Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180292
ทั้งหมด:13491526
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 29, 30, 31 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2020 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. เห็นชอบประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
ประชาสัมพันธ์
วันที่ 26 มิถุนายน 2558 เวลา 19:00น.

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ออกประกาศ จ้างวิ่งรถไฟฟ้า คาด ได้เอกชนร่วมทุน ธ.ค.นี้
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 26 มิถุนายน 2558 เวลา 19:05 น.

มาแล้ว! รถไฟฟ้าสายสีส้ม เค้กแสนล้านขายซองประมูล 10-24 ก.ค.ยื่นราคาก.ย.นี้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 26 มิถุนายน 2558 เวลา 19:10 น.

ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตั้งแต่วันที่ 5 - 19 เมษายน 2563 และจัดส่งให้ รฟม. ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 20 - 22 เมษายน 2563 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง นักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ นั้น


วันนี้ (26 มิถุนายน 2563) คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้มีมติเห็นชอบเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal: RFP) และรายละเอียดการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการฯ โดยมีกำหนดการประกาศเชิญชวนฯ ระหว่างวันที่ 3 – 9 กรกฎาคม 2563 และกำหนดการจำหน่ายเอกสาร RFP ระหว่างวันที่ 10 – 24 กรกฎาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร 1 รฟม. และมีกำหนดการให้เอกชนยื่นข้อเสนอภายในเดือนกันยายน 2563 โดยคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในเดือนธันวาคม 2563


สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนPPP net cost ก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดสายจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 35.9 กม. ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวม 128,128 ล้านบาท

โดยรัฐจ่ายค่าเวนคืน14,611 ล้านบาท มีพื้นที่รวม 505 แปลง หรือ41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว. รวม 331 หลัง และสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

แนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แบ่งเป็นส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี ปัจจุบันกำลังก่อสร้างคืบหน้าแล้วกว่า60% จะเสร็จเปิดบริการในปี2567

และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็นใต้ดินตลอดสาย ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี โดยคาดว่าจะเปิดบริการตลอดสายในปี2569
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2636518863236282 https://www.js100.com/en/site/post_share/view/89081
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2020 2:50 am    Post subject: Reply with quote

“รถไฟฟ้า”มา ปั้น“บางกะปิ” เมืองทันสมัย
เสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2563 เวลา 12:42 น.

“รถไฟฟ้า” 2สาย สีเหลือง-ส้ม มา “ นิด้า –กทม. –การเคหะ ฯ” ปั้นเมือง“บางกะปิ” ย่านทันสมัยน่าอยู่ ตามแผนพัฒนาเมือง โครงการ Bangkapi Smart District


“บางกะปิ “ ชุมชนเก่าแก่โซนตะวันออกกรุงเทพมหานคร ถูกพลิกโฉมตามความเจริญจากรถไฟฟ้า เชื่อมโยงพื้นที่ถึง 2เส้นทาง ได้แก่ สายสีเหลือง วิ่งมาตามเส้นทางถนนลาดพร้าว ผ่านแยกบางกะปิตัดกับสายสีส้มตะวันออก บริเวณ สถานีร่วม ลำสาลี จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารสำคัญที่โอบล้อม ด้วยห้างสรรพสินค้า ร้านรวงอาคารพาณิชย์ โครงการคอนโดมิเนียม สลับกับ เจ้าถิ่นแฟลตคลองจั่น ของการเคหะแห่งชาติ ตั้งอยู่บนทำเลทองที่น่าจับตา และถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง

แหล่งข่าวจากการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยว่า ทันทีที่ความเจริญผ่านเข้าพื้นที่ ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้น ล่าสุด การเคหะฯได้ทำความเข้าใจให้กับชาวชุมชนเคหะชุมชนคลองจั่น ถึงแผนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน และแนวคิดการพัฒนาชุมชนภายใต้โครงการ Bangkapi Smart District “บางกะปิ ย่านทันสมัยน่าอยู่ คู่ความรู้ สู่สังคม ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ดี” ที่ทางสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ร่วมกับกรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชาวบางกะปิ



