Request for Proposal: RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ระบุอัตราค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิง ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 เริ่มต้นที่ 17 บาท คิดค่าโดยสารตามระยะทาง 3 – 4 บาท/สถานี โดยมีอัตราค่าโดยสารสูงสุด 62 บาท เมื่อผู้โดยสารเดินทางตั้งแต่ 12 สถานี ขึ้นไป ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่ใช้ในการจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการฯ (รายงาน PPP) ของ รฟม. ที่มีสมมติฐานกำหนดเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในปี พ.ศ. 2566 - 2567 ซึ่งคำนวณตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization
2) การที่เอกสาร RFP ระบุอัตราค่าโดยสารดังข้างต้น มีจุดประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเอกชนทุกรายใช้อ้างอิงในการประเมินรายได้ของเอกชนเพื่อจัดทำข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการฯ ด้วยสมมติฐานเดียวกัน ประกอบกับในขั้นตอนการประเมินข้อเสนอ รฟม. จะสามารถประเมินรายละเอียดข้อเสนอของเอกชนแต่ละรายบนบรรทัดฐานเดียวกันได้อย่างชัดเจน ดังนั้น อัตราค่าโดยสารข้างต้น จึงไม่ใช่อัตราค่าโดยสารที่ รฟม. จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเปิดบริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ตามที่ปรากฏเป็นข่าว เนื่องจาก รฟม. ได้รับนโยบายจากกระทรวงคมนาคมให้เจรจากับเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุดในการปรับลดอัตราค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับค่าครองชีพ และประชาชนยอมรับได้ (Willingness to pay) ทั้งนี้ รฟม. คาดการณ์อัตราค่าโดยสารเมื่อเปิดให้บริการโครงการสายสีส้มส่วนตะวันออกฯ ในปี พ.ศ. 2567 (โดยใช้สมมติฐานที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี) จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นอยู่ที่ 15 บาท และมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 45 บาท
3) เมื่อการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ในขั้นตอนการประเมินข้อเสนอของเอกชนแล้วเสร็จ รฟม. จะเจรจากับเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุดเพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารเป็นพื้นฐานอัตราเดียวกันกับรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม. ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีชมพู และสายสีเหลือง ที่อ้างอิงตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ปรับอัตราโดยอ้างอิงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI Non-food & beverages) ตามที่เกิดขึ้นจริง และเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวเมื่อผู้โดยสารเดินทางข้ามสายในโครงข่ายรถไฟฟ้าของ รฟม. ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มีเจตนารมณ์ให้โครงการรถไฟฟ้าของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมและช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน
อนึ่ง รฟม. ขอเรียนว่า ในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เหมาะสมนั้น มีปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องหลายมิติที่สมควรจะต้องนำมาประกอบในการพิจารณาด้วย ดังนี้
(1) การพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นและอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่เหมาะสม มีปัจจัยสำคัญประกอบการพิจารณา ได้แก่ พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร ระยะเดินทางเฉลี่ยของผู้โดยสาร ความเต็มใจใน การจ่ายค่าโดยสารของประชาชน (Willingness to pay) เป็นต้น ดังนั้น กรณีที่กำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดที่ 104 บาท โดยพิจารณาเทียบกับระยะทาง 84 กิโลเมตร คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ยเพียง 1.23 บาท/กิโลเมตร จึงอาจไม่ได้สะท้อนค่าโดยสารจริงที่ประชาชนพึงพอใจในการจ่ายค่าเดินทาง เนื่องจากไม่ได้นำปัจจัยด้านพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารมาประกอบการพิจารณาด้วย
(2) ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นบริการสาธารณะ ดังนั้น อัตราค่าโดยสารจึงควรเป็นอัตราที่เหมาะสมและประชาชนยอมรับได้ นอกจากนี้ กิจการรถไฟฟ้าไม่ใช่กิจการที่ภาครัฐลงทุนโดยโครงการต้องมีความคุ้มทุน หรือเป็นกิจการที่ภาครัฐมุ่งทำกำไรเป็นหลัก จึงสมควรที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารอย่างรอบคอบ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนตัว ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดแล้ว ยังจะสามารถช่วยลดปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่หนาแน่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบันได้ด้วย
ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทางรวม 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
https://www.thebangkokinsight.com/536220/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2021 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสารเฮ! รฟม. ลดค่าตั๋วสายสีส้ม เหลือ 15-45 บาท
หน้า Politics
26 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:35 น.

"ดร.สามารถ" เผย ข่าวดี ผู้โดยสารเฮ! รฟม. รับปาก ลดค่าตั๋วสายสีส้ม เหลือ 15-45 บาท กังขาจะทำได้จริงหรือไม่

26 มกราคม 2563 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte ถึงการแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว เนื้อหาระบุว่า ผู้โดยสารเฮ! รฟม. "รับปาก" ลดค่าตั๋วสายสีส้ม เหลือ 15-45 บาท เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ รฟม.ออกมาประกาศก้องว่า จะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มจาก 17-62 บาท เหลือ 15-45 บาท จะทำได้จริงหรือไม่ ต้องติดตาม
ADVERTISEMENT

