Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180150
ทั้งหมด:13491384
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/05/2023 11:26 am    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
9 พ.ค. 66 10:57 น.

กรมการขนส่งทางราง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เพื่อประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมงาน ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้อง Grand Ballroom 2 ชั้น 4 โรงแรมพูลแมน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ และผ่านระบบประชุมออนไลน์

ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ กล่าวภายในงานว่า ปัจจุบัน กรมการขนส่งทางราง อยู่ระหว่างการจัดทำแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง หรือ Railway Demand Forecast Model ขึ้น เพื่อให้เป็นแบบจำลองที่มีความแม่นยำในการคาดการณ์การเดินทางของระบบรางโดยเฉพาะ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนและกำหนดนโยบายในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า การกำหนดมาตรการต่างๆ เช่น การปรับอัตราค่าโดยสาร การปรับปรุงทางเข้า-ออกสถานี การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ตลอดจนมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาบริการด้านระบบราง นำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฉบับใหม่ หรือ M-MAP 2�เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งราง ให้เป็นทางเลือกในการเดินทาง เพื่อให้ประชาชนให้มีคุณภาพในการเดินทางดียิ่งขึ้น

ตลอดทั้ง 3 วันภายในงาน มีจะการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้แก่ การดำเนินงานโครงการ M-MAP 2 การพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง การพัฒนาแบบจำลองความต้องการเดินทางด้วยระบบรางเชิงกิจกรรม มาตรการส่งเสริมการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า รวมทั้ง การเล่าถึงประสบการณ์การพัฒนาระบบรางจากประเทศญี่ปุ่น โดยเจ้าหน้าที่จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA โดยหลังการนำเสนอของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวันแล้วได้เปิดเวทีให้ผู้ร่วมสัมมนาได้สอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

สำหรับโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 นี้ เป็นการศึกษาพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าที่มีความครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง เพื่อบรรเทาการจราจรติดขัดในพื้นที่ศูนย์กลางเมือง รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เพื่อลดการลงทุนและงบประมาณในโครงข่ายที่ไม่มีความจำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบัน และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและแนวคิดการวางผังเมืองในอนาคต ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมการขนส่งทางราง (ขร.)
โทรศัพท์ 0 2164 2626 ต่อ 1501, 1502, 1503
Email. Prdrt2021@gmail.com

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/543630497961417
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2023 11:30 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
9 พ.ค. 66 10:57 น.

กรมการขนส่งทางราง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/543630497961417


กรมการขนส่งทางราง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
https://www.thailandplus.tv/archives/698889

ขร.เร่งแผนแม่บท M-MAP 2 เตรียมเสนอรัฐบาลชุดใหม่
Thaimotnews
วันอังคาร ที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 12:02 น.

กรมรางเปิดรับความเห็นพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่
วันอังคาร ที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14:56 น.

กรมรางฟังความเห็นปรับแผนแม่บท M-MAP 2 ทำแบบจำลองวางโครงข่าย ลดซ้ำซ้อนเชื่อมต่อสะดวก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17:38 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17:38 น.

ขร.เปิดเวทีระดมกึ๋น พัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2
วันอังคาร ที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.11 น.


กรมการขนส่งทางราง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วันอังคาร ที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

กรมการขนส่งทางราง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วันอังคารที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size

กรมการขนส่งทางราง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เพื่อประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน เข้าร่วมงาน ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้อง Grand Ballroom 2 ชั้น 4 โรงแรมพูลแมน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ และผ่านระบบประชุมออนไลน์



ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ กล่าวภายในงานว่า ปัจจุบันกรมการขนส่งทางราง อยู่ระหว่างการจัดทำแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง หรือ Railway Demand Forecast Model ขึ้น เพื่อให้เป็นแบบจำลองที่มีความแม่นยำในการคาดการณ์การเดินทางของระบบรางโดยเฉพาะ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนและกำหนดนโยบายในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า การกำหนดมาตรการต่างๆ เช่น การปรับอัตราค่าโดยสาร การปรับปรุงทางเข้า-ออกสถานี การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ตลอดจนมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาบริการด้านระบบราง นำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฉบับใหม่ หรือ M-MAP 2เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งราง ให้เป็นทางเลือกในการเดินทาง เพื่อให้ประชาชนให้มีคุณภาพในการเดินทางดียิ่งขึ้น ตลอดทั้ง 3 วันภายในงาน มีจะการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ

การดำเนินงานโครงการ M-MAP 2 การพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง การพัฒนาแบบจำลองความต้องการเดินทางด้วยระบบรางเชิงกิจกรรม มาตรการส่งเสริมการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า รวมทั้ง การเล่าถึงประสบการณ์การพัฒนาระบบรางจากประเทศญี่ปุ่น โดยเจ้าหน้าที่จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA โดยหลังการนำเสนอของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวันแล้วได้เปิดเวทีให้ผู้ร่วมสัมมนาได้สอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สำหรับโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 นี้ เป็นการศึกษาพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าที่มีความครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง เพื่อบรรเทาการจราจรติดขัดในพื้นที่ศูนย์กลางเมือง รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เพื่อลดการลงทุนและงบประมาณในโครงข่ายที่ไม่มีความจำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบัน และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและแนวคิดการวางผังเมืองในอนาคต ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า ปัจจุบัน ขร. อยู่ระหว่างการจัดทำแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง หรือ Railway Demand Forecast Model ขึ้น เพื่อให้เป็นแบบจำลองที่มีความแม่นยำในการคาดการณ์การเดินทางของระบบรางโดยเฉพาะ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนและกำหนดนโยบายในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า การกำหนดมาตรการต่างๆ เช่น การปรับอัตราค่าโดยสาร การปรับปรุงทางเข้า-ออกสถานี การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น

ตลอดจนมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาบริการด้านระบบราง นำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฉบับใหม่ หรือ M-MAP 2 เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งทางรางให้เป็นทางเลือกในการเดินทาง เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพในการเดินทางดียิ่งขึ้น



โดยการศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางจะพิจารณาจาก
1. ปริมาณผู้โดยสาร
2. ค่าก่อสร้าง
3. ค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุง
4. การเชื่อมต่อการเดินทาง
5. ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

โดยตลอดการสัมมนาทั้ง 3 วันจะมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้แก่ การดำเนินงานโครงการ M-MAP 2 การพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง การพัฒนาแบบจำลองความต้องการเดินทางด้วยระบบรางเชิงกิจกรรม มาตรการส่งเสริมการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า รวมทั้งการเล่าถึงประสบการณ์การพัฒนาระบบรางจากประเทศญี่ปุ่น โดยเจ้าหน้าที่จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA โดยหลังการนำเสนอของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวันแล้วได้เปิดเวทีให้ผู้ร่วมสัมมนาได้สอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


สำหรับโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 นี้ เป็นการศึกษาพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าที่มีความครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง เพื่อบรรเทาการจราจรติดขัดในพื้นที่ศูนย์กลางเมือง รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เพื่อลดการลงทุนและงบประมาณในโครงข่ายที่ไม่มีความจำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบัน และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและแนวคิดการวางผังเมืองในอนาคต ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/05/2023 12:16 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง ดูงานระบบขนส่งมวลชนที่ไต้หวัน
12/05/2566 11:58

กรุงไทเป ไต้หวัน 12 พ.ค.-กรมการขนส่งทางรางเตรียมความพร้อมของการดำเนินการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัลให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล

กรมการขนส่งทางรางได้ดำเนินโครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) ซึ่งเป็นโครงการที่จะดำเนินการออกใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง ใบอนุญาตพนักงานขับรถไฟและผู้ประจำหน้าที่ ตลอดจนการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง เพื่อให้สอดคล้องตามร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. …

