Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180067
ทั้งหมด:13491299
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2018 10:08 am    Post subject: Reply with quote

ได้ฤกษ์ตอกเข็มโมโนเรล”ชมพู-เหลือง” รฟม.เคลียร์ทล.-กทม.ส่งพท.100%
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 13 มิถุนายน 2561 เวลา 18:55:
สายสีชมพู-เหลืองเริ่มตอกหมุด ดีเดย์! บัตรคนจนขึ้นรถไฟฟ้าฟรี
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
14 มิถุนายน 2561 เวลา 09:30


รฟม.เคลียร์ทล. เคาะแบบ พร้อมส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง รถไฟฟ้า”ชมพู-เหลือง”เตรียมส่งหนังสือแจ้งกลุ่ม BSR เข้าพื้นที่เริ่มตอกเข็ม 29 มิ.ย.นี้ ส่วนกทม.เหลือสรุปตำแหน่งทางลอดอุดมสุข ยอมรับล่าช้าอย่างน้อย 3 เดือน เปิดบริการต.ค. 64 ขณะที่ส่วนต่อขยายเพิ่มเติม เข้าเมืองทอง และรัชโยธิน คาดศึกษาวิเคราะห์จบในปีนี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน และอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการ ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ระหว่าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกรมทางหลวง (ทล.) ว่า ความร่วมมือนี้เป็นไปตามนโยบาย one transport ซึ่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่ง การก่อสร้างในพื้นที่เขตทางของ ทล.จะต้องไม่รบกวนผิวจราจรและทางเท้ามาก ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานได้หารือการออกแบบรายละเอียด เพื่อจัดสรรการใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้าง และทล.สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ รฟม.ได้100%

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า ขอบเขตของพื้นที่สำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะเป็นแนวถนนติวานนท์ –แจ้งวัฒนะ-หลักสี่-รามอินทรา ส่วนสายสีเหลือง จะอยู่บนถนนศรีนครินทร์ประมาณ 2 กม.เศษ และ จุดจอดแล้วจร (Park & Ride ) ถึงบริเวณแยกเทพารักษ์ โดยได้มอบความรับผิดชอบในการก่อสร้างให้ รฟม. และได้มีการปรับแบบในบางส่วนเพื่อให้เหมาะสม เช่น สายสีชมพู ปรับแบบระยะห่างเสาตอม่อโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้า บริเวณจุดกลับรถ บนถนนติวานนท์ ประมาณ10 จุด จากเดิมระยะห่าง 30 เมตร เป็น 40 เมตร เพื่อให้รถกลับสะดวกไม่กีดขวางรถทางตรงและเพื่อความปลอดภัย และปรับลดความกว้างทางเท้าให้เหลือไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร เพื่อเบี่ยงจราจร หลักการคือจะต้องมีจำนวนช่องจราจรเท่าเดิม

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า ในวันที่ 13 มิ.ย. รฟม.จะทำหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ไปยังกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR Joint Venture (BTS บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC) โดยจะแจ้งล่วงหน้า 15 วัน เท่ากับเริ่มต้นก่อสร้างในวันที่ 29 มิ.ย.2561 โดยมีเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39เดือน) ยอมรับว่าขณะนี้การเข้าพื้นที่ล่าช้ากว่าแผน ประมาณ 3 เดือนกำหนดเปิดให้บริการสายสีชมพูและเหลืองในเดือนต.ค. 2564

“หลังจากนี้ จะเร่งคุยกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อสรุปการใช้พื้นที่ซึ่ง เหลือเพียงการยืนยันตำแหน่งทางลอด บริเวณอุดมสุข คาดว่าจะจบสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ นอกจากนี้ จุดที่ผู้โดยสาร ขึ้นลงสถานีแต่ละแห่ง จะมีการกั้นรั้วขอบเขตทางเข้าออกเพื่อไม่ให้กีดขวางจราจรบนถนน นอกจากนี้ รฟม.ยังมีคณะกรรมการดูแลความปลอดภัยการก่อสร้าง ( Safety Board) กำกับเพื่อความปลอดภัยสูงสุดด้วย”

ส่วนข้อเสนอส่วนต่อขยาย เพิ่มเติม ทั้ง2สาย คือ ช่วงต่อขยายสายสีชมพู เข้าโครงการเมืองทองธานี อีก 2สถานี ระยะทาง2.8 กิโลเมตร และช่วงต่อขยายสายสีเหลือง โดยการเชื่อต่อไปตามถนนรัชดาภิเษกไปยังโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว บริเวณแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร อีก 2สถานี ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า อยู่ระหว่างการศึกษาวิเคราะห์โครงการ คาดว่าจะสรุปได้ในปีนี้ เนื่องจากเป็นส่วนเพิ่มที่ไม่อยู่ในแผนแม่บท ดังนั้นต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ด้วยและเสนอตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 และเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ขออนุมัติก่อน

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงิน 46,643 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 45,797 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2018 10:25 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มตอกเข็มชมพู-เหลืองปลาย ก.ค.-BTS คุยพันธมิตรลงขันชิงรถไฟ 3 สนามบินจบ ส.ค.นี้
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 27 มิถุนายน 2561 - 06:46
ปรับปรุง: 27 มิถุนายน 2561 - 09:57


กลุ่ม BSR เตรียมเข้าพื้นที่ตอกเข็มรถไฟฟ้า “ชมพู-เหลือง” ปลาย ก.ค.นี้ ระบุหลัง รฟม.ส่งหนังสือให้เริ่มงานจะต้องส่งแบบและแผนจราจรให้อนุมัติก่อน คาดใช้เวลาอีก 1 เดือน ขณะที่บีทีเอสเผยเจรจาพันธมิตรไทย-เทศร่วมทุนชิงรถไฟเชื่อม 3 สนามบินกว่า 2 แสนล้านจบ ส.ค.นี้

