Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13268988
ทั้งหมด:13580275
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 52, 53, 54 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/05/2023 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางรางชูโมเดลคุมมาตรฐานความปลอดภัยระบบราง
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
May 30, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=-LoD02x0CHk

เทปบันทึกการสัมภาษณ์
ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ในประเด็น "กรมการขนส่งทางรางชูโมเดลคุมมาตรฐานความปลอดภัยระบบราง" ได้ในรายการพูดตรงประเด็น ทางสถานี FM 96.O MHz.


ลุ้นครม.ชุดใหม่ เคาะร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง ออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้าดิจิทัล
ฐานเศรษฐกิจ
07 มิถุนายน 2566

ลุ้นครม.ชุดใหม่ เคาะร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง ออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้าดิจิทัล
"กรมขนส่งทางราง" เปิดรับฟังความเห็น รอบ 2 ลุยศึกษาออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้า ผ่านระบบดิจิทัล เล็งชงครม.ชุดใหม่ เคาะร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ. ... เสนอสภาฯ คาดมีผลบังคับใช้ภายในปลายปี66-ต้นปี 67

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาโครงการศึกษาออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการและการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-License R) ครั้งที่ 2 ว่า การสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อรายงานความคืบหน้าของโครงการฯ

พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปประกอบการศึกษาของโครงการ รวมทั้งการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล และในส่วนของตราสัญลักษณ์ที่ไก้รับการคัดเลือกนั้น จะนำไปใช้เป็น ไอคอน ของแอพพลิเคชั่นใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล บนมือถือในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

หลังจากนี้กรมฯ จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการและการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-License R) ครั้งที่ 3 ภายในปลายเดือนส.ค.2566 เพื่อสรุปโครงการฯอีกครั้ง

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านมา กรมฯได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปัจจุบันร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเตรียมเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 โดยหลังจากนี้กรมฯ จะดำเนินการเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ใช้ในปัจจุบัน มาตรา 153 ระบุว่า สามารถส่งร่าง พ.ร.บ.ที่รอการพิจารณาค้างไว้ เสนอกลับเข้าไปเพื่อดำเนินการต่อในวาระที่ 2

โดยให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ร้องขอไปที่สภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ภายใน 60 วัน นับจากวันที่มี ครม.ใหม่ แต่หากไม่ทันภายใน 60 วัน จะต้องนำร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ กลับไปเริ่มต้นขั้นตอนเสนอ ครม.พิจารณา โดยคาดว่าจะดำเนินได้ หลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในเดือน ส.ค.-ก.ย. 2566

"กรมฯคาดว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ภายในปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567 ซึ่งกรมฯมั่นใจว่า หากกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วจะทำให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ได้ภายใน 3-5 ปี"

นอกจากนี้โอเปอเรเตอร์ ต้องส่งข้อมูลต่างๆ ให้ ขร. ตรวจสอบเมื่อใบอนุญาตหมดอายุ และต้องต่ออายุใหม่ อาทิ ผลการตรวจตาบอดสี สุขภาพจิต สมรรถนะทางการได้ยิน และผลตรวจสารเสพติด เป็นต้น แต่ ขร. ต้องดำเนินการ เพราะในอนาคต ระบบขนส่งทางรางจะเปิดให้บริการเพิ่มมากขึ้น ทำให้จะมีขบวนรถ เจ้าหน้าที่ และอาจมีผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีการบริการที่ดี และเกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า ขณะนี้โครงข่ายทางรถไฟทั่วประเทศของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีระยะทางประมาณ 4,044 กิโลเมตร ในส่วนของรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร สายสีต่างๆ 11 สายทาง คิดเป็นระยะทางประมาณ 211 กิโลเมตร รวมกันสองระบบประมาณ 4,255 กิโลเมตร ตัวเลขที่กล่าวมานี้ ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น การขนส่งทางรางจึงถือเป็นทางเลือกในการเดินทางแห่งอนาคต และได้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางรางหลายโครงการ

ในปัจจุบันมีโครงการรถไฟทางคู่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอยู่ถึง 4 โครงการ รวมระยะทางกว่า 613 กิโลเมตร โครงการทางคู่เฟสสองอยู่ระหว่างรอเสนอรัฐบาลใหม่ 7 โครงการ ระยะทาง 1,479 กิโลเมตร ยังไม่รวมรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 โครงการ และรถไฟความเร็วสูงอีก 2 โครงการ

สำหรับใบอนุญาต แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.ใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง ปัจจุบันมีไม่เกิน 10 ราย โดยใบอนุญาตมีอายุเท่ากับอายุสัมปทานที่ผู้ประกอบการได้รับ, 2.ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำหน้าที่ อาทิ พนักงานขับรถไฟ/รถไฟฟ้า/รถไฟความเร็วสูง และพนักงานควบคุมการเดินรถ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่รวมประมาณ 2,000 คน โดยใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี และ 3.ใบอนุญาตสำหรับรถขนส่งทางราง ซึ่งผู้ประกอบการต้องนำข้อมูล อาทิ รถไฟ/รถไฟฟ้า/รถราง มีตู้กี่ตู้ มาจดทะเบียนทั้งหมด ปัจจุบันมีประมาณ 10,200 ตู้ โดยใบอนุญาตมีอายุ 8 ปี ทั้งนี้ หาก ขร. พบว่าผู้ประกอบการฯ พนักงานขับรถ และรถขนส่งทางราง ไม่มีใบอนุญาต จะมีบทลงโทษทั้งจำและปรับ


