RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179784
ทั้งหมด:13491016
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2020 11:02 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า สายสีชมพู-สายสีเหลือง มี “รางเดียว แคบๆ” ถ้า “เดี้ยง” ผู้โดยสาร ต้องทำอย่างไร?
จันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 09:29 น.

สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ตั้งคำถาม รถไฟฟ้า สายสีชมพู-สายสีเหลือง มี “รางเดียว แคบๆ” ถ้า “เดี้ยง” ผู้โดยสาร ต้องทำอย่างไร?

รถไฟฟ้าสายสีชมพู-สายสีเหลือง มี “รางเดียว แคบๆ” ถ้า “เดี้ยง”ผู้โดยสารต้องทำอย่างไร?
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte
จันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 08:52 น.

โดยทั่วไปรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล มีขบวนรถไฟฟ้าวิ่งคร่อมราง ไม่มีทางเดินให้ผู้โดยสารเดินในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน แล้วผู้โดยสารจะออกจากโมโนเรลซึ่งวิ่งอยู่ที่ระดับความสูงไม่น้อยให้ปลอดภัยได้อย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้
น่าดีใจที่เมื่อเร็วๆ นี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานรับมอบขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรล “แบบไร้คนขับ” สำหรับใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ชี้ให้เห็นว่าอีกไม่นานเราจะได้ใช้โมโนเรลกันแล้ว นับว่าเป็นการพัฒนาระบบรางของเมืองไทยไปอีกก้าวหนึ่ง
โมโนเรลเหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ที่มีผู้โดยสารไม่มากนัก มีขีดความสามารถในการขนผู้โดยสารได้ประมาณ 30,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ในขณะที่รถไฟฟ้าขนาดหนักดังเช่น บีทีเอส และ เอ็มอาร์ที สามารถขนผู้โดยสารได้ประมาณ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ต้นทุนการก่อสร้างโมโนเรลถูกกว่ารถไฟฟ้ายกระดับขนาดหนัก ประมาณ 30%-40%
มีหลายคนถามผมว่าถ้าโมโนเรลสายสีชมพูหรือสายสีเหลืองจอดเสียอยู่บนรางที่สูงจากพื้นดินเกือบ 20 เมตร ผู้โดยสารจะออกจากโมโนเรลให้ปลอดภัยได้อย่างไร? ผมขอตอบดังนี้
ทั้งโมโนเรลสายสีชมพูและสายสีเหลืองเป็นโมโนเรลที่วิ่งสวนทางกัน กล่าวคือสายสีชมพูมีรางรองรับโมโนเรล ขาไป 1 ราง และขากลับอีก 1 ราง สายสีเหลืองก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากเกิดเหตุขัดข้องที่สายใดสายหนึ่งผู้โดยสารจะต้องทำดังนี้
1. กรณีมีโมโนเรลกู้ภัยมารับ
โมโนเรลกู้ภัยจะมาจอดเทียบหรือขนานกับโมโนเรลที่เสีย เจ้าหน้าที่จะวางสะพานเชื่อมระหว่างโมโนเรลกู้ภัยกับโมโนเรลที่เสีย จากนั้นผู้โดยสารจะต้องเดินจากโมโนเรลที่เสียไปสู่โมโนเรลกู้ภัยซึ่งจะขนผู้โดยสารไปสู่สถานี
2. กรณีไม่มีโมโนเรลกู้ภัยมารับ-ต้องเดินบนทางเดินฉุกเฉิน
ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้โดยสารจะต้องออกจากโมโนเรลอย่างรีบด่วน ไม่สามารถรอโมโนเรลกู้ภัยมารับได้ ในกรณีนี้ผู้โดยสารจะต้องลงจากโมโนเรลไปที่ทางเดินระหว่างรางทั้งสอง ทางเดินเป็นตะแกรงเหล็กกัลวาไนซ์เพื่อให้ผู้โดยสารเดินไปสู่สถานีที่ใกล้ที่สุด ความสูงจากพื้นโมโนเรลถึงทางเดินเกือบ 2 เมตร ดังนั้น จะต้องลงทางบันไดที่พาดจากประตูโมโนเรลไปที่ทางเดิน บันไดดังกล่าวจะถูกเก็บไว้บนรถและบนทางเดินตลอดทาง ส่วนผู้โดยสารที่ใช้วีลแชร์จะต้องช่วยกันอุ้มลงมาที่ทางเดินแล้วเข็นไปที่สถานี
รู้อย่างนี้แล้ว สบายใจได้เลยว่าเราจะสามารถนั่งโมโนเรลได้อย่างปลอดภัยแน่นอน