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการดำเนินการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล กรมการขนส่งทางรางจึงได้ศึกษารูปแบบการกำกับดูแลระบบรางของประเทศต่างๆ เพื่อนำมาเป็นองค์ความรู้ และเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้กับระบบขนส่งทางรางของไทย โดยกรณีการศึกษาระบบขนส่งทางรางของไต้หวัน พบว่าไต้หวันได้มีการแบ่งประเภทหน่วยงานกำกับดูแลออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย

1. ระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง ซึ่งมีผู้ให้บริการสองรายประกอบด้วย รถไฟระหว่างเมือง (TRA) และรถไฟความเร็วสูง (THSR) ซึ่งมีการกำกับดูแลโดย Railway Bureau (กรมการขนส่งทางรางของไต้หวัน) โดยในไต้หวัน เจ้าหน้าที่ขับรถไฟ จะต้องมีอายุขั้นต่ำ 18 ปี ผ่านการฝึกอบรมอย่างน้อย 2 ปี สำหรับรถไฟระหว่างเมือง และ 8 เดือน สำหรับรถไฟความเร็วสูง จากนั้นจึงเข้ารับการทดสอบข้อเขียนและภาคปฏิบัติจาก Railway Bureau เพื่อขอรับใบอนุญาต เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ใบอนุญาตจะมีอายุ 6 ปี และต้องสอบใหม่ หากใบอนุญาตหมดอายุมากกว่า 6 เดือน ในส่วนของการบำรุงรักษารถขนส่งทางราง ผู้ให้บริการเมื่อสั่งซื้อรถมาแล้วจะมีการขออนุมัติแผนการบำรุงรักษาจาก Railway Bureau และ Railway Bureau จะมีการสุ่มตรวจสอบการบำรุงรักษารถอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ

2. ในส่วนของระบบรถไฟฟ้าในเมืองมีผู้ให้บริการขนส่งทางราง 5 ราย โดยในเมืองไทเปมีผู้ให้บริการจำนวน 1 ราย คือ Taipei Rapid Transit corporation ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลท้องถิ่น ดูแลเรื่องการให้บริการของรถไฟฟ้าในไทเปซึ่งถูกกำกับดูแลโดย Transport Bureau (กรมการขนส่งของไต้หวัน) โดยก่อนจะประกอบกิจการขนส่งทางรางจะต้องได้รับใบอนุญาตจาก Transport Bureau และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุมการเดินรถหรือพนักงานขับรถจะต้องได้รับการฝึกอบรม และการทดสอบก่อนการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับรถไฟระหว่างเมือง

นอกจากนี้ ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินรถ เช่น การติดตั้งระบบเซนเซอร์ตรวจจับปริมาณของผู้โดยสารภายในขบวนรถและแสดงข้อมูลผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเพิ่มขบวนรถเสริมในช่วงเวลาเร่งด่วน มีการใช้ระบบ AI เพื่อทำนายสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ภายในขบวนรถ อุปกรณ์ภายในสถานี ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการซ่อมบำรุง ซึ่งส่งผลให้รถไฟมีความตรงเวลาสูงถึงร้อยละ 99.99 และมีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมากกว่าร้อยละ 95

ทั้งนี้ โครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) จะทำการศึกษาแนวทางการกำกับดูแลของประเทศต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อนำมาประกอบการพัฒนาระบบขนส่งทางรางต่อไปในอนาคต เพื่อให้การบริการเกิดความปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ตรงเวลา เทียบเท่ามาตรฐานของสากล.-สำนักข่าวไทย


ส่องโมเดล “ไต้หวัน” เตรียมพร้อมออก “ใบขับขี่” คนขับ “รถไฟ-รถไฟฟ้า-รถไฟไฮสปีด”
เดลินิวส์ 12 พฤษภาคม 2566 18:17 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“กรมราง” เตรียมพร้อมออกใบขับขี่ให้คนขับ “รถไฟ-รถไฟฟ้า-รถไฟไฮสปีด” ครั้งแรกของไทย ส่องโมเดล “ไต้หวัน” ปรับใช้กับไทย พร้อมลุยศึกษาแนวทางในประเทศที่ก้าวหน้าระบบราง หวังให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล

นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า ขร. ได้ดำเนินโครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) ซึ่งเป็นโครงการที่จะดำเนินการออกใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง ใบอนุญาตพนักงานขับรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และผู้ประจำหน้าที่ ตลอดจนการจดทะเบียนรถขนส่งทางรางครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องตามร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ….

ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการดำเนินการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล ขร. จึงได้ศึกษารูปแบบการกำกับดูแลระบบรางของประเทศต่างๆ เพื่อนำมาเป็นองค์ความรู้ และเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้กับระบบขนส่งทางรางของไทย โดยได้นำคณะเจ้าหน้าที่ร่วมศึกษาระบบขนส่งทางรางของไต้หวัน พบว่า ไต้หวัน แบ่งประเภทหน่วยงานกำกับดูแลเป็น  2 ประเภท ประกอบด้วย

1. ระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง ซึ่งมีผู้ให้บริการ 2 ราย ประกอบด้วย รถไฟระหว่างเมือง (TRA) และรถไฟความเร็วสูง (THSR) ซึ่งมีการกำกับดูแลโดย Railway Bureau (กรมการขนส่งทางรางของไต้หวัน) โดยในไต้หวัน เจ้าหน้าที่ขับรถไฟ ต้องมีอายุขั้นต่ำ 18 ปี ผ่านการฝึกอบรมอย่างน้อย 2 ปี สำหรับรถไฟระหว่างเมือง และ 8 เดือน สำหรับรถไฟความเร็วสูง จากนั้นจึงเข้ารับการทดสอบข้อเขียน และภาคปฏิบัติจาก Railway Bureau เพื่อขอรับใบอนุญาต เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ใบอนุญาตมีอายุ 6 ปี และทบทวนความรู้อย่างน้อย 1 ครั้งใน 3 ปี และต้องสอบใหม่หากใบอนุญาตหมดอายุมากกว่า 6 เดือน ในส่วนของการบำรุงรักษารถขนส่งทางราง ผู้ให้บริการเมื่อสั่งซื้อรถมาแล้ว จะมีการขออนุมัติแผนการบำรุงรักษาจาก Railway Bureau และ Railway Bureau จะมีการสุ่มตรวจสอบการบำรุงรักษารถอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ

2. ในส่วนของระบบรถไฟฟ้าในเมือง มีผู้ให้บริการขนส่งทางราง 5 ราย โดยในเมืองไทเปมีผู้ให้บริการ 1 ราย คือ Taipei Rapid Transit corporation ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลท้องถิ่น ดูแลการให้บริการของรถไฟฟ้าในไทเป โดยก่อนจะประกอบกิจการขนส่งทางราง ต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล และบุคลากรที่ปฎิบัติงานในศูนย์ควบคุมการเดินรถ หรือพนักงานขับรถต้องได้รับการฝึกอบรม และทดสอบก่อนการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับรถไฟระหว่างเมือง

นายอธิภู กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ไต้หวันได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินรถ เช่น การติดตั้งระบบเซนเซอร์ตรวจจับปริมาณของผู้โดยสารภายในขบวนรถ และแสดงข้อมูลผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเพิ่มขบวนรถเสริมในช่วงเวลาเร่งด่วน มีการใช้ระบบ AI เพื่อทำนายสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ภายในขบวนรถ อุปกรณ์ภายในสถานี ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการซ่อมบำรุง ส่งผลให้รถไฟมีความตรงเวลาสูงถึง 99.99% และมีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมากกว่า 95%

ทั้งนี้โครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) จะทำการศึกษาแนวทางการกำกับดูแลในต่างประเทศที่มีความก้าวหน้าในระบบราง และระบบกำกับดูแล เพื่อนำมาประกอบการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้ปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ตรงเวลา เทียบเท่ามาตรฐานของสากล.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2023 7:24 am    Post subject: Reply with quote

กรมราง ตรวจความพร้อมบริการรถไฟ ประชาชนเดินทางแน่น กลับภูมิลำเนาใช้สิทธิ์เลือกตั้งปี 66
ผู้จัดการออนไลน์ 12 พ.ค. 2566 22:02 น.

