Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311286
ทั่วไป:13267923
ทั้งหมด:13579209
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 26, 27, 28 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2021 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

เปรียบเทียบปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยรถไฟรวมเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม (คน/วัน) ระหว่างปี 2562 ถึงปี 2564 โดยเปรียบเทียบจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันช่วงก่อนระบาด (1 ม.ค.-31 มี.ค.62) และ ปี2563
จะเห็นว่า ปี 2564 ปริมาณผู้โดยสารลดลงโดยรวมถึง 73.62% โดยเหลือเพียงวันละ 22,542 คน/วัน สามารถจำแนกได้ ดังนี้
1. เชิงพาณิชย์ ลดลง 78.37% เหลือ 7,107 คน/วัน
2. เชิงสังคม ลดลง 70.65% เหลือ 15,435 คน/วัน
หมายเหตุ
บริการเชิงพาณิชย์
คือ ขบวนรถที่ให้บริการโดยมีการชำระค่าธรรมเนียม ด้วยเป็นประเภทรถที่ให้บริการโดยมีตัวเลือกเสริม เช่น รถปรับอากาศ รถนอน รถที่มีอาหารบริการ หรือเป็นขบวนที่มีการจอดรับส่งผู้โดยสารไม่ทุกสถานี ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ใช้รถไฟสำหรับการเดินทาง การท่องเที่ยว และไม่ได้เป็นการใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น รถด่วนพิเศษ / รถด่วน / รถเร็ว
บริการเชิงสังคม
คือ ขบวนรถที่ให้บริการในลักษณะของการให้บริการสังคม โดยเป็นประเภทรถชั้น 3 และหยุดรับส่งทุกสถานีเพื่อบริการสังคมอย่างแท้จริง ผู้โดยสารส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ใช้รถไฟในชีวิตประจำวัน (Daily Life) เช่น รถธรรมดา รถชานเมือง รถท้องถิ่น

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/979205346189743
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2021 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยศึกษา “R-Map” พัฒนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมทั่วไทย-อาเซียนแบบไร้รอยต่อ

เศรษฐกิจ-ยานยนต์
5 สิงหาคม 2564 เวลา 13:11 น.

กรมรางฯลุยศึกษา “R-Map” เชื่อมโครงข่ายรถไฟทั่วไทย-อาเซียนแบบไร้รอยต่อ

05 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:36 น.



5 ส.ค.2564 งานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า ขณะนี้ ขร. กำลังดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศ และรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-Map) โดยเดินหน้าดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายรถไฟ ไม่ว่าจะเป็น การก่อสร้างทางคู่ และทางสายใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาระบบโทรคมนาคมและอาณัติสัญญาณ รถจักรและล้อเลื่อน เพื่อให้ระบบขนส่งทางรางกลายเป็นระบบหลักในการการเดินทางและการขนส่งสินค้าของประเทศ

ลิฟต์ขึ้นบันไดเป็นเทรนด์ในปี 2564 - ดูตัวเลือกวันนี้
ลิฟท์บันได | ค้นหาโฆษณา
สำหรับการศึกษา R-Map นี้จะเป็นการศึกษาเพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าจากพื้นที่เศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมของจังหวัดต่างๆ รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือในการให้บริการรถไฟระหว่างประเทศ พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์ในรูปแบบต่างๆ

ทั้งนี้เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าและเดินทาง โดยจะเป็นการนำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟมาทบทวนและต่อยอดโครงข่ายรถไฟเดิมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งทบทวนและพัฒนาการสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน และสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่างๆ

อย่างไรก็ตามเมื่อดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จจะมีการจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเหมาะสมกับสถานะปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตโดยบูรณาการร่วมกับการคมนาคมขนส่งอื่นๆ รวมทั้งเสนอแนะการลงทุนตามลำดับความสำคัญ และความจำเป็นแต่ละเส้นทางในโครงการต่างๆ ในภาพรวมของประเทศ และระดับภูมิภาค เพื่อเป็นส่วนช่วยในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย และรองรับการลงทุนหลังจากการเปิดประเทศต่อไป


กรมการขนส่งทางราง ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศ และรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
5 สิงหาคม 2564 เวลา 15:00 น.