หลังจากผมได้เขียนบทความเรื่อง "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอๆ กับสายสีเขียวที่ ก.คมนาคมแย้งว่าแพง" ไปเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2564 ทำให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต้องออกมาชี้แจงเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 เนื้อหาในบทความของผมสรุปได้ว่า จากเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน (Request for Proposal หรือ RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม.ระบุ ค่าโดยสาร ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 ราคา 17-62 บาท ซึ่งเป็นอัตราใกล้เคียงกับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่ถูกกระทรวงคมนาคมแย้งว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวแพง ดังนั้น ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มก็ต้องถือว่าแพงเช่นกัน ผมจึงเรียกร้องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาลดค่าโดยสารลงมา ในที่สุด รฟม.ในสังกัดกระทรวงคมนาคมได้ออกโรงมาชี้แจงว่า ค่าโดยสารที่ระบุไว้ใน RFP ราคา 17-62 บาทนั้น ใช้เฉพาะให้เอกชนยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนโดยใช้สมมติฐานค่าโดยสารเดียวกันในการคำนวณรายได้จากค่าโดยสาร แต่เมื่อเปิดใช้งานจริง รฟม.จะลดค่าโดยสารลงเหลือ 15-45 บาท การชี้แจงดังกล่าวเป็นไปตามที่ผมเรียกร้องให้หั่นค่าโดยสารลงมา เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีส้มได้รับเงินสนับสนุนด้านงานโยธาจากรัฐบาล ดังนั้น รฟม.จึงสามารถทำให้ค่าโดยสารถูกลงได้ ผมดีใจที่ รฟม.รับปากว่า จะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้ม และเข้าใจดีว่า ทำไม รฟม.ต้องออกมาชี้แจงเช่นนั้น การลดค่าโดยสารให้ต่ำลงจากที่ระบุไว้ใน RFP ถือเป็นครั้งแรกในการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับรัฐ การประมูลโครงการอื่นที่ผ่านมาไม่เคยเป็นเช่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น การประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง รฟม.ระบุ ค่าโดยสารใน RFP ราคา 14-42 บาท เมื่อเปิดใช้งานจริง รฟม.ก็จะเก็บในอัตรานี้ รฟม.อ้างว่า เหตุที่ระบุค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มไว้ใน RFP ราคา 17-62 บาท แต่ของจริงจะเก็บ 15-45 บาท เป็นเพราะต้องการให้เอกชนยื่นข้อเสนอโดยใช้สมมติฐานเดียวกัน นั่นคือค่าโดยสาร 17-62 บาท ถามว่าทำไม รฟม.จึงไม่ระบุให้เอกชนใช้ค่าโดยสารจริงคือ 15-45 บาท เป็นบรรทัดฐานเดียวกันในการคำนวณรายได้จากค่าโดยสาร ซึ่งสามารถทำได้ และ รฟม.ได้ทำมาแล้วในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าอื่นทุกโครงการ ผมเห็นด้วยที่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มจะถูกลง แต่การลดค่าโดยสารแบบที่ รฟม.กำลังจะทำจะก่อให้เกิดปัญหาต่อ รฟม. ดังนี้ 1.เอกชนผู้ชนะการประมูลจะขอลดผลตอบแทนที่เขาจะแบ่งให้ รฟม. เนื่องจากเขาคำนวณผลตอบแทนโดยใช้อัตราค่าโดยสาร 17-62 บาท เป็นฐานในการคำนวณ หาก รฟม.ลดค่าโดยสารลง ผลตอบแทนย่อมลดตามลงด้วย ด้วยเหตุนี้ รฟม.พร้อมจะรับผลตอบแทนน้อยลงหรือไม่? 2.เอกชนผู้แพ้การประมูลจะร้องขอความเป็นธรรมจาก รฟม. เขาอาจอ้างว่าเขาสามารถเพิ่มผลตอบแทนแก่ รฟม. ให้สูงกว่าผลตอบแทนของผู้ชนะการประมูลที่ลดลงมาแล้วก็ได้ เพื่อทำให้เขาเป็นผู้ชนะการประมูล



https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/2270173689794188
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2021 6:06 pm    Post subject: Reply with quote

ซักฟอก “ศักดิ์สยาม” เอื้อธุรกิจดิวตี้ฟรี รื้อ TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม
หน้า Politics
25 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:10 น.

"อภิปรายไม่ไว้วางใจ" จ่อถล่ม “ศักดิ์สยาม” เอื้อธุรกิจดิวตี้ฟรี- รื้อทีโออาร์รถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้าน "ธรรมนัส" จี้ ปมทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล และเสนอตั้ง "จุ๊บจิ๊บ-ธนพร" เป็น ขรก.การเมือง

จากกรณีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลของพรรคร่วมฝ่ายค้านโดยหนึ่งนั้น คือ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน ระบุถึงพฤติการณ์ว่า บริหารราชการแผ่นดินโดยเห็นแก่ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่เกิดกับประเทศชาติและประชาชน เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนผูกขาดเพื่อให้มีสิทธิดำเนินงานในกิจการของรัฐ โดยไม่รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ทุจริตต่อหน้าที่และปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในหน่วยงานที่ กำกับดูแลสมคบกันเพื่อปิดบังการทุจริต ไม่ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

ทั้งนี้ คาดว่า นายศักดิ์สยาม จะถูกฝ่ายค้านหยิบยกประเด็นการเอื้อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจให้กับบริษัทที่ประกอบธุรกิจดิวตี้ฟรี รวมถึงประเด็นที่ไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทีโออาร์ในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม หรือแม้แต่การที่กระทรวงคมนาคมมีความเห็นคัดค้านการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยต้องการให้อายุสัมปทานหมดลงก่อนแล้วค่อยประมูลกันใหม่ ทั้งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงทั้งกทม. และกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาแล้ว และคาดมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิส่วนต่อขยายด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2021 10:55 pm    Post subject: Reply with quote

#อัพเดทหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีส้ม ณ เดือนมกราคม 2564
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
28 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:52 น.