เมื่อเร็วๆ นี้ การเคหะแห่งชาติได้จัดการประชุมชี้แจงแผนพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชนคลองจั่น และแผนการพัฒนาโครงการ Bangkapi Smart District “บางกะปิ ย่านทันสมัยน่าอยู่ คู่ความรู้ สู่สังคม ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ดี” โดยมี ผู้บริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติ ผู้แทนจากนิติบุคคลอาคารแฟลต 1 – 30 โครงการเคหะชุมชนคลองจั่น และตัวแทนหน่วยงานในพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ณ ห้องอเนกประสงค์ มูลนิธิสยาม รวมใจ (ปู่อินทร์) บริเวณโครงการเคหะชุมชนคลองจั่น เพื่อชี้แจงถึงแผนการพัฒนาโครงการ Bangkapi Smart District “บางกะปิ ย่านทันสมัยน่าอยู่ คู่ความรู้ สู่สังคม ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ดี” ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้รับเชิญจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และกรุงเทพมหานครที่ได้ทำการศึกษาพื้นที่บริเวณโดยรอบของย่านบางกะปิ เพื่อใช้ในการวางแผนการพัฒนาชุมชนให้พร้อมรองรับการเจริญเติบโตในอนาคต รวมถึงยังได้ฟังความคิดเห็นของชาวชุมชนที่มีต่อแผนพัฒนาดังกล่าว รวมถึงยังได้ตอบประเด็นสงสัยของชาวชุมชนในประเด็นต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับชาวชุมชน รวมถึงยังได้เน้นย้ำกับตัวแทนชาวชุมชนว่าการดำเนินโครงการใดๆ ของการเคหะแห่งชาติในปัจจุบันหรืออนาคต ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวมจะต้องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนเสมอ เพื่อให้ทุกคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2020 10:59 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิดชิงสัมปทาน “สายสีส้ม” 1.2 แสนล้าน ขายซอง ก.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 19:24
ปรับปรุง: อาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2563 เวลา 16:01




รฟม.สรุป TOR ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ขายซอง 10-24 ก.ค.นี้ ยื่นข้อเสนอใน ก.ย. คาดเซ็นสัญญาได้ใน ธ.ค. 63

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (26 มิถุนายน 2563) คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้มีมติเห็นชอบเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal: RFP) และรายละเอียดการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการฯ โดยมีกำหนดการประกาศเชิญชวนฯ ระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2563 และกำหนดการจำหน่ายเอกสาร RFP ระหว่างวันที่ 10-24 กรกฎาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร 1 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

และมีกำหนดการให้เอกชนยื่นข้อเสนอภายในเดือนกันยายน 2563 โดยคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในเดือนธันวาคม 2563

โดย รฟม.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตั้งแต่วันที่ 5-19 เมษายน 2563 และจัดส่งให้ รฟม. ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 20-22 เมษายน 2563 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง นักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ รฟม.จะประมูล เพื่แจัดหาเอกชนก่อสร้างและเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทาง บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท

โดยโครงการมีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2020 7:13 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ตั้งแต่วันที่ 10 - 24 กรกฎาคม 2563 ที่ รฟม.

....การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคม ขอเชิญชวนเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเป็นลักษณะโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย รฟม. ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการฯ รวมทั้งดำเนินการก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันออก (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – สถานีสุวินทวงศ์) และผู้ร่วมลงทุนลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์ – สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทาง รวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ (PPP Net Cost) โดยมีระยะเวลาร่วมลงทุนแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 : การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการจัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 การออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันออก เป็นระยะเวลา 3 ปี 6 เดือน
ส่วนที่ 2 การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและ ทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันตก เป็นระยะเวลา 6 ปี
ระยะที่ 2 : การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าโครงการฯ ส่วนตะวันออก

สำหรับการคัดเลือกดังกล่าว จะเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 อย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่สนใจสามารถซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ตั้งแต่วันที่ 10 - 24 กรกฎาคม 2563 เวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น. ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร 1 รฟม. โดยประกาศเชิญชวนฯ (ฉบับทางการ) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ข้อกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ และขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mrta.co.th/ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 2716 4000 ต่อ 1519, 1568, 1576, 1580 ในวันและเวลาราชการ

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3171136239599966&set=a.2794025613977699&type=3&theater