กรมราง ตรวจความเรียบร้อย สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ พบประชาชนใช้รถไฟเดินทางกลับภูมิลำเนาไปเลือกตั้งหนาแน่น กำชับเพิ่มเก้าอี้ พักคอยเพื่ออำนวยความสะดวก และเฝ้าระวังจุดตัดทางรถไฟ

วันนี้ (12 พ.ค.2566) นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจความเรียบร้อยการเดินทางกลับภูมิลำเนาของประชาชน เพื่อไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 2566 ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ

นายอธิภู กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ เพื่อตรวจความเรียบร้อยการให้บริการประชาชน ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พบว่า มีผู้มาใช้บริการรถไฟ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนาไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค. 2566 รวมทั้งเดินทางไปทำธุระหรือท่องเที่ยว ซึ่ง รฟท. สามารถบริหารจัดการ และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ทั้งนี้ ได้กำชับให้ รฟท. เตรียมความพร้อมต่างๆ ภายในสถานี เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก้าอี้เสริมระหว่างรอขบวนรถไฟให้ผู้โดยสารหรือคนที่มาส่ง ทำความสะอาดห้องน้ำให้พร้อมและน่าใช้บริการอยู่เสมอทั้งภายในสถานีและภายในขบวนรถ ให้เจ้าหน้าที่ ตรวจตั๋วโดยสารและผู้โดยสารก่อนขึ้นชั้นชานชาลาเพื่อความสะดวกรวดเร็ว รวมถึงเตรียมพร้อม Call center 1690 สายด่วน รฟท. กรณี เมื่อมีผู้โดยสารหรือผู้ที่อยากสอบถามข้อมูลติดต่อเข้ามา ต้องสามารถดำเนินการให้ข้อมูลหรือให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว และความพร้อมของห้องพยาบาล กรณีมีผู้โดยสารไม่สบายหรือบาดเจ็บ

ส่วนในการให้บริการเดินรถ ก็ได้กำชับให้ตรวจสอบความพร้อมของเส้นทางรถไฟ ตรวจวัดแอลกอฮอล์เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เพิ่มเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก เฝ้าระวังจุดเสี่ยงและจุดตัดทางรถไฟ และเข้มงวดการตรวจวัดแอลกอฮอล์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเดินรถ รวมทั้ง ให้ตรวจสอบและเฝ้าระวังสินค้าที่ขนส่งไปถึงปลายทางอย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม กรมราง ขอให้ประชาชนที่เดินทางมาใช้บริการในช่วงการเลือกตั้งในครั้ง เดินทางอย่างปลอดภัย มั่นใจการให้บริการของหน่วยงานระบบราง และมีความสุขในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เลือกคนดีมาบริหารประเทศไทยต่อไป

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/545452571112543
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/05/2023 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

“กรมการขนส่งทางราง” ส่งประชาชนขึ้นขบวนรถไฟ กลับภูมิลำเนาไปเลือกตั้ง
ฐานเศรษฐกิจ 13 พฤษภาคม 2566

“กรมการขนส่งทางราง” ส่งประชาชนขึ้นรถไฟ กลับภูมิลำเนาไปเลือกตั้ง 14 พ.ค.66 กันอย่างคึกคัก เน้นเลือกคนดีบริหารประเทศไทย

การเลือกตั้ง วันที่14 พฤษภาคม2566 มีประชาชนตื่นตัวออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมการเดินทาง อำนวยความสะดวกประชาชนกลับภูมิลำเนาด้วยความปลอดภัย

นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจความเรียบร้อยการเดินทางกลับภูมิลำเนาของประชาชน เพื่อไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 2566 ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ เมื่อวันที่12พ.ค.2566ที่ผ่านมา

สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการตรวจความเรียบร้อยการให้บริการประชาชนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รองรับการเดินทางของประชาชน โดยพบว่า มีผู้มาใช้บริการรถไฟ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนาไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 2566

รวมทั้งเดินทางไปทำธุระหรือท่องเที่ยว ซึ่งต้องขอชื่นชม รฟท. ที่สามารถบริหารจัดการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้อย่างดี ทั้งนี้ ได้มีการกำชับให้ รฟท. เตรียมความพร้อมต่างๆ ภายในสถานี เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก้าอี้เสริมระหว่างรอขบวนรถไฟ

ให้ผู้โดยสารหรือคนที่มาส่ง การทำความสะอาดห้องน้ำให้พร้อมและน่าใช้บริการอยู่เสมอทั้งภายในสถานีและภายในขบวนรถ การให้เจ้าหน้าที่มีความรอบคอบในการตรวจตั๋วโดยสารและผู้โดยสารก่อนขึ้นชั้นชานชาลา เตรียมพร้อม Call center 1690 สายด่วน รฟท. เตรียมพร้อมการให้บริการ เมื่อมีผู้โดยสารหรือผู้ที่อยากสอบถามข้อมูลติดต่อเข้ามา

ความพร้อมของห้องพยาบาล กรณีมีผู้โดยสารไม่สบายหรือบาดเจ็บ ส่วนในการให้บริการเดินรถ ก็ได้กำชับให้ตรวจสอบความพร้อมของเส้นทางรถไฟ ตรวจวัดแอลกอฮอล์เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เพิ่มเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก เฝ้าระวังจุดเสี่ยงและจุดตัดทางรถไฟ และเข้มงวดการตรวจวัดแอลกอฮอล์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเดินรถ รวมทั้ง ให้ตรวจสอบและเฝ้าระวังสินค้าที่ขนส่งไปถึงปลายทางอย่างปลอดภัย

นายอธิภูฯ กล่าวปิดท้ายว่า ขอให้ประชาชนที่เดินทางมาใช้บริการในช่วงการเลือกตั้งในครั้ง เดินทางอย่างปลอดภัย มั่นใจการให้บริการของหน่วยงานระบบราง และมีความสุขในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เลือกคนดีมาบริหารประเทศไทยต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2023 11:40 pm    Post subject: Reply with quote

ครั้งแรกในไทย กรมรางฯ เตรียมออก 'ใบขับขี่รถไฟ' สำหรับพนง.ขับรถไฟ
เรื่องเด่นเย็นนี้
3PlusNews
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งราง นำคณะเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง เข้าหารือกับหน่วยงานด้านการออกใบอนุญาตระบบขนส่งทางรางของกรุงไทเป ไต้หวัน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตพนักงานขับรถไฟในไทย รวมถึงการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง ผ่านระบบดิจิทัล ตามข้อกำหนดของร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้และมีผลบังคับใช้ภายในปีหน้า

โดยในไต้หวัน เจ้าหน้าที่ขับรถไฟ ต้องมีอายุขั้นต่ำ 18 ปี สำหรับระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง ต้องผ่านการฝึกอบรมอย่างน้อย 2 ปี หากเป็นรถไฟความเร็วสูง อบรม 8 เดือน และต้องรับการทดสอบข้อเขียน และภาคปฏิบัติจาก Railway Bureau ใบบอนุญาตจะมีอายุ 6 ปี ทบทวนความรู้ทุก 3 ปี และหากใบอนุญาตหมดอายุเกิน 6 เดือน ต้องสอบใหม่

ที่น่าสนใจระบบรถไฟฟ้าในไทยเป ลงทุนและบริหารโดยรัฐบาลท้องถิ่น เชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่นๆ ทำให้การดูแลค่าโดยสารทำได้เหมาะสมมากขึ้น ซึ่งกรมรางเตรียมนำมาปรับใช้ในประเทศไทย
https://www.youtube.com/watch?v=Eo-6EAgGgq0
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/347782

ไทยต้องมี "ใบขับขี่รถไฟ" กรมรางเร่งวางเกณฑ์ เตรียมพร้อมออกกฎกระทรวง ยกระดับคุณภาพเทียบเท่าสากล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:09 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:09 น.