ลุ้นครม.ใหม่เคาะพ.ร.บ.ขนส่งทางราง | ย่อโลกเศรษฐกิจ 7 มิ.ย.66
TNN Online
Jun 8, 2023

"กรมขนส่งทางราง" เปิดรับฟังความเห็น รอบ 2 ลุยศึกษาออกใบขับขี่รถไฟ-รถไฟฟ้า ผ่านระบบดิจิทัล พร้อมเล็งชงครม.ชุดใหม่ เคาะร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ.... เสนอสภาฯ คาดมีผลบังคับใช้ภายในปลายปี 2566 - ต้นปี 2567 หวังทำให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ได้ภายใน 3-5 ปี


https://www.youtube.com/watch?v=K-B995McEr0
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/06/2023 11:24 pm    Post subject: Reply with quote

ดันกฎหมายคุมเพดาน "ค่าโดยสารรถไฟฟ้า" อัตราเดียว | BUSINESS WATCH | 08-06-66
TNN Online
Jun 8, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=3Cptxks4RZ4

การจูงใจให้ประชาชนหันมาเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะและรถไฟฟ้ามากขึ้นนั้นจำเป็นต้องเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกรวมไปถึงการจ่ายค่าตั๋วในราคาที่ไม่สูงเกินไป ทำให้กรมขนส่งทางรางพยายามผลักดันกฎหมายออกมาให้ได้ภายในปีนี้เพื่อกำหนดเพดานราคาค่าตั๋วและกำหนดค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวเพื่อลดความซ้ำซ้อนที่ผู้โดยสารต้องจ่าย

“ปัญหาน้ำท่วม - รถติด - ฝุ่นควัน” โจทย์ใหญ่รัฐบาลใหม่เร่งแก้ไข ร่วมกับผู้ว่ากทม. จับตาค่ารถไฟฟ้าปรับลดลงได้จริงหรือไม่ ทางออกแก้ปัญหาหนี้สินอยู่ตรงไหน ทำไมลงทุน 11 เส้นทางกว่า 1 ล้านล้านบาทแต่ประชาชนยังใช้ไม่คุ้มค่า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2023 9:20 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
12 มิ.ย. 66 13:35 น.

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/562834809374319

ขร. รวบรวมผลการดำเนินการที่สำคัญของหน่วยงาน
ประจำปี 2565
สามารถติดตามผลการดำเนินงานดังกล่าวผ่านระบบ
📖E-Book : https://online.anyflip.com/isges/afcy/mobile/index.html

หรือ ดาวน์โหลดตามลิงก์ : https://drive.google.com/file/d/1bmF58Ze6QIUKWEskGk1mpiNBqJp-tQw-/view

ขร.มุ่งมั่นเป็นองค์กรกำกับดูแลระบบการขนส่งทางราง
เพื่อระบบรางไทย ภาคภูมิใจ ก้าวไกลสู่สากล


กรมรางอัปเดตรถไฟ "ไทย-จีน" ก่อสร้างคืบ 21.69% ดันเซ็นรับเหมาครบ 14 สัญญา-ชง ครม.เคาะเดินหน้าเฟส 2 ในปีนี้
ผู้จัดการออนไลน์ 22 มิ.ย. 2566 09:44 น.

รถไฟไทย-จีนคืบหน้า 21.69% กรมรางคาด รฟท.ลงนามรับเหมางานโยธา 3 สัญญาที่เหลือได้ในปีนี้ ส่วนเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 356 กม. ออกแบบ ชงอนุมัติ EIA ตั้งเป้าเสนอ ครม.พิจารณาในปี 66

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานประชุมหารือเพื่อติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร ซึ่งการก่อสร้างงานโยธาปัจจุบันความก้าวหน้าโดยรวม 21.69%

โดยมีงานโยธาจาก 14 สัญญา
ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง 3 สัญญา โดยคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ทั้งหมด 14 สัญญา ภายในปี 2566

โดย 3 สัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง คือ สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงินประมูล 9,348 ล้านบาท

สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท และสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. เป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา)

Click on the image for full size

ส่วนโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบงานโยธาแล้วเสร็จ โดยอยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในปี 2566

รายงานข่าวแจ้งว่า เส้นทางช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. มีกรอบวงเงินค่างานโยธาประมาณ 2.1 แสนล้านบาท

คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี มีจุดเริ่มต้นที่หลังสถานีนครราชสีมา จุดสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำโขงฝั่งไทยมี 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย นาทา และเชียงรากน้อย ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา มีย่านเก็บกองตู้สินค้าและย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า จำนวน 1 แห่งที่นาทา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42728
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2023 12:45 pm    Post subject: Reply with quote

🚈🚊🚂มาทำความรู้จักกับระบบ 5G และการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในการขนส่งทางราง โดยกรมการขนส่งทางราง
https://online.anyflip.com/isges/wzas/mobile/index.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/06/2023 2:06 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบรางแน่น!กรมรางเผย สถิติใหม่ ศุกร์ 23 มิ.ย. กว่า 1.58 ล้านคน แนะใช้ EMV ฟรีค่าแรกเข้า "เหลืองต่อน้ำเงิน"
ผู้จัดการออนไลน์ 24 มิ.ย. 2566 13:51 น.

