Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269081
ทั้งหมด:13580368
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - EEC เชื่อมโลกให้ไทยแล่น 29/12/60
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

EEC เชื่อมโลกให้ไทยแล่น 29/12/60
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/11/2021 5:46 am    Post subject: Reply with quote

รีวิว4โปรเจคท์'อีอีซี'6.5แสนล้าน'คมนาคม'ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ
Source - เดลินิวส์
Sunday, November 28, 2021 05:24

พิธีลงนามสัญญาร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ระยะ (เฟส) ที่ 3 ในส่วน ท่าเทียบเรือ F ที่โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (25 พ.ย.) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) อัพเดทโครงสร้างพื้นฐานหลักในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 4 โครงการวงเงินลงทุนรวม 6.5 แสนล้านบาทว่า ได้ลงนามสัญญากับเอกชนครบแล้ว ทั้ง 4 โครงการ

แบ่งเป็น เอกชนร่วมทุน 4.1 แสนล้านบาท และรัฐร่วมทุน 2.4 แสนล้านบาท โดยเอกชนให้ผลตอบแทนภาครัฐ 4.4 แสนล้านบาท และรัฐได้ผลตอบแทนสุทธิประมาณ 2 แสนล้านบาท จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้มาก อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณภาครัฐ สามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่มาดึงเอกชนให้เข้าร่วมลงทุน เพราะขณะนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

สำหรับ 4 โครงสร้างพื้นฐานในอีอีซี ประกอบด้วย
1.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด Asia Era One Co., Ltd หรือ AERA1) วงเงินลงทุน 2.7 แสนล้านบาท ผลตอบแทนให้รัฐ 3.7 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 66 เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้เกิดการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานี นำความเจริญสู่ชุมชน เกิดการกระจายรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่มีที่ค้าขาย

โครงการมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่สนามบินดอนเมือง วิ่งตรง เข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ ผ่านสถานีมักกะสัน เลี้ยวเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ มุ่งหน้าต่อไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านแม่น้ำบางปะกง เข้าสู่สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และเข้าสู่สนามบินอู่ตะเภา เป็นสถานีสุดท้าย ระยะทางรวม 220 กิโลเมตร (กม.)


2.โครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ระหว่าง สกพอ. และ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด วงเงินลงทุน 2 แสนล้านบาท ผลตอบ แทนให้รัฐ 3.05 แสนล้านบาท เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น "สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3" เชื่อมสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ 3 สนามบินรองรับผู้โดยสารรวมกันได้ถึง 200 ล้านคนต่อปี เกิดศูนย์กลางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของ "มหานครการบินภาคตะวันออก" ที่จะครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง 30 กม. โดยรอบสนามบิน (พัทยาถึงระยอง)

แผนพัฒนาโครงการแบ่งเป็น 4 เฟส โดยเฟส 1 มีอาคารผู้โดยสาร พื้นที่ 1.57 แสนตารางเมตร(ตร.ม.) พื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ อาคารจอดรถ ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน และ 60 หลุมจอดอากาศยาน คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 67 รองรับผู้โดยสารได้ 15.9 ล้านคนต่อปี, เฟส 2 อาคารผู้โดยสาร มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 1.07 แสน ตร.ม. พร้อมติดตั้งระบบขนส่ง ผู้โดยสารอัตโนมัติ(APM) และระบบทางเดินเลื่อน รวมทั้งเพิ่มอีก 16 หลุมจอด จะแล้วเสร็จปี 73 รองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี

เฟส 3 ต่อขยายอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมจากเฟส 2 กว่า 1.07 แสน ตร.ม. เพิ่ม APM 1 ขบวน และเพิ่มอีก 34 หลุมจอด แล้วเสร็จปี 85 รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี และเฟส 4 มีพื้นที่อาคาร ผู้โดยสารหลังที่ 2 เพิ่มขึ้นกว่า 8.2 หมื่น ตร.ม. ติดตั้งระบบเช็กอิน อัตโนมัติ รวมทั้งเพิ่มอีก 14 หลุมจอด แล้วเสร็จปี 98 รองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี

3.โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) ระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และบริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด วงเงินลงทุนทั้ง 2 ช่วง 6.4 หมื่นล้านบาท ผลตอบแทนให้รัฐ 1.4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดบริการปี 68 ปัจจุบันท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดใช้งานใกล้เต็มศักยภาพรองรับแล้ว จึงจำเป็นต้องขยายเฟส 3 เพื่อรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และสินค้าเหลวสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่าจะรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และสินค้าเหลวได้เพิ่มอีก 14 ล้านตันต่อปี ในอีก 30 ปีข้างหน้า

และ 4.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เฟสที่ 3 ระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และกลุ่มกิจการค้า จีพีซี วงเงินลงทุนประมาณ 1.1 แสนล้านบาท ผลตอบแทนให้รัฐ 8.2 หมื่นล้านบาท จะเริ่มดำเนินการท่าเทียบเรือ F ก่อน ระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี โดย กทท. จะเป็นผู้ก่อสร้างงานทางทะเล รองรับการก่อสร้างท่าเทียบเรือและโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือชายฝั่ง งานระบบรางและย่านรถไฟ ในส่วนของงานระบบรางนั้น กทท. ลงทุน 700 ล้านบาท เส้นทางจากหลังท่าเรือไปยังสถานีรถไฟแหลมฉบัง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร (กม.) โดยต้องถมทะเล เพื่อให้เดินรถไฟเข้าถึงหลังท่าเรือ บรรทุกตู้คอนเทเนอร์ลงจากเรือได้ทันที คาดว่าจะให้บริการได้ทันในปี 68

ขณะที่ จีพีซี จะเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างให้บริการและซ่อมบำรุงรักษาท่าเทียบเรือ F1 และ F2 รองรับการขนถ่ายตู้สินค้าด้วยระบบจัดการตู้สินค้าแบบอัตโนมัติ มีความสามารถรองรับการขนถ่ายตู้สินค้าได้อย่างน้อย 4 ล้านทีอียู.ต่อปี จีพีซี จะได้รับรายได้จากการประกอบกิจการท่าเรือ เช่น ค่าภาระการใช้ท่าของเรือ ค่าภาระยกขนตู้สินค้า และค่าภาระการใช้ท่าของตู้สินค้าขณะที่ กทท. จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินขั้นต่ำรวมทั้งโครงการประมาณ 3.2 หมื่นล้านบาท

นายรัฐพล ชื่นสมจิตต์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทนจีพีซี กล่าวว่าหลังจากนี้จะเริ่มงานการออกแบบควบคู่ไปกับการ เตรียมทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) ในส่วน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเดินหน้าโครงการ และพร้อมร่วมมือกับภาครัฐในการผลักดันให้เกิดท่าเรือที่จะกลายเป็นศูนย์กลางยุทธศาสตร์สำคัญทาง โลจิสติกส์ของภูมิภาค จีพีซี จะติดตั้งอุปกรณ์ยกตู้คอนเทเนอร์ใน ปี 66 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เฟสแรกปี 68 และเฟส 2 ในปี 72

นายรัฐพล ย้ำด้วยว่าท่าเทียบเรือ F เป็นท่าเรือที่ใหญ่ ลึก 18.5 เมตร รองรับเรือขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าเรือแม่ได้ มีความยาวหน้าท่า 2 กม. จะนำเทคโนโลยีเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด และระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Fully Automation) ใช้แคร่ และหุ่นยนต์มาดำเนินงาน ไม่ต้องใช้บุคลากร ปัจจุบันมีประมาณ 20 ท่าเรือ ทั่วโลกที่ใช้ระบบนี้

ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะช่วยส่งเสริมการขนส่งแบบไร้รอยต่อ โดยเฉพาะระบบรางจะใช้ขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 30% จากขณะนี้ 7% คาดว่าในปี 68-72 จะสามารถสร้างรายได้ 4 พันล้านบาทต่อปี และหลังปี 72 จะสามารถสร้างรายได้ได้ประมาณ 8 พันล้านบาทต่อปี.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 พ.ย. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/12/2021 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

“อีอีซี” ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ก้าวสู่ประตูการค้าศูนย์กลางลงทุนแห่งภูมิภาค
สยามรัฐออนไลน์ 22 ธันวาคม 2564 18:31 น. เศรษฐกิจ

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) แถลงผลประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน เป็นประธาน ได้รับทราบและพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในวันที่ 7 ม.ค.65

ทั้งนี้มีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

1.ความสำเร็จอีอีซี 4 โครงสร้างพื้นฐานเดินหน้า ใช้เงินไทย ใช้คนไทย ใช้บริษัทไทย รัฐได้ผลตอบแทน 2 แสนล้านบาท ที่ประชุม กบอ.รับทราบการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน (PPP) ที่อีอีซีได้ผลักดันการเซ็นสัญญาครบทั้ง 4 โครงการ (รถไฟความเร็วสูงฯ สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด และแหลมฉบัง) มูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 654,921 ล้านบาท ลงทุนภาคเอกชน 416,080 ล้านบาท (64%) ลงทุนภาครัฐ 238,841 ล้านบาท (36%) โดยภาคเอกชนจะให้ผลตอบแทนภาครัฐ 440,193 ล้านบาท และรัฐได้ผลตอบแทนสุทธิ 210,352 ล้านบาท ถือเป็นประวัติศาสตร์ความสำเร็จครั้งสำคัญของประเทศและอีอีซีที่ได้ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เกิดประโยชน์ต่อประเทศ และประชาชนคนไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต

