RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180481
ทั้งหมด:13491715
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 47, 48, 49 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2021 11:13 pm    Post subject: Reply with quote

จิรายุถล่ม ‘ศักดิ์สยาม’ซ่อนกล ล้มประมูลรถไฟสายสีส้ม
ออนไลน์เมื่อ: วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 08:00 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3,655 หน้า 12
วันที่ 21 - 24 กุมภาพันธ์ 2564

จิรายุถล่ม ‘ศักดิ์สยาม’ซ่อนกล ล้มประมูลรถไฟสายสีส้ม
“จิรายุ” เปิด “ปฏิบัติการ 16 วันทันใจนาย” จัดหนัก “ศักดิ์สยาม” ซ่อนกล ตั้ง 8 อรหันต์ รื้อเงื่อนไขประกวดราคาล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้าน “ศักดิ์สยาม” ถามกลับเอื้อประโยชน์ให้ใคร ยังไม่เปิดซองประมูล

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 ก.พ.2563 ในวันที่ 3 ของการอภิปราย นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ได้อภิปราย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท


โดยโจมตี นายศักดิ์สยาม บริหารราชการแผ่นดินโดยเห็นแก่ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่เกิดกับประเทศชาติและประชาชน เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนผูกขาด เพื่อให้มีสิทธิดำเนินงานในกิจการของรัฐ โดยไม่รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ทุจริตต่อหน้าที่และปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในหน่วยงานที่กำกับดูแล สมคบกันเพื่อปิดบังการทุจริต เรื่องนี้ต้องถึงป.ป.ช. และหน่วยงานอื่นต่อไป เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ ครม. ไม่ว่าจะมายุคไหน มาจากคสช.หรือมาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อไปนายจิรายุ กล่าวว่า การประมูลโครงการดังกล่าวมีการดำเนินการตามพรบ.ร่วมทุนฯ โดยมีการตั้งคณะกรรมการ 8 อรหันต์ ตามมาตรา 36 ส่วนใหญ่เป็นคนในกระทรวงคมนาคม และมีอำนาจสามารถแก้ไข้เปลี่ยน แปลงการประกวดราคาได้

โดยมีการจัด “ปฏิบัติการ 16 วันทันใจนาย” พร้อมใช้ทฤษฎีสมคบคิด แบ่งงานกันทำมีเจตนาพิเศษ โดยวันที่ 7 ส.ค. บริษัท อิตาเลี่ยนไทย ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเปิดประมูลว่าทำไม่ได้ ต่อมาวันที่ 21 ส.ค. 2563 จึงมีการแก้ไขเงื่อนไขการเปิดประมูล และได้เชิญนายภคพงษ์ ศิริกันธรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม.มาร่วมประชุมด้วย ซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการตามมาตรา 36 และจากนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคาสายสีส้มในเวลาต่อมา จากบันทึกการประชุมในวันที่ 21 ส.ค.2563 มีเนื้อหาว่า คณะกรรมการบางคน มีการทักว่าทำได้หรือไม่ และจะเอื้อประโยชน์ให้ใครหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทำ และมีคณะกรรมการบางคนท้วงติงว่า เมื่อแก้ไขการประกวดราคา และเปิดประมูลไปแล้วจะขัดกฎหมายหรือไม่ แต่ผู้ว่าฯ รฟม. บอกว่าเราสงวนสิทธิ์ไปแล้วว่าเปลี่ยนแปลงได้ และการแก้ไขแล้วจะเป็นประโยชน์กับ ภาครัฐและเอกชน แต่ไฮไลต์สำคัญคือ ตัวแทนจากบริษัทที่ปรึกษา เป็นตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้ ตอบว่าเปลี่ยนเงื่อนไขการประกวดราคาได้ กระทั่งที่ประชุมมีมติแก้ไขเงื่อนไขการประมูล เว้นแต่ผู้แทนจากสำนักงบประมาณเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย จึงอยากถามว่าทำไมผู้ว่าฯ รฟม. พึ่งมาคิดเปลี่ยนแปลง มีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือไม่


ต่อมามี บีทีเอส เอกชนที่ซื้อซองประมูลไปแล้ว ได้ฟ้องศาลปกครอง ต่อมาคณะกรรมการทั้ง 8 คน ก็ล้มประมูล โดยไม่รอการตัดสินของศาล ขอบอกว่า คณะกรรมการฯ ได้ใช้เทคนิคทางการกฎหมายขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิก ซึ่งไม่มีใครเขาทำกัน และตัวแทนจากบริษัทที่ปรึกษา ที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคา ได้ลาออกจากบริษัทที่ปรึกษาในโครงการสีส้ม กระทั่งต่อมาในวันที่ 1 ต.ค.ได้เป็นรองก.ก.ผจญ.ทอท. คุมสายงานวิศกรรมการก่อสร้าง “บอร์ดทอท.ตั้งเป็นวาระลับ ถือเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เพราะโครงการสีส้มเป็นโครงการใหญ่แล้วทำกันอย่างนี้หรือ นักลงทุนที่ไหนจะกล้ามาลงทุน เพราะเปิดประมูลไม่ตรงไปตรงมา แบ่งงานกันทำ และเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง โดยไม่เห็นประโยชน์ของประเทศชาติและพี่น้องประชาชนใช่หรือไม่ และอยากเตือนเอาไว้ว่า ก่อนหน้านี้ศาลก็ได้ตัดสินจำคุก 6 ปี อดีตผู้ว่าฯ รฟท.คดีแอร์พอร์ตลิงค์เอาไว้เป็นอุทาหรณ์ จึงเป็นเหตุให้ผมไม่ไว้วางใจนายกฯ และรมว.คมนาคม” นายจิรายุ ระบุ
“ศักดิ์สยาม”ถามเอื้อใครด้าน นายศักดิ์สยาม ชี้แจงว่า กรณีคณะกรรมการคัดเลือกตาม มาตรา 36 มี การปรับเกณฑ์การพิจารรณาคัดเลือกให้เปิดซองเทคนิคและผลประโยชน์รวมกัน เนื่องจากนำผลกระทบในโครงการที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์พิจาณา และรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีการเชื่อมพื้นที่เมืองเก่า เทคนิคการก่อสร้างจึงมีความสำคัญในการพิจารณาประเมินข้อเสนอ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