Last edited by Wisarut on 06/10/2020 10:44 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2020 1:53 am    Post subject: Reply with quote

“ชมพู-เหลือง” ซูเปอร์โมโนเรลเมดอินไชน่า รถไฟฟ้าไร้คนขับ ไซซ์ใหญ่ไม่แพ้ BTS
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 5 ตุลาคม 2563 - 16:10 น.


สิ้นสุดการรอคอย รถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทยสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ถึงประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังใช้เวลาร่วมเดือนขนข้ามทะเลมาจากโรงงานผลิตที่ประเทศจีน

เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2560 “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรี คุมเศรษฐกิจรัฐบาล คสช. เป็นประธานในพิธีเซ็นสัญญาสัมปทานแสนล้านของรถไฟฟ้า 2 สาย 2 สี ระหว่างกลุ่มบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทย-ราชกรุ๊ป) กับ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย”

ในวันที่ 1 ต.ค. 2563 “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี เดินทางไปท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเป็นประธานตัดริบบิ้นรับมอบรถขบวนแรกของทั้ง 2 สายด้วยตัวเอง พร้อมขอบคุณเอกชนที่ร่วมลงทุนกับรัฐบาล จนผลักดันโครงการสำเร็จ



ตามแผนของ “รฟม.-กลุ่มบีทีเอส” ทั้ง 2 สาย จะทดสอบเดือน เม.ย. 2564 จากนั้นเดือน ก.ค.ทดลองวิ่งเสมือนจริงให้ประชาชนร่วมใช้บริการบางช่วงเวลา ถัดมาเดือน ต.ค.เปิดบริการเชิงพาณิชย์เก็บค่าโดยสาร 16-42 บาท และเปิดตลอดสายเดือน ก.ค.-ต.ค. 2565 โดยขบวนรถจะทยอยส่งมอบจนครบทั้ง 288 ตู้ 72 ขบวน ในต้นปี 2565 แยกเป็นสายสีเหลือง 30 ขบวน และสายสีชมพู 42 ขบวน



สำหรับสายสีชมพูและสีเหลือง ออกแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรล แบบคร่อมราง วิ่งยกระดับเหนือแนวเกาะกลางถนน และเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบรอง ป้อนผู้โดยสารเข้ารถไฟฟ้าสายหลัก

โดย “สายสีชมพู” วิ่งแนวตะวันตก-ตะวันออกของกรุงเทพฯ จากถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ รามอินทรา สิ้นสุดมีนบุรี มี 30 สถานี เชื่อมต่อสายสีม่วงที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สีแดงที่สถานีหลักสี่ สีเขียวที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และสีส้มที่สถานีมีนบุรี

ขณะที่ “สายสีเหลือง” วิ่งแนวเหนือ-ใต้ ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ จากถนนลาดพร้าว เข้าศรีนครินทร์และเทพารักษ์ มี 23 สถานี เชื่อมต่อสายสีน้ำเงินที่สถานีรัชดา สีส้มที่สถานีแยกลำสาลี แอร์พอร์ตลิงก์ที่สถานีพัฒนาการ และสีเขียวที่สถานีสำโรง

สำหรับขบวนรถไฟฟ้ากลุ่มบีทีเอส เลือกบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ดำเนินการทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถ ระบบขายตั๋วและจัดเก็บค่าโดยสาร มูลค่ารวม 4-5 หมื่นล้านบาท



ใช้รถรุ่น “Bombardier Innovia Monorail 300” ผลิตจากโรงงานประเทศจีน ซึ่ง “บอมบาร์ดิเอร์” ได้ร่วมทุน “CRRC” ผู้ผลิตรถไฟฟ้าฉางชุนและฉงชิ่งจากประเทศจีน เป็นรูปแบบ 4 ตู้ ตัวรถกว้าง 3.162 เมตร เท่ากับรถไฟฟ้าบีทีเอส มีน้ำหนักตัวรถ 14,500-15,000 กก./ตู้ วิ่งความเร็ว 35 กม./ชม. สูงสุด 80 กม./ชม. ใช้แรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรง 750 โวลต์ ควบคุมด้วยระบบอาณัติสัญญาณ CITYFLO 650 แบบอัตโนมัติ ไร้คนขับ

ภายในห้องโดยสารขบวนรถมีอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างครบครัน อาทิ CCTV เครื่องตรวจจับควัน ปุ่มติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ควบคุมรถ ถังดับเพลิง และที่เปิดประตูฉุกเฉิน รองรับผู้โดยสารได้ 568 คน/ตู้ ในระยะแรกจะให้บริการด้วยรถไฟฟ้า 4 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 17,000 คน/ชม./ทิศทาง และในระยะถัดไปเพิ่มได้สูงสุด 7 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสาร 28,000 คน/ชม./ทิศทาง

นับเป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับสายที่ 2 และ 3 ต่อจาก “สายสีทอง” สถานีกรุงธนบุรี-คลองสาน จะเปิดหวูดบริการกลางเดือน ธ.ค. 2563 นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2020 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

🌼🌔สวัสดีวันจันทร์สีเหลือง 🌔🌼
รถไฟฟ้าบีทีเอส
วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 14:29 น.

แอดมินขอพารถไฟฟ้าโมโนเรลมา ที่จะให้บริการในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้นอีกนิดนะครับ
📌เส้นทาง ลาดพร้าว – สำโรง 23 สถานี
📌รุ่น Bombardier INNOVIA 300
📌จำนวนขบวน 30 ขบวน
📌จำนวนตู้ 4 ตู้/ขบวน 👉🏻สูงสุด 7 ตู้
📌ประตู 4 ประตู/ตู้ ฝั่งละ 2 ประตู
📌ที่นั่ง 14-16 ที่นั่ง/ตู้ จุผู้โดยสารได้ สูงสุด 748 คน/ขบวน
📌พื้นที่สำหรับ wheelchair 2 ที่
📌ผลิตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
📌พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบรักษาความปลอดภัย
💛อดใจรออีกนิดเดียวนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2020 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

การอพยพ เมื่อ รถไฟฟ้าเสีย
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2563 เวลา 7:32 น.


เมื่อวาน มีคนพูดถึง Monorail ว่าถ้ารถไฟฟ้าเสียแล้วอพยพยังไง ซึ่งมีคนไปดรามาว่า ต้องโรยตัวลงมาบ้าง ต้องโดดลงมาบ้าง ผมเลยขอรีโพสต์ เรื่องทางเดินอพยพ (Emergency Walkway) ที่ติดอยู่ระหว่าคานทางวิ่ง (Guide Way Beam) ซึ่งเป็นมาตรฐานของทางวิ่งของระบบ Monorail ที่เราใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีชมพู และทุกสายในอนาคต ลองไปดูรายละเอียดกันครับจะได้ไม่ต้องดราม่า

