Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13265028
ทั้งหมด:13576311
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2022 12:21 am    Post subject: Reply with quote

ดร.มานะ ชี้หยุดร้อนฉ่า!สายเขียว‘ครม.’ดองเค็ม รอ‘ผู้ว่าฯกทม.’คนใหม่แก้ปม
วันอังคาร ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16.09 น.

ดร.มานะ เลขาฯ ACT แนะทางออกสายสีเขียว ครม.เลิกพิจารณา รอผู้ว่าฯกทม. จากเลือกตั้ง และ รมต. มหาดไทย และ คมนาคม คู่ใหม่ ไร้ความขัดแย้งเข้าสางปัญหา เชื่อเกิดความโปร่งใส และ ค่าโดยสารเหมาะสม

ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย ) หรือ ACT ให้ความเห็นถึงกรณีความขัดแย้งของการต่อสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเกิดปัญหา และ ยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายปี ทำให้เกิดความเข้าใจว่า มีปัญหาเรื่องแนวทางและผลประโยชน์ไม่ตรงกัน ระหว่างกทม. โดย กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงคมนาคม

ดังนั้น เมื่อสถานการณ์มาถึงบัดนี้ ครม. จึงไม่ควรเร่งรีบต่อสัญญา และ ควรรอให้ผู้ว่าฯกทม. ที่มาจากการเลือกตั้งพิจารณา รวมทั้งรอให้มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบัน จากเดิมที่สืบเนื่องมาจากยุคคสช. และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็รอคนใหม่ ที่ไม่มีความขัดแย้ง เรื่องโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับรัฐมนตรีมหาดไทยคนเดิม เข้าร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน 3ฝ่ายจะดีกว่า เพื่อที่จะทำให้สัญญาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเกิดความโปร่งใส อีกทั้งยังเข้ามาพิจารณาเรื่องค่าโดยสารในราคาเหมาะสมและประชาชนยอมรับได้
https://www.facebook.com/siripong.angkasakulkiat/posts/10223189907955413

ไม่น่าใช่! 'สิริพงศ์'สวนเดือด'เลขาฯองค์กรต้านโกง' หลังแนะสยบปมร้อนสายสีเขียว
วันอังคาร ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 21.57 น.

ไม่น่าใช่! "สิริพงศ์"สวน"เลขาฯองค์กรต้านโกง" หลังแนะสยบปมร้อนสายสีเขียว ให้รอเปลี่ยนบังเหียน"มท.-คมนาคม" เอาคนที่ไม่ขัดแย้งมาทำงาน ชี้ต่อให้ใครมา กฎหมายก็คือกฎหมาย ท้าเรียกข้อมูล 2 ฝ่ายมาดู

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว "Siripong Angkasakulkiat" กรณีที่ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ระบุให้รอผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ สางปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ดร.มานะ ชี้หยุดร้อนฉ่า!สายเขียว‘ครม.’ดองเค็ม รอ‘ผู้ว่าฯกทม.’คนใหม่แก้ปม)


โดย นายสิริพงศ์ ระบุว่า "คือสงสัย ACT นี้ ของ ACT มาก ข่าวนี้คือ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย ) หรือ ACT มาเสนอแนะแนวทางว่า ให้รอผู้ว่า กทม ใหม่ ตัดสินใจ ประเด็นนี้เห็นด้วย เพราะเป็นอำนาจเขาและเขาควรได้ตัดสินอนาคตของคนกรุงเทพ ที่เลือกเขามา แต่ประเด็นที่ว่า คมนาคมและมหาดไทยขัดแย้งกัน ให้เปลี่ยนเอาคนที่ไม่ขัดแย้งกันมา เอิ่มมม......ผมว่าไม่น่าใช่ ต่อให้เปลี่ยนใครมา ข้อกฏหมายก็คือข้อกฏหมาย ในฐานะที่ท่านอยู่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ท่านควรจะมาตรวจสอบในประเด็นนี้ มากกว่ามาเสนอทางบอกแบบนี้นะครับ เรียกข้อมูลของทั้งสองฝ่ายมาดูเลย ผมขอเชิญชวน"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/02/2022 5:46 am    Post subject: Reply with quote

ค้านร่างกม.ขนส่งทางราง ให้อำนาจ"กรมราง"ซ้ำซ้อน
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, February 18, 2022 05:37

ค้านร่าง กม.ขนส่งทางราง

ผู้จัดการรายวัน360 - "สหภาพฯ รฟท." เตรียมยื่น "ครม.-ประธานสภาฯ" ค้านร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ ระบุให้อำนาจ "กรมราง" ทับซ้อนกับหน่วยงานปฏิบัติ เดินหน้า PPP "สายสีแดง" หวั่นเอื้อเอกชนซ้ำรอยค่ารถไฟฟ้าแพง ชี้ รฟท.เดินรถเองได้

วานนี้ (17 ก.พ.) รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 ก.พ.65 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับ สร.รฟท. ที่กำหนดให้มีการจัดการประชุมใหญ่ขึ้น เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตลอดปีที่ผ่านมา โดยที่ประชุมมีมติรับรองประธานสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามข้อบังคับ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้สหภาพฯ รฟท. ดำเนินการ 2 ประเด็นสำคัญ คือ
    1. คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. . และ
    2. คัดค้าน นโยบายร่วมทุน หรือ PPP (รถไฟชานเมืองสายสีแดง)

นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการ ประธาน สร.รฟท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. . ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา และล่าสุดมีข่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวถูกส่งกลับมาที่กระทรวงคมนาคม และเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีเป้าหมายจะเร่งบังคับใช้ภายในปลายปีนี้ ทั้งนี้ สร.รฟท.ได้คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฉบับนี้มาตลอด เนื่องจากกำหนดบทบาทให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ทำให้หน้าที่เกินจากการกำกับดูแล และซ้ำซ้อนกับอำนาจของ รฟท.ในหลายมาตรา

"ดังนั้น สหภาพฯ รฟท. จะเร่งยื่นหนังสือคัดค้านไปยัง ครม.ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อขอให้ทบทวนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ แต่หาก ครม.มีมติเห็นชอบ สหภาพฯ รฟท.จะยื่นคัดค้านต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ต่อไป" นายสราวุธ ระบุ

สำหรับกรณีการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) รถไฟชานเมืองสายสีแดงและส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง วงเงินกว่า 7.93 หมื่นล้านบาทนั้น นายสราวุธ กล่าวว่า จะส่งผลกระทบทั้ง รฟท.ที่อนาคตรถไฟจะเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจากระบบดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า จากส่วนกลางเชื่อมกับภูมิภาค จะทำได้ยาก และเรียกร้องให้ รฟท.เป็นผู้ดำเนินการบริหารเดินรถเอง ภายใต้บริษัทลูก หรือ รฟฟท. เพราะจะสามารถควบคุมค่าโดยสารที่ไม่แพง ไม่เป็นภาระกับประชาชน ซึ่งเรื่องให้เอกชนบริหารรถไฟฟ้า แล้วค่าโดยสารแพง

"เมื่อรัฐลงทุน 100% แล้วทำไมไม่เดินรถเอง รฟท.มีบริษัทลูกอยู่แล้ว ไปจ้างเอกชนทำไมและการที่เดินรถเอง การขยายเส้นทางและเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีในอนาคตทำได้ง่ายกว่าอีกด้วย" รักษาการ ประธาน สร.รฟท. กล่าว.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 18 ก.พ. 2565


-------

สหภาพรถไฟฯ เดือด ค้าน “คมนาคม” แก้ พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ซ้ำซ้อน
หน้าแรก เศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 18 ก.พ. 2565 เวลา 13:04 น.

สหภาพรถไฟฯ จ่อยื่นครม.ค้านแก้ร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง หลังคมนาคมเร่งผลักดันมีผลบังคับใช้ปลายปีนี้ เผยรายละเอียดกรมรางแทรกแซงเกินหน้าที่ ขัดพ.ร.บ.การรถไฟ หวั่นโอนสิทธิ์เอื้อนายทุน

นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2565 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2654 ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับ สร.รฟท.ที่กำหนดให้มีการจัดการประชุมใหญ่ขึ้นเพื่อรายงานผลการดำเนินงานตลอดปีที่ผ่านมา โดยที่ประชุมมี มติรับรองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยให้เป็นไปตามข้อบังคับ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้สหภาพฯ รฟท.ดำเนินการ 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1. คัดค้านร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ….และ 2. คัดค้านนโยบายร่วมทุน หรือ PPP (รถไฟชานเมืองสายสีแดง)

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมเคยเสนอร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .ไปที่กฤษฎีกาแล้ว โดยมีการประชุมกว่า 200 ครั้ง ปรับแก้ไขประมาณ 12 ร่าง ไม่คืบหน้า กระทรวงคมนาคมจึงมีการถอนร่างออกมาและจัดทำร่างใหม่เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยกลับไปใช้ร่างเดิมก่อนมีการปรับแก้ และ ครม.ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2564 ตามขั้นตอนต้องเสนอกฤษฎีกาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งสหภาพฯ รถไฟได้คัดค้านต่อร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฉบับนี้มาตลอด และอยู่ระหว่างยื่นกฤษฎีกาเพื่อขอปรับแก้ไข แต่ล่าสุดมีข่าวว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวถูกส่งกลับมาที่กระทรวงคมนาคมและเตรียมเสนอ ครม. โดยมีเป้าหมายจะเร่งบังคับใช้ภายในปลายปีนี้ ดังนั้น สหภาพฯ รฟท.จะเร่งยื่นหนังสือคัดค้านไปยัง ครม.ภายในสัปดาห์หน้าเพื่อขอให้ทบทวนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ แต่หาก ครม.มีมติเห็นชอบ สหภาพฯ รฟท.จะยื่นคัดค้านต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง กำหนดบทบาทให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบาย มาตรฐานความปลอดภัย การให้บริการ ค่าโดยสาร ด้านระบบราง เช่นเดียวกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านขนส่งทางบก หรือ regulator แต่พบว่าเนื้อหารายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางกลับให้กรมรางทำให้หน้าที่เกินจากการกำกับดูแล เช่น มาตรา 9 มีอำนาจและสิทธิในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล และซ้ำซ้อนกับอำนาจของ รฟท.ที่มีตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ. 2494

มาตรา 13 ให้อำนาจหน้าที่กรมรางฯ ทับซ้อนกับการบริหารจัดการ รฟท. ตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 9(2) เรื่องวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

