RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181573
ทั้งหมด:13492811
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/12/2021 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลทุจริตฯเริ่มไต่สวนทุจริตสายสีส้ม
กรุงเทพธุรกิจ 15 ธ.ค. 2564 เวลา 15:13 น.

รายงานข่าวแจ้งว่า ตามที่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ยื่นฟ้องนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อีก 6 คน กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 165 ในการเปิดประมูลโครงการนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2564 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดไต่สวนคดีเป็นครั้งแรก โดยมีนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC เข้าให้การต่อศาล และนายสุรพงษ์ จะเข้าให้การต่อศาลครั้งที่สองในวันที่ 20 ธ.ค.2564 จากนั้นในวันที่ 24 ธ.ค.2564 นางสาวกนกรัตน์ ขุนทอง อดีต ผอ.กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 4 อดีตกรรมการผู้แทนสำนักงบประมาณ ในคณะกรรมการคัดเลือกฯมีกำหนดจะเข้าให้การต่อศาลฯ รวมมีการไต่สวนทั้งสิ้น 3 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม คาดว่าศาลจะนัดฟังคำสั่งคดีในเดือน ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2021 12:45 pm    Post subject: Reply with quote

อุทยานฯ ร.9 นางเลิ้ง เล็งเชื่อมต่อรถไฟใต้ดินสายสีส้มตะวันตก ขนส่งทุกระบบ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 ธันวาคม 2564 - 11:11 น.

คณะทำงานออกแบบอุทยานฯ ร.9 เผยแผนเชื่อมต่อรถไฟใต้ดิน “สายสีส้มตะวันตก” รวมถึงขนส่งทุกระบบ อำนวยความสะดวกประชาชน เพิ่มมูลค่าเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ

วันที่ 16 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาววรรณพร พรประภา คณะทำงานออกแบบอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ภายใต้คณะกรรมการอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เปิดเผยถึงการดำเนินงานออกแบบและก่อสร้าง โดยเฉพาะในด้านการคมนาคม ว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระบรมราโชบาย ต้องการให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางมายังอุทยานฯ

ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางด้วยรถ จักรยาน หรือรถสาธารณะ ที่ในอนาคตจะมีการอำนวยความสะดวกโดยจะเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เบื้องต้นได้ประสานงานกับหน่วยงานรถไฟฟ้า ที่จะมีแผนวิ่งผ่านบริเวณนี้ มีการกำหนดจุดขึ้นลงบริเวณแยกยมราช


ในขณะเดียวกันรถไฟฟ้าที่จะมีแผนก่อสร้างตามแนวทางของรถไฟไฮสปีด หรือโครงการที่เกิดขึ้นอีกก็สามารถที่จะเชื่อมต่อเข้ามายังอุทยานฯ ได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดศักยภาพ สร้างคุณภาพชีวิต

หากมองในแง่ของเศรษฐกิจ นอกจากพื้นที่แห่งนี้จะเป็นพื้นที่สวยงามแล้ว จะมีมูลค่าทางการรักษา การอยู่อาศัย ที่จะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้อีกในอนาคต

สายสีส้มตะวันตก
สำหรับ “สายสีส้มตะวันตก” จะเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด มีเส้นทางการเดินรถเริ่มตั้งแต่ช่วงบางขุนนนท์ ไปยังศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยรายละเอียดเส้นทางประกอบด้วย

สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน วิ่งผ่านสถานีรถไฟธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช

ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ

เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดี-รังสิต และเลี้ยวขวาลอดโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ และทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษภ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/12/2021 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

ประวิตร นั่งหัวโต๊ะไฟเขียว EIA รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 ธันวาคม 2564 - 12:31 น.

“ประวิตร” นั่งหัวโต๊ะ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ไฟเขียว EIA 5 โครงการ ฉลุย รวมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ

Click on the image for full size

วันที่ 17 ธันวาคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 5/64 โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมประชุม

โดยที่ประชุมได้ร่วมพิจารณารายงาน EIA จำนวน 6 โครงการ ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน แก้ไขปัญหาการจราจร จำนวน 5 โครงการ ได้แก่

1.โครงการเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา

2.โครงการทางหลวงพิเศษ ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน

3.โครงการทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญ (ด้านทิศตะวันตก)

4.โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 (สายเหนือและสายใต้) เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก

5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ส่วนโครงการที่ 6 ได้พิจารณาโครงการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัย ได้แก่ โครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย จ.นครราชสีมา (สูงเนิน) ระยะที่ 1 และ 2

รวมทั้งพิจารณาการขอขยายระยะเวลาการกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ออกไปอีก 6 ปี