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส แกนนำกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR Joint Venture (BTS) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ซึ่งเป็นผู้รับงานสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 53,519.50 ล้านบาท และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 51,931.15 ล้านบาท เปิดเผยว่า หลังจากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ส่งหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ในวันที่ 29 มิ.ย. 2561 ซึ่งถือเป็นการนับเริ่มต้นสัญญาอย่างเป็นทางการแล้วนั้น

กลุ่ม BSR จะจัดส่งแบบก่อสร้างและแผนการจัดจราจรให้ รฟม.อนุมัติก่อนจึงจะเริ่มเข้าพื้นที่ลงมือก่อสร้างได้จริง โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนหลังจากวันที่ 29 มิ.ย. 2561 ในการพิจารณาอนุมัติแบบและแผนการจัดจราจร โดยจะเริ่มก่อสร้างได้จริงตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค.-ต้นเดือน ส.ค. ซึ่งรูปแบบก่อสร้างออกแบบควบคู่การก่อสร้าง (Design & Build) มีเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39 เดือน)

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท รูปแบบ PPP net cost 50 ปี ซึ่งบีทีเอสได้เข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชน Request for Proposal (RFP) แล้วนั้น จะร่วมกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และบริษัท ซิโน-ไทย พันธมิตรเดิมแน่นอน ส่วนพันธมิตรรายที่ 4 หรือ 5 นั้นอยู่ในการเจรจายังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งมีทั้งนักลงทุน ผู้ประกอบการไทยและต่างชาติหลายรายให้ความสนใจในการร่วมลงทุน ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในเดือน ส.ค.นี้

ทั้งนี้ เงื่อนไขในการลงทุน จะต้องจ่ายค่าระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์กว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยต้องปรับปรุงระบบและซื้อขบวนรถเพิ่ม และรับโอนภายใน 2 ปี แม้จะยากแต่มั่นใจว่าทำได้เพราะเป็นงานที่บีทีเอสทำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าบีทีเอสต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกลุ่มไม่ต่ำกว่า 25% และได้เตรียมพร้อมทางการเงินไว้สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไว้แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/07/2018 10:49 am    Post subject: Reply with quote

รฟม. รับฟังความเห็น 'สายสีเหลือง' ขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯส่วนต่อขยาย
ฐานเศรษฐกิจ 8 July 2018

รฟม. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง (แยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน)

วันที่ 8 ก.ค. 2561 เวลา 09.00 น. นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง (แยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน) โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สำนักงานเขต องค์กรอิสระ และผู้สนใจเข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6 อาคาร A ตึกช้าง แยกรัชโยธิน ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยการประชุมฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ รวมถึงได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ ซึ่ง รฟม. จะนำไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงแนวทางการศึกษาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสมฯ ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีแนวคิดมาจากการต่อขยายโครงข่ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบรองตามแนวถนนลาดพร้าวและถนนศรีนครินทร์ ทำหน้าที่รองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และป้อนผู้โดยสารเข้าสู่โครงข่ายรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ 4 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (มีแผนเปิดให้บริการในปี 2566) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ (มีแผนเปิดให้บริการปลายปี 2561) โดยหากสามารถต่อขยายโครงข่ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากบริเวณแยกรัชดา – ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนรัชดาภิเษก จนถึงบริเวณแยกรัชโยธิน เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต (มีแผนเปิดให้บริการในปี 2563) ก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในการขนส่งผู้โดยสารด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของ รฟม. ในการเป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง (แยกรัชดา – ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน) ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับระบบรถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง คือ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) ที่มีสมรรถนะสูง สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 25,000 - 30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีลักษณะโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ที่สถานีรัชดา (YL-01) ซึ่งอยู่ใกล้กับอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) สถานีลาดพร้าว ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยทางวิ่งจะอยู่เหนือแนวเกาะกลางของถนนรัชดาภิเษก มีสถานี YLEX-01 อยู่บริเวณหน้าอาคารจอดรถของสำนักงานศาลยุติธรรม จากนั้นวิ่งไปตามแนวเกาะกลาง แล้วเบี่ยงแนวเส้นทางออกจากเกาะกลางไปทางซ้ายตามแนวถนนรัชดาภิเษก เพื่อหลบอุโมงค์ทางลอดบริเวณแยกรัชโยธิน มีสถานี YLEX-02 ตั้งอยู่เหนือทางเท้าบริเวณสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน และมีทางเดินเชื่อมยกระดับ (Skywalk) ไปยังสถานีพหลโยธิน 24 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต รวมระยะทางส่วนต่อขยายประมาณ 2.6 กิโลเมตร มีขอบเขตพื้นที่ศึกษาอยู่ห่างจากศูนย์กลางแนวเส้นทางออกไปข้างละ 500 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 แขวง ได้แก่ แขวงจอมพล แขวงจันทรเกษม แขวงจตุจักร และแขวงลาดยาว ในเขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ถนนรัชดาภิเษก เป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สำนักงานศาลยุติธรรม ศาลอาญา สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลอุทธรณ์ ศาลแพ่ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นต้น สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามข่าวสาร รฟม. ได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th เฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2018 11:36 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม. รับฟังความเห็น 'สายสีเหลือง' ขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯส่วนต่อขยาย
ฐานเศรษฐกิจ 8 July 2018


รฟม.ศึกษาต่อ “โมโนเรลสีเหลือง” เพิ่ม 2 สถานีเชื่อมสายสีเขียว “แยกรัชโยธิน”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 8 กรกฎาคม 2561 12:32
ปรับปรุง: 8 กรกฎาคม 2561 12:55



รฟม.เปิดรับฟังความเห็นประชาชนส่วนต่อขยายโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง จากแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม. เพื่อเชื่อมต่อกับสายสีเขียวเหนือ โดยจะวางทางวิ่งไปตามแนวเกาะกลางถนนรัชดาภิเษก มี 2 สถานี หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม และ สน.พหลโยธิน