อัพเดทข้อมูลแผนการทำงานของหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม
สำหรับหัวเจาะ TBM Tunnels ทั้ง 4 ตัว ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม #เราอยู่ที่ไหนกันบ้าง ตามนี้เลยจ๊า
#TBMตัวที่1 *เสร็จสิ้นภาระกิจเรียบร้อยแล้ว* กำลังถอดชิ้นส่วน และปลดระวาง
#TBMตัวที่2 อยู่ที่ปล่องระบายอากาศที่ 12 และจะเจาะอุโมงค์ไปยังสถานีปลายทาง ที่ สถานีรามคำแหง ในเดือนกุมภาพันธ์ 64
#TBMตัวที่3 อยู่ที่สถานี กกท. จะเจาะอุโมงค์ไปยังปล่องระบายอากาศที่ 13 และ สถานีปลายทาง ที่ สถานีรามคำแหง ในเดือนพฤษภาคม 2564
#TBMตัวที่4 ออกจากสถานีลำสาลี ไปยังปล่องระบายอากาศที่ 12 และสถานีปลายทางที่ สถานีหัวหมาก ในเดือนมีนาคม 2564
#งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม #ขออภัยในความไม่สะดวก #Orangeline#รฟม. #เรายกระดับชีวิตเมือง
COVID-19 #สวมหน้ากากล้างมือบ่อยๆเว้นระยะห่าง
อย่าลืม ดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2021 5:53 pm    Post subject: Reply with quote

ชงล้ม ประมูล รถไฟฟ้า "สายสีส้ม" ไม่รอคำสั่ง ศาลปกครอง
หน้าอสังหาริมทรัพย์ /
อังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 22:52 น.

จับตา ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ! เดินหน้าเปิดประมูลใหม่ ไม่รอ คำชี้ขาดศาลปกครองสุงสุด ยัน เวลาล่วงเลยมานาน ดีเดย์ วันที่3ก.พ. บอร์ดมาตร36 (พีพีพี) ประชุมด่วนเคาะ2.ทางออก


การแก้ไข ทีโออาร์หรือ หลักเกณฑ์ การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ระยะทาง35.9กิโลเมตร มูลค่า 1.42แสนล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) โดยนำซองเทคนิค พิจารณาร่วมกับซองคะแนน โดย เทคนิค 30คะแนน และ ราคา70คะแนน แทน เงื่อนไข ทีโออาร์เดิมที่ พิจารณาซองราคา 100% ส่งผลให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี (โจทย์)ยื่นฟ้อง คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 (พีพีพี) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(บางขุนนนท์-มีนบุรี) (จำเลย) คดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 เพื่อคุ้มครองฉุกเฉิน และ เมื่อวันที่ 30ตุลาคม2563 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทำให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต้องกลับไปใช้หลักเกณฑ์การประมูลเดิมที่ใช้เกณฑ์การตัดสินคะแนนทางการเงิน 100 คะแนน พร้อมทั้งนัดวันเวลาให้เอกชน ผู้ซื้อซอง ยื่นซองประกวดราคาตามกำหนดการเดิม เพียงแค่รอคำสั้งศาล ชี้ขาดเท่านั้นจึงจะเปิดซองได้ แต่เนื่องจาก ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำสั่ง จึงเป็นเหตุให้ การประมูลโครงการสายสีส้มอาจล่าช้าออกไป




ชงล้ม ประมูล รถไฟฟ้า "สายสีส้ม" ไม่รอคำสั่ง ศาลปกครองสำหรับทางออก วัน พุธที่3 กุมภาพันธ์2564 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 มีวาระพิจารณา ยกเลิก การประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ออกไปก่อน ไม่ต้องรอการพิจารณาของศาลปกครอง โดยให้เหตุผลว่า ระยะเวลาที่ศาลปกครองต้องใช้พิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการคคัดเลือกตามมาตรา 36 ยังต้องใช้เวลาอีกนาน ทั้งนี้ การประชุมของคณะกรรมการ จะพิจารณาทางออก 2 แนวทาง คือ 1.ยกเลิกการประมูลครั้งนี้และให้ถอนอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของศาลปกครองกลาง และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางคดี โดยมอบให้ รฟม.พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2.เห็นชอบในหลัการคัดเลือกผู้ชนะการประมูลจากข้อเสนอทางเทคนิค (ซอง 2) ร่วมกับข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ซอง 3) ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ได้เคยเห็นชอบไว้ โดยมอบหมายให้ รฟม.ทำร่างประกาศเชิญชวนและร่างเอกสารการคัดเลือกตามหลักการดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 พิจารณา
รวมทั้งให้ รฟม.รายงานกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี รับทราบการใช้เกณฑ์การประเมินข้อเสนอดังกล่าวเพื่อความชัดเจนก่อนคัดเลือกเอกชนขั้นต่อไปทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้เสนอเลือกแนวทางยกเลิกประมูลสายสีส้มเพราะจะทำให้การคัดเลือกเอกชนร่วมดำเนินการได้เร็วตามเป้าหมายต่อไป


"ผมไม่คิดว่าเขาจะกล้าล้มสายสีส้ม!"
หน้า อสังหาริมทรัพย์ /

พุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:02 น.