สวัสดีชาวกรุงเทพ เรา #น้องบีม เอง จากรถไฟฟ้า Monorail สายสีชมพู และสีเหลือง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเพื่อนใหม่เรา ชื่อ #น้องEmer หรือทางเดินฉุกเฉินนั่นแหละครับ มาทำความรู้จัก #น้องEmer กันครับ
น้อง Emer หรือทางเดินฉุกเฉิน เป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ไม่ได้ใช้ในการเดินรถไฟฟ้า แต่ใช้เพื่อความปลอดภัย ของระบบรถไฟฟ้า แบบ Monorail หรือรางเดี่ยว
เพราะอย่างที่เราเห็นว่า ตัวรถ Monorail เดินรถบน #น้องบีม หรือ Guide Way Beam ภาษาไทยก็น่าจะเรียกว่าคานทางวิ่ง ซึ่งเป็นคานขนาดเล็ก และเบา ซึ่งเป็นข้อดีที่สำคัญของระบบ Monorail
แต่ก็เป็นข้อเสียของระบบนี้เหมือนกัน เพราะพอ Guide Way Beam มีขนาดเล็ก ก็ทำให้ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินผู้โดยสารก็ไม่สามารถใช้ในการอพยพผู้โดยสารออกจาตัวรถได้เช่นกัน
————————
วิธีการอพยพของ Monorail ก็มีการออกแบบไว้หลายอย่าง เช่น อพยพผ่านท่อหด หรือทำ Walkways ระหว่างคานทางวิ่ง
ซึ่งจากที่เห็นในรูปและเอกสาร ระบบรถไฟฟ้า Monorail สายสีชมพู และสีเหลืองของเรา เป็นแบบ Walkways ระหว่าง Guide Way Beam ซึ่งไม่ได้มีประโยชน์แค่การอพยพ แต่สามารถนำมาใช้เพื่อตรวจเช็ค และช่อมบำรุงทางวิ่ง ด้วยเช่นกัน
โครงสร้าง #น้องEmer หรือทางเดินฉุกเฉิน จะมีอุปกรณ์เท่าที่เห็นคร่าวคือ
1.โครงสร้างรับน้ำหนัก แกนขวางเชื่อมระหว่าง Guide Way Beam 2 ด้าน
2.ทางเดิน 2 ข้างชิดบีม ซึ่งทำไว้เพื่อให้คนเดิน เป็นรูปแบบโครงสร้างเบา ทำด้วยเหล็ก แผนพับแบบทึบ
3.พื้นที่ทางเชื่อมระหว่าง ทางเดิน 2 ด้าน ซึงเป็นแผ่นโปรง
————————
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่ารถไฟฟ้า Monorail ของเราทั้ง 2 สายผ่านการคิดมาครอบคลุมพอสมควรแล้ว ซึ่งแก้จุดด้อยทั้งหมดของรถไฟฟ้า Monorail ไว้ทั้งหมด


รถไฟฟ้า Monorail ใช้ระบบล้อยางขับเคลื่อน ถ้ายางแบนทำอย่างไร?? มีระบบอะไรรองรับ และป้องกันบ้าง??
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2563 เวลา 21:17 น.

ขอมาพูดรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Monorail กันอีกซักหน่อย
วันนีขอพูดเรื่องล้อยางและระบบขับเคลื่อนของรถไฟฟ้า Monorail กันอีกหน่อยครับ
รู้รึเปล่าว่า รถไฟฟ้า Monorail ที่ใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู ใช้ล้อยางในการขับเคลื่อน
แล้วมีคนถามว่า ถ้ายางรั่วล่ะจะทำยังไง จะต้องเปลี่ยนกลางทางเลยรึเปล่า แล้วจะวิ่งต่ออย่างไร
แถมระบบรถไฟฟ้า Monorail ทั้ง 2 สายนี้เป็นระบบอัตโนมัติ ไม่มีพนักงานขับรถ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าคันไหนยางแบน
ก่อนอื่นบอกเลยว่า เค้ามีเทคโนโลยี Run-Flat Tires หรือระบบวิ่งได้เมื่อยางแบน
ซึ่งในระบบรถไฟฟ้า monorail มียางอยู่ 2 รูปแบบ คือ
- Load tire หรือ ยางรับน้ำหนัก จะใช้รูปแบบ aluminum inner-wheel หรือ ตัวรองรับภายในยาง ซึ่งจะถูกใส่ไปในเนื้อยาง หรือทำเป็นตัวรองล้ออยู่
- Guide tire หรือ ยางนำทาง จะใช้รูปแบบ External Run-Flat tire หรือ ตัวรับน้ำหนักภายนอก ซึ่งจะเป็นชุดรับน้ำหนักซึ่งจะติดอยู่กับล้อยาง
ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบ จะทำให้ รถไฟฟ้าสามารถวิ่งต่อไปได้ถ้ายางรั่ว หรือยางแบน
แต่อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น เค้าจะเน้นการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (preventive maintenance) ตามช่วงเวลาที่กำหนดก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายและเสียเวลาของรถไฟฟ้าครับ
————————————
แต่อีกส่วนที่สำคัญคือระบบควบคุม และตรวจสอบความสมบูรณ์ของยางระยะไกล เรียกว่า ระบบ TPMS (ติดตั้ง pressure transmitter ทุกล้อ) ซึ่งจะส่งสัญญาณผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุมในการแสดงผลความสมบูรณ์ และความเสี่ยงของยางแต่ละเส้น
เนื่องจากว่าระบบรถไฟฟ้า Monorail แต่ละเส้นเป็นระบบควบคุมอัตโนมัติ ไม่มีพนักงานขับรถอยู่บนรถไฟฟ้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/10/2020 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าเขาจะดอง ผ่านไปครึ่งเดือนเขาก็ดอง
Render Thailand
วันที่ 13 ตุลาคม 2563 เวลา 20.06 น.