กรมรางเผยสถิติ ศุกร์ 23 มิ.ย. MRT สายสีเหลืองมีผู้โดยสาร 73,801 คน-เที่ยว ดันยอดผู้ใช้บริการระบบรางภาพรวม กว่า 1.587ล้านคน-เที่ยว สถิติใหม่นับจากมีโควิด แนะใช้ บัตร EMV ฟรีค่าแรกเข้า เหลือง ต่อ น้ำเงิน

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา รถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีผู้ใช้บริการ จำนวน 73,801 คน-เที่ยว ขณะที่ภาพรวม จำนวนผู้ใช้บริการระบบราง ทุกสายทาง ในวันศุกร์ที่ 23 มิ.ย 2566 มีจำนวน 1,587,964 คน-เที่ยว ซึ่งเป็นสถิติสูงที่สุดตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

ประกอบด้วย รถไฟระหว่างเมือง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 70,635 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 23,862 คน-เที่ยว และผู้โดยสารเชิงสังคม 46,773 คน-เที่ยว)

และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,517,329 คน-เที่ยว ประกอบด้วย

1. รถไฟฟ้า Airport Rail Link จำนวน 69,778 คน-เที่ยว
2. รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จำนวน 24,823 คน-เที่ยว (รวมจำนวนผู้โดยสารรถไฟทางไกลมาต่อสายสีแดงฟรี จำนวน 203 คน-เที่ยว)
3. รถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) จำนวน 415,504 คน-เที่ยว
4.รถไฟฟ้า MRT สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) จำนวน 49,263 คน-เที่ยว
5. รถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 876,503 คน-เที่ยว
6. รถไฟฟ้าสายสีทอง จำนวน 7,657 คน-เที่ยว
7. รถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง จำนวน 73,801 คน-เที่ยว

โดยจำนวนผู้ใช้บริการระบบรางสูงสุดก่อนหน้านี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2566 จำนวน 1,577,330 คน-เที่ยว ทั้งนี้ เมื่อมีการเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง ทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (ที่สถานีลาดพร้าว) สาย Airport Rail Link (ที่สถานีหัวหมาก) และ BTS สายสุขุมวิท (ที่สถานีสำโรง) ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้าที่ใช้บัตร EMV ในการเดินทางระหว่างสายเฉลิมรัชมงคล(สีน้ำเงิน) กับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะได้รับส่วนลดค่าแรกเข้า โดยหากเดินทางจากสายสีน้ำเงินเข้าสีเหลือง จะได้รับการยกเว้นค่าแรกเข้า 15 บาท ส่วนสายสีเหลืองเข้าสู่สีน้ำเงิน จะได้รับการยกเว้นค่าแรกเข้า 14 บาท โดยหากประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้าทั้งขาไปและขากลับ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าแรกเข้าได้ประมาณ 29 บาทต่อวัน ซึ่งในการยกเว้นค่าแรกเข้าโดยการใช้บัตร EMV นั้น เมื่อแตะบัตรเข้าระบบรถไฟฟ้าจะถูกเก็บเต็มราคาก่อน และจะได้รับคืนเงินค่าแรกเข้ากลับเข้าบัตรเครดิต/เดบิตไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยระยะเวลาขึ้นอยู่กับธนาคารผู้ออกบัตร

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เชื่อมั่นว่า การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง รวมถึงสายสีต่างๆ ที่กำลังจะเปิดให้บริการในอนาคตจะมีส่วนช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย สร้างความสุขการเดินทางระบบรางให้กับคนไทยอย่างมุ่งมั่นต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42728
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2023 3:08 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ระบบรางแน่น!กรมรางเผย สถิติใหม่ ศุกร์ 23 มิ.ย. กว่า 1.58 ล้านคน แนะใช้ EMV ฟรีค่าแรกเข้า "เหลืองต่อน้ำเงิน"
ผู้จัดการออนไลน์ 24 มิ.ย. 2566 13:51 น.