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ส่วนตัว กรณีกระแสข่าว เกียวกราว คณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา36 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่า "ผมไม่คิดว่าเขาจะกล้าล้มสายสีส้ม!"


ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า เป็นข่าวเกรียวกราวตั้งแต่ค่ำวานนี้ (วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564) ว่าเช้าวันนี้ (3 กุมภาพันธ์ 2564) จะมีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเพื่อพิจารณายกเลิกการประมูลที่มีการยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนไปในเดือนพฤศจิกายน 2563การประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีเอกชนซื้อเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน (RFP) จำนวน 10 ราย มีเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ขอให้คณะกรรมการฯ เปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินหลังจากปิดการขายเอกสาร RFP แล้ว แต่อีก 9 ราย ไม่ขอให้เปลี่ยน ซึ่งในที่สุด รฟม.ได้ยอมเปลี่ยนหลักเกณฑ์ตามการร้องขอของเอกชนเพียงรายเดียวแล้วเสร็จภายในเวลา 2 สัปดาห์ หลักเกณฑ์เดิมคณะกรรมการฯ จะต้องพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคของเอกชนก่อนโดยกำหนดเกณฑ์สอบผ่านไว้สูงถึง 85% หากสอบผ่านจึงจะพิจารณาข้อเสนอผลตอบแทนให้แก่รัฐ ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมดีมากอยู่แล้ว แต่หลังจากปิดการขายซองประกวดราคาแล้ว รฟม.เปลี่ยนไปใช้เกณฑ์ใหม่ กล่าวคือ พิจารณาความสามารถด้านเทคนิคและด้านผลตอบแทนให้แก่รัฐพร้อมๆ กัน ใครได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งอาจทำให้ผู้ยื่นข้อเสนอผลตอบแทนให้แก่รัฐมากที่สุดไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลก็ได้ ส่งผลให้ประเทศชาติสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจำนวนมากเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน




ที่ผ่านมา รฟม.ได้คัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ เช่นโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ไม่เคยมีการก่อสร้างในประเทศไทยมาก่อน โดย รฟม.ไม่เคยนำความสามารถด้านเทคนิคมารวมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทนให้แก่รัฐ แต่พิจารณาแยกกัน กล่าวคือหากผู้ยื่นข้อเสนอรายใดสอบผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิค ก็จะพิจารณาข้อเสนอด้านผลตอบแทนให้แก่รัฐ ใครเสนอมากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ปรากฏว่า รฟม.สามารถคัดเลือกได้ผู้ชนะการประมูลที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูงและเสนอผลตอบแทนให้แก่รัฐมากที่สุด ทำให้การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ประสบความสำเร็จมาทุกโครงการหน่วยงานอื่น เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก็ใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโดยพิจารณาความสามารถด้านเทคนิคก่อน หากได้คะแนนตามที่กำหนดไว้ จึงจะพิจารณาผลตอบแทน ใครให้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล ยกตัวอย่างเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน และใช้วงเงินลงทุนสูง แต่ รฟท.ก็ไม่ได้พิจารณาความสามารถด้านเทคนิครวมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทนให้แก่รัฐ ดังเช่นที่ รฟม.กำลังทำอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีโครงการขนาดใหญ่อื่นอีกหลายโครงการที่พิจารณาด้านเทคนิคก่อน หากได้คะแนนตามที่กำหนดไว้ จึงจะพิจารณาผลตอบแทน ใครให้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล เช่น โครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 (สายอีสาน) และหมายเลข 81 (บางใหญ่-กาญจนบุรี) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นต้นเมื่อมีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์กลางอากาศเช่นนี้ เอกชนที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมนั่นคือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสได้ไปร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองกลาง ซึ่งในที่สุดศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ทุเลาการใช้หลักเกณฑ์ใหม่ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น นั่นหมายความว่า รฟม.ไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์ใหม่ในขณะนี้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

หลังจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดี (คณะกรรมการฯ และ รฟม.) ได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งขณะนี้ศาลปกครองสูงสุดกำลังพิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์อยู่ตามที่ผู้บริหารของ รฟม.ได้แถลงเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “ขณะนี้ รฟม.รอคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด คาดว่าจะใช้เวลาราว 2 เดือน จะได้ข้อยุติ มั่นใจว่า รฟม.จะสามารถเจรจาข้อเสนอกับเอกชนที่ยื่นประมูลทั้ง 2 รายได้เร็ว (ซื้อเอกสาร RFP 10 ราย แต่ยื่นข้อเสนอเพียง 2 ราย) และสามารถสรุปผลการคัดเลือกได้ตัวเอกชนภายในเดือนมีนาคมนี้ เพราะจะใช้เวลาพิจารณาไม่มาก เนื่องจากมีเพียง 2 ราย มั่นใจว่าจะเปิดเดินรถได้ตามเป้าหมาย”จากถ้อยแถลงของผู้บริหาร รฟม.สรุปได้ว่าการรอคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดไม่ทำให้การบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มได้รับความเสียหาย ด้วยเหตุนี้ ถามว่าแล้วทำไมจึงจะมีการประชุมในเช้าวันนี้เพื่อพิจารณายกเลิกการประมูล แล้วเปิดประมูลใหม่โดยใช้หลักเกณฑ์ใหม่ และให้ถอนอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลาง เหตุใดจึงไม่รอคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด? หากที่ประชุมคณะกรรมการฯ ในเช้าวันนี้มีมติให้ยกเลิกการประมูล แล้วเปิดประมูลใหม่ ผมถือว่าเป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญชาญชัยจริงๆ แบบไม่เคยมีมาก่อนข้อสงสัยและข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2021 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะแล้ว!ล้มประมูล'รถไฟฟ้าสายสีส้ม' 1.2แสนล้านบาท
พุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12.11 น.
ด่วน บอร์ดมาตรา 36 ไฟเขียวล้มประมูล "สายสีส้ม"
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12:51 น.

