RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13268605
ทั้งหมด:13579892
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 18, 19, 20  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2021 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
วีดิทัศน์โครงการพัฒนาด้านการขนส่งระหว่างเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามัน Landbridge l พฤศจิกายน 64 l สนข.
Nov 12, 2021
Daoreuk Channel
https://www.youtube.com/watch?v=h7IIf-tlGoY



ทางคู่ชุมพร-ระนองพัฒนา 3 สถานี 7 โซน
Source - เดลินิวส์
Monday, November 15, 2021 05:41


ลิงก์มาแล้วครับ
รอเซ็นจ้างรีวิวรถไฟทางคู่สายใหม่“ชุมพร-ระนอง”
*รฟท.เปิดแผนพัฒนาทีโอดี 3 สถานี 7 โซน
*ตัดตรงขึ้นตามนโยบายรางควบมอเตอร์เวย์
*จากหาดริ่ว-ชายฝั่งอันดามันอ่าวนาง 91กม.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3047102768844554
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44600
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2021 9:53 pm    Post subject: Reply with quote

เล็งผุดโรงแรม 5 ดาว-มิกซ์ยูส บูมรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 16 พ.ย. 2564 เวลา 20:23 น.

รฟท.ผุดแนวคิดพัฒนา TOD ดันโรงแรม 5 ดาว-มิกซ์ยูส หนุนแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทางคู่ชุมพร-ระนอง เล็งปักหมุดเส้นทางใหม่ รับแผน MR-MAP ปั๊มรายได้เชิงพาณิชย์

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาทว่า ปัจจุบันเกิดความล่าช้าติดขั้นตอนที่สำนักงบประมาณต้องการให้รฟท. เจรจาต่อรองราคาว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาทบทวนความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมของโครงการ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง(MR-MAP) ทำให้ยังไม่สามารถลงนามว่าจ้างที่ปรึกษาได้แม้ว่าบอร์ด รฟท.จะอนุมัติให้ว่าจ้าง บริษัท MMA Consortium วงเงิน 68 ล้านบาท

คาดว่าจะลงนามว่าจ้างที่ปรึกษาได้ภายในปีนี้ ใช้เวลาศึกษา 12 เดือนแล้วเสร็จ ในช่วงปลายปี 2565 หลังจากนั้นจะดำเนินการขั้นตอนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใช้เวลาอีก 18 เดือน คาดว่าจะ เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการได้ช่วงเดือนมิถุนายน 2567 และเปิดประมูลช่วงปลายปี2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี

ขณะเดียวกันโครงการฯ จะมีการปรับแบบเส้นทางใหม่เป็นแบบตัดตรงมากขึ้นตามนโนบาย MR-MAP โดยจะขยับจุดเริ่มต้นโครงการลงไปด้านใต้ เริ่มต้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมริ่ว จากเดิมเริ่มต้นที่ด้านใต้สถานีรถไฟชุมพรมีจุดสิ้นสุดโครงการที่ชายฝั่งทะเลอันดามันบริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกูด จ.ระนอง

รายงานข่าวรฟท. กล่าวต่อว่า เส้นทางรถไฟดังกล่าว มีศักยภาพในการเชื่อมโยงการค้าของประเทศ โดยเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 2 ฝั่งทะเล (อ่าวไทย-ทะเลอันดามัน) เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างฐานการผลิตไปสู่ประตูการค้าของประเทศ ณ จุดท่าเรือน้ำลึกระนอง ผลักดันให้ท่าเรือระนองเป็นประตูการค้าผ่านแดนด้านฝั่งทะเลอันดามัน และยังเป็นการส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างสองฝั่งมหาสมุทร ด้วยระบบราง (Land-bridge) เชื่อมต่อการขนส่งสินค้ากับกลุ่มประเทศอ่าวเบงกอล โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) คาดว่าเมื่อเปิดบริการปี แรกจะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 12.20% คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น คิดเป็น 28% ต่อระยะเวลา 10 ปี ด้านปริมาณการขนส่งสินค้า คิดเป็นปริมาณการเติบโตเฉลี่ย 53% ต่อระยะเวลา 10ปีเช่นกัน

ทั้งนี้ รฟท.จึงมีการทบทวนการพัฒนาพื้นที่และการใช้ประโยชน์จากที่ดินบริเวนพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD)ใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ให้กับ รฟท. และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ พบว่ามีสถานีที่มีศักยภาพจำนวน 3 สถานี คือ 1.สถานีชุมพร ตั้งอยู่ในเขตเมือง มีระยะเชื่อมต่อถึงสถานีขนส่งระดับจังหวัด 2.สถานีระนอง ซึ่งเป็นสถานีในอนาคต ตั้งอยู่ในเขตเมือง มีระยะเชื่อมต่อสถานีขนส่งระดับจังหวัด พื้นที่โดยรอบสถานี มีศักยภาพในระดับศูนย์กลางเมือง (Urban Center) และ 3. สถานีท่าเรือน้ำลึกระนอง ซึ่งเป็นสถานีในอนาคต ตั้งอยู่บริเวณใกล้ท่าเรือน้ำลึกระนอง มีระยะเชื่อมต่อกับท่าเรือน้ำลึกระนอง พื้นที่โดยรอบสถานี มีศักยภาพในระดับย่านชุมชนเมือง (Urban Neighborhood) ซึ่ง รฟท. ตั้งเป้าที่จะพัฒนา 3 สถานีดังกล่าว เพื่อส่งเสริมพาณิชยกรรม กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและรองรับการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ

สำหรับการกำหนดโซนการพัฒนาหลักเพื่อหารายได้เชิงพาณิชย์ โดยแบ่งออกเป็น 7โซน
1) Zone SRT Operated Area (Existing) ใช้เป็นพื้นที่ภายใต้การใช้กิจกรรมของ รฟท.