การที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 มีความเห็นว่า การยกเลิกประกาศเชิญชวนและคัดเลือกเอกชน และเริ่มคัดเลือกครั้งใหม่จะเป็นแนวทางที่สามารถกำหนดกรอบเวลาแล้วเสร็จให้ชัดเจนและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ โดยระยะเวลาในการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ใช้เวลาอีกแค่ 6 เดือน ก่อนที่จะนำไปสู่การคัดเลือกและเจรจาต่อรองกับผู้ได้รับการคัดเลือก จะทำให้การ ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออก เปิดเดินรถ ต.ค. 67 และฝั่งตะวันตก เปิดเดินรถ เม.ย. 2570 ตามกำหนดส่วนเรื่องเอื้อประโยชน์กันนั้น นายศักดิ์สยาม ได้ตั้งคำถามในที่ประชุมว่า ตนเองเอื้อประโยชน์ให้กับใคร และใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์ และทำผิดกฎหมายตรงไหน ซึ่งโครงการนี้ยังไม่มีการตัดสินว่าใครชนะการประกวดราคา ยังไม่มีการเปิดซองประมูล ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมดำเนินการตามกฎหมายและตามอำนาจหน้าที่ และนายกรัฐมนตรีสั่งการเรื่องนี้มาตลอด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 6:08 pm    Post subject: Reply with quote

"BTSC" ยื่นฟ้อง "รฟม." คดี 157 ยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 14:45 น.

BTSC ยื่นฟ้อง ผู้บริหาร รฟม. คดี 157 ยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มหลังโดนฟ้องศาลปกครองปมเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ หลังเอกชนยื่นซองโดยมิชอบ ศาลอาญาคดีทุจริตฯนัดฟังคำสั่งชั้นตรวจฟ้อง 15 มี.ค.นี้

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 22 ก.พ.64 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากทาง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC ยื่นฟ้อง ผู้บริหาร รฟม.และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก และการเดินรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172


สืบเนื่องจาก กรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ รฟม. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก หลังเอกชนยื่นซองข้อเสนอแล้ว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ BTSC ได้ยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 และศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าว น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ รฟม.ระงับการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่แก้ไขไว้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 รฟม.กลับทำการยกเลิกการประมูล ทำให้ BTSC ผู้ยื่นซองข้อเสนอได้รับความเสียหาย จึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ดังกล่าว โดยศาลรับเป็นคดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 เเละนัดฟังคำสั่งในชั้นตรวจฟ้องวันที่ 15 มี.ค.64



ทั้งนี้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 แหล่งข่าวได้แจ้งว่า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC ได้ยื่นฟ้อง ผู้บริหาร รฟม.และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก และการเดินรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง เป็นคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 ในข้อหา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 สืบเนื่องจาก กรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ รฟม. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก หลังเอกชนยื่นซองข้อเสนอแล้ว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ BTSC ได้ยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 และศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าว น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ รฟม.ระงับการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่แก้ไขไว้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 รฟม.กลับทำการยกเลิกการประมูล ทำให้ BTSC ผู้ยื่นซองข้อเสนอได้รับความเสียหาย จึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ดังกล่าว
สำหรับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ประกอบด้วย
1. นายกิตติกร ตัณเปาว์ รองผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกตามาตรา 36
2.นาจิรุฒม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ผู้แทนกระทรวงคมนาคม)
3.นายประสิทธิ ศิริภากรณ์ อธิบดีอัยการ (ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด)
4.นายประภาส คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (ผู้แทน สคร.)
5.นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
6.นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง ผู้อำนวยการกองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 4 (ผู้แทนสำนักงบประมาณ)
7.นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (ผู้ทรงคุณวุฒิ)

BTSC ยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม.กับพวกผิด ม.157 ยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 14:24 น.

23 ก.พ.64 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2564 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากทาง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC มาเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นจำเลย กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก และการเดินรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

โจทก์ฟ้องระบุสืบเนื่องจากกรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ รฟม. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก หลังเอกชนยื่นซองข้อเสนอแล้วโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ BTSC ได้ยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 และศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าวน่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ รฟม.ระงับการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่แก้ไขไว้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 รฟม.กลับทำการยกเลิกการประมูล ทำให้ BTSC ผู้ยื่นซองข้อเสนอได้รับความเสียหาย

หลังยื่นคำฟ้อง ศาลรับไว้ในสารบบเป็นคดีหมายเลขดำ อท30/2564 นัดฟังคำสั่งในชั้นตรวจฟ้องวันที่ 15 มี.ค. 2564

ฟ้องผู้บริหาร'รฟม.'-พวกผิดม.157 ปมเปลี่ยนหลักเกณฑ์
อังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 14.03 น.