วันนี้ (8 ก.ค.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง (แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน) โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน สำนักงานเขต องค์กรอิสระ และผู้สนใจเข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6 อาคาร A ตึกช้าง แยกรัชโยธิน ถนนพหลโยธิน

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า การศึกษารายละเอียดความเหมาะสมฯ ส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีแนวคิดมาจากการต่อขยายโครงข่ายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบรองตามแนวถนนลาดพร้าวและถนนศรีนครินทร์ ทำหน้าที่รองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และป้อนผู้โดยสารเข้าสู่โครงข่ายรถไฟฟ้าสายอื่นๆ 4 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (มีแผนเปิดให้บริการในปี 2566) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ (มีแผนเปิดให้บริการปลายปี 2561)

หากสามารถต่อขยายโครงข่ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนรัชดาภิเษก จนถึงบริเวณแยกรัชโยธิน เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (มีแผนเปิดให้บริการในปี 2563) ก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในการขนส่งผู้โดยสารด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของ รฟม.ในการเป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง (แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน) ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับระบบรถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง คือ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) ที่มีสมรรถนะสูง สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 25,000-30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีลักษณะโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่สถานีรัชดา (YL-01) ซึ่งอยู่ใกล้กับอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) สถานีลาดพร้าว ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ด้านทางวิ่งจะอยู่เหนือแนวเกาะกลางของถนนรัชดาภิเษก มีสถานี YLEX-01 อยู่บริเวณหน้าอาคารจอดรถของสำนักงานศาลยุติธรรม จากนั้นวิ่งไปตามแนวเกาะกลาง แล้วเบี่ยงแนวเส้นทางออกจากเกาะกลางไปทางซ้ายตามแนวถนนรัชดาภิเษก เพื่อหลบอุโมงค์ทางลอดบริเวณแยกรัชโยธิน มีสถานี YLEX-02 ตั้งอยู่เหนือทางเท้าบริเวณสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน และมีทางเดินเชื่อมยกระดับ (Skywalk) ไปยังสถานีพหลโยธิน 24 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รวมระยะทางส่วนต่อขยายประมาณ 2.6 กิโลเมตร มีขอบเขตพื้นที่ศึกษาอยู่ห่างจากศูนย์กลางแนวเส้นทางออกไปข้างละ 500 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 แขวง ได้แก่ แขวงจอมพล แขวงจันทรเกษม แขวงจตุจักร และแขวงลาดยาว ในเขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

การรับฟังความเห็นฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ รวมถึงได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ ซึ่ง รฟม.จะนำไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงแนวทางการศึกษาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และสรุปผลการศึกษาในเดือน ก.ค.นี้

ทั้งนี้ ถนนรัชดาภิเษกเป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สำนักงานศาลยุติธรรม ศาลอาญา สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลอุทธรณ์ ศาลแพ่ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นต้น สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามข่าวสาร รฟม.ได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th เฟซบุ๊ก แฟนเพจ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ Call Center รฟม. โทร. 0-2716-4044

//----------------------

เร่งสรุปสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลืองแยกรัชดา-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ปักหมุด2สถานีเชื่อม4รถไฟฟ้า

วันที่ 8 กรกฎาคม 2561 - 13:45 น.

วันที่ 8 กรกฎาคม 2561 นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง (แยกรัชดา – ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน)

โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สำนักงานเขต องค์กรอิสระ และผู้สนใจเข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6 อาคาร A ตึกช้าง แยกรัชโยธิน ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

โดยการประชุมฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ ร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ รวมถึงได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ ซึ่ง รฟม. จะนำไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงแนวทางการศึกษาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น




งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสมฯ ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีแนวคิดมาจากการต่อขยายโครงข่ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบรองตามแนวถนนลาดพร้าวและถนนศรีนครินทร์ ทำหน้าที่รองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และป้อนผู้โดยสารเข้าสู่โครงข่ายรถไฟฟ้าสายอื่นๆ 4 สาย

ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแผนเปิดให้บริการในปี 2566 รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link)และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ มีแผนเปิดให้บริการปลายปี 2561

โดยหากสามารถต่อขยายโครงข่ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากบริเวณแยกรัชดา – ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนรัชดาภิเษก จนถึงบริเวณแยกรัชโยธิน เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต มีแผนเปิดให้บริการในปี 2563 ก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในการขนส่งผู้โดยสารด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของ รฟม. ในการเป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง (แยกรัชดา – ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน) ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับระบบรถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง คือ เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) ที่มีสมรรถนะสูง สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 25,000 – 30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง



มีลักษณะโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ที่สถานีรัชดา (YL-01) ซึ่งอยู่ใกล้กับอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) สถานีลาดพร้าว ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

โดยทางวิ่งจะอยู่เหนือแนวเกาะกลางของถนนรัชดาภิเษก มีสถานี YLEX-01 อยู่บริเวณหน้าอาคารจอดรถของสำนักงานศาลยุติธรรม จากนั้นวิ่งไปตามแนวเกาะกลาง แล้วเบี่ยงแนวเส้นทางออกจากเกาะกลางไปทางซ้ายตามแนวถนนรัชดาภิเษก เพื่อหลบอุโมงค์ทางลอดบริเวณแยกรัชโยธิน

มีสถานี YLEX-02 ตั้งอยู่เหนือทางเท้าบริเวณสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน และมีทางเดินเชื่อมยกระดับ (Skywalk) ไปยังสถานีพหลโยธิน 24 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต รวมระยะทางส่วนต่อขยายประมาณ 2.6 กิโลเมตร มีขอบเขตพื้นที่ศึกษาอยู่ห่างจากศูนย์กลางแนวเส้นทางออกไปข้างละ 500 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 แขวง ได้แก่ แขวงจอมพล แขวงจันทรเกษม แขวงจตุจักร และแขวงลาดยาว ในเขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ ถนนรัชดาภิเษก เป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สำนักงานศาลยุติธรรม ศาลอาญา สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลอุทธรณ์ ศาลแพ่ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นต้น
https://www.youtube.com/watch?v=wyMQw1vXYek


Last edited by Wisarut on 09/07/2018 12:25 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2018 12:06 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านหวั่นโมโนเรลเสียงดัง

อาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2561 เวลา 18.16 น.
ชาวบ้านหนุนทำส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน แอบกังวลปัญหาเสียงดัง-น้ำท่วม-รถติด แนะเพิ่มจำนวนสถานี ขณะที่ รฟม. เตรียมเข็นโครงการเสนอคมนาคม ส.ค.นี้.