แหล่งที่มาของข่าวครับ

กรมรางเผยเมื่อวานมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จำนวน 73,801 คน-เที่ยว ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการระบบราง รวม 1,587,964 คน-เที่ยว สูงสุดตั้งแต่มีสถานการณ์ covid-19 เกิดขึ้น
วันที่ 24 มิถุนายน 2566 ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางรางเปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จำนวน 73,801 คน-เที่ยว ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการระบบราง รวม 1,587,964 คน-เที่ยว ถือเป็นยอดผู้ใช้บริการสูงที่สุดตั้งแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ประกอบด้วย รถไฟระหว่างเมือง จำนวน 70,635 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 23,862 คน-เที่ยว และผู้โดยสารเชิงสังคม 46,773 คน-เที่ยว) และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,517,329 คน-เที่ยว ประกอบด้วย
1) รถไฟฟ้า Airport Rail Link จำนวน 69,778 คน-เที่ยว
2) รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จำนวน 24,823 คน-เที่ยว (รวมจำนวนผู้โดยสารรถไฟทางไกลมาต่อสายสีแดงฟรี จำนวน 203 คน-เที่ยว)
3) รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) จำนวน 415,504 คน-เที่ยว
4) รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) จำนวน 49,263 คน-เที่ยว
5) รถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 876,503 คน-เที่ยว
6) รถไฟฟ้าสายสีทอง จำนวน 7,657 คน-เที่ยว
7) รถไฟฟ้าสายสีเหลือง จำนวน 73,801 คน-เที่ยว (รองจากวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ซึ่งมีผู้ใช้บริการสูงสุด 74,348 คน-เที่ยว)
โดยจำนวนผู้ใช้บริการระบบรางสูงสุดก่อนหน้านี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 1,577,330 คน-เที่ยว ซึ่งเมื่อได้เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลืองทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (ที่สถานีลาดพร้าว) สายAirport Rail Link (ที่สถานีหัวหมาก) และbts สายสุขุมวิท (ที่สถานีสำโรง) ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้าที่ใช้บัตร EMV ในการเดินทางระหว่างสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) กับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะได้รับส่วนลดค่าแรกเข้า โดยหากเดินทางจากสายสีน้ำเงินเข้าสีเหลือง จะได้รับการยกเว้นค่าแรกเข้า 15 บาท ส่วนสายสีเหลืองเข้าสู่สีน้ำเงิน จะได้รับการยกเว้นค่าแรกเข้า 14 บาท ในกรณีที่ประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้าทั้งขาไปและขากลับ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าแรกเข้าได้ประมาณ 29 บาทต่อวัน ซึ่งในการยกเว้นค่าแรกเข้าโดยการใช้บัตร EMV นั้น เมื่อแตะบัตรเข้าระบบรถไฟฟ้าจะถูกเก็บเต็มราคาก่อน และจะได้รับคืนเงินค่าแรกเข้ากลับเข้าบัตรเครดิต/เดบิตไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยระยะเวลาขึ้นอยู่กับธนาคารผู้ออกบัตร
กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เชื่อมั่นว่า การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง รวมถึงสายสีต่างๆ ที่กำลังจะเปิดให้บริการในอนาคตจะมีส่วนช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย สร้างความสุขการเดินทางระบบรางให้กับคนไทยอย่างมุ่งมั่นต่อไป

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/569222482068885

20มิ.ย.66 (เมื่อวาน) มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง (รฟม.) ซึ่งเปิดให้บริการครบ 23สถานี ตั้งแต่ช่วงเวลา 06.00-21.00 น. (15 ชั่วโมง) เป็นวันแรก จำนวน 72,807 คน โดยมีขบวนรถให้บริการสูงสุด 11 ขบวน รวม 182 เที่ยววิ่ง เพิ่มขึ้นจากวันที่ 19มิ.ย.66 จำนวน 7,296 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.14 ทั้งนี้ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อ 3มิ.ย.66 จนถึง20มิ.ย.66 มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง รวม 751,038 คน

21มิ.ย.66 ให้บริการ 06.00 - 21.00 น. มีจำนวนรถให้บริการสูงสุด 11 ขบวน (ใช้ตารางเดินรถพิเศษ 3 : Special 3) รวมให้บริการ 185 เที่ยววิ่ง (เป็นวันแรกที่เสริม 3 เที่ยววิ่ง) มีผู้ใช้บริการรวม 74,348 คน

22มิ.ย.66 ให้บริการ 06.00-21.00 น. มีรถให้บริการสูงสุด 11 ขบวน รวม 141 เที่ยว (รวมขบวนเสริม 3 เที่ยว จากแผนปกติ 182 เที่ยว เนื่องจากเหตุเมื่อเวลา 07.15 น. ขายึด Conductor rail (insulator) ชำรุดระหว่างสถานีหัวหมากไปสถานีกลันตัน (ฝั่ง sb) และได้แก้ไขกลับมาเดินรถตามปกติเมื่อเวลา 10.12 น.) มีผู้ใช้บริการรวม 64,804 คน

23มิ.ย.66 ให้บริการ 06.00 - 21.00 น. มีจำนวนรถให้บริการสูงสุด 11 ขบวน (ใช้ตารางเดินรถพิเศษ 3 : Special 3) รวมให้บริการ 185 เที่ยววิ่ง (เสริม 3 เที่ยววิ่ง จากปกติ 182 เที่ยว) มีผู้ใช้บริการรวม 73,801 คน

24มิ.ย.66 ให้บริการ 06.00 - 21.00 น. มีจำนวนรถให้บริการสูงสุด 11 ขบวน (ใช้ตารางเดินรถพิเศษ 3 : Special 3) รวมให้บริการ 182 เที่ยววิ่ง (ปกติ) มีผู้ใช้บริการรวม 79,990 คน สูงสุด

