RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263286
ทั้งหมด:13574569
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2020 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางรางลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีอุบัติเหตุนั่งร้านที่กำลังเทคอนกรีตในส่วนหลังคา (Deck Slab) ของอุโมงค์ทางลอดใต้ทางรถไฟ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
วันนี้ (9 กันยายน 2563) เวลา 10.30 น. นายทยากร จันทรางศุ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง(ขร.) พร้อมเจ้าหน้าที่ ขร. ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีอุบัติเหตุนั่งร้านที่กำลังเทคอนกรีตในส่วนหลังคา (Deck Slab) ของอุโมงค์ทางลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) บริเวณกิโลเมตรที่ 169+750 ใกล้เคียงสถานีบันไดม้า อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ (สัญญา 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร) เหตุเกิดเมื่อคืนวันที่ 4 กันยายน 2563 ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 10 คน โดยมีนายกฤษดา มัชฌิมาภิโร วิศวกรกำกับการกองก่อสร้างเขต 2 ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา AMWW และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) ร่วมในการตรวจสอบ พบว่า เบื้องต้นสาเหตุเกิดจากนั่งร้านไม่สามารถรับน้ำหนักจากการเทคอนกรีตในอัตราที่เร็ว จนทำให้เกิดการกองของมวลคอนกรีต (overload) ทั้งนี้ ขร.ได้มีข้อเสนอแนะให้ รฟท. และผู้รับจ้าง พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. จัดให้มีผู้ควบคุมงานเพื่อกำกับการทำงานในทุกขั้นตอนการก่อสร้าง และจัดให้มีคนงานเพียงพอในช่วงสับเปลี่ยนกะการทำงาน พร้อมทั้งควบคุมอัตราในการเทคอนกรีตให้เหมาะสมตามการออกแบบ
2. ตรวจสอบนั่งร้านให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง อุปกรณ์ครบถ้วน พร้อมใช้งานก่อนการเทคอนกรีตทุกครั้ง และห้ามนำนั่งร้านที่พังเสียหายกลับมาใช้งาน
3. ให้ดำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติงาน (Method Statement) อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ขร. จะได้รายงานผลการตรวจสอบในรายละเอียดเสนอต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อมอบหมายให้ รฟท. รับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/764156097694670
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3368894399824148
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2020 12:39 pm    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคม เสนอให้สัมปทานเอกชน 99 ปี พัฒนารถไฟ
ThaiPBS 12:26 | 10 กันยายน 2563

รมว.คมนาคม เสนอแก้ไขกฎหมายเปิดให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานยาว 99 ปี เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยให้เต็มศักยภาพ​ พร้อมระบุ​ ต้องกล้าทลายข้อจำกัด อย่ากังวลว่าจะเอื้อเอกชน ขณะที่ระบบรางที่มียังใช้ประสิทธิภาพได้เพียงร้อยละ 30​ เท่านั้น

วันนี้ (10 ก.ย.63) ภายหลังการเปิดงาน กรมขนส่งทางรางเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นชวนเอกชนร่วมลงทุนเดินรถทางราง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (รมว.คมนาคม) เปิดเผยว่า ระบบรางไทยในปัจจุบันใช้ประสิทธิภาพได้เพียงร้อยละ​ 30 เท่านั้น ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี​ ยังมีการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่​ และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมทั้งในประเทศและเชื่อมต่อระหว่างประเทศ โดยได้มอบแนวทางว่า​ การเปิดรับฟังความคิดเห็นให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาขนส่งระบบราง​ สิ่งที่เป็นโจทย์สำคัญ​ คือช่วงว่างในการเดินรถว่ามีมากน้อยแค่ไหนและจะบริหารอย่างไร แน่นอนว่าสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องบริหารก่อน​ แต่ซึ่งหากสหภาพทำเต็มที่แล้วที่เหลือก็จะให้เอกชนทำ​

“แต่การจะเปิดให้เอกชนเข้ามา เราต้องกล้าที่จะให้สัมปทานแก่เอกชนด้วย อาจเป็นการเสนอเปิดให้เอกชนลงทุนเข้ามาลงทุนยาวเป็น 99 ปี เหมือนกับในหลายประเทศ ซึ่งไม่ใช่มองว่าทุกอย่างคือการเอื้อเอกชน แต่ต้องดูว่าประชาชนได้อะไร และเรื่องนี้จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายอยู่ด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนามากขึ้น”
ทั้งนี้ รมว.คมนาคม ยืนยันว่า จากการพูดคุยกับเอกอัครราชทูตในหลายประเทศแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน ทั้ง รัสเซีย สาธารณรัฐเช็ก เกาหลีใต้ รวมถึงสหรัฐอเมริกา โดยเบื้องต้นตั้งเป้าหมายว่าการให้ภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการระบบราง จะต้องสามารถขับเคลื่อนได้ภายในรัฐบาลชุดนี้เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องรอพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กรมรางแล้วเสร็จ เนื่องจากมี พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว

ส่วนกระแสข่าวว่า สภาพัฒน์ฯ ตีกลับรถไฟทางคู่ เฟส 2 จำนวน 7 เส้นทาง รมว.คมนาคมชี้แจงว่า ไม่ใช่การตีกลับ แต่เป็นเพียงการขอข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น เนื่องจากมีข้อสงสัยว่า ประเทศไทย จะทำเส้นทางรถไฟจำนวนมหาศาล แต่จะเอารถที่ไหนมาวิ่ง ฉะนั้นจึงเป็นที่มาของวันนี้ในการเปิดรับฟังความคิดเห็นในการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน

ด้านนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า การบริการระบบรางที่ผ่านมาบางเส้นทางยังใช้ได้ไม่เต็มศักยภาพ จึงควรเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยให้มีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าในปี 2565 จะมีการขนส่งทางรางเพิ่มขึ้นเป็น 16.5 ล้านตัน จากปัจจุบันที่ 10.5 ล้านตันต่อปี ให้เพิ่มขึ้นนโยบายเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้เป็น 30% ใน 3 ปีข้างหน้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2020 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รมว.คมนาคม เสนอให้สัมปทานเอกชน 99 ปี พัฒนารถไฟ
ThaiPBS 12:26 | 10 กันยายน 2563


เออ ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์จำกัดสัมปทานไว้ที่ สามสิบปี งานนี้อาจต้องแก้ไขประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อการนี้ หรือไม่ก็ออกกฏหมายพิเศษจริงๆ

“ศักดิ์สยาม”หนุนดึงเอกชนร่วมเดินรถไฟ เปิดสัมปทาน99ปีเพื่อจูงใจ - ปัดเอื้อประโยชน์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 10 กันยายน 2563 เวลา 16:22



“ศักดิ์สยาม”หนุนเอกชนร่วมบริการเดินรถไฟ เพิ่มขนส่งรางเป็น 30% ในปี65 จ่อรื้อ กม. เปิดทางเอกชนร่วมทุน 99 ปี เพื่อจูงใจ ยันไม่เอื้อไม่ขายชาติ อยากพัฒนาต้องกล้าทลายกำแพง ด้านสหภาพฯ หวั่นกระทบปลอดภัย ชี้เอกชนควรเช่าใช้รางและหัวจักร ส่วนรฟท.คุมบริหาร

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการระบบราง ว่า ปัจจุบัน มีการใช้ระบบรางยังไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยมีการขนส่งเพียง30% เท่านั้น และในอนาคตจะมีการลงทุนรถไฟทางคู่ระยะที่2 ซึ่งนโยบายรัฐต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางราง เพื่อลดต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งนอกจากเชื่อมโครงข่ายในประเทศแล้วจะมีการเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการขนส่งสินค้าของอาเซียน
ซึ่งแนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางราง คือ การเปิดให้ภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการเดินรถ ทั้งผู้โดยสารและสินค้า โดยได้มอบแนวทางที่ต้องนำมาพิจารณาคือ ตารางเวลา (Time Slot) หลังจากที่รฟท.ใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ส่วนที่เหลือจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถ ต้องมีการดำเนินการสถานีขนถ่ายสินค้า ที่มีเครื่องมือทันสมัยเป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการให้บริการ มีค่าบริการ ค่าโดยสาร ที่สมเหตุสมผล เพราะต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นอันดับแรก

“ผมเห็นว่า เอกชนควรต้องลงทุนจัดหาขบวนรถ. หัวลากด้วย ซึ่งอายุสัมปทาน30ปี อาจไม่จูงใจ และเมื่อครบ30 ปี ก็ต้องให้เอกชนลงทุนต่ออยู่ดี โดยเขียนเงื่อนไขการกำกับดูแลให้รัดกุม กำหนดค่าบริการชัดเจน สมเหตุสมผล ประชาชน และรัฐได้ประโยชน์ วันนี้ต้องมองว่า หลายประเทศไปถึงไหนกันแล้ว มีการส่งเสริมเอกชนลงทุนอย่างไร สัมปทาน 99 ปี จะจูงใจเอกชนมากกว่า ส่วนที่มองว่าเป็นการเอื้อเอกชน ขายชาติ เป็นเพียงวาทกรรม ซึ่งหากมีเหตุผลอธิบายได้ว่าประเทศและประชาชนได้อะไร เราต้องกล้าทลายข้อจำกัดของประเทศ ส่วนกฎหมายหากมีข้อติดขัด สามารถแก้ไขได้ เหมือนกรณี อีอีซี ที่ขยายอายุสัมปทานจาก 30 ปี เป็น 50 ปี ยังทำได้ รถไฟก็ทำได้.หากมีความโปร่งใส มีธรรมาภิบาลพอ ผมไม่กลัว”นายศักดิ์สยามกล่าว