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ห้องประชุมบอลรูมชั้น 6 อาคาร A ตึกช้าง แยกรัชโยธิน นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เป็นประธานประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการ ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง (แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน) โดยมีประชาชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกว่า 200 คน

นายสาโรจน์ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นส่วนต่อขยายจะเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่สถานีรัชดา รวมระยะทาง 2.6 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 3,800 ล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) ยกระดับตลอดแนว ความเร็วสูงสุด 80 กม.ต่อชม. รับผู้โดยสารได้ 25,000-30,000 คนต่อชั่วโมง(ชม.)ต่อทิศทาง มี 2 สถานี ได้แก่ สถานี YLEX-01 อยู่หน้าอาคารจอดรถสำนักงานศาลยุติธรรม และสถานี YLEX-02 อยู่บริเวณ สน.พหลโยธิน สถานีนี้มีทางเดินเชื่อมยกระดับ 350 เมตร ไปสถานีพหลโยธิน 24 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ค่าโดยสารใช้อัตรารวมกับสายหลัก14-42 บาท

นายสาโรจน์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้จะนำข้อเสนอแนะต่างๆ จากการประชุมไปปรับปรุง จากนั้นในเดือน ส.ค.61 จะเสนอให้คณะกรรมการ รฟม. และกระทรวงคมนาคมพิจารณา หากได้รับความเห็นชอบจะเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อบรรจุในแผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ต่อไป เพราะเป็นโครงการใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในแผนแม่บท คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างในกลางปี 62 และเปิดให้บริการได้ในปี 64

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประชาชนสลับกันลุกขึ้นแสดงความคิดเห็น ส่วนใหญ่สนับสนุนการดำเนินโครงการ เพราะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนสายหลัก แต่ยังกังวลเรื่องมลภาวะทางเสียงเมื่อเปิดใช้งาน ปัญหาน้ำท่วม และการจราจรติดขัดช่วงก่อสร้าง รวมถึงมองว่าสถานีมีน้อยเกินไป หากเพิ่มไม่ได้ก็ขอให้ขยับสถานีให้อยู่ในบริเวณชุมชนมากขึ้น.

https://www.dailynews.co.th/economic/653779
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2018 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

รุมชิงที่ 'ตลาดโชคชัย 4' ขายยกแปลง 36 ไร่ กว่า 3 พันล้าน รับรถไฟฟ้าสีเหลือง

ออนไลน์เมื่อ 4 กรกฎาคม 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,380
วันที่ 5-7 กรกฎาคม 2561 หน้า 01-02


ทุนใหญ่อสังหาฯ จ้องทำเลทองตลาดโชคชัย 4 ขึ้นคอนโดมิเนียม รับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เจ้าของที่บอกขายยกแปลง 36 ไร่ มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท ... กทม. เร่งปรับผังเมืองจากสีเหลืองเป็นสีส้ม ขึ้นตึกสูงไม่จำกัด

หลังจากบริษัทรับเหมาเริ่มเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ส่งผลให้เจ้าของที่ดินและนายหน้าต่างนำที่ดินแปลงใหญ่ออกขาย ล่าสุด ตลาดโชคชัย 4 ไข่แดงบนถนนลาดพร้าว กำลังจะถูกขายให้กับนายทุนรายใหญ่ โดยผู้ค้าในตลาดหลายรายต่างระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ได้รับการต่อสัญญาเช่าที่กำลังจะหมดลงในวันที่ 17 ก.ค. 2561 โดยเฉพาะที่ดินที่เป็นตึกแถวจำนวนกว่า 100 คูหา เนื้อที่ 16 ไร่ ล็อตแรก มูลค่า 2,400 ล้านบาท ที่ประกาศขายก่อน จากทั้งหมด 36 ไร่ จะขายยกแปลงกว่า 3,000 ล้านบาท

เลิกสัญญาผู้ค้าโชคชัย 4

"ฐานเศรษฐกิจ" สอบถามพนักงานของ บริษัท ลาดพร้าวโชคชัยพัฒนา จำกัด ของ นายบุญเอก มีนะโยธิน ซึ่งตั้งอยู่ในซอยลาดพร้าว 55/1 ผู้เช่าที่ดินพัฒนาเป็นศูนย์การค้าโชคชัย 4 บนเนื้อที่ 36 ไร่ มานานกว่า 30 ปี ยอมรับว่า เจ้าของที่ดินไม่ต่อสัญญา ล่าสุด บริษัทได้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้เช่าทั้งหมดแล้ว โดยเฉพาะตึกแถวทั้งเวิ้งริมถนนลาดพร้าว จำนวนกว่า 100 คูหา ตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อท็อปส์ ในเครือเซ็นทรัล ยาวไปถึงอาบอบนวด ‘วีทู’ เนื้อที่ 16 ไร่ ซึ่งแปลงนี้เจ้าของบอกขายจริงกว่า 2,000 ล้านบาท ส่วนที่ดินอีกแปลงยังเหลือสัญญาอีก 2 ปี คือ พื้นที่ตลาดสดและตลาดนัด พนักงานคนดังกล่าวยอมรับว่า เสียดายเช่นเดียวกับผู้ค้ารายย่อยที่ไม่ต้องการย้ายออก