ถ้าพูดถึงระบบราง สำหรับคนไทยนั้นมีรถไฟใช้มากว่า 100 ปีแล้ว ตั้งแต่ยุครถจักรไอน้ำ สู่รถไฟดีเซล ปัจจุบันมีเส้นทางรถไฟครอบคลุมพื้นที่ 47 จังหวัด ระยะทางกว่า 4,000 กม. ส่วนระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามแผนพัฒนามี 14 เส้นทาง ระยะทาง 554 กม. ปัจจุบันเปิดบริการแล้ว 11 เส้นทาง (7 สี) ระยะทาง 212 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 4 เส้นทาง และยังมีรถไฟความเร็วสูงอีก 4 เส้นทาง โดยกำลังก่อสร้าง 1 เส้นทาง แน่นอนว่าทุกรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบราง โดยทุ่มงบในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในแง่การให้บริการ คนไทยอาจจะพบเจอปัญหาความไม่สะดวกสบาย เส้นทางยังไม่ครอบคลุม รถเสียขัดข้องบ่อย รวมไปถึงเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดหรือในเขตการเดินรถ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนร้ายแรงขั้นมีผู้เสียชีวิต
ขณะที่มีคนไทยไม่น้อยที่เดินทางไปต่างประเทศได้มีโอกาสใช้บริการรถไฟฟ้า และพบว่ารถไฟฟ้าประเทศอื่นมีความสะดวกสบาย ภายในสถานีมีสิ่งอำนวยความสะดวก ครบครัน การเชื่อมต่อระหว่างสาย ป้ายบอกทางเข้าใจง่าย มีระบบตั๋วต่อกับขนส่งมวลชนอื่นที่เพิ่มความสะดวกและคุ้มค่า

ปัจจุบันผู้ให้บริการระบบรางในประเทศไทยมีทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และส่วนที่เป็นเอกชนที่ได้รับสัมปทานจากรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานท้องถิ่นอีกทอดหนึ่ง โดยแต่ละเส้นทางมีโมเดลการลงทุนที่ต่างกัน คือ รูปแบบรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และให้เอกชนบริหารการเดินรถ หรือเอกชนลงทุนทั้งโครงสร้างและเดินรถ โดยรัฐทยอยจ่ายคืนค่าโครงสร้าง

“รูปแบบที่หลากหลาย มาตรฐานในการให้บริการและการควบคุมคุณภาพ ตลอดจนค่าโดยสาร เป็นเหตุผล ที่ทำให้มีการจัดตั้ง "กรมการขนส่งทางราง" ขึ้นเมื่อ 15 เม.ย. 2562 มีหน้าที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล หรือ Operator ด้านขนส่งทางราง แม้ตั้ง "กรมราง" ได้แล้ว แต่ยังต้องรอกฎหมาย คือ พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ..ซึ่งร่างกฎหมายผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วาระ 1 แล้ว ปัจจุบันรอจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อนำร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ เสนอกลับไปอีกครั้ง”



ในระหว่างรอ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ กรมรางได้มีการจัดทำร่างรายละเอียดกฎหมายลูกแต่ละฉบับเพื่อเตรียมดำเนินการภายหลังกฎหมายแม่มีผลบังคับใช้ ซึ่งอีกเรื่องที่สำคัญที่กรมรางดำเนินการ คือ โครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) เพื่อเตรียมการออกใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง ใบอนุญาตพนักงานขับรถไฟและผู้ประจำหน้าที่ ตลอดจนการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง เพื่อให้สอดคล้องตามร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ....

“คือ ผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน ต้องมีใบอนุญาต, ผู้ปฏิบัติงาน คนขับรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และพนักงาน OCC หรือประจำศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ ต้องมีใบอนุญาต ส่วนรถขนส่งทางรางต้องจดทะเบียน และตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานตัวรถ”

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการดำเนินการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล กรมรางจึงได้ศึกษารูปแบบการกำกับดูแลระบบรางของประเทศต่างๆ เพื่อนำมาเป็นองค์ความรู้ และเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้กับระบบขนส่งทางรางของไทย

@ถอดโมเดล "ไต้หวัน" ศึกษามาตรฐาน "ใบขับขี่รถไฟ"

โดยหนึ่งในกรณีการศึกษา คือ ขนส่งทางรางของไต้หวัน ซึ่งมี 4 ระบบ ได้แก่

1. รถไฟดีเซลรางระหว่างเมือง
2. รถไฟหัวกระสุน (รถไฟฟ้าความเร็วสูง) ความเร็ว 300 กม./ชม. 1 สาย
3. รถไฟฟ้า MRT 12 สาย
4. รถไฟพิเศษ Alishan Forest Railway เพื่อขนส่งไม้, Taiwan Sugar Railway ขนส่งน้ำตาล

โดยไต้หวันแบ่งหน่วยงานกำกับดูแลออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย

1. ระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง ซึ่งมีผู้ให้บริการ 2 ราย ประกอบด้วย รถไฟระหว่างเมือง (TRA) และรถไฟความเร็วสูง (THSR) ซึ่งมีการกำกับดูแลโดย Railway Bureau (กรมการขนส่งทางรางของไต้หวัน)

2. ระบบรถไฟฟ้าในเมือง มีผู้ให้บริการขนส่งทางราง 5 ราย ได้แก่ เมืองไทเป 6 สาย (Taipei Rapid Transit Corporation : TRTC ), ไทเปใหม่ 2 สาย (New Taipei Metro Corporation : NTMC ), เถาหยวน 1 สาย (Taoyuan Metro Corporation : TYMC ), ไท่จง 1 สาย (Taichung Metro Corporation : TCMC ), เกาสง 2 สาย (Kaohsiung Rapid Transit Corporation : KRTC)



เดิมทีไต้หวันไม่มีการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางราง จนกระทั่งญี่ปุ่นได้ให้คำแนะนำ จึงได้มีการอบรมทดสอบความรู้ และเริ่มออกใบอนุญาตตั้งแต่ปี 2007 และมีกฎหมายบังคับใช้ในปี 2014

โดยรถไฟในเมือง รถไฟระหว่างเมือง เจ้าหน้าที่ขับรถไฟจะต้องมีอายุขั้นต่ำ 18 ปี ต้องผ่านการฝึกอบรมทดสอบข้อเขียน และภาคปฏิบัติ รวม 2 ปี ส่วนรถไฟความเร็วสูง จะต้องอบรมไม่น้อยกว่า 1,000 ชม. ใช้เวลารวมการสอบข้อเขียนและฝึกภาคปฏิบัติ รวมทั้งสิ้นประมาณ 10 เดือน โดย Railway Bureau จะเป็นผู้ออกใบอนุญาต โดยใบอนุญาตมีอายุ 6 ปี และทบทวนความรู้อย่างน้อย 1 ครั้งใน 3 ปีและต้องสอบใหม่หากใบอนุญาตหมดอายุมากกว่า 6 เดือน จะต้องกลับไปอบรมเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด

“โดยรถไฟในเมือง รถไฟระหว่างเมือง ใช้เวลาอบรมนานถึง 2 ปี จึงจะได้ใบอนุญาต เนื่องจากมีรถไฟถึง 25 โมเดล ขณะที่ รถไฟความเร็วสูงมีโมเดลเดียว ซึ่งกรมรางไต้หวันให้ข้อมูลว่า เมื่อได้ใบอนุญาตแล้ว จะต้องมีการทบทวนความรู้ ซึ่งจะใช้วิธีสุ่มจากคำถาม 4,500 ข้อ ส่วนรถไฟความเร็วสูง สุ่มจากคำถาม 1,000 กว่าข้อ เรียกว่าเป็นการทบทวนความรู้ที่มีมาตรฐานสูงมาก โดยปัจจุบัน ไต้หวัน มีคนขับรถไฟความเร็วสูงได้รับใบอนุญาตไปแล้วกว่า 200 คน ส่วนรถไฟมีกว่า 2,000 คน หรือ ออกใบอนุญาตได้เฉลี่ยประมาณปีละ 10 กว่าคนเท่านั้น”