25มิ.ย.66 ให้บริการ 06.00 - 21.00 น. มีจำนวนรถให้บริการสูงสุด 11 ขบวน (ใช้ตารางเดินรถพิเศษ 3 : Special 3) รวมให้บริการ 182 เที่ยววิ่ง (ปกติ) มีผู้ใช้บริการรวม 80,546 คน สูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการ
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/6400895579957333


Last edited by Wisarut on 26/06/2023 5:51 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/06/2023 6:27 am    Post subject: Reply with quote

โห1.58ล้าน/วันไม่มีตั๋วร่วม
Source - เดลินิวส์
Monday, June 26, 2023 06:19

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 73,801 คน-เที่ยว ส่งผลให้ผู้ใช้บริการระบบราง รวม 1,587,964 คน-เที่ยว สูงที่สุดตั้งแต่มีระบบรางของประเทศไทย โดยก่อนสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 มีผู้ใช้บริการระบบรางที่ 1.2 ล้านคน-เที่ยว เนื่องจากการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองทำให้ประชาชนเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ที่สถานีลาดพร้าว) สายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ที่สถานีหัวหมาก) และ บีทีเอสสายสุขุมวิท (ที่สถานีสำโรง) ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เมื่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเริ่มเก็บค่าโดยสาร 15-45 บาท ผู้ใช้บัตร EMV เดินทางระหว่างสายสีน้ำเงินกับสีเหลือง จะได้รับส่วนลดค่าแรกเข้า

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับบัตร EMV ยังไม่สามารถเดินทางเชื่อมต่อระหว่างสายสีเหลือง และสายสีเขียวได้เพราะสายสีเขียว ยังไม่ติดตั้งระบบหัวอ่านบัตร EMV ขณะนี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส อยู่ระหว่างหารือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะเจ้าของระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ ส่วนบัตร rabbit ของสายสีเขียว ใช้แตะเข้าระบบสายสีเหลืองได้ แต่ไม่ได้รับการยกเว้นค่าแรกเข้า แม้บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) จะเป็นบริษัทในเครือบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) เหมือนกับสายสีเขียวก็ตาม เนื่องจากสายสีเหลือง และสายสีเขียว ดูแลคนละหน่วยงาน โดยสายสีเหลือง ดูแลโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และสายสีเขียว ดูแลโดย กทม.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 มิ.ย. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42728
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2023 11:03 am    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง จัดประชุมสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
(พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-Map2
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมสัมมนาในระบบออนไลน์ สามารถเข้ารับฟังและแสดงความคิดเห็นได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ :
Join Zoom Meeting
https://zoom.us/j/6143146915...
Meeting ID: 614 314 6915
Passcode: 123456
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/570685901922543
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/06/2023 6:51 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กรมการขนส่งทางราง จัดประชุมสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
(พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-Map2
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมสัมมนาในระบบออนไลน์ สามารถเข้ารับฟังและแสดงความคิดเห็นได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ :
Join Zoom Meeting
https://zoom.us/j/6143146915...
Meeting ID: 614 314 6915
Passcode: 123456
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/570685901922543

'กรมราง'ร่างโรดแมปรถไฟฟ้า เขย่า 29 โครงข่ายใยแมงมุม
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, June 28, 2023 04:10
วรรณิกา จิตตนรากร

กรุงเทพธุรกิจ

แผนพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 1 หรือ M-MAP 1 ถูกกำหนดไว้ให้ดำเนินการระหว่างปี 2553- 2572 จากภาพรวมขณะนี้เข้าสู่ปีที่ 14 มีโครงข่ายรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ 10 เส้นทาง และยังไม่ได้ดำเนินการอีก 9 เส้นทาง แต่แผนแม่บทดังกล่าวไม่สอดคล้องความต้องการประชาชนและการขยายตัวของเมือง จึงต้องปรับสู่ M-MAP2

สำหรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือ M-MAP2 จะวิเคราะห์และ กำหนดแนวเส้นทางที่มีความเป็นไปได้จากปัจจัย 5 ด้าน คือ 1.เป้าหมายแนวเส้นทาง ต้องบรรเทาความหนาแน่นระบบราง 2.เพิ่มความสามารถการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่และรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต

3.เพื่อพัฒนาโครงข่ายรวมและการ กระจายการเดินทางเพิ่มเติม 4.ปรับปรุงรูปแบบค่าโดยสารให้เหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น 5.เพื่อความสอดคล้องและเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่น โดยแผนแม่บทนี้ถูกกำหนดใช้ใน 20 ปี (2573-2592) ต่อเนื่องกับแผน M-MAP1

พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ระบุว่า กรมฯ ได้รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล ประกอบไปด้วย จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม เพื่อนำ ข้อมูลความต้องการของประชาชนในพื้นที่มา ศึกษาเพิ่ม ร่วมกับแผน M-MAP2 Blueprint