การปรับปรุงประกาศกระทรวงฯ เกี่ยวกับการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการยื่นรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ และการกำหนดมาตรฐานความทึบแสงของเขม่าควัน จากปล่องเตาเผาศพให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น

รวมทั้งได้พิจารณานโยบายและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดปี 2566 และแผนเฉพาะกิจ เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2565 ภายใต้แนวคิด “1 สื่อสาร 5 ป้องกัน และ 3 เผชิญเหตุ” และรับทราบรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 2564 ซึ่งภาพรวมทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ขึ้น เว้น ปริมาณขยะพลาสติกและมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น

“พล.อ.ประวิตร ได้ย้ำที่ประชุม เปิดกว้างรับฟังและให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงตั้งแต่ต้น และพร้อมทั้งแสดงความห่วงใยถึงสถานการณ์มลพิษด้านฝุ่นละออง โดยขอให้หน่วยเกี่ยวข้อง แจ้งเตือนและเร่งแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในช่วงเกิดสถานการณ์ โดยเน้นมาตรการป้องกันและให้พร้อมเผชิญเหตุระดับพื้นที่ในการควบคุมแหล่งกำเนิด ทั้งจากยานพาหนะและอุตสาหกรรมในเขตเมืองและเขตอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมไฟป่าและปริมาณไม่ให้สูงเกินมาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน”




รฟม. จัดโรดโชว์ 20 ธ.ค.นี้ แนะช่องทางอัพเดทข่าวสารสร้างรถไฟฟ้าสีส้ม
เดลินิวส์ 17 ธันวาคม 2564 18:00 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

รฟม. จัดโรดโชว์ 20 ธ.ค.นี้ แนะช่องทางเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) “ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)” พร้อมอัพเดทความคืบหน้าก่อสร้าง มาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม-ปัญหาการจราจร

กองประชาสัมพันธ์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า รฟม. ร่วมกับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เตรียมจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขอข้อมูลข่าวสาร ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในรูปแบบ Road Show ในวันที่ 20 ธ.ค.64 เวลา 13.30-15.00 น. บริเวณแยกรามคำแหง-โรงพยาบาลรามคำแหง โดยกิจกรรมดังกล่าวจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของตนเองในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งล้วนเกี่ยวพันต่อการดำรงชีวิตของภาคประชาชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่งมากยิ่งขึ้น

Click on the image for full size

พร้อมกันนี้ภายในกิจกรรมยังมีการแนะนำการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของ รฟม. และช่องทางในการติดต่อศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ รฟม. ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์มาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและจราจรจากการก่อสร้างและความคืบหน้างานก่อสร้างของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ อีกด้วย 

รฟม. จึงขอเชิญชวนประชาชนที่อยู่ตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และ/หรือ มีความสนใจทุกท่าน เข้าร่วมรับฟังสาระน่ารู้จากกิจกรรม และร่วมสนุกตอบคำถามเพื่อรับของที่ระลึกสุดพิเศษจาก รฟม. ได้ตามวันเวลาและสถานที่ข้างต้น ติดตามข้อมูลข่าวสาร รฟม. เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0-2716-4044
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2021 9:49 pm    Post subject: Reply with quote

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
20 ธ.ค. 64 16:10 น.
https://www.facebook.com/ThaiRailNews/posts/4618304864918136

Click on the image for full size

Click on the image for full size

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีมติรับทราบมติคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๔ เมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๖๔ ในการให้ความเห็นชอบรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ของ รฟม.

• สาระสำคัญของการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ
- แนวเส้นทางโครงการ : เป็นช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- การขยับตำแหน่งสถานี : ขยับสถานีดินแดงไปทิศเหนือ ๕๐๐ ม. และขยับสถานีประชาสงเคราะห์ ไปทิศตะวันออก ๔๕๐ ม.
- การปรับปรุงรูปแบบทางขึ้น – ลง สถานียมราช : เป็นพื้นที่เอกชนอาคารพาณิชย์ตึกแถว ๕ ชั้น ๗ คูหา
- การเปลี่ยนรูปแบบการขุดอุโมงค์บริเวณประชาสงเคราะห์ : เป็นแบบ Cut & Cover Tunnel แบบตื้น ใช้เขตทางกว้าง ๑๖ เมตร เวนคืน ๑๒๐ หลัง
- การเปลี่ยนแปลงมาตรการฯ ตามสภาพสิ่งแวดล้อมปัจจุบันและกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีการเปลี่ยนแปลง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/12/2021 1:30 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้นปิดดีล ประมูล สายสีส้ม-ม่วงใต้ ส่งท้ายปี 64
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, December 22, 2021 05:36