2) Zone Rented Area (Non-SRT) ใช้เป็นพื้นที่ภายใต้การกำกับดูแล รฟท. เตรียมเป็นพื้นที่รองรับรถไฟความเร็วสูง

3) Zone New Commercial & Activity Zone ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์ เป็นศูนย์กลางรองรับกิจกรรมสำหรับผู้อยู่อาศัยใหม่ในพื้นที่ รองรับผู้ค้าขายในพื้นที่เดิม เชื่อมต่อศูนย์กลางด้านคมนาคมด้วยทางเดินเท้า เส้นทางคมนาคมทางบก

4) Zone City Hotel & Tourist Center ใช้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมและรองรับการท่องเที่ยว และผู้อาศัยในบริเวณโดยรอบ แบ่งเป็นกลุ่มโรงแรม และอาคารพาณิชยกรรม

5) Zone New Residential Ville ใช้เป็นพื้นที่พักอาศัยรองรับกลุ่มผู้อาศัยใหม่ในบริเวณพื้นที่ รองรับกลุ่มที่มีความต้องการในการเดินทางระยะใกล้ ใช้เวลาไม่มากในการเดินทางจากที่พักไปยังที่ทำงาน เนื่องจากบริเวณที่ตั้งอยู่บริเวณแหล่งงานอื่นๆ

6) Zone Luxury Hotel สำหรับบริเวณสถานีท่าเรือน้ำลึกระนอง พัฒนาเป็นพื้นที่ในการรองรับกิจกรรมประเภทโรงแรมระดับ 5 ดาวรองรับการท่องเที่ยวในพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้านเมียนมา

และ7) Zone Warehouse and Eco-industrial สำหรับบริเวณสถานีท่าเรือน้ำลึกระนอง ใช้เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมในการเป็นสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44600
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2021 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

ประชาพิจารณ์นัดแรก มอเตอร์เวย์พ่วงรางรถไฟ"แลนด์บริดจ์"ชุมพร-ระนอง
หน้าแรก เศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจ 18 พ.ย. 2564 เวลา 17:15 น.

กรมทางหลวง จัดประชุมออนไลน์รับฟังความคิดเห็นประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งแรก งานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่าย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยใช้เงินค่าธรรรมเนียมผ่านทาง เส้น MR 8 หรือแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมทางหลวง ร่วมกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 งานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยใช้เงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง เป็นการประชุมในรูปแบบทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากโรงแรมนานาบุรี อ.เมือง จ.ชุมพร มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง

สำหรับการพัฒนาโครงข่ายแผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง หรือ MR-Map มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เขตทางที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ลดการเวนคืนพื้นที่โดยไม่จำเป็น พัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่ ปรับปรุงการเชื่อมต่อโครงข่าย รวมทั้งเพิ่มความสะดวก คล่องตัว และความปลอดภัย สำหรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า แก้ปัญหาทางรถไฟในเขตเมือง และปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างประเทศของโครงข่าย

Click on the image for full size
กรมทางหลวงและบริษัทที่ปรึกษา จัดประชุมออนไลน์ชุมพร-ระนอง ฟังความเห็นในการศึกษาความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์มอเตอร์เวย์-รถไฟเชื่อมชุมพร-ระนอง(แลนด์บริดจ์)

Click on the image for full size
ประชาพิจารณ์นัดแรก มอเตอร์เวย์พ่วงรางรถไฟ"แลนด์บริดจ์"ชุมพร-ระนอง

สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ คือ ลดการเวนคืนและแบ่งแยกชุมชน เพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างภูมิภาคและการขนส่งระหว่างประเทศ ลดระยะเวลาในการเดินทางและขนส่ง ลดปัญหาการจราจรติดขัดที่เกิดขึ้นทั้งในเขตเมืองและบริเวณด่านชายแดน และพัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่ โดยใช้การเชื่อมโยงการเดินทางหลากหลายรูปแบบ

นายชุมโชค นันทวิชิต ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การพัฒนาโครงข่ายแผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(Motor way) ร่วมกับระบบราง หรือ MR-Map แบ่งเป็น 10 เส้นทาง ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งเหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 6,940 กิโลเมตร แบ่งเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง 4,720 กิโลเมตร

Click on the image for full size
ประชาพิจารณ์นัดแรก มอเตอร์เวย์พ่วงรางรถไฟ"แลนด์บริดจ์"ชุมพร-ระนอง
Click on the image for full size
ประชาพิจารณ์นัดแรก มอเตอร์เวย์พ่วงรางรถไฟ"แลนด์บริดจ์"ชุมพร-ระนอง

ในส่วนของชุมพร-ระนอง อยู่ในเส้นทาง MR 8 แนวเส้นทางวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมต่อท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งทะเล คือฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน (Land Bridge) รองรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC รวมระยะทาง 94 กิโลเมตร

จุดเริ่มต้นของโครงการบริเวณแหลมรั่ว ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ผ่าน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ไปสิ้นสุดโครงการที่บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง ซึ่งเส้นทางที่ผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน จะมีการเจาะอุโมงค์ 2 ประเภท คือ

