RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181474
ทั้งหมด:13492712
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 18, 19, 20  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2021 11:28 pm    Post subject: Reply with quote

สื่อมาเลย์ หาว่า รถไฟสาย ชุมพร ไประนอง นั้นจะเป็นคู่แข่งรถไฟ ECRL ของ มาเลเซีย แม้ว่าจะเสร็จเอาปี 2027 - 1 ปี หลังจาก ECRL เปิดการเดินรถ
https://www.thestar.com.my/news/focus/2021/06/13/ecrl-facing-new-risk-from-thai-landbridge-plan
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2021 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับแนวรถไฟทางคู่ ”ชุมพร-ระนอง” 3.5 หมื่นล้าน
*แหลมริ่ว-อ่าวอ่าง 91กม.ผ่าน 9ตำบล 3อำเภอ
*รฟท.รื้อผลศึกษาสนข.ไม่เวิร์ก/จ้างสำรวจใหม่
*เชื่อมทะเลอันดามันกับอ่าวไทยรับแลนด์บริดจ์
*ทางลัดเดินเรือมหาสมุทรอินเดียวาร์ปแปซิฟิก

แนวเส้นทางใหม่จะเริ่มที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมริ่ว ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร
ตัดผ่านไปทางตะวันตก ผ่านทางรถไฟสายใต้บริเวณทิศเหนือของสถานีควนหินมุ้ย จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทางหลวง(ทล.) หมายเลข 4097 และตัดผ่าน ทล. 41 (สายแยกปฐมพร – พัทลุง) และขนานไปกับแนว ทล. 4006 (สายราชกรูด – หลังสวน) ผ่านพื้นที่ภูเขา แล้วตัดกับทล. 4006
จากนั้นมุ่งลงทิศใต้ขนานทล. 4 อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทล.4 ผ่านด้านหลังของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง แนวเส้นทางโค้งขวามุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านพื้นที่ป่าชายเลนไปสิ้นสุดที่ชายฝั่งทะเลอันดามันที่บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง
ผ่านพื้นที่ 9 ตำบล 3 อำเภอ ของ 2 จังหวัด ได้แก่ ต.บางน้ำจืด ต.นาขา ต.วังตะกอ และ ต.หาดยาย ของ อ.หลังสวน จ.ชุมพร, ต.ปังหวาน ต.พระรักษ์ ต.พะโต๊ะ และ ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2940685752819590
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2021 9:05 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ลุยทางคู่แลนด์บริดจ์
กรุงเทพธุรกิจ 1 กรกฎาคม 2564

Click on the image for full size

ร.ฟ.ท.ลุยจ้างที่ปรึกษา เริ่มสำรวจรถไฟทางคู่สายใหม่ ชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง คาดใช้งบก่อสร้าง 3.5 หมื่นล้าน ตั้งเป้าชง ครม.ปี 2566 อนุมัติเปิดประมูล มั่นใจคุ้มค่าการลงทุน หนุนการท่องเที่ยว ขนส่งและการค้าเชื่อมแลนด์บริดจ์
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร – ท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยระบุว่า ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา MAA Consortium เพื่อเริ่มทบทวนงานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยจะนำผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ที่เคยศึกษาไว้ในปี 2561 มาทบทวนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

“การรถไฟฯ จะนำผลการศึกษาเดิมที่มีอยู่ มาทบทวนใหม่ให้สอดคล้องกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge) ที่ต้องการให้มีการเชื่อมต่อการเดินทางกับท่าเรือ 2 ฝั่งทะเล อ่าวไทย-อันดามัน บูรณาการให้สอดคล้องกับโครงการมอเตอร์เวย์ ตามแผน MR – MAP ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม”

อย่างไรก็ดี ร.ฟ.ท.ประเมินว่าการทบทวนผลการศึกษาครั้งนี้จะใช้เวลาราว 1 ปีแล้วเสร็จ ก่อนนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้ในช่วงปลายปี 2565 จากนั้นจึงจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการในปี 2566 ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และเปิดให้บริการในปี 2573

สำหรับโครงการทางรถไฟ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เบื้องต้นจะมีการปรับแก้ไขแนวเส้นทางบางส่วน เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมตามผลการศึกษาของ สนข.ไม่เหมาะสมกับการใช้เป็นแนวเส้นทางที่จะพัฒนาควบคู่ไปกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ตามแผน MR-MAP เนื่องจากแนวเส้นทางอยู่ใกล้และเกือบขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 ซึ่งเป็นทางหลวงสายหลัก

อีกทั้งเส้นทางรถไฟจากผลการศึกษาเดิมยังไม่ตอบสนองการเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึกตามการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ที่ต้องการสร้างโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงการเดินทางของคน และสินค้าเข้าสู่สถานีรถไฟระนอง ต่อไปยังถนนเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกชุมพร ด่านศุลกากร โครงข่ายมอเตอร์เวย์ สายชุมพร-ระนอง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงท่าอากาศยานระนอง และชุมพร

รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า แนวเส้นทางรถไฟทางคู่ที่จะศึกษาใหม่นี้ มีการขยับจุดเริ่มต้นโครงการลงไปทางด้านทิศใต้มากขึ้น โดยเริ่มต้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมริ่ว จังหวัดชุมพร จากแนวเดิมที่จะเริ่มต้นด้านใต้ของสถานีรถไฟชุมพร ซึงมีจุดสิ้นสุดโครงการที่ชายฝั่งทะเลอันดามันบริเวณอ่าวอ่าง ตำบลราชกรูด จังหวัดระนอง โดยเส้นทางใหม่จะเป็นแนวเส้นแนวตรงมากขึ้น ช่วยลดค่าก่อสร้างและผลกระทบสิ่งแวดล้อม อีกทั้งจะหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินชุมชน มีความยาวตลอดแนวเส้นทางราว 91 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบลงทุนราว 3.5 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ดี โครงการทางรถไฟ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง คาดว่าจะเพิ่มศักยภาพด้านการคมนาคมขนส่ง 3 ส่วน คือ 1.เป็นทางลัดของเส้นทางเดินเรือหลักเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก เป็นทางเลือกในการถ่ายลำการขนส่งสินค้าในภูมิภาค และสะพานเศรษฐกิจพลังงาน 2.เป็นเส้นทางสำหรับสินค้านำเข้าและส่งออกระหว่างของไทยกับประเทศทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และ 3.เป็นเส้นทางสำหรับสินค้าที่มาจากทางจีนตอนใต้ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่หลังท่าโดยเฉพาะในเรื่องการประกอบชิ้นส่วน

ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นโครงการตามแนวเส้นทางใหม่จะเริ่มที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมริ่ว ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตัดผ่านไปทางตะวันตก ผ่านทางรถไฟสายใต้บริเวณทิศเหนือของสถานีควนหินมุ้ย จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่าน ทล. 4097 และตัดผ่านทล. 41 (สายแยกปฐมพร – พัทลุง) และขนานไปกับแนวทล. 4006 (สายราชกรูด – หลังสวน) ผ่านพื้นที่ภูเขา แล้วตัดกับ ทล. 4006

จากนั้นมุ่งลงไปทางทิศใต้ ขนานกับ ทล. 4 (ถนนเพชรเกษม) โดยอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของ ทล.4 ผ่านด้านหลังของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง จากนั้นแนวเส้นทางโค้งขวามุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านพื้นที่ป่าชายเลนไปสิ้นสุดที่ชายฝั่งทะเลอันดามันที่บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง

โดยแนวเส้นทางโครงการ ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 9 ตำบล 3 อำเภอ ของ 2 จังหวัด ได้แก่ ตำบลบางน้ำจืด ตำบลนาขา ตำบลวังตะกอ และตำบลหาดยาย ของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รวมไปถึงตำบลปังหวาน ตำบลพระรักษ์ ตำบลพะโต๊ะ และตำบลปากทรง ของอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2021 1:54 am    Post subject: Reply with quote

รื้อแผนรถไฟทางคู่สายชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนองบูมแลนด์บริดจ์
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:50 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,693
วันที่ 4 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564


“คมนาคม” เดินหน้าศึกษารถไฟทางคู่สายชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ภายในเดือนก.ค.นี้ เชื่อมแลนด์บริดจ์ หวังสนับสนุนเศรษฐกิจแดนใต้ ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 67

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง งบลงทุนราว 3.5 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 91 กิโลเมตร (กม.) ขณะนี้ รฟท.เตรียมเสนอให้บอร์ดอนุมัติให้ว่าจ้าง กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา MAA Consortium ทำการศึกษาทบทวนงานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะมีการนำผลการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม




ที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เคยศึกษาไว้เมื่อปี 2561 มาทบทวนใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge)ที่ต้องการให้มีการเชื่อมต่อการเดินทางกับท่าเรือ 2 ฝั่งทะเล อ่าวไทย-อันดามัน อย่างบูรณาการ และให้สอดคล้องแผนแม่บทการบูรณาการงานก่อสร้างมอเตอร์เวย์ และทางรถไฟให้สอดคล้องกัน (MR-MAP ) ตามนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม



ขณะเดียวกันโครงการดังกล่าวจะใช้เวลาในการศึกษาทบทวนราว 1 ปี คาดว่าจะนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้ในช่วงปลายปี 2565 จากนั้นเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการในปี 2566 และตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2567 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี และเปิดให้บริการในปี 2573

รื้อแผนรถไฟทางคู่สายชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนองบูมแลนด์บริดจ์


รายงานข่าวจาก รฟท.กล่าวว่า ส่วนการปรับแก้ไขแนวเส้นทางบางส่วน เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมตามผลการศึกษาของ สนข.ไม่เหมาะสมกับการใช้เป็นแนวเส้นทางที่จะพัฒนาควบคู่ไปกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ตามนโยบายและผลการพัฒนา MR-MAP เนื่องจากแนวเส้นทางอยู่ใกล้และเกือบขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 ที่เป็นทางหลวงสายหลัก และยังไม่ตอบสนองการเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึกตามการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) ที่ต้องการสร้างโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงการเดินทางของคน และสินค้าเข้าสู่สถานีรถไฟระนอง ต่อไปยังถนนเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกชุมพร ด่านศุลกากร โครงข่ายมอเตอร์เวย์ สายชุมพร-ระนอง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงท่าอากาศยานระนอง และชุมพร


สำหรับแนวเส้นทางใหม่ของโครงการฯ มีจุดเริ่มต้นโครงการตามแนวเส้นทางใหม่จะเริ่มที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมริ่ว ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ตัดผ่านไปทางตะวันตก ผ่านทางรถไฟสายใต้บริเวณทิศเหนือของสถานีควนหินมุ้ย จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทล. 4097 และตัดผ่านทล. 41 (สายแยกปฐมพร-พัทลุง) และขนานไปกับแนวทล. 4006 (สายราชกรูด-หลังสวน) ผ่านพื้นที่ภูเขา แล้วตัดกับทล. 4006 จากนั้นมุ่งลงไปทางทิศใต้ ขนานกับทล. 4 (ถนนเพชรเกษม) โดยอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทล.4 ผ่านด้านหลังของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนองจากนั้นแนวเส้นทางโค้งขวามุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านพื้นที่ป่าชายเลนไปสิ้นสุดที่ชายฝั่งทะเลอันดามันที่บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง โดยแนวเส้นทางโครงการฯ ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 9 ตำบล 3อำเภอ ของ 2 จังหวัด ได้แก่ ต.บางน้ำจืด ต.นาขา ต.วังตะกอ และ ต.หาดยาย ของ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ต.ปังหวาน ต.พระรักษ์ ต.พะโต๊ะ และ ต.ปากทรง ของ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2021 4:10 pm    Post subject: Reply with quote

สั่งสแกนหาที่ตั้ง “ท่าเรือชุมพร-ระนอง” แข่งช่องแคบมะละกา
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 - 23:21 น.