ระเบิดศึก! ชิง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” 1.2 แสนล้าน
*เตรียมเปิดขายซอง 10-24 ก.ค.นี้
*ร่วมลงทุน 2 เฟสเดินรถยาว 30 ปี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/photos/a.2043948872493287/2641966012691567/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 10:53 am    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคลองบ้านม้า ที่อิตาเลียนไทยดีเวล็อปเมนต์กำลังทำอยู่นั้นเสร็จแล้ว 86.78%
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2641907356030766
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 5:51 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ขายซองชิงสัมปทาน"สายสีส้ม" 10 ก.ค.นี้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project /
2 กรกฎาคม 2563 19:10 น.

"รฟม" .เปิดประมูลสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ดึงเอกชนร่วมทุนพีพีพี ชิงสัมปทานเดินรถ 30 ปี ลุยขายซอง 10 ก.ค.นี้

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม ขอเชิญชวนเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเป็นลักษณะโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย รฟม. ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการฯ รวมทั้งดำเนินการก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันออก (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – สถานีสุวินทวงศ์) และผู้ร่วมลงทุนลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์ – สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทาง รวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าบริการ (PPP Net Cost)

สำหรับระยะเวลาร่วมลงทุนแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 : การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการจัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 การออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันออก เป็นระยะเวลา 3 ปี 6 เดือน
ส่วนที่ 2 การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา และการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและ ทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการฯ ส่วนตะวันตก เป็นระยะเวลา 6 ปี
ระยะที่ 2 : การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าโครงการฯ ส่วนตะวันออก

ทั้งนี้การคัดเลือกดังกล่าว จะเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 อย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่สนใจสามารถซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ตั้งแต่วันที่ 10 - 24 กรกฎาคม 2563 เวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น. ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร 1 รฟม. โดยประกาศเชิญชวนฯ (ฉบับทางการ) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ข้อกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ และขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mrta.co.th หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 2716 4000 ต่อ 1519, 1568, 1576, 1580 ในวันและเวลาราชการ

ประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2020 10:51 pm    Post subject: Reply with quote

2 เจ้าพ่อรถไฟฟ้า “BTS-BEM” ชิงสัมปทานสายสีส้ม ระดมพันธมิตรแข่งดุ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 7 กรกฎาคม 2563 - 10:18 น.

กำลังเป็นที่จับตาการชิงไหวชิงพริบของ 2 บิ๊กรถไฟฟ้า ระหว่าง “BTS-บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ของเจ้าพ่อรถไฟฟ้า “คีรี กาญจนพาสน์” ที่กำลังมือขึ้นคว้าสัมปทานงานใหญ่ และ “BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” ธุรกิจในเครือ ช.การช่างของ “ปลิว ตรีวิศวเวทย์” ผู้กุมสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หลังปิดดีลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โปรเจ็กต์ร่วมทุนกลุ่ม ซี.พี. และก่อสร้างสะพานขึงของทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตกยังรองานใหญ่เข้ามาเพิ่มในพอร์ต

ว่ากันว่าเวลานี้ “BTS-BEM” หลังเสร็จศึกสนามประมูลงานระบบและบริหารเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 สายใหม่ “บางปะอิน-โคราชและบางใหญ่-กาญจนบุรี” ที่ BTS ผนึกกัลฟ์ฯ-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป ดัมพ์ราคาทั้ง 2 สายลงกว่า 2 หมื่นล้านบาท ชนะ BEM ขาดลอย รอเซ็นปิดดีลสัญญามูลค่า 39,138 ล้านบาท ก.ค.นี้

BEM ตีกันต่อขยายสีเหลือง
กำลังเปิดศึกคุกรุ่นปม “สายสีเหลืองส่วนต่อขยาย” ที่ BTS ผู้รับสัมปทานสายหลักช่วง “ลาดพร้าว-สำโรง” ควักอีก 3,779 ล้านบาท ขยายเส้นทางเพิ่ม 2.6 กม.จากสถานีลาดพร้าวเลาะไปตามถนนรัชดาฯ ผ่านศาลอาญา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ไปเชื่อมแยกรัชโยธิน ระหว่างสถานีพหลโยธิน 24 กับสถานีรัชโยธินของสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