กรมการขนส่งทางรางกำลังดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-Map) โดยเดินหน้าดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายรถไฟไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างทางคู่ และทางสายใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาระบบโทรคมนาคมและอาณัติสัญญาณ รถจักรและล้อเลื่อน เพื่อให้ระบบขนส่งทางรางกลายเป็นระบบหลักในการการเดินทางและการขนส่งสินค้าของประเทศ
การศึกษา R-Map นี้จะเป็นการศึกษาเพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าจากพื้นที่เศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมของจังหวัดต่างๆ รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือในการให้บริการรถไฟระหว่างประเทศ พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าและเดินทาง โดยจะเป็นการนำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟมาทบทวนและต่อยอดโครงข่ายรถไฟเดิมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งทบทวนและพัฒนาการสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน และสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่าง ๆ
เมื่อดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จจะมีการจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเหมาะสมกับสถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตโดยบูรณาการร่วมกับการคมนาคมขนส่งอื่นๆ รวมทั้งเสนอแนะการลงทุนตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นแต่ละเส้นทางในโครงการต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อเป็นส่วนช่วยในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 และรองรับการลงทุนหลังจากการเปิดประเทศต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2021 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

โควิดทุบรถไฟ-รถไฟฟ้าร่วง 10 เท่า เฉลี่ยวันละ 1.22 ล้านคน เหลือ 1.34 แสนคน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 - 08:40 น.


อัพเดตสถิติจาก “ขร.-กรมการขนส่งทางราง” กระทรวงคมนาคม เปิดข้อมูลปริมาณผู้โดยสารระหว่างปี 2562-2564

โดย “กิตติพันธ์ ปานจันทร์” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ระบุว่า สถิติยุคก่อนโควิดในปี 2562 ระบบรางมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 1,228,822 คน

ล่าสุดในยุคโควิดเฉลี่ยเหลือ 138,169 คน/วัน หรือเท่ากับลดลง 88.76%

ทั้งนี้ รัฐบาลมีการประกาศข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ฉบับที่ 27-28 มีผลบังคับใช้ 26 มีนาคม 2563-ปัจจุบัน คัดเฉพาะมาตรการที่มีผลต่อปริมาณการเดินทางในระบบขนส่งทางราง


ได้แก่ 1.การห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด 2.การจำกัดบริการการเดินทางและขบวนรถ 3.การควบคุมความหนาแน่นในขบวนรถและการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และ 4.จำกัดกิจกรรม/กิจการ ฯลฯ



โดยมีข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยในช่วงก่อนยุคโควิดในปี 2562 เทียบกับปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยในยุคโควิดระลอก 3 ประกอบกับประกาศฉบับที่ 28 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 12 กรกฎาคม 2564 ถึงปัจจุบัน พบว่า ปริมาณผู้โดยสารโดยรวมลดลง 88.76% ดังกล่าว จำแนกตามระบบราง 4 ระบบ ดังนี้






1.การรถไฟแห่งประเทศไทย (SRT) ลดลง 90.76% เหลือ 7,896 คน/วัน

2.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT) ลดลง 86.75% เหลือ 9,531 คน/วัน

3.บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ARL) ลดลง 80.05% เหลือ 67,251 คน/วัน

4.รถไฟฟ้า BTS ลดลง 82.27% เหลือ 130,240 คน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2021 5:10 pm    Post subject: Reply with quote

"อุตสาหรรมระบบราง"ไทยพร้อมแค่ไหน I EEC Focus 13-08-2564



EEC Focus สัปดาห์นี้ ตามดูความก้าวหน้าอุตสาหกรรมระบบรางไทยตามหลักการไทยเฟิร์ส
กับแนวทางส่งเสริมผู้ผลิตในประเทศลดการพึ่งพาต่างชาติ
และเพราะเหตุใดการลงทุนของอุตสาหกรรมนี้ในพื้นที่อีอีซียังมีน้อย
ติดตามได้วันศุกร์นี้กับ EEC Focus เวลา 10:30-11:00 น. ทางTNNช่อง 16
“รู้อย่างเข้าใจฟังแล้วเข้าถึงสู่ไทยแลนด์ 4.0 ไปกับ EEC Focus”
ขอเชิญรับชมเทปบันทึกการสัมภาษณ์
ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง
ในประเด็น “ไทยพร้อมแค่ไหนในอุตสาหกรรมระบบราง”

ออกอากาศในรายการ EEC Focus ทาง TNN ช่อง 16
https://www.youtube.com/watch?v=Yv5rR1sIUBg
https://www.youtube.com/watch?v=93cMjiDhKtU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2021 12:10 am    Post subject: Reply with quote

กรมรางเร่งทำแผนปรับปรุงแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟทั่วปท. วอนอย่าเปิดจุดลักผ่านเพิ่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 15:12 น.
ปรับปรุง: วันที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 15:12 น.