1. อุโมงค์รถยนต์ มี 3 แห่ง ได้แก่ แห่งที่ 1 ความยาว 1.7 กิโลเมตร แห่งที่ 2 ความยาว 3.6 กิโลเมตร อยู่ในเขต อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และแห่งที่ 3 ความยาว 4.7 กิโลเมตร อยู่ในเขต อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ อ.เมืองระนอง จ.ระนอง

2. อุโมงค์รถไฟ มี 2 แห่ง คือ แห่งที่ 1 ความยาว 1.5 กิโลเมตร อยู่ในเขต อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ แห่งที่ 2 ความยาว 8.5 กิโลเมตร อยู่ในเขต อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ อ.เมือง จ.ระนอง

ส่วนของท่าเทียบเรือน้ำลึกนั้น จะมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกแห่งใหม่บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง จ.ระนอง เนื่องจากท่าเทียบเรือระนองเดิมที่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนอง ระดับความลึกของน้ำไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44600
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2021 4:16 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. เปิดเวทีฟังเสียงชาวชุมพรดันโปรเจคท์แลนด์บริดจ์
เดลินิวส์ 7 ธันวาคม 2564 11:51 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

สนข. เปิดเวทีฟังเสียงชาวชุมพร พัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ พร้อมเผยแนวคิดสร้างท่าเรือชุมพรทันสมัย ยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port ขณะที่ท่าเรือระนอง เน้นสินค้าคอนเทเนอร์ ดันเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงท่าเรือกลุ่มประเทศแถมเอเชียใต้

Click on the image for full size

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ที่โรงแรมมรกตทวิน จ.ชุมพร นายกองเอกพุทธ กฤชคงพันธุ์ รอง ผวจ.ชุมพร เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือ แลนด์บริดจ์ (Landbridge) เพื่อนำเสนอความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ และขอบเขตการดำเนินงาน โดยมีนางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และคณะผู้บริหาร ภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานดังกล่าว

กระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ สนข. ดำเนินการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ โดยมีระยะเวลาศึกษาโครงการ 30 เดือน คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 66 ปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกผ่านช่องแคบมะละกา (สิงคโปร์) ซึ่งเส้นทางดังกล่าว เป็นเส้นทางที่อ้อมและมีระยะไกล การจราจรทางน้ำคับคั่ง จากข้อมูลปี 2561 ช่องแคบมะละกามีความหนาแน่นของปริมาณเรือสูงถึง 85,000 ลำ/ปี และในอีก 10 ปีข้างหน้า ปริมาณเรือจะเพิ่มขึ้นกว่า 128,000 ลำ ซึ่งเกินกว่าความจุของช่องแคบมะละกาที่รองรับได้ 122,000 ลำต่อปี ก่อให้เกิดปัญหาการติดขัดและเสียเวลาในการเดินทาง

Click on the image for full size

โครงการนี้มีขอบเขตการศึกษา ประกอบด้วย
    1.ศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การเงิน วิศวกรรม สังคม ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

    2.ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

    3.จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตามพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และ

    4.วิเคราะห์จัดทำรูปแบบการพัฒนาและการลงทุน (Business Development Model) ของโครงการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และ สร้างความเข้าใจ พร้อมรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านตลอดระยะเวลาดำเนินงาน

โดยแนวคิดการพัฒนาสร้างท่าเรือชุมพร กำหนดให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย โดยนำระบบออโตเมชั่นมาใช้เพื่อยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port ส่วนแนวคิดการพัฒนาท่าเรือระนอง กำหนดให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทเนอร์ และเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือกลุ่มประเทศแถมเอเชียใต้ นอกจากนี้จากการศึกษาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาท่าเรือเชื่อมอ่าวไทย-อันดามันแล้ว โครงการฯ ยังได้ศึกษาความเหมาะสมเพื่อบูรณาการการขนส่งทางท่อ ทางบก และทางราง เพื่อให้เชื่อมต่อกับ 2 ท่าเรืออย่างไร้รอยต่อ โดยศึกษาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และรถไฟทางคู่ และการขนส่งทางท่อ โดยจะก่อสร้างคู่ขนานบนเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของภาคประชาชน

ทั้งนี้ภายหลังการสัมมนาครั้งนี้ สนข. เปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น ได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาโครงการฯ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุน (Market Sounding) และการลงพื้นที่เข้าสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อรวบรวมข้อมูลมาพัฒนาโครงการให้มีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ทั้งในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและในภาพการพัฒนาท้องถิ่นทุกระดับเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44600
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/12/2021 6:42 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เปิดแผน “แลนด์บริดจ์” ฟังเสียงชาวระนอง เร่งทำ Market Sounding ร่วมทุนเอกชน
เผยแพร่: 8 ธ.ค. 2564 16:46 ปรับปรุง: 8 ธ.ค. 2564 16:46 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

สนข.จัดเวทีฟังเสียงชาวระนอง เปิดแผนพัฒนา Land Bridge ผุดท่าเรือน้ำลึก มอเตอร์เวย์ รถไฟ เชื่อมขนส่งสินค้าฝั่งอ่าวไทยกับอันดามัน เปิดประตูการค้าเอเชียใต้ เตรียมทำ Market Sounding ฟังความเห็นนักลงทุน สรุปในปี 66

วันที่ 8 ธ.ค. 2564 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดการสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ณ ห้องราชาวดี โรงแรมเฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น จังหวัดระนอง โดยมีนายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการสัมมนา โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน จำนวน 130 คนเข้าร่วม