บ.ขนส่งมวลชนฯ ยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม.กับพวกผิด ม.157 ยกเลิกประมูลหลังโดนฟ้องศาลปกครอง ปมเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ หลังเอกชนยื่นซองโดยมิชอบ ศาลอาญาคดีทุจริตฯ นัดฟังคำสั่งชั้นตรวจฟ้อง 15 มี.ค.นี้

 
เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 22 ก.พ.64 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ซอยสีคาม ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากทาง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC  ได้เดินทางไปยื่นฟ้อง ผู้บริหาร รฟม.และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์–มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก และการเดินรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง เป็นคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

สืบเนื่องจาก กรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ รฟม. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก หลังเอกชนยื่นซองข้อเสนอแล้ว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย  ซึ่งก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ BTSC ได้ยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 และศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าว น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ รฟม.ระงับการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่แก้ไขไว้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 รฟม.กลับทำการยกเลิกการประมูล ทำให้ BTSC ผู้ยื่นซองข้อเสนอได้รับความเสียหาย  จึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ดังกล่าว โดยศาลรับเป็นคดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 เเละนัดฟังคำสั่งในชั้นตรวจฟ้องวันที่ 15 มี.ค.64.
https://www.thebangkokinsight.com/558716/?


Last edited by Wisarut on 23/02/2021 9:21 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

เคลื่อนไหวแล้ว “ศักดิ์สยาม” ยันล้มประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ไม่ผิด
อังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19:10 น.

“ศักดิ์สยาม” เผยล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มไม่ใช่โครงการแรก ยันเป็นอำนาจ รฟม.รวบรวมหลักฐานไปชี้แจงต่อศาลฯ ขณะที่บีทีเอสยื่นฟ้องรฟม.หลังล้มประมูลกลางคัน กระทบผู้ยื่นซองข้อเสนอเสียหาย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับการยกเลิกประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นการยกเลิกตาม RFP ข้อ 12.1 ที่บอกว่าสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกประมูล ซึ่งการยกเลิกประมูลก็ไม่ได้เป็นโครงการแรก หลังจากนี้ถือเป็นหน้าที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในการรวบรวมหลักฐานไปชี้แจงต่อศาลฯ ซึ่งโครงการสีส้มต้องเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ โดยฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี จะเปิดให้บริการภายในปี 2567 และตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางขุนนนท์ เปิดให้บริการภายในปี 2569


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 22 ก.พ.64 ที่ผ่านมา ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากทาง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ยื่นฟ้อง ผู้บริหาร รฟม.และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก และการเดินรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ รฟม. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก หลังเอกชนยื่นซองข้อเสนอแล้ว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ BTSC ได้ยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 และศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าว น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ รฟม.ระงับการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่แก้ไขไว้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 รฟม.กลับทำการยกเลิกการประมูล ทำให้ BTSC ผู้ยื่นซองข้อเสนอได้รับความเสียหาย จึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ดังกล่าว โดยศาลรับเป็นคดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 เเละนัดฟังคำสั่งในชั้นตรวจฟ้องวันที่ 15 มี.ค.64
แหล่งข่าวจาก บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC แจ้งว่า บริษัทได้ยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม.และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ส่วนการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก และการเดินรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง เป็นคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 ในข้อหา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 สืบเนื่องจากกรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ รฟม. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือก หลังเอกชนยื่นซองข้อเสนอแล้ว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ BTSC ได้ยื่นฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 และศาลได้วินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าว น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ รฟม.ระงับการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่แก้ไขไว้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

"ศักดิ์สยาม" ชี้ล้มประมูลสีส้มเป็นสิทธิที่ รฟม. แจ้งไว้ใน RFP
อังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17.36 น.

"ศักดิ์สยาม” ชี้ล้มประมูลสีส้มเป็นสิทธิที่ รฟม. แจ้งไว้ใน RFP ยันเดินหน้าพร้อมเปิดบริการตามเดิม ตะวันออกปี 67 ตะวันตกปี 69 ขณะที่บิ๊กบีทีเอส ปฏิเสธให้สัมภาษณ์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวถึงกรณีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ยื่นฟ้องผู้บริหารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบุคคลที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ รฟม.ยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาทว่า การยกเลิกประกวดราคาโครงการดังกล่าว เป็นการยกเลิกตามเงื่อนไขข้อ 12.1 ที่ รฟม.ได้แจ้งสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการประมูลไว้ในเอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP)
               
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า การยกเลิกประกวดราคาโครงการนี้ไม่ได้เป็นโครงการแรก ซึ่งหลังจากนี้ถือเป็นหน้าที่ของ รฟม.ที่จะต้องรวบรวมหลักฐานไปชี้แจงต่อศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม การเปิดประมูลโครงการดังกล่าวยังคงต้องเดินหน้าก่อสร้าง และเปิดให้บริการตามแผนที่วางไว้ โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. จะเปิดให้บริการในปี 67 และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กม. จะเปิดให้บริการในปี 69

              
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้สอบถามประเด็นดังกล่าวกับ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอสซี ในงานลงนามสัญญาร่วมลงทุน การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถ และซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ฉบับแก้ไขกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี โดยนายสุรพงษ์ กล่าวสั้นๆ ว่า วันนี้มางานรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ไม่ขอตอบเรื่องสายสีส้ม
               
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2845300642358102


Last edited by Wisarut on 02/03/2021 9:50 am; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 8:26 pm    Post subject: Reply with quote

สีส้มขุดถึงหัวหมาก 28 ก.พ.นี้ เตรียมเร่งมือสถานี-รวม 6 สัญญางานคืบ 76%
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 08:58 น.