"เดือน ก.ค.นี้ จะสรุปเส้นทางที่เหมาะสม และคุ้มลงทุน จากนั้นเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) กระทรวงคมนาคม และรอเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่"
สำหรับการพิจารณาเบื้องต้นพบโครงการรถไฟฟ้าที่จำเป็นเร่งด่วนและพร้อมเสนอรัฐบาล 3 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 23,417 ล้านบาท ได้แก่

1.รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิตธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6,570 ล้านบาท 2.ช่วงตลิ่งชัน- ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 10,202 ล้านบาท 3.ช่วงตลิ่งชันศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6,645 ล้านบาท โดย 3 เส้นทางดังกล่าว ถือเป็นเส้นทางต้องเร่งดำเนินการเพราะ มีประชาชนสัญจร 1 แสนคนต่อวัน

ส่วนโครงการในภาพรวมที่จะถูกนำมา ศึกษารายละเอียด จัดลำดับความจำเป็น และความคุ้มค่าต่อการลงทุน เพื่อกำหนดไว้ ใน M-Map2 พบว่ามี 29 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทาง M-Map1 ที่ยังไม่ดำเนินการ 8 เส้นทาง อาทิ รถไฟฟ้าสายสีแดง สายธานีรัถยา, รถไฟฟ้าสายสีแดง สายนครวิถี, รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร และรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงลำลูกกา-ท่าพระ

นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางใหม่ 13 เส้นทาง อาทิ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางนาสุวรรณภูมิ, รถไฟฟ้าสายบางบำหรุ-ดินแดงหลักสี่, รถไฟฟ้าสายรังสิต-ธัญบุรี-คลอง 16- ธรรมศาสตร์, รถไฟฟ้าสายรังสิต-ปทุมธานี, รถไฟฟ้าสายคลอง 3-คูคต, รถไฟฟ้าสายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท, รถไฟฟ้าสาย ดอนเมือง-ศรีสมาน, รถไฟฟ้าสายพระโขนง- ศรีนครินทร์ และรถไฟฟ้าสายเทพารักษ์ราษฎร์บูรณะ

ขณะเดียวกัน ยังมีเส้นทางต่อขยาย 8 เส้นทาง อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยาย ช่วงบางหว้า-รัตนาธิเบศร์-แยกปากเกร็ด, รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงมีนบุรี-ลาดกระบัง, รถไฟฟ้าสาย สีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงเมืองทอ-บางบัวทอง, รถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย ช่วงบางใหญ่-บางบัวทอง และรถไฟฟ้าสายสีทองส่วน ต่อขยาย ช่วงคลองสาน-ศิริราช

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 มิ.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42728
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2023 5:08 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
กรมการขนส่งทางราง จัดประชุมสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
(พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-Map2
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมสัมมนาในระบบออนไลน์ สามารถเข้ารับฟังและแสดงความคิดเห็นได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ :
Join Zoom Meeting
https://zoom.us/j/6143146915...
Meeting ID: 614 314 6915
Passcode: 123456
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/570685901922543

'กรมราง'ร่างโรดแมปรถไฟฟ้า เขย่า 29 โครงข่ายใยแมงมุม
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Wednesday, June 28, 2023 04:10
วรรณิกา จิตตนรากร


เปิดแผนแม่บทรถไฟฟ้า 34 สายใหม่กทม.-ปริมณฑล
*มาสเตอร์แพลน26ปีM-Map2กรมรางดันสร้างต่อ
*ปี2592เพิ่มโครงข่าย 211กม.ปัจจุบันเป็น 553กม.
*ปัก12เส้นทางจำเป็นเร่งด่วนต่อขยายสีแดง 3สาย
*รื้อหัวลำโพง-มหาชัยเป็น”วงเวียนใหญ่-บางบอน”
Note: ข้อที่น่าผิดหวังที่สุดก็ไม่พ้นความหัวดื้อหัวรั้นของคนคลองสานนี่แหละที่ทำให้สายสีแดงจากหัวลำโพงไปมหาชัยโดนกุด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/815038066740096

กรมการขนส่งทางรางเดินหน้าเร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2
https://www.facebook.com/watch?v=943158033613748

กรมรางเร่ง M-MAP 2 ลุยแผนรถไฟฟ้า 29 เส้นทาง ชง ครม.ใหม่ เติมเต็มโครงข่าย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 17:48 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 17:48 น.

Click on the image for full size


กรมรางเร่งสรุปแผน M-MAP 2 ใน ก.ค.นี้ วางโครงข่าย 29 เส้นทาง ทั้งสานต่อจากแผนเดิม และผุดเส้นทางใหม่เติมเต็มโครงข่ายและมาตรการอุดหนุนค่าโดยสาร และภาษี เผยพร้อมดันรถไฟสีแดง 3 สายชงรัฐบาลใหม่ ชี้จำเป็นเร่งด่วน ส่วนช่วง Missing Link ออกแบบศึกษาใหม่ ล่าช้า 4-5 ปี