มาตรา 15, 16 ที่ให้กรมรางฯ สำรวจเส้นทางและนำเสนอโครงการ และมาตรา 25 ให้อำนาจกรมรางเวนคืนที่ดิน ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานกำกับ อีกทั้งมีหน่วยงานของรัฐ คือ รฟท.และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทำหน้าที่อยู่แล้ว

“สหภาพฯ ไม่คัดค้านการกำกับดูแลเพื่อให้ระบบรางมีการบริการ ค่าโดยสารเป็นมาตรฐานเดียวกัน จะเหมือนกับบทบาทหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบก ที่ดูแลมาตรฐานบริการ การออกใบอนุญาต มาตรฐานรถ มาตรฐานคน ส่วนการบริหารจัดการทรัพย์สิน การสำรวจเส้นทาง การก่อสร้างเป็นหน้าที่ของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท”

ขณะเดียวกันทั้ง รฟท.และ รฟม.มีกฎหมายในการจัดตั้ง ที่มอบหมายหน้าที่ในการประกอบกิจการขนส่งทางราง แต่ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางให้ผู้ประกอบกิจการทางรางต้องขอใบอนุญาตจากกรมรางฯ ก่อน ซึ่งสหภาพฯ รฟท.เห็นว่า รฟท.และ รฟม.ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐมี พ.ร.บ.การรถไฟฯ มี พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ อนุญาตในการประกอบกิจการระบบรางอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องทำตามมาตรฐานให้เป็นไปตามที่กรมรางฯ กำหนด ไม่ใช่ต้องไปขอใบอนุญาตซ้ำซ้อนทั้งที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ บทเฉพาะกาล มาตรา 142 กำหนดว่า อำนาจ สิทธิประโยชน์ของการรถไฟฯ และ รฟม.ที่มีตาม พ.ร.บ.ของ 2 หน่วยงานให้ใช้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัดต่อพ.ร.บ.ขนส่งทางราง เท่ากับอะไรที่ขัดกับ พ.ร.บ.ขนส่งทางรางจะต้องถูกยกเลิกไป ซึ่งจะหมายรวมถึงใบอนุญาตประกอบกิจการทางราง อำนาจหน้าที่ในการสำรวจ สร้างทาง ทำโครงการต่างๆ จะถูกโอนย้ายไปที่กรมรางฯ ทั้งหมด

ส่วนร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ มีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรมและให้อำนาจกรมรางเกินขอบเขตอย่างมาก ทั้งโอนสิทธิ์ให้กรมรางเป็นเจ้าของทางรถไฟ จัดสรรตารางเดินรถ เส้นทาง อนุญาตใช้ทางทั้งที่ไม่ได้ลงทุนใดๆ แต่ รฟท.ต้องแบกรับหนี้ค่าก่อสร้างหลายแสนล้านบาท นอกจากนี้ยังให้มีคณะกรรมการดูแลบริหารจัดการทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของรัฐ แต่ไม่ได้บอกว่าหน่วยงานไหน โดยมาตรา 13 เขียนว่าให้อำนาจกรมรางฯ บริหารจัดการทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ ขณะที่บอกให้ รฟท.นำทรัพย์สินไปพัฒนาหารายได้เพิ่มช่วยเรื่องการเดินรถ แต่กลับให้กรมรางฯ บริหารทรัพย์สิน รฟท.เป็นผู้เดินรถรายหนึ่งเท่านั้น เป็น พ.ร.บ.ที่นำไปสู่การเอื้อให้นายทุนเอกชนเข้ามาหาประโยชน์บนรางรถไฟ และมีผลกระทบต่อประชาชน และพนักงานรถไฟ

กรณีการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) รถไฟชานเมืองสายสีแดงและส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง วงเงินกว่า 7.93 หมื่นล้านบาทนั้นจะส่งผลกระทบทั้ง รฟท.ที่อนาคตรถไฟจะเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจากระบบดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า จากส่วนกลางเชื่อมกับภูมิภาค จะทำได้ยาก และเรียกร้องให้ รฟท.เป็นผู้ดำเนินการบริหารเดินรถเอง ภายใต้บริษัทลูก หรือ รฟฟท. เพราะจะสามารถควบคุมค่าโดยสารที่ไม่แพง ไม่เป็นภาระแก่ประชาชน ซึ่งเรื่องให้เอกชนบริหารรถไฟฟ้า มีตัวอย่างที่บีทีเอสและ BEM แล้วค่าโดยสารแพง

“ตามมติ คนร.ให้ รฟฟท.เดินรถไฟสายสีแดง แต่นโยบายคมนาคมจะให้ PPP เอกชนเข้ามาเดินรถเพื่อลดภาระภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางชื่อ-ตลิ่งชัน รัฐลงทุนเองไปแล้วทั้งโครงสร้างระบบ และขบวนรถ มี รฟฟท.บริหารการเดินรถแบบชั่วคราว 1 ปี ซึ่งผลศึกษา PPP สีแดงล่าสุดออกมาว่ารัฐต้องลงทุนสีแดงต่อขยายทั้งหมดเอง และ PPP net cost คือ ให้เอกชนเดินรถ ซ่อมบำรุง จัดเก็บรายได้ และแบ่งให้ รฟท. คำถามคือ เมื่อรัฐลงทุน 100% หมด แล้วทำไมไม่เดินรถเอง รฟท.มีบริษัทลูกอยู่แล้ว ไปจ้างเอกชนทำไม และการที่เดินรถเอง การขยายเส้นทางและเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีในอนาคตทำได้ง่ายกว่าอีกด้วย”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2022 11:51 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ค้านร่างกม.ขนส่งทางราง ให้อำนาจ"กรมราง"ซ้ำซ้อน
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
วันศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 05:37 น.

