RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13258076
ทั้งหมด:13569352
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2021 10:46 pm    Post subject: Reply with quote

ดีเอสไอ​ ยื่นป.ป.ช.​สอบฮั้วประมูล​ รื้อ​ TOR สายสีส้ม
20 เมษายน 2464 เวลา 20:10 น.

ดีเอสไอ เดินหน้ายื่นเอกสารเสนอป.ป.ช. เหตุพบพิรุธคดีแก้ทีโออาร์รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่อฮั้วประมูล เร่งสอบผู้เกี่ยวข้องหลังกระทำความผิดตามกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 เมษายน ตามที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา อุปนายกและเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ปฏิบัติหน้าที่นายกสมาคมองค์การพิทักษ์ รัฐธรรมนูญไทย ยื่นเรื่องร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พิจารณารับกรณีกล่าวหาว่ามีการกระทำความผิดทางอาญาของ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในโครงการการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (ทีโออาร์) หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วอันเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งน่าเชื่อว่าจะมีการกีดกันการเสนอราคา(ฮั้วประมูล) อันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547

พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้มอบหมายให้ ร้อยตำรวจเอก สุรวุฒิ รังไสย์ ผู้อำนวยการกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการสืบสวนตามมาตรา 23/1 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 เพื่อพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะรับสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 หรือไม่ ขณะเดียวกันกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จึงได้แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานทั้งหลายเพื่อหารายละเอียด โดยให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าให้ข้อมูลและรายละเอียดโดยทั่วถึง ประกอบด้วย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงบประมาณ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTCS บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เบื้องต้นเห็นชอบให้ส่งสำนวนการสืบสวนและเอกสารประกอบ รวม 1,940 แผ่น ไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เพื่อดำเนินการไต่สวนและวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ภายหลังการสืบสวนเสร็จสิ้นแล้วคณะพนักงานสืบสวนได้พิจารณาเห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 และผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (16) ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 และมาตรา 12 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการไต่สวนและวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 4 และมาตรา 172 ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 14 วรรคสอง (1) อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวเป็นคดีเกี่ยวข้องโดยตรงในการจัดทำโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของภาครัฐให้กับประชาชนของรัฐบาล และเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเมื่อการสืบสวนเสร็จสิ้นแล้ว กรมสอบสวนคดีพิเศษ จะเผยแพร่ผลการดำเนินการให้กับประชาชนได้รับทราบความคืบหน้า ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 21/04/2021 4:13 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ดีเอสไอ​ ยื่นป.ป.ช.​สอบฮั้วประมูล​ รื้อ​ TOR สายสีส้ม
20 เมษายน 2464 เวลา 20:10 น.



ส่อฮั้วประมูล! ดีเอสไอยื่นเอกสาร ป.ป.ช. สั่งสอบคดีรื้อเกณฑ์โออาร์ "รถไฟฟ้าสายสีส้ม"
อาชญากรรม
21 เมษายน 2464 เวลา11:39 น.

ดีเอสไอ เดินหน้ายื่นเอกสารเสนอ ป.ป.ช. เหตุพบพิรุธคดีแก้ทีโออาร์รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่อฮั้วประมูล เร่งสอบผู้เกี่ยวข้อง
จากกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา อุปนายกและเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ปฏิบัติหน้าที่นายกสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นเรื่องร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พิจารณารับกรณีกล่าวหาว่ามีการกระทำความผิดทางอาญาของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในโครงการการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (ทีโออาร์) หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วอันเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

และน่าเชื่อว่าจะมีการกีดกันการเสนอราคา (ฮั้วประมูล) อันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547


ขณะเดียวกันกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จึงได้แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานทั้งหลายเพื่อหารายละเอียด โดยให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าให้ข้อมูลและรายละเอียดโดยทั่วถึง ประกอบด้วย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงบประมาณ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTCS บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

เบื้องต้นเห็นชอบให้ส่งสำนวนการสืบสวนและเอกสารประกอบ รวม 1,940 แผ่น ไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เพื่อดำเนินการไต่สวนและวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561




ทั้งนี้ภายหลังการสืบสวนเสร็จสิ้นแล้วคณะพนักงานสืบสวนได้พิจารณาเห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 และผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (16) ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 และมาตรา 12

ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการไต่สวนและวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ.ศ.2561มาตรา 4 และมาตรา 172 ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2542 มาตรา 14 วรรคสอง (1)

อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวเป็นคดีเกี่ยวข้องโดยตรงในการจัดทำโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของภาครัฐให้กับประชาชนของรัฐบาล และเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเมื่อการสืบสวนเสร็จสิ้นแล้ว กรมสอบสวนคดีพิเศษ จะเผยแพร่ผลการดำเนินการให้กับประชาชนได้รับทราบความคืบหน้าต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2021 1:48 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ไม่หวั่นสีส้มถึง ป.ป.ช. หลังดีเอสไอเสนอ-ยันทำตามกฎหมายชี้แจงได้
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
22 เมษายน 2464 เวลา 07:17 น.

จากที่นายศรีสุวรรณ จรรยา อุปนายกและเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวหา คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคา (TOR) โครงการการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วว่า อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 และทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ หลังแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานเพื่อหารายละเอียด เห็นว่ากรณีดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงให้ส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช.เพื่อดำเนินการไต่สวนและวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2561 นั้น

เมื่อวันที่ 21 เม.ย.64 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ตอบข้อถามกรณีดังกล่าวว่า การส่งเรื่องร้องเรียนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษไปยัง ป.ป.ช. ถือว่าเป็นการทำตามขั้นตอนของกฎหมาย และก่อนหน้านี้บริษัท บีทีเอส ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนลักษณะเดียวกัน ต่อ ป.ป.ช. คาดว่าน่าจะมีการรวมเป็นคดีเดียวกัน ซึ่ง รฟม.ไม่ได้วิตกกังวลแต่อย่างใด พร้อมชี้แจงตามข้อเท็จจริงที่เคยนำเสนอไปแล้วหลายครั้ง ส่วนการพิจารณาของ ป.ป.ช.คงต้องรอผลคำตัดสินของศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่บริษัท บีทีเอส ได้ยื่นฟ้อง รฟม.อีกทางหนึ่งด้วย ว่าผลเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ รฟม.ได้ส่งเอกสารข้อมูลเกี่ยวข้องกับโครงการ และคำชี้แจงตามคำสั่งศาลเรียบร้อยแล้ว โดยศาลได้นัดฟังคำสั่งในวันที่ 5 พ.ค. เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่เชื้อโควิด-19 ไม่แน่ใจว่าจะมีการเลื่อนนัดออกไปอีกหรือไม่

ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้จัดรับฟังความคิดเห็นร่าง TOR เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณา แต่ยังกำหนดวันประชุมไม่ได้เนื่องจากกรรมการบางคน Work From Home ซึ่งตามขั้นตอนเมื่อเสนอคณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณาและเห็นชอบก็สามารถประกาศประกวดราคาได้ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลไทม์ไลน์การดำเนินงานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม จึงยังไม่สามารถยืนยันกำหนดเวลาการเปิดประกวดราคาได้เมื่อไหร่ รวมถึงแผนการก่อสร้างก็ต้องขยับออกไปด้วย.