“ศักดิ์สยาม” ประชุมเตรียมความแลนด์บริดจ์ สั่งสแกนหาที่ตั้งท่าเรือน้ำลึก “ชุมพร-ระนอง” หวังปั้น “แลนด์บริดจ์” เนื้อหอมดึงดูดเรือขนส่ง ฝันไกลแย่งดีมานด์ช่องแคบมะละกา

วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมติดตามความก้าวหน้า โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Landbridge) ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings



สแกนหาตำแหน่งตั้งท่าเรือชุมพร-ระนอง
โดยนายศักดิ์สยาม ได้เปิดเผยภายหลังว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการศึกษาโครงการ โดยมีความก้าวหน้าที่สำคัญ คือการคัดเลือกตำแหน่งท่าเรือที่เหมาะสมของฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน โดยพิจารณาจากเกณฑ์การคัดเลือกที่ตั้งท่าเรือ ในด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการลงทุน และด้านสังคม โดยคัดเลือกพื้นที่ศักยภาพที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนา


ลักษณะสำคัญคือ ต้องเป็นท่าเรือแห่งใหม่ของประเทศไทย รองรับเรือขนส่งสินค้าจากฝั่งอ่าวไทย จังหวัดชุมพร และฝั่งอันดามัน จังหวัดระนองโดยนอกจากจะเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการพัฒนาท่าเรือแล้ว แนวเส้นทางเชื่อมต่อทั้ง 2 ท่าเรือ ต้องมีระยะทางที่สั้นและตรงที่สุด รวมถึงประหยัดเวลาในการเดินทางมากที่สุด ซึ่งน่าจะเป็นผลดีในการดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้เส้นทางขนส่ง Land bridge ในอนาคต

โดยจะทำการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงแนวทางในการพัฒนาพื้นที่หลังท่าเรือให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ สอดคล้องกับตำแหน่งท่าเรือและแนวเส้นทางครอบคลุมครบทุกมิติ และนำตำแหน่งที่ตั้งท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ดำเนินการจัดทำการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อพิจารณาผลตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ต่อไป

ฝันไกลดึงดีมานด์ “ช่องแคบมะละกา”
นอกจากนี้ จากการศึกษารูปแบบและปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พบว่า การขนส่งสินค้าทางทะเลมีมากถึง 80% ของการขนส่งสินค้าของโลก หรือคิดเป็นปริมาณสินค้าเท่ากับ 11.1 พันล้านตัน และมีการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกามากถึง 1 ใน 4 ของการขนส่งสินค้าทางทะเลของโลก หนึ่งในประเภทสินค้าที่มีการขนส่งทางช่องแคบมะละกามากที่สุด คือการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมัน (Tanker) ซึ่งการพัฒนาเพื่อดึงดูดให้เรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ และเรือขนส่งสินค้า ให้หันมาใช้เส้นทาง Landbridge ในอนาคต จะเป็นโจทย์สำคัญของการศึกษาโครงการ เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาคอาเซียน




โดยกระทรวงคมนาคมได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาท่าเรือและด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ด้านการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษ รถไฟเชื่อมท่าเรือ และการขนส่งทางท่อ ด้านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนและกฎหมาย และด้านการสื่อสารสาธารณะ เพื่อให้การดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ของกระทรวงคมนาคม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม ได้มอบหมายให้ศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยที่จะส่งเสริมให้สายการเดินเรือต่าง ๆ มาใช้บริการโครงการ Landbridge ได้ รวมถึงให้พิจารณาการเพิ่มของปริมาณการนำเข้า-ส่งออกทางน้ำ ภายหลังจากมีการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)

รวมถึงเปรียบเทียบแนวทางเลือกการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ระหว่างการทำอุโมงค์แยกระหว่างรถไฟและรถยนต์ และการทำอุโมงค์รวมทั้งรถไฟและรถยนต์ โดยเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ให้รอบด้าน นอกจากนี้ในการศึกษาการพัฒนาพื้นที่หลังท่า ให้คำนึงถึงชุมชน วิถีชีวิต และปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบด้านด้วย

คมนาคมดันโปรเจ็กจ์ 'แลนด์บริดจ์' ปักมุด2ทำเลที่ตั้งท่าเรือแห่งใหม่

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:00 น.

13 ก.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบ ความก้าวหน้าการศึกษาโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ในส่วนของการคัดเลือกตําแหน่งท่าเรือที่เหมาะสมของฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันนั้น มีการพิจารณาจากเกณฑ์การคัดเลือกที่ตั้งท่าเรือ ในด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการลงทุน และด้านสังคม ซึ่งนอกจากจะเป็นตําแหน่งที่เหมาะสมในการพัฒนาท่าเรือแล้ว แนวเส้นทางเชื่อมต่อทั้ง 2 ท่าเรือ ยังมีระยะทางที่สั้นและตรงที่สุดในการขนส่งจากฝั่งอ่าวไทยสู่ฝั่งอันดามัน

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า จากการคัดเลือกมีพื้นที่ตําแหน่งท่าเรือที่เหมาะสมของฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน พบว่า มีศักยภาพฝั่งละ 3 แห่งที่มีความเหมาะสม ที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือแห่งใหม่ของประเทศไทย รองรับเรือขนส่งสินค้าจากฝั่งอ่าวไทย จ.ชุมพร ประกอบด้วย แหลมประจําเหียง ตรงตำบลด่านสวี, แหลมริ่วและแหลมคอเขา ขณะที่ท่าเรือรองรับเรือขนส่งสินค้าจากฝั่งอันดามัน จ.ระนอง ประกอบด้วย เกาะตาวัวดํา, เกาะสน และแหลมอ่าวอ่าง

Note: แหลมคอกวาง ที่เคยเสนอปี 2552 และ ปี 2556 นั้น ใกล้ตัวเมืองชุมพร มีแหล่งท่องเที่ยวเยอะ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการ เคลียร์ EIA ทำได้ยาก ส่วน แหลมประจําเหียง ตรงตำบลด่านสวี ก็ยุ่งไปอีกแบบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ท่าเรือศุลกากรระนองที่เขานางหงส์ ขยายไม่ได้ รองรับเรือใหญ่นับแสนตันไม่ได้

วันนี้ มีรายงานว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model)
https://www.facebook.com/thvi5ion/posts/857966428475519

สนข.แจ้งผลจ้าง 68 ล้านศึกษา ”แลนด์บริดจ์แสนล้าน”
*ต้อนเรือขนาดใหญ่ขนน้ำมัน-สินค้าใช้เส้นนี้แทน
*สั่งเทียบแนวทางเลือกเชื่อมอ่าวไทยกับอันดามัน
*ทำอุโมงค์แยกรถไฟกับรถยนต์/อุโมงค์เดียวรวม
*เลือกพิกัดท่าเรือใหม่แล้ว(แต่อยู่ตรงไหนไม่บอก)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2950863445135154


เปิดพิกัด 4 เส้นทางนำร่องมอเตอร์เวย์ควบรถไฟ1,155 กม.
* ไอเดีย”ศักดิ์สยาม”รื้อใหม่มัดรวมเองเคาะเองจบ
*MR5ชุมพร-ระนอง/MR8นครราชสีมา-แหลมฉบัง
*MR9โคราช-อุบลฯ /MR10 วงแหวนกทม.รอบ 3
*เพิ่มพื้นที่อีอีซีลากยาวกับโครงข่ายชุมพร-ระนอง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2951019805119518