กรมขนส่งทางรางเร่งสำรวจจุดตัดทางรถไฟ ทำแผนปฎิบัติการปรับปรุงกายภาพ พร้อมศึกษานวัตกรรม รูปแบบระบบแจ้งเตือนผู้ขับขี่ วอนท้องถิ่น-ปชช.ไม่เปิดจุดตัดทางลักผ่านเพิ่ม เพื่อลดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืน

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานให้ความเห็นและข้อเสนอแนะโครงการศึกษาเพื่อลดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ ครั้งที่ 3/2564 ว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้มีนโยบายในการลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณจุดตัดทางรถไฟนั้น กรมการขนส่งทางราง ได้ดำเนินโครงการศึกษาเพื่อลดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ โดยจะดำเนินการสำรวจจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศเพื่อพิจารณาแนวทางการปรับปรุงกายภาพจุดตัดทางรถไฟให้มีความปลอดภัย

จากนั้นจะนำผลการสำรวจมาเรียงจัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงกายภาพจุดตัด และจัดทำเป็นแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ และแบบรายละเอียดในการปรับปรุงแก้ไขกายภาพจุดตัดทางรถไฟ ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมาย และมาตรฐานที่ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยบริเวณจุดตัด การนำนวัตกรรมต่างๆ มาช่วยแก้ปัญหาจุดตัด เช่น การประสานบริษัทแผนที่นำทาง เพื่อให้แจ้งเตือนผู้ขับขี่พาหนะทราบหากเส้นทางขับขี่มีจุดตัดอยู่ข้างหน้า การจัดทำฐานข้อมูลจุดตัดทางรถไฟ และแอพพลิเคชันมือถือ และ QR Code สำหรับให้ประชาชนแสกนและแจ้งผู้รับผิดชอบทราบหากพบว่าไม้กั้นหรือสัญญาณไฟชำรุด ตลอดจนการติดตั้งเทคโนโลยี Rasor Censor ในจุดที่มีความเหมาะสม

ซึ่ง แต่ละครั้งที่เกิดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ ย่อมส่งผลให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต และทรัพย์สิน กระทรวงคมนาคมมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะลดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ อย่างไรก็ตาม ความพยายามดังกล่าวไม่สามารถสำเร็จได้ หากปราศจากความร่วมมือของหน่วยงานท้องถิ่นและภาคประชาชน จึงอยากขอความร่วมมือหน่วยงานท้องถิ่นและภาคประชาชนไม่เปิดจุดตัดทางลักผ่านเพิ่ม และใช้ความระมัดระวังขณะขับขี่ยานพาหนะผ่านจุดตัด

ทั้งนี้ โครงการศึกษาฯ จะปลูกฝังค่านิยมด้านความปลอดภัยบริเวณจุดตัดทางรถไฟ ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งสื่อโทรทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์ และการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2021 9:13 pm    Post subject: Reply with quote

“กรมฯราง” เคาะ 3 มาตรฐานขนส่งทางรางเทียบเท่าสากล
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันที่ 17 สิงหาคม 2564 เวลา 18:45 น.



“กรมฯราง” เคาะ 3 มาตรฐานระบบขนส่งทางราง ลุยเร่งคลอดมาตรฐานโครงสร้างด้านโยธา-ตัวรถ-อาณัติสัญญาณ ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล




นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมจัดทำมาตรฐานไฟฟ้าในระบบขนส่งทางรางราง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบ Zoom ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างมาตรฐาน 3 มาตรฐาน ได้แก่ 1.มาตรฐานระบบการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (AC electrification system) เพื่อใช้เป็นแนวทางการออกแบบ ติดตั้ง การทดสอบ และการตรวจสอบของระบบการจ่ายไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าขับเคลื่อน รวมถึงอุปกรณ์ของระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ โดยมาตรฐานดังกล่าวจะนำมาใช้สำหรับระบบรถไฟสายประธาน (main line) ซึ่งรวมถึงระบบรถไฟชานเมือง (commuter train) และระบบรถไฟระหว่างเมือง (intercity train) ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ

ADVERTISEMENT



2.มาตรฐานรูปแบบการต่อหม้อแปลงสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Transformer arrangement standard for AC electrification system) ซึ่งมาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังสำหรับโหลดขับเคลื่อน ที่ใช้ในสถานีไฟฟ้าขับเคลื่อน หรือใช้ตามเส้นทางเดินรถไฟ เพื่อจ่ายกำลังให้กับระบบขับเคลื่อนแบบกระแสสลับ หรือเพื่อจ่ายกำลังให้กับบริการเสริมต่างๆ สำหรับรถไฟสายประธานทุกเส้นทางใหม่ และเส้นทางเก่าที่ปรับปรุงเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ และ 3.มาตรฐานแนะนำคุณลักษณะรถขนส่งทางราง (Recommended general standard for rolling stock) เพื่อกำหนดมาตรฐานแนะนำสำหรับคุณลักษณะรถขนส่งทางราง




โดยระบุข้อแนะนำทางเทคนิค และมาตรฐานจากต่างประเทศที่สามารถใช้อ้างอิงได้กับประเภทของรถขนส่งทางราง ดังนี้

1. รถไฟโดยสารและรถไฟขนส่งสินค้า ( Locomotive, Diesel Multiple Units, Diesel Electric Multiple Units, Passenger Coaches, Freight Wagon)
2. รถไฟฟ้า (Electric Multiple Units)
3. รถไฟฟ้าความเร็วสูง (High Speed Trains)
4. รถราง (Tram)
5. รถไฟรางเดียว (Monorail)
6. ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) หรือ
7. รถขนส่งทางรางประเภทอื่น ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นข้อแนะนำสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยได้คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยและ universal design ของตัวรถขนส่งทางรางไว้แล้วด้วย


นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้มอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ปรับปรุงมาตรฐานตามความเห็นที่ประชุม ก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นไปบังคับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ ขร. อยู่ระหว่างจัดทำมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา มาตรฐานด้านเครื่องกลและตัวรถขนส่งทางราง มาตรฐานด้านไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ มาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางรางอื่น ๆ เพื่อลดอุบัติเหตุ และเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งทางรางของประเทศไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลต่อไป....
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2021 11:52 am    Post subject: Reply with quote

กรมรางผุด R-Map วางโครงข่ายรถไฟสายใหม่ เชื่อมพื้นที่”อุตฯ-เกษตร-ท่องเที่ยว”พลิกโฉมระบบขนส่งลดต้นทุนโลจิสติกส์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 08:24 น.
ปรับปรุง: วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 08:24 น.

Click on the image for full size

รถไฟ เป็นระบบคมนาคมที่คนไทยมีความคุ้นเคยและอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนานถึง 124 ปีแล้ว แม้ว่าบางคนอาจจะไม่เคยใช้บริการ หรือไม่ได้ใช้เป็นประจำ แต่เนื่องจากระบบราง เป็นระบบคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูง ในการขนส่งคนและสินค้าจากต้นทางสู่ปลายทาง ขณะที่ปัจจุบันรถไฟมีเทคโนโลยีทีทันสมัย หลายรูปแบบ และมีความสะดวกปลอดภัย ตรงเวลา ภายใต้ราคาค่าบริการที่สมเหตุสมผล และยังเป็นระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาและลงทุนระบบรางอย่างมาก ในห้วงเวลาที่ผ่านมา

ตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่มุ่งเน้นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโลจิสติกส์โดยการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการขนส่งของประเทศ จึงนับเป็นก้าวสำคัญที่ระบบราง จะเป็นส่วนในการขับเคลื่อนการค้าการลงทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งทางราง เพื่อช่วยลดระยะเวลาและต้นทุน ทั้งด้านการโดยสารและการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังประหยัดการใช้พลังงานของประเทศในระยะยาว ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

ซึ่งแผนการพัฒนารถไฟไทยนั้น จะมี 3 ส่วนหลักๆ คือ

1. การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 993 กม. โดยช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 106 กม. วงเงิน 10,232.86 ล้านบาท และช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม.วงเงิน 24,326 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จแล้ว ส่วนอีก 5 เส้นทาง อยู่ระหว่างก่อสร้าง

ได้แก่ สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. วงเงิน 18,699 ล้านบาท
สายอีสาน ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม.วงเงิน 29,968.62 ล้านบาท
สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม.วงเงิน 15,718 ล้านบาท ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 84 กม. วงเงิน 5,807 ล้านบาท และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม.วงเงิน 12,457 ล้านบาท

ทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง1,483 กม. ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการนำเสนอขออนุมัติ โครงการได้แก่
1.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย 2.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่
3.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 4.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
5.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 6.ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 7.ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์

และรถไฟสายใหม่ที่ ครม.อนุมัติโครงการแล้ว 2 เส้นทาง ระยะทางรวม 678 กม. วงเงินรวม 128,379 ล้านบาท คือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของและ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม

นอกจากนี้รฟท.ยังมีในการพัฒนาทางคู่ในระยะถัดไป ซึ่งเป็นรถไฟสายใหม่ เป็นเส้นทางแตกแขนง ออกจากสายหลัก เพื่อเชื่อมโยงไปยังจังหวัด สำคัญ และส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวเมืองรอง จำนวน 12 เส้นทาง ระยะทางรวม1,738 กม.ประเมินวงเงินลงทุน 355,758.50 ล้านบาท จะเพิ่มเส้นทางเป็น 6,463 กม. จาก 47 จังหวัดที่มีรถไฟผ่าน จะเพิ่มขึ้นเป็น 61 จังหวัด

2. การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง (high speed rail) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นทางเลือกในการเดินทาง โดยเป็นระบบรถไฟที่มีความเร็วสูงสุดประมาณ 250 กม./ชม. ทางมีความกว้าง 1.435 เมตร จำนวน 4 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,654 กม. ประกอบด้วย

ระยะเร่งด่วน สายอีสานกรุงเทพฯ -นครราชสีมา
253 กม. และ นครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. (ความร่วมมือไทย-จีน) , สายตะวันออก
ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 220 กม. (บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด รับสัมปทาน) สายเหนือ กรุงเทพ-พิษณุโลก 380 กม.

ระยะกลาง สายใต้ กรุงเทพ-หัวหิน 211 กม. สายตะวันออก ระยอง-จันทบุรี-ตราด 190 กม. สายเหนือพิษณุโลก-เชียงใหม่ 288 กม.

ระยะยาว สายใต้ หัวหิน-สุราษฏร์ธานี 424 กม. และสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 335 กม.

3. การจัดหาหัวรถจักรและล้อเลื่อนการพัฒนาระบบโทรคมนาคมและอาณัติสัญญาณ

ซึ่งแผนพัฒนารถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตรนั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ไม่ต้องเสียเวลารอสับหลีกสามารถเพิ่มความเร็วเฉลี่ยของรถไฟโดยสารเป็น 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง และรถไฟขนส่งสินค้าเป็น 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้การเดินทางโดยรถไฟสามารถแข่งขันกับระบบถนนได้

@กรมรางลุยศึกษาแผนพัฒนารถไฟฟีดเดอร์เชื่อมโครงข่ายหลัก

แม้จะมีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่เพิ่มถึง16 เส้นทางระยะทางรวม 3,154 กม. แต่ส่วนใหญ่ เป็นการก่อสร้างทางเพิ่มอีก 1 ทางคู่ไปตามแนวรถไฟเดิม ในขณะที่ปัจจุบันการพัฒนาพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งแหล่งอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และชุมชน

ดังนั้นเส้นทางรถไฟที่มี จึงอาจยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมที่ระจายอยู่ทั่วประเทศ แหล่งอุตสาหกรรม ที่ต้องการให้มีระบบรางเข้าถึงช่วยการกระจายสินค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน อย่างแท้จริง

ปัจจุบันกรมการขนส่งทางราง (ขร.) จึงได้ว่าจ้าง ที่ปรึกษาวงเงิน 25.74 ล้านบาท เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-Map) ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน

โดยเป็นการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายรถไฟไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างทางคู่ และทางสายใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาระบบโทรคมนาคม และอาณัติสัญญาณ รถจักรและล้อเลื่อน เพื่อให้ระบบขนส่งทางรางกลายเป็นระบบหลักในการเดินทางและการขนส่งสินค้าของประเทศ

รวมทั้งนำผลการศึกษาโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งรถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์ มาพิจารณา และ จะต้องสำรวจ/รวบรวมข้อมูล/ปัญหาอุปสรรคในการขนส่งและความต้องการในพื้นที่ ทั้งจากประชาชน ผู้ประกอบการทุกแขนง

มีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน จำนวนประชากร ปริมาณการขนส่ง ฐานการผลิต ทางการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม โครงข่ายคมนาคมทุกรูปแบบที่มีในพื้นที่ รวมไปถึงวิเคราะห์ความต้องการเดินทาง เพื่อคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารและสินค้าในอนาคต

@ต่อเส้นทางรถไฟแขนงย่อย เชื่อมโยงเข้าพื้นที่เศรษฐกิจ

“พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.)กล่าวว่า การศึกษา R-Map นี้ เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าจากพื้นที่เศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมของจังหวัดต่างๆ รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือในการให้บริการรถไฟระหว่างประเทศ พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าและเดินทาง

โดยจะเป็นการนำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟมาทบทวนและต่อยอดโครงข่ายเส้นทางเดิมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งทบทวนและพัฒนาการสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน และสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่าง ๆ

เมื่อดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จจะมีการจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเหมาะสมกับสถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

โดยบูรณาการร่วมกับการคมนาคมขนส่งอื่นๆรวมทั้งเสนอแนะการลงทุนตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นแต่ละเส้นทางในโครงการต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อเป็นส่วนช่วยในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 และรองรับการลงทุนหลังจากการเปิดประเทศต่อไป

ปัจจุบัน กระทรวงคมนาคม มีแผนแม่บทโครงข่าย MR-Map ที่มีแนวคิดในก่อสร้างมอเตอร์เวย์ กับระบบราง ควบคู่ไปในแนวเส้นทางเดียวกัน จำนวน 10 เส้นทาง ซึ่งถือเป็นเส้นทางหลัก ส่วน R-Map นี้จะมีลักษณะเป็นเส้นเลือดฝอย เป็นรถไฟสายสั้นๆ ใช้เงินลงทุนไม่มาก โดยจะแยกออกจากสายหลักต่อเชื่อมไปยังจุดหรือพื้นที่ ที่มีศักยภาพ เช่น ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ,ท่าเรือมาบตาพุด, นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

“เป็นการเติมโครงข่ายรถไฟให้เต็มโดยเชื่อมไปยังพื้นที่มีศักยภาพหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ต่อไป”

@พรบ.การขนส่งทางราง เครื่องมือหลักขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย


เบื้องต้น มองว่าแนวทางลงทุน เป็นได้ทั้ง เปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนนการแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งก่อสร้างทาง จัดหารถจักร ล้อเลื่อนและให้บริการ หรือภาครัฐอาจต้องเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และให้เอกชนลงทุนส่วนที่อยู่เหนือรางและบริหารการเดินรถ โดยจ่ายค่าใช้ทางให้กับภาครัฐ

ซึ่งขณะนี้ ร่างพ.ร.บ.การขนส่งทางรางได้รับความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกา หากมีผลบังคับใช้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้สามารถเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายรองได้ ในอนาคต

นอกจากนี้วางแผนก่อสร้างเส้นทางรถไฟเพิ่มแล้ว จะต้องศึกษาด้านการตลาด ธุรกิจ เพื่อให้มีรถไฟมาวิ่งให้บริการอย่างคุ้มค่าด้วย ซึ่งการศึกษา จะครอบคลุมทั้งหมด

@เร่งทำแผนการตลาด ทางคู่เฟส 2 ตอบคำถามสศช.

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ของการรถไฟฯ จำนวน 7 เส้นทาง ปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนการเสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แต่สศช.ยังไม่สามารถพิจารณาได้ เนื่องจากไม่มีแผน การเดินรถ แผนการตลาด แผนธุรกิจ ในการสร้างรายได้เพื่อรองรับการลงทุนเพราะกังวลว่า สร้างทางเสร็จแล้วไม่มีรถวิ่ง ซึ่งกรมรางฯ จะช่วยศึกษาในส่วนนี้ด้วย คาดว่าใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

“สศช.ต้องการคำตอบเรื่องแผนธุรกิจแผนการตลาดจำนวนผู้โดยสาร สินค้า การกำหนดค่าโดยสาร ค่าระวาง รวมไปถึงรูปแบบแพคเกจท่องเที่ยว และระบบตั๋วใหม่ ๆ เพราะรถไฟทางคู่ใช้เงินลงทุนสูง ขณะนี้ยังมีเวลาศึกษาวิเคราะห์ ให้รอบด้าน ...ไม่ถือว่าล่าช้าและเมื่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยุติ จะพร้อมนำเสนอเพื่อขออนุมัติ”