Click on the image for full size

หากพูดถึงเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ที่ยังกลายเป็นประเด็นต่อเนื่องถึง 2 ปีเต็ม คงหนีไม่พ้นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท ที่ยังคงคาราคาซังจากการเปลี่ยนเกณฑ์การประมูลทีโออาร์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) จนถึงขั้นล้มประมูล เป็นเหตุให้เอกชนฟ้องร้องต่อศาลปกครองและศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางไม่จบสิ้น

ที่ผ่านมายังพบว่าคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ได้มีมติเห็นชอบให้เลื่อนการประมูลโครงการฯดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากที่ประชุมมีข้อกังวลในกรณีที่เอกชนฟ้องร้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางที่ยังไม่สิ้นสุด โดยศาลอาญาคดีทุจริตฯ ได้พิจารณาเอกสารในกรณีที่ รฟม. มีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เบื้องต้นศาลอาญาคดีทุจริตฯได้นัดไต่สวนพิจารณาคดีทั้งหมด 3 วัน ประกอบด้วย วันที่ 14,20,24 ธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นการไต่สวนพยานและพิจารณาเอกสารที่ยื่นฟ้องต่อศาลฯเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาว่ามีมูลฟ้องหรือไม่

ขณะเดียวกันที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 ยังอยู่ระหว่างการรอสรุปรายชื่อผู้ร่วมสังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม รวมทั้งที่ประชุมได้มีการหารือถึงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการพิจารณารายละเอียดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและรูปแบบการใช้เกณฑ์การประมูลอย่างไร

ล่าสุดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า ส่วนความคืบหน้าเมื่อเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ (บอร์ด PPP) ได้มีมติเห็นชอบรายชื่อผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการพิจารณาคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม ปัจจุบัน รฟม. อยู่ระหว่างรอการตั้งผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จะเสนอรายชื่อต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ หลังจากนั้นคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 จะพิจารณาร่างทีโออาร์อีกครั้ง

ทั้งนี้ในกรณีที่รายชื่อผู้สังเกตการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เข้าร่วมสังเกตการณ์พิจารณาคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับผู้สังเกตการณ์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มูลค่า 7.8 หมื่นล้านบาท นั้น คาดว่าผู้สังเกตการณ์มีความเห็นที่ร่างทีโออาร์โคงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจะใช้หลักเกณฑ์การประมูลด้านราคาเช่นเดียวกับทีอาร์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

ส่วนการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ที่มีการกลับมาใช้หลักเกณฑ์ด้านราคาแทน จากเดิมที่ใช้หลักเกณฑ์ด้านราคาควบคู่ด้านเทคนิค (Price performance) โดยผู้สังเกตการณ์ที่เข้าร่วมประชุมนั้นมีความกังวลในการใช้เกณฑ์ใหม่ที่ควบคู่ด้านเทคนิค ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 มีมติกลับมาใช้เกณฑ์ด้านราคา แต่ยังคงเพิ่มคะแนนด้านเทคนิคที่เพิ่มขึ้นเป็น 85% เนื่องจากตามแผนโครง การฯต้องการมุ่งเน้นด้านการก่อ สร้างในเชิงเทคนิคเป็นสำคัญ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี กล่าวถึงกรณีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนัดไต่สวนพยานและพิจารณาเอกสารที่ยื่นฟ้องต่อศาลฯ เพื่อประกอบการพิจารณาในช่วงที่ผ่านมานั้น ปัจจุบันยังอยู่ในกระบวนการของไต่สวนของศาลอาญาคดีทุจริตฯ โดยวันที่ 24 ธันวาคมนี้จะเป็นการนัดไต่สวนพยานปากเอกเพิ่มเติม

"กรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (รฟม.) มีแนวโน้มจะกลับมาใช้เกณฑ์การประมูลในรูปแบบเดิมนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ส่วนจะเข้าร่วมการประมูลหรือไม่คงต้องดูรายละเอียดทีโออาร์ก่อนว่าเป็นอย่างไร"

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์ บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570

ทั้งนี้ส่วนของ 6 สัญญาของโครงการ ดังนี้
สัญญาที่ 1 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงเตาปูน - หอสมุดแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 4.8 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 16 - 35 เมตร,
สัญญาที่ 2 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ - ผ่านฟ้า ระยะทางประมาณ 2.4 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 23 - 46 เมตร,
สัญญาที่ 3 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า - สะพานพระพุทธยอดฟ้า ระยะทางประมาณ 3.1 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 22 - 41 เมตร,
สัญญาที่ 4 งานโยธา โครงการใต้ดินช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า - ดาวคะนอง ระยะทางประมาณ 4.1 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ลึก 17 - 28 เมตร,
สัญญาที่ 5 งานโยธา โครงการยกระดับ ช่วงดาวคะนอง - ครุใน ระยะทางประมาณ 9.0 กิโลเมตร สถานีรถไฟฟ้ายกระดับจำนวน 7 สถานี,
สัญญาที่ 6 งานระบบราง ช่วงเตาปูน - ครุใน เป็นระบบรางของทางวิ่งรถไฟฟ้าและระบบรางภายในโรงจอดรถไฟฟ้า งานติดตั้งรางทางวิ่ง รางจ่ายกระแสไฟฟ้า และงานอื่นๆ