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ขณะนี้ การก่อสร้างสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางวิ่งและ สถานีใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า โดยบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ผู้รับเหมาก่อสร้างในส่วน ของการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินอุโมงค์ที่ 2 ที่ขุด จากสถานีคลองบ้านม้านั้น จะมาถึงสถานีหัวหมาก วันที่ 28 ก.พ.64 เร็วกว่าแผนงาน ที่จะแล้วเสร็จกลางเดือน มี.ค.64 จากนั้นจะใช้เวลาในการรื้อและลำเลียงชิ้นส่วนหัวเจาะขึ้นจากอุโมงค์สถานีหัวหมาก 45 วัน โดยจะนำ ชิ้นส่วนทั้งหมดไปเก็บไว้ที่โรงงาน อ.วิหารแดง สระบุรี และจะไม่นำกลับมาใช้งานอีก เนื่องจากหัวเจาะชุดดังกล่าวผ่านการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สาย ได้แก่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จากสถานีหัวลำโพง-สถานีสนามไชย และรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีคลองบ้านม้า-สถานีหัวหมาก


ทั้งนี้หลังจากงานขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินเสร็จแล้ว ผู้รับเหมาจะเร่งรัดงานก่อสร้างสถานีใต้ดิน รวมถึงการติดตั้งระบบเพื่อรองรับการ ควบคุมและเดินรถไฟฟ้า กำหนดแล้วเสร็จเดือน ต.ค.65 ทั้งนี้การติดตั้งระบบบริษัทที่ปรึกษา รฟม. รับผิดชอบ ระหว่างที่รอบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เข้ามา ดำเนินการติดตั้งระบบควบคุมและเดินรถไฟฟ้า เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับ ภาพรวมงานก่อสร้างรวม 6 สัญญา ล่าสุด จนถึงเดือน ม.ค.64 คืบหน้า 76.09%.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2021 3:14 am    Post subject: Reply with quote

"รถไฟฟ้าสายสีส้ม" เล็งเปิดประมูลรอบ 2 เริ่มเม.ย.นี้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 16:22 น.

รฟม.จ่อเปิดรับฟังความเห็นเงื่อนไขประมูล-แบ่งซองข้อเสนอ 1 มี.ค.นี้ หลังล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มรอบแรก เร่งเปิดขายซองเม.ย.64 คาดชงครมเห็นชอบภายในเดือนส.ค.64

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการถไฟฟ้าขนส่งแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า ที่ประชุมได้สอบถามถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม งานโยธาช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางขุนนนท์ และงานติดตั้งระบบเดินรถทั้งเส้นทางมีนบุรี - บางขุนนนท์ ซึ่ง รฟม.ได้ชี้แจงถึงเหตุผลของการยกเลิกประกวดราคา (ประมูล) เพื่อต้องการเร่งรัดให้โครงการสามารถเปิดบริการตามเป้าหมาย เบื้องต้นในวันจันทร์ที่ 1 มี.ค.นี้ รฟม.จะเริ่มดำเนินการเปิดประกวดราคารอบใหม่ โดยจะประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อประกอบการจัดทำร่างเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ (RFP) โดยจะรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป ในประเด็นอาทิ เงื่อนไขประมูล การแบ่งซองประมูล รวมถึงการคำนวณคะแนนเพื่อพิจารณาข้อเสนอคควรเป็นอย่างไร ซึ่งจะเปิดรับฟังความคิดเห็น 15 วัน หลังจากนั้นจะเปิดให้เอกชนเสนอความเห็นอีก 3 วัน



นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการจัดทำ RFP จะแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.นี้ หากไม่มีปัญหาติดขัด คาดว่าจะสามารถประกาศขายซองข้อเสนอได้ภายในเดือน เม.ย.2564 เข้าสู่กระบวนการพิจารณาข้อเสนอ แล้วเสร็จเพื่อเสนอผลประมูลให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน ส.ค.นี้ โดยหากการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วเสร็จ รฟม.คาดว่าจะสามารถเร่งรัดให้เอกชนเริ่มงานก่อสร้างทันทีภายในปีนี้


รฟม.เร่งประมูล “สีส้ม” เม.ย.นี้-เจรจาสีเหลืองต่อขยายถึงทางตัน BTS ลั่นไม่ชดเชยทุกกรณี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17:04 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17:04 น.

@ 1 ก.พ.รับฟังความเห็นเอกชน ทำร่าง RFP ประมูลสีส้มใหม่

นายภคพงศ์กล่าวว่า บอร์ดยังได้สอบถามถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งได้รายงานว่า กรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ยกเลิกการประกาศคัดเลือกเดิม และจะเริ่มดำเนินการคัดเลือกใหม่ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 ทั้งนี้ บอร์ดได้กำชับให้ รฟม.ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

สำหรับขั้นตอนในการคัดเลือกใหม่นั้น จะมีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) โดยจะประกาศในเว็บไซต์ รฟม. ในวันที่ 1 มี.ค. เป็นเวลา 15 วัน และให้เวลาเอกชนเสนอความเห็น ประมาณ 3 วัน จากนั้น รฟม.จะประมวลความเห็นและสรุปร่างเอกสารประกาศเชิญชวน (Request for Proposal : RFP) เพื่อเสนอคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 เห็นชอบร่าง RFP โดยคาดว่ากก.มาตรา 36 จะมีการประชุมในช่วงครึ่งหลังของเดือน มี.ค. และประกาศขายเอกสารได้ช่วงเดือน เม.ย. นี้

แผนงานใหม่นั้น รฟม.คาดว่าจะสรุปผลการประมูลและได้ตัวเอกชนในเดือน ส.ค. 2564 และนำเสนอ ครม.อนุมัติต่อไป ซึ่งการลงนามสัญญากับเอกชนนั้นจะต้องรอให้รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม (EIA) ได้รับการอนุมัติก่อนด้วย ซึ่งขณะนี้ รฟม.ได้เสนอรายงาน EIA ไปยังคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แล้ว ตั้งเป้าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2021 11:34 pm    Post subject: Reply with quote

ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ไขปมล้มประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 - 08:33 น.