"ความสำเร็จนี้ สะท้อนให้เห็นถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ ถึงการสร้างนวัตกรรม เพื่อการลงทุนของประเทศภายใต้หลักคิด ประเทศไทยสามารถก้าวสู่การพึ่งพาตนเอง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องพึ่งพิงเงินกู้ต่างประเทศเช่นในอดีต รัฐได้ประหยัดงบประมาณโดยร่วมมือกับเอกชนไทย ใช้เงินไทยและบริษัทไทยที่แข็งแกร่งเป็นแกนหลักนำพันธมิตรต่างชาติมาร่วมลงทุน สร้างงานให้คนไทย สร้างผลตอบแทนภาครัฐ รวมทั้งเผชิญความเสี่ยงกับรัฐบาล ทำให้ประเทศไทยกำลัง ก้าวสู่การสร้างอนาคตใหม่ร่วมกันทั้งประเทศ รัฐ-เอกชน และประชาชน ให้แก่คนไทยทุกคนอย่างยั่งยืน" นายคณิศ กล่าว

2.EECi ก้าวหน้าครบมิติ เตรียมเปิดทางการรับประชุมผู้นำเอเปก ประกาศความพร้อมดึงนักลงทุนทั่วโลกที่ประชุม กบอ. รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่การดำเนินงานเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ได้ประสบผลสำเร็จต่อเนื่อง ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม สนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 พัฒนาเกษตรสมัยใหม่ กลุ่ม SMEs และความพร้อมพัฒนาบุคลากรด้านงานวิจัยเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย

สำหรับภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ อาทิ เมืองนวัตกรรมชีวภาพ เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เมืองนวัตกรรมการบินและอวกาศ เมืองนวัตกรรมอาหาร รวมทั้งการก่อสร้างกลุ่มอาคาร โรงงานต้นแบบนวัตกรรมขั้นสูงต่างๆ ซึ่งเป็นฐานสำคัญของ EECi ใกล้เสร็จสมบูรณ์ และคาดว่าจะเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2565 เพื่อสนับสนุนการจัดประชุมผู้นำเอเปกที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะเป็นการประกาศความพร้อมสนับสนุนการดึงดูดการลงทุนฐานนวัตกรรมขั้นสูง และจูงใจนักลงทุนทั่วโลกเข้าสู่พื้นที่อีอีซี

3.ศูนย์จีโนมิกส์ เสริมแกร่งยกระดับสาธารณสุข คนไทยเข้าถึงรักษาโรคแม่นยำ หายป่วยง่าย สุขภาพดีทั่วหน้า ที่ประชุม กบอ. รับทราบความก้าวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบการแพทย์จีโนมิกส์ ในพื้นที่อีอีซี ยกระดับให้ชุมชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข และแผนการขับเคลื่อนการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ โดยเร่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ศูนย์บริการจีโนมิกส์ในอีอีซี และบริการที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบัน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) ได้ลงนามในสัญญาจ้าง และสัญญาเช่าที่บริการถอดรหัสพันธุกรรม กับกิจการร่วมค้าไทยโอมิกส์ เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมประชาชน 50,000 ราย ในระยะเวลา 5 ปี และจัดเก็บเป็นข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยและเลือกการรักษาโรคที่ถูกต้อง เป็นต้นแบบในพื้นที่อีอีซี เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ รักษาได้ตรงอาการไม่ป่วยหนัก และมีสุขภาพดีทั่วหน้าต่อไปในอนาคต

4.เดินหน้าเพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานอีอีซีต่อเนื่อง ไทยก้าวสู่ประตูการค้า ศูนย์กลางลงทุนแห่งภูมิภาค ที่ประชุม กบอ. พิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2566 - 2570 ซึ่งจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายให้ไทยก้าวสู่ประตูการค้า การลงทุน ศูนย์กลางคมนาคมโลจิสติกส์ของภูมิภาค เน้นสร้างความร่วมมือกลุ่มประเทศ CLMVT และจีนตอนใต้ รวมทั้งรองรับการเติบโตของอีอีซีในอนาคต เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางราง ทางน้ำ เชื่อมต่อขนส่งสาธารณะระบบรางจากสถานีรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภาฯ เชื่อมกับเมืองใหม่ และแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มความสะดวกสบายให้ประชาชนในการเดินทาง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรมมีความเข้มแข็ง

ทั้งนี้มีกรอบการพัฒนาต่อเนื่อง ได้แก่
1) พัฒนาและส่งเสริมการขนส่งสินค้าระบบรางและทางน้ำเป็นระบบหลัก
2) ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
3) เชื่อมต่อโครงข่ายถนน ปรับปรุงช่วงถนนคอขวด แก้ปัญหาจราจรหลักในอีอีซี
4) พัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมต่อพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ นิคมอุตสาหกรรม เมืองที่จะพัฒนาในอนาคต และ
5)ใช้เทคโนโลยีและระบบอัจฉริยะจัดการจราจรและการขนส่ง

ซึ่งจะดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถระบบรางและทางน้ำ เชื่อมต่อการขนส่งรูปแบบอื่น เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ยกระดับโครงข่ายคมนาคมรองรับการเดินทางประชาชนอย่างไร้รอยต่อ เพิ่มสัดส่วนการเดินทางระบบสาธารณะส่งเสริมท่องเที่ยวทางรางและทางน้ำเข้าถึงพื้นที่หลักในอีอีซี และยกระดับโครงข่ายคมนาคมด้วยมาตรการเชิงรุกและเทคโนโลยีสมัยใหม่

โดยระหว่าง ปี 2566 - 2570 ช่วงการก่อสร้างจะเกิดการจ้างงานประมาณ 20,000 ตำแหน่ง/ปี และปี 2571 - 2580 ประมาณ 12,000 ตำแหน่ง/ปี เดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น ลดความสูญเสียจากความล่าช้าการเดินทางประมาณ 10.75 ล้านบาท/วัน หรือ 3,900 ล้าน/ปี ลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ 5% (ความสูญเสียลดลง 100 ล้านบาท/ปี) ยกระดับชีวิตด้วยระบบขนส่งที่ทันสมัย เชื่อมการเดินทางแบบไร้รอยต่อ เดินทางจากกรุงเทพฯถึงระยอง ภายใน 1 ชั่วโมง ลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการจราจร เพิ่มประสิทธิภาพถนนในพื้นที่ จากความเร็ว 65 กม./ชม. เป็น 70 กม./ชม. มีเส้นทางรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้น 275 กม. ปรับปรุงการก่อสร้างถนนและขยายช่องทางมากถึง 25 เส้นทางภายในปี 2570

ทั้งนี้ มีการประเมินการลงทุนในอีก 5 ปีข้างหน้าว่ามีมีมูลค่า 2 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 4-5 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเดิม เช่น รถ EV ศูนย์จีโนม และจะหาการลงทุนใหม่เพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันให้จีดีพีขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ราวปีละ 1.5%

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2022 12:59 pm    Post subject: Reply with quote

แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ อีอีซี ระยะที่ 2 l EEC จุดเปลี่ยนประเทศไทย 20 ม.ค.65
Jan 20, 2022
TNN Online


https://www.youtube.com/watch?v=RnxvQArf66I
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/10/2022 7:58 am    Post subject: Reply with quote

'สมคิด'เร่งรัฐบาลเคลื่อนโครงการใหญ่อีอีซี 5 แสนล้าน ดึงเชื่อมั่นนักลงทุน
กรุงเทพธุรกิจ 18 ต.ค. 2565 เวลา 6:30 น.

'สมคิด'เร่งรัฐบาลเคลื่อนโครงการใหญ่อีอีซี 5 แสนล้าน ดึงเชื่อมั่นนักลงทุน
"สมคิด"เร่งรัฐบาลเคลื่อนโครงการใหญ่ “อีอีซี” 5 แสนล้าน ดึงเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติ หลังเวียดนามโกยการลงทุน เศรษฐกิจโต FDI พุ่ง ดึงอุตสาหกรรมอนาคต หวั่นไทยเสียโอกาสดึงลงทุน นายกฯเลือกเลขาฯอีอีซีคนใหม่ ทำงานดี - ไว้ใจ ได้ สร้างความมั่นใจในการขับเคลื่อนโปรเจกในอีอีซี

บทบาทของ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ประธานพรรคสร้างอนาคตไทย ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมามีบทบาททางการเมืองในการเป็นทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลหลายชุด นับตั้งแต่การเข้าร่วมงานการเมืองกับ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2544 ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนที่จะขึ้นมาควบตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจด้วย

เมื่อเข้าสู่รัฐบาลทักษิณ 2 ในช่วงปี 2548-2549 “สมคิด” ยังเข้าร่วมในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก่อนพ้นวาระเมื่อมีรัฐประหารเมื่อปี 2549 จากนั้นได้ลดบทบาททางการเมืองลง จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารอีกครั้งในปี 2557 ถูกแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

รวมทั้งถูกแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในปี 2558 ต่อจาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ที่พ้นตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจไป โดยหนึ่งในผลงานสำคัญของ “สมคิด” คือ การร่วมผลักดันเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

“สมคิด” ที่ได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอยู่ตลอด ได้ออกมาให้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน โดยระบุว่า จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นในทางเศรษฐกิจ โดยหนึ่งในโครงการใหญ่ที่รัฐบาลจะใช้สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นได้ คือ EEC โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่รัฐบาลได้มีการเปิดประมูล และได้เอกชนที่เป็นผู้ลงทุนในโครงการแล้ว

“โครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานใน EEC หากรัฐบาลสามารถผลักดันให้โครงการนี้เดินหน้าไปได้ชัดเจนสักหนึ่งโครงการก็จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติหันกลับมามองประเทศไทยว่าโครงการอีอีซียังเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญและเป็นโครงการที่จะสร้างการเติบโตให้เศรษฐกิจไทยในระยะยาว” สมคิด กล่าว

นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศที่เป็นที่ถือว่าเป็นคู่แข่งของประเทศไทยที่น่ากลัว เพราะนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากให้ความสนใจเข้าไปลงทุนในเวียดนาม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมไฮเทคสมัยใหม่ เช่น อุตสาหกรรมสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้เวียดนามสามารถต่อยอดไปได้ในอีกหลายอุตสาหกรรม

ทั้งนี้เวียดนามมีความน่าสนใจทั้งในเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ผ่านมาถึง 13% และอีกข้อได้เปรียบของเวียดนาม คือ ทางด้านการเมืองที่เวียดนามมีเสถียรภาพทางการเมืองสูงมาก

“นักลงทุนจะเข้าไปลงทุนในประเทศไหนจะมี 2 เรื่องที่ให้ความสำคัญ คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งตอนนี้เวียดนามมีข้อได้เปรียบไทยในส่วนนี้ เราต้องทำให้เห็นว่าประเทศไทยนั้นมีจุดขาย ซึ่งเรื่อง EEC ก็เป็นนโยบายที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทยได้โดยรัฐบาลต้องแสดงให้เห็นว่าเร่งรัดโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในโครงการนี้เดินหน้าให้ได้ตามแผนที่วางไว้”

รัฐบาลต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่ารัฐบาลพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการเหล่านี้ เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเห็นว่ารัฐบาลจริงจังในการขับเคลื่อนโครงการ EEC และยังช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)"

แนะเร่ง 2 โครงการใหญ่ลงทุนกว่า 5 แสนล้าน

ทั้งนี้มีโครงการขนาดใหญ่ใน EEC ที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเป็นพิเศษหลายโครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงิน 224,544 ล้านบาท และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก งบการลงทุนรวม 290,000 ล้านบาท รวม 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 514,544 ล้านบาท

แนะนายกฯเลือกเลขาฯอีอีซีคนใหม่ทำงานเป็น-ไว้ใจได้

สำหรับการสรรหาเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คนใหม่แทน “คณิศ แสงสุพรรณ” ที่หมดวาระตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค.2565 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้ตั้งกรรมการสรรหาขึ้นมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งคนใหม่

ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือเป็นอำนาจในการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน กพอ.ที่จะตัดสินใจในขั้นสุดท้าย ซึ่งในเรื่องนี้ถือว่า ตำแหน่งเลขาธิการฯ ถือเป็นตำแหน่งที่สำคัญเพราะจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ที่จะเข้ามาลงทุนใน EEC จึงขอให้นายกรัฐมนตรีเลือกบุคคลที่เหมาะสมสามารถทำงานเป็นจริงๆ และเป็นที่ไว้ใจได้ เพราะโครงการนี้ถือเป็นโครงการสำคัญของประเทศ

อีอีซีเข้าเฟสขยายตัวสำคัญปี 69

ก่อนหน้านี้ สกพอ.รายงานว่า ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า EEC ได้มีการวางแผนพัฒนาในโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานก้าวกระโดดในระยะ 5 ปีข้างหน้า (2566-2570) ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน 4 โครงการหลัก เข้าสู่ช่วงการก่อสร้างปลายปีนี้ และจะแล้วเสร็จในปี 2568-2569 ซึ่งจะทำให้ EEC ก้าวเข้าสู่ระยะการขยายตัวที่สำคัญในปี 2569 เป็นต้นไป

สำหรับเป้าหมายในช่วงปี 2566-2570 จะผลักดันให้เกิดการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท โดยจะมีเงินลงทุนประมาณปีละ 4-5 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจ EEC น่าจะขยายตัวได้ 7-9% ต่อปี ทำให้ประเทศไทยขยายตัวได้ประมาณ 5% ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป รวมถึงการสนับสนุนการลงทุนอื่นๆ ได้แก่

​1.การสนับสนุนการลงทุน 5G ของไทยเร็วที่สุด ครอบคลุมมากที่สุดใน อาเซียน นำหน้าประเทศอื่น ๆ ประมาณ 2 ปี ทำให้บริษัทชั้นนำด้านดิจิทัล หันมาลงทุนใน EEC อนาคตจะเป็นธุรกิจไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี

​2.การลงทุนเพื่อสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยนโยบาย EV ของรัฐบาลไทยนำหน้าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แสดงให้เห็นว่าประเทศไทย ตั้งใจจะเป็น Hub การผลิตของอาเซียนต่อไปทำให้บริษัทรถยนต์ที่ตั้งใจจะผลิต EV เข้ามาลงทุนใน EEC รวมทั้งธุรกิจแบตเตอรี ระบบไฟฟ้า และชิ้นส่วนรถ EV

3.เทคโนโลยีการแพทย์ และ Wellness การที่ EEC ได้จัดระบบสาธารณสุขและการแพทย์ลงตัวโดยแบ่งงานกันทำทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการเปิดฉากการพัฒนาการแพทย์สมัยใหม่ทั้ง จีโนมิกส์ และ Digital Hospital ทำให้มีความสนใจการลงทุนทางการรักษาพยาบาลระดับสูง ระบบที่เชื่อมโยงดังกล่าวจะนำไปสู่เครือข่ายธุรกิจ Wellness ทั้งโรงพยาบาลชั้นนำ เวชสำอาง ศูนย์พักฟื้น ธุรกิจโรงแรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการแพทย์ อุตสาหกรรมยา อุปกรณ์การแพทย์

4.สนับสนุนการสร้างศูนย์นวัตกรรมสำคัญ เริ่มดำเนินการ EECi เสร็จระยะแรก กำลังทำหน้าที่เป็นศูนย์วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดความรู้ เกษตร ดิจิทัล หุ่นยนต์ โดรน EV แบตเตอรี EECd ส่วน Digital Valley เปิดดำเนินการแล้ว และจะรับการลงทุน DATA Center แรกปลายปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/12/2022 7:02 am    Post subject: Reply with quote

โจทย์ใหญ่ไทยแลนด์ 4.0 พัฒนาทักษะแรงงานแห่งอนาคต
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 03, 2022 04:35

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (ดีอีเอส) จัดงาน "THAILAND 4.0 ประเทศไทยไปไกลกว่าที่คิด" เปิดเวทีสัมมนา โดยเชิญผู้บริหารของบริษัทต่าง ๆ มาถ่ายทอด มุมมองต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจดิจิทัล และการจะทำอย่างไรที่จะ ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในบ้านเรามากขึ้น

ย้ำ 6 เมกะเทรนด์ท้าทาย

"ศุภชัย เจียรวนนท์" บิ๊กกลุ่มทรู ในฐานะประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคมแห่งประเทศไทยกล่าวถึงความท้าทายของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยว่า ประกอบไปด้วย6 เมกะเทรนด์ คือ

1.การลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Capital) ผู้นำทั่วโลกต่างหวังการเข้าถึงองค์ความรู้ ระบบ e-Commerce ตลาดที่มีความโปร่งใสจะลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ เกิดความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงโอกาส

2.Digital Transformation การเข้าสู่เศรษฐกิจ 4.0 หรือระบบเศรษฐกิจ ดิจิทัล

3.การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การตั้งเป้าไปสู่ Net Zero และ Zero Waste ทำให้โลกอยู่ในภาวสมดุลระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม

4.การเผชิญหน้ากับเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (High Inflation) จากโควิด ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ปิดกั้นระบบการค้า และการเดินทางระหว่างประเทศ

5.มหาอำนาจทางเศรษฐกิจก้าวสู่ยุค 2 ขั้วอำนาจ เกิดทางเลือกของโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่พลังงาน เงินตรา และเทคโนโลยี เกิดโลกสองขั้ว (Bipolar World)

และ 6.ด้านสุขภาพ การแพร่ระบาดของโควิดทำให้โลกตระหนักรู้ และนำทุนมหาศาลขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขและการแพทย์

อย่างไรก็ตาม หากมองพัฒนาการของเศรษฐกิจจากยุค 1.0 ถึง 4.0 ซึ่งเป็นยุค ของการถ่ายเทข้อมูล จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและบริษัทซอฟต์แวร์ต่าง ๆ กลายเป็นบริษัทชั้นนำ ของโลกยุคนี้ แต่ถ้ามองไปไกล ๆ จะพบว่าสิ่งที่มาทดแทน ไม่ว่าจะเป็น ทอง น้ำมัน เงินตรา หรือ "ข้อมูล" ล้วนผูกอยู่กับ "เทคโนโลยี" ดังนั้นประเทศที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและส่งออกเทคโนโลยีได้จะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

เทคโนโลยีพลิกโฉม ปท.