เคาะแล้ว! คณะกรรมการ ม.36 ล้มประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม 1.2 แสนล้าน รฟม.เตรียมออกประกาศนับหนึ่งเริ่มกระบวนการ ใช้เกณฑ์ใหม่เฟ้นเอกชนเทคนิค 30% ราคา 70%

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ที่ประชุมมีมติยกเลิกการประกวดราคา(ประมูล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เนื่องจากมองว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ทำให้ทุกคนอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ที่สำคัญจะทำให้โครงการเดินต่อไปไม่สะดุด และเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ อย่างไรก็ตามในส่วนของรายละเอียดต่างๆ รฟม. จะเป็นผู้กำหนดอีกครั้ง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนี้ รฟม. จะเร่งออกประกาศยกเลิกทันที เพื่อเริ่มกระบวนการประมูลใหม่ทั้งหมด โดยการประมูลใหม่จะใช้หลักเกณฑ์พิจารณาการพิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน อย่างไรก็ตามการล้มประมูลถือว่าสามารถทำได้ เพราะ รฟม. ได้แจ้งสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการประมูลไว้ในเอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ไว้อยู่แล้ว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า การพิจารณายกเลิกประมูลโครงการฯ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดี จะทำให้ รฟม. ไม่ต้องลุ้นผลการพิจารณาคดีของศาลปกครอง รวมถึงไม่ต้องรอลุ้นว่าเมื่อศาลฯ ตัดสินแล้วจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร และจะติดปัญหาอะไรอีกหรือไม่ ส่วนข้อเสีย จะทำให้การเดินหน้าโครงการฯ ช้ากว่าแผนเดิมอย่างน้อย 6-9 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ รฟม.ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
 
ทั้งนี้ รฟม. ได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 พ.ย.63 โดยในครั้งนั้นมีบริษัทยื่นซองข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ 2 กลุ่ม (4 ราย) จากเอกชนที่ซื้อเอกสารข้อเสนอทั้งหมด 10 ราย โดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM มายื่นข้อเสนอเป็นรายแรก ตามด้วยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR) ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON ทั้งนี้ถือว่าเป็นไปตามความคาดหมายที่คาดการณ์กันว่า โครงการนี้จะเป็นการประมูลที่แข่งขันกันระหว่าง 2 ขั้วคือ BEM และ BTS

https://www.dailynews.co.th/economic/823016

https://www.thansettakij.com/content/property/467150
https://www.prachachat.net/property/news-606892
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2830738847147615
https://www.naewna.com/business/550083
https://mgronline.com/business/detail/9640000010835
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2830565320498301

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ ฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุน 1.4 แสนล้านบาท เปิดเผยว่า วันนี้ (3 ก.พ.) ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติให้ยกเลิกการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า เกิดความล่าช้าในกระบวนการของศาล ในกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่าง รฟม. และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC โดยขณะนี้กระบวนการศาล ได้กินเวลามาแล้ว 1-2 เดือน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการโครงการให้ล่าช้าออกไปและอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องกรอบเวลาการยืนราคาประมูลด้วย
ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางการ คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงมีจะมีมีมติให้ยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ และเร่งรัดให้ รฟม. เร่งดำเนินการเปิดประมูลใหม่โดยเร็วต่อไป ซึ่งเชื่อว่า รฟม. จะสามารถบริหารจัดการระยะเวลาการดำเนินโครงการได้ดีกว่าหากเปิดประมูลครั้งใหม่
ส่วนจะเปิดประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม อีกเมื่อไหร่ และใช้เงื่อนไขการประมูล (TOR) รูปแบบใดนั้น ยังไม่สามารถบอกได้เพราะขึ้นอยู่กับ รฟม. โดย รฟม. จะต้องไปกำหนดรายละเอียดและนำมาเสนอคณะกรรมการคัดเลือกฯ อีกครั้ง
“รฟม.” แถลงการณ์ชี้แจง
ในวันเดียวกัน รฟม. ในฐานะผู้ดำเนินโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ได้ออกแถลงการณ์ การพิจารณาแนวทางดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีเนื้อหาดังนี้
วันนี้ (3 ก.พ.) คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้พิจารณาแนวทางดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ รวมถึงสถานะของการดำเนินงานในปัจจุบันและเห็นว่า
ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าทางคดี ส่งผลให้ไม่สามารถคาดการณ์กรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนได้ ซึ่งหากปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยไป อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้การคัดเลือกเอกชนเกิดความล่าช้า และอาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในภาพรวม
ดังนั้น คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36ฯ จึงมีมติโดยสรุปว่า ให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนสายสีส้มฯ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ดังกล่าว และได้มอบหมายให้ รฟม. พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็น
ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี)
ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
ก่อน ยกเลิกประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”
รฟม. เปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเมื่อกลางปี 2563 ประกอบด้วยงานเดินรถตลอดสาย ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มูลค่ารวม 1.4 แสนล้านบาท
ต่อมาคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ปรับแก้เกณฑ์การให้คะแนนการประมูลกลางอากาศ จากเดิมจะตัดสินผู้ชนะด้วยข้อเสนอด้านราคา 100% ก็เปลี่ยนเป็นให้คะแนนแบบถ่วงน้ำหนัก ข้อเสนอด้านเทคนิค 30% และข้อเสนอด้านผลตอบแทน 70%
ในการประมูลครั้งนี้มีผู้ยื่นซอง 2 กลุ่มคือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR) ซึ่งนำโดยบีทีเอส (BTS) โดย BTS มองว่าการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การให้คะแนนดังกล่าวไม่เป็นธรรม จึงฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางให้ รฟม. กลับมาใช้เกณฑ์ประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม แบบเดิม ซึ่งศาลฯ ก็ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามที่ BTS ร้องขอ
ด้าน รฟม. ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและเลื่อนกระบวนการเปิดซองข้อเสนอออกไปก่อน เพื่อรอฟังคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด แต่ล่าสุดคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีมติยกเลิกการประมูลในปี 2563 เพื่อเริ่มเปิดประมูลใหม่ ด้วยเหตุผลว่ากระบวนการศาลใช้เวลาค่อนข้างนาน เกรงว่าจะกระทบต่อการดำเนินโครงการ
https://www.thebangkokinsight.com/543676/?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2021 10:05 pm    Post subject: Reply with quote