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า จากปัจจุบันที่การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดียต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกผ่านช่องแคบมะละกา (สิงคโปร์) ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่อ้อมและมีระยะไกล การจราจรทางน้ำคับคั่ง จากข้อมูลปี 2561 ช่องแคบมะละกามีความหนาแน่นของปริมาณเรือสูงถึง 85,000 ลำ/ปี และในอีก 10 ปีข้างหน้าปริมาณเรือจะเพิ่มขึ้นกว่า 128,000 ลำ ซึ่งเกินกว่าความจุของช่องแคบมะละกาที่รองรับได้ 122,000 ลำต่อปี ก่อให้เกิดปัญหาการติดขัดและเสียเวลาในการเดินทาง

กระทรวงคมนาคมจึงมอบหมายให้ สนข.ดำเนินการศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน (Landbridge) โดยมีระยะเวลาศึกษาโครงการ 30 เดือน ซึ่งคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 2566 ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสร้างท่าเรือชุมพร กำหนดให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย โดยนำระบบออโตเมชันมาใช้เพื่อยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port ส่วนแนวคิดการพัฒนาท่าเรือระนอง กำหนดให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทนเนอร์และเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือกลุ่มประเทศแถบเอเชียใต้

โดยมีขอบเขตการศึกษา ประกอบด้วย 1. ศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การเงิน วิศวกรรม สังคม ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน

2. ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน

3. จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตามพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน
4. วิเคราะห์จัดทำรูปแบบการพัฒนาและการลงทุน (Business Development Model) ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน สร้างความเข้าใจ พร้อมรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านตลอดระยะเวลาดำเนินงาน

นอกจากนี้ โครงการฯ ยังได้ศึกษาความเหมาะสมเพื่อบูรณาการการขนส่งทางท่อ ทางบก และทางราง เพื่อให้เชื่อมต่อกับ 2 ท่าเรืออย่างไร้รอยต่อ โดยศึกษาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) และรถไฟทางคู่ และการขนส่งทางท่อ โดยจะก่อสร้างคู่ขนานบนเส้นทางเดียวกันเพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของภาคประชาชน

ทั้งนี้ หลังการสัมมนาครั้งนี้ สนข.เปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาโครงการฯ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุน (Market Sounding) และการลงพื้นที่เข้าสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อรวบรวมข้อมูลมาพัฒนาโครงการให้มีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ทั้งในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ และในภาพการพัฒนาท้องถิ่นทุกระดับเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44600
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/12/2021 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

MR-MAP หนุน ‘ระนอง-แม่สอด’เชื่อม 2 ฝั่งโลก
หน้าแรก เศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 10 ธ.ค. 2564 เวลา 11:17 น.

MR-MAP โครงข่ายเชื่อมไทยทั่วภูมิภาค MR8 หนุนแลนด์บริดจ์โยงชุมพร-ระนอง รองรับตู้สินค้าข้าม 2 ฟากมหาสมุทร “แปซิฟิก-อินเดีย” ตามยุทธศาสตร์เปิดประตูฝั่งทะเลตะวันตกที่ระนอง ขณะ MR4 รองรับแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก เสริมแกร่งแม่สอด ที่จะมีครบทั้งทางบก ราง อากาศ

เมื่อ 8 ธันวาคม 2564 นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการ และรับฟังความคิดเห็น ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ของสำนัก งานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม

เนื่องจากช่องแคบมะละกามีความหนาแน่นสูง จากปริมาณเรือปีละ85,000 ลำ/ปี ใกล้เต็มความจุที่ 122,000 ลำต่อปี โดยคาดจะมีถึง128,000 ลำในอีก 10 ปี ทำให้เสียเวลามาก

Click on the image for full size
โครงการแลนด์บริดจ์เชื่อมชุมพร-ระนอง รองรับการขนส่งสินค้าฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ทดแทนช่องแคบมะละกา

โครงการนี้ (Land Bridge) เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การสังคม ของโครงการฯ เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ตลอดจนออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น ประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ วิเคราะห์การร่วมลงทุนของเอกชน และรูปแบบการลงทุน

โดยแนวคิดการพัฒนาสร้างท่าเรือชุมพร กำหนดให้เป็นท่าเรือนํ้าลึกที่ทันสมัย โดยนำระบบออโตเมชั่นมาใช้เพื่อ ยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port ส่วนท่าเรือระนอง กำหนดให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทนเนอร์และเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามัน ไปเชื่อมโยงกับท่าเรือกลุ่มประเทศแถบเอเชียใต้ และบูรณาการ ร่วมกับการพัฒนามอเตอร์เวย์ และทางท่อ (MR-MAP) ไปพร้อมกันทีเดียว

นายพรศักดิ์ แก้วถาวร ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า หอการค้า ระนองและภาคเอกชนเห็นด้วย และพร้อมสนับสนุน โครงการแลนด์บริดจ์ ที่เป็นห่วง คือ ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิที่ดินในพื้นที่จังหวัดระนอง และการที่พื้นที่โครงการก่อสร้างอาจติดเขตป่า รวมถึงใกล้กับโครงการมรดกโลก

ด้านนายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า อีกประเด็นคือความชัดเจนเรื่องเส้นแนวทางของระบบรางชุมพร-ระนอง จากที่บอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะอนุมัติจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ออกแบบรายละเอียดและทำรายงาน EIA ทางรถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง ตามแนวสายทางที่สนข.ศึกษาไว้เมื่อปี 2561 ซึ่งเป็นแนวคู่ขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) เดิมเพื่อเชื่อมฐานการผลิตอีอีซี

แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นรองรับการขนส่งสินค้าข้าม 2 มหาสมุทร ตามโครงการแลนด์บริดจ์ เบื้องต้นจะปรับแก้ไขแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนองใหม่ ที่จะเปลี่ยนมาเริ่มที่แหลมรั่ว ต.บางนํ้าจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ผ่าน อ.พะโต๊ะ ไปสิ้นสุดที่อ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง

การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ร่วมกับระบบราง (ทางรถไฟ) หรือ MR-MAP นั้นกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม กำหนดไว้ 10 เส้นทาง ในส่วนของชุมพร-ระนอง อยู่ในเส้นทาง MR 8 เชื่อมต่อท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC รวมระยะทาง 94 กิโลเมตร

นอกจากแลนด์บริดจ์นประเทศแล้ว การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก(EWEC) ที่เชื่อมโยงระดับภูมิภาค ด้านตะวันตกของไทยคือที่อ. แม่สอด จ.ตาก เชื่อมเข้าเมียนมา และด้านตะวันออกที่มุกดาหาร หรือนครพนม เชื่อมสปป.ลาว ทะลุถึงเวียดนามนั้น หากเดินทางได้ตลอดเส้นทางก็สามารถเชื่อมท่าเรือฝั่งเวียดนามออกมหาสมุทรแปซิฟิก กับเมียนมาออกมหาสมุทรอินเดียได้

โดยแนวเส้นทาง MR4 ด่านแม่สอด-ด่านนครพนม ระยะทาง 840 กิโลเมตร เป็นโครงข่ายเพื่อการพัฒนาบนระเบียงเศรษฐกิจ EWEC เสริมโครงการคมนาคมหลากรูปแบบ ทั้งทางถนน (สี่เลน-มอเตอร์เวย์) ราง(ทางรถไฟสายใหม่นครสวรรค์-แม่สอด) ทางอากาศ (ท่าอากาศ ยานนานาชาติแม่สอด)

Click on the image for full size

จะช่วยเพิ่มศักยภาพการค้า การลงทุน การเดินทางท่องเที่ยวทั้งภายในและระหว่างประเทศ จากด่านแม่สอด ที่เป็นประตูสู่อันดามัน ต่อเข้าไปยังอินเดีย จนถึงตะวันออกกลางและยุโรป และยังเป็นหน้าด่านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

6 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้จัดประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ (สัมมนาครั้งที่ 3) งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงาน EIA โครงการนี้ พร้อมรับฟังความคิดเห็น กับจังหวัดแนวเส้นทางเป็นรอบสุดท้าย เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป

หน้า10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,739 วันที่ 11-15 ธันวาคม พ.ศ.2564


เปรียบเทียบความคุ้มค่า แลนด์บริดจ์-คลองไทย
Dec 17, 2021
Thai PBS News


https://www.youtube.com/watch?v=2BCvmvFUWlE

แม้อาจจะปรับเปลี่ยนโครงการที่แตกต่างกัน เช่น การขุดคลองไทย หรือ การสร้างแลนด์บริดจ์เชื่อมสองฝั่ง แต่นักวิชาการ เห็นตรงกันว่าค วามเป็นไปได้ที่จะเกิดโครงการ แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง น่ามีมากกว่า เพราะการขุดคลองขนาดใหญ่ ผ่านหลายจังหวัด อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงกว่า


Last edited by Mongwin on 18/12/2021 8:53 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2021 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

MR-MAP หนุน ‘ระนอง-แม่สอด’เชื่อม 2 ฝั่งโลก
หน้าเศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:17 น.

ตีพิมพ์ใน หน้า10
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,739
วันที่ 11-15 ธันวาคม พ.ศ.2564

MR-MAP โครงข่ายเชื่อมไทยทั่วภูมิภาค MR8 หนุนแลนด์บริดจ์โยงชุมพร-ระนอง รองรับตู้สินค้าข้าม 2 ฟากมหาสมุทร “แปซิฟิก-อินเดีย” ตามยุทธศาสตร์เปิดประตูฝั่งทะเลตะวันตกที่ระนอง ขณะ MR4 รองรับแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก เสริมแกร่งแม่สอด ที่จะมีครบทั้งทางบก ราง อากาศ

เมื่อ 8 ธันวาคม 2564 นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการ และรับฟังความคิดเห็น ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ของสำนัก งานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม



เนื่องจากช่องแคบมะละกามีความหนาแน่นสูง จากปริมาณเรือปีละ85,000 ลำ/ปี ใกล้เต็มความจุที่ 122,000 ลำต่อปี โดยคาดจะมีถึง128,000 ลำในอีก 10 ปี ทำให้เสียเวลามาก

โครงการแลนด์บริดจ์เชื่อมชุมพร-ระนอง รองรับการขนส่งสินค้าฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ทดแทนช่องแคบมะละกา

โครงการนี้ (Land Bridge) เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การสังคม ของโครงการฯ เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ตลอดจนออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น ประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ วิเคราะห์การร่วมลงทุนของเอกชน และรูปแบบการลงทุน



โดยแนวคิดการพัฒนาสร้างท่าเรือชุมพร กำหนดให้เป็นท่าเรือนํ้าลึกที่ทันสมัย โดยนำระบบออโตเมชั่นมาใช้เพื่อ ยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port ส่วนท่าเรือระนอง กำหนดให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทนเนอร์และเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามัน ไปเชื่อมโยงกับท่าเรือกลุ่มประเทศแถบเอเชียใต้ และบูรณาการ ร่วมกับการพัฒนามอเตอร์เวย์ และทางท่อ (MR-MAP) ไปพร้อมกันทีเดียว