"เทคโนโลยี" จึงกลายเป็น "ทอง หรือน้ำมัน" ยุคใหม่ ที่ต้องมาจัดการข้อมูลมหาศาล ซึ่งต้องมีบุคลากรที่มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งในยุคเศรษฐกิจ 5.0 ในอนาคตต้องผสมผสานไปกับเรื่องสุขภาพและความยั่งยืน

เมื่อหันกลับมาที่ประเทศไทย เทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้อง ถ้าจะผลักดัน ให้เป็น Tech Hub คือ

1. Electric Vehicles (EVs) ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งหลายคนเรียกว่า Computer on Real

2. Digital Cloud Technology เช่น Amazon ล่าสุด Microsoft ถ้ามาตั้งในไทยได้จะทำให้เป็น Hub ด้าน Digital Cloud Technology และโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของระบบเศรษฐกิจ 4.0

3. การสร้าง Innovation Cluster ทั้งฝั่งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

4. การสร้าง 20,000 เทคสตาร์ตอัพเพราะ 1 เทคสตาร์ตอัพ จะมีพนักงาน 50 คน ถ้ามี 2 หมื่น ก็จะสร้างคนที่มีทักษะดิจิทัลได้ถึง 1 ล้านคน ซึ่งจะมีการลงทุนปีละ 1 ล้านเหรียญ เท่ากับ 20 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
    "ถ้าทุนจากทั่วโลกไหลเข้ามาในไทยจะทำให้เกิดนวัตกรรม และ Digital Transformation ต่าง ๆ ทำให้เราเป็น Tech Hub อย่างแท้จริง และมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเป็น Logistic Hub โดยเฉพาะถ้าเชื่อมโยงรถไฟไทย-จีนมาถึง EEC ที่มีท่าเรือ เชื่อมโยงภาคใต้ เชื่อมระหว่างมหาสมุทรได้ ไทยจะกลาย เป็น Logistic Hub ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้โดยปริยาย แค่เริ่มทั่วโลกก็เตรียม ย้ายฐานมาแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการเป็นศูนย์กลางการค้าและด้านการเงิน"

พัฒนาทักษะแห่งอนาคต

ประธานสภาดิจิทัลฯกล่าวด้วยว่า อีกเรื่องที่ใหญ่มากคือความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ในภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสงคราม ภาวะคอขวดด้าน Logistic ของโลก ตลอดจนเรื่องการกักตุนของแต่ละประเทศ ทำให้ความมั่นคงทางอาหารเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แต่ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงเป็นศูนย์กลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่แล้ว การก้าวขึ้นเป็นฮับด้านความมั่นคง ทางอาหารได้ เป็นโอกาสที่ใหญ่มาก แต่ต้องทำทรานส์ฟอร์มการเกษตร นำเทคโนโลยี Smart Farming, Industrialization การเพาะปลูก เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ทำระบบ Supply Chain ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ให้โลก

อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ยังเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด และหนีไม่พ้น Digital Transformation เช่น Smart School ทำให้เด็กเข้าถึงองค์ความรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีการคัดกรอง คอนเทนต์ที่เหมาะสม การพัฒนา ทักษะแรงงานในอนาคต (Future Workforce) การส่งเสริมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มีการอัพสกิล/รีสกิล พนักงาน ให้มีระดับ Skill ที่เขียนซอฟต์แวร์ได้ ไม่ต่ำกว่า 10% หรือ 3.9 ล้านคนของคนวัยทำงาน

"ทุกวันนี้เด็กจบใหม่ 5 แสนคน มีทักษะ Software ไม่ถึง 5 หมื่น และ 1 ในวิธี คือผลักดัน 20,000 Startups จะทำให้เกิดบุคลากรในระบบนิเวศ Future Workforce 1 ล้านคน"
และว่าที่สุดของความสำเร็จที่แท้จริง เกิดขึ้นจากความพร้อมของบุคลากรในประเทศ

"ศุภชัย" ทิ้งท้ายด้วยว่า "การเกิดของโลกคู่ขนานระหว่างโลก Physical และ Digital เกิดขึ้นแน่นอน โลก Digital เพิ่งเกิด แม้ยุคอินเทอร์เน็ตจะผ่านมา 20 กว่าปี แล้ว แต่เทคโนโลยีไฟเบอร์และ 5G เพิ่งเกิด ไม่กี่ปี โลกคู่ขนานจึงเต็มไปด้วย Unknown Possibility อะไรก็เกิดขึ้นได้ และโอกาสที่กำลังเกิดขึ้นในโลกคู่ขนานจะยิ่งใหญ่และมหาศาลเกินกว่าที่จะจินตนาการได้ และไม่มีที่สิ้นสุด เป็นโอกาสของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจดั้งเดิมที่ต้องปรับตัว และธุรกิจใหม่ ๆ"

"การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุค 4.0 หรือ 5.0 ต่อไป ถ้าควบคู่ไปกับความรัก ความ เมตตา การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และความเข้าใจว่า คุณค่าของเราเกิดจากการสร้างประโยชน์ให้ผู้อื่น ถ้าขับเคลื่อนควบคู่ระหว่างจินตนาการและความรักได้ หนทางที่จะไปย่อมสวยงามและยิ่งใหญ่"
"หัวเว่ย" ปักหลักลงทุน
"อาเบล เติ้ง" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ดีที่สุด ในการปักหมุดเทคโนโลยีใหม่ในภูมิภาค โดยหัวเว่ยมีการลงทุนด้านคลาวด์ตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว มีศูนย์ข้อมูล 3 แห่ง ลงทุนไปกว่า 1,400 ล้านบาท ทำให้สามารถให้บริการ คลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้ ล่าสุดตั้ง แผนกธุรกิจพลังงาน (Digital Power) เพื่อบุกเบิกตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ หลังจากก่อนหน้านี้ได้ตั้งศูนย์นวัตกรรม 5G ร่วมกับกระทรวงดีอีเอส และเพิ่มขีด ความสามารถให้กับพันธมิตรกว่า 150 ราย สำหรับการนำ 5G มาใช้ในอนาคต

ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่น 5G ให้องค์กรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 8 อันดับแรก

"ไทยเป็นประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งของโลก โดยกรุงเทพฯยังติด 1 ใน 10 อันดับของมหานคร 5G เช่นกันกับด้านบรอดแบนด์ที่อยู่อันดับ 5 ของโลก มาสองไตรมาสแล้ว ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดที่ดึงดูดบริษัทต่าง ๆ ให้เข้ามาลงทุน ได้"
ผู้บริหาร "หัวเว่ย" ยังพูดถึงแนวทาง ความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจและ รัฐบาลไทยในขั้นต่อไปด้วยว่า เมื่อประเทศ ไทยมีการประกาศกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า BCG (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งหัวเว่ยเห็นว่าเป็นโอกาส ดีที่จะผนึกกำลังกันเพื่อเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานสะอาด เช่น แท่นซูเปอร์ชาร์จรถอีวี เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคดิจิทัล และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืนได้

"การเกิดของโลกคู่ขนานระหว่างโลก Physical และ Digital เกิดขึ้นแน่นอน โลก Digital เพิ่งเกิด โลกคู่ขนานจึงเต็มไปด้วย Unknown Possibility อะไรก็เกิดขานได้"

บรรยายใต้ภาพ

ศุภชัย เจียรวนนท์

อาเบล เติ้ง

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 - 7 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/12/2022 7:13 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ โลกใบใหม่: EEC เหลียวหลังแลหน้า หลังขับเคลื่อนผ่านปีที่ 5
Source - ไทยโพสต์
Saturday, December 03, 2022 03:51
อภิชาต ทองอยู่ tapichart@hotmail.com

1 ธันวาคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC โดยรักษาการเลขาธิการ ธัญรัตน์ อินทร นำคณะผู้บริหาร EEC อภิปราย-เสวนา "แผนบูรณาการ EEC สู่การสร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาประเทศ" เป็นการเสวนาชี้บอกแบบ เหลียวหลัง-แลหน้าความเคลื่อนไหวของงานในพื้นที่ EEC เปิดเวทีโดย ประธานที่ปรึกษาพิเศษ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ อดีตเลขาธิการ สกพอ. ตามด้วยคณะผู้บริหารร่วมกันถ่ายทอดภาพรวมการขับเคลื่อนงาน EEC และผลจากการดำเนินงาน รวมทั้งความเคลื่อนไหวที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า

ดร.คณิศ อดีตเลขาฯ สกพอ.ชี้ว่า การขับเคลื่อนงาน EEC ตั้งแต่มีการออกพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกก็ได้จัดทำแผนรวมทั้งหมด และลงหลักปักฐานโครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ที่สำคัญ ปัจจุบันกำลังเคลื่อนไปสู่เรื่องของการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการสร้างประโยชน์โพดผลให้ผู้คนและชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งในการลงทุนใน EEC ที่ได้อนุมัติไว้ใน 4 ปีแรก ตั้งแต่ปี 2561-2565 นั้น วันนี้ไปเกินเป้า-มีการลงทุนไปแล้ว 1.9 ล้านล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1.7 ล้านล้านบาท ซึ่งในการลงทุนนี้ใช้งบประมาณสำนักงาน สกพอ.ร้อยละ 0.1 จากงบบูรณาการร้อยละ 5 โดย สกพอ.หาผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลัก 4 โครงการ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มีมูลค่ารวมกว่า 6.5 แสนล้านบาท

ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยรวม ได้ออกบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI ช่วงปี 2561-2565 รวมทั้งสิ้น 1,182,538 ล้านบาท โดยเป็นกลุ่มการลงทุนต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมร้อยละ 34 และเป็นส่วนการลงทุนเพิ่มเติมในอุตสาหกรรมใหม่ร้อยละ 36 ที่เหลือเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 30 โดยจะพัฒนา 5 แกนหลักเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม-การลงทุนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (ตามที่มีสไลด์ฉายประกอบ) แกนแรกเป็นแกนหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่จะเชื่อมกับอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ยกระดับสมรรถนะการผลิตโดยรวม แกนที่ 2 แกนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี จะหนุนอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร-การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีคุณภาพสูง แกนที่ 3 สมาร์ทโลจิสติกส์ จะสนับสนุนอุตสาหกรรมการบิน โลจิสติกส์ และระบบราง ฯลฯ แกนที่ 4 ด้าน 5G สนับสนุนการสื่อสารและอุตสาหกรรมดิจิตอลยุคใหม่ แกนที่ 5 แกน BCG หนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งโดยภาพรวมดูดี แต่คิดว่าน่าจะพลาดที่ไม่ปรากฏแกนสำคัญเรื่อง "การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา" ที่เป็นแก่นแกนและหลักสำคัญ-เป็นฐานการพัฒนาทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและเศรษฐกิจสังคม รวมถึงชุมชนโดยรวม เลยขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ หากขาดแกนนี้คงไปต่อกันลำบากทั้งอุตสาหกรรมและบ้านเมือง!