-------

สหภาพรถไฟฯ เดือด ค้าน “คมนาคม” แก้ พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ซ้ำซ้อน
หน้าแรก เศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 13:04 น.


ลิงก์มาแล้วครับ

สหภาพฯ รฟท.เตรียมยื่นค้าน พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ชี้ให้อำนาจ "กรมราง" ซ้ำซ้อนผู้ปฏิบัติขัดหลักกำกับดูแล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 08:31 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 08:31 น.

สหภาพฯ รฟท.เตรียมยื่น "ครม.-ประธานสภา" ค้าน พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ ระบุให้อำนาจกรมรางเกินกว่าหน้าที่กำกับดูแล ชี้เนื้อหาให้สำรวจเส้นทาง, เวนคืน, พัฒนาทรัพย์สิน ทับซ้อนกับหน่วยงานปฏิบัติ ต้าน PPP สายสีแดงหวั่นเอื้อเอกชนซ้ำรอยค่ารถไฟฟ้าแพง ชี้ รฟท.เดินรถเองได้
https://mgronline.com/business/detail/9650000016483
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/02/2022 8:33 am    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
18 กุมภาพันธ์ เวลา 17:30 น.
Arrow https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/247471480910655

Did You Know : รู้หรือไม่ รถไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีการจ่ายไฟฟ้าอย่างไรบ้าง?
ติดตามข่าวสารของกรมการขนส่งทางรางได้ที่
Website : www.drt.go.th
Facebook : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
Youtube : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม


กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
19 ก.พ. 65 12:01 น.
Arrow https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/247992687525201

Did You Know : รู้หรือไม่ ระบบอาณัติสัญญาณ ในระบบขนส่งทางรางคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?
ติดตามข่าวสารของกรมการขนส่งทางรางได้ที่
Website : www.drt.go.th
Facebook : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
Youtube : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/02/2022 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
21 ก.พ. 65 15:22 น.

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/249379454053191

กรมการขนส่งทางราง ชี้แจงเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง
กรณีสหภาพ รสก.รฟท. ให้ข้อสังเกต

ดร. พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ชี้แจงถึงกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ข้อสังเกตประเด็นเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ. .... และแสดงความเห็นคัดค้าน มีดังต่อไปนี้

1.การกำหนดบทบาทให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบาย มาตรฐานความปลอดภัย การให้บริการ ค่าโดยสาร ด้านระบบราง เช่นเดียวกับกรมการขนส่ง ทางบก (ขบ.) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านขนส่งทางบก หรือ regulator แต่พบว่าเนื้อหารายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง กลับให้กรมการขนส่งทางรางทำให้หน้าที่ เกินขอบเขตจากการกำกับดูแล เช่น มาตรา 9 มีอำนาจและสิทธิในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล และซ้ำซ้อนกับอำนาจของ รฟท.ที่มีตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
ขร.ชี้แจงว่า ตามร่างมาตรา 9 กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจในอนุมาตรา (๓) เสนอแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับประโยชน์จากการประกอบกิจการขนส่งทางรางต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการเสนอแนะแนวทางในเชิงนโยบายเมื่อคณะกรรมการนโยบายเห็นชอบแล้วจะส่งให้ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง แล้วกำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานที่ประกอบกิจการขนส่งทางรางที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมการขนส่งทางรางปฏิบัติตามนโยบายต่อไป และกรมการขนส่งทางรางไม่ได้ดำเนินการเองแต่อย่างใด แต่จะกำกับดูแลให้หน่วยงานในภายใต้กำกับดูแลปฏิบัติตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและ ครม. ให้ความเห็นชอบแล้ว

2.ประเด็นการให้อำนาจและหน้าที่กรมการขนส่งราง ทับซ้อนกับการบริหารจัดการ รฟท. ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 9 (2) เรื่องวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ ที่ให้ รฟท.มีอำนาจในการดำเนินการให้ได้ซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน และดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ กับ ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง มาตรา13, 15, 16 ที่ให้กรมการขนส่งทางราง สำรวจเส้นทางและนำเสนอโครงการ และร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง มาตรา 25 ให้อำนาจกรมการขนส่งทางรางเวนคืนที่ดิน ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลแต่อย่างใด

ขร.ชี้แจงว่า ในการเสนอโครงการของคณะกรรมการนโยบายขนส่งทางรางต่อ ครม.เมื่อร่างพ.ร.บ.ประกาศใช้บังคับแล้ว หากเป็นโครงการที่มอบหมายให้หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกรมการขนส่งทางราง ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น รฟม.รฟท. และ กทม.ทั้งสามเป็นหน่วยงานของรัฐและมีกฎหมายจัดตั้งหรือกฎหมายเฉพาะของหน่วยนั้นๆ ให้อำนาจหน้าที่ในการเวนคืนหรือจัดหาที่ดินให้ได้มาเพื่อดำเนินการจัดทำโครงการได้อยู่แล้ว ซึ่งร่าง พ.ร.บ.รางฯ ไม่ได้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของทั้งสามหน่วยงานแต่อย่างใด