Wisarut wrote:
รื้อแผนรถไฟทางคู่สายชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนองบูมแลนด์บริดจ์
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:50 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,693
วันที่ 4 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564


“คมนาคม” เดินหน้าศึกษารถไฟทางคู่สายชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ภายในเดือนก.ค.นี้ เชื่อมแลนด์บริดจ์ หวังสนับสนุนเศรษฐกิจแดนใต้ ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 67

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง งบลงทุนราว 3.5 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 91 กิโลเมตร (กม.) ขณะนี้ รฟท.เตรียมเสนอให้บอร์ดอนุมัติให้ว่าจ้าง กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา MAA Consortium ทำการศึกษาทบทวนงานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะมีการนำผลการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม


ที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เคยศึกษาไว้เมื่อปี 2561 มาทบทวนใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge)ที่ต้องการให้มีการเชื่อมต่อการเดินทางกับท่าเรือ 2 ฝั่งทะเล อ่าวไทย-อันดามัน อย่างบูรณาการ และให้สอดคล้องแผนแม่บทการบูรณาการงานก่อสร้างมอเตอร์เวย์ และทางรถไฟให้สอดคล้องกัน (MR-MAP ) ตามนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ขณะเดียวกันโครงการดังกล่าวจะใช้เวลาในการศึกษาทบทวนราว 1 ปี คาดว่าจะนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้ในช่วงปลายปี 2565 จากนั้นเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการในปี 2566 และตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2567 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี และเปิดให้บริการในปี 2573

รื้อแผนรถไฟทางคู่สายชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนองบูมแลนด์บริดจ์


รายงานข่าวจาก รฟท.กล่าวว่า ส่วนการปรับแก้ไขแนวเส้นทางบางส่วน เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมตามผลการศึกษาของ สนข.ไม่เหมาะสมกับการใช้เป็นแนวเส้นทางที่จะพัฒนาควบคู่ไปกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ตามนโยบายและผลการพัฒนา MR-MAP เนื่องจากแนวเส้นทางอยู่ใกล้และเกือบขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 ที่เป็นทางหลวงสายหลัก และยังไม่ตอบสนองการเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึกตามการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) ที่ต้องการสร้างโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงการเดินทางของคน และสินค้าเข้าสู่สถานีรถไฟระนอง ต่อไปยังถนนเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกชุมพร ด่านศุลกากร โครงข่ายมอเตอร์เวย์ สายชุมพร-ระนอง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงท่าอากาศยานระนอง และชุมพร


สำหรับแนวเส้นทางใหม่ของโครงการฯ มีจุดเริ่มต้นโครงการตามแนวเส้นทางใหม่จะเริ่มที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมริ่ว ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ตัดผ่านไปทางตะวันตก ผ่านทางรถไฟสายใต้บริเวณทิศเหนือของสถานีควนหินมุ้ย จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทล. 4097 และตัดผ่านทล. 41 (สายแยกปฐมพร-พัทลุง) และขนานไปกับแนวทล. 4006 (สายราชกรูด-หลังสวน) ผ่านพื้นที่ภูเขา แล้วตัดกับทล. 4006 จากนั้นมุ่งลงไปทางทิศใต้ ขนานกับทล. 4 (ถนนเพชรเกษม) โดยอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทล.4 ผ่านด้านหลังของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนองจากนั้นแนวเส้นทางโค้งขวามุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านพื้นที่ป่าชายเลนไปสิ้นสุดที่ชายฝั่งทะเลอันดามันที่บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง โดยแนวเส้นทางโครงการฯ ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 9 ตำบล 3อำเภอ ของ 2 จังหวัด ได้แก่ ต.บางน้ำจืด ต.นาขา ต.วังตะกอ และ ต.หาดยาย ของ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ต.ปังหวาน ต.พระรักษ์ ต.พะโต๊ะ และ ต.ปากทรง ของ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/07/2021 7:56 am    Post subject: Reply with quote

รายงาน: รื้อใหม่ รถไฟ 'ชุมพร-ระนอง' ยกระดับเชื่อม 2 ฝั่งมหาสมุทร
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
* บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

เป็นความคืบหน้าของเส้นทางรถไฟสายใหม่ชุมพร-ท่าเรือระนอง ที่สำนักนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร (สนข.) เคยศึกษาไว้เมื่อปี 2561 ออกแบบให้เป็นรถไฟทางเดี่ยว (พร้อมขยายเป็นทางคู่ในอนาคต) มีระยะทาง 108 กิโลเมตร (กม.) 9 สถานี โดยแนวสายทางจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยกเข้าสู่ตัวเมืองระนองอีก 5 กิโลเมตร วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท

การพัฒนาเส้นทางรถไฟชุมพร-ระนองตามแนวเส้นทางนี้ กำหนดเป้าหมายเปิดให้บริการปี 2568 มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 12.20% โดยคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการในปีแรกอยู่ที่ 5,724 คนต่อปี และจะเพิ่มเป็นจำนวน 11,710 คนต่อปี ภายในระยะเวลา 30 ปี หลังจากเปิดให้บริการ คิดเป็นปริมาณการเติบโตราว 100% หรือคิดเป็น 28% ต่อระยะเวลา 10 ปี

แต่เมื่อรัฐบาลยกระดับจากระดับแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน(SEC) สู่แผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิต ระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ผ่านประตูการค้าในฝั่งอันดามัน ในลักษณะการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ รวมถึงเพื่อรองรับการเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้า ของเรือขนส่งสินค้าระหว่างกลุ่มประเทศมหาสมุทรแปซิฟิค กับกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ในลักษณะการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge)

จึงได้มีการรื้อผลการศึกษาใหม่ เบื้องต้นจะปรับแก้แนวเส้นทางบางส่วน เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมตามผลการศึกษาของ สนข.ไม่เหมาะสมกับการใช้เป็นแนวเส้นทางที่จะพัฒนาควบคู่ไปกับมอเตอร์เวย์ เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมอยู่ใกล้และเกือบขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 ที่เป็นทางหลวงสายหลัก และยังไม่ตอบสนองการเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึก ตามการศึกษาโครงการแลนด์บริดส์ที่ต้องสร้างโครงข่ายคมนาคม เชื่อมโยงการเดินทางของคน และสินค้าเข้าสู่สถานีรถไฟระนอง ต่อไปยังถนนและเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกชุมพร ด่านศุลกากร มอเตอร์เวย์ สายชุมพร-ระนอง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงท่าอากาศยานระนองและชุมพรอีกด้วย