“ดูแล้วใบขับขี่รถไฟไม่ได้ทำกันง่ายๆ เมื่อเทียบกับใบขับขี่รถยนต์”

ในส่วนของการบำรุงรักษารถขนส่งทางราง ผู้ให้บริการเมื่อสั่งซื้อรถมาแล้วจะมีการขออนุมัติแผนการบำรุงรักษาจาก Railway Bureau และ Railway Bureau จะมีการสุ่มตรวจสอบการบำรุงรักษารถอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ

@รัฐบาลกลาง-ท้องถิ่น ลงทุนเอง ควบคุมคุณภาพ ค่าโดยสารได้ง่าย

ในเมืองไทเปมีผู้ให้บริการจำนวน 1 ราย คือ Taipei Rapid Transit corporation (TRTC) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลท้องถิ่น ดูแลเรื่องการให้บริการของรถไฟฟ้าในไทเป โดย TRTC มีผู้ถือหุ้น เป็น ไทเปซิตี้ สัดส่วน 73.75% นิวไทเปซิตี้ 8.75% กรมการขนส่ง 17.14% อื่นๆ 0.36% โดยก่อนจะประกอบกิจการขนส่งทางรางจะต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุมการเดินรถหรือพนักงานขับรถจะต้องได้รับการฝึกอบรม และการทดสอบก่อนการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับรถไฟระหว่างเมือง

นอกจากนี้ ไต้หวันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินรถ โดยในไทเปมีรถไฟฟ้า 6 สาย มี 131 สถานี สถานีไทเป (Taipei Main Station) ซึ่งเป็นสถานีร่วมของรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางไกลและรถไฟฟ้าเมโทร (MRT) และที่นี่ยังเป็นศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ หรือ OCC ที่ดูแลควบคุม รถไฟฟ้า 4 สาย “สายสีแดง สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงิน” โดยทั้ง 4 สายมีสถานีร่วมถึง 12 สถานี วิ่งบริการรวมประมาณ 2,400 เที่ยว

โดยเจ้าหน้าที่ในศูนย์ OCC มี 7 ตำแหน่ง ทำงาน 24 ชม. แบ่ง 3 ชุด ชุดละ 23 คน ซึ่งกรณีฉุกเฉินจะมีแผนปฏิบัติการ และขั้นตอน การประเมินความเสี่ยง การแก้ปัญหา ในแต่ละตำแหน่งไว้อย่างชัดเจน



รถไฟฟ้า 6 สาย จำนวน 131 สถานีนั้น มีกล้อง CCTV ถึง 11,000 ตัว และยังมีเครื่องเซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว 15 สถานี และติดตั้งเครื่องวัดความเร็วแรงลม (ไต้ฝุ่น) 5 สถานี เพื่อแจ้งเตือน และสามารถสั่งหยุดการเดินรถได้ทันท่วงที

ซี่งจะมีหัวข้อเกี่ยวกับความผิดปกติในระบบการให้บริการถึง 744 ข้อ (กรณี) เป็นแนวทางปฏิบัติ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ทุกคน จะต้องรู้ว่าเมื่อเกิดเหตุต้องทำอย่างไรโดยไม่สับสน ซึ่งจะทำให้แก้ไขปัญหาด้วยความรวดเร็ว และเกิดความปลอดภัยสูงสุดในการให้บริการ

เจ้าหน้าที่ในศูนย์ OCC จะต้องผ่านการอบรมเป็นเวลา 6 เดือน และได้รับใบรับรอง ซึ่งมีอายุ 1 ปี โดยจะมีการอบรม 8 ชม.ก่อนต่ออายุใบรับรอง

รถไฟฟ้าไต้หวันมีการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ ตรวจจับปริมาณของผู้โดยสารภายในขบวนรถและแสดงข้อมูลผ่าน แอปพลิเคชัน เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเพิ่มขบวนรถเสริมในช่วงเวลาเร่งด่วน มีการใช้ระบบ AI เพื่อทำนายสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ภายในขบวนรถ อุปกรณ์ภายในสถานี ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการซ่อมบำรุง ซึ่งส่งผลให้รถไฟมีความตรงเวลาสูงถึง 99.99% และมีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมากกว่า 95%

@ ตั้งเป้าพัฒนาระบบรางไทย "ปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว" เทียบเท่ามาตรฐานสากล

“อธิภู จิตรานุเคราะห์” รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า ประเทศไต้หวันมีความใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น ค่าครองชีพ และอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ 20-65 บาท โดยเมืองไทเปมีประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน ใช้รถไฟฟ้าเดินทางถึง 2 ล้านคน/วัน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นเป้าหมายของไทยที่ต้องการผลักดันให้ประชาชนใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางมากๆ

นอกจากนี้ รถไฟฟ้าไต้หวันยังรักษาระดับคุณภาพการให้บริการที่ดี และมีความปลอดภัย และมาตรการที่ทำให้การเดินทางสะดวก รวดเร็ว ตรงเวลา ภายในสถานี มีสิ่งอำนวยความสะดวก และมีการออกแบบเพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายและสะดวก หรือที่เรียกว่า Universal Design (UD) โดยจะเห็นว่ามีผู้สูงอายุใช้บริการรถไฟ รถไฟฟ้า ในการเดินทางจำนวนมาก

ขณะที่รัฐบาลกลางไต้หวันดูแลภาพรวม โดยรัฐบาลท้องถิ่นจะเป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด และตั้งรัฐวิสาหกิจที่ท้องถิ่นถือหุ้นใหญ่ เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถทำให้โครงข่ายรถไฟฟ้ามีการเชื่อมต่อกัน และมีการทำโปรโมชันลดค่าโดยสารเพื่อจูงใจให้ประชาชนใช้ขนส่งสาธารณะเดินทาง เช่น หากเดินทางด้วยรถไฟฟ้า และต่อรถเมล์ภายใน 1 ชม. จะได้รับส่วนลดค่าโดยสารรถเมล์ 50% เป็นต้น

“สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ กรมราง สามารถนำมาปรับใช้กับระบบรางของประเทศไทย พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางและระบบกำกับดูแลเพื่อนำมาประกอบการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้ปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ตรงเวลา เทียบเท่ามาตรฐานของสากล โดยเฉพาะการลงทุนที่ให้รัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่นร่วมลงทุน ซึ่งประเทศไทยจะมีการดำเนินโครงการระบบรางในภูมิภาค ซึ่งการเปิดให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมจะสร้างความเข้มแข็ง และเป็นโมเดลที่จะสามารถควบคุมอัตราค่าโดยสารได้”



ปัจจุบันไทยมีคนขับรถไฟ รถไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมเดินรถรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,000 คน (เป็นคนขับของการรถไฟฯ ประมาณ 1,200 คน) โดยปัจจุบันรถไฟประสบปัญหาการขาดแคลนคนขับรถประมาณ 700 คน ส่วนรถทั้งตู้รถไฟ ตู้รถไฟฟ้า แคร่ขนส่งสินค้า มีรวมเกือบ 1 หมื่นคัน มีผู้โดยสารประมาณ 1.2 ล้านคนต่อวัน ขนส่งสินค้าประมาณ 1 ล้านตันต่อเดือน ซึ่งหากในอนาคตมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟส 2 และทางคู่สายใหม่ รถไฟฟ้าเสร็จ ปริมาณผู้โดยสารและสินค้าจะเพิ่มขึ้น และจะมีความต้องการคนขับรถและเจ้าหน้าที่อีกไม่น้อยกว่า 30% จากปัจจุบัน

กรมรางตั้งเป้าหมายว่า เมื่อ พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ มีผลบังคับใช้ และประกาศกฎกระทรวงการออกใบอนุญาต ผู้ให้บริการ ระบบราง คนขับรถไฟ รถไฟฟ้า เดิมจะได้รับใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ เพราะถือเป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐาน และเมื่อใบอนุญาตอายุครบ 5 ปีจะมีการตรวจสอบคุณภาพหลักเกณฑ์ ที่ประกาศเพื่อต่อใบอนุญาต นอกจากนี้กรมรางได้จัดทำกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตเป็นเวลา 10 ปี เพื่อลดภาระให้ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่

ในระหว่างที่กฎหมายยังไม่บังคับใช้ กรมรางได้มีการประสานกับผู้ให้บริการทุกรายจัดส่งข้อมูลพื้นฐานของคนขับ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ OCC และข้อมูลตัวรถ เพื่อทำเป็นดาตาเบส พร้อมทั้งนำมาตรฐานและข้อเสนอแนะของกรมรางไปปรับปรุง และแก้ไขปัญหาไว้ก่อน

พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ เป็นกฎหมายที่รัฐบาล "พลเอก ประยุทธ์" ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ตกค้างหลังสภาฯ ผ่านวาระที่ 1 ทำให้คาราคาซัง รอลุ้นรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา ชี้ชะตา!!!