นายพรศักดิ์ แก้วถาวร ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า หอการค้า ระนองและภาคเอกชนเห็นด้วย และพร้อมสนับสนุน โครงการแลนด์บริดจ์ ที่เป็นห่วง คือ ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิที่ดินในพื้นที่จังหวัดระนอง และการที่พื้นที่โครงการก่อสร้างอาจติดเขตป่า รวมถึงใกล้กับโครงการมรดกโลก



ด้านนายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า อีกประเด็นคือความชัดเจนเรื่องเส้นแนวทางของระบบรางชุมพร-ระนอง จากที่บอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะอนุมัติจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ออกแบบรายละเอียดและทำรายงาน EIA ทางรถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง ตามแนวสายทางที่สนข.ศึกษาไว้เมื่อปี 2561 ซึ่งเป็นแนวคู่ขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) เดิมเพื่อเชื่อมฐานการผลิตอีอีซี



แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นรองรับการขนส่งสินค้าข้าม 2 มหาสมุทร ตามโครงการแลนด์บริดจ์ เบื้องต้นจะปรับแก้ไขแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนองใหม่ ที่จะเปลี่ยนมาเริ่มที่แหลมรั่ว ต.บางนํ้าจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ผ่าน อ.พะโต๊ะ ไปสิ้นสุดที่อ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง


การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ร่วมกับระบบราง (ทางรถไฟ) หรือ MR-MAP นั้นกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม กำหนดไว้ 10 เส้นทาง ในส่วนของชุมพร-ระนอง อยู่ในเส้นทาง MR 8 เชื่อมต่อท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC รวมระยะทาง 94 กิโลเมตร



นอกจากแลนด์บริดจ์นประเทศแล้ว การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก(EWEC) ที่เชื่อมโยงระดับภูมิภาค ด้านตะวันตกของไทยคือที่อ. แม่สอด จ.ตาก เชื่อมเข้าเมียนมา และด้านตะวันออกที่มุกดาหาร หรือนครพนม เชื่อมสปป.ลาว ทะลุถึงเวียดนามนั้น หากเดินทางได้ตลอดเส้นทางก็สามารถเชื่อมท่าเรือฝั่งเวียดนามออกมหาสมุทรแปซิฟิก กับเมียนมาออกมหาสมุทรอินเดียได้


โดยแนวเส้นทาง MR4 ด่านแม่สอด-ด่านนครพนม ระยะทาง 840 กิโลเมตร เป็นโครงข่ายเพื่อการพัฒนาบนระเบียงเศรษฐกิจ EWEC เสริมโครงการคมนาคมหลากรูปแบบ ทั้งทางถนน (สี่เลน-มอเตอร์เวย์) ราง(ทางรถไฟสายใหม่นครสวรรค์-แม่สอด) ทางอากาศ (ท่าอากาศ ยานนานาชาติแม่สอด)

จะช่วยเพิ่มศักยภาพการค้า การลงทุน การเดินทางท่องเที่ยวทั้งภายในและระหว่างประเทศ จากด่านแม่สอด ที่เป็นประตูสู่อันดามัน ต่อเข้าไปยังอินเดีย จนถึงตะวันออกกลางและยุโรป และยังเป็นหน้าด่านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน



6 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้จัดประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ (สัมมนาครั้งที่ 3) งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงาน EIA โครงการนี้ พร้อมรับฟังความคิดเห็น กับจังหวัดแนวเส้นทางเป็นรอบสุดท้าย เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44600
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/12/2021 1:33 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
MR-MAP หนุน ‘ระนอง-แม่สอด’เชื่อม 2 ฝั่งโลก
หน้าเศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:17 น.

สนข. ฟังเสียงชาวกรุง ลุยโปรเจ็กท์แลนด์บริดจ์ ปั้นศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน
เดลินิวส์ 21 ธันวาคม 2564 13:32 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

สนข. เปิดเวทีฟังเสียงพัฒนาโปรเจ็กท์แลนด์บริดจ์ หลังฟังเสียงชาวชุมพร-ระนอง เป็นห่วงผลกระทบสิ่งแวดล้อม-รูปแบบวิถีชีวิตประชาชนในพื้นที่เปลี่ยนแปลง น้อมรับข้อคิดเห็นเร่งนำมาปรับปรุงผลการศึกษาให้แล้วเสร็จปี 66 หนุนเศรษฐกิจไทย ไปสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดการสัมมนา เพื่อแนะนำโครงการและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือแลนด์บริดจ์ (Land bridge) โดยมีผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนเข้าร่วมงาน 

นางวิไลรัตน์ เปิดเผยว่า สนข. ได้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าว 30 เดือน คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 66โครงการนี้เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างกลุ่มประเทศด้านมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งประเทศไทย กับกลุ่มประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางที่อ้อมและมีการจราจรทางน้ำคับคั่ง จากข้อมูลปี 61 ช่องแคบมะละกามีปริมาณเรือสูงถึง 85,000 ลำ และในอีก 10 ปีข้างหน้า ปริมาณเรือจะเพิ่มขึ้นกว่า 128,000 ลำ เกินกว่าความจุของช่องแคบมะละกาที่รองรับได้ที่ 122,000 ลำต่อปี ก่อให้เกิดปัญหาการติดขัดและเสียเวลาในการเดินทาง  