จากกรณีที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีการกลับมาใช้เกณฑ์การประมูลด้านราคาตามเดิมนั้นถือเป็นการส่งสัญญาณอย่างมีนัยสำคัญ หากผู้ชนะการประมูลโครงการฯดังกล่าวเป็นผู้รับสัมปทานรายเดิมในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ถือว่าเข้าทางผู้รับสัมปทานรายเดิม เนื่องจากมีประสบการณ์ในด้านการก่อสร้างขุดเจาะอุโมงค์หลายโครงการฯ ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกดูมีวี่แววจะกลับมาใช้หลักเกณฑ์ด้านราคาตามเดิม หลังจากที่ รฟม.ได้กล่าวถึงกรณีที่มีการใช้ผู้สังเกตการณ์ชุดเดียวกันร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

หากเป็นเช่นนั้นการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายนี้คงจะเกิดได้ในไม่ช้านี้ ซึ่งจะทำให้บรรยากาศการฟ้องร้องของเอกชนอีกฝ่ายคงเบาบางลงได้บ้าง ถือเป็นการปิดดีลเจราจรที่ลงตัวทั้ง 2 โครงการ และยังทำให้โครงการฯสามารถเดินหน้าก่อสร้างได้ทันตามแผนเพื่อเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง

"ถือเป็นการปิดดีลเจรจาที่ลงตัวทั้ง 2โครงการ"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 - 25 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/01/2022 10:56 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง-ส้ม รวมเรื่องต้องรู้ก่อนเปิดใช้ปี 2565-2570
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 มกราคม 2565 - 10:00 น.

หลายคนรอคอย โครงการรถไฟฟ้า 3 สาย “สีชมพู-เหลือง-ส้ม” พร้อมเปิดให้บริการตามกำหนดใน 2565 และ 2570 และบางสายไปถึงสมุทรปราการได้ในราคาหลักสิบเท่านั้น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สีเหลือง และสีส้ม มีเส้นทางการเดินขบวนรถตั้งแต่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ช่วงชานเมือง ไปจนถึงเส้นทางสิ้นสุดในต่างจังหวัด อย่าง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารเกิดความสะดวกในการเดินทางมากขึ้นในอนาคต

“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมสิ่งที่ผู้โดยสารต้องรู้เกี่ยวกับรถไฟฟ้าทั้ง 3 โครงการ ก่อนเริ่มเปิดให้บริการตามเวลาที่กำหนด

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีเส้นทางของโครงการเริ่มต้นที่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ย่านมีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร ดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีทั้งสิ้น 32 สถานี ดังนี้

เช็กสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู
เส้นทางสายหลัก

ศูนย์ราชการนนทบุรี
แคราย
สนามบินน้ำ
สามัคคี
กรมชลประทาน
แยกปากเกร็ด
เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ศรีรัช
แจ้งวัฒนะ 14
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
สำนักงานเขตหลักสี่
หลักสี่
ราชภัฎพระนคร
วัดพระศรีมหาธาตุ
รามอินทรา 3
ลาดปลาเค้า
รามอินทรา กม.4
มัยลาภ
วัชรพล
รามอินทรา กม.6
คู้บอน
รามอินทรา กม.9
วงแหวนรามอินทรา
นพรัตน์
บางชัน
เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
ตลาดมีนบุรี
มีนบุรี
เส้นทางสายแยก

ศรีรัช
อิมแพคชาเลนเจอร์
ทะเลสาบเมืองทองธานี


งบประมาณสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีมูลค่ารวม 53,490 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,847 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 21,381 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 25,262 ล้านบาท

โดยกลุ่มบีเอสอาร์ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 22,500 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 30,990 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท


รถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดบริการเมื่อใด

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในปี 2565 แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

เฟสที่ 1 : ช่วง “มีนบุรี-ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ” ระยะทาง 21 กิโลเมตร วางแผนเปิดบริการเดือนมิถุนายน 2565
เฟสที่ 2 : ขยายเส้นทางไปถึง “กรมชลประทาน” รวมเป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร กำหนดเปิดบริการเดือนสิงหาคม 2565
เฟสที่ 3 : เปิดบริการเต็มรูปแบบตลอดเส้นทางจนถึง “ศูนย์ราชการนนทบุรี-สี่แยกแคราย” เดือนกรกฎาคม 2566
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.22 บาท