ประเด็นการสร้างแผนงานงบบูรณาการ รักษาการเลขาธิการฯ ธัญรัตน์ อินทร อภิปรายไว้น่าสนใจ จากการเริ่มดำเนินงานปี 2561 ได้เติบโตขยายตัวมีหน่วยงานเข้าร่วมจาก 8 กระทรวง 13 หน่วยงาน เป็น 15 กระทรวง 44 หน่วยงานในปัจจุบัน งบประมาณที่ได้รับ (ปี 2561-2566) รวม 94,514 ล้านบาท นำไปสร้างงานหลายกลุ่ม กลุ่มงานโครงสร้างพื้นฐานและดิจิตอล กลุ่มพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรม กลุ่มการสาธารณสุข การท่องเที่ยว งานพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง EEC รองรับการขยายตัวของเมือง กลุ่มงานชักจูงนักลงทุนต่างประเทศ กลุ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน ซึ่งชี้กุญแจความสำเร็จจากเงื่อนไขหลัก 3 ประการคือ ชัดเจน เชี่ยวชาญ และเชื่อมั่น ชัดเจน-คือการทำงานร่วมกับหน่วยรับงบประมาณแบบเชิงรุก สกพอ.ร่วมกำหนดทิศทางเป้าหมายของแผนงานบูรณาการชัดเจน เชี่ยวชาญ-ระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญแต่ละด้านมา สร้างงานร่วมกัน เชื่อมั่น-คือหน่วยงานที่เข้าร่วมทำงานร่วมกันอย่างเชื่อมั่นและร่วมงานกันต่อเนื่อง

ผชช.พจณีชี้ว่า การขยับก้าวข้างหน้าต่อไปจะพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ ซึ่ง สกพอ.พยากรณ์ว่าจะมีผู้อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 2 ล้านคน เมื่อสนามบินเสร็จจะมีผู้เดินทาง 70 ล้านคน ขนาดของธุรกิจก็จะใหญ่ขึ้น จากนี้ถึงปี 2570 จะมีเงินลงทุนใหม่ราว 3.7 ล้านล้านบาท เมื่อถึงปี 2580 จะมีมากกว่า 5 ล้านล้านบาท ต้องสร้างเมืองแห่งอนาคตรองรับตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยที่ดี มีเทคโนโลยี-สิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นเมือง Zero Carbon มีการจัดการสิ่งแวดล้อมดี

รอบรัศมี 30 กิโลเมตรจากมหานครการบิน จะมีการพัฒนาใหม่หลายพื้นที่ กลุ่มพัฒนาเมืองเดิมจะมีการปรับพัฒนาในหลายพื้นที่ เช่น Smart City กลุ่มฉะเชิงเทราเมืองน่าอยู่ แสนสุข Smart City ที่บางแสน นครระยอง เมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ ฯลฯ ส่วนกลุ่มเมืองพัฒนาใหม่จะมี EECh ศูนย์สถานีระบบรางที่ศรีราชา EECa เมืองการบินอู่ตะเภาระยอง EECd ดิจิตอลปาร์ก ชลบุรี EECi วังจันทร์วัลเลย์ระยอง ฯลฯ

ส่วนศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ กำลังออกแบบวางแผนพัฒนาเป็น smart City ที่ให้สิทธิประโยชน์ มีการจัดการให้มีพื้นที่สีเขียวมากกว่าร้อยละ 30 เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ มีความเป็นอัจฉริยะครบทั้ง 7 ด้านตามที่ DEPA วางไว้ ซึ่งศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะนี้ ตั้งอยู่ที่บางละมุง พื้นที่ 15,000 ไร่ เริ่มพัฒนา 5,000 ไร่ อยู่ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 15 กิโล ห่างพัทยา 10 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ 160 กิโลเมตร ใช้เวลาพัฒนาประมาณ 10 ปี 2565-2575 รองรับผู้คนช่วงแรก 350,000 คน สร้างตำแหน่งงาน 2 แสนตำแหน่ง มูลค่าการลงทุน 1.34 ล้านล้านบาท สัดส่วนการลงทุนภาครัฐร้อยละ 2.8 รัฐร่วมกับเอกชนร้อยละ 9.7 เอกชนร้อยละ 87.5 เป้าหมายคือเป็นศูนย์สำนักงานใหญ่ของธุรกิจในภูมิภาคและศูนย์ราชการ ศูนย์กลางการเงิน ศูนย์กลางการแพทย์แม่นยำ ศูนย์ศึกษาวิจัยพัฒนานานาชาติ ศูนย์ธุรกิจอนาคต รวมทั้งที่อยู่อาศัย นี่เป็นส่วนหนึ่งของเหลียวหลังแลหน้า EEC จากการขยับขับเคลื่อนงานช่วง 5 ปีที่ผ่านมา.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 3 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2022 4:46 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ EEC Analysis: เทรนด์ยอดขายพื้นที่นิคมฯ'โตแรง'
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, December 26, 2022 04:14

การลงทุนจากต่างชาติเริ่มเข้ามา อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากโครงการ LTR Visa ที่เปิดใช้ตั้งแต่ 1 ก.ย.2565 เพื่อดึง นักลงทุนต่างชาติมีศักยภาพสูงด้านทักษะและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีสมัยใหม่และผู้มีความมั่งคั่งมาลงทุน สำหรับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมขยายตัวขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2565 (ก.ย.2564-ต.ค.2565) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มียอดขายและเช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 2,016.24 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 65.1% ซึ่งเป็นไปตามที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ กนอ.ปรับเป้ายอดขายและเช่าที่ดิน ในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา ภายหลังการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ ซึ่งส่งผลให้มีนักลงทุนต่างชาติเดินทางเข้ามาชมพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันยังเป็นผลจาก ความเชื่อมั่นในโครงการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซี ซึ่งทั้ง 4 โครงการ มีความก้าวหน้าการก่อสร้างและ ส่งมอบพื้นที่โครงการต่อเนื่องชัดเจน ประกอบด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองการลินภาคตะวันออก โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 และโครงการพัฒนาท่าเรือ แหลมฉบังเฟส 3

นอกจากนี้ได้รับปัจจัยบวกจาก แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งทำให้นักลงทุนตัดสินใจจองหรือซื้อ หรือเช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม ทั้ง นิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน และนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง

สำหรับยอดการขายและเช่า นิคมอุตสาหกรรมในอีอีซี มีจำนวน 1,716.99 ไร่ และนอกพื้นที่อีอีซี จำนวน 299.25 ไร่ มีการแจ้งเริ่มประกอบกิจการ และ ใบขออนุญาตส่วนขยาย 407 ราย เกิด การจ้างงาน 39,643 คน มูลค่าการลงทุนรวม 137,677 ล้านบาท

รวมทั้ง กนอ.คาดการณ์ว่าปี 2565 จะมีเม็ดเงินลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากยอดขายหรือเช่าที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 65.1% ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากหลายปัจจัยแล้ว ทำให้ใน ปี 2566 กนอ.ตั้งเป้ายอดขายหรือเช่าพื้นที่ไว้ที่ 2,500 ไร่

สำหรับการคาดการณ์ดังกล่าวได้ประเมินปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและปัจจัยบวกจากทิศทางการเคลื่อนย้ายการลงทุนที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งสงครามการค้า ระหว่างจีน-สหรัฐ การแพร่ระบาด ของโควิด-19 การเกิดสงครามยูเครน-รัสเซีย และล่าสุดการปฏิรูปการเมืองในจีน ทำให้หลายอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่จัดระบบการผลิตครั้งใหญ่ ซึ่งไทยได้เปรียบ หลายส่วน ส่งผลให้บริษัทขนาดใหญ่ ระดับโลกหลายบริษัทสนใจมาลงทุน ในไทย

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2022 5:48 am    Post subject: Reply with quote

'จุฬา'เลขาฯอีอีซีคนใหม่รับโจทย์ใหญ่เร่งลงทุนฟื้นศก.
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Thursday, December 29, 2022 04:23

กรุงเทพธุรกิจ การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2565 มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ.เป็นประธานโดยมีการประชุมวาระลับเพื่อพิจารณาชื่อเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คนใหม่ แทนคณิศ แสงสุพรรณ ที่หมดวาระไปตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค.2565

สำหรับการประชุมวาระลับนี้ เลขานุการในที่ประชุมได้เชิญผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากที่ประชุมทั้งหมด เหลือเพียงประธานในที่ประชุมและกรรมการของ กพอ.ตามรายชื่อที่กำหนดเท่านั้น

ภายหลังการประชุมวาระลับที่ใช้เวลากว่า 45 นาที สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า ที่ประชุม กพอ.ได้เห็นชอบให้ "จุฬา สุขมานพ" ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สกพอ.คนใหม่ ตามที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ "ผมจะรีบนัดหมายเลขาธิการคนใหม่มา หารือกัน เพราะมีงานหลายอย่างของอีอีซีที่จะ ต้องขับเคลื่อน และเลขาธิการคนใหม่ถือว่ามีความรู้ความสามารถที่จะขับเคลื่อนงานด้านนี้"

ธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการ รักษาการ แทนเลขาธิการ สกพอ. กล่าวว่า สำหรับผลการ คัดเลือกเลขาธิการ สกพอ.คนใหม่นั้น ที่ประชุม กพอ.มีมติเห็นให้แต่งตั้งจุฬาเป็นเลขาธิการ อีอีซีคนใหม่ โดยหลังจากนี้จะเข้ากระบวนการเจรจาค่าตอบแทนและสัญญา รวมทั้งรับทราบ ภารกิจเพิ่มเติมที่ที่ประชุม กพอ.ในวันนี้ได้มอบหมายเพิ่มเติม เมื่อเจรจาเสร็จแล้วก็จะเสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนามในสัญญาตามขั้นตอนต่อไป

"จุฬา" กล่าวว่า สำหรับวิสัยทัศน์ที่เสนอต่อคณะกรรมการสรรหา คือ "อีอีซีเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นความหวังของคนไทยและเป็นเป้าหมายของนักลงทุนและประชากรนานาชาติ"

ทั้งนี้ มีความหมายคือ อีอีซีจะเป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จที่ได้รับการอ้างอิงถึงในการบริหารงานภาครัฐยุคใหม่ ทั้งในด้านการกำหนดนโยบายและการทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ โดยประชาชนไทยเข้าใจเหตุผลและความจำเป็นของการพัฒนา และมีความเชื่อมั่นและความหวังว่ากิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของประเทศโดยรวม ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งในการบริหารงานจะมุ่งเน้นการบริหารจัดการที่ดี ความทันสมัย ความอุดมสมบูรณ์ เอกลักษณ์และคุณค่าของความเป็น ไทย และคนไทยที่จะช่วยให้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีความหลากหลาย (Diversity) และความแตกต่าง (Uniqueness) จากพื้นที่อื่น และกลายเป็นเป้าหมายสำหรับการจัดตั้งสถานที่ทำงานหรือการย้ายถิ่นฐานของประชากรนานาชาติ ซึ่งจะดึงดูดให้เกิดการลงทุนเพื่อรองรับอุปสงค์ใหม่ดังกล่าว

สำหรับ "จุฬา" ปัจจุบันอายุ 57 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี สาขานิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท Master of Laws (Maritime Law) University of Southampton, United Kingdom และปริญญาเอก Doctor of Philosophy, University of Southampton, United Kingdom

ที่ผ่านมา "จุฬา" มีบทบาทสำคัญในการช่วยรัฐบาลแก้ปัญหาสำคัญหลายเรื่อง ได้แก่ การแก้ปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความ ปลอดภัยทางด้านการบิน 33 ข้อจนสำเร็จ ก่อนที่ ICAO จะดำเนินการปลดธงแดงให้กับไทยในวันที่ 6 ต.ค.2560 การแก้ปัญหามาตรฐานการบินของไทย ผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดสำนักงานการบินพลเรือนแห่งสหภาพยุโรป (EASA)

รวมถึงการแก้ปัญหาการบินของไทย หลังสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ (FAA) ลดระดับมาตรฐานการบินไทย โดยการจัดโครงสร้างหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ในช่วง อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการกระทรวงคมนาคม

สำหรับผู้ที่จะมาเป็นเลขาธิการคนใหม่จะต้องมาขับเคลื่อนแผนงานที่สำคัญ โดยเฉพาะแผนลงทุนอีอีซี ระยะ 5 ปี (2565-2569) ที่มีเป้าหมายการลงทุนให้ได้มากกว่าเป้าหมายแผนฉบับแรก (2561-2565) สำหรับแผนการลงทุนฉบับใหม่จะทำให้มูลค่าการลงทุนในอีอีซีเพิ่มขึ้นปีละ 500,000 ล้านบาท จากเดิมปีละ 300,000 ล้านบาท ซึ่งช่วยผลักดันเศรษฐกิจเติบโตเต็มศักยภาพ 4.5-5.0% ต่อปี และให้ไทยพ้นกับดักรายได้ปานกลางก้าวสู่ประเทศพัฒนาได้ในปี 2572

เลขาธิการคนใหม่จะต้องผลักดันการทำงาน 3 ส่วน คือ

1.การต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน 200,000 ล้านบาท จากเมืองการบินภาคตะวันออก การพัฒนาพื้นที่ 30 กิโลเมตรรอบสนามบิน และพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหลักรถไฟความเร็วสูง (TOD)

2.การดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปีละ 400,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในระดับ ฐานปกติ ปีละ 250,000 ล้านบาท และการลงทุนส่วนเพิ่มที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (อีวี) ดิจิทัล การแพทย์สมัยใหม่ การขนส่งโลจิสติกส์ เกษตรสมัยใหม่และอาหาร ภายใต้บริบทเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG) รวมปีละ 150,000 ล้านบาท

3.การยกระดับชุมชนและประชาชน เร่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนระดับหมู่บ้าน พัฒนา ตลาดสด อีคอมเมิร์ซ การสร้างรายได้ให้ชุมชน เพิ่ม ยกเครื่องการศึกษา สาธารณสุขพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมและสาธารณูปโภคที่สะดวกสบาย ให้ชุมชน

ในขณะที่ภาคเอกชนต้องการให้ สกพอ. เร่งขับเคลื่อนการลงทุนในอีอีซี โดย เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มองว่า ผู้รับตำแหน่ง เลขาธิการฯ ต้องเข้าใจบริบทการลงทุนที่เป็นเมกะเทรนด์ใหม่ของโลก ทั้งการผลักดันลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ที่เกี่ยวข้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว) รวมถึงการส่งเสริมพลังงานสะอาดและพลังงานสีเขียว และการลงทุนอย่างยั่งยืนและ สมดุล ซึ่งเป็นเทรนด์การลงทุนของโลกยุคต่อไป เช่น การลงทุนของแบรนด์รถยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในไทย รวมทั้งการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อดันไทย เป็นผู้นำผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ขณะที่ จรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มองว่า สิ่งสำคัญที่ สกพอ.ต้องเร่งผลักดันคือ การดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามา ต่อเนื่อง โดยทำงานเชิงรุกร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด อาทิ การจัดโรดโชว์ต่างประเทศ พร้อมทั้งการเร่งผลักดันความคืบหน้าของโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและโครงการลงทุนซึ่งได้รับอนุมัติแล้วให้เกิดการลงทุนจริงในพื้นที่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

ต้องการให้เลขาธิการอีอีซีคนใหม่ผลักดัน New S-Curve, BCG และ EV

เกรียงไกร เธียรนุกุล

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/04/2023 6:26 am    Post subject: Reply with quote

'อีอีซี'เข็น'ไฮสปีด-อู่ตะเภา'
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, April 05, 2023 04:31

'ยูทีเอ'ลุยเมืองการบิน4หมื่นล้าน - แก้สัญญาไฮสปีดลากยาว

"จุฬา" ดันแผนดึงลงทุน 5 ปี 2.2 ล้านล้านบาท

กรุงเทพธุรกิจ "จุฬา" เลขาธิการอีอีซีคนใหม่ เร่งเครื่องทำงาน เคลียร์ 2 เมกะโปรเจกต์ หนุน "ยูทีเอ" ลงทุนเมืองการบิน อู่ตะเภา 4 หมื่นล้าน หลังมาสเตอร์แพลนเสร็จ ลดขนาดอาคารผู้โดยสาร ลุยพัฒนาคอมเพล็กซ์ รองรับท่องเที่ยว โลจิสติกส์ ซ่อมบำรุงอากาศยาน กองทัพเรือ เปิดประมูลรันเวย์ใหม่ พ.ค.นี้ เร่งเคลียร์ปมสัญญาไฮสปีดเทรน ยืนยัน "ร.ฟ.ท.-ซีพี" ไม่ยกเลิกสัญญา ดันแผนลงทุน 5 ปี 2.2 ล้านล้านบาท

การขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) เข้าสู่ปีที่ 5 เมื่อนับตั้งแต่ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้ โดยในระยะแรกเป็นการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน ขนาดใหญ่ 4 โครงการ ซึ่งขณะนี้เริ่มก่อสร้างได้เพียง 2 โครงการ คือ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 ที่มีความคืบหน้าตามแผนงาน

ในขณะที่อีก 2 โครงการยังไม่เริ่มก่อสร้าง ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัท เอเชียเอรา วัน จำกัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ลงนามไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 โดยขณะนี้ อยู่ขั้นตอนแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

รวมถึงโครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2563 โดยขณะนี้อยู่ขั้นตอนการเตรียมสงมอบพื้นที่

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งขับเคลื่อนในการเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ สกพอ.ได้แก่ การบริหารโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ 4 โครงการ เพื่อผลักดันการลงทุนหลักอีอีซี โดยจะมีการเร่งเจรจากับเอกชนเพื่อหาทางออกเพื่อบรรเทาปัญหาให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วและให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนภายในปี 2566

สำหรับความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ได้ข้อสรุปการปรับแผนการลงทุนแล้ว โดยกองทัพเรือจะเปิดประมูลก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 ความยาว 3,500 เมตร ภายในเดือน พ.ค.2566 และจะ ส่งหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ให้บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เพื่อดำเนินการก่อสร้างส่วนอาคารผู้โดยสารได้

ลดขนาดอาคารผู้โดยสาร

รวมทั้งจะเจรจาปรับแผนการก่อสร้าง โดยแบ่งการก่อสร้างเพิ่มเป็น 6 เฟส และลดขนาดอาคารผู้โดยสารลงตามดีมานต์ของอุตสาหกรรมการบินที่อยู่ระหว่างการฟื้นตัวหลังการระบาดของ โควิด-19 ทำให้แนวโน้มผู้โดยสารไม่เป็นไปตามการคาดการณ์เดิม