ดังนั้นโครงการนี้จะสนับสนุนการเปิดประตูค้าขายกับประเทศฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทย เช่น กลุ่มประเทศ BIMSTEC กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ซึ่งมีกำลังการบริโภคที่เพิ่มมากสูงขึ้นทุกปี เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นโครงข่ายการค้าขายของโลกผ่านการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่าง 2 มหาสมุทร พัฒนาโครงการที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Click on the image for full size

โดยรูปแบบโครงการ ประกอบด้วย ระบบการขนส่งร่วมแบบผสมผสาน โดยก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 ฝั่ง แนวคิดการพัฒนาสร้างท่าเรือชุมพรและท่าเรือระนองให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย โดยการนำระบบออโตเมชั่นมาใช้เพื่อยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port  เพื่อเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือกลุ่มประเทศทั้ง 2 ฝั่งมหาสมุทร และได้ศึกษาความเหมาะสมเพื่อบูรณาการการขนส่งทางท่อ ทางบก และทางราง เพื่อให้ท่าเรือเชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อ โดยศึกษาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) และรถไฟทางคู่ และการขนส่งทางท่อ โดยจะก่อสร้างบนเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของภาคประชาชน  

นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่า รวมทั้งเพิ่มความได้เปรียบของพื้นที่ในการดึงดูดให้เกิดกิจการต่อเนื่องจากการขนส่งทางทะเล อุตสาหกรรม การค้า ธุรกิจต่างๆ และผันการขนส่งสินค้าจากเส้นทางเดินเรือที่มีอยู่ปัจจุบัน ให้มาผ่านสะพานเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น เน้นดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน ริเริ่มพัฒนาฐานอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคและพัฒนาการขนส่งทางบกเชื่อมโยงแหล่งผลิต เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขนส่งสินค้าในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียง ให้ขยายตัวจนถึงจุดที่คุ้มค่าสำหรับการพัฒนา “สะพานเศรษฐกิจ” เต็มรูปแบบในระยะต่อไป เพื่อส่งเสริมศักยภาพของประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน 

Click on the image for full size

นอกจากนี้ สนข. ได้จัดสัมมนาฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง ช่วงต้นเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่แสดงความเป็นห่วงในประเด็นเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และรูปแบบวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่ง สนข. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อกังวลต่างๆ ของประชาชน

Click on the image for full size

จึงมอบหมายให้ที่ปรึกษาโครงการฯ รวบรวมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ จากประชาชนในพื้นที่ทั้งหมด และเตรียมลงพื้นที่เข้าสัมภาษณ์เชิงลึก และจัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อชี้แจงรายละเอียดข้อมูลโครงการเพิ่มเติมที่ถูกต้องให้กับประชาชนเพื่อให้คลายข้อกังวลใจ พร้อมทั้งจะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนมาพัฒนาโครงการให้มีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ทั้งในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและในภาพการพัฒนาท้องถิ่นทุกระดับเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2021 12:25 pm    Post subject: Reply with quote

วุฒิสภายกทีมลง‘ระนอง’ ตามผล 4 จังหวัดใต้ เคลื่อนSEC
บุญเลื่อน พรหมประทานกุล/รายงาน
หน้าเศรษฐกิจภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2564 เวลา 10:39 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า10
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,742 วันที่ 23-25 ธันวาคม พ.ศ.2564

วุฒิสภาพบประชาชน ยกทีมลงระนอง ตามความก้าวหน้า SEC ผู้ว่าฯอีก 3 จังหวัด ชุมพร-สุราษฎร์ฯ-นครศรีฯ ร่วมประชุมออนไลน์ โครงสร้างพื้นฐานระนองเดินหน้าพรึบ ถนน 4 เลนโยงตะกั่วป่า-หลังสวน เตรียมขยายสนามบิน 830 ล้านบาท ท่าเรือมีแผนอัพเกรดปี 2582 ทางรถไฟฯปรับแนววรอผลแลนด์บริดจ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อกลางเดือน ธ.ค. 2564 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดระนอง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะรองประธานกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภา นำคณะวุฒิสภา และคณะผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดระนอง



เพื่อติดตามความคืบหน้าและรับฟังความคิดเห็น การดำเนินงานโครงการการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) โดยนายสมเกียรติ ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นำคณะผู้แทนภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ต้อนรับ โดยมีผู้ว่าราชการอีก 3 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี ชุมพร และนครศรีธรรมราช ร่วมประชุมออนไลน์วุฒิสภายกทีมลง‘ระนอง’ ตามผล 4 จังหวัดใต้ เคลื่อนSEC


วุฒิสภายกทีมลง‘ระนอง’ ตามผล 4 จังหวัดใต้ เคลื่อนSEC

นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ SEC ในส่วนจังหวัดระนอง ซึ่งจำแนกเป็น 4 โครงข่ายคมนาคม กล่าวคือ



1. โครงข่ายคมนาคมทางถนนยกระดับเป็นถนน 4 ช่องจราจร สายชุมพร-ระนอง ตอน 1-4 ระยะทาง 84.770 กิโลเมตร ดำเนินการเสร็จแล้ว ตอน บ.ทรายแดง-บ.บางนอน ระยะทาง 17.750 กิโลเมตร กำหนดแล้วเสร็จ 16 มีนาคม 2565 นี้