Last edited by Wisarut on 15/05/2023 10:31 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2023 9:58 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ครั้งแรกในไทย กรมรางฯ เตรียมออก 'ใบขับขี่รถไฟ' สำหรับพนง.ขับรถไฟ
เรื่องเด่นเย็นนี้
3PlusNews
12 พ.ค. 2023
https://www.youtube.com/watch?v=Eo-6EAgGgq0
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/347782

กรมรางฯเร่งเครื่องออกใบขับขี่คนขับรถไฟ
ไทยโพสต์ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 9:17 น.

“กรมราง” เตรียมพร้อมออกใบขับขี่ให้คนขับ “รถไฟ-รถไฟฟ้า-รถไฟไฮสปีด” ครั้งแรกของไทย ลุยศึกษาแนวทางในประเทศที่ก้าวหน้าระบบราง หวังกำกับดูแลให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล

15 พ.ค. 2566 – นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ขร. ได้ดำเนินโครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) ซึ่งเป็นโครงการที่จะดำเนินการออกใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง ใบอนุญาตพนักงานขับรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และผู้ประจำหน้าที่ ตลอดจนการจดทะเบียนรถขนส่งทางรางครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องตามร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ.

ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการดำเนินการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล ขร. จึงได้ศึกษารูปแบบการกำกับดูแลระบบรางของประเทศต่างๆ เพื่อนำมาเป็นองค์ความรู้ และเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้กับระบบขนส่งทางรางของไทย โดยได้นำคณะเจ้าหน้าที่ร่วมศึกษาระบบขนส่งทางรางของไต้หวัน พบว่า ไต้หวัน แบ่งประเภทหน่วยงานกำกับดูแลเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย

1.ระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง ซึ่งมีผู้ให้บริการ 2 ราย ประกอบด้วย รถไฟระหว่างเมือง (TRA) และรถไฟความเร็วสูง (THSR) ซึ่งมีการกำกับดูแลโดย Railway Bureau (กรมการขนส่งทางรางของไต้หวัน) โดยในไต้หวัน เจ้าหน้าที่ขับรถไฟ ต้องมีอายุขั้นต่ำ 18 ปี ผ่านการฝึกอบรมอย่างน้อย 2 ปี สำหรับรถไฟระหว่างเมือง และ 8 เดือน สำหรับรถไฟความเร็วสูง จากนั้นจึงเข้ารับการทดสอบข้อเขียน และภาคปฏิบัติจาก Railway Bureau เพื่อขอรับใบอนุญาต

ทั้งนี้เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ใบอนุญาตมีอายุ 6 ปี และทบทวนความรู้อย่างน้อย 1 ครั้งใน 3 ปี และต้องสอบใหม่หากใบอนุญาตหมดอายุมากกว่า 6 เดือน ในส่วนของการบำรุงรักษารถขนส่งทางราง ผู้ให้บริการเมื่อสั่งซื้อรถมาแล้ว จะมีการขออนุมัติแผนการบำรุงรักษาจาก Railway Bureau และ Railway Bureau จะมีการสุ่มตรวจสอบการบำรุงรักษารถอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ

นอกจากนี้ไต้หวันได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินรถ เช่น การติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับปริมาณของผู้โดยสารภายในขบวนรถ และแสดงข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเพิ่มขบวนรถเสริมในช่วงเวลาเร่งด่วน มีการใช้ระบบ AI เพื่อทำนายสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ภายในขบวนรถ อุปกรณ์ภายในสถานี ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการซ่อมบำรุง ส่งผลให้รถไฟมีความตรงเวลาสูงถึง 99.99% และมีความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมากกว่า 95%

ทั้งนี้ โครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) จะทำการศึกษาแนวทางการกำกับดูแลในต่างประเทศที่มีความก้าวหน้าในระบบราง และระบบกำกับดูแล เพื่อนำมาประกอบการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้ปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ตรงเวลา เทียบเท่ามาตรฐานของสากล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/05/2023 6:18 am    Post subject: Reply with quote

'กรมราง'เตรียมดันพรบ.เข้าสภาใหม่
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, May 17, 2023 03:18
วรรณิกา จิตตินรากร

กรุงเทพธุรกิจ

ยกเครื่องระบบราง เข้มสอบใบขับขี่

พระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนรอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาผ่านร่างกฎหมาย หลังจากภายใต้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาในสภาฯ วาระ 1 ไปแล้ว แต่ยังเป็น กฎหมายตกค้างในขั้นตอน ซึ่งหาก มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อย่างเป็นทางการ คาดการณ์ว่าจะมีการเร่งเสนอ พ.ร.บ. การขนส่งทางรางฉบับดังกล่าวไปยังกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอไปยัง คณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่ และนำกลับเข้าสู่ การพิจารณาในสภาอีกครั้ง

โดยตามกระบวนการแล้ว คาดการณ์ว่า รัฐบาลใหม่อาจจัดตั้งและเริ่มเข้ามา บริหารงานในช่วงเดือน ส.ค.นี้ ดังนั้นกรมการขนส่งทางรางจึงประเมินว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะมีการประกาศ บังคับใช้ได้ภายในปี 2567 หรืออย่างช้าในช่วงต้นปี 2568

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการรอประกาศ พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ที่จะมีผลต่อการ ยกระดับมาตรฐานของระบบขนส่งทางราง ให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมี กรมการขนส่งทางรางเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (เลคกูเรเตอร์) บังคับใช้กฎหมายควบคุมทั้งในด้านคุณภาพ การออกแบบ การก่อสร้าง การดูแล ผู้โดยสาร การดูแลตัวรถไฟให้มีการ ตรวจเช็กและซ่อมบำรุงตามกฎหมาย รวมไปถึงการควบคุมเพดานราคาค่าโดยสารให้เป็นไปในหลักเกณฑ์เดียวกัน

Click on the image for full size

ล่าสุดกำหนดโครงการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และ การออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-license R) เพื่อเตรียมการออกใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการ ขนส่งทางราง ใบอนุญาตพนักงานขับรถไฟ และผู้ประจำหน้าที่ ตลอดจนการจดทะเบียน รถขนส่งทางราง ให้สอดคล้องตามร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ....