สัมภาษณ์พิเศษ
การอภิปรายไม่ไว้วางใจจบแล้ว แต่รถไฟฟ้าสายสีส้มช่วง “บางขุนนนท์-มีนบุรี” ระยะทาง 35.9 กม. วงเงิน 128,128 ล้านบาท ยังคงเป็นที่จับตา หลัง “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ได้ล้มประมูลโครงการมีเอกชน 2 รายยื่นซอง คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR (บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) กำลังเตรียมเปิดประมูลอีกครั้ง จะเดินหน้าเกณฑ์เก่าเปิดข้อเสนอทีละซอง ตัดเชือกที่ “ราคา” หรือเกณฑ์ใหม่เป็นสูตรผสมซองเทคนิคและซองการเงิน

“ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการ รฟม.กับภารกิจเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ล้มแล้วกลับมาประมูลรอบใหม่

Q : การเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลใหม่
เกิดจากคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2563 หลังคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 อนุมัติเกณฑ์ประมูลตามปกติไปแล้ว โดยตัดสินที่ข้อเสนอซองที่ 3 การเงิน

เมื่อประกาศบังคับใช้ จึงหารือที่ปรึกษาได้ข้อคิดเห็นว่าโครงการมีแนวเส้นทางอยู่ใต้ดิน ผ่านย่านการค้า เช่น เพชรบุรีตัดใหม่ ตลาดประตูน้ำ ย่านเมืองเก่า มีแหล่งโบราณสถานเป็นจำนวนมาก เช่น ราชดำเนิน พระบรมมหาราชวัง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีความเห็นให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมิน ให้รวมซองเทคนิคเข้าไปร่วมพิจารณากับข้อเสนอผลตอบแทนให้รัฐด้วยในอัตรา 30% ส่วนการเงินอยู่ที่ 70% จึงเสนอให้คณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณาทบทวนและมีมติเดือน ส.ค. 2563 และขยายเวลายื่นซองให้อีก 45 วัน ให้เวลาเตรียมเอกสารยื่นข้อเสนอถึง 70 วัน ถือว่าให้เวลามากพอ และเกณฑ์นี้เคยใช้มาแล้วกับสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ เมื่อปี 2540 ครั้งนั้นแบ่งสัดส่วนเทคนิค 50% การเงิน 50% มากกว่าสายสีส้มอีก และได้ผลงานก่อสร้างและบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัยสูงสุด แต่กับสายสีส้มจากภาวะเศรษฐกิจมีปัญหาในปัจจุบัน ทำให้ผลตอบแทนทางการเงินมีความสำคัญ จึงเพิ่มสัดส่วนเป็น 70% ส่วนเทคนิคใช้ 30%

Q : ผู้ว่าการชี้แจงการเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ต่อคณะกรรมการเอง
ใน พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 ในมาตรา 35 ระบุว่า “ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทําร่างประกาศเชิญชวนร่างเอกสารสําหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน เสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ” ทำให้ผมต้องเข้าไปเสนอร่างเอกสารเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนเอง และมาตรา 39 ยังระบุให้ “เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกให้ความเห็นชอบร่างประกาศเชิญชวนร่างเอกสารสําหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการและคณะกรรมการคัดเลือกดําเนินการคัดเลือกเอกชนตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด” ดังนั้น ตามกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

Q : ทำไมต้องล้มประมูล
มีเอกชนรายหนึ่งร้องศาลปกครองกลางเรื่องเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ จนศาลมีคำสั่งทุเลา รฟม.และคณะกรรมการมาตรา 36 จึงไปยื่นอุทธรณ์ตามสิทธิ์ ไม่ได้ดื้ออย่างที่คนมอง เป็นสิทธิ์ที่คู่กรณีขออุทธรณ์คำสั่งได้ตามปกติ และเมื่อยื่นซองวันที่ 9 พ.ย. 2563 ก็ได้เลื่อนเปิดซองข้อเสนอออกไป เพราะติดกระบวนการทางคดีความ ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ซองข้อเสนอมีระยะเวลายืนราคา 270 วัน ทั้ง รฟม.และคณะกรรมการมาตรา 36 ก็ติดตามทุกเดือน


แต่กระบวนการพิจารณาคดีใช้เวลานาน เคยคาดหลังปีใหม่น่าจะจบ แต่ยังไม่ตัดสิน จึงเสนอเปรียบเทียบระหว่างการรอให้คดีถึงที่สุด กับระยะเวลายืนราคาที่ลดน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งการพิจารณาคัดเลือกยังมีกระบวนการอีกมาก อาจทำให้เวลาที่เหลืออยู่ไม่พอ หากคัดเลือกต่อไปแล้วเวลายืนราคาหมดลงในชั้นเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วเอกชนไม่ต่ออายุการยืนราคา ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมดอยู่ดี และการจัดประมูลใหม่ย่นระยะเวลาการดำเนินการได้เร็วกว่า ใช้เวลาคัดเลือก 6 เดือนก็เสร็จ ทันกับเปิดสายสีส้มฝั่งตะวันออกศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีในปี 2567

หากรอให้คดีถึงที่สุดและคัดเลือกเอกชนต่อ อาจจะสร้างความเสียหายต่อรัฐมากกว่าเดือนละ 206 ล้านบาท เพราะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยเดือนละกว่า 165 ล้านบาท มีค่าดูแลรักษางานโยธาส่วนตะวันออกเสร็จก่อนอีกเดือนละ 41 ล้านบาท ยังไม่รวมมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ ที่ประชาชนต้องรอใช้บริการ การยกเลิกประมูลจึงจำเป็น เพื่อป้องกันความเสียหายของโครงการและการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า