รฟม.พร้อมชี้แจง ป.ป.ช.คดีเปลี่ยนเกณฑ์สีส้ม ส่วนศาลอาญาทุจริตนัดฟังคำสั่ง 5 พ.ค.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เผยแพร่: 22 เมษายน 2464 เวลา13:53
ปรับปรุง: 22 เมษายน 2464 เวลา 13:53


รฟม.พร้อมแจงข้อเท็จจริงประมูลสีส้มไม่หนักใจหลังดีเอสไอส่งคดีให้ ป.ป.ช. ชี้เป็นไปตามขั้นตอนและอำนาจทางกฎหมาย ขณะที่ส่งข้อมูลศาลอาญาทุจริตแล้วนัดฟังคำสั่ง 5 พ.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา อุปนายกและเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ปฏิบัติหน้าที่นายกสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นเรื่องร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พิจารณารับกรณีกล่าวหาว่ามีการกระทำความผิดทางอาญาของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ/หรือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วอันเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งน่าเชื่อว่าจะมีการกีดกันการเสนอราคา (ฮั้วประมูล) อันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

กรมสอบสวนคดีพิเศษแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานทั้งหลายเพื่อหารายละเอียด เห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 และผู้ว่าการ รฟม.มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (16) ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 และมาตรา 12 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงให้ส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช.เพื่อดำเนินการไต่สวนและวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 นั้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งการที่กรมสอบสวนคดีพิเศษส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช.ถือว่าเป็นการทำตามขั้นตอนและอำนาจทางกฎหมาย เนื่องจากคำร้องดังกล่าวเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล ซึ่งอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. ซึ่ง รฟม.และผู้เกี่ยวข้องจะได้เตรียมพร้อมข้อมูลกรณีที่ ป.ป.ช.มีการเรียกไปให้ข้อมูล

นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนลักษณะเดียวกันนี้ต่อ ป.ป.ช.ด้วย จึงคาดว่าน่าจะมีการรวมเป็นคดีเดียวกัน ซึ่ง รฟม.ไม่ได้วิตกกังวลแต่อย่างใด และพร้อมที่จะชี้แจงตามข้อเท็จจริงที่เคยนำเสนอไปแล้วหลายครั้ง

@ศาลอาญาทุจริตนัดฟังคำสั่ง 5 พ.ค.


ส่วนการพิจารณาของ ป.ป.ช.คาดว่าคงต้องรอผลการตัดสินของศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่ บมจ.บีทีเอสได้ยื่นฟ้อง รฟม.อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่ง รฟม.ได้ส่งเอกสารข้อมูลเกี่ยวข้องกับโครงการ และคำชี้แจงตามคำสั่งศาลอาญาคดีทุจริตฯ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งศาลฯ ได้นัดฟังคำสั่งในวันที่ 5 พ.ค. 2564

ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 แสนล้านบาทนั้น ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า จากที่ รฟม.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน (Market Sounding) ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนเสนอร่าง TOR ให้คณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณา แต่ทั้งนี้ยังไม่สามารถกำหนดวันประชุมได้ เนื่องจากกรรมการบางส่วนยังต้อง Work From Home ตามนโบายของรัฐบาลเพื่อลดการแพร่ระบาดโรคโควิด-19

อย่างไรก็ตาม หากคณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณาและเห็นชอบร่าง TOR แล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนประกาศประกวดราคาต่อไป ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่ 3 อาจส่งผลกระทบต่อไทม์ไลน์การดำเนินงานของรถไฟฟ้าสายสีส้มจากเดิม ทำให้ในขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดการเปิดประกวดราคาที่ชัดเจนได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2021 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

OrangeLine : #TunnelConstruction / #อุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
22 เมษายน 2464 เวลา 14:29 น.

เก็บภาพมาฝากจ๊า #ภารกิจงานขุดเจาะอุโมงค์แล้วเสร็จ ในขั้นตอนต่อไปทางทีมงานได้ดำเนินการเก็บรายละเอียดงานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ประกอบด้วย งานเทคอนกรีตพื้นทางวิ่งเพื่อวางรางรถไฟฟ้า งานติดตั้งระบบต่างๆ นอกจากนี้ ยังนำภาพบางส่วนของการถอดชิ้นส่วนหัวเจาะมาใช้ชมกันอีกด้วยจ๊า

สำหรับงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีส้ม รวมอุโมงค์ทางวิ่งทั้ง 2 ฝั่ง ระยะทาง ประมาณ 28 กิโลเมตร ใช้หัวขุดเจาะอุโมงค์ Tunnel Boring Machine (TBM) จำนวน 4 ตัว โดยมี 2 ผู้รับจ้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 + 2 รวมทั้งหมด 3 ตัว ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้าซีเคเอสที ผู้รับจ้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 1 ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – รามคำแหง 12 และสัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก และ สัญญาที่ 3 จำนวน 1 ตัว ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า

FM91 Trafficpro
22 เมษายน 2464 เวลา 19:39 น.

#อุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม ล่าสุด #ภารกิจงานขุดเจาะอุโมงค์แล้วเสร็จ ในขั้นตอนต่อไปเป็นการดำเนินการเก็บรายละเอียดงานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ประกอบด้วย งานเทคอนกรีตพื้นทางวิ่งเพื่อวางรางรถไฟฟ้า งานติดตั้งระบบต่างๆ
สำหรับงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีส้ม รวมอุโมงค์ทางวิ่งทั้ง 2 ฝั่ง ระยะทาง ประมาณ 28 กิโลเมตร ใช้หัวขุดเจาะอุโมงค์ Tunnel Boring Machine (TBM) จำนวน 4 ตัว โดยมี 2 ผู้รับจ้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2021 4:02 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดแต่งตั้ง กก.ม.36 ใหม่ รถไฟฟ้าสีส้ม-รฟม.ลุ้นศาลทุจริตนัดสั่งคดี BTS
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
จันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 09:18 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เป็นประธาน เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมาได้มีมติเห็นชอบตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จำนวน 2 คน ในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายไกร ตั้งสง่า และนายนพดล เพียรเวช จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) แทนกรรมการที่ลาออกคือ นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และนายวิทยา ยาม่วง

ส่วนกรรมการที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงบประมาณ นั้น หน่วยงานจะส่งรายชื่อผู้แทนใหม่ เนื่องจากมีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ เช่น นางนัทีวรรณ สีมาเงิน รอง ผอ.สคร. จะเป็นผู้แทน สคร. แทนนายประภาส คงเอียด อดีต ผอ.สคร. ที่โยกย้ายไปเป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นต้น ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ประชุมไม่ได้ เพราะมีกรรมการผู้แทนหน่วยงานที่ต้องรอการแต่งตั้งโยกย้ายกลางปีเรียบร้อยก่อน รวมถึงตั้งกรรมการแทนที่ลาออก แต่ขณะนี้ถือว่าคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ครบสมบูรณ์แล้ว ส่วนจะมีการประชุมเมื่อใดนั้นคงต้องประเมินเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ก่อน

นายภคพงค์กล่าวว่า นอกจากนี้ รฟม.ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ต่อที่ประชุมบอร์ด รฟม. และชี้แจงถึงกรณีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) ได้ยื่นฟ้อง และมีหนังสือร้องเรียนไปที่ประธานบอร์ด รฟม. ด้วยว่า กรณีมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์และต่อมามีการยกเลิก และเริ่มการคัดเลือกใหม่นั้น รฟม.ยืนยันดำเนินการโดยมีประกาศของคณะกรรมการ PPP รองรับ ซึ่งเมื่อ รฟม.ยื่นศาลปกครองสูงสุด ขอถอนอุทธรณ์ โดยศาลอนุญาตและจำหน่ายคดีที่บีทีเอสฟ้องแล้ว แต่เนื่องจากบีทีเอสมีการยื่นศาลปกครอง ฟ้องเพิ่มประเด็น ค่าเสียหาย 5 แสนบาทกับรฟม. ซึ่งศาลมีคำสั่งให้ รฟม.ส่งเอกสาร โดยจะครบกำหนดในวันที่ 5 พ.ค.2564 ส่วนที่บีทีเอสยื่นคำฟ้องต่อศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง กล่าวหาคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 และผู้ว่าการ รฟม.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนใน RFP ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้บีทีเอสเสียหายนั้น รฟม.ได้ส่งเอกสารตามคำสั่งศาลเรียบร้อยแล้ว โดยศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 5 พ.ค.2564

บอร์ด รฟม.ตั้ง กก.มาตรา 36 สีส้มแทนที่ลาออกแล้ว จับตา 5 พ.ค.ศาลอาญาทุจริตนัดฟัง “บีทีเอส” ฟ้อง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: จันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:37 น.
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:37 น.

บอร์ด รฟม.เห็นชอบตั้งคณะกก.มาตรา 36 รถไฟฟ้าสีส้ม แทนผู้ทรงคุณวุฒิที่ลาออก 2 คนแล้ว พร้อมเดินหน้าประมูลใหม่ ขณะที่ 5 พ.ค.ศาลอาญาทุจริตฯนัดฟังคำสั่ง และเตรียมส่งเอกสารคดี “บีทีเอส” ฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลปกครอง มั่นใจทำตามกฎหมายและประกาศ PPP

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ได้มีมติเห็นชอบตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท จำนวน 2 คน ในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายไกร ตั้งสง่า (อดีตบอร์ด รฟม.) และนายนพดล เพียรเวช จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ซึ่งเป็นการแต่งตั้งแทนกรรมการที่ลาออก คือ นายอัฌษไธค์รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และนายวิทยา ยาม่วง ส่วนกรรมการที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงบประมาณนั้น หน่วยงานจะส่งรายชื่อผู้แทนใหม่เนื่องจากมีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ เช่น ผู้แทน สคร. คือ นางนัทีวรรณ สีมาเงิน รองผู้อํานวยการ สคร. จะเป็นผู้แทน สคร.แทน นายประภาส คงเอียด อดีตผอ.สคร.ที่โยกย้ายไปเป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการมาตรา 36 ประชุมไม่ได้เพราะมีกรรมการผู้แทนหน่วยงานที่ต้องรอการแต่งตั้งโยกย้ายเรียบร้อยก่อน รวมถึงตั้งกรรมการแทนที่ลาออก แต่ขณะนี้ถือว่าคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 62 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครบสมบูรณ์แล้ว ส่วนจะมีการประชุมเมื่อใดนั้นอยู่ที่คณะกรรมการฯ ซึ่งคงต้องประเมินเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ด้วย

นอกจากนี้ รฟม.ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ต่อที่ประชุมบอร์ด รฟม. และชี้แจงถึงกรณีที่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) ได้ยื่นฟ้อง และมีหนังสือร้องเรียนไปที่ประธานบอร์ด รฟม.ด้วยว่า กรณีมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ และต่อมามีการยกเลิก และเริ่มการคัดเลือกใหม่นั้น รฟม.ดำเนินการโดยมีประกาศของคณะกรรมการ PPP รองรับ ซึ่งเมื่อ รฟม.ยื่นศาลปกครองสูงสุดขอถอนอุทธรณ์ โดยศาลอนุญาตและจำหน่ายคดีที่บีทีเอสฟ้องแล้ว แต่เนื่องจากบีทีเอสมีการยื่นศาลปกครองฟ้องเพิ่มประเด็นค่าเสียหาย 5 แสนบาทกับ รฟม. ซึ่งรฟม.ศาลมีคำสั่งให้ รฟม.ส่งเอกสาร โดยจะครบกำหนดในวันที่ 5 พ.ค. 2564

ส่วนที่บีทีเอสยื่นคำฟ้องต่อศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง กล่าวหาคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 และผู้ว่าฯ รฟม.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนใน RFP ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้บีทีเอสเสียหายนั้น ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้ส่งเอกสารตามคำสั่งศาลเรียบร้อยแล้ว โดยศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 5 พ.ค. 2564