มาละครับภาพรับรถโมโนเรลขบวนแรกจากเพจเราหลังจากดองมาเกือบครึ่งเดือน มาช้าหน่อยแต่ทำภาพมาให้เข้าใจโมโนเรลรุ่นนี้มากขึ้นครับ
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่เป็นระบบโมโนเรล หลักการง่าย ๆ ของโมโนเรลคือ ตัวรถจะวิ่งอยู่บนคานปูนหรือคานเหล็ก คานเดียว เรียกว่าคานทางวิ่ง ไม่ได้มีวิ่งบนรางเหล็กที่เป็นราง 2 รางครับ
- บอกก่อนได้เลยว่ารถไฟฟ้าล้อยางวิ่งไม่นิ่มเหมือนล้อเหล็ก เวลาวิ่งอาจจะรู้สึกมันโยกเด้งดึ๋งดั๋ง เป็นเรื่องปกติ
- ทั้ง 2 สาย ผู้รับสัมปทานคือกลุ่ม BSR มี BTS+Sino Thai+Ratch
โดยได้ตั้งบริษัทชื่อ Northern bangkok monorail หรือ NBM เดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู และ Eastern bangkok monorail หรือ EBM เดินรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
- กลุ่ม BSR ได้เลือกซื้อระบบ Monorail จาก Bombardier เป็นบริษัทจากประเทศแคนาดา รถที่ใช้เป็นรุ่น innovia monorail 300
- Bombardier innovia monorail 300 สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง ในช่วงแรกจะมีขบวนละ 4 ตู้ สามารถเพิ่มได้สูงสุดเป็น 7 ตู้
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู 42 ขบวน รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 30 ขบวน รวมทั้งหมด 288 ตู้
- ความจุของรถสำหรับขบวนละ 4 ตู้ จะรองรับผู้โดยสารได้ 568 คน (6 คน/ตารางเมตร) สำหรับขบวนละ 7 ตู้ จะรองรับผู้โดยสารได้ 1,009 คน (6 คน/ตารางเมตร)
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู ระยะทาง 34.5 กม. มี 30 สถานี
เริ่มจากสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เลี้ยวไปตามถนนติวานนท์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านหลักสี่ ผ่านสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เข้าถนนรามอินทรา ตรงเข้าสู่ถนนสีหบุรานุกิจ แล้วเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบไปที่ถนนรามคำแหง สิ้นสุดที่สถานีมีนบุรี
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ระยะทาง 30.4 กม. มี 23 สถานี
เริ่มจากสถานีรัชดา บนถนนรัชดาภิเษก เลี้ยวเข้าถนนลาดพร้าว ผ่านบางกะปิ เลี้ยวเข้าถนนศรีนครินทร์ ผ่านลำสาลี พัฒนาการ ศรีนุช ซีคอน ศรีเอี่ยม ศรีด่าน แล้วเลี้ยวเข้าถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดที่สถานีสำโรง
- ทั้งสองสายเป็นรถไฟฟ้าสายรอง เป็นระบบ Feed คนเข้าสู่รถไฟฟ้าสายหลักเพื่อเข้าเมือง ตามแผนการศึกษาผู้โดยสารของรถไฟฟ้าทั้งสองสายส่วนมากจะเดินทางไม่กี่สถานี เมื่อถึงสถานีเชื่อมต่อกับสายอื่นก็จะเปลี่ยนเพื่อเดินทางต่อเข้าเมือง การเดินทางระยะยาวจะมีน้อยกว่า ทำให้ทั้งสองสายนี้เป็นรถไฟฟ้าสายรองครับ
- สายสีชมพูมีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น 5 สถานี และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น 6 สถานี (นับรวมแผนรถไฟฟ้าของ กทม.)
- ทั้งสองสายมีแผนจะเปิดบริการบางส่วนในช่วงปลายปี 2564 และเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 2565
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1046193329152479
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2020 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
19 ตุลาคม 2563 เวลา 15:32
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยได้ตรวจความก้าวหน้าการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร Main Workshop ในศูนย์ซ่อมบำรุงฯ บริเวณถนนศรีนครินท์ ซึ่งได้มีการขนย้ายขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลืองขบวนแรกเข้าสู่อาคาร Main Workshop เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งได้ตรวจติดตามการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร Bulksub Station ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้ในการควบคุมและจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับขบวนรถโมโนเรล เพื่อให้พร้อมสำหรับการเปิดให้บริการในปี 2565
ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 66.31% และงานระบบรถไฟฟ้า 61.63% (ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563) สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เว็บไซต์โครงการ www.mrta-yellowline.com และ Line Official : mrtyellowline
https://www.facebook.com/CRSTECONYL/posts/1206534386387004
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2020 2:29 pm    Post subject: Reply with quote