ขณะนี้ รฟม.ได้ถอนการอุทธรณ์คำสั่งทุเลากับศาลปกครองสูงสุดและศาลก็เห็นชอบแล้ว การกระทำดังกล่าวได้ปรึกษาอัยการสูงสุดร่วมด้วย อีกทางหนึ่งคดีหลักที่ยังคาอยู่ จะทำคำให้การเพิ่มเติมในการยกเลิกการประมูล เพื่อให้ศาลจำหน่ายคดี เนื่องจากเมื่อถอนการอุทธรณ์บวกกับยกเลิกการประมูลแล้ว ไม่มีเหตุผลที่จะพิจารณาคดีที่เอกชนไปฟ้องอีก กำลังรอศาลปกครองกลางจะมีคำพิพากษาอย่างไร

Q : TOR ใหม่ใช้เกณฑ์ไหนพิจารณา
ขอ market sounding เอกชนก่อน ถ้ามีความเห็นทั้ง 2 แบบ คือ เอาทั้งการเงิน และการเงินควบเทคนิค ต้องเสนอให้คณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณา

Q : ไทม์ไลน์การจัดประมูลใหม่
เดือน ก.พ.นี้ จะเริ่ม market sounding เอกชน จากนั้นเดือน มี.ค.จะเสนอคณะกรรมการตามมาตรา 36 เห็นชอบร่าง TOR และเดือน พ.ค. 2564 เปิดให้เอกชนยื่นซอง คาดว่าจะได้เอกชนร่วมลงทุนในเดือน ก.ค. 2564 และการก่อสร้างจะเริ่มในเดือน ส.ค. 2564 อาจจะให้ผู้รับจ้างทำเร่งรัดสั่งผลิตขบวนรถก่อน เพราะใช้เวลาสั่งผลิต 24 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ทันกับฝั่งตะวันออกที่งานโยธาคืบหน้ากว่า 76% แล้ว

Q : ข้อสรุปค่าโดยสาร
ยังเป็นไปตามเกณฑ์ของ รฟม. คือ 14-42 บาท แต่ ณ ปีที่เปิดในปี 2567 จะต้องบวกอัตราเงินเฟ้ออีก 1.8% ทำให้ค่าโดยสารน่าจะอยู่ระหว่าง 20-45 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2021 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิดรับฟังความเห็นสายสีส้มผ่าน 'ออนไลน์' 1 มี.ค. นี้
26 กุมภาพันธ์ 2564


รฟม.เดินหน้าประมูลใหม่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท เปิดรับฟังความเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ 1 มีนาคมนี้ ตั้งเป้าชงครม.เคาะผลประมูลสิงหาคม 2564

ผู้ว่าการ การถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ระบุ ในการประชุมคณะกรรมการ รฟม.เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้สอบถามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท ซึ่ง รฟม.ได้ชี้แจงว่าสาเหตุที่ต้องยกเลิกการประกวดราคา เพราะต้องการเร่งรัดให้โครงการสามารถเปิดบริการได้ตามเป้าหมาย

โดยในวันที่ 1 มีนาคมนี้ รฟม.จะเริ่มกระบวนการประกวดราคารอบใหม่ โดยจะประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำร่างเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ หรือ RFP ซึ่งจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไปในประเด็นต่างๆ เช่น เงื่อนไขการประกวดราคา การแบ่งซองข้อเสนอ รวมถึงการคำนวณคะแนนข้อเสนอเพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะว่าควรเป็นอย่างไร ซึ่งจะเปิดรับฟังความคิดเห็น 15 วัน หลังจากนั้นจะเปิดให้เอกชนเสนอความเห็นอีก 3 วัน

หลังจากนั้น รฟม.จะนำข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการจัดทำ RFP ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน มีนาคมนี้ และคาดว่าจะประกาศขายซองข้อเสนอได้ภายในเดือน เมษายน 2564 และจะเสนอผลการคัดเลือกผู้ชนะให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนสิงหาคม 2564 และหากการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วเสร็จ รฟม.จะเร่งรัดให้เอกชนผู้ชนะประมูลเริ่มงานก่อสร้างทันทีภายในปีนี้

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี รฟม.ได้เปิดประกวดราคาไปแล้ว โดยมีเอกชนยื่นข้อเสนอ 2 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และ บมจ.ซิโน – ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ

2.บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM และเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ มีมติยกเลิกการประกวดราคา เพราะเห็นว่าโครงการดังกล่าวศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจากกรณีกลุ่ม BSR ยื่นขอทุเลาคำสั่งปรับแก้หลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอจากเดิมกำหนดใช้เกณฑ์ราคา 100% เป็นเกณฑ์ราคา 70% และเกณฑ์เทคนิค 30% ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นว่ากระบวนการพิจารณาคดีอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวม ทำให้โครงการล่าช้าเมื่อเทียบกับการเปิดประกวดราคาใหม่

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี เป็นสถานีใต้ดินตลอดสายทาง

โครงการดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.4 หมื่นล้านบาท ค่างานโยธา 9.6 หมื่นล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้าบริหารการเดินรถ ซ่อมบำรุง อีก 3.2 หมื่นล้านบาท


+++ เปิดขายซองประมูลสีม่วงใต้แสนล้านเดือนมิ.ย. +++

ผู้ว่าการ รฟม.ยังระบุว่า ภายในเดือน มิถุนายนนี้ รฟม.จะเปิดขายซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ หรือวงแหวนกาญจนาภิเษก วงเงิน 1.01 แสนล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารประกวดราคาและสำรวจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนหลังจากนี้ ซึ่งรฟม.ตั้งเป้าว่าจะเริ่มงานก่อสร้างภายในเดือนธันวาคม 2564 และเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2570