ขณะที่ “BEM” หวั่นใจหากสายสีเหลืองต่อขยายเปิดหวูด จะกระทบผู้โดยสารสายสีน้ำเงิน หากพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารเปลี่ยนไป ไม่ต้องมาต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน สามารถนั่งสายสีเหลืองต่อบีทีเอสเข้าเมืองไปได้ทันที จึงทำหนังสือถึง “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เคลียร์ BTS ให้เด็ดขาดถึงผลกระทบ-การชดเชย แบบมีลายลักษณ์อักษรยืนยัน ก่อนที่จะลงเสาเข็ม

โดยอ้างอิงสัญญาข้อ 21 ข้อตกลงกระทำการและงดเว้นกระทำการของ รฟม. ใน “ข้อ ข” ระบุว่า ภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขของสัญญานี้ รฟม.รับว่าจะไม่กระทำและจะต้องงดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่อาจขัดขวางหรือกระทบกระเทือนต่องานหรือการดำเนินการหรือการไหลเวียนของผู้โดยสารเข้าสู่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือการจัดเก็บค่าโดยสารหรืออัตราค่าโดยสารตามสัญญานี้

ล่าสุดเรื่องนี้ติดหล่มอยู่ที่ “รฟม.” ในฐานะคนกลาง ยังไม่รู้จะหาทางลงเรื่องนี้แบบไหนไม่ให้กระทบต่อคู่สัญญาทั้ง 2 บริษัท ทำให้สถานะสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย จึงยังลูกผีลูกคนจะ “สร้าง-ไม่สร้าง” ทั้งที่การเจรจาผลตอบแทนและรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เคลียร์จบแล้ว

โปรเจ็กต์วัดใจบิ๊ก รฟม.
“ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า สายสีชมพูส่วนต่อขยายจากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. ที่กลุ่ม BTS ลงทุนเพิ่มอีก 3,379 ล้านบาท ขณะนี้ส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว คาดว่าจะเซ็นสัญญาเพิ่มเติมและเริ่มก่อสร้างในเดือน ส.ค.นี้ ส่วนสายสีเหลืองต่อขยายยังอยู่ระหว่างการเจรจา 3 ฝ่าย คือ รฟม. BTS และ BEM เนื่องจากส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารสายสีน้ำเงิน

“รฟม.และ BEM มองว่า BTS ต้องเยียวยาให้ BEM อย่างเหมาะสม แต่คงไม่ถึงขั้นเต็ม 100% และต้องกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาสายสีเหลืองส่วนต่อขยายว่า BTS และ BEM ต้องมีเจรจากัน ภายหลังการเปิดให้บริการสายสีเหลืองส่วนต่อขยายแล้ว แต่ BTS ยังไม่ตอบรับเงื่อนไข จะรายงานให้บอร์ด รฟม.ทราบ และเป็นไปได้จะไม่มีอนุมัติให้ต่อขยายสายสีเหลือง เพื่อมิให้เกิดข้อพิพาทกันภายหลัง”

จากผลศึกษากรณีต่อขยายสายสีเหลือง จะทำให้ผู้โดยสารสายสีน้ำเงินหายไป 6,000 เที่ยวคน/วัน แต่เป็นสิ่งที่คาดการณ์ ทาง BEM ต้องพิสูจน์ผลกระทบอีกครั้งหลังเปิดบริการไปแล้ว เนื่องจากการที่ผู้โดยสารลดลงอาจจะมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าส่วนต่อขยายสายสีเหลืองและการเปิดรถไฟฟ้าที่ครอบคลุมมากขึ้น อาจจะมีผู้โดยสารทั้งลดและเพิ่มได้ในบางสถานี

BTS ลั่นไม่เยียวยาผลกระทบ
ด้าน “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ออกมาตอบโต้ไม่เห็นด้วยกับ รฟม.จะให้ชดเชยรายได้ให้ BEM เพราะทำให้ผู้โดยสารสายสีน้ำเงินลดลง

“การชดเชยไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้เป็นคู่สัญญากับ BEM เป็นหน้าที่ของ รฟม.ในฐานะคู่สัญญา ต้องพิจารณาเอง เราได้ตอบยืนยันไปยัง รฟม.แล้ว”