ศึกรถไฟฟ้าสายสีส้ม สะเทือนการต่อสัมปทานรถไฟสายสีเขียว ?
เศรษฐกิจ
พุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เเวลา 18:32 น.


เผยไทม์ไลน์สำคัญของรถไฟฟ้าสายสีส้ม และไทม์ไลน์การต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ยังไม่อาจรู้ได้ว่า เส้นทางการต่อสัมปทานของรถไฟฟ้าสายสีเขียว กับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม จะลงเอยอย่างไร ? หลังจากทั้ง 2 โครงการเกิดเหตุสะดุด

โดยการต่อสัญญาสัมปทาน ถูกทักท้วงจากการกระทรวงคมนาคม จึงยังไม่อาจส่งให้ที่ประชุม ครม. เห็นชอบได้

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังจากมีการปรับเกณฑ์ประเมินการประมูล กระทั่งมีการฟ้องร้อง และศาลปกครองมีคำสั่งให้ทุเลาการใช้เกณฑ์ประเมินใหม่ ก่อนคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ได้มีมติให้ยกเลิกประมูลในวันนี้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่ถูกกระทรวงการคมนาคมทักท้วงการต่อสัมปทาน อยู่ในความรับผิดของกรุงเทพมหานคร ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม อยู่ในความดูแลของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สังกัดกระทรวงการคมนาคม

ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ทั้งสองโครงการจะมีบทสรุปอย่างไร ?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2021 10:31 am    Post subject: Reply with quote

ล้มประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” 1.28 แสนล้าน รฟม.ตั้งต้นใหม่
อสังหาริมทรัพย์
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13:19 น.

บอร์ดคัดเลือกรถไฟฟ้าสายสีส้ม ”บางขุนนนท์-มีนบุรี” ทุบโต๊ะล้มประมูล ผ่าทางตันเดินหน้าโครงการ หลังดีเลย์กว่า 2 เดือน เผยไม่รู้ศาลปกครองจะตัดสินเมื่อไหร่ สั่งทำทีโออาร์ประมูล ตั้งต้นประมูลใหม่ ผู้ว่าฯรฟม.คาดใช้เวลา 1-2 เดือน ย้ำไม่มีเกณฑ์เก่า-เกณฑ์ใหม่ เปิดรับฟังความคิดเห็นเอกชนยกร่างเกณฑ์

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ ด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานประธานคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติยกเลิกการประมูล

“การพิจารณาดังกล่าว เป็นการประชุมต่อเนื่องจากที่คณะกรรมการพิจารณาไว้ ถ้าเกิดใน 1 เดือน ถ้ายังไม่ข้อสรุป ถ้าดูแล้วมีความล่าช้าออกไป กระทบต่อการดำเนินการโครงการ คณะกรรมการสั่งให้ฝ่ายเลขาฯจัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในระยะ 1 เดือน แต่ตอนนี้ล่าช้ามากว่า 2 เดือนแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้า จึงติดตามโครงการ ไม่ให้กิดความล่าช้าต่อไป คิดว่ายกเลิกประมูลและเร่งขั้นตอนใหม่ให้โครงการเป็นไปตามแผนงาน ไม่กระทบต่อภาพรวมโครงการ”

นายกิติกรกล่าอีกว่า ในรายละเอียดต่อจากนี้ จะนำมตินี้ส่งให้ รฟม.เพื่อรับดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและ พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 ต่อไป จะใช้ระยะเวลาอีกกี่เดือนอยู่ที่ รฟม.เป็นผู้กำหนดกรอบดำเนินการ แต่คณะกรรมการต้องการให้เร่งรัดให้มีความรวดเร็วในการประมูล เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้ตามแผนงานที่กำหนด