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
รถไฟฟ้าสายเหลือง เป็นโครงการที่มีแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร และสิ้นสุดเส้นทางในจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีลาดพร้าว และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกเทพารักษ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสำโรง ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร

ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีทั้งสิ้น 23 สถานี ดังนี้

เช็กสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
พหลโยธิน 24
จันทรเกษม
ลาดพร้าว
ภาวนา
โชคชัย 4
ลาดพร้าว 71
ลาดพร้าว 83
มหาดไทย
ลาดพร้าว 101
บางกะปิ
แยกลำสาลี
ศรีกรีฑา
หัวหมาก
กลันตัน
ศรีนุช
ศรีนครินทร์ 38
สวนหลวง ร.9
ศรีอุดม
ศรีเอี่ยม
ศรีลาซาล
ศรีแบริ่ง
ศรีด่าน
ศรีเทพา
ทิพวัล
สำโรง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

งบประมาณสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีมูลค่ารวม 51,810 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,013 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 23,206 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 22,591 ล้านบาท

โดยกลุ่มบีเอสอาร์ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 25,050 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 26,760 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท


รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดบริการเมื่อใด

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในช่วงกลางปี 2565 (ยังไม่มีการระบุวัน และเดือนที่ชัดเจน)

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.38 บาท

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และเส้นทางตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – บางกะปิ – มีนบุรี – แยกร่มเกล้า

มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจาก จากจุดตัดทางรถไฟสายธนบุรี (สายใต้เดิม) กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ และ จากจุดตัดทางรถไฟสายธนบุรี (สายใต้เดิม) กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ มีทั้งสิ้น 29 สถานี ดังนี้

เช็กสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม
บางขุนนนท์
ศิริราช
สนามหลวง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
หลานหลวง
ยมราช
ราชเทวี
ประตูน้ำ
ราชปรารภ
รางน้ำ
ดินแดง
ประชาสงเคราะห์
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
รฟม.
วัดพระราม 9
รามคำแหง 12
ม.รามคำแหง
กกท.
รามคำแหง 34
แยกลำสาลี
ศรีบูรพา
คลองบ้านม้า
สัมมากร
น้อมเกล้า
ราษฎร์บูรณะ
มีนพัฒนา
เคหะรามคำแหง
มีนบุรี
แยกร่มเกล้า
รถไฟฟ้าสายสีส้ม

งบประมาณสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม มีมูลค่ารวม 143,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,000 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธาทั้งระบบ 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 32,000 ล้านบาท โดยรัฐฯ จะชำระค่างานโยธาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ในระยะเวลา 10 ปีหลังเปิดดำเนินการ

รถไฟฟ้าสายสีส้มเปิดบริการเมื่อใด

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในปี 2570 (ยังไม่มีการระบุวัน และเดือนที่ชัดเจน)

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้าสายสีส้มมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท และสูงสุดไม่เกิน 45 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.25 บาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2022 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

สีส้มตะวันออก จุดตัด 3 รถไฟฟ้า “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี” ดันราคาที่ดินทะยาน
อสังหาริมทรัพย์
วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา่ 13:00 น.


สีส้มตะวันออก จุดตัด 3 รถไฟฟ้า “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี” 17 สถานี ดันราคาที่ดินทะยาน 9.6 แสน/ตารางวา

เปิดศักราชปีเสือ 2565 ตามไปดูราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ผ่าใจกลางเมือง

เรากำลังพูดถึง รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) เนื่องจากเส้นทางตั้งต้นที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ย่านรัชดาฯไปสิ้นสุดที่สุวินทวงศ์ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “สายสีส้มตะวันออก” ล่าสุดมีความคืบหน้าการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564 ภาพรวมอยู่ที่ 88.46%

โดย “ดร.โสภณ พรโชคชัย” ประธาน AREA-เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ระบุว่า รถไฟฟ้าสายสีส้มถือเป็นเส้นทางที่ดีมากที่สุดสายหนึ่งเพราะวิ่งเข้าเมืองโดยตรง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาก และทำให้เมืองขยายไปทางตะวันออกยิ่งขึ้น

2559 อนุมัติสีส้มตะวันออก
ข้อมูลพื้นฐานสายสีส้มตะวันออกเส้นนี้เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ (heavy rail) ระยะทางรวม 39.8 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพฯตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ กับเส้นทางกรุงเทพฯตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

โดยเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และมีรถไฟฟ้าสายสีส้มความยาวตลอดเส้นช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรีรวมอยู่ด้วย

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 มีมติ ครม.อนุมัติจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินงานรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็น 2 ช่วง คือ สีส้มตะวันออก กับสีส้มตะวันตกดังกล่าว