“สุรพงษ์” ย้ำว่า BTS ทำได้ดีที่สุด ลงทุนส่วนต่อขยายทั้งหมด รวมถึงการเวนคืนและแบ่งรายได้ให้ รฟม.มากขึ้นจากส่วนต่อขยายที่ยาวขึ้น ในระยะยาวจะมีประโยชน์กับประชาชน เพราะจะเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่รัชโยธิน ซึ่งออกแบบเสร็จแล้ว และ EIA ได้รับอนุมัติแล้วด้วย

“หาก รฟม.จะไม่ให้ทำส่วนต่อขยาย เพราะอาจจะขัดแย้ง BEM อยู่ที่การชั่งน้ำหนักของ รฟม.ว่าคุ้มหรือไม่ แต่เรามองว่ามีประโยชน์กับประชาชน ถ้าเราไม่ได้ทำก็ไม่มีผลอะไรกับสายสีเหลืองแต่อย่างใด”

ระเบิดศึกประมูลสายสีส้ม
ปมแย่งผู้โดยสารยังไม่ยุติ ปัจจุบัน “BTS-BEM” กำลังเปิดศึกรอบใหม่ทั้งบนดิน-ใต้ดิน แบบไม่มีใครยอมใคร ชิงเค้ก “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” มูลค่า 142,789 ล้านบาทงานใหญ่ส่งท้ายปี 2563

ถึงขั้นเดินสายล็อบบี้ล็อกสเป็ก รวบ “เทคนิค-ราคา” เป็นซองเดียวกัน เพราะงานนี้ขาใหญ่ทำธุรกิจทั้งรับเหมาและเดินรถไฟฟ้า กำลังหวั่นไหวและกลัวใจคู่แข่งจะดัมพ์ราคาลงมาต่ำเหมือน “งานระบบมอเตอร์เวย์”



จึงหวังจะใช้คะแนนด้านเทคนิคผลงานอุโมงค์มาเป็นตัวชูธงเข้าเส้นชัย แต่งานนี้ “บิ๊กคมนาคม-รัฐบาล” ไม่เปิดไฟเขียว ให้เดินหน้าตามเส้นทางเดิม ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง คือ คุณสมบัติ เทคนิค การลงทุนและผลตอบแทน และข้อเสนออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ

รัฐปล่อยแข่งเสรี
หวังให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรี ประเทศชาติได้ประโยชน์เหมือนงานระบบมอเตอร์เวย์ที่รัฐประหยัดเงินได้กว่า 2 หมื่นล้านบาท และเมืองการบินอู่ตะเภาที่รัฐได้ผลตอบแทนสูงสุดถึง 305,555 ล้านบาท

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม “รฟม.” เปิดประมูลนานาชาติให้เอกชนทั่วโลก ร่วมลงทุน PPP net cost ก่อสร้างช่วงตะวันตก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม” และรับสัมปทานเดิน 30 ปีตลอดสายบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงินลงทุน 128,128 ล้านบาท

รัฐจะร่วมลงทุนค่าเวนคืน 14,611 ล้านบาท และสนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท ผ่อนชำระเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

ขายซองประมูล 10-24 ก.ค.นี้
ตามไทม์ไลน์จะประกาศเชิญชวนวันที่ 3-9 ก.ค. ขายทีโออาร์วันที่ 10-24 ก.ค. เปิดยื่นข้อเสนอภายในเดือน ก.ย. และเซ็นสัญญาในเดือน ธ.ค.นี้

“จุดชี้ขาดสายสีส้มอยู่ที่ใครให้รัฐสนับสนุนค่างานโยธาน้อยที่สุด และจ่ายผลตอบแทนให้รัฐมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ เพราะรัฐออกเงินก่อสร้างให้แล้วช่วงตะวันออก รัฐคาดหวังเอกชนจะแบ่งรายได้จากสัมปทานให้รัฐได้มาก” แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวและว่า

คาดว่าจะมีบริษัทเอกชนไทยและต่างชาติมาซื้อเอกสารประมูล โดยประเมินว่ามี 2 กลุ่มเข้าร่วมประมูลแน่ คือ กลุ่ม BTS และกลุ่ม BEM หากจะมีรายที่ 3 น่าจะเป็นต่างชาติที่ร่วมกับผู้รับเหมาไทย