“การเปิดประมูลใหม่ ทางคณะกรรมการพิจารณาแล้วจะทำให้ไม่เกิดความล่าช้า เพราะหากรอคำตัดสินของศาลปกครองไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเร็วหรือช้า ไม่รู้ว่าเป้าหมายจะเป็นยังไง ซึ่งขั้นตอนที่ทำนี้ดูแล้วจะทำให้เกิดความชัดเจนในช่วงเวลาได้ และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อโครงการ ส่วนการถอนฟ้องกับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซี ขั้นตอนนี้ รฟม.จะรับไปดำเนินการ ในส่วนของคณะกรรมการมองแค่ว่าเลิกประมูลเท่านั้น และใ้ห้เริ่มกระบนการขั้นตอนใหม่ ให้ รฟม.เสนอกลับมาอีกครั้ง”


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการมาตรา 36 ยกเลิกประมูลแล้ว รฟม.จะต้องตั้งต้นการประมูลใหม่ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินประมาณ 1 -2 เดือนนับจากนี้ เนื่องจากจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็ของภาคเอกชน เพื่อนำมาประกอบในการกำหนดร่างทีโออาร์ที่จะเปิดประมูลใหม่ เช่น เกณฑ์การพิจารณาคะแนน ด้านเทคนิค เป็นต้น

“ตอนนี้ไม่มีเกณฑ์พิจารณาการประมูลเก่าที่พิจารณทีละซองหรือเกณฑฑ์ใหม่ที่จะพิจารณาซองเทคนิคพร้อมกับซองการเงิน เพราะเราจะตั้งต้นใหม่ทั้งหมด“


ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทาง รฟม.เปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP net cost 30 ปี
เงินลงทุน 128,128 ล้านบาท ก่อสร้างช่วงตะวันตก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ” กับจัดหาระบบ ขบวนรถไฟฟ้า แลกกับการรับสัมปทานเดินรถตลอดสาย โดย รฟม.ออกค่าเวนคืน 14,621 ล้านบาท สนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท

โดยเปิดยื่นซองเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 มีผู้ยื่นข้อเสนอ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ 2.กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) และ บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น โดยทั้ง 2 กลุ่ม ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิค การเงินและข้อเสนออื่น ๆ เพิ่มเติม

ปัจจุบัน รฟม.กำลังก่อสร้างช่างศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มีความคืบหน้างานก่อสร้างกว่า 70% ตามแผนจะเปิดบริการในปี 2567 ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม จะเปิดบริการในปี 2569

คกก.ม.36 เคาะล้มประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม 1.2 แสนล้านบาท

03 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 14:16 น.

3 ก.พ.2564 นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ที่ประชุมมีมติยกเลิกการประกวดราคา(ประมูล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เนื่องจากมองว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ทำให้ทุกคนอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ที่สำคัญจะทำให้โครงการเดินต่อไปไม่สะดุด และเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้

"ส่วนหลักเกณฑ์การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจะใช้เกณฑ์เดิมที่เคยเปิดประมูลหรือเกณฑ์ใหม่นั้น เรายังไม่ได้มองถึงขั้นนั้น เนื่องจากต้องรอ รฟม.พิจารณาก่อนว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้เราอยากให้เร่งรัดกระบวนการเปิดประมูลให้รวดเร็วอยู่แล้ว ซึ่งขั้นตอนการประกวดราคาทางบอร์ดมาตรา 36 พิจารณาแล้วจะไม่ทำให้เกิดความล่าช้า เหมือนกับที่เรารอโดยไม่รู้ว่าเป้าหมายเราจะเป็นอย่างไร โครงการฯนี้มีไทม์ไลน์แน่นอนเราอยากให้การดำเนินการโครงการภาครัฐไม่สะดุด ซึ่งพิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์สูงสุดต่อโครงการ อีกทั้งเราไม่สามารถกำหนดระยะเวลาการพิจารณาตัดสินของศาลปกครองได้เลย ทำให้ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการประกวดราคา การยืนราคา เพราะฉะนั้นการเริ่มประมูลโครงการใหม่เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ดีที่สุด"นายกิตติกร กล่าว

ทั้งนี้ รฟม.จะถอนฟ้องศาลปกครองกรณียื่นอุทธรณ์การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มหรือไม่ ขณะนี้ต้องรอให้รฟม.ดำเนินการพิจารณาก่อนส่วนเอกชนมีสิทธิยื่นฟ้องหรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ เพราะบอร์ดมีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกประมูลเท่านั้น หลังจากนี้จะมีกระบวนการตรวจสอบขั้นตอนที่ถูกต้องเป็นไปตามข้อกฎหมายตามพ.ร.บ.ร่วมลงทุน ว่าจะดำเนินการอย่างไร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระบวนการหลังจากนี้ หลังจากนี้ รฟม. จะเร่งออกประกาศยกเลิกทันที เพื่อเริ่มกระบวนการประมูลใหม่ทั้งหมด โดยการประมูลใหม่จะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน อย่างไรก็ตามการล้มประมูลถือว่าสามารถทำได้ เพราะ รฟม. ได้แจ้งสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการประมูลไว้ในเอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ไว้อยู่แล้ว

ส่วนการพิจารณายกเลิกประมูลโครงการฯ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดี จะทำให้ รฟม. ไม่ต้องลุ้นผลการพิจารณาคดีของศาลปกครอง รวมถึงไม่ต้องรอลุ้นว่าเมื่อศาลฯ ตัดสินแล้วจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร และจะติดปัญหาอะไรอีกหรือไม่ ส่วนข้อเสีย จะทำให้การเดินหน้าโครงการฯ ช้ากว่าแผนเดิมอย่างน้อย 6-9 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ รฟม.ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