“บอร์ด รฟม.ได้สอบถามถึงคดีที่ทางบีทีเอสยังฟ้องร้องอยู่ ซึ่ง รฟม.ได้ชี้แจงว่าได้ดำเนินการครบถ้วนตามกฎหมายและ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ รวมถึงกฎหมายลูกตามประกาศคณะกรรมการ PPP อีกทั้งมีผู้แทนจากอัยการสูงสุด สคร.เป็นคณะกรรมการมาตรา 36 ช่วยพิจารณาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงมั่นใจว่าการดำเนินการที่ผ่านมามีกฎหมายและระเบียบรองรับครบถ้วนถูกต้อง”

อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยหลายอย่างที่ผ่านมาส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความล่าช้าไปจากแผนเดิม โดย รฟม.จะมีการปรับไทม์ไลน์การดำเนินโครงการใหม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2021 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส ลุ้น5พ.ค. ศาลรับคำฟ้องรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:15 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,675 วันที่ 2 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

บีทีเอส ลุ้นคดีล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เหตุศาลอาญานัดฟังคำฟ้อง 5 พ.ค.นี้ ลั่นประมูลรอบใหม่ขอตรวจสอบทีโออาร์ก่อน ด้านรฟม.ชะลอประมูล

การล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) เพื่อประมูลใหม่ โดยไม่รอคำชี้ขาดศาลปกครองสูงสุด หลังบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ฟ้อง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 กรณีเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลยึดเทคนิคพ่วงราคา ที่ยังไม่ออกมา โดยมองว่าหากรออย่างไรจุดหมายจะทำให้โครงการล่าช้า ส่งผลให้ บีทีเอสซี ยื่นฟ้องศาลอาญาเพราะเสียโอกาส

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ล่าสุดศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้นัดฟังคำสั่งคดีที่บีทีเอสซียื่นฟ้องผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณียกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยศาลฯ ให้รฟม.ส่งข้อมูลเพิ่มเติมภายใน 30 วันและนัดฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 5 พฤษภาคมนี้ ซึ่งต้องรอว่าศาลฯ จะรับคำฟ้องหรือไม่ ทั้งนี้หากศาลฯ รับคำฟ้อง เบื้องต้นทางบริษัทจะเตรียมเอกสารเพื่อเริ่มกระบวนการไต่สวนต่อไป ขณะเดียวกันในกรณีที่ศาลปกครองมีการจำหน่ายคดีหลังรฟม.เปลี่ยนเกณฑ์การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น ปัจจุบันยังไม่ได้รับคำสั่งจากศาลฯ ทั้งนี้บริษัทยังไม่มีแผนที่จะฟ้องร้องศาลอื่นๆเพิ่มเติม เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองในกรณีที่รฟม.และคณะกรรมการมาตรา 36 ยกเลิกการประมูลโครงการฯ แล้ว


“ที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าร่วมการให้ความคิดเห็นเพื่อจัดทำร่างประกอบการเปิดประมูลโครงการฯ รอบใหม่ตามปกติ แต่ ปัจจุบันรฟม.ยังไม่ได้แจ้งกำหนดการเปิดรับซองการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสีส้มเลย หากเกณฑ์การประมูลโครงการฯ ยึดเกณฑ์การให้คะแนนด้านเทคนิค 30 คะแนน และข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน จะเข้าร่วมประมูลหรือไม่นั้น เราคงต้องดูรายละเอียดเงื่อนไขในเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ก่อนว่าเป็นอย่างไร เพราะเราต้องดูคุณสมบัติผู้เข้าร่วมการประมูลว่าสามารถเข้าร่วมได้หรือไม่ หากตัดสินใจเข้าร่วมการประมูลแล้วจะมีโอกาสสู้หรือไม่”รายงานข่าวจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ระบุว่า ที่ผ่านมาผู้แทนจากสำนักงบประมาณ 1 ในคณะกรรมการมาตรา 36 ได้คัดค้านการปรับหลักเกณฑ์สายสีส้ม เนื่องจากหลักเกณฑ์เดิมที่เปิดประมูลนั้นเป็นไปตามผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการที่รฟม. นำเสนอคณะกรรมการนโยบายในการขออนุมัติโครงการฯต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563รายงานข่าวจากรฟม. กล่าวถึงความคืบหน้าสายสีส้ม หลังเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำร่างเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ หรือ RFP เบื้องต้นรฟม.จะรวบรวมความคิดเห็นดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ต่อไปบีทีเอส ลุ้น5พ.ค. ศาลรับคำฟ้องรถไฟฟ้าสายสีส้ม
บีทีเอส ลุ้น5พ.ค. ศาลรับคำฟ้องรถไฟฟ้าสายสีส้ม


ทั้งนี้การเปิดรับฟังความคิดเห็นในช่วงที่ผ่านมาจะใช้เกณฑ์การพิจารณาโดยพิจารณาจากซองข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน ซึ่งต้องเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 เห็นชอบ แต่ปัจจุบันเลยระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากที่ผ่านมารฟม.จะเสนอให้คณะกรรมการมาตรา 36 เห็นชอบการพิจารณาร่างทีโออาร์ช่วงสิ้นเดือนมีนาคมนี้และเปิดประมูลภายในเดือนเมษายน 2564 คาดว่ารอคำสั่งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนัดฟังรับคำฟ้องของบีทีเอสภายในวันที่ 5 พฤษภาคมนี้ ส่งผลให้ชะลอการเปิดประมูลรอบใหม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2021 2:54 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลอาญาฯรับคำฟ้อง "BTS" ฟ้อง "ผู้ว่าการ รฟม." ยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
5 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:31 น.


ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิจารณารับคำฟ้องกรณี ที่บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ยื่นฟ้องผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการคัดเลือก ม.36

วันนี้ (5 พ.ค.2564) พ.ต.อ.สุชาติ​ สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า​ วันนี้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิจารณารับคำฟ้องกรณี ที่บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ยื่นฟ้องผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย​ (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตาม ม.36 แห่งพระราชบัญญัติร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

เบื้องต้น​ ศาลฯนัดไต่สวนในวันที่ 27 ก.ค.นี้ แต่ทั้งนี้จะมีการพิจารณาการเลื่อนวันอีกครั้ง เนื่องจากต้องติดตามสถานการณ์ COVID-19 โดยก่อนนัดไต่สวน ศาลฯได้เปิดให้ รฟม.ส่งคำคัดค้าน ภายใน 15 วันนับจากวันนี้เป็นต้นไปซึ่งจะทำหรือไม่ก็ได้

ขณะเดียวกันวันนี้ศาลได้มีการสอบถามกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สอบสวนการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มทางทนายความบีทีเอส​ ยืนยันไปว่า มีข้อเท็จจริงบางส่วนที่สอดคล้องกัน แต่เป็นการฟ้องร้องของบุคคลภายนอกที่หยิบยกประเด็นการฮั้วประมูลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยซึ่งศาลฯจะนำประเด็นนี้มาประกอบการพิจารณาด้วย

ขณะที่ รฟม.จะมีการเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มอีกรอบหรือไม่นั้นอยู่ที่การตัดสินใจของ รฟม.แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ถูกต้องเท่านั้น คาดว่าคดีนี้จะมีความชัดเจนในช่วงปลายปี

นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ ในฐานะทนายความ กล่าวว่า​ ขณะนี้บีทีเอสได้รับข้อมูลใหม่ว่ามีคณะกรรมการอีก 1 ชุด ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ตามมาตรา 36 ได้ลงนามร่วมกันยกเลิกการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งที่ผ่านมา ทำให้จะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีกับบุคคลกลุ่มนี้ด้วย เพราะถือว่ามีส่วนทำให้โครงการเสียหายซึ่งจะส่งข้อมูลทั้งหมดให้ศาลพิจารณาต่อไป

ส่วนการพิจารณา คดีทางแพ่งด้านความเสียหายของบีทีเอสนั้น ทีมทนายความอยู่ระหว่างประเมินความเสียหายทั้งหมด และจะส่งให้ศาลแพ่งพิจารณาให้เร็วที่สุด สำหรับคดีของศาลปกครองที่ทางบีทีเอสยื่นฟ้องคณะกรรมการตาม ม.36 นั้น ศาลได้รับไต่สวนทั้งหมดแล้วแต่ยังไม่ได้นัดวันพิจารณาคดี

ด่วน!! ศาลอาญาคดีทุจริตฯรับฟ้อง BTSC เอาผิดรฟม.รื้อTOR รถไฟฟ้าสีส้ม
เผยแพร่ : 5 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:11


ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง รับคำฟ้อง BTSC เอาผิด ผู้ว่ารฟม. และ กรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 กรณีรื้อ แก้ไข ทีโออาร์ ประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รวม 7 คน

สืบเนื่องจากการที่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ดำเนินการฟ้องร้อง ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 เพื่อเอาผิดกับบุคคลที่เกี่ยวกับการรื้อ แก้ไข และ ล้มประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฐานเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (16) กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และมาตรา 165 ประกอบด้วย


1.นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
2.นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง รฟม. ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
3.นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ
4.นายประสิทธิ์ ศิริภากรณ์ อธิบดีอัยการ ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ
5.นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (ผอ.สคร.) กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ
6.นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ
7.นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า รฟม. ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ

และก่อนหน้านั้น ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ได้มีคำวินิจฉัยเบื้องต้น ว่า ขั้นตอนของคดีนี้จะเป็นการพิจารณาคดีแบบเปิด และถือเป็นคดีสำคัญ ต้องปรึกษากับอธิบดีผู้พิพากษาฯและรองอธิบดีผู้พิพากษาฯก่อนทุกครั้ง จึงให้ทนายฝ่ายโจทก์ได้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ถึงการฟ้องร้องในชั้นศาลปกครองที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ศาลอาญาฯคดีทุจริต เห็นว่า เรื่องนี้เป็นคดีสำคัญ มีทุนทรัพย์มีมูลค่าสูง ต้องให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย และข้อมูลเอกสารของรฟม.อาจจะไม่เพียงพอครบถ้วน จึงสั่งให้ รฟม.จัดทำเอกสารส่งเพิ่มเติมภายใน 30 วัน ได้แก่

1.เอกสารการดำเนินการคัดเลือกเอกชน (RFP) ที่ยกเลิกไปแล้ว
2.ประกาศแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารคัดเลือกเอกชน
3.คำสั่ง/ประกาศยกเลิกการเชิญชวนเอกชน
4.รายงานการประชุมที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงรายงานการประชุมที่เกี่ยวกับการยกเลิกต่างๆ และหนังสือยืนยันความเห็นคัดค้านของนางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง ผู้แทนสำนักงบประมาณ ที่มีการประชุมไป



ล่าสุดมีรายงานข่าวศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิจารณารับคำฟ้องกรณี ที่บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ยื่นฟ้องผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการคัดเลือกมาตรา 36 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถือมีความสำคัญต่อแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งใจจะทำให้สำเร็จ ตั้งเข้ามาบริหารประเทศ ในฐานะหัวหน้าคสช. หลังจากจแผนแม่บทสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ว่า ด้วยการวางโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีส้ม ผ่านการพิจารณามาเป็นลำดับ ตั้งแต่ปี 2547 จากนั้นในปี 2553 ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางมาเป็นตลิ่งชัน-มีนบุรี และกลายเป็นบางขุนนนท์-มีนบุรี ในปัจจุบัน



รวมถึงยังได้มีการจัดแผนดำเนินโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก เริ่มจากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก เริ่มจากตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

โดยทั้ง 2 ส่วน ที่เรียกว่าสายตะวันออก และ ตะวันตก ครม.มีมติเห็นชอบดำเนินการ ในส่วนของโครงสร้างงานโยธาฯซึ่งรัฐเป็นผู้ลงทุน ตั้งแต่วันที่ 8 ธ.ค. 2558 สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก ( ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ) วงเงิน 95,108 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 9,625 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธารวม 85,483 ล้านบาท



และ วันที่ 28 ม.ค.2563 สำหรับการอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 142,789 ล้านบาท แยกเป็นมูลค่างานโยธา ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท และอีก 3 หมื่นล้านบาท เป็นเงินลงทุนสำหรับระบบเดินรถทั้งเส้นทาง