วันที่ 27 มิ.ย. 66 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เพื่อประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 “โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2” หรือ M-MAP 2 โดยมีการนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงาน M-MAP 2 และการพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง โดยจะมีการสัมมนาเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2566 โดยวันแรกเป็นกลุ่ม หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ และสื่อมวลชน วันที่ 2 เป็นกลุ่มเอกชน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง วันที่ 3 เป็นกลุ่มสถาบันการศึกษา และในวันที่ 24 ก.ค. 2566 จะจัดสัมมนา เพื่อนำเสนอผลการศึกษาอีกครั้งและสรุปการศึกษา และเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และคณะรัฐมนตรี จึงจะประกาศเป็นแผนแม่บทต่อไป

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการได้ออกแบบแบบจำลอง คาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง (Railway Demand Forecast) แล้วเสร็จ และได้นำมาดำเนินการวางแผน M-MAP 2 โดยการวิเคราะห์และกำหนดแนวเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ให้ตอบโจทย์นโยบายการพัฒนารถไฟฟ้าใน 5 ด้าน ดังนี้
1. เพื่อบรรเทาความหนาแน่นระบบราง (Capacity)
2. เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่และรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต (Coverage)
3. เพื่อพัฒนาโครงข่ายรวมและการกระจายการเดินทางเพิ่มเติม (Connectivity)
4. ปรับปรุงรูปแบบค่าโดยสารให้เหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น (Affordable and Equitable)
5. เพื่อความสอดคล้องและเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่น (Intermodal)



นายพิเชฐกล่าวว่า รถไฟฟ้าตามแผนแม่บท M-MAP เดิมมีโครงข่ายรวม 553.41 กม. ปัจจุบันให้บริการแล้ว 242.34 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 105.40 กม. ขณะที่การพัฒนา M-MAP จะหมดอายุในปี 2572 ดังนั้นจึงต้องศึกษาเพื่อวางแผน M-MAP 2 ที่จะใช้ในระยะ 20 ปีต่อไป (ปี พ.ศ. 2573- ปี พ.ศ. 2592) เพื่อให้การขับเคลื่อนต่อเนื่อง ซึ่งการจัดทำ วางแผน M-MAP 2 ได้มีการจัด Focus Group รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล ประกอบไปด้วย จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม และนำข้อมูลไปดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมร่วมกับแผน M-MAP 2 Blueprint ที่ทาง JICA เคยศึกษาไว้เพื่อตอบโจทย์นโยบายการพัฒนาให้ได้แนวเส้นทางระบบรางที่เป็นไปได้ทั้งหมด (Project Long List) และนำมาดำเนินการคัดกรอง ทั้งด้านกายภาพและจำนวนผู้โดยสาร เพื่อให้ได้แนวเส้นทางระบบรางที่เลือก (Project Short List) แล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญ และดำเนินการศึกษา ในด้านวิศวกรรม การลงทุน และสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นต่อไป



@พร้อมชงรัฐบาลใหม่ เคาะสายสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทาง แบบ-EIA พร้อมก่อสร้าง

ส่วนโครงการที่อยู่ใน M-MAP เดิมที่ยังไม่ได้ก่อสร้างแต่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งโครงการได้ศึกษาออกแบบเรียบร้อย และ EIA ได้รับอนุมัติแล้ว กรมรางมีความพร้อมที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลใหม่พิจารณา ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทาง ด้านเหนือ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,448.69 ล้านบาท, สายสีแดง ด้านตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท เส้นทางที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรองรับปริมาณการเดินทางจำนวนมาก เนื่องจากเป็นศูนย์ในด้านโรงพยาบาล และสถาบันการศึกษา

@สีแดง Missing Link (บางซื่อ-พญาไท-) ย้ายสถานี เริ่มต้นศึกษาใหม่ ล่าช้า 4-5 ปี
ส่วนสีแดง ด้านตะวันออก ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. วงเงินลงทุน 44,157.76 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับแบบสถานีราชวิถี และย้ายตำแหน่งสถานี เพราะบริเวณใกล้เคียงมีโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งมีส่วนที่ต้องเวนคืน ทำให้ต้องศึกษาออกแบบใหม่ และศึกษา EIA ใหม่ หรือกลับไปเริ่มต้นทำโครงการใหม่ ใช้เวลาอีกประมาณ 4-5 ปี

@สีแดง "หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย" ติดปมเวนคืน-ค่าลงทุนสูง

สายสีแดง ด้านใต้ ช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย ยังมีประเด็นผลกระทบด้านเวนคืนและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ ผ่านพื้นที่ชุมชนหนาแน่น แผนเดิมเป็นทางยกระดับ มีแนวคิดปรับเป็นใต้ดินแต่ค่าก่อสร้างสูงมากกว่า 3 เท่า ไม่คุ้มค่า จึงต้องประเมินความเหมาะสมและช่วงเวลาในการก่อสร้างที่จะคุ้มค่า ซึ่งอาจจะก่อสร้างในช่วงที่ปัญหาน้อย ก่อน เช่น วงเวียนใหญ่-บางบอน เป็นต้น

โดยการเสนอแนะและคัดกรองเส้นทาง แผน M-MAP 2 มีการจัดลำดับความสำคัญโครงการ 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A1 โครงการมีความจำเป็น และเร่งด่วน กลุ่ม A2 คือ โครงการที่มีความจำเป็น แต่ไม่เร่งด่วน ก่อสร้างเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม กลุ่ม B โครงการแนะนำ คือเส้นทางมีศักยภาพ แต่เวลายังไม่เหมาะสมที่จะสร้าง เป็นการกำหนดเส้นทางเพื่อวางแผนร่วมกับการพัฒนาเมืองรองรับอนาคต