โดยขณะนี้มีการหยิบยกโมเดล หน่วยงานเลคกูเรเตอร์จากต่างประเทศเป็น ต้นแบบของการพัฒนาหลักเกณฑ์ อาทิ สิงคโปร์ เยอรมนี และไต้หวัน ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศที่มีการพัฒนาระบบขนส่งทางรางมายาวนาน และได้รับความนิยมจากประชาชนในประเทศ ยกให้เป็นระบบขนส่งสาธารณะหลัก ที่มีการใช้งานมากที่สุด ช่วยแก้ปัญหาการจราจร ติดขัด อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบ ขนส่งรองประเภทอื่นๆ เป็นอย่างดี

อธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดี กรมการขนส่งทางราง เปิดเผยถึงการเข้าหารือ ร่วมกับหน่วยงานด้านการออกใบอนุญาตระบบขนส่งทางรางของกรุงไทเป ไต้หวัน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาออก ข้อกำหนดใบอนุญาตพนักงานขับรถไฟ ในไทย และการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง โดยระบุว่า ปัจจุบันกรมการขนส่งทางรางอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดในการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.นี้

อย่างไรก็ดี กรมฯ ยืนยันว่าผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน มีความจำเป็นที่จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามเกณฑ์ข้อกำหนดต่างๆ และต้องมีใบอนุญาตดำเนินกิจการ ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย เพื่อให้ ความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการ ส่วนรถไฟ ที่จะมาให้บริการนั้น ก็มีความจำเป็นต้อง จดทะเบียนตัวรถคล้ายกับรถยนต์ที่ปัจจุบัน มีอยู่ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบมาตรฐานตัวรถ และระยะเวลาของการซ่อมบำรุง

สำหรับการหารือและศึกษาดูงานระบบขนส่งทางรางของกรุงไทเปนั้น เนื่องจากมีความใกล้เคียงกับไทยทั้งในด้านของ ค่าครองชีพ และอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เริ่มต้น 20-65 บาท แต่สามารถผลักดัน ให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งทางรางเป็นการขนส่งหลักได้ โดยเมืองไทเปมีประชากร ประมาณ 6.5 ล้านคน ใช้รถไฟฟ้าเดินทางถึง 2 ล้านคนต่อวัน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ไทย ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น

อีกทั้งกรุงไทเปยังสามารถควบคุมมาตรฐานของระบบขนส่งทางรางได้ เป็นอย่างดี รวดเร็ว ตรงเวลา ภายในสถานี มีสิ่งอำนวยความสะดวก และยังมีการออกแบบ ให้รองรับบริการทุกกลุ่ม หรือ Universal Design (UD) ซึ่งจากการศึกษาดูงานก็พบว่า ปัจจัยบวกจากการบริหารระบบขนส่งทางราง อย่างมีระบบเช่นนี้ได้ เนื่องจากรัฐบาลกลางไต้หวันเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และมอบหมายให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้ให้บริการ ทำให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายรถไฟฟ้า ทุกเส้นทางร่วมกันได้

"ข้อดีของการเชื่อมโยงเครือข่ายรถไฟฟ้า บริหารจัดการรถไฟให้ตรงเวลา เป็นมาตรฐานที่กรมฯ ต้องนำไปปรับใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูลแก่ผู้ประกอบการ เรื่องของการออกใบอนุญาตก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ มีมาตรฐานเดียวกันที่เป็นมาตรฐานสากล ส่วนโมเดลบริหารรถไฟด้วยรัฐบาลท้องถิ่นนั้นก็เป็นอีกหนึ่งโมเดลที่น่าสนใจ เพราะจะเป็นประโยชน์ในการทำให้ราคาค่าโดยสารถูกลง"
ทั้งนี้ การยกระดับมาตรฐานระบบขนส่งทางรางในไทยจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ บันไดขั้นแรกที่ต้องจับตาดูต่อไป คือ นโยบายจากรัฐบาลชุดใหม่ ต่อการผลักดัน พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ให้เกิดขึ้นโดยเร็วเท่าทันต่อการเติบโตของระบบขนส่งทางรางที่อยู่ระหว่างพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่กำลังเกิดขึ้นมารองรับบริการประชาชน

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 พ.ค. 2566


-------


ขร. เร่งทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP2 เพื่อพัฒนาการเดินในอนาคตอย่างยั่งยืน
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
May 18, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=XUt1T-TKsgw

กรมการขนส่งทางราง ดำเนินการจัดทำแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง หรือ Railway Demand Forecast Model ขึ้น เพื่อให้เป็นแบบจำลองที่มีความแม่นยำในการคาดการณ์การเดินทางของระบบรางโดยเฉพาะ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนและกำหนดนโยบายในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า การกำหนดมาตรการต่างๆ เช่น การปรับอัตราค่าโดยสาร การปรับปรุงทางเข้า-ออกสถานี การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น ตลอดจนมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาบริการด้านระบบราง นำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฉบับใหม่ หรือ M-MAP 2 เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งราง ให้เป็นทางเลือกในการเดินทาง เพื่อให้ประชาชนให้มีคุณภาพในการเดินทางดียิ่งขึ้น


แนวทางการบริหารระบบรางของไต้หวัน อะไรที่ดีเราเอามาปรับใช้กับประเทศไทยได้ #กรมการขนส่งทางราง #รถไฟฟ้า
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
May 18, 2023

แนวทางการบริหารระบบรางของกรุงไทเป ไต้หวัน ที่มีขนาดประชากร วิถีชีวิต การเดินทาง และราคารถไฟฟ้าใกล้เคียงกับไทย อะไรที่ว่าดีของรถไฟฟ้าไทเป อะไรที่เราเอามาปรับใช้กับประเทศไทยได้


https://www.youtube.com/watch?v=mb7Dk6EVzAk
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/05/2023 3:14 pm    Post subject: Reply with quote

ขร. เร่งศึกษาการกำหนดอัตราค่าโดยสาร เพื่อให้เข้าถึงระบบขนส่งมวลชนระบบรางได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
May 23, 2023

"โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง” มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง ข้อเสนอมาตรการกำกับอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนทางราง มาตรการเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง และร่างข้อกำหนด กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง การส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนระบบรางได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว


https://www.youtube.com/watch?v=bFXZiog9M-Q


“กรมราง” ชี้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกทำได้จริง! พร้อมลุยชงข้อมูลรัฐบาลใหม่
เดลินิวส์ 23 พฤษภาคม 2566 14:38 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“กรมราง” ลุยศึกษาเพดานค่าโดยสารสูงสุด “รถไฟ-รถไฟฟ้า-รถไฟไฮสปีด” พร้อมอัตราค่าแรกเข้า หลังที่ผ่านมาไม่มีใครคุมเข้ม ขึ้นตามสัมปทานแต่ละราย เตรียมใช้บังคับสายใหม่ทันทีหลังเกิดกฎหมายขนส่งทางราง ยันนโยบายพรรคการเมืองหาเสียงค่าโดยสารถูกทำได้จริง ขร. จัดข้อมูลไว้แล้ว พร้อมเสนอรัฐบาล เผยผู้โดยสารขนส่งทางรางทะลุ 1.3 ล้านคนแล้ว

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. ที่โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เป็นประธานจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้าและหลักเกณฑ์การขึ้นค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง รวมถึงมาตรการกำกับค่าโดยสารฯ ร่างข้อกำหนดกฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมาตรการส่งเสริมการเดินทางด้วยขนส่งมวลชนทางราง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนระบบรางได้อย่างเสมอภาค เท่าเทียม สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว 

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า การศึกษาครั้งนี้จะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.พ.67 และจะนำมาใช้ได้ทันทีเมื่อร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง พ.ศ…. มีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนสาธารณะอื่นๆ อาทิ รถโดยสาร เครื่องบิน และเรือโดยสาร  มีการกำหนดเพดานค่าโดยสารขั้นสูงกันหมดแล้ว มีเพียงระบบขนส่งทางรางที่ยังไม่มีการกำหนด และไม่มีการควบคุม โดยผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปบังคับใช้กับรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก), รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม), 

รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ, รถไฟฟ้าสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรถไฟฟ้าสายสีแดงต่อขยาย รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่ยังไม่ชัดเจนเรื่องการต่อสัมปทานให้กับเอกชน และรถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ซึ่งสายนี้จะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อ พรบ.ขนส่งทางรางมีผลบังคับใช้ก่อนการลงนามสัมปทานสายสีส้ม 