ทั้งนี้ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เตรียมแถลงแผนการลงทุนพัฒนา สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่าการลงทุน 40,000 ล้านบาท ซึ่งปรับจากเดิมที่มีแผนลงทุน 4,000 ล้านบาท เพื่อเป็นศูนย์กลางการบินและเมืองธุรกิจสำคัญ ดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรม ซ่อมบำรุงอากาศยาน

สำหรับพื้นที่ดังกล่าวได้รับอนุมัติสิทธิประโยชน์ 10 ปีแรกให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) และจะสนับสนุนการเป็นเมืองท่องเที่ยวและธุรกิจ 24 ชั่วโมง เป็นเขตปลอดอากรและสรรพสามิต รวมทั้งภาษีสรรพากรบางกรณี อีกทั้งสนับสนุนการออกวีซ่าและใบอนุญาตการทำงานในลักษณะ 5+5 ปี สำหรับผู้ทำงานและนักลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก

"โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกจะเดินหน้าตามแผน ซึ่งจะดึงผู้ใช้บริการเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น รวมทั้ง ปัจจัยเหล่านี้ยังเป็นดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นให้กับไฮสปีดเทรน"
แก้สัญญาไฮสปีดยังไม่จบ

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเร่งออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) และส่งมอบพื้นที่ช่วงพญาไทดอนเมือง ซึ่งขณะนี้อยู่ขั้นตอนการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนระหว่าง ร.ฟ.ท.กับบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด โดยจะเพิ่มเงื่อนไขเปิดโอกาสให้เจรจาเพื่อชดเชยและผ่อนผันให้เอกชนในกรณีเหตุสุวิสัยที่ไม่สามารถควบคุมได้

"สกพอ.ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างที่ยังตกลงกันไม่ได้ แต่ยังไม่เห็นท่าทีในการยกเลิกสัญญาจากทั้ง 2 ฝ่ายแต่อย่างใด โดยเอกชนจะยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) หลังจากที่แก้ไขสัญญาแล้ว ซึ่งยังบอกไม่ได้ ว่าจะเริ่มก่อสร้างเมื่อไหร่และ แล้วเสร็จเมื่อใด"
โชว์วิสัยทัศน์เลขาฯอีอีซีใหม่

สำหรับวิสัยทัศน์และแนวทางการบริหารงานของ สกพอ.ปี 2566-2570 เน้นมุ่งมั่นบริหารงานให้อีอีซีก้าวไปสู่ "ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ยั่งยืน เป็นความหวังของคนไทย และเป็นเป้าหมายของนักลงทุนและประชากรนานาชาติ"

ทั้งนี้ ภารกิจงานเร่งด่วนที่จะดำเนินการ คือ ทบทวนแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาอีอีซีให้สอดคล้องกับบริบทโลกในอนาคตที่จะศึกษาถึงปัจจัยจากสถานการณ์ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน เช่น ผลกระทบจาก โควิด-19 การถดถอยของเศรษฐกิจโลก การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึง แนวโน้มและทิศทางของเทรนด์อุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อทำให้แผนภาพรวมของอีอีซีฉบับใหม่รองรับการลงทุนอีก 5 ปีข้างหน้า และเพิ่มขีดความสามารถในการชักจูงนักลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ สอดคล้องรับกับแนวโน้มสถานการณ์การลงทุนของโลก

รวมทั้งแนวทางการสนับสนุนด้านการลงทุนซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญหลัก และเร่งสร้างความเชื่อมั่นดึงนักลงทุนสู่พื้นที่ ได้แก่

1.ที่ดิน (Land) ที่จะเตรียมความพร้อมและหารือร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม เพื่อจัดสรรพื้นที่เชิญชวนให้เกิดการลงทุนเจาะเฉพาะแต่ละกลุ่มธุรกิจ

2.ด้านแรงงาน (Labour) เตรียมพัฒนาทักษะแรงงานขั้นสูง นำเสนอเป็นแพ็กเกจเพื่อจูงใจ นักลงทุน ที่อีอีซีจะมีบุคลากรพร้อมรองรับการทำงานตรงความต้องการอุตสาหกรรม

3.Law and regulations เตรียมปรับปรุงกลไกทางกฎหมายและระเบียบให้ง่ายแก่การลงทุนและสามารถอำนวยความสะดวกแก่การเข้ามาประกอบกิจการ ในพื้นที่

4.Logistics infrastructure ผลักดันให้เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนประกอบการ

"สกพอ.คงเป้าหมายหลักในการดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศ 2.2 ล้านล้านบาท กระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต 5% ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายเดิมที่วางไว้และจะต้องผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด"
ดันการลงทุนปีละ4แสนล้าน

นอกจากนี้ จะมีการผลักดันลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ขับเคลื่อนโครงการเดิม เริ่ม โครงการใหม่ เพื่อดึงดูดการลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย 2.2 ล้านล้านบาท เกิดการลงทุนปีละ 4 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในฐานปกติปีละ 250,000 ล้านบาท และการลงทุนในส่วนเพิ่มที่อีอีซี เน้นการลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น การแพทย์สมัยใหม่ โลจิสติกส์ นวัตกรรมด้านเกษตร อุตสาหกรรม BCG โดยจะเน้นดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศที่มีศักยภาพตรง รวมปีละ 150,000 ล้านบาท

"อีอีซีเตรียมจัดกิจกรรมโรดโชว์ยุโรป โฟกัสที่นักลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมการแพทย์ที่อิตาลี เพื่อคุยกับบริษัทผลิตยา OEM รายใหญ่ และอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าที่สวิตเซอร์แลนด์"
นอกจากนี้ ยังเตรียมความพร้อมการบริการด้านการลงทุน ด้วยการพัฒนาระบบ OSS เชื่อมโยงกับหน่วยงานผู้มีอำนาจอนุมัติ เพื่อให้บริการอย่างเบ็ดเสร็จครบวงจรอย่างแท้จริง รวมถึงการพัฒนากำลังคนภายในของอีอีซี เพื่อสร้างให้เป็นนักขายที่มีความชำนาญเพื่อจูงใจนักลงทุนเฉพาะแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ตรง ความต้องการให้เข้าสู่อีอีซี

"ปี 2566 อยู่ช่วงโมเมนตัมการลงทุนจะเข้ามาในภูมิภาคมากขึ้น สิทธิประโยชน์ด้านการเงินจะไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจ แต่เป็นกฎระเบียบและการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนที่จะช่วย ส่งเสริม รวมทั้งต้องเจาะกลุ่ม เป้าหมายนักลงทุนยิ่งขึ้นจะเห็น ได้ชัดว่าเกิดการจองและการเข้าเจรจา การลงทุนต่อเนื่องในอีอีซี

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 เม.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42735
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2023 11:09 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'อีอีซี'เข็น'ไฮสปีด-อู่ตะเภา'
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, April 05, 2023 04:31


ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 เม.ย. 2566



‘จุฬา’ เลขาธิการ EEC คนใหม่ เข็น ‘ไฮสปีดเทรน-อู่ตะเภา’ ตอกเสาเข็ม
วันพุธ ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 6:30 น.

“จุฬา” เลขาธิการอีอีซีคนใหม่ เร่งเครื่องทำงาน เคลียร์ 2 เมกะโปรเจ็กต์ หนุน “UTA” ลงทุนเมืองการบินอู่ตะเภา 4 หมื่นล้าน หลังมาสเตอร์แพลนเสร็จ เปิดประมูลรันเวย์ใหม่ พ.ค.นี้ เร่งเคลียร์ปมสัญญาไฮสปีดเทรน ยืนยัน “ร.ฟ.ท.-ซีพี” ไม่ยกเลิกสัญญา ดันแผนลงทุน 5 ปี 2.2 ล้านล้านบาท
Key Points

‘จุฬา สุขมานพ’ เลขาธิการ สกพอ.คนที่ 2 เข้ารับหน้าที่ต่อจาก ‘คณิศ แสงสุพรรณ’
ภารกิจเร่งด่วนของอีอีซี คือการเร่งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ยังเริ่มก่อสร้างไม่ได้
UTA มีแผนพัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภารองรับท่องเที่ยว โลจิสติกส์ ซ่อมบำรุงอากาศยาน
การแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนรถไฟควมเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับ CP ยังไม่ได้ข้อสรุป

การขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เข้าสู่ปีที่ 5 เมื่อนับตั้งแต่ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้ โดยในระยะแรกเป็นการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ 4 โครงการ ซึ่งขณะนี้เริ่มก่อสร้างได้เพียง 2 โครงการ คือ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 ที่มีความคืบหน้าตามแผนงาน

ในขณะที่อีก 2 โครงการยังไม่เริ่มก่อสร้าง ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัท เอเชียเอรา วัน จำกัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ลงนามไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562 โดยขณะนี้อยู่ขั้นตอนแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

รวมถึงโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด (UTA) เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2563 โดยขณะนี้อยู่ขั้นตอนการเตรียมสงมอบพื้นที่

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งขับเคลื่อนในการเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ สกพอ.ได้แก่ การบริหารโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ 4 โครงการ เพื่อผลักดันการลงทุนหลักอีอีซี โดยจะมีการเร่งเจรจากับเอกชนเพื่อหาทางออกเพื่อบรรเทาปัญหาให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วและให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนภายในปี 2566

สำหรับความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ได้ข้อสรุปการปรับแผนการลงทุนแล้ว โดยกองทัพเรือจะเปิดประมูลก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 ความยาว 3,500 เมตร ภายในเดือน พ.ค.2566 และจะส่งหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ให้บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เพื่อดำเนินการก่อสร้างส่วนอาคารผู้โดยสารได้