จุดสตาร์ตอยู่ที่มติ ครม.วันที่ 9 เมษายน 2559 อนุมัติดำเนินงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ก่อน มีจำนวน 17 สถานีด้วยกัน ขณะที่สายสีส้มตะวันตกมีเส้นทางวิ่งผ่าใจกลางเมือง ทำให้มีอุปสรรคในด้านการเวนคืนรื้อย้ายที่ทำให้โครงการล่าช้ามากกว่า



เปิดรายชื่อ 17 สถานี
รายละเอียดคืบหน้าการก่อสร้าง ทาง “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ระบุ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564 มีความก้าวหน้ารายสถานี ดังนี้

1.สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เสร็จแล้ว 99.83%
2.สถานี รฟม. เสร็จแล้ว 99.11%
3.สถานีวัดพระราม ๙ (ประดิษฐ์มนูธรรม) เสร็จแล้ว 99.53%
4.สถานีรามคำแหง 12 เสร็จแล้ว 88.76%
5.สถานีรามคำแหง เสร็จแล้ว 90.87%
6.สถานี กกท. เสร็จแล้ว 91.52%
7.สถานีรามคำแหง 34 (หัวหมาก) เสร็จแล้ว 88.29%
8.สถานีแยกลำสาลี เสร็จแล้ว 74.86%
9.สถานีศรีบูรพา เสร็จแล้ว 76.68%
10.สถานีคลองบ้านม้า เสร็จแล้ว 80.05%
11.สถานีสัมมากร เสร็จแล้ว 58.19%
12.สถานีน้อมเกล้า เสร็จแล้ว 71.79%
13.สถานีราษฎร์พัฒนา เสร็จแล้ว 56.80%
14.สถานีมีนพัฒนา เสร็จแล้ว 69.33%
15.สถานีเคหะรามคำแหง เสร็จแล้ว 76.03%
16.สถานีมีนบุรี เสร็จแล้ว 64.96% และ
17.สถานีแยกร่มเกล้า (สุวินทวงศ์) เสร็จแล้ว 73.34%

ขณะที่ความก้าวหน้างานโครงสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าอยู่ที่ 97.49% และ
งานโครงสร้างอาคารจอดแล้วจรอยู่ที่ 30.67% คาดว่าภายในปี 2565 จะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ทั้งหมดและเปิดการเดินรถได้

วิ่งผ่าเมือง-ซื้อลงทุน 70%
ทั้งนี้ AREA ประเมินว่าตลอดแนวเส้นทางสีส้มตะวันออกมีการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยในปี 2564 ทั้งหมด 2,954 หน่วย รวมมูลค่า 7,990 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยต่อหน่วย 2.705 ล้านบาท

ภายใต้สถานการณ์โควิดทำให้ยอดขายยังค่อนข้างน้อยอยู่ที่ 910 หน่วย เท่ากับรอขาย 2,044 หน่วย แสดงว่าในปี 2564 การเปิดตัวโครงการไม่คึกคักมากนัก และการขายค่อนข้างชะลอตัวทั้ง ๆ ที่การก่อสร้างรถไฟฟ้ามีความคืบหน้าไปมากแล้ว

ส่วนมากเป็นห้องชุด ราคา 2-3 ล้านบาท มีจำนวน 2,180 หน่วย กับห้องชุด ราคา 3-5 ล้านบาท อีก 774 หน่วย สำหรับสินค้าบ้านเดี่ยว ราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป มีการเปิดตัวไม่เกิน 40 หน่วย

“แนวสายสีส้มสินค้าส่วนใหญ่ที่เปิดตัวเน้นห้องชุด โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นการซื้อเพื่อลงทุน หรือการเก็งกำไรสัดส่วน 30% เพราะอสังหาริมทรัพย์ตามเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มมีโอกาสเติบโตดี ที่เหลืออีก 70% เป็นผู้ซื้อเรียลดีมานด์หรือซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง”

เหลือขาย 6.5 หมื่นล้าน
สำหรับหน่วยสะสมในแนวเส้นทางสีส้มตะวันออก AREA ประเมินว่ามีหน่วยรอขาย 13,356 หน่วย หมายความว่าซัพพลายเพิ่งขายไปได้ 30% ของภาพรวม มูลค่าสินค้ารอขายสะสม 65,936 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยต่อหน่วยอยู่ที่ 4.350 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับราคาเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยทั่วไปในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

สินค้าส่วนใหญ่เป็น “ห้องชุด” มากถึง 83% จากยอดการพัฒนาสะสมรวมกัน 44,986 หน่วย พบว่าเป็นห้องชุดถึง 37,390 หน่วย กลุ่มใหญ่ที่สุด ราคา 2-3 ล้านบาท จำนวน 13,662 หน่วย สัดส่วน 37% รองลงมา ราคา 3-5 ล้านบาท 8,707 หน่วย และราคา 1-2 ล้านบาท 8,267 หน่วย ขณะที่ห้องชุดรอการขายโดยเฉลี่ยมีเพียง 22-31%