ประเทศไทย คาดหวังว่าโครงข่ายรถไฟทางคู่จะเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งผู้โดยสารได้เพิ้มขึ้น79.90 ล้นคน/ปี ขนส่งสินค้าเพิ่มเป็น 46.89 ล้านตัน/ปี สนับสนุนให้สินค้าเกิดการชิฟโหมดมาใช้ราง จาก 1.4% เพิ่มเป็น 18.2% และ 29.7% ตามลำดับ ส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลดลงจาก14.2% เหลือ 11.9% ต้นทุนค่าขนส่งต่อ GDP ลดลงจาก7.4% เหลือ 6.7%

คงถึงเวลาแล้ว...ที่จะต้องพิจารณาเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมใช้ทางรถไฟ เข้ามาร่วมลงทุนให้บริการเดินรถ ทั้งการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าในเส้นทางที่มีศักยภาพ โดยจ่ายค่าเช่าใช้ทางให้กับ การรถไฟฯ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์รางให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนสูงสุด..และเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน
https://www.youtube.com/watch?v=SWEZmoOm5Is


Last edited by Wisarut on 25/08/2021 10:57 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2021 1:51 pm    Post subject: Reply with quote

ระดมสมองคิดรอบด้าน พร้อมผลิตกำลังคนป้อน ‘ระบบขนส่งทางรางไทย’ (ตอนที่ 1)
Praornpit Katchwattana
วันที่ 18 สิงหาคม 2564