ส่วนสายราชกรูด-พะโต๊ะ-หลังสวน ช่วงแยกราชกรูด-ต.พะโต๊ะ (กม. 30.00) จัดทำรายงาน EIA อยู่ระหว่างเสนอสนผ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาฯ สายระนอง-ราชกรูด-ตะกั่วป่า อยู่ระหว่างเสนอรายงาน EIA กำหนดขอตั้งงบเพื่อก่อสร้างในปี พ.ศ. 2566 และ พ.ศ. 2567



2. โครงข่ายคมนาคมทางอากาศโครงการที่สร้างแล้วเสร็จ 12 โครงการงบประมาณ 316.08 ล้านบาท เพื่อยกระดับความปลอดภัย และสมรรถนะการบริหารจัดการของสนามบิน



โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 โครงการ งบ 827,725,000 บาทประกอบด้วย 1. โครงการปรับปรุงขยายรันเวย์ จาก 2,000 เมตร เป็น 2,500 เมตร งบ 800 ล้านบาท ปีงบฯ 2567-2570 และ 2. โครงการจ้างออกแบบปรับปรุงขยายอาคารที่พักผู้โดยสาร งบ 27.7 ล้านบาท คาดออกแบบเสร็จต้นปี 2565



3. โครงข่ายคมนาคมทางนํ้า การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้ซ่อมแซมปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือ 1 และ 2 ของท่าเรือระนอง เสร็จแล้ว รอง รับเรือตู้สินค้าขนาดไม่เกิน 12,000 เดทเวทตันได้



ทั้งนี้ จะพัฒนาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือระนอง ให้รองรับตู้ 499,226 TEUs ต่อปี รวม 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การปรับปรุง โดยท่าเทียบเรือที่ 1 (ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์) รองรับเรือสินค้าทั่วไป ขนาด 500 GT พร้อมกัน 2 ลำ และ ปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 2 (ท่าเทียบเรือตู้สินค้า) รองรับเรือตู้สินค้า ขนาด 12,000 เดทเวทตัน



ระยะที่ 2 ก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ 3 (ท่าเทียบเรือตู้สินค้า) รองรับเรือตู้สินค้าขนาด 12,000 เดทเวทตัน ก่อสร้างลานตู้สินค้าส่วนต่อขยาย (เริ่มดำเนินการปี 2582 และเปิดให้บริการ 2583)

วุฒิสภายกทีมลง‘ระนอง’ ตามผล 4 จังหวัดใต้ เคลื่อนSEC

4. โครงข่ายคมนาคมทางรางโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ ชุมพร-ระนอง ปี 2560 สนข. ใช้งบ 30 ล้านบาท ศึกษาความเหมาะสม ทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นเวลา 10 เดือน (พ.ค. 2560-ก.พ. 2561) มูลค่าลงทุน 45,844 ล้านบาท



แต่ผลของการศึกษาชี้ว่า โครงการฯไม่มีความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อมีการก่อ สร้างและเปิดให้บริการในปี 2568



คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 15 ก.ย. 2563 ได้อนุมัติให้สนข. จ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสมออกแบบเบื้องต้นฯ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือ Land Bridge โดยได้ลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษา 6 บริษัท 1 มี.ค. 2564 วงเงิน 68 ล้านบาท เสร็จ 1 ก.ย. 2566



นอกจากโครงข่ายคมนาคมขนส่งแล้ว ระนองมีปัญหาพื้นที่เศรษฐกิจทับซ้อนเขตป่า จึงผลักดันแก้ปัญหาที่ดินกลางเมือง ดังนี้



1. แก้ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองจังหวัดระนอง โดยบริเวณพื้นที่อนุญาตการใช้ประโยชน์เดิม เนื้อที่ 520.86 ไร่ ด้วยการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ (บางส่วน) และส่งมอบพื้นที่ให้กรมธนารักษ์นำไปจัดให้ประชาชนเช่าตามกฎหมายโดยเร็วที่สุด


ส่วนพื้นที่นอกแปลงอนุญาตเดิม เนื้อที่ 2,236 ไร่ ขอให้เร่งแก้ไขตามแนวทางข้างต้นเช่นกัน หรือตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 26 พ.ย. 2561 ว่าด้วยการแก้ปัญหาที่อยู่และที่ทำกินในพื้นที่ป่าทุกประเภท



2. การจัดตั้งเขตประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการประมงจังหวัดระนอง เพื่อรองรับการพัฒนา SEC จะเดินหน้าได้เมื่อแก้ปัญหาที่ดินข้างต้นได้แล้ว เพื่อให้ภาคเอกชนเข้าใช้ทำประโยชน์ประกอบกิจการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44600
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/12/2021 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
วุฒิสภายกทีมลง‘ระนอง’ ตามผล 4 จังหวัดใต้ เคลื่อนSEC
บุญเลื่อน พรหมประทานกุล/รายงาน
หน้าเศรษฐกิจภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2564 เวลา 10:39 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า10
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,742 วันที่ 23-25 ธันวาคม พ.ศ.2564

4. โครงข่ายคมนาคมทางรางโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ ชุมพร-ระนอง ปี 2560 สนข. ใช้งบ 30 ล้านบาท ศึกษาความเหมาะสม ทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นเวลา 10 เดือน (พ.ค. 2560-ก.พ. 2561) มูลค่าลงทุน 45,844 ล้านบาท

แต่ผลของการศึกษาชี้ว่า โครงการฯไม่มีความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อมีการก่อ สร้างและเปิดให้บริการในปี 2568

Click on the image for full size

ท่าทางเกิดยากนะครับ รถไฟชุมพร-ระนอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 18, 19, 20  Next
Page 5 of 20

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©