บางกะปิ-ลำสาลีปิด 1 เลน ขุดรถไฟฟ้าศรีนครินทร์-สะพานพัฒนาการคืบ 80%
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
20 ตุลาคม 2563 เวลา 08:43 น.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บมจ. ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่งฯ ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่การปิดเบี่ยงจราจรฝั่งขาออก และปิดเบี่ยงจราจร 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก บนถนนศรีนครินทร์ บริเวณแยกบางกะปิถึงแยกลำสาลี ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.63 ถึงวันที่ 31 พ.ค.64 เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง โดยผู้ใช้เส้นทางบนถนนศรีนครินทร์ ฝั่งขาออก สามารถสัญจรได้ 2 ช่องทาง และฝั่งขาเข้า สามารถสัญจรได้ 3 ช่องทาง เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค และดำเนินงานก่อสร้างโครงการ


ด้านนายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการปรับปรุงสะพานข้ามแยกพัฒนาการ-ศรีนครินทร์ ว่า ตามที่สำนักการการโยธา กทม. เริ่มปิดสะพานข้ามแยกพัฒนาการ เพื่อปรับปรุงตั้งแต่เดือน มิ.ย. 63 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ภาพรวมการก่อสร้างขณะนี้คืบหน้าประมาณ 80% เหลืองานวางพื้นสะพานตรงกลางอีก 2-3 ช่วง ซึ่งใช้วิธีนำพื้นคอนกรีตสำเร็จมาวาง ไม่ใช่วิธีหล่อคอนกรีตในที่ จึงทำให้การก่อสร้างรวดเร็ว หลังจากวางพื้นสะพานเสร็จแล้วจะปิดรอยต่อแต่ละช่วง ปูผิวสะพาน ติดตั้งราวสะพาน และเก็บรายละเอียด คาดว่าจะเปิดใช้งานสะพานได้ภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้ หรืออย่างช้าภายในสัปดาห์แรกเดือน พ.ย.63 เร็วกว่าสัญญาที่จะครบกำหนดวันที่ 25 พ.ย.63.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2020 6:38 pm    Post subject: Reply with quote


รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง
https://www.youtube.com/watch?v=tFQqXKQt8iU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2020 1:21 pm    Post subject: Reply with quote

📺ขอเชิญทุกท่านติดตามรับชมสกู๊ปข่าว "ยลโฉมโมโนเรลไร้คนขับ" โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
ในรายการข่าวเช้าไทยรัฐเสาร์-อาทิตย์ โดยจะออกอากาศในวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 - 11.15 น. ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2646254322257952
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2020 10:57 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.สั่งผู้รับเหมาคุมเข้มลดปล่อยฝุ่นระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้า

03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 10:33 น.



3 พ.ย.63-นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้กำชับที่ปรึกษา และผู้รับจ้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าทุกสายในความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรการลดฝุ่นขนาดใหญ่ (PM 10) อันเกิดจากงานก่อสร้างโครงการฯ ที่ รฟม. ได้เน้นย้ำให้ผู้รับจ้างฯ หมั่นฉีดล้างทำความสะอาดพื้นผิวถนนและแบริเออร์ตลอดแนวพื้นที่ก่อสร้าง ควบคู่กับการใช้ รถดูดฝุ่นเป็นประจำ

“พร้อมทั้งดำเนินการป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองภายในเขตพื้นที่ก่อสร้างฟุ้งกระจายออกไปยังถนนสาธารณะ โดยติดตั้งแผงป้องกันเป็นรั้วทึบโดยรอบพื้นที่ ปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างอย่างมิดชิด ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้างทุกครั้ง “นายภคพงศ์ กล่าว