ส่วนเจ้าหน้าที่เก็บเงินเข้า-ออกรถยนต์ เล่าว่า บริษัท ลาดพร้าวฯ บุกเบิกที่ดินมาตั้งแต่ที่ดินยังเป็นป่าบอน ราคาที่ดินต่ำมาก กระทั่งวันนี้มีรถไฟฟ้าเข้ามา ต้องยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลง แต่จะขาย 36 ไร่ ราคา 3,000 ล้านบาท เชื่อว่าไม่ง่ายนัก เพราะที่ดินมีหลายเจ้าของที่ยังตกลงกันไม่ได้ ทั้งที่มีนักลงทุนเข้ามาติดต่อซื้อถึง 4 ราย ซึ่งทำเลเหมาะขึ้นคอนโดมิเนียมมากที่สุด


นางบุญเจือ ครุธกาศ ผู้เช่าตึกแถวในตลาดโชคชัย 4 ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งจาก บริษัท ลาดพร้าวโชคชัยพัฒนา ให้ต่อสัญญา ทั้งที่อายุสัญญาจะหมดลงวันที่ 17 ก.ค. นี้ ซึ่งชัดเจนว่า พื้นที่นี้กำลังเปลี่ยนมือ ประกอบกับเพื่อน ซึ่งเป็นนายหน้า ได้ส่งแผนที่ของตลาดโชคชัย 4 ที่จะขายทั้งหมด 36 ไร่ ไม่ใช่เฉพาะตึกแถวเท่านั้น อย่างไรก็ดีที่ผ่านมา ห้างเซ็นทรัลเคยติดต่อขอซื้อ แต่เจ้าของไม่ยินยอม จึงไปซื้อที่ดินเลียบทางด่วน เปิดเป็น ห้างเซ็นทรัล อีสต์วิลล์ ในปัจจุบันแทน


ที่ดินแพงวาละ 4-5 แสน
นายเลิศมงคล วราเวณุชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดวา เรียลเอสเตท จำกัด อุปนายกและเลขาธิการ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สะท้อนว่า ทำเลบนถนนลาดพร้าวถือว่ามีศักยภาพสูง เชื่อมการเดินทางได้หลายเส้นทาง เมื่อมีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองผ่าน ยิ่งเพิ่มความสะดวกให้กับผู้อยู่อาศัยย่านนี้ โดยเฉพาะย่านชุมชนใหญ่ เช่น โชคชัย 4 , บางกะปิ แต่การใช้ประโยชน์ที่ดินยังเป็นพื้นที่สีเหลืองที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย กทม. ควรเพิ่มพื้นที่พัฒนาเป็นพื้นที่สีน้ำตาล ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ตลอดทั้งแนวที่รถไฟฟ้าผ่าน





สำหรับการประกาศขายที่ดินของตลาดโชคชัย 4 ทราบว่า มีการประกาศขายมาระยะหนึ่ง เนื้อที่ 16 ไร่ ราคาตารางวาละ 4-5 แสนบาท คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท ถือเป็นราคาที่สูงมาก ซึ่งทำเลและแปลงที่ดินเหมาะกับบริษัทระดับท็อป 5 ที่จะพัฒนาคอนโดมิเนียมราคา 2 ล้านบาทบวกลบ หรือ 7-8 หมื่นบาทต่อตารางเมตร ได้แก่ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) , บมจ.พฤกษา , บมจ.เอพีไทย , บมจ.ออริจิ้น เป็นต้น

ส่วนกรณีห้างเซ็นทรัลไม่น่าตัดสินใจซื้อ เนื่องจากทำเลโชคชัย 4 ใกล้กับเซ็นทรัลลาดพร้าวและเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ เลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ และใกล้กับเซ็นทรัลพระราม 9 แต่หากขายแปลงใหญ่กว่า 30 ไร่ ก็มีโอกาสเป็นไปได้

ขณะที่ บริษัทซื้อที่ดินขนาด 1 ไร่ ในซอยลาดพร้าว 88 เมื่อ 2 ปีก่อนที่จะมีรถไฟฟ้ามา ราคาตารางวาละ 1 แสนบาท เนื่องจากอยู่ในซอย ล่าสุด พัฒนาบ้านแฝดหรูจำนวน 6 หลัง ขาย





ลากสถานีลงหน้าตลาด
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม. ได้ส่งมอบพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ให้กับบริษัทเอกชนผู้ชนะประมูลไปแล้ว ทั้งนี้ พื้นที่เวนคืนบริเวณสถานีโชคชัย 4 ส่วนใหญ่เป็นตึกแถวเก่า 4-5 อาคาร รวม 2 ฝั่ง บริเวณด้านหน้าของตลาดโชคชัย 4 เพื่อก่อสร้างเป็นบันไดขึ้นลงสถานีสำหรับค่าชดเชย รฟม. จ่ายในราคาตลาด

ด้าน นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้บีทีเอสเข้าพื้นที่ ส่วนทำเลโชคชัย 4 ขณะนี้ยังไม่ได้เข้าไปศึกษา ซึ่งเป็นภาพรวมของถนนลาดพร้าว เป็นทำเลที่มีศักยภาพสูง

ผัง กทม. เอื้อปูสีส้มยกแผง

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร ระบุว่า ความชัดเจนของรัฐบาลต่อการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่งผลให้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับที่อยู่ระหว่างปรับปรุง ต้องปรับสีการใช้ประโยชน์ที่ดินตลอดแนว โฟกัสถนนลาดพร้าว ตลาดโชคชัย 4 ปรับเป็นพื้นที่สีส้มประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ย.5-6 FAR 4-5 ต่อ 1 ขึ้นตึกสูงไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับขนาดแปลงที่ดิน เทียบจากปัจจุบันเป็นพื้นที่สีเหลือง ประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นน้อย สร้างคอนโดมิเนียมขนาดกลางได้ประมาณ 5,000 ตารางเมตร