คีรี-พันธมิตรพร้อมเต็มที่
ขณะที่ “คีรี” บอสใหญ่บีทีเอสย้ำ “รอดู TOR พร้อมเข้าประมูล จะร่วมกับพันธมิตรเดิม”

ด้าน “สุรพงษ์” ประสานเสียงได้ฟอร์มทีมมาเป็นปีเพื่อเข้าประมูล มีคนสนใจจะร่วมหลายราย ทั้งไทยและต่างชาติ ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ลงทุนกว่า 1 แสนล้าน จะร่วมกับพันธมิตรเดิม เช่น บมจ.ซิโน-ไทยฯ และมีรายใหม่ด้วย

ช.การช่างมั่นใจ 100%
ฟาก “สมบัติ กิจจาลักษณ์” เอ็มดี BEM กล่าวว่า จะร่วมกับ ช.การช่างยื่นประมูลสายสีส้ม และมีความมั่นใจ เพราะมีประสบการณ์ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน รู้ต้นทุนดี เป็นข้อได้เปรียบคู่แข่ง ทำการบ้านไว้แล้ว แหล่งเงินทุนและพันธมิตรด้านซัพพลายเออร์

“เป็นงานใหญ่ปีนี้ ต้องสู้กันเต็มที่ ใครบริหารต้นทุนการเงินดี มีโอกาสชนะสูง”

สะพัด BTS ดึงรับเหมาจีนแจม
แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้าง เปิดเผยว่า ประมูลสายสีส้มน่าจะแข่งขันราคากันดุเดือด โดยเฉพาะกลุ่มบีทีเอส นอกจากจะร่วมกับซิโน-ไทยฯแล้ว คาดว่าจะมี บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ส่วน บมจ.ราชกรุ๊ปยังไม่แน่ และอาจจะมียักษ์รับเหมาจากจีนคือ บจ.ไชน่าฮาร์เบอร์ร่วมแจมด้วย

“บีทีเอสน่าจะมีแต้มต่อเรื่องราคา ดูได้จากการประมูลมอเตอร์เวย์ที่ผ่านมา ส่วน BEM และ ช.การช่าง ด้วยสไตล์แล้วไม่ค่อยจะลงมาเล่นราคาเท่าไหร่ แต่อะไรก็ไม่แน่นอน ต้องรอดู”

การที่ทุนใหญ่สู้ยิบตาช่วงชิงเค้กสายสีส้ม เพราะเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ สร้างผ่าเมืองเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก

เพราะมีจุดเชื่อมกับรถไฟฟ้าอีกหลายสาย ทั้งบีทีเอส สายสีน้ำเงิน สายสีเหลือง สายสีชมพูที่มีนบุรี แอร์พอร์ตลิงก์

งานนี้วัดบารมี กำลังภายในคงไม่พอ ต้องสวมบทป๋าใจถึงด้วยถึงจะเข้าเส้นชัยได้สำเร็จ

ผู้โดยสาร "รถไฟฟ้า" ยกมือเชียร์ ต่อขยายสายสีเหลืองเชื่อมรัชโยธิน
ยังลุ้นกันอยู่จะได้ไปต่อหรือหยุดอยู่แค่แยกรัชดา-ลาดพร้าว สำหรับ “ส่วนต่อขยายสายสีเหลือง” ที่เจ้าพ่อรถไฟฟ้าบีทีเอส “คีรี กาญจนพาสน์” ผู้รับสัมปทานลงทุนสายสีเหลืองเส้นทางหลัก “ลาดพร้าว-สำโรง” ยื่นข้อเสนอลงทุนสร้างเพิ่มไปเชื่อมสายสีเขียวที่แยกรัชโยธิน

หลังถูก “BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” คู่สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ออกมาขย่มจะเป็นทางแข่งขันแย่งผู้โดยสารในระบบ

ล่าสุดจากท่าที “รฟม.” อาจจะแตะเบรกส่วนต่อขยายนี้ไว้ก่อน หลัง “BTS” ไม่ยอมรับเงื่อนไขเยียวยาผลกระทบให้ BEM

“ประชาชาติธุรกิจ” ลงพื้นที่สถานีลาดพร้าว ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่าง “สายสีเหลือง-สีน้ำเงิน” โดยสอบถามความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการ

รายแรกเป็นข้าราชการประจำ ซึ่งพักอาศัยอยู่แถวสถานี MRT ลาดพร้าว ให้ความเห็นว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับการก่อสร้างส่วนต่อขยายดังกล่าว เพราะเดินทางไปเมเจอร์ รัชโยธินสะดวกขึ้น ไม่ต้องนั่งหลายต่อ แต่อยากให้รัฐช่วยดูเรื่องค่าโดยสารที่จะเชื่อมระหว่าง 2 ระบบ อาจจะแพงขึ้น เพราะเป็นคนละระบบ และต้องเสียค่าโดยสาร 2 ต่อ

ด้านพนักงานออฟฟิศย่านลาดพร้าว แสดงความคิดห็นว่า ควรจะก่อสร้าง เพราะประชาชนได้รับประโยชน์มากขึ้น เข้าเมืองสะดวกขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่ทราบว่าการก่อสร้างดังกล่าวจะทำให้ประชาชนต้องแบกภาระอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งภาครัฐควรกำกับไม่ให้มีภาระดังกล่าวเกิดขึ้นกับประชาชน

ปิดท้ายที่นักเรียนที่เรียนในย่านลาดพร้าวกล่าวว่า ควรจะก่อสร้างเช่นกัน เพราะคิดว่าจะได้รับความสะดวกมากขึ้น และหากอนาคตสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ จะยิ่งได้รับความสะดวกมากขึ้นไปอีก ส่วนเรื่องอื่น ๆ ไม่มีความเห็น

เป็นเพียงเสียงสะท้อนบางส่วนของประชาชน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อยู่ที่ “รฟม.-BTS-BEM” จะต้องหาจุดถ่วงดุลตรงกลางให้สมประโยชน์กับทุกฝ่าย

เพราะที่สุดแล้ว “รถไฟฟ้า” ไม่ว่าจะสายไหน ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการเดินทางของประชาชนเท่านั้น !
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2020 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

ฝนนี้น้ำต้องไม่ท่วม! รถไฟฟ้าสีส้มลอกท่อตลอดแนวก่อสร้างต่อเนื่อง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 - 18:22
ปรับปรุง: วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 - 18:37



การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า เนื่องจากขณะนี้มีการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่ง รฟม.ได้ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าตลอดแนวถนนรามคำแหง โดยในช่วงฤดูฝน ได้กำชับที่ปรึกษาโครงการให้กำกับดูแลผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาทุกสัญญาดำเนินการลอกท่อระบายน้ำ และลำรางตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ

ล่าสุด บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า ได้ดำเนินการลอกท่อระบายน้ำบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีลำสาลี-สถานีคลองบ้านม้า ตั้งแต่ซอยรามคำแหง 85-127 เพื่อป้องกันเศษวัสดุอุดตันในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้ดีมากยิ่งขึ้น และช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังบนถนรามคำแหง

ทั้งนี้ รฟม.ได้เน้นย้ำให้ที่ปรึกษาโครงการกำกับดูแลให้ผู้รับจ้างฯ ลอกท่อระบายน้ำตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 เดือน และเฝ้าระวังสถานการณ์ พร้อมจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ และเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ตามนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการให้ความสำคัญต่อประชาชนและชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานก่อสร้างโครงการฯ

https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2552718648278187


Last edited by Wisarut on 09/07/2020 3:16 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2020 3:13 am    Post subject: Reply with quote

🍊🍊🍊#ส้มขุด ส้มก้าวหน้ารวม 64.21%
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
เผยแพร่: วันที่ 8 กรกฎาคม 2563

น้องทันใจ แวะมา #อัพเดทความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 มีความคืบหน้างานโยธารวม 64.21 % เร็วกว่าแผน 2.96 % #ส้มเดินหน้าก่อสร้างอย่างเต็มที่นะคะ
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/892875144525171

#เราจะพบแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
เผยแพร่: วันที่ 6 กรกฎาคม 2563 at 13:00