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เดือนกรกฎาคม 2564 จะพิจารณาอนุมัติว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา MMA Consortium ทำการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โดยจะศึกษาต่อยอดจากผลการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมของสนข. เมื่อปี 2561 ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) โดยจะเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge) และการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และระบบราง (MR-MAP) ตามนโยบายของกระทรวงคมมนาคม

จุดเริ่มต้นโครงการตามแนวเส้นทางใหม่ เปลี่ยนจากพื้นที่อ.เมืองชุมพร ลงไปทางใต้ คือ เริ่มที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมรั่ว ต.บางน้ำจืด เขตอ.หลังสวน จ.ชุมพร ตัดผ่านไปทางตะวันตก ผ่านทางรถไฟสายใต้ บริเวณทิศเหนือของสถานีควนหินมุ้ย

จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านทางหลวง ทล.หมายเลข 4097 และตัดผ่าน ทล.41 (แยกปฐมพร-พัทลุง) ขนานไปกับแนว ทล.4006 (สายราชกรูด-หลังสวน) ผ่านพื้นที่ภูเขา และตัดกับ ทล.4006 จากนั้นมุ่งลงไปทางใต้ ขนานกับ ทล.4 (ถนนเพชรเกษม) โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของ ทล.4 ผ่านด้านหลังของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง

ตามแนวเส้นทางโค้งขวามุ่งไปสู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านพื้นที่ป่าชายเลน ไปสิ้นสุดที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง โดยเส้นทางผ่านพื้นที่ 9 ตำบล 3 อำเภอ ของ 2 จังหวัด ได้แก่ ต.บางน้ำจืด ต.นาขา ต.วังตะกอ และ ต.หาดยาย ของ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ต.ปังหวาน ต.พะโต๊ะ และ ต.ปากทรง ของ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ ต.ราชกรูด จ.ระนอง

สำหรับเส้นทางรถไฟใหม่จะเป็นแนวเส้นตรงมากขึ้น ช่วยลดค่าก่อสร้าง และผลกระทบสิ่งแวด ล้อม และหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินชุมชน ความยาวตลอดแนวเส้นทางประมาณ 91 กม. คาดใช้งบประมาณการลงทุน 3.5 หมื่นล้านบาท

นอกจากมีถนนมอเตอร์เวย์ร่วมกับรถไฟทางคู่แล้ว ในแผนงานเป็นทางรถไฟเชื่อม 2 ฝั่งทะเล จึงจะต้องมีท่าเรือน้ำลึกเพื่อเป็นจุดขึ้นลงสินค้าทั้งทางฝั่งอ่าวไทย ที่อ.หลังสวน ชุมพร และที่อ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง ที่ต้องลงทุนใหม่ จากแนวเดิมที่เส้นทางรถไฟจะไปสิ้นสุดที่ท่าเรือระนอง ในเขตอ.เมืองระนอง

รฟท.แจ้งว่า การศึกษาจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี คาดว่าจะเสนอรายงานอีไอเอได้ในช่วงปลายปี 2565 จากนั้นเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการในปี 2566 ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และกำหนดเปิดให้บริการในปี 2573

นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า แผนแนวคิดดังกล่าว ถือเป็นความก้าวหน้าและคืบหน้า ในการรองรับและเตรียมพร้อมต่อยอดโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เพื่อให้ระนองเป็นประตูการค้า ทำให้ประเทศมีเมืองท่าฝั่งตะวันตกเช่นในอดีตอีกครั้ง

แผนโลจิสติกส์เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งนี้ จะมีทั้ง1.ท่าเรือชาบฝั่งอ่าวไทย (Coastal Port) มีขนาดร่องน้ำลึก 5-6 ม. และรองรับเรือขนาด 200-300 ตู้ เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่SEC กับ EEC 2.ท่าเรือเพื่อการส่งออกและนำเข้า (Gateway Port) ขนาดร่องน้ำลึก 8-9 ม. และรองรับเรือขนาด 1,000-1,200 ตู้ ของSEC กับประเทศในภูมิภาค และ3.ท่าเรือเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ (Tarnsshipment Port) มีขนาดร่องน้ำลึก 15-16 ม. และรองรับเรือขนาด 5,000-7,000 ตู้ ระหว่างกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค กับกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย

ท่าเรือฝั่งอันดามันที่ระนอง จะมีทั้ง
1. เชื่อมโยงท่าเรือในกลุ่มประเทศ BIMSTEC โดยมีขนาดร่องน้ำลึกประมาณ 8-9 ม. รองรับเรือขนาดประมาณ 1,000-1,200 ตู้ และ
2.เชื่อมโยงท่าเรือในกลุ่มประเทศ กลุ่มยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง โดยมีขนาดร่องน้ำลึกประมาณ 15-16 ม. รองรับเรือขนาด 5,000-7,000 ตู้ (ในอนาคต โดยอาจทำท่าเรือน้ำลึกนอกชายฝั่ง)

โครงการดังกล่าวได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการให้บริการขนส่งสินค้า 3 ส่วนคือ
1.เป็นเส้นทางลัดของเส้นทางเดินเรือหลัก เชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก เป็นทางเลือกในการถ่ายลำการขนส่งสินค้าในภูมิภาค (Transshipment Port) และสะพานเศรษฐกิจพลังงาน (Oil Bridge)

2. เป็นเส้นทางสำหรับสินค้านำเข้าและส่งออก ระหว่างไทยกับประเทศทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และ

3. เป็นเส้นทางสำหรับสินค้าที่จะมาจากทางจีนตอนใต้ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่หลังท่า โดยเฉพาะเรื่องการประกอบชิ้นส่วน (Amsembly)

เปลี่ยนแนวคิดรื้อแผนใหม่อาจต้องล่าช้าไปอีก 6-7 ปี แต่ถ้าโปรเจ็กต์แลนด์บริดจ์เกิด คนระนองจะได้โครงการยักษ์ระดับบิ๊กเบิ้มกันเลยทีเดียว

"เส้นทางรถไฟใหม่จะเป็นแนวเส้นตรงมากขึ้น ช่วยลดค่าก่อสร้าง เลี่ยงการเวนคืนที่ดินชุมชน"