ทั้งนี้ รฟม. ได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 พ.ย.63 โดยในครั้งนั้นมีบริษัทยื่นซองข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ 2 กลุ่ม (4 ราย) จากเอกชนที่ซื้อเอกสารข้อเสนอทั้งหมด 10 ราย โดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM มายื่นข้อเสนอเป็นรายแรก ตามด้วยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์(BSR) ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน – ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON ทั้งนี้ถือว่าเป็นไปตามความคาดหมายที่คาดการณ์กันว่า โครงการนี้จะเป็นการประมูลที่แข่งขันกันระหว่าง 2 ขั้วคือ BEM และ BTS

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดเผยว่า ทราบข่าวแล้ว และหลังจากนี้คาดว่า รฟม.จะมีการแจ้งเหตุผลของการยกเลิกการประมูลอีกครั้ง โดยขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไร ขณะที่ในหนังสือที่รฟม.ได้แจ้งสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการประมูล ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วเพราะว่าจะมีการใส่ไว้ทุกโครงการ

ส่วนก่อนหน้านี้ที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวบีทีเอส โดยให้ รฟม. กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิม คือ เปิดซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงินและซองข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติม แต่รฟม. ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลาง กรณีมีคำสั่งทุเลาการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินโครงการดังกล่าว นายสุรพงษ์ระบุว่า ขณะนี้ได้ไต่สวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงรอศาลนัดฟังคำวินิจฉัย


ล้มประมูลรถไฟสายสีส้ม รฟม.ยุติข้อพิพาทชั้นศาล เตรียมประกวดราคาใหม่
หน้าโลกธุรกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) มีมติยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) แล้ว



โดยที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดและจะทำให้โครงการสามารถเดินต่อไปได้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ เพราะหากรอการพิจารณาตัดสินของ ศาลปกครอง จะไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้

ส่วนของหลักเกณฑ์การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯครั้งใหม่ จะใช้เกณฑ์เดิมที่เคยเปิดประมูลหรือเกณฑ์ใหม่นั้นก็จะต้องรอ รฟม.พิจารณาก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งขั้นตอนการประกวดราคาทางคณะกรรมการฯมาตรา 36 พิจารณาแล้วจะไม่ทำให้เกิดความล่าช้ามีกรอบเวลาที่ชัดเจนและจะพิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์สูงสุดต่อโครงการ


ทั้งนี้ หลังจากมีการร้องศาลปกครอง และมีการคุ้มครองชั่วคราว หากรอการพิจารณาตัดสินของศาลปกครองจะไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ทำให้ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการประกวดราคา การยืนราคา จึงมองว่าการเริ่มประมูลใหม่เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ดีที่สุด ขณะที่ในส่วนของ รฟม.จะถอนฟ้องศาลปกครอง กรณีที่ก่อนหน้านี้ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลหรือไม่ ขณะนี้ต้องรอให้รฟม.ดำเนินการพิจารณาก่อน ส่วนเอกชนมีสิทธิยื่นฟ้องหรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากทางคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกประมูลเท่านั้น



นอกจากข้อเสียก็คือจะส่งผลทำให้โครงการฯ ช้ากว่าแผนเดิมอย่างน้อย 6-9 เดือน หลังจากนี้จะมีกระบวนการตรวจสอบขั้นตอนที่ถูกต้องเป็นไปตามข้อกฎหมายตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ ว่าจะดำเนินการอย่างไร

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(BTS) เปิดเผยว่าหลังจากนี้ทางรฟม.จะมีการแจ้งเหตุผลของการยกเลิกการประมูลอีกครั้ง โดยขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไร ขณะที่ในหนังสือที่ รฟม.ได้แจ้งสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการประมูล ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วเพราะว่าจะมีการใส่ไว้ทุกโครงการฯ

ส่วนกรณีที่ก่อนหน้านี้ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและให้ รฟม. กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิมในการเปิดซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงินและซองข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติม แต่ รฟม. ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลาง กรณีมีคำสั่งทุเลาการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินโครงการดังกล่าวขณะนี้ได้ไต่สวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงรอศาลนัดฟังคำวินิจฉัย

รายงานข่าวระบุว่า ทาง รฟม. ได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9พ.ย. 2563 โดยในครั้งนั้นมีบริษัทยื่นซองข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ 2 กลุ่ม (4 ราย) จากเอกชนที่ซื้อเอกสารข้อเสนอทั้งหมด 10 ราย โดยบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์(BSR) ในกลุ่ม BTSC และบริษัท ซิโน – ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON

ต่อมา BTS ฟ้องคดีกับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวก คือรฟม. กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชนฯลฯ
Wisarut wrote:
เคาะแล้ว!ล้มประมูล'รถไฟฟ้าสายสีส้ม' 1.2แสนล้านบาท
พุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12.11 น.
ด่วน บอร์ดมาตรา 36 ไฟเขียวล้มประมูล "สายสีส้ม"
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12:51 น.


https://www.dailynews.co.th/economic/823016

https://www.thansettakij.com/content/property/467150
https://www.prachachat.net/property/news-606892
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2830738847147615
https://www.naewna.com/business/550083
https://mgronline.com/business/detail/9640000010835
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2830565320498301


https://www.thebangkokinsight.com/543676/?
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 89, 90, 91  Next
Page 45 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©