สำหรับมูลค่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง 1.01 แสนล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,913 ล้านบาท ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 32 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 77,385 ล้านบาท ค่าสิ่งก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ 1,335 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง 2,865 ล้านบาท และยอดเงินรายการสำรอง (Provisional Sum) ของงานโยธา 3,582 ล้านบาท
https://www.youtube.com/watch?v=I_dPuDmSyPk
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2021 9:53 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.นับหนึ่งใหม่สายสีส้ม เปิดรับฟังความเห็น 1 มี.ค. เล็งได้ตัวเอกชน ส.ค.64
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 - 10:05 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อวันที่ 25 ก.พ.64 ได้สอบถามถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่ง รฟม.ได้รายงานถึงกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ยกเลิกการประกาศคัดเลือกเดิม และจะเริ่มดำเนินการคัดเลือกใหม่ตามขั้นตอน


พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ 2562 ทั้งนี้ บอร์ดได้กำชับให้ รฟม.ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สำหรับขั้นตอนในการคัดเลือกใหม่นั้นจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) โดยจะประกาศในเว็บไซต์ รฟม. ในวันที่ 1 มี.ค. เป็นเวลา 15 วัน และให้เวลาเอกชนเสนอความเห็น ประมาณ 3 วัน จากนั้น รฟม.จะประมวลความเห็นและสรุปร่างเอกสารประกาศเชิญชวน (Request for Proposal : RFP) เพื่อเสนอคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 เห็นชอบ ร่าง RFP โดยคาดว่าคณะกรรมการฯจะมีการประชุมในช่วงครึ่งหลังของเดือน มี.ค. และประกาศขายเอกสารได้ช่วงเดือน เม.ย.2564 คาดว่าจะได้ตัวเอกชนในเดือน ส.ค.2564 และนำเสนอ ครม.อนุมัติต่อไป ซึ่งการลงนามสัญญากับเอกชนนั้น จะต้องรอให้รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม (EIA) ได้รับการอนุมัติก่อนด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2021 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้ว "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" รฟม.เปิดร่าง RFP ลุยประมูลรอบ 2 ยึดเกณฑ์ใหม่
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พุธที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 11.41 น.

รฟม.เดินหน้าเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ลุยเปิดรับฟังความคิดเห็นรอบ 2 ยึดเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอ แบ่งสัดส่วนเทคนิค 30 คะแนน การลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน เล็งปิดรับฟังความเห็น 16 มี.ค.นี้

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา รฟม.ได้ออกประกาศเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยมีนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เป็นผู้ลงนามในประกาศดังกล่าว


สำหรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ อันเนื่องมาจากคณะกรรมการ (บอร์ด) คัดเลือก ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ได้ประกาศยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อเร่งรัดการประมูลให้แล้วเสร็จไม่กระทบต่อการเปิดให้บริการรถไฟฟ้า รฟม.จึงจำเป็นต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาใหม่ ทั้งนี้การเปิดรับฟังความคิดเห็นมีเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินการกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันทางการเงิน ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายระบบรถไฟฟ้า ตลอดจนบริษัทก่อสร้าง นักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของ รฟม. ระหว่างวันที่ 2 – 16 มี.ค.2564


สำหรับข้อมูลสำหรับการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน รฟม.ได้กำหนดสาระสำคัญด้านคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ อาทิ ต้องเป็นนิติบุคคลไทยรายเดียวที่จดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือนิติบุคคคลไทยหลายรายรวมกันเป็นกลุ่มนิติบุคคล โดยนิติบุคคลไทยทุกรายต้องจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 3 ปี ในกรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศต้องการยื่นข้อเสนอ จะต้องรวมกลุ่มกับนิติบุคคลไทยเพื่อให้เป็นกลุ่มนิติบุคคล โดยจะต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นของนิติบุคคลไทบรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 51% ชองทั้งหมด ทั้งนี้นิติบุคคคลทุกรายต้องจดทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขณะที่คุณสมบัติด้านเทคนิค ประสบการณ์ และผลงาน มีการกำหนดเอกชนต้องมีประสการณ์ในการก่อสร้าวงานโยธา ซึ่งประกอบด้วย งานออกบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะ งานออกแบบและก่อสร้างสถานีใต้ดินในระบบขนส่งมวลชน และงานออกแบบและก่อสร้างทางวิ่งแบบไม่ใช้หินโรยทาง รวมทั้งต้องมีประสบการณ์ในการจัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และต้องมีประสบการณ์ในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและซ่อมบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก รฟม.กำหนดผู้ยื่นข้อเสนอต้องจัดทำข้อเสนอ โดยแบ่งออกเป็น 4 ซอง ประกอบด้วย
ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ
ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค
ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน และ
ซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและการดำเนินงานของ รฟม.

ด้านหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอกำหนดไว้ว่า
1. การยื่นและการรับข้อเสนอ รฟม.จะดำเนินการตรวจสอบเอกสารหนังสือมอบอำนาจ หลักประกันซอง รวมถึงความถูกต้องของเอกสารข้อเสนอตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนะนำการจัดทำข้อเสนอ หากไม่ถูกต้องครบถ้วน รฟม.จะไม่พิจารณา
2. การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 รฟม.จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนด โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติตามที่เกณฑ์กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าผู้ยื่นข้อเสนอไม่ผ่านการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 และจะไม่เปิดข้อเสนอซองที่ 2 โดยส่งข้อเสนอซองที่ 2 3 และ 4 คืน
3. การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และ 3 การประเมินข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิคจะแบ่งออกเป็น 4 หมวด ประกอบด้วย
3.1. โครงการองค์กรและความสามารถของบุคลากรในการบริหารงาน รวมถึงแผนงานรวม
3.2. แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคโยธา
3.3. แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคระบบรถไฟฟ้า และ
3.4. แนวทาง วิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคบริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง

ทั้งนี้การประเมินข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนจะแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ
1.ความน่าเชื่อถือและความครบถ้วนถูกต้อง และ
2.ผลตอบแทนทางการเงิน

ทั้งนี้ ผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 จะได้รับการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 โดย รฟม. จะประเมินข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 เป็นคะแนน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอ ด้านเทคนิค 30 คะแนน และคะแนนข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอ ด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน และนําคะแนนซองที่ 2 และซองที่ 3 ของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายมารวมกัน และผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุด จะเป็นผู้ผ่านการประเมินสูงสุด 4. การพิจารณาซองที่ 4 รฟม. สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาข้อเสนอซองที่ 4 หรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ รฟม. พิจารณา จะพิจารณาข้อเสนอจากผู้ชนะการคัดเลือกเท่านั้น
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3854217101291873

ส่องร่างเอกสารประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม 1.2 แสนล้าน
*ใช้เกณฑ์เทคนิค 30 ราคา 70
*รฟม.ลุยเช็กเสียงถึง 16 มี.ค.นี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2850931511795015
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2021 2:17 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เริ่มแล้ว "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" รฟม.เปิดร่าง RFP ลุยประมูลรอบ 2 ยึดเกณฑ์ใหม่
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พุธที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 11.41 น.

https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3854217101291873

ส่องร่างเอกสารประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม 1.2 แสนล้าน
*ใช้เกณฑ์เทคนิค 30 ราคา 70
*รฟม.ลุยเช็กเสียงถึง 16 มี.ค.นี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2850931511795015

เริ่มกันใหม่! รฟม.เปิดฟังความเห็นร่าง RFP รถไฟฟ้าสีส้ม ใช้เกณฑ์รวมคะแนน”เทคนิค-การเงิน”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 13:39 น.
ปรับปรุง: พุธที่ 3 มีนาคม 2564 เวลา 13:39 น.


รฟม. เปิดรับฟังความคิดเห็นเอกชน ร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารประมูล และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผ่านเวปไซต์ ส่งความเห็นใน 19 มี.ค. 64 ใช้เกณฑ์ประเมินรวมคะแนนข้อเสนอซอง 2 (เทคนิค) และซอง 3 ผลตอบแทนสัดส่วน 30-70

วันที่ 3 มี.ค. 2564 กองสื่อสารองค์กร สำนักผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า ด้วย รฟม. มีความประสงค์จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อนำความคิดเห็นดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ความตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง นักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ในการนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็นประกอบด้วย สรุปสาระสำคัญของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และแบบสอบถามการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ได้ที่ https://www.mrta.co.th ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2564

โดยกรอกข้อคิดเห็นของท่านตามแบบสอบถาม และจัดส่งให้ รฟม. ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของ รฟม. (orlhearing@mrta.co.th) ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2654

รฟม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ให้เกิดความเหมาะสมและความสำเร็จในการดำเนินโครงการต่อไป
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

รายงานข่าวแจ้งว่า ในข้อมูลสำหรับการรับฟังความเห็นเอกชนนั้น กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องจัดทำข้อเสนอ 4 ซองเหมือนการประมูลก่อนหน้านี้ คือ ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและการดำเนินงานของรฟม.

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอ 1.ตรวจสอบเอกสารหนังสือมอบอำนาจ หลักประกันซอง รวมถึงความถูกต้องของเอกสารข้อเสนอตามที่ระบุไว้ หากไม่ถูกต้องครบถ้วน รฟม.จะไม่พิจารณาข้อเสนอและส่งคืน 2. พิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 หากไม่ผ่านจะไม่เปิดข้อเสนอซองที่ 2

3. พิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการลงทุนและผลตอบแทน เป็นเรื่องความน่าเชื่อถือ ความครบถ้วนถูกต้อง และ ผลตอบแทนทางการเงิน โดยจะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็นข้อเสนอซองที่ 2 ทางเทคนิค 30 คะแนน ข้อเสนอด้านการลงทุนผลตอบแทน 70 คะแนน และนำคะแนนซองที่ 2 และซองที่ 3 มารวมกันผู้ได้คะแนนรวมสูงสุด จะผ่านการประเมิน



สำหรับคุณสมบัติด้านเทคนิค ต้องมีประสบการณ์ในการออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะ (Tunnel Boring Machine) งานออกแบบและก่อสร้างสถานีใต้ดิน งานออกแบบและก่อสร้างทางวิ่งแบบไม่ใช้หินโรยทาง และต้องมีประสบการณ์ในการจัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ต้องมีประสบการณ์ในการบริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า

โดยเอกชนผู้ร่วมทุนมีหน้าที่ดำเนินการ ระยะที่ 1 ส่วนที่ 1 ออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบ และทดลองการเดินรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 3 ปี 6 เดือน นับจากวันแจ้งให้เริ่มงาน ส่วนที่ 2 ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ออกแบบและก่อสร้างระบบรางวิ่ง จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบรถไฟฟ้าและทดลองการเดินรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก โดยมีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 6 ปี นับจากวันแจ้งให้เริ่มงาน

ระยะที่ 2 : ให้บริการเดินรถไฟฟ้าและบำรุงรักษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ระยะเวลา 30 ปี และมีสิทธิในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ตามกำหนดในสัญญา 3. จัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน 4. จัดเก็บค่าโดยสาร และจ่ายเงินตอบแทนให้รฟม.ตามกำหนดในสัญญา 5. โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาให้รฟม.ตั้งแต่วันเปิดให้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 47, 48, 49 ... 89, 90, 91  Next
Page 48 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©