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันจะมีการกำหนดค่าแรกเข้าในอัตราเดียวกัน เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการรถไฟฟ้าแต่ละรายจะเก็บไม่เท่ากันแล้วแต่สัญญาสัมปทาน โดยอยู่ที่ประมาณ 12-17 บาท นอกจากนี้การขึ้นอัตราค่าโดยสารก็ไม่มีกรอบเวลาที่เหมือนกัน ต่างคนต่างขึ้นตามสัมปทานของแต่ละราย อย่างไรก็ตามยังคงยืนยันว่าในอนาคตค่าแรกเข้าของระบบขนส่งทางราง ทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ควรต้องเก็บแค่ครั้งเดียว ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มในบัตรเครดิต หรือเดบิต  (Europay Mastercard and Visa : EMV) แล้ว สามารถเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง และสีม่วง ที่สถานีบางซ่อนได้ โดยเก็บค่าแรกเข้าแค่ครั้งเดียว 

นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า การคิดค่าโดยสารรถไฟฟ้ามีหลายรูปแบบ ซึ่งในช่วงหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา มีพรรคการเมืองต่างๆ ใช้เรื่องการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า เป็นแคมเปญในการหาเสียงมากมาย เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ประชาชน ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย และรถไฟฟ้า 50 บาทตลอดวัน  ซึ่งเป็นการคิดค่าโดยสารรูปแบบราคาเดียว นอกจากนี้บางพรรคยังมีนโยบาย ค่าโดยสารรถเมล์ และรถไฟฟ้า 8-45 บาท เป็นรูปแบบการคิดตามระยะทาง นอกจากนี้ยังมีอีก 1 รูปแบบคือ การเก็บค่าโดยสารเป็นโซน ซึ่งรูปแบบนี้ต่างประเทศดำเนินการแล้ว แต่ไทยยังไม่ได้ทำ

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะใช้การคิดค่าโดยสารในรูปแบบใด โดย ขร. ได้ศึกษาและเตรียมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บค่าโดยสารในรูปแบบต่างๆ ไว้ทั้งหมดแล้ว เพื่อเสนอรัฐบาลในการใช้ประกอบการดำเนินนโยบาย อาทิ จำนวนผู้มีรายได้น้อยที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า, จำนวนผู้ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นประจำ และวงเงินที่จะใช้อุดหนุน เป็นต้น อย่างไรก็ตามยืนยันว่านโยบายที่พรรคการเมืองต่างๆ หาเสียงไว้นั้นสามารถทำได้จริง แต่ต้องดูรายละเอียดของนโยบายที่หาเสียงไว้อีกครั้งว่าเป็นอย่างไร จะใช้กับทุกคน หรือเฉพาะกลุ่ม และใช้ระยะเวลานานเท่าใด โดยปัจจุบันผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟ และรถไฟฟ้าในวันจันทร์-ศุกร์ อยู่ที่ประมาณวันละ 1.3 ล้านคน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ อยู่ที่ประมาณวันละ 8.9 แสนคน


กรมรางศึกษาจ่อคลอดสูตร”คุมเพดาน-ค่าแรกเข้า”ค่าโดยสารรถไฟ-รถไฟฟ้า
ผู้จัดการออนไลน์ 23 พ.ค. 2566 19:03 น.

กรมราง เปิดเวทีฟังความเห็น จ่อคลอดสูตรคิดอัตราค่าโดยสารระบบราง กำหนดเพดานขั้นสูง และค่าแรกเข้า เกณฑ์ปรับราคา วางมาตฐานรถไฟ รถไฟฟ้าหลายสี คาดศึกษาเสร็จ ก.พ.67 เร่งใช้หลังพ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯมีผล

วันที่ 23 พ.ค. 2566 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 “โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง” เพื่อการพัฒนาแนวทางการศึกษาและส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคตพร้อมรองรับปริมาณผู้โดยสารที่มากขึ้นในอนาคต ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม มีความสะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว โดยในการสัมมนามีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชน และผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาฯ และแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะร่วมกัน

นายพิเชฐ กล่าวว่า ระบบขนส่งมวลชนระบบราง เป็นทางเลือกสำคัญในการเดินทางของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เมืองภูมิภาค และการเดินทางระหว่างจังหวัด กรมรางจึงมีการศึกษา วิเคราะห์ โครงสร้างต้นทุนระบบราง คำนวณค่าใช้บริการ ค่าใช้จ่ายราง และค่าสัมปทาน ให้เหมาะสม เป็นธรรม ซึ่งในร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง พ.ศ. .... มีหมวดที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าโดยสารขั้นสูง และการทบทวนหลักเกณฑ์อัตราค่าโดยสารขั้นสูง

โดยคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จประมาณ เดือนก.พ. 2567 และบังคับใช้หลัง ร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง พ.ศ…. มีผลบังคับใช้ ซึ่งหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสาร คาดว่าจะเริ่มใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่จะเปิดให้บริการ ในอนาคต ทั้งโครงการที่กำลังก่อสร้างและอยู่ในขั้นตอนศึกษาโครงการ เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก), รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม), รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ, รถไฟฟ้าสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ,รถไฟฟ้าสายสีแดงต่อขยาย และรถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่เรื่องการต่อสัมปทานยังไม่ชัดเจน

สำหรับ "โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง” มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง ข้อเสนอมาตรการกำกับอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนทางราง มาตรการเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง และร่างข้อกำหนด กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง การส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนระบบรางได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว

จะเห็นว่าปัจจุบัน อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าแรกเข้า แต่ละสาย ไม่เท่ากัน ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่อัตรา 12-17 บาท รวมถึงการปรับขึ้นค่าโดยสาร ทั้งอัตราและเวลา จะขึ้นกับแต่ละสัญญาสัมปทาน ขณะที่ ในอนาคต จะมีการกำหนดอัตราแรกเข้าระบบขนส่งทางราง ทุกประเภท รถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง เพียงครั้งเดียว กรณีเดินทางต่อเชื่อมระหว่างกัน

ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการศึกษาโครงการฯ แล้วเสร็จ จะทำให้มีหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้าและหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง ร่างข้อกำหนด กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง การส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง ซึ่งสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี และมติคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ที่รับทราบแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในระยะยาวเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน รวมถึงจะมีมาตรการกำกับอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนทางรางมาตรการเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนระบบรางได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว

โครงการนี้จะเป็นส่วนความสำคัญในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยั่งยืนจากปัจจุบันไปสู่อนาคต การกำหนดเงื่อนไขของการเข้าระบบตั๋วร่วมที่ครอบคลุมทุกโครงข่าย และความถูกต้องครบถ้วนของขั้นตอนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ เมื่ออัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรม ช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชนจะส่งเสริมให้ใช้ระบบรางมากขึ้น ลดปัญหาจราจรและลดมลพิษทางอากาศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/05/2023 11:11 am    Post subject: Reply with quote

ประเภทสินค้า เมษายน 2566
1. ก๊าซแอลพีจี 17,472 เมตริกตัน
2. น้ำมันดิบ 76,658 เมตริกตัน
3. น้ำมันทั่วไป 34,715 เมตริกตัน
4. ปูนซีเมนต์ (ถุง) 14,616 เมตริกตัน
5. ปูนซีเมนต์ (ผง) 93,502 เมตริกตัน
6. คอนเทนเนอร์ 726,392 เมตริกตัน
6.1 คอนเทนเนอร์ - ICD 504,181 เมตริกตัน
6.2 คอนเทนเนอร์ทั่วไป 173,238 เมตริกตัน
6.3 คอนเทนเนอร์ (มาบตาพุด-แหลมฉบัง) 2,492 เมตริกตัน
6.4 คอนเทนเนอร์ Inter มาเลเซีย 41,330 เมตริกตัน
6.5 คอนเทนเนอร์ Inter สปป.ลาว 5,151 เมตริกตัน

7. สินค้าอื่น ๆ 8,250 เมตริกตัน
รวม 971,604 เมตริกตัน

https://drt.gdcatalog.go.th/dataset/stat_freight_rail
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/552622050395595
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 63, 64, 65  Next
Page 52 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©