ขณะเดียวกัน ห้องชุดราคาแพงมาก 20 ล้านบาทขึ้นไปมีจำนวน 240 หน่วย เหลือขาย 194 หน่วย มีราคาเฉลี่ยหน่วยละ 45 ล้านบาท ซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นส่วนน้อยแต่มีมูลค่าสูงมาก

“ในอนาคตคาดว่าการพัฒนาส่วนใหญ่ยังเน้นห้องชุด 2-5 ล้านบาทเป็นหลัก ซึ่งมีกำลังในการเก็งกำไรอยู่พอสมควร เพราะสีส้มตะวันออกเป็นสายที่วิ่งเข้าเมืองโดยตรง แตกต่างจากสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ที่วิ่งระหว่างพื้นที่เขตต่อเมืองกับเขตชานเมือง”

บ้านแนวราบไฮเอนด์ผุดพรึ่บ
ถัดมา “บ้านเดี่ยว” มีการขายสัดส่วน 8% โดยมีหน่วยสะสม 3,772 หน่วย ขายไปแล้ว 2,347 หน่วย เหลือขาย 1,425 หน่วย สัดส่วน 38%


ข้อสังเกตบ้านเดี่ยวมีราคารวมค่อนข้างสูง 40,838 ล้านบาท ขายไปแล้ว 24,681 ล้านบาท รอขาย 16,158 ล้านบาท เฉลี่ยราคาหน่วยละ 10.827 ล้านบาท โดยกลุ่มใหญ่ที่สุดมีราคา 5-10 ล้านบาท

และ “ทาวน์เฮาส์” มีหน่วยสะสม 3,053 หน่วย สัดส่วน 7% ของภาพรวม มียอดขายไปแล้ว 2,152 หน่วย เหลือขาย 901 หน่วย คิดเป็นสัดส่วนเหลือขาย 30%

โดยทาวน์เฮาส์มีมูลค่ารวมกัน 13,949 ล้านบาท ขายไปแล้ว 9,771 ล้านบาท เหลือขาย 4,176 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยหน่วยละ 4.569 ล้านบาท โดยกลุ่มใหญ่ที่สุดพัฒนาในราคา 3-5 ล้านบาท กับราคา 5-10 ล้านบาท

ที่ดินแพงสุดวาละ 9.6 แสน
ในด้านการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก AREA ศึกษาแล้วพบว่าราคาที่ดินตามราคาตลาดที่แพงที่สุดอยู่ที่ “สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย” อยู่ที่ตารางวาละ 960,000 บาท เพิ่มขึ้น 6% จากปี 2563 เหตุผลเพราะเป็นโซนที่มีการพัฒนาอสังหาฯอย่างเข้มข้นอยู่แล้วราคาจึงสูงมากเมื่อเทียบกับสถานีอื่น ๆ

ในเวลาเดียวกัน สายสีส้มตะวันออกทำให้ราคาที่ดินตามริมถนนพระราม 9 เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางให้ผ่านถนนสายนี้โดย “สถานี รฟม.” กับ “สถานีประดิษฐ์มนูธรรม” มีราคาตลาดค่อนข้างสูงที่ 550,000 บาท/ตารางวา เพิ่มขึ้น 13% ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

“ในอนาคตถนนพระราม 9 จะมีศักยภาพรุดหน้าตามถนนรัชดาภิเษกช่วงอโศก-ห้วยขวาง เพราะการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก”

สำหรับทำเลถนนรามคำแหงช่วงต้นถึงแยกลำสาลี 5 สถานีมีราคาใกล้เคียงกันประกอบด้วย “สถานีรามคำแหง 12-สถานีรามคำแหง-สถานี กกท.-สถานีหัวหมาก-สถานีลำสาลี” ราคาตารางวาละ 350,000 บาท เพิ่มขึ้น 11% จากปี 2563

ข้อสังเกตคือ สายสีส้มตะวันออกทำให้การพัฒนาในเชิงพาณิชย์ตามแนวถนนรามคำแหงเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก

ขอบเมือง 1.4-2.2 แสน/วา
ส่วนในช่วง 3 สถานีขอบเมืองอย่าง “สถานีศรีบูรพา-สถานีคลองบ้านม้า-สถานีสัมมากร” มีราคาที่ดินตารางวาละ 220,000 บาท

ในช่วงถัดไป 4 สถานี ได้แก่ “สถานีน้อมเกล้า-สถานีราษฎร์พัฒนา-สถานีมีนพัฒนา-สถานีเคหะรามคำแหง” ราคาที่ดินตามตลาดเกาะกลุ่มอยู่ที่ 150,000-160,000 บาท/ตารางวา