ลดขนาดอาคารผู้โดยสาร

รวมทั้งจะเจรจาปรับแผนการก่อสร้าง โดยแบ่งการก่อสร้างเพิ่มเป็น 6 เฟส และลดขนาดอาคารผู้โดยสารลงตามดีมานต์ของอุตสาหกรรมการบินที่อยู่ระหว่างการฟื้นตัวหลังการระบาดของโควิด-19 ทำให้แนวโน้มผู้โดยสารไม่เป็นไปตามการคาดการณ์เดิม

ทั้งนี้ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด เตรียมแถลงแผนการลงทุนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่าการลงทุน 40,000 ล้านบาท ซึ่งปรับจากเดิมที่มีแผนลงทุน 4,000 ล้านบาท เพื่อเป็นศูนย์กลางการบินและเมืองธุรกิจสำคัญ ดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

สำหรับพื้นที่ดังกล่าวได้รับอนุมัติสิทธิประโยชน์ 10 ปีแรกให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) สนับสนุนการเป็นเมืองท่องเที่ยวและธุรกิจ 24 ชั่วโมง เป็นเขตปลอดอากรและสรรพสามิต รวมทั้งภาษีสรรพากรบางกรณี อีกทั้งสนับสนุนการออกวีซ่าและใบอนุญาตการทำงานในลักษณะ 5+5 ปี สำหรับผู้ทำงานและนักลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก

“โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกจะเดินหน้าตามแผน ซึ่งจะดึงผู้ใช้บริการเข้ามาในพื้นที่มากขึ้นรวมทั้งปัจจัยเหล่านี้ยังเป็นดีมานต์ที่เพิ่มขึ้นให้กับไฮสปีดเทรน”

แก้สัญญาไฮสปีดยังไม่จบ

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเร่งออกหนังสือเริ่มงานก่อสร้าง (NTP) และส่งมอบพื้นที่ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ซึ่งขณะนี้อยู่ขั้นตอนการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนระหว่าง ร.ฟ.ท.กับบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด โดยจะเพิ่มเงื่อนไขเปิดโอกาสให้เจรจาเพื่อชดเชยและผ่อนผันให้เอกชนในกรณีเหตุสุวิสัยที่ไม่สามารถควบคุมได้

“สกพอ.ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างที่ยังตกลงกันไม่ได้ แต่ยังไม่เห็นท่าทีในการยกเลิกสัญญาจากทั้ง 2 ฝ่ายแต่อย่างใดโดยเอกชนจะยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) หลังจากที่แก้ไขสัญญาแล้ว ซึ่งยังบอกไม่ได้ว่าจะเริ่มก่อสร้างเมื่อไหร่และแล้วเสร็จเมื่อใด”

จุฬา สุขมานพโชว์วิสัยทัศน์เลขาฯอีอีซีใหม่

สำหรับวิสัยทัศน์และแนวทางการบริหารงานของ สกพอ.ปี 2566-2570 เน้นมุ่งมั่นบริหารงานให้อีอีซีก้าวไปสู่ “ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ยั่งยืน เป็นความหวังของคนไทย และเป็นเป้าหมายของนักลงทุนและประชากรนานาชาติ”

ทั้งนี้ ภารกิจงานเร่งด่วนที่จะดำเนินการ คือ ทบทวนแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาอีอีซีให้สอดคล้องกับบริบทโลกในอนาคตที่จะศึกษาถึงปัจจัยจากสถานการณ์ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน เช่น ผลกระทบจากโควิด-19 การถดถอยของเศรษฐกิจโลก การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงแนวโน้มและทิศทางของเทรนด์อุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อทำให้แผนภาพรวมของอีอีซีฉบับใหม่รองรับการลงทุนอีก 5 ปีข้างหน้า และเพิ่มขีดความสามารถในการชักจูงนักลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ สอดคล้องรับกับแนวโน้มสถานการณ์การลงทุนของโลก

รวมทั้งแนวทางการสนับสนุนด้านการลงทุนซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญหลัก และเร่งสร้างความเชื่อมั่นดึงนักลงทุนสู่พื้นที่ ได้แก่

1.ที่ดิน (Land) ที่จะเตรียมความพร้อมและหารือร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม เพื่อจัดสรรพื้นที่เชิญชวนให้เกิดการลงทุนเจาะเฉพาะแต่ละกลุ่มธุรกิจ

2.ด้านแรงงาน (Labour) เตรียมพัฒนาทักษะแรงงานขั้นสูง นำเสนอเป็นแพคเกจเพื่อจูงใจนักลงทุน ที่อีอีซีจะมีบุคลากรพร้อมรองรับการทำงานตรงความต้องการอุตสาหกรรม

3.Law and regulations เตรียมปรับปรุงกลไกทางกฎหมายและระเบียบให้ง่ายแก่การลงทุนและสามารถอำนวยความสะดวกแก่การเข้ามาประกอบกิจการในพื้นที่

4.Logistics infrastructure ผลักดันให้เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนประกอบการ

“สกพอ.คงเป้าหมายหลักในการดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศ 2.2 ล้านล้านบาท กระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต 5% ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายเดิมที่วางไว้และจะต้องผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด”

ดันการลงทุนปีละ 4 แสนล้าน

นอกจากนี้ จะมีการผลักดันลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ขับเคลื่อนโครงการเดิม เริ่มโครงการใหม่ เพื่อดึงดูดการลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย 2.2 ล้านล้านบาท เกิดการลงทุนปีละ 4 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในฐานปกติปีละ 250,000 ล้านบาท
และการลงทุนในส่วนเพิ่มที่อีอีซี เน้นการลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น การแพทย์สมัยใหม่ โลจิสติกส์ นวัตกรรมด้านเกษตร อุตสาหกรรม BCG โดยจะเน้นดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศที่มีศักยภาพตรงรวมปีละ 150,000 ล้านบาท

“อีอีซีเตรียมจัดกิจกรรมโรดโชว์ยุโรป โฟกัสที่นักลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมการแพทย์ที่อิตาลี เพื่อคุยกับบริษัทผลิตยา OEM รายใหญ่ และอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าที่สวิตเซอร์แลนด์”

นอกจากนี้ ยังเตรียมความพร้อมการบริการด้านการลงทุน ด้วยการพัฒนาระบบ OSS เชื่อมโยงกับหน่วยงานผู้มีอำนาจอนุมัติ เพื่อให้บริการอย่างเบ็ดเสร็จครบวงจรอย่างแท้จริง รวมถึงการพัฒนากำลังคนภายในของอีอีซี เพื่อสร้างให้เป็นนักขายที่มีความชำนาญเพื่อจูงใจนักลงทุนเฉพาะแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ตรงความต้องการให้เข้าสู่อีอีซี

"ปี 2566 อยู่ในช่วงโมเมนตัมการลงทุนจะเข้ามาในภูมิภาคมากขึ้น สิทธิประโยชน์ด้านการเงินจะไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจ แต่เป็นกฎระเบียบและการอำนวนความสะดวกด้านการลงทุนที่จะช่วยส่งเสริม รวมทั้งต้องเจาะกลุ่มเป้าหมายนักลงทุนยิ่งขึ้น จะเห็นได้ชัดว่าที่ผ่านมาเกิดการจองและการเข้าเจรจาการลงทุนต่อเนื่องในอีอีซี"

เร่งยกระดับชุมชนฐานราก

นอกจากนี้ จะมีแผนงานยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่พื้นฐานร่วมกับชุมชน แผนงานที่สำคัญ ได้แก่ ผลักดันการพัฒนาบุคลากร ร่วมกับ ภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาความเป็นอยู่ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ การพัฒนาธุรกิจในพื้นที่ สร้างอาชีพเพิ่มรายได้ และผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในอีอีซี เพิ่มบทบาทเครือข่ายประชาชนในพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์และมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการพัฒนาอีอีซี

รวมทั้งมีภารกิจที่จะเข้าไปดำเนินการด้านพื้นที่และชุมชน ซึ่งถือเป็นฐากรากสำคัญ เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของชุมชนต่อเนื่องอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเศรษฐกิจชุมชนที่มีศักยภาพ โดยจะเร่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนระดับหมู่บ้าน e-commerce การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ wellness ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ อีอีซี เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงพัฒนาด้านการศึกษา และจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในอีอีซี ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

รวมทั้งจะผลักดันโครงการลงทุน PPP ใหม่ที่สำคัญ อาทิ โครงการโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ซึ่งจะยกระดับด้านบริการสาธารณสุขให้คนในพื้นที่อีอีซี ในอนาคตอันใกล้อีกด้วยเพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจ และแสดงภาพรวมความก้าวหน้าที่อีอีซี ดำเนินการได้ตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนใหม่ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก

“ยอมรับว่าตอนนี้อีอีซีแผ่วลงไปบ้าง แต่อีอีซีเป็นของดี ตั้งแต่ที่มาและจะเป็นต่อไป แม้ว่ารัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งจะอยู่คนละขั้วการเมืองกับรัฐบาลเดิม และมีนโยบายสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจในพื้นที่อื่นๆ แต่อีอีซีจะยังเดินหน้าต่อได้ด้วยกฎหมายของตัวเอง รวมทั้งความเชื่อมั่นของภาคเอกชนไทยที่เป็นผู้ลงทุนหลักในพื้นที่นี้”
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1061497

'อีอีซี'เข็น'ไฮสปีด-อู่ตะเภา' - iNews
https://inews.bangkokbiznews.com/read/458742
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
Page 2 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©