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2021 1:35 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รายงาน: รื้อใหม่ รถไฟ 'ชุมพร-ระนอง' ยกระดับเชื่อม 2 ฝั่งมหาสมุทร
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
* บุญเลื่อน พรหมประทานกุล


ลิงก์มาแล้วครับ
รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ"ชุมพร-ระนอง" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก
หน้าเศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
รายงาน/บุญเลื่อน พรหมประทานกุล
ออนไลน์เมือ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:59 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7 ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,698 วํนที่ 22-24 กรกฎาคม พ.ศ.2564


คนระนองได้แน่ทางรถไฟสายใหม่เชื่อมชุมพร แต่เวลานี้ยังไม่สะเด็ดน้ำ เนื่องจากมีการเสนอทางเลือกใหม่ที่ยกระดับใหญ่ขึ้นไปอีก ทำให้แผนงานที่ศึกษาเตรียมจะลงมือต้องรื้อกลับมาทำใหม่ เพื่อรอการตัดสินใจขั้นสุดท้ายอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2021 2:43 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
รายงาน: รื้อใหม่ รถไฟ 'ชุมพร-ระนอง' ยกระดับเชื่อม 2 ฝั่งมหาสมุทร
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
* บุญเลื่อน พรหมประทานกุล


ลิงก์มาแล้วครับ
รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ"ชุมพร-ระนอง" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก
หน้าเศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
รายงาน/บุญเลื่อน พรหมประทานกุล
ออนไลน์เมือ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:59 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7 ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,698 วํนที่ 22-24 กรกฎาคม พ.ศ.2564


คนระนองได้แน่ทางรถไฟสายใหม่เชื่อมชุมพร แต่เวลานี้ยังไม่สะเด็ดน้ำ เนื่องจากมีการเสนอทางเลือกใหม่ที่ยกระดับใหญ่ขึ้นไปอีก ทำให้แผนงานที่ศึกษาเตรียมจะลงมือต้องรื้อกลับมาทำใหม่ เพื่อรอการตัดสินใจขั้นสุดท้ายอีกครั้ง


มีคนให้ความเห็นถึงสาเหตุที่ต้องเปลี่ยนเส้นทางรถไฟชุมพร ไป ระนองเสียใหม่ ที่น่าสนใจมาก น่ารับฟังครับ

Chen Rattanasatian wrote:
ท่าเรือระนองตำแหน่งเดิมไม่เหมาะต่อการพัฒนา ควรร่นลงมาแถบราชกรูด-หลังสวนเหมาะสมที่สุดแล้วครับ
1. ภูมิประเทศที่ไม่ใช่ภูเขาสูงชันมากนัก
2. อยู่บนเส้นทางเดินเรือของโลกและเสียเวลาบนแผ่นดินน้อยที่สุด
3. ห่างจากชายแดนเมียนมาร์ทำให้ไม่ล่อแหลมต่อความมั่นคงหรือการจัดการปัญหาน่านน้ำ
4. ราชกรูดและหลังสวน มีที่ราบกว้างขวางเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพียงพอ
5. ได้ประโยชน์ต่อภาพรวมของภาคใต้มากกว่าเส้นกระบุรี-ชุมพร เพราะสุราษและพังงาก็จะได้ใช้ประโยชน์ อย่างน้อยก็ด้านการท่องเที่ยวระหว่างแหล่งท่องเที่ยวสำคัญจริงๆอย่าง ภูเก็ต - เขาหลัก - เกาะพยาม - เกาะเต่า - เกาะสมุย โดยไม่ต้องอ้อมไปถึงเมืองชุมพรแล้วนั่งเรือย้อนมาเกาะเต่าอีก
6. สินค้าหลักของภาคใต้อย่างยางพาราและปาล์มน้ำมันก็จะได้ประโยชน์เพราะพื้นที่เพาะปลูกหลักอยู่ตอนกลางของภูมิภาคซึ่งใกล้ราชกรูดและหลังสวนมากกว่ากระบุรี-ชุมพรเยอะ ถ้าไปทำกระบุรี-ชุมพร สินค้าภาคใต้จะไปไหวไหม เหนือสุดขนาดนั้น
7. อยู่ระหว่างแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติพอดี คือ อช.สิมิลัน จว พังงา และ อช.สุรินทร์ จว ระนอง ทำให้ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/10/2021 8:17 am    Post subject: Reply with quote

แผนแลนด์บริดจ์ 3 แสนล้าน 'คมนาคม'เร่งเครื่องประมูลปี 65
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, October 20, 2021 04:15
วรรณิกา จิตตินรากร

Click on the image for full size

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย หรือ แลนด์บริดจ์ เป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ตัวสำคัญของการ เชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมเพื่อสนับสนุน การค้า การขนส่ง การเดินทางและ การท่องเที่ยว โดยปัจจุบันสำนักงาน นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างศึกษาแนวเส้นทางรถไฟ โครงข่ายทางน้ำ และก่อสร้างทางพิเศษ (มอเตอร์เวย์) เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่แลนด์บริดจ์กับภูมิภาคอื่น รวมถึงเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี)

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้า ของโครงการนี้ว่า ในปี 2565 กระทรวงคมนาคม จะผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายของรัฐบาล นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำ และสามารถเชื่อมต่อการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน เอเชียและยุโรปได้อย่างสะดวกสบาย และลดต้นทุน การเดินทางจากเส้นทางขนส่งที่กระชับ ไม่ต้องอ้อมไปยังช่องแคบมะละกา

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สนข.อยู่ระหว่างเร่งรัดศึกษาโครงข่ายคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่แลนด์บริดจ์ ประกอบด้วย เส้นทาง รถไฟช่วงชุมพร-ระนอง โครงการมอเตอร์เวย์ชุมพร-ระนอง และท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง ในจ.ชุมพรและระนอง คาดว่า ผลการศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของโครงการต่างๆ จะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2565 หลังจากนั้นจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเริ่มงานออกแบบได้ทันที