ตามเจตนารมณ์ที่ร่างมาตรา 26 ไว้ในกรณีโครงการที่คณะกรรมการนโยบายขนส่งทางราง เสนอต่อ ครม.และ ครม.พิจารณาเห็นชอบให้ ขร. ดำเนินการร่วมกับเอกชน ซึ่งเอกชนไม่สามารถใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ในการดำเนินโครงการ กรมการขนส่งทางรางในฐานะหน่วยงานที่กำหนดนโยบายและแผนงานโครงการที่จะดำเนินโครงการขนส่งทางราง ควรจะมีหน้าที่และอำนาจในการเวนคืนหรือให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้การดำเนินโครงการของเอกชนที่เข้ามาดำเนินโครงการ ตามนโยบายขนส่งทางรางสำเร็จลุล่วงไป เช่นเดียวกับกรมการขนส่งทางบก ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการขนส่งทางบก ก็มีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำมาดำเนินการตามภารกิจของหน่วยงานให้สำเร็จลุล่วง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มา ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ 2562 ซึ่งไม่ว่าจะกำหนดหน้าที่และอำนาจในการเวนคืนหรือการได้มา ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ไว้ในกฎหมายใด หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแล เช่น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมการขนส่งทางบก กรมเจ้าท่า เป็นต้น มีหน้าที่และอำนาจในการเวนคืนหรือการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนภารกิจในด้านต่างๆของหน่วยงานนั้น กรมการขนส่งทางรางก็เช่นเดียวกัน มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการตามนโยบายและแผนการขนส่งทางราง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเวนคืนหรือการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนการประกอบกิจการขนส่งทางรางเท่าที่จำเป็นและต้องกระทบกับสิทธิของพี่น้องประชาชนน้อยที่สุด

โดยรองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการขนส่งทางรางก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางราง ให้สามารถยกระดับมาตรฐาน การขนส่งทางราง การบริหารจัดการการขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยในการเดินทาง ไม่ได้มีเจตนาเพื่อที่จะเข้าไปดำเนินกิจการขนส่งทางรางแต่อย่างใด

และยินดีที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ รฟท.ในการประกอบกิจการขนส่งทางรางให้บริการประชาชน ตามมาตรฐานความปลอดภัยและมาตรฐานการให้บริการ ตามที่คณะกรรมการนโยบายขนส่งทางรางจะได้กำหนดต่อไปเมื่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางประกาศใช้บังคับแล้ว และตามบทเฉพาะกาล บรรดาอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2022 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันจันทร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:22 น.

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/249379454053191

กรมการขนส่งทางราง ชี้แจงเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง
กรณีสหภาพ รสก.รฟท. ให้ข้อสังเกต


เคลียร์ชัด “กรมราง” เผยสาเหตุแก้ร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ฉบับใหม่
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอังคาร ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 12:45 น.

“กรมราง” ชี้แจงแก้ร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ฉบับใหม่ หลังสหภาพการรถไฟฯ ค้านหนัก เหตุรายละเอียดซ้ำซ้อนอำนาจรฟท. ยันชงครม.ไฟเขียวแล้ว ไม่ผิดกฎหมาย

ดร. พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยถึงกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ข้อสังเกตประเด็นเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ. .... พบว่าเนื้อหารายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง กลับให้กรมการขนส่งทางรางทำให้หน้าที่ เกินขอบเขตจากการกำกับดูแล

เช่น มาตรา 9 มีอำนาจและสิทธิในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล และซ้ำซ้อนกับอำนาจของ รฟท.ที่มีตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 นั้น ตามร่างมาตรา 9 กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจในอนุมาตรา (๓) เสนอแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับประโยชน์จากการประกอบกิจการขนส่งทางรางต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการเสนอแนะแนวทางในเชิงนโยบายเมื่อคณะกรรมการนโยบายเห็นชอบแล้วจะส่งให้ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง แล้วกำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานที่ประกอบกิจการขนส่งทางรางที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมการขนส่งทางรางปฏิบัติตามนโยบายต่อไป และกรมการขนส่งทางรางไม่ได้ดำเนินการเองแต่อย่างใด แต่จะกำกับดูแลให้หน่วยงานในภายใต้กำกับดูแลปฏิบัติตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและ ครม. ให้ความเห็นชอบแล้ว