แต่ประเด็นที่ปัญหาก็คือ เมื่อ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ดำเนินการพิจารณารับฟังความเห็น ภาคเอกชนเพื่อนำมาพิจารณาประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน จนมีการจัดทำ เอกสารคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal: RFP) พร้อมรายละเอียดการประกาศ เชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการฯ และจำหน่ายเอกสารคัดเลือกเอกชน ไปตั้งแต่ วันที่ 10–24 ก.ค. 2563 โดยมี 10 บริษัทเอกชน ให้ความสนใจซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ

แต่ปรากฎว่าวันที่ 21 ส.ค. 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 กลับมีข้อสรุปว่าจะปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่าประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ใหม่ทั้งหมด

จนกระทั่งนำไปสู่การฟ้องร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง ของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ว่าคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 กระทำไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จนศาลปกครองมีคำสั่งให้กลับไปใช้ทีโออาร์ประมูลเดิม และยังมีการยื่นคำร้องต่อดีเอสไอ เอาผิด คณะกรรมการคัดเลือกตาม มาตรา 36 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โดยนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2563 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และขณะนี้คำร้องดังกล่าวได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของป.ป.ช. ตามขั้นตอนการพิสูจน์ความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วยอีกกรณีหนึ่ง
ศาลอาญา”รับฟ้อง”บีทีเอส”ปมยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม
*นัดไต่สวนคณะกรรมการ ม.36-ผู้ว่า รฟม. 7 ก.ค.นี้
*เร่งประเมินความเสียหายส่งให้ศาลแพ่งพิจารณา
*ลุยฟ้องเพิ่มอีก/ปัดตอบประมูลรอบใหม่ขอดูก่อน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2897060763848756


ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับไต่สวนคดี “บีทีเอส” ฟ้อง รฟม.และ กก.มาตรา 36 แก้เกณฑ์-ยกเลิกประมูล “สีส้ม”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 5 พฤษภาคม 2564 เวลา 14:42
ปรับปรุง: 5 พฤษภาคม 2564 เวลา 14:42


ศาลอาญาทุจริตฯมีคำสั่งรับคำฟ้องบีทีเอส คดี รฟม.และคณะกก.คัดเลือกมาตร 36 รวม 7 คน แก้ไขหลักเกณฑ์และยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม นัดไต่สวน 7 ก.ค. บีทีเอสเผยมีข้อมูลใหม่ เตรียมฟ้องกก.มาตรา 36 เพิ่มหลักฐานมัดร่วมลงชื่อยกเลิก แม้จะชิงลาออกไปก็ตาม

วันที่5 พ.ค. ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำสั่งรับคำฟ้องของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการยื่นฟ้องผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตร 36 พระราชบัญญัติร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รวม 7 คน กรณีแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือก การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และยกเลิกการประมูล

พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า เนื่องจากเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 บมจ. บีทีเอสได้ยื่นฟ้องผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตร 36 รวม 7 คน ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในกรณีที่การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 128,128 ล้านบาท ในคดีหมายเลขดำที่ อท 30/64 ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

และศาลได้นัดทั้งสองฝ่ายฟังคำสั่งในวันที่ 5 พ.ค. 2564 โดยล่าสุด ศาลฯ มีคำสั่งรับฟ้อง และจะเปิดโอกาสให้จำเลยส่งคำแถลงภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหมายแจ้งนัดซึ่งจะดำเนินการหรือไม่ก็ได้

ในเบื้องต้น ศาลฯ นัดพร้อมในวันที่ 7 ก.ค. 2564 แต่อาจมีการเลื่อนนัดไต่สวน เนื่องจากต้องพิจารณาตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ( โควิด – 19) แต่มั่นใจว่าคดีนี้จะได้ข้อยุติหรือความชัดเจนในช่วงปลายปีนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทฯได้ตรวจพบหลักฐานเอกสารใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย

“ศาลฯระบุว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลอาญา คดีทุจริต หลังจากที่ได้ให้รฟม.และผู้ถูกฟ้องได้ทำรายงานชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมพยานหลักฐานเอกสารต่างๆ มาให้ และการฟ้องของบมจ.บีทีเอส เป็นไปตามกฎหมายถูกต้อง จึงเห็นควรรับคดีไว้ไต่สวนมูลฟ้องต่อไป”

นอกจากนี้ศาลฯ ได้สอบถาม บริษัท ว่าในเรื่องดังกล่าว ได้มีการดำเนินการทางกฎหมาย อื่นอีกหรือไม่ ซึ่ง บริษัทฯได้รายงานศาลมีการดำเนินคดีทางปกครองและทางแพ่งด้วย โดยอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณา ทั้งนี้ ศาลฯได้สอบถามถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า มีข้อเท็จจริงเดียวกับที่นำมาฟ้องต่อศาลอย่างไรหรือไม่ โดยทนายนำเรียนศาลว่า กรณีดีเอสไอเป็นบุคคลภายนอกไปร้องเรียน ซึ่งมีข้อเท็จจริงบางส่วนที่สอดคล้องกัน แต่มีการหยิบยกประเด็นการฮั้วประมูลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งศาลฯ จะให้เจ้าหน้าที่ศาลมีหนังสือสอบถามพร้อมส่งคำฟ้องไปยัง ปปช. เพื่อตรวจสอบว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่

ส่วนรฟม. จะเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มรอบใหม่หรือไม่นั้น อยู่ที่การตัดสินใจของ รฟม. แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ถูกต้องเท่านั้น ส่วนจะดำเนินการฟ้องร้องเพื่อระงับการประมูลหรือไม่ ยังไม่ขอตอบในส่วนนี้ เพราะต้องดูเงื่อนไขการเปิดประมูลครั้งใหม่เสียก่อน