ขณะที่แผนผลักดันงานก่อสร้าง ในเบื้องต้นประเมินว่าขั้นตอนการออกแบบ น่าจะใช้เวลาราว 1 ปีแล้วเสร็จ ดังนั้นกระบวนการประกวดราคาจะเริ่มต้น ดำเนินการในปี 2566-2567 โดยรูปแบบในการดำเนินการจะเป็นการเปิดหาเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) แบบ International Bidding ประเมิน วงเงินลงทุนกว่า 2-3 แสนล้านบาท โดยจะเป็นการประกวดราคารวมทุกโครงการไม่แยกสัญญา เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมประเมินว่า หากขั้นตอนทุกอย่างเกิดขึ้นตามแผน ข้างต้นจะใช้เวลาก่อสร้างโครงการราว 2-3 ปี และคาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2570-2572 ซึ่งจะสอดคล้องไปกับระยะเวลาเปิดให้บริการโครงการในอีอีซี โดยทำให้ ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางของ การขนส่งสินค้าอย่างสมบูรณ์ สามารถ เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าจากเอเชียในอีอีซีส่งต่อมายังแลนด์บริดจ์ ผ่านทะเลอ่าวไทย และไปยังอันดามัน เพื่อเชื่อมต่อกับ ยุโรป

"แลนด์บริดจ์จะเป็นตัวเลือกการ ขนส่งสินค้าที่ลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้อย่างมาก เพราะไม่ต้องใช้เส้นทางที่อ้อมและมีระยะไกล การจราจรทางน้ำคับคั่งในเส้นทางช่องแคบมะละกา ซึ่งปัจจุบัน มีปริมาณเรือสูงถึง 1 แสนลำต่อปี และคาดว่าในปี 2567 ช่องแคบมะละกาจะ เต็มศักยภาพในการรองรับปริมาณเรือ รวมทั้งในปี 2593 ปริมาณเรือจะขยายตัวไปอีก 4 เท่า ดังนั้นไทยควรเร่งพัฒนาเพื่อรองรับดีมานด์"
รวมทั้งกระทรวงคมนาคม มั่นใจว่าหากมีการพัฒนาแลนด์บริดจ์แล้วเสร็จ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของพื้นที่ ภาคใต้ จะเติบโตจากสัดส่วน 2% เป็น 10% เป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี และเมื่อโครงข่ายคมนาคมเปิดใช้อย่าง เต็มรูปแบบ จะผลักดันให้ปริมาณการขนส่ง ตู้คอนเทนเนอร์ เส้นทางเรือ จากตะวันออกของภูมิภาค ไปยังตะวันตกของภูมิภาค เพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด

สำหรับบทบาทของแลนด์บริดจ์จะเป็น ประตูการค้ารองรับการนำเข้าส่งออกของประเทศไทย รวมถึงเป็นประตูในการขนส่ง และแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศ ในภูมิภาค เช่น อาเซียน และ BIMSTEC ส่วนด้านการขนส่ง จะเป็นทางเลือกในการถ่ายโอนสินค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก โดยขนถ่ายจากคมนาคมทางน้ำ เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟ และมอเตอร์เวย์

นอกจากนี้ แลนด์บริดจ์จะยังเป็นทางเลือก ในการขนส่งน้ำมันดิบ โดยขนส่งทางเรือ จาก "ช่องแคบฮอร์มุซ" มายังท่าเรือระนอง และส่งผ่านทางท่อไปยังท่าเรือชุมพร เพื่อกระจาย ในภูมิภาค เช่น อาเซียน BIMSTEC รวมถึง จีนบางส่วน โดยการพัฒนาแลนด์บริดจ์ในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดงบประมาณได้มากกว่าแนวคิดการขุดคอคอดกระ เพราะคอคอดกระจะใช้งบประมาณสูง กว่า 4 ล้านล้านบาท

รายงานข่าวจาก สนข.ระบุว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาแนวเส้นทางของการก่อสร้างรถไฟและมอเตอร์เวย์ รวมไปถึงจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เหมาะสมต่อการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่ใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว สนข.คาดว่าจะทันเสนอกระทรวงคมนาคมภายในต้นปี 2565 โดยเบื้องต้น สนข.ได้ทบทวนเส้นทางรถไฟสายชุมพร-ระนอง ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เคยศึกษามาก่อนหน้านี้ ปรับแนวเส้นทางทั้งหมด เน้นให้เป็นเส้นทางตรง ไม่เน้น ตัดผ่านเข้าชุมชน เพื่อให้การขนส่ง ประหยัดเวลาและต้นทุน

"ตอนนี้เราไม่ได้ใช้แนวเส้นทางเดิมของ ร.ฟ.ท.เพราะเป้าหมายของการพัฒนาได้ปรับใหม่จากเดิมจะพัฒนาเส้นทางชุมพรระนอง เพื่อขนคน ตอนนี้เราปรับเพื่อเน้นขนส่งสินค้า ดังนั้นไม่ต้องตัดผ่านเข้าชุมชน เส้นทางรถไฟต้องไม่อ้อม ซึ่งจะสามารถ ลดต้นทุนผู้ประกอบการได้ และจากการปรับแนวเส้นทางไม่อ้อมนั้น จะช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างด้วย"
ทั้งนี้การก่อสร้างโครงการคมนาคมในพื้นที่แลนด์บริดจ์ จะสร้างไปพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องตามแผน บูรณาการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมต่อ แนวเส้นทางรถไฟทางคู่ (MR-MAP) ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบ จากการเวนคืนที่ดินของภาคประชาชน โดยแนวเส้นทางรถไฟและมอเตอร์เวย์จะเป็นการศึกษาใช้แนวเส้นทางเดียวกัน เป็นพื้นที่ทับซ้อน และเชื่อมต่อเข้ากับ ท่าเรือน้ำลึก โดยเน้นเส้นทางต้องเป็นแนวตรง กระชับและประหยัดเวลา

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 ต.ค. 2564

-----------

“ศักดิ์สยาม”พบทูตอิตาลี ชวนร่วมลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์
เผยแพร่: 20 ต.ค. 2564 19:57 ปรับปรุง: 20 ต.ค. 2564 19:57 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม”พบ”ทูตอิตาลี” เผยสนใจร่วมพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน พร้อมชวนนักลงทุนอิตาลีร่วมลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ ของไทย

วันที่ 20 ต.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ H.E. Mr. Lorenzo Galanti เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทยเข้าพบ และหารือในประเด็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการระบบรางของไทย โดยมี นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายประภัทรเผ่า อาวะกุล ผู้อำนวยการกองต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เข้าร่วม โดยที่ประชุมได้หารือในหลายประเด็น

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า การรถไฟแห่งชาติอิตาลี (FS) ให้ความสนใจโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทั้งในรูปแบบเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน

ส่วน การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นั้น ได้แจ้งถึงความคืบหน้า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ซึ่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ซึ่งได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำรายงานแนวทางการพัฒนาโครงการฯ ในรูปแบบ PPP คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 12 เดือน (มิถุนายน 2564 – พฤษภาคม 2565) พร้อมกันนี้รายงานเป้าหมายและความก้าวหน้าการยกระดับโครงข่ายระบบรางในเส้นทางอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งเอกอัครราชทูตฯ เห็นว่าการพัฒนารากฐานระบบรางของไทย เชื่อว่าภาคเอกชนอิตาลีจะสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาได้อีกมาก

ในด้านการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในระดับภูมิภาค นั้น กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอการพัฒนาโครงข่ายที่สำคัญของไทย อาทิ โครงการ Land Bridge (Chumphon Ranong) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศในประเทศ และโครงการศึกษาโครงข่ายร่วมกันระหว่างทางรถไฟกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองภายใต้กรอบแผนแม่บท MR-MAP (Motorways + Rails) เป็นต้น

โดยได้เชิญชวนภาคเอกชนอิตาลีที่มีศักยภาพเข้าร่วมลงทุน โดยยืนยันความพร้อมของไทยในการสร้างเสริมความสามารถทางการแข่งขันในระดับนานาชาติ ทั้งนี้ ทางเอกอัครราชทูตฯ ชื่นชมวิสัยทัศน์แนวคิดการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ Land Bridge ซึ่งหากสำเร็จจะเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายที่สำคัญให้กับภูมิภาคเอเชียได้ในอนาคต และประชาสัมพันธ์ข่าวสารกับภาคเอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐานของอิตาลีต่อไป

สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนทัศนะต่อนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งนโยบายที่จะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวของไทย ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ที่ใกล้จะถึงนี้ และการถอดบทเรียนการปรับตัวการใช้ชีวิตของประชาชนหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ในอิตาลี

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/11/2021 3:17 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์โครงการพัฒนาด้านการขนส่งระหว่างเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามัน Landbridge l พฤศจิกายน 64 l สนข.
Nov 12, 2021
Daoreuk Channel


https://www.youtube.com/watch?v=h7IIf-tlGoY

วีดิทัศน์ประกอบการตรวจราชการพื้นที่จังหวัดระนอง จังหวัดพัทลุง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ตและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564
ณ จังหวัดกระบี่ของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ระหว่างวันที่ 12 - 16 พฤศจิกายน 2564

โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

โดย สำนักงานนโยบายและเเผนการขนส่งและจราจร (สนข.)


------------


ทางคู่ชุมพร-ระนองพัฒนา 3 สถานี 7 โซน
Source - เดลินิวส์
Monday, November 15, 2021 05:41

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ไม่เกินปลายปีนี้จะลงนามสัญญาว่าจ้างกลุ่มบริษัท MMA Consortium เป็นที่ปรึกษาศึกษาทบทวนความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะทาง 91 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน แล้วเสร็จช่วงปลายปี 65 เข้าสู่ขั้นตอนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใช้เวลาอีก 18 เดือน คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการได้ประมาณเดือน มิ.ย.67 ตั้งเป้าหมายเปิดประกวดราคา (ประมูล) ช่วงปลายปี 67 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี

เบื้องต้นจะปรับแบบเส้นทางใหม่ตัดตรงมากขึ้นตามนโนบายการพัฒนา โครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และระบบราง (MR-MAP) โดยขยับจุดเริ่มต้นโครงการลงไปด้านใต้ เริ่มต้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณ แหลมริ่ว จากเดิมเริ่มต้นที่ด้านใต้สถานีรถไฟชุมพร มีจุดสิ้นสุดโครงการที่ชายฝั่งทะเลอันดามันบริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกูด จ.ระนอง เชื่อมโยงการเดินทาง และขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทย และอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ด้วยระบบราง

ทั้งนี้ รฟท.ได้ทบทวนการพัฒนาพื้นที่และการใช้ประโยชน์จากที่ดินโดยรอบสถานี (ทีโอดี) เพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ให้กับ รฟท.ส่งเสริม พาณิชยกรรม กระตุ้นเศรษฐกิจ รองรับการท่องเที่ยวระดับนานาชาติและส่งเสริม การท่องเที่ยวในพื้นที่ มีศักยภาพ 3 สถานีคือ
1.สถานีชุมพร ตั้งอยู่ในเขตเมือง เชื่อมต่อสถานีขนส่งระดับจังหวัด
2.สถานีระนอง เป็นสถานีในอนาคต อยู่ในเขตเมือง เชื่อมต่อสถานีขนส่งระดับจังหวัด มีศักยภาพในระดับศูนย์กลางเมือง และ
3. สถานีท่าเรือน้ำลึกระนอง เป็นสถานีในอนาคต ตั้งอยู่บริเวณใกล้ท่าเรือน้ำลึกระนอง มีศักยภาพในระดับย่านชุมชนเมือง

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ได้กำหนดโซนการพัฒนาหลัก เพื่อหารายได้เชิงพาณิชย์ แบ่งเป็น 7 โซน ได้แก่
1.Zone SRT Operated Area (Existing) ใช้เป็นพื้นที่กิจกรรมของ รฟท.
2.Zone Rented Area (Non-SRT) พื้นที่ภายใต้การกำกับดูแล รฟท. รองรับรถไฟความเร็วสูง
3.Zone New Commercial & Activity Zone พื้นที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์ เป็นศูนย์กลางรองรับกิจกรรมสำหรับผู้อยู่อาศัยใหม่รองรับผู้ค้าขายในพื้นที่เดิม เชื่อมต่อศูนย์กลางด้านคมนาคมด้วยทางเดินเท้า เส้นทางคมนาคมทางบก
4.Zone City Hotel & Tourist Center พื้นที่พาณิชยกรรมและรองรับการท่องเที่ยว และ ผู้อาศัยในบริเวณโดยรอบ แบ่งเป็นกลุ่มโรงแรมและอาคารพาณิชยกรรม
5.Zone New Residential Ville พื้นที่พักอาศัยรองรับกลุ่มผู้อาศัยใหม่รวมถึงกลุ่มที่ต้องการเดินทางระยะใกล้
6.Zone Luxury Hotel บริเวณสถานีท่าเรือน้ำลึกระนอง พัฒนาเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมประเภทโรงแรมระดับ 5 ดาว รวมถึงการท่องเที่ยวในพื้นที่ และประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมา และ
7.Zone Warehouse and Eco-industrial บริเวณสถานีท่าเรือน้ำลึกระนอง รองรับกิจกรรมในการเป็นสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 พ.ย. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 18, 19, 20  Next
Page 4 of 20

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©