ซึ่งการจัดลำดับความสำคัญ ประกอบด้วย นโยบายด้านการวางแผน ความพร้อมของโครงการ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน และสังคม และ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม



@เปิดผัง รถไฟฟ้า M-MAP 2 จำนวน 29 เส้นทาง

เบื้องต้นโครงการใน M-MAP 2 มีจำนวน 29 เส้นทาง (Project Long List) ประกอบด้วย
1. เส้นทางใน M-MAP 1 ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ (M) จำนวน 8 เส้นทาง (12 ช่วง) คือ
M1 สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช
M2 สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง, ช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่, ช่วงวงเวียนใหญ่-บางบอน, ช่วงบางบอน-มหาชัย, ช่วงมหาชัย-แม่กลอง, ช่วง รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์, ช่วงม.ธรรมศาสตร์-นวนคร

M3 สายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร,
M4 สายสีเทา ช่วงลำลูกกา-ท่าพระ,
M5 สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-บึงกุ่ม-บางกะปิ,
M6 สายสีเขียว ช่วงคูคต-วงแหวนรอบนอก, ช่วงเคหะ-ตำหรุ, ช่วงตำหรุ-จักรีนฤบดินทร์-คลองด่าน,
M7 สายสีเขียว ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส,
M8 สายสีน้ำเงิน ช่วง บางแค-พุทธมณฑลสาย 4

เส้นทางใหม่ 13 เส้นทาง (N) คือ
N1 รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา-สุวรรณภูมิ,
N2 รถไฟฟ้าสายบางบำหรุ-ดินแดง-หลักสี่,
N3 รถไฟฟ้าสายรังสิต-ธัญบุรี-คลอง 6-ธรรมศาสตร์,
N4 รถไฟฟ้าสายรังสิต-ปทุมธานี,
N5 รถไฟฟ้าสายคลอง 3-คูคต,
N6 รถไฟฟ้าสายสุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท,
N7 รถไฟฟ้าสายดอนเมือง-ศรีสมาน,
N8 รถไฟฟ้าสายพระโขนง-ศรีนครินทร์,
N9 รถไฟฟ้าสายเทพารักษ์-ราษฎร์บูรณะ,
N10 รถไฟฟ้าสายศาลายา-มหาชัย,
N11 รถไฟฟ้าสายเลียบคลองประปา (บางซื่อ-ปทุมธานี),
N12 รถไฟฟ้าสายศรีนครินทร์-บางบ่อ,
N13 รถไฟฟ้าสายคลอง 6-องครักษ์

และเส้นทางต่อขยายเดิม 8 เส้นทาง (E) คือ
E1 รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (สีลม) บางหว้า-รัตนาธิเบศร์-แยกปากเกร็ด,
E2 รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย มีนบุรี-ลาดกระบัง,
E3 รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย เมืองทองฯ-ปทุมธานี,
E4 รถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย บางใหญ่-บางบัวทอง,
E5 รถไฟฟ้าสีทองส่วนต่อขยาย (คลองสาน-ศิริราช),
E6 รถไฟฟ้าสายสีเงินส่วนต่อขยายสุวรรณภูมิ-บางบ่อ,
E7 รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง บางซื่อ-พระราม 3,
E8 รถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ลาดพร้าว-รัชโยธิน-บางอ้อ-ท่าน้ำนนท์


นอกจากนี้ยังมีการทำแบบจำลองคาดการณ์ความต้องการเดินทาง พร้อมแนวคิดในการส่งเสริมการใช้ระบบราง เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึง เช่น การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่เจ้าหน้าที่รัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกรมรางนำเสนอแผนไปยังกระทรวงการคลังแล้ว, มาตรการด้านภาษีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Tax/Carbon Tax) เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนและนิติบุคคล, การอุดหนุนค่าโดยสารแก่ประชาชน

“ในการทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าที่ผ่านมาขาดข้อมูลเรื่องการพัฒนาโปรเจกต์ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ ทั้งศูนย์การค้า ศูนย์ราชการ ที่จะเกิดการเดินทางของประชาชนจำนวนมาก จึงขอความร่วมมือหน่วยราชการ ท้องถิ่น และภาคเอกชน เพื่อนำมาวางแผนใน M-Map 2 ไม่ใช่มารู้เมื่อเปิดโปรเจกต์แล้วบอกว่าอยากได้ระบบรางเข้าไป แบบนี้ไม่ทันกัน เพราะโครงการรถไฟฟ้าต้องใช้เวลา ศึกษา ออกแบบ ก่อสร้าง มีเรื่องเวนคืนและ EIA อีก ต้องใช้เวลาหลายปี”
https://www.youtube.com/watch?v=uPjCRReIJqE


Last edited by Wisarut on 06/07/2023 12:19 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 52, 53, 54 ... 64, 65, 66  Next
Page 53 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©