ด้านนายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ ในฐานะหัวหน้าทีมทนายความ กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงใหม่ว่ามีคณะกรรมการตามมาตรา 36 อีกส่วนหนึ่ง ที่หายไปซึ่งได้ลงนามยกเลิกการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งที่ผ่านมาด้วย ทำให้จะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีกับบุคคลกลุ่มนี้ด้วย เพราะถือว่ามีส่วนทำให้บริษัทเสียหาย ซึ่งจะส่งข้อมูลทั้งหมดให้ศาลฯ พิจารณาต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมการมาตรา 36 ที่ระบุว่าหายไปนั้น เป็นกรรมการ 2 คนที่ลาออกใช่หรือไม่ นายนรินท์พงศ์กล่าวว่า ขอสงวนชื่อไว้ก่อน แต่ในรายงานมีการลงชื่อไว้ชัดเจน และถือเป็นคนกลุ่มเดียวกันที่มีเจตนายกเลิกประมูล ส่วนสื่อมวลชนจะประเมินอย่างไรก็อยู่ที่พิจารณา ซึ่งเมื่อศาลมีคำสั่งรับไต่สวน เราจะดำเนินการกับกรรมการมาตรา 36 ทุกคน ที่มีส่วนในมติยกเลิกประมูล ศาลรับไต่สวนเป็นการเปิดเวทีให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้พิสูจน์ข้อมูลกัน บริษัทเป็นฝ่ายเสียประโยชน์มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องความสุจริตให้ปรากฏในสังคม ให้เห็นว่าหากมีการกระทำแบบนี้เกิดขึ้น ซึ่งทำให้รัฐ และประชาชน เสียประโยชขน์ จากกลุ่มคนที่ใช้อำนาจ

คดีนี้คงต้องใช้เวลาเนื่องจากเอกสารทั้งหมดไม่ได้อยู่ในครองครองของบริษัท วันนี้ศาลให้ความยุติธรรมเรียกเอกสารจากรฟม.เพิ่มเติมทำให้เห็นข้อเท็จจริง โดยเฉพาะคณะกรรมการที่ยกเลิกประมูล หายไปกลุ่มหนึ่ง ส่วนรฟม.คาดว่าจะต้องใช้อัยการเข้ามาช่วยแก้ต่าง เพราะมีผู้ถูกกล่าวหาหลายคน


ส่วนการพิจารณาคดีทางแพ่งด้านความเสียหายของ บริษัท ทางทีมทนายความอยู่ระหว่างการประเมินความเสียหายทั้งหมด และจะส่งให้ศาลแพ่งพิจารณาโดยเร็วที่สุด

สำหรับความคืบหน้าของการยื่นอุทธรณ์ในกระบวนการศาลปกครอง ภายหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งจำหน่ายคดีกรณีแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลและการฟ้องใหม่ กรณีการยกเลิกการประมูลที่ผ่านมาไม่ชอบ ขณะนี้ศาลปกครองได้รับเรื่องไว้แล้ว

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รฟม.จะเร่งแจ้งไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการเป็นทนายให้ อย่างไรก็ตาม การที่ศาลอาญา จริตฯรับไต่สวนนั้น ยังไม่มีผลต่อการเปิดประมูลสายสีส้มในขณะนี้


ศาลรับฟ้อง BTS ฟ้องรฟม.-บอร์ด ม.36 ปมรถไฟฟ้าสายสีส้ม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เวลา 17:24 น.


วันที่ 5 พ.ค. 2564 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษา ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เปิดเผยว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้รับคำฟ้องกรณี BTS เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 กรณียกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 128,128 ล้านบาท ในฐานกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (16) กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และมาตรา 165

โดยศาลนัดไต่สวนอีกครั้งวันที่ 27 ก.ค. 2564 นี้ อย่างไรก็ตาม ศาลอาจพิจารณากำหนดการดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากยังอยู่ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19


ส่วนกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคม องค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ไปยื่นร้องกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) หลังมีการขายซองประกวดราคาไปแล้ว ทราบว่า ดีเอสไอได้ส่งต่อให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาแล้ว ศาลจึงได้มีหนังสือสอบถามไปยัง ป.ป.ช.ถึงรูปคดีที่มีคนไปร้อง เพราะมีความคล้ายกัน และมีการร้องเรียนในประเด็นการฮั้วประมูลด้วย

นอกจากคดีทางอาญาแล้ว BTS ยังได้ดำเนินการคดีทางปกครอง โดยยื่นฟ้องและศาลปกครองรับคำร้องแล้ว 2 คดี

1. ฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ประกาศยกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มโดยไม่ชอบ โดยฟ้องทั้ง รฟม.และคณะกรรมการคักเลือกตามมาตรา 36

และ 2. อุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด กรณีการจำหน่ายคดีการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ BTS ยื่นฟ้อง รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 เปลี่ยนแปลงเกณฑ์การคัดเลือกโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนคดีเรียกค่าเสียหายทางแพ่งอยู่ระหว่างการประเมินมูลค่าความเสียหาย


Last edited by Wisarut on 07/05/2021 2:33 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 06/05/2021 2:44 pm    Post subject: Reply with quote

“มาดามเดียร์”โพสต์“จบทุกข้อสงสัยงดออกเสียง”หลังศาลรับฟ้องล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
พฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2564 เวลา 13:46 น.

“มาดามเดียร์”ยกกรณีศาลอาญาคดีทุจริต รับคำฟ้อง“บีทีเอส”ปมรฟม.ยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม “จบทุกข้อสงสัยงดออกเสียง-หน้าที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ”

วันนี้(6 พ.ค.64) มาดามเดียร์ - วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊ก เดียร์ วทันยา วงษ์โอภาสี ซึ่งเป็นข่าวเกี่ยวกับกรณีที่ ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับคำฟ้อง “บีทีเอส” ปมรปม.ยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ระบุว่า

นี่คือบทพิสูจน์ทำไม ส.ส.ดาวฤกษ์ต้องงดออกเสียง!!! รมว.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจประเด็น “การล้มเงื่อนไขการประมูล (TOR)รถไฟฟ้าสายสีส้ม” และ “การครอบครองที่ดินเขากระโดง”1. เมื่อวานนี้ 5 พ.ค.64 ศาลอาญาทุจริตประพฤติมิชอบกลางมีมติรับคำฟ้อง “บีทีเอส” ยื่นฟ้อง “รฟม.” ปมยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม2. วันที่ 20 เม.ย. 64 ดีเอสไอสรุปสำนวน 1,940 หน้าให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนปมฮั้วประมูล “โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม”3. วันที่ 19 มี.ค. 64 ส.ส. ฝ่ายค้านยื่นเอกสารต่อ ป.ป.ช. ไต่สวน “โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม” และ “การครอบครองที่ดินเขากระโดง”


การดำเนินการขององค์กรตรวจสอบการทุจริตเป็นคำตอบที่เป็นดั่งเครื่องสะท้อนความจริง ที่พวกเราต้องยืนหยัดต่อสู้เพื่อความถูกต้อง เพื่อหวังว่าอย่างน้อยเสียงเล็กๆ ของพวกเรา จะยังคงเป็นความหวังให้กับประชาชนได้เสมอ#จบทุกข้อสงสัยงดออกเสียง #หน้าที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2021 2:34 am    Post subject: Reply with quote

ประมูลรถไฟสายสีส้มสะดุด พิษโควิด/ศาลรับฟ้องคดีBTSร้องรฟม.
วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.



พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) (BTSC) กล่าวภายหลังการรับฟังคำสั่งศาล จากกรณีที่เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา ทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการยื่นฟ้องผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 รวม 7 คน ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในกรณีที่การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 128,128 ล้านบาท ในคดีหมายเลขดำที่ อท 30/64 ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

ทั้งนี้ศาลได้นัดทั้งสองฝ่ายฟังคำสั่งในวันที่ 5 พ.ค. 2564 โดยศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องกรณีที่บริษัทยื่นฟ้องผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 พระราชบัญญัติร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และจะเปิดโอกาสให้จำเลยส่งคำแถลงภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับหมายแจ้งนัดซึ่งจะดำเนินการหรือไม่ก็ได้ และในเบื้องต้นศาลฯ นัดพร้อมในวันที่ 7 ก.ค.2564 นี้ แต่อาจมีการเลื่อนนัดไต่สวน เนื่องจากต้องพิจารณาตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แต่มั่นใจว่าคดีนี้จะได้ข้อยุติหรือความชัดเจนในช่วงปลายปีนี้



ส่วน รฟม. จะมีการเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มอีกรอบหรือไม่นั้น อยู่ที่การตัดสินใจของ รฟม. แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ถูกต้องเท่านั้น และคาดว่าคดีนี้จะมีความชัดเจนในช่วงปลายปี

ด้านนายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ ในฐานะทนายความ กล่าวว่า ขณะนี้บีทีเอส ได้รับข้อมูลใหม่ ว่ามีคณะกรรมการอีก 1 ชุด ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ตามมาตรา 36 ได้ลงนามร่วมกันยกเลิกการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งที่ผ่านมา ทำให้จะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีกับบุคคลกลุ่มนี้ด้วย เพราะถือว่ามีส่วนทำให้โครงการเสียหาย ซึ่งจะส่งข้อมูลทั้งหมดให้ศาลพิจารณาต่อไป ส่วนการพิจารณา คดีทางแพ่งด้านความเสียหายของบีทีเอสนั้น ทีมทนายความอยู่ระหว่างประเมินความเสียหายทั้งหมด และจะส่งให้ศาลแพ่งพิจารณาให้เร็วที่สุด สำหรับคดีของศาลปกครอง ที่ทาง BTS ยื่นฟ้องคณะกรรมการตามมาตรา 36 นั้น ศาลได้รับไต่สวนแล้วเช่นกัน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า การพิจารณาเป็นกระบวนการตามปกติของศาลอาญา ซึ่งส่วนนี้ไม่มีผลกระทบต่อโครงการ ประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)แต่อย่างใด

ส่วนการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้เริ่มกระบวนการประกวดราคารอบใหม่ โดยจะประกาศเปิด
รับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำร่างเอกสารยื่นข้อเสนอโครงการ หรือ RFP อย่างไรก็ตามยอมรับว่าจากเดิมที่กระบวนการจะแล้วเสร็จ สามารถขายซองประกวดราคารอบใหม่ได้ ในปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา แต่สถานการณ์การระบาด ของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้เป็นอุปสรรค โดยเฉพาะการที่ไม่สามารถเรียกประชุมคณะกรรมการมาตรา 36 ได้ จึงจำเป็นต้องเลื่อนกระบวนการทั้งหมดออกไปก่อน

“ตอนนี้ไม่สามารถเรียกประชุมคณะกรรมการตามมาตรา 36 ได้ อีกทั้งคณะกรรมการหลายท่าน ต้องมีการกักตัวดังนั้น กำหนดการดังกล่าวจะเลื่อนไป เพื่อรอการประชุมคณะกรรมการอีกครั้ง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอกำหนดวันอีกครั้ง” นายภคพงศ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2021 12:29 am    Post subject: Reply with quote

ผ่าปมทางออก ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา10:32 น.

ดร.สามารถ แนะทางออกรฟม.เคลียร์คดีประมูลสายสีส้ม หวั่นหากยึดเกณฑ์ใหม่ส่อลากยาวกระทบโครงการฯ ล่าช้า

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีคดีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่า หลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้รับคำฟ้องของ บีทีเอสที่ฟ้องผู้ว่า รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 รวมทั้งหมด 7 คน กรณีเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลและยกเลิกการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม หาก รฟม.ยังคงดึงดันที่จะเดินหน้าประมูลโดยใช้เกณฑ์ใหม่ ซึ่งรวมซองเทคนิคกับซองผลตอบแทน อาจทำให้มีการฟ้องร้องกันอีก โครงการก็จะล่าช้าออกไปอีกนาน และที่สำคัญ กรรมการคัดเลือกฯ บางคนคงไม่กล้าเห็นชอบให้ใช้เกณฑ์ใหม่ เนื่องจากกลัวจะถูกฟ้องร้องเหมือนอย่างกรรมการคัดเลือกฯ ชุดเดิม

ดังนั้นในจังหวะที่มีการเปลี่ยนกรรมการคัดเลือกฯ จึงเป็นโอกาสดีของ รฟม.ที่จะกลับมาใช้เกณฑ์เดิม นั่นคือแยกซองเทคนิคออกจากซองผลตอบแทน จะทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีภายในระยะเวลาสั้นกว่า ที่ผ่านมาน่าเห็นใจกรรมการคัดเลือกฯ บางคนที่ไม่มีความรู้ด้านวิศวกรรม เมื่อถูกป้อนข้อมูลว่าเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มผ่าน “พื้นที่อ่อนไหวและมีความซับซ้อน” ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการก่อสร้าง ทำให้กรรมการคัดเลือกฯ เหล่านั้นหวั่นวิตก จึงเห็นด้วยให้เปลี่ยนเกณฑ์การประมูล ทั้งๆ ที่ เกณฑ์การประมูลเดิมมีความเหมาะสมสำหรับการก่อสร้างใน “พื้นที่อ่อนไหวและมีความซับซ้อน” มากกว่าเกณฑ์ใหม่ ซึ่งในที่สุด กรรมการคัดเลือกฯ เหล่านั้นถูกฟ้องร้องติดร่างแหไปด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 89, 90, 91  Next
Page 52 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©