เปิดขายใหม่กว่า 9 พันหน่วย

นายสุรเชษฐ กองชีพ ผู้อำนวยการวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ ไรส์แลนด์ ประเทศไทย กล่าวว่า พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะเป็นพื้นที่ที่มีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ค่อนข้างมาก ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เนื่องด้วยเป็นทำเลที่มีความพร้อมและเป็นชุมชนดั้งเดิมมาก่อน ทั้งเส้นทางรถไฟใต้ดินที่ผ่านส่วนหนึ่งของถนนลาดพร้าวและพื้นที่ตลอดทั้ง 2 ฝั่งของถนนลาดพร้าว ที่มีความเป็นชุมชนและมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ครบครัน ทั้งนี้ คาดการณ์ ณ ไตรมาส 1 ปี 2561 พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่สะสม จำนวนรวมกัน 9,190 หน่วย โดยอัตราการขายของโครงการคอนโดมิเนียมทั้งหมดในพื้นที่ที่ประมาณ 88%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2018 10:36 pm    Post subject: Reply with quote

ถนนลาดพร้าวอ่วมปิด 2 เลน 3 ปี สร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเริ่มพรุ่งนี้แนะเลี่ยงใช้ทางลัดออกรัชดา
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 - 19:23 น.
news
เริ่มพรุ่งนี้! ปิดถนนลาดพร้าวฝั่งละ 1 ช่องทาง สร้างรถไฟฟ้า 3 ปี
วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 19:56น. 31 ก.ค. 2561

พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รองผบช.น.) กล่าวว่า จากการที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) จะปิดถ.ลาดพร้าวในบางช่วงและในบางช่องทาง และจะยกเลิกช่องทางพิเศษ (Reversible Lane) บริเวณขาออก ถ.ลาดพร้าว ตั้งแต่ซ.ลาดพร้าว 61 – ลาดพร้าว 87 โดยในวันที่ 1 ส.ค.จะยกเลิกตั้งแต่ช่วงแยกบางกะปิ(ลาดพร้าว138)-โชคชัย4 (ลาดพร้าว 51)



และในวันที่ 20 ส.ค. จะยกเลิกในช่วงแยกโชคชัย4-แยกรัชดา-ลาดพร้าว และในจุดที่ 2 ตั้งแต่ซ.ลาดพร้าว 43 – หน้าตลาดลาดพร้าวสะพาน 2 จะทำให้ถ.ลาดพร้าวทั้งขาเข้าและขาออกจะเหลือช่องจราจรเพียงด้านละ 2 ช่องเท่านั้น เพื่อใช้พื้นที่ก่อสร้างสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เป็นระยะเวลา 3 ปีตามระยะเวลาดำเนินการ

ที่ประชุมจึงมีความเห็นร่วมกันว่า จะเปิดให้ประชาชนใช้เส้นทางเลี่ยงถ.ลาดพร้าวแทนดังนี้ ในช่องทางขาออก เดิมใช้ทางพิเศษเลี้ยวขวาออกถ.ลาดพร้าว จะต้องไปใช้ซอยลัดด้านในเพื่อไปออกถ.รัชดาภิเษก หรือถ.ประดิษฐมนูธรรมแทน เช่น ซ.ลาดพร้าว 35 ซ.ลาดพร้าว 41(ภาวนา)และถ.โชคชัย 4 ไปออกซ.รัชดา 30, 32 (อาภาภิรมย์) และ 36 (เสือใหญ่อุทิศ)

ส่วนฝั่งขาเข้า มีเส้นทางลัดโดยให้ใช้ซ.ลาดพร้าว 64 และซ.ลาดพร้าว 80 เพื่อไปออกถ.รัชดาภิเษก ช่วงซ.18 และบริเวณแยกรัชดา-สุทธิสาร โดยกำชับ รฟม.ต้องไปติดป้ายประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมองเห็นมากขึ้น ซึ่งคาดว่าปัญหาจราจรจะคลี่คลายมากขึ้นเมื่ออุโมงค์บริเวณแยกรัชโยธินเปิดใช้ในวันที่ 31 ต.ค.นี้ และเมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเชียวเหนือแล้วเสร็จในปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/08/2018 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

ตร.แจงปิด'ถ.ลาดพร้าว'สร้างรถไฟฟ้า ทำรถติดวินาศทั่วกรุง เรียก'รฟม.'ถกแก้ด่วน
แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561, 15.53 น.

วันที่ 4 สิงหาคม พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.น. ได้ออกมาเปิดเผยถึงกรณีเกิดการจราจรติดขัดอย่างหนักทั่ว กทม. เมื่อช่วงเย็นต่อเนื่องถึงกลางดึกวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า เหตุดังกล่าวเป็นผลจากการปิดการจราจรบนถนนลาดพร้าวทั้งฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก 1 ช่องทางชิดเกาะกลางในหลายจุด เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง

โดยตั้งแต่เวลา 14.00 น. เริ่มเกิดปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าวฝั่งขาออก ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรพยายามเร่งระบายให้รถเคลื่อนตัวได้ จนกระทั่งถึงช่วงเวลา 17.00 น. ถนนลาดพร้าวก็เริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤติ รถติดขัดจนหยุดนิ่ง ท้ายแถวสะสมมาถึงแยกรัชดาลาดพร้าวและห้าแยกลาดพร้าว ทำให้รถติดขัดไปถึงถนนรัชดาภิเษกทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ท้ายแถวสะสมของแต่ละด้านพันต่อเนื่องไปถึงถนนพระราม 9 เข้าถนนดินแดง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และพันต่อถึงกรุงเทพชั้นใน ส่วนอีกจุดคือถนนพหลโยธิน และถนนวิภาวดีรังสิต เนื่องจากรถไม่สามารถเข้ารัชวิภาได้ ทำให้ท้ายแถวสะสม ขณะที่ถนนพหลโยธิน ท้ายแถวสะสมมาจาก ห้าแยกลาดพร้าว โดยสรุปคือ รถติดขัดพันกันต่อเนื่องครึ่งกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการเร่งระบายรถจนคลี่คลายและเส้นอื่นๆก็คลี่คลายตามไปด้วย

ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น ตั้งแต่คืนวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา หลังเริ่มปิดการจราจร แต่ปัญหายังไม่เข้าขั้นวิกฤต เนื่องจากรถทยอยเดินทางกลับบ้านในเวลาเหลื่อมกัน แต่พอถึงวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่เดินทางกลับพร้อมกัน ทำให้รถสะสมบนถนนลาดพร้าวจำนวนมาก อีกทั้งจุดกลับรถและจุดเข้าซอยสำคัญต่างๆ ถูกปิดจากแนวก่อสร้างทำให้ไม่สามารถระบายรถออกจากพื้นที่ได้

สำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นจะเรียกตัวแทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวมถึงผู้รับเหมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาหารือแนวทางการแก้ไขอีกครั้ง เพราะหากปล่อยไว้ในลักษณะนี้ทุกช่วงวันศุกร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์จะเกิดวิกฤตเช่นนี้อีก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2018 6:24 pm    Post subject: Reply with quote

เผื่อเวลา-หาทางลัดใช้เลี่ยง วิกฤติอีกสร้างรถไฟฟ้า3สี
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
อังคารที่ 7 สิงหาคม 2561 เวลา 08.00 น.


สัปดาห์นี้พาไปดูวิกฤติเมืองกรุง ผลกระทบสร้างรถไฟฟ้า 3 สี หายสงสัยทำไมช่วงนี้รถติดหนึบ ต้องนั่งแช่อยู่บนรถ 2-3 ชม.



หลายคนบ่นอุบ ทำไมท้องถนนกทม. ช่วงนี้ถึงติดหนึบ การจราจรกลับมาวิกฤติอีกครั้ง นั่นเป็นเพราะว่า...มีผลกระทบจากการปิดถนนลาดพร้าว เพื่อก่อสร้าง “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” นั่นเอง

พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล บอกว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เริ่มปิดถนนลาดพร้าวด้านละ 1 ช่องจราจร รวม 2 ช่องไปกลับ จากที่มี 6 ช่องจราจร เหลือผิวจราจร 4 ช่องไปกลับ พร้อมยกเลิกช่องทางพิเศษวิ่งสวนเลนในช่วงเช้าที่เคยระบายรถขาเข้าเมือง ทำให้ท้ายแถวถนนลาดพร้าวขาเข้า ยาวเหยียดหลายกิโลเมตรถึงแยกนิด้า

ส่วนขาออกสะสมถึงแยกรัชดาฯ-ลาดพร้าวและห้าแยกลาดพร้าว พันถนนรัชดาภิเษกทั้ง 2 ฝั่งเข้าออก กระทบถนนพระราม 9 เข้าถนนดินแดง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม.ชั้นในติดล็อกเป็นวงแหวน ถนนพหลโยธิน และถนนวิภาวดีรังสิตก็หยุดนิ่ง เพราะเข้ารัช-วิภาไม่ได้ รถติดพันกินพื้นที่ครึ่งกทม.



“เมื่อเย็นวันศุกร์ ตำรวจต้องใช้เวลากว่า 3 ชม. เร่งระบายรถจนกว่าจะคลี่คลาย สัปดาห์นี้จะเรียกตัวแทนรฟม. รวมถึงผู้รับเหมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือแนวทางว่าจะช่วยกันลดวิกฤติรถติดได้อย่างไรบ้าง”

กระทรวงคมนาคม ภายใต้รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงทุนมหาศาลเพื่อพลิกโฉมการเดินทางของคนไทยทุกโหมด โดยเฉพาะระบบรางที่โหมก่อสร้างทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน เชื่อมโยงการเดินทางทั่วประเทศให้แล้วเสร็จภายในปี 72

ในส่วนของกทม. และปริมณฑล ลุยเต็มสูบก่อสร้างรถไฟฟ้าหลากสี ตามแผนแม่บทระยะที่ 1 ให้เสร็จภายในปี 65 จะทำให้กทม. มีรถไฟฟ้ายาวถึง 464 กม. ขึ้นแท่นมหานครระบบรางอันดับ 3 ของโลกรองจากเซี่ยงไฮ้ที่จีน และกรุงโซล เกาหลีใต้ มีระบบราง 588 กม. และ 508 กม.ตามลำดับ โค่นแชมป์เก่าอย่างกรุงลอนดอน อังกฤษที่มี 402 กม. นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา 394 กม. และมหานครโตเกียว ญี่ปุ่น 203 กม.

ในปีนี้มีรถไฟฟ้าถึง 3 สี ที่ต้องลงพื้นที่ก่อสร้างพร้อมกันและปิดถนนนาน3 ปีเต็มๆ ประกอบด้วยรถไฟฟ้าโมโนเรล หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว 2 สาย คือ สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30 กม. จุดที่กระทบอย่างหนัก คือ ถนนลาดพร้าว ตำรวจแนะนำเผื่อเวลาเดินทาง 2-3ชม. และแนะนำบริษัทเอกชนและโรงเรียนเหลื่อมเวลาเรียนและเวลาทำงาน จะได้เดินทางไม่พร้อมกันตูมเดียว



ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กำลังพิจารณาจัดรถชัทเทิลบัสรับส่งประชาชน เพื่อจูงใจให้ลดปริมาณการใช้รถส่วนตัวระหว่างก่อสร้าง

ส่วนโมโนเรลสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วางเสาเข็มต้นแรกบริเวณแยกลาดปลาเค้าแล้ว โดยรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า-ประปา ตามแนวถนนติวานนท์จนถึงรามอินทราเสร็จเกือบ100 % เหลือจากถนนรามอินทราที่เข้าถนนสุขาภิบาล3 (ตลาดมีนบุรี) เริ่มเข้าพื้นที่แล้วอีกไม่นานก็จะเริ่มปิดการจราจรเต็มรูปแบบเช่นกัน โดยวันที่ 20 ส.ค.นี้ นายกรัฐมนตรี จะไปเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโครงการโมโนเรล 2 สายแรกของไทย เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย



อีกโครงการ คือ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ระยะทาง 35.4 กม. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) ผู้รับเหมาได้ประกอบหัวเจาะ และกำลังทดสอบระบบการทำงานของหัวขุดเจาะอุโมงค์ สัญญาที่ 3 งานโยธาส่วนใต้ดิน (ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า) ที่โรงงาน MRP Engineering จ.ชลบุรี เตรียมความพร้อมในการขุดเจาะพื้นที่จริงวันที่ 9 ม.ค.62 โดยขณะนี้ผู้รับเหมาได้ปิดถนนรามคำแหงหลายจุด เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค จึงเป็นอีกจุดที่มีปัญหาการจราจรอัมพาตเช่นกัน 



เมื่อช่องจราจรถนนเมืองกรุงหายไป และถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า สวนทางกับปริมาณรถที่มีแต่จะเพิ่มขึ้น ล่าสุดกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เผยสถิติจดทะเบียนรถใหม่ทั่วประเทศ ช่วงครึ่งปีแรก 61 (ม.ค.-มิ.ย.) รวม 1,614,576 คัน เพิ่มขึ้นจากครึ่งปีแรกของปี 60 ถึง 1.9% โดยรถจยย.มีสถิติจดทะเบียนใหม่สูงสุด 1,008,486 คัน รองลงมารถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 373,063 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) 141,271 คัน รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รถแท็กซี่) 8,094 คัน รถจยย.สาธารณะ 1,911 คัน ส่วนรถบรรทุก 34,755 คัน เพิ่มขึ้น 9.2% ขณะที่รถโดยสารมี 6,186 คัน เพิ่มขึ้น 15.7%

ส่งผลให้จำนวนรถจดทะเบียนสะสมทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย.61) รวม 38,969,601 คัน เป็นรถจยย. 20,709,434 คัน รถเก๋ง 9,074,573 คัน รถกระบะ 6,527,058 คัน รถแท็กซี่ 84,005 คัน รถจยย.สาธารณะ 188,171 คัน รถบรรทุก 1,108,671 คัน และรถโดยสาร 160,977 คัน ล้นทะลักท้องถนนโดยเฉพาะกทม. เมืองที่ติดแชมป์โลกด้วยปัญหารถติด

เข้าใจหัวอกคนใช้รถส่วนตัว ว่าเป็นเรื่องยากและลำบาก ที่จะให้เปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ขนส่งสาธารณะ อย่างรถไฟฟ้าบีทีเอส เอ็มอาร์ที หรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เพราะเส้นทางยังไม่คลอบคลุม แถมต้องลุ้นกันรายวันว่าจะ “ขัดข้องหรือไม่” แต่ถ้าเดินรถราบรื่นก็ประกันเวลาและสะดวกสบาย ส่วนที่ใช้รถเมล์ก็ต้องโหนต้องทนนั่งแกร่ว เสียเวลาบนท้องถนนนานขึ้นไปอีก เพราะไม่มีทางเลือก 

ดังนั้นต้องทำใจ ศึกษาทางลัดทางเลี่ยง รวมทั้งเผื่อเวลาเดินทางให้มากขึ้น รักษาวินัยจราจร อย่าเติมปัญหาให้ท้องถนน อดทนเพื่ออนาคตอันสดใส ให้กทม. เป็นมหานครระบบรางของโลก.
................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2018 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟม. ไฟเขียวผุดส่วนต่อขยายโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-รัชโยธิน อีก 2.6 ก.ม.

วันที่ 15 สิงหาคม 2561 - 18:03 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. มีมติเห็นชอบผลการศึกษาและผลการประชาพิจารณ์ โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ช่วงจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปถึงบริเวณแยกรัชโยธิน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 3,800 ล้านบาท โดยรฟม. เตรียมเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติ เพื่อเสนอต่อให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาอนุมัติต่อไป

ทั้งนี้ หาก คจร. อนุมัติตามที่เสนอ รฟม. จะจ้างที่ปรึกษาเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการและศึกษาแนวทางการร่วมทุนกับเอกชน (PPP) ก่อนเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) พิจารณาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมต่อไป เบื้องต้น อาจจะใช้วิธีการเจรจาร่วมทุนกับบีทีเอส เพราะส่วนต่อขยายมีระยะทางเพียง 2.6 กิโลเมตรเท่านั้น และยังเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อมาจากสายสีเหลืองเส้นหลักช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่บีทีเอสได้รับสัมปทานก่อสร้างและเดินรถไปก่อนหน้านี้แล้ว เชื่อว่าเอกชนรายอื่นคงจะไม่สนใจเข้าร่วมลงทุนเพราะไม่คุ้มค่าเพราะระยะทางสั้นเกินไป



ส่วนโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี ช่วงจากบริเวณสถานีศรีรัช ไปยังเมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 2500 ล้านบาท นั้น รฟม. เตรียมเสนอผลการศึกษาและผลการประชาพิจารณ์ ให้ที่ประชุมบอร์ดรฟม. พิจารณาในเดือนส.ค. นี้

รายงานข่าวจาก รฟม.แจ้งว่า โครงการส่วนต่อขยาย โมโนเรล ทั้ง 2 สายทางนั้น เกิดขึ้นจากกลุ่ม BTS ซึ่งชนะการประมูลสัมปทานทั้ง 2 โครงการ มีการนำเสนอต่อ รฟม. ว่าต้องการสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางให้กับประชาชนให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้โครงการลงทุนมีความคุ้มมากขึ้น ซึ่งบีทีเอสเคยเสนอก่อนหน้านี้ว่าจะลงทุนดำเนินโครงการต่อขยายทั้ง 2 เส้นทางเองทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 64, 65, 66  Next
Page 3 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©