....เป็นที่น่ายินดีที่ในตอนนี้เราได้เห็นว่าภารกิจในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ ได้ดำเนินไปคู่ขนานกับภารกิจในการผลิตกำลังคนหรือบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของทุกภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีนี้ เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือจากทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษาในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งอุดมศึกษา หรือ อาชีวศึกษา รวมถึงอีกหนึ่งองคาพยพสำคัญที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ หน่วยงานภาครัฐ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมในด้านนั้นๆ เช่นกันกับครั้งนี้ เมื่อมีโจทย์ด้านการผลิตกำลังเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม ระบบขนส่งทางรางไทย ขึ้น กรมการขนส่งทางราง ก็ได้เข้ามาร่วมระดมสมอง เพื่อคิดให้รอบด้าน ร่วมกับทุกฝ่ายด้วย
โดยพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ที่จำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการผลิตกำลังคนเพื่อป้อน ระบบรางไทย ให้ทันต่อความต้องการในเชิงพื้นที่นั่นคือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งมี คณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากร ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) มาเป็นเจ้าภาพสำคัญในการประชุมเพื่อระดมสมองครั้งนี้ด้วย
5+1 ภารกิจ กรมการขนส่งทางราง เพื่อพัฒนา ระบบขนส่งทางรางไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ
“ในช่วง 5-7 ปี ที่ผ่านมานี้ มีการลงทุนในการพัฒนา ระบบขนส่งทางราง ของไทยอย่างมากที่สุดในรอบทศวรรษก็ว่าได้” กิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ได้เกริ่นเริ่มต้นในการประชุมระดมสมองครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นความสำคัญของ ระบบขนส่งทางรางของไทย ที่นำสู่เหตุผลในการพัฒนากำลังคนด้านนี้ต่อไป
“เพราะจากเดิมเราพึ่งพาระบบรางในการขนส่งโลจิสติกส์ทุกด้านเพียงแค่ประมาณ 1.4 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น และในตอนนี้เราได้วางแผนยุทธศาสตร์ เพื่อสนับสนุนให้มีการมาใช้ระบบรางให้มากขึ้นให้ได้ถึง 4-6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าเทียบในหลักสากล ประเทศที่พัฒนาแล้วมีการพึ่งพาระบบบรางถึง 7-14 เปอร์เซ็นต์”
“โดยการขนส่งทางราง เป็นวิธีในการขนส่งในระบบโลจิสติกส์ ที่ใช้ค่าใช้จ่ายเป็นอันดับ 2 รองจากระบบการขนส่งทางน้ำ โดยในประเทศไทยยังพึ่งพาการขนส่งทางบกอยู่ ด้วยเหตุนี้ นี่เป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราต้องพัฒนาศักยภาพของการขนส่งทั้งทางน้ำและทางราง ซึ่งประเทศไทยเองก็มีขีดความสามารถในด้านนี้ และหันมาพึ่งพาการขนส่งด้านนี้ให้มากขึ้น”
“ยิ่งในตอนนี้เราอยู่ในโลกวิถีใหม่ ที่พูดได้ว่า วิกฤตโควิด ที่เกิดขึ้นนี้ ได้มาช่วยจัดระเบียบให้โลกต้องปรับเปลี่ยนไปพึ่งพาการลงทุนที่ต่ำที่สุด แต่ให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งการขนส่งระบบราง เป็นหนึ่งในการขนส่งที่เข้าข่ายการลงทุนในยุค New normal นี้เป็นอย่างมาก”
“โดยภารกิจหลัก ของ กรมขนส่งทางราง มี 5 ภารกิจ นั่นคือ
พัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางรางที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม สะดวกสบาย
กำหนดมาตรฐานการก่อสร้าง การปฏิบัติการ การซ่อมบำรุง ผู้ประจำหน้าที่
กำกับดูแลการก่อสร้างการประกอบกิจการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ
วางกรอบอัตราราคาค่าโดยสารสูงสุดที่เป็นธรรมและการลงทุนในอุตสาหกรรมระบบราง
ประเมินผล การดำเนินโครงการและกิจการพิเศษ เช่น รถไฟความเร็วสูง
“และล่าสุด ในตอนนี้ กำลังมีการผลักดันให้ พระราชบัญญัติการขนส่งทางราง ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 จากที่ กรมการขนส่งทางราง ได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลา 2-3 ปี แล้ว แต่ พ.ร.บ. ที่ให้อำนวจการดำเนินการของกรมการขนส่งทางราง ยังไม่มี ดังนั้น ภายในสิ้นปีนี้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็จะออกมาใช้บังคับได้อย่างเป็นรูปธรรม”
“และอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่กำลังผลักดัน นั่นคือ งานวิจัยของ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ที่เราวางเป้าหมายไว้ว่า ในอนาคตข้างหน้าเราต้องสร้างรถไฟเองได้ เป็น Thai first และ Local Express ใน 3-5 ปี ต่อจากนี้ เพราะในปัจจุบันนี้เรานำเข้า 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เราเสียเปรียบในด้านของเงินตราต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง นี่เป็นสาเหตุทำให้ค่าโดยสารมีอัตราที่สูงตามไปด้วย”
“และต่อไป รถไฟไทยจะเป็น Full EV train คือ ใช้พลังงานไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งจะมีระบบการใช้ตั๋วร่วมของระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง เรือ และ รถเมล์ ของ ขสมก. เกิดขึ้นด้วยภายในปีนี้”
“นอกจากนั้น อีกหนึ่งภารกิจที่เรียกได้ว่าเพิ่มขึ้นมาจาก 5 ภารกิจหลัก นั่นคือ “การจับมือระหว่าง “พันธมิตรสร้างสรรค์อุตสาหกรรมระบบรางไทย” ซึ่งกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับกระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมด้วยหน่วยงานพันธมิตรระบบรางภาครัฐ/สถาบันการศึกษา 13 หน่วยงาน ที่มาร่วมลงนามอย่างเป็นทางการ เพื่อบูรณาการความร่วมมือครอบคลุมด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัยและพัฒนา มาตรฐานระบบราง อุตสาหกรรมระบบราง ทดสอบและการทดลอง พัฒนาทรัพยากรบุคคล”
“เพื่อช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพระบบขนส่งทางรางและความปลอดภัยในการให้บริการเดินรถไฟ ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบรางให้เป็นไปตามมาตรฐานระบบรางของประเทศและมาตรฐานสากล ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบวิเคราะห์ด้านระบบราง สนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ทดแทนการนำเข้า สนับสนุนการผลิตบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญวิจัยด้านระบบราง ตลอดจนวิจัยและพัฒนาแก้โจทย์ปัญหาด้านระบบรางของประเทศ สร้างความยั่งยืนให้ระบบรางของไทย”
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4340548595992052
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2021 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

ประกาศกรมการขนส่งทางราง เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ 1 (จำนวน1,046 ราย) เพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.drt.go.th/announcement/hr20082564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2021 9:41 pm    Post subject: Reply with quote


กรมรางทยอยออกข้อกำหนดมาตรฐานระบบราง
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4348248228555422
https://www.youtube.com/watch?v=sFg9CtZ16Ec
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 26, 27, 28 ... 64, 65, 66  Next
Page 27 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©