ส่วนกรณีที่การให้อำนาจและหน้าที่กรมการขนส่งราง ทับซ้อนกับการบริหารจัดการ รฟท. ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 9 (2) เรื่องวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ ที่ให้ รฟท.มีอำนาจในการดำเนินการให้ได้ซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน และดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ กับ ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง มาตรา13, 15, 16 ที่ให้กรมการขนส่งทางราง สำรวจเส้นทางและนำเสนอโครงการ และร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง มาตรา 25 ให้อำนาจกรมการขนส่งทางรางเวนคืนที่ดิน ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลแต่อย่างใดนั้น การเสนอโครงการของคณะกรรมการนโยบายขนส่งทางรางต่อ ครม.เมื่อร่างพ.ร.บ.ประกาศใช้บังคับแล้ว หากเป็นโครงการที่มอบหมายให้หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกรมการขนส่งทางราง ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น รฟม. ,รฟท. และ กทม.ทั้ง 3 เป็นหน่วยงานของรัฐและมีกฎหมายจัดตั้งหรือกฎหมายเฉพาะของหน่วยนั้นๆ ให้อำนาจหน้าที่ในการเวนคืนหรือจัดหาที่ดินให้ได้มาเพื่อดำเนินการจัดทำโครงการได้อยู่แล้ว ซึ่งร่าง พ.ร.บ.รางฯ ไม่ได้ขัดแย้งกับกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของทั้ง 3 หน่วยงานแต่อย่างใด


ทั้งนี้ตามเจตนารมณ์ที่ร่างมาตรา 26 ไว้ในกรณีโครงการที่คณะกรรมการนโยบายขนส่งทางราง เสนอต่อ ครม.และ ครม.พิจารณาเห็นชอบให้ ขร. ดำเนินการร่วมกับเอกชน ซึ่งเอกชนไม่สามารถใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ในการดำเนินโครงการ โดยกรมการขนส่งทางรางในฐานะหน่วยงานที่กำหนดนโยบายและแผนงานโครงการที่จะดำเนินโครงการขนส่งทางราง ควรจะมีหน้าที่และอำนาจในการเวนคืนหรือให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้การดำเนินโครงการของเอกชนที่เข้ามาดำเนินโครงการ ตามนโยบายขนส่งทางรางสำเร็จลุล่วงไป เช่นเดียวกับกรมการขนส่งทางบก ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการขนส่งทางบกก็มีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำมาดำเนินการตามภารกิจของหน่วยงานให้สำเร็จลุล่วง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มา ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ 2562 ซึ่งไม่ว่าจะกำหนดหน้าที่และอำนาจในการเวนคืนหรือการได้มา ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ไว้ในกฎหมายใด หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแล โดยกรมราง มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการตามนโยบายและแผนการขนส่งทางราง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเวนคืนหรือการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนการประกอบกิจการขนส่งทางรางเท่าที่จำเป็นและต้องกระทบกับสิทธิของพี่น้องประชาชนน้อยที่สุด

“กรมการขนส่งทางรางก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางราง ให้สามารถยกระดับมาตรฐาน การขนส่งทางราง การบริหารจัดการการขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยในการเดินทาง ไม่ได้มีเจตนาเพื่อที่จะเข้าไปดำเนินกิจการขนส่งทางรางแต่อย่างใดและยินดีที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ รฟท.ในการประกอบกิจการขนส่งทางรางให้บริการประชาชน ตามมาตรฐานความปลอดภัยและมาตรฐานการให้บริการ ตามที่คณะกรรมการนโยบายขนส่งทางรางจะได้กำหนดต่อไปเมื่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางประกาศใช้บังคับแล้ว และตามบทเฉพาะกาล บรรดาอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้”

กรมรางยันอำนาจกำกับตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ด้านสหภาพฯ รฟท.ค้านเต็มสูบ ชี้ส่อแปรรูปในอนาคต
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 18:16 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 18:16 น.

กรมรางแจงอำนาจตามร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางไม่ทับซ้อนหน่วยงานปฏิบัติ ส่วนเวนคืนให้ทำแทนเอกชนที่มาลงทุน สหภาพฯ เดินหน้าค้านเต็มสูบ ชี้เนื้อหาส่อแปรรูปในอนาคต และไม่เคยรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามรัฐธรรมนูญ

จากกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) คัดค้านและมีข้อสังเกตถึงเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ. .... ในหลายประเด็น เช่น กำหนดบทบาทให้กรมราง มีหน้าที่เกินขอบเขตจากการกำกับดูแล (regulator) และทับซ้อนกับหน่วยงานปฏิบัติ เช่น ให้มีอำนาจและสิทธิในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการสำรวจเส้นทางและนำเสนอโครงการ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล และซ้ำซ้อนกับอำนาจของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มี พ.ร.บ.ของหน่วยงานกำหนดไว้แล้วนั้น

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ชี้แจงว่า ตามร่างมาตรา 9 กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่และอำนาจในอนุมาตรา (3) เสนอแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับประโยชน์จากการประกอบกิจการขนส่งทางรางต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ เป็นการเสนอแนะแนวทางในเชิงนโยบาย ให้หน่วยงานที่ประกอบกิจการขนส่งทางรางปฏิบัติตาม

ส่วนประเด็น ให้อำนาจกรมรางทับซ้อนกับหน่วยงานปฏิบัตินั้น ชี้แจงว่า ในการเสนอโครงการของคณะกรรมการนโยบายขนส่งทางรางต่อ ครม.เมื่อร่างพ.ร.บ.ประกาศใช้บังคับแล้ว หากเป็นโครงการที่มอบหมายให้หน่วยงานรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกรมการขนส่งทางราง เช่น รฟม.รฟท. และ กทม. ซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งหรือกฎหมายเฉพาะของหน่วยนั้นๆ ให้อำนาจหน้าที่ในการเวนคืนหรือจัดหาที่ดินให้ได้มาเพื่อดำเนินการจัดทำโครงการได้อยู่แล้ว ซึ่งร่าง พ.ร.บ.รางฯ ไม่ได้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของทั้งสามหน่วยงานแต่อย่างใด