ต้องจับตา 2 สถานีปลายทาง เริ่มจาก “สถานีมีนบุรี” ซึ่งเป็นช่วงใจกลางความเจริญในเขตมีนบุรี มีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 180,000 บาท/ตารางวา หรือเพิ่มขึ้น 11%

ส่วน “สถานีสุวินทวงศ์” (แยกร่มเกล้า) แม้ยังมีราคาต่ำกว่าอยู่ที่ตารางวาละ 140,000 บาท แต่ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาค่อนข้างสูงที่ 11% เช่นกัน

“ในอนาคตรัฐบาลควรแก้ไขผังเมืองตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกให้สามารถก่อสร้างอาคารชุดได้มากขึ้น โดยอาจให้มีสัดส่วนของพื้นที่ก่อสร้างต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR-floor area ratio ถึง 10 : 1 ในบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าในรัศมี 500-1,000 เมตร” ข้อเสนอแนะจาก “ดร.โสภณ”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/01/2022 8:20 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.คุมเข้มไซด์ก่อสร้าง”สายสีส้ม”ลดฝุ่น PM 2.5 ตามรายงาน EIA เคร่งครัด
เผยแพร่: 13 ม.ค. 2565 19:21 ปรับปรุง: 13 ม.ค. 2565 19:21 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ติดตามการดำเนินงานตามมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยกำชับให้ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาทุกสัญญาติดตั้งระบบพ่นละอองน้ำลดฝุ่นละออง และจัดรถดูดฝุ่นเพื่อทำความสะอาดถนนสาธารณะตามแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ทุกวันเพื่อลดผลกระทบด้านฝุ่นละออง และปฏิบัติตามมาตรการด้านฝุ่นละอองที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA อย่างเคร่งครัด

เช่น การล้างทำความสะอาดถนนเป็นประจำ การทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้าง การตรวจสอบสภาพเครื่องจักร/รถบรรทุก รวมทั้งได้ประสานขอความร่วมมือ ผู้รับจ้างงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง

ทั้งนี้ งานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ยังดำเนินการไปได้ตามแผนงานเพื่อให้สามารถคืนผิวจราจรแก่ประชาชนได้สัญจรได้ตามปกติได้โดยเร็วที่สุด เพื่อช่วยให้การจราจรคล่องตัวมากยิ่งขึ้นขึ้น อันจะเป็นการบรรเทามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อย่างยั่งยืน

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/01/2022 3:48 pm    Post subject: Reply with quote

Update!!ความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 2564
Jan 14, 2022
PR MRTA Official


https://www.youtube.com/watch?v=KbgUv0rdmcI

อัพเดทความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยมีความคืบหน้างานโยธา อยู่ที่ 89.46 % โดยวันนี้น้องทันใจจะพาไปชมความคืบหน้างานก่อสร้างศูนยซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และภาพความคืบหน้างานก่อสร้างในจุดที่สำคัญ ณ สิ้นปี 2564 กันนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/01/2022 11:28 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ประกาศเกียรติคุณรางวัลดีเด่น บริษัทผู้รับเหมาฯ ที่รักษาสิ่งแวดล้อม
เผยแพร่: 14 ม.ค. 2565 18:43 ปรับปรุง: 14 ม.ค. 2565 18:43 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

วันนี้ (14 ม.ค.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประกาศใบประกาศเกียรติคุณรางวัลดีเด่นและรางวัลชมเชย ให้แก่บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างที่รักษามาตรฐานการปฎิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้ครบถ้วนสม่ำเสมอ และดีเด่นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี โดยบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างที่ได้รับรางวัลดีเด่น ได้แก่ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) สัญญาที่ 3 จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่ สถานีลำสาลี

ส่วนผู้รับเหมาก่อสร้างที่ได้รับรางวัลชมเชยได้แก่ กิจการร่วมค้า CKST สัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 2 จำนวน 2 พื้นที่ได้แก่ทางวิ่งระหว่างสถานี รฟม. ถึงสถานีประดิษฐ์มนูธรรม และทางวิ่งระหว่างสถานีรามคำแหงถึงสถานีราชมังคลา และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) สัญญาที่ 3 จำนวน 1 พื้นที่ได้แก่ ทางวิ่งระหว่างจุดเชื่อมต่อสัญญา 2 ถึงสถานีลำสาลี

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนและเสริมสร้างกำลังใจแก่ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีผลการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ยอดเยี่ยม โดย รฟม. ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า พร้อมทั้งคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ชุมชนและสังคม และรักษามาตรฐานให้ดียิ่งขึ้นไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 89, 90, 91  Next
Page 60 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©