นอกจากนี้ เพื่อเตรียมรับมือกับสภาพอากาศปิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ที่กระแสลมเคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก และส่งผลให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เกิดการสะสมจนเกินค่ามาตรฐาน รฟม. จึงได้สั่งการให้ที่ปรึกษา และผู้รับจ้างฯ พิจารณาเตรียมการติดตั้งเครื่องฉีดพ่นหมอกน้ำ/ละอองน้ำในอากาศบริเวณพื้นที่ที่มีความจำเป็น และประสานตำรวจจราจรอย่างใกล้ชิดในการจัดการจราจรบริเวณแนวสายทางที่มีการดำเนินงานก่อสร้าง เพื่อช่วยให้รถยนต์สามารถสัญจรผ่านคล่องตัวมากขึ้น

ขณะเดียวกันงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ายังสามารถดำเนินต่อไปได้ตามแผนงาน เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่แก่ประชาชนได้โดยเร็วที่สุด อันจะเป็นการบรรเทามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รฟม. ใคร่ขอเชิญชวนให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์ โดย รฟม. มีบริการอาคารและลานจอดแล้วจรตลอดแนวสายทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) รองรับการเดินทางต่อเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า MRT ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อยฝุ่นละออง PM 2.5 ออกสู่อากาศได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน รฟม. มีโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างงานโยธา จำนวน 3 สาย ซึ่งมีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 ดังนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มีความก้าวหน้างานโยธา 64.85% และงานระบบรถไฟฟ้า 59.71% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความก้าวหน้างานโยธา 66.31% และงานระบบรถไฟฟ้า 61.63% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 69.82% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567

รฟม.คุมเข้มมาตรการลดปัญหาฝุ่น ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย “ชมพู-เหลือง” เปิดแน่ปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:24 น.



รฟม.มั่นใจก่อสร้างรถไฟฟ้าตามแผนปี 65 เปิดสายสีชมพูและเหลืองปี 67 เปิดสายสีส้มด้านตะวันออก คุมเข้มผู้รับเหมาปฏิบัติตามมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมปริมาณฝุ่นละอองขนาดใหญ่ และฝุ่น PM 2.5 เตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศปิดช่วงฤดูหนาว

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าจำนวน 3 สาย ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีความก้าวหน้า ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้างานโยธา 64.85% และงานระบบรถไฟฟ้า 59.71% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความก้าวหน้างานโยธา 66.31% และงานระบบรถไฟฟ้า 61.63% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 69.82% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567

ทั้งนี้ รฟม.ได้กำชับที่ปรึกษา และผู้รับจ้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าทุกสายในความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรการลดฝุ่นขนาดใหญ่ (PM 10) อันเกิดจากงานก่อสร้างโครงการฯ โดยได้เน้นย้ำให้ผู้รับจ้างฯ หมั่นฉีดล้างทำความสะอาดพื้นผิวถนนและแบริเออร์ตลอดแนวพื้นที่ก่อสร้าง ควบคู่กับการใช้รถดูดฝุ่นเป็นประจำ

พร้อมทั้งดำเนินการป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองภายในเขตพื้นที่ก่อสร้างฟุ้งกระจายออกไปยังถนนสาธารณะ โดยติดตั้งแผงป้องกันเป็นรั้วทึบโดยรอบพื้นที่ ปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างอย่างมิดชิด ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้างทุกครั้ง

นอกจากนี้ เพื่อเตรียมรับมือสภาพอากาศปิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ที่กระแสลมเคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก และส่งผลให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เกิดการสะสมจนเกินค่ามาตรฐาน รฟม.จึงได้สั่งการให้ที่ปรึกษา และผู้รับจ้างฯ พิจารณาเตรียมการติดตั้งเครื่องฉีดพ่นหมอกน้ำ/ละอองน้ำในอากาศบริเวณพื้นที่ที่มีความจำเป็น และประสานตำรวจจราจรอย่างใกล้ชิดในการจัดการจราจรบริเวณแนวสายทางที่มีการดำเนินงานก่อสร้าง เพื่อช่วยให้รถยนต์สามารถสัญจรผ่านคล่องตัวมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 64, 65, 66  Next
Page 19 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©