@ยันให้อำนาจกรมรางเวนคืนได้แทนในโครงการที่เอกชนดำเนินการ

ตามเจตนารมณ์ที่ร่างมาตรา 25 ไว้ ในกรณีโครงการที่คณะกรรมการนโยบายขนส่งทางรางเสนอ ครม.และพิจารณาเห็นชอบให้เอกชนดำเนินการ ซึ่งเอกชนไม่สามารถใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ในการดำเนินโครงการ กรมรางควรจะมีหน้าที่และอำนาจในการเวนคืนหรือให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้การดำเนินโครงการของเอกชนที่เข้ามาดำเนินโครงการ ตามนโยบายขนส่งทางรางสำเร็จลุล่วงไป เช่นเดียวกับกรมการขนส่งทางบก ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการขนส่งทางบก ก็มีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำมาดำเนินการตามภารกิจของหน่วยงานให้สำเร็จลุล่วง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562

นายพิเชษฐกล่าวว่า กรมรางก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางราง ให้สามารถยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการขนส่งทางราง อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย ไม่ได้มีเจตนาเพื่อที่จะเข้าไปดำเนินกิจการขนส่งทางรางแต่อย่างใด เมื่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางประกาศใช้บังคับแล้ว และตามบทเฉพาะกาล บรรดาอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ที่การรถไฟฯ และ รฟม.มีอยู่ตามกฎหมายของทั้งสองหน่วยงาน ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้

@สหภาพรถไฟออกแถลงการณ์เดินหน้าค้าน พ.ร.บ.ขนส่งทางราง

วันที่ 21 ก.พ. 2565 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง คัดค้านร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ....ว่า เนื้อหาในร่างกฎหมายขัดต่อหลักการและเหตุผล ไม่ได้ทำหน้าที่แค่การกำกับดูแล และที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) อย่างทั่วถึงและรอบด้าน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เรื่องของการตรากฎหมายในมาตรา 77

ทั้งนี้ จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ที่ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ...โดยมีหลักการและเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ “เพื่อให้มีบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม กำกับดูแลกิจการขนส่งทางราง ให้สามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง การบริหารจัดการการขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ให้เป็นโครงข่ายเดียวกันอย่างสมบูรณ์”

ด้วยหลักการและเหตุผล ในการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนเพื่อให้คณะกรรมการนโยบายขนส่งทางราง และกรมการขนส่งทางรางที่มีฐานะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator ) มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล กำหนดนโยบายเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบกิจการขนส่งทางราง ด้านความปลอดภัย บริการ กำหนดอัตราค่าบริการ เป็นต้น

สร.รฟท.จึงได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้โดยละเอียดแล้วพบว่า ในเนื้อหาของร่างกฎหมายฉบับนี้มีบทบัญญัติในหลายมาตราที่ไม่ได้เป็นไปตามหลักการและเหตุผล อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลนโยบายการขนส่งทางรางยังมีความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการดำเนินการตามกฎหมายด้วยการจัดหาหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้กรมรางกลายเป็นหน่วยงานปฏิบัติการ (Operator) เสียเอง รวมทั้งเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งกับบรรดาอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ที่หน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะในการประกอบกิจการขนส่งทางราง เช่น รฟท. และ รฟม. และยังมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนการดำเนินการโดยรัฐให้เป็นเอกชน ซึ่งก็คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคต

กรมการขนส่งทางราง ชี้ร่าง พ.ร.บ ขนส่งทางราง ไม่ขัดกฎหมายหรืออำนาจซ้ำซ้อน
https://www.amarintv.com/news/detail/122894
https://www.facebook.com/amarinnews/posts/812733060092276

กรมการขนส่งทางราง ยันร่าง พ.ร.บ ไม่ขัดกฎหมายหรืออำนาจซ้ำซ้อน
https://www.bangkokbiznews.com/business/989513
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2022 12:47 am    Post subject: Reply with quote

คณะกรรมาธิการคมนาคมให้เกียรติมาเยี่ยมกรมการขนส่งทางราง พร้อมหารือและชี้แนะแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งทางราง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันพุธ ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:22 น.