#วันหยุดส้มไม่หยุด #เก็บภาพนะคะ งานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าบริเวณ Cut&Cover/Transition Structure จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีคลองบ้านม้า ไต่ระดับจากใต้ดินขึ้นสู่บนดิน ไปยังสถานีสัมมากร ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินงานผูกเหล็ก และ งานเข้าแบบ + เทพื้นคอนกรีต หลังคา Roof Slab Topping ดำเนินการ โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ขอขอบคุณภาพจากทีมงาน ITD
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/891528107993208
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2020 2:49 pm    Post subject: Reply with quote

‘UHG’ ลุยโรงแรม-ออฟฟิศ ‘สายสีส้ม’ดันผังใหม่เอื้อพัฒนา
หน้าแรก / อสังหาริมทรัพย์ /
เผยแพร่: วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 เวลา 06:45 น.

รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก หลังการก่อสร้างคืบ 62.42% เดอะมอลล์ปรับโฉม-กลุ่ม UHG ปักหมุดโรงแรม-ออฟฟิศ บนถนนรามคำแหง นอกจากคอนโด ดันที่ดินพุ่งผังกทม.ใหม่ เพิ่มการใช้ประโยชน์


ศูนย์วิจัย ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ วิเคราะห์ว่า การก่อสร้างของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี มีความคืบหน้ามากกว่า 62.42% (ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2563) คาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ทันในปี 2566 ทั้งนี้พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเปลี่ยน แปลงไปค่อนข้างมากเห็น ชัดจากการมีโครงการคอนโดมิเนียม เปิดขายใหม่ในพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าตั้งแต่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไปจนถึงสถานีลำสาลี และสถานีมีนบุรีซึ่งเป็นสถานีปลายทาง โดยดีเวลอปเปอร์ จะเลือกเปิดขายโครงการบริเวณสถานีศักยภาพ ชุมชนหนาแน่น สถานที่สำคัญๆ เพื่อดึงดูดลูกค้า โดยเฉพาะแนวถนนรามคำแหงสะท้อนจาก มีโครงการคอนโด มิเนียมเปิดขายมาก่อนหน้านี้กว่า10-12 ปีที่ผ่านมา บริเวณช่วงต้นถนนรามคำแหงรวมไปถึงบางพื้นที่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ซื้อในระดับหนึ่ง ณ สิ้นปี 2556 มีคอนโดมิเนียมเปิดขายสะสมใหม่ตั้งแต่ปี 2552 ประมาณ 13,290 หน่วย ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา โครงการส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามแนวถนนรามคำแหงในพื้นที่ที่เป็นชุมชนดั้งเดิม


ล่าสุด พบว่าตามแนวเส้นทางเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่มากกว่ามีโครงการคอนโดมิเนียมใหม่เปิดขายมากขึ้นอย่างก่อนหน้านี้ กลุ่มเดอะ มอลล์ มีการรื้อทิ้งศูนย์การค้าเดิมของตนเองที่เปิดให้บริการมายาวนานเพื่อพัฒนาใหม่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและศักยภาพของที่ดินที่เพิ่มขึ้นจากการมาของรถไฟฟ้าเส้นนี้



นอกจากนี้ยังมีโรงแรมและอาคารสำนักงานใหม่ของกลุ่ม UHG ที่จะพัฒนาบนที่ดินเช่าจากกลุ่มเดอะมอลล์ รวมไปถึงที่ดินหลายๆ แปลงที่อยู่ในระหว่างการเจรจาระหว่างเจ้าของที่ดิน และผู้ประกอบการอาจจะชะงักไปในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่จะมีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่อีก 3,000-4,000 หน่วยในช่วง 1 - 2 ปีนี้ อีกทั้งราคาที่ดินที่เริ่มสูงขึ้นแบบชัดเจนจากในอดีตที่มีราคาที่ดินอยู่ในช่วง 50,000-200,000 บาทต่อตารางวา ขณะช่วงนี้ราคาเริ่มต้นคงต้องมีไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อตารางวา เพราะการพัฒนาสีส้มตะวันออกยังมีส่วนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผังเมืองกรุงเทพมหานครด้วย มีผลให้พื้นที่ตามแนวถนนรามคำแหงมีศักยภาพในการพัฒนาเพิ่มขึ้นค่อนข้างชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 29, 30, 31 ... 89, 90, 91  Next
Page 30 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©