วันนี้ (23 ก.พ.65) เวลา 09.00 น. คณะกรรมาธิการคมนาคม นำโดยพลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมด้วยพลเอกธวัชชัย สมุทรสาคร รองประธานคณะกรรมาธิการ ที่ปรึกษากรรมาธิการ และคณะ ให้เกียรติมาเยี่ยมกรมการขนส่งทางราง โดยมี ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ขร. ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมมนังคศิลา อาคาร ณ ถลาง ขร.
สำหรับการมาเยี่ยมชมของคณะกรรมาธิการในครั้งนี้ ขร. ได้มีการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงาน อาทิเช่น โครงสร้างองค์กร จำนวนบุคลากร ภารกิจ/พันธกิจ สรุปการดำเนินงานที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรค ข้อขัดข้องในการดำเนินงาน ข้อพิจารณาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ปัญหาของโครงการด้านระบบราง และเรื่องต่างๆ ซึ่ง ดร.พิเชฐฯ ได้มีการนำเสนอถึงเป้าหมายขององค์กร
ที่จะต้องการดำเนินการผลักดันพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... เพื่อให้เป็นกฎหมายในการใช้กำกับดูแลงานด้านระบบรางในฐานะ Regulator เพื่อให้ระบบขนส่งทางรางเกิดประสิทธิภาพ มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล เพื่อความสุขและความปลอดภัยในการเดินทางระบบรางของคนไทย
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการได้มีข้อชี้แนะในเรื่องต่างๆ ประกอบไปด้วย
1. การให้ ขร. ดำเนินการจัดทำแผนโครงข่ายครอบคลุมและมีการเชื่อมโยงกับระบบรางอี่น หรือ Feeder ต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในการเข้าใช้บริการของประชาชน
2. ให้ ขร. พิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งทางราง ที่ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน เพื่อให้เกิดการใช้บริการได้อย่างทั่วถึงทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย
3. ให้ ขร. กำหนดมาตรฐานทั้งด้านการก่อสร้าง และด้านการบริการ เพื่อให้การดำเนินงานด้านระบบขนส่งทางรางมีคุณภาพเทียบเท่าระดับสากล
4. การส่งเสริมให้เกิดการเดินรถขนส่งทางรางอย่างเสรี เพื่อเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางราง เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการด้วยราคาที่เหมาะสม
คณะกรรมาธิการยังได้กล่าวชื่นชมผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของ ขร. ที่มีจำนวนน้อย แต่สามารถปฏิบัติงาน/ภารกิจขนาดใหญ่ได้อย่างเต็มความสามารถ สมกับเป็นองค์กรกำกับดูแลระบบการขนส่งทางราง เพื่อยกระดับความปลอดภัยและคุณภาพ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2022 6:20 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการศึกษาการพัฒนาระบบกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง
Feb 24, 2022
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม


https://www.youtube.com/watch?v=_QxqZxg-d14
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2022 8:30 pm    Post subject: Reply with quote

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประชุมเรื่อง การผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train คร้ังที่ 3
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:22 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมเรื่อง การผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสาหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ครั้งที่ 3 ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 14.30 น. ด้วย Application “Zoom” โดยมีผู้บริหารระดับสูง ของกระทรวงคมนาคม พร้อมทั้ง นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้าร่วมการประชุม
ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ร้อยละ 20-25 ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยมุ่งเน้น ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบขนส่งของประเทศ รวมทั้ง "นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า" หรืออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-generation Automotive) ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่รัฐบาลให้การส่งเสริมอย่างจริงจัง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในการนี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงได้จัดประชุมเพื่อเร่งรัดการผลักดันการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า EV on Train ซึ่งมีสาระสำคัญในการเตรียมให้สถาบันวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ยื่นขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย EV จากเงินกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ รฟท. ยังได้ร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดตั้งคณะทำงานร่วมภายใต้บันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางรางด้านรถจักรล้อเลื่อนเพื่อการพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้า เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนารถไฟ EV on Train ของประเทศไทย ซึ่งมีโครงการในการศึกษาและพัฒนารถไฟ EV Shuttle Train ต้นแบบที่จะวิ่งใช้งานเชื่อมต่อกับสถานี ARL ลาดกระบัง สู่สถานี สจล. และสถานีหัวตะเข้
โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้รับทราบ และมีข้อสั่งการเพิ่มเติม ให้ศึกษาการใช้ EV on Train ในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ใช้ในเมืองด้วย เพื่อให้สามารถลดต้นทุนในการติดต้ังและดำเนินการ รวมถึงให้กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนและเร่งรัด Action plan เพื่อให้แปรนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2022 4:17 am    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียว ’พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์’ นั่งอธิบดีกรมรางฯ
22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16:41 น.

ครม.เคาะแต่งตั้ง "พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” เป็นอธิบดีกรมรางคนใหม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16:32 น.
ปรับปรุง: 22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16:32 น.

ครม.ไฟเขียวแต่งตั้งผู้บริหารคมนาคม 3 คน “พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” ขึ้นอธิบดีกรมราง ขณะที่ตั้งรองอธิบดี ขบ.และรองอธิบดี ทล.นั่งผู้ตรวจคมนาคม ขึ้นเป็นระดับ 10

22 ก.พ.2565 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(ครม.) เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม.ได้มีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 3 ตำแหน่ง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ประกอบด้วย1.นางพรรณี พุ่มพันธ์ รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงฯ

2.นายอภิสิทธิ์ พรหมเสน รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมทางหลวง (ทล.) ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงฯ และ3.นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมการขนส่งทางราง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติเห็นชอบแต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอฯ รวม 3 คน เนื่องจากประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระ 3 ปี เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2564 ได้แก่1.นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ประธานกรรมการ, 2.นายนภดล วณิชวรนันท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และ 3.พลอากาศโท มนัท ชวนะประยูร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. 2565 เป็นต้นไป
.
📌 อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.trjournalnews.com/40139
https://www.posttoday.com/politic/news/676340
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 64, 65, 66  Next
Page 34 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©