@จ่อเบรครถไฟซื้อรถเพิ่มหากเอกชนจัดหาได้เร็วกว่า เพื่อประหยัดงบ

นายศักดิ์สยามกล่าวถึง โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,483 กม.วงเงินลงทุน กว่า 2.73 แสนล้านบาท ว่า ทางสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไม่ได้ตีกลับ เพียงแต่ขอข้อมูลเพิ่มจากรฟท.และติดใจว่าจะมีรถวิ่งบริการหรือไม่. ขณะที่การจัดซื้อรถ หัวจักรของรฟท.นั้น ต้องดูสถานะการเงินการคลังของประเทศด้วย และหากพิจารณาจากการให้เอกชนเข้ามาลงทุนร่วมเดินรถ แล้วสามารถจัดหารถได้เร็วกว่า น่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่ารัฐลงทุนเอง ซึ่งจะเร่งส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ สศช. ต่อไป

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดี กรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า กรมราง ได้ดำเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลในการกำกับดูแลกิจการรถไฟทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อจัดทำกฎระเบียบรองรับการขนส่ง การกำกับการใช้ประโยชน์รางเพื่อการเดินรถในเส้นทางหลัก โดย ปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าทางราวง 10.5 ล้านตันต่อปี โดยคาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้นเป็น 16.8 ล้านตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ซึ่งจะกำหนดมาตรการ กฏหมาย ในการสนับสนุนภาคเอกชนให้เป็นผู้ร่วมบริการเดินรถ

เบื้องต้น จะให้เอกชนเลือกเวลาที่นอกเหนือจากการที่รถไฟให้บริการ และจ่ายค่าเช่าใช้ทางแก่ รฟท. โดยให้เอกชน ยื่นข้อเสนอขอใช้ราง ต่อ รฟท. จากนั้น รฟท. จะพิจารณาความเหมาะสมของตารางการเดินรถ/แผนธุรกิจแล้ว จึงเปิดประมูล Time Slot ให้เข้าใช้ทาง หรือ ดำเนินการแบบไม่ใช้วิธีประมูลกับผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งในช่วงแรกที่ยังไม่มีพ.ร.บ.การขนส่งทางรางพ.ศ..จะดำเนินการภายใต้พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ในการทำสัญญาร่วมทุนกับเอกชน

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯรฟท.กล่าวว่า สหภาพฯ ไม่คัดค้านการให้เอกชนร่วมเดินรถ แต่รูปแบบจะต้องเหมาะสม ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการกำหนดระยะเวลาสัมปทานถึง 99 ปี โดยเห็นว่า รถไฟ ควรเป็นผู้ลงทุนราง จัดหารถ หัวจักร และบริหารจัดการเวลาและคนขับ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และการบริการที่เท่าเทียบกับประชาชนทุกคน ส่วนเอกชนเข้ามาเช่าใช้ ซึ่งในอดีต รฟท. เคยให้สิทธิเอกชนเข้ามาร่วมเดินรถ โดยเช่าใช้รถและรางมาแล้ว เช่น บริษัท เชิดชัยดีเซลราง ,บริษัท ธานินทร์การท่องเที่ยว แต่จะมีอำนาจทางการเมือง ที่เหนือกว่ารฟท.เข้ามาบีบ เลือกเวลาที่ดีมีกำไรไป และกระทบต่อบริการของรถไฟ ซึ่งสหภาพฯ จะนำข้อมูลในการสัมมนาไปศึกษา เพื่อสรุปความเห็นต่อไปด้วย
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/764741500969463
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2020 6:44 pm    Post subject: Reply with quote

การเปิดให้เอกชนร่วมเดินรถไฟ นี่แหละครับเป็นจุดเปลี่ยนของระบบรางเมืองไทย
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
10 กันยายน 2563 เวลา 17:44 น.

เพราะอย่างที่เรารู้ว่าประเทศเราได้ลงทุนรถไฟทางคู่ เฟส 1 เป็นพันกิโลเมตร เสร็จไปแล้ว 2 สาย คือ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และ แก่งคอย-คลอง 19-ฉะเชิงเทรา แล้วที่เหลือเตรียมจะเสร็จ อีกในช่วง ปลายปี 64 ถึง 65 อีกชุดหนึ่ง

ซึ่งในเส้นทางที่ได้เปิดไปแล้วซึ่งเพิ่มความสามารถในการรองรับจำนวนรถไฟได้อย่างน้อย 4 เท่า จากปัจจุบัน แต่ในเส้นทางที่เปิดให้บริการไปแล้ว เช่นชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ก็ยังมีจำนวนรถไฟให้บริการเท่าเดิม เนื่องจากการรถไฟไม่คล่องตัวในการขยับตัวให้บริการ ทั้งรถไฟโดยสาร และรถไฟสินค้า ตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้น การเปิดให้เอกชนเข้ามาให้บริการร่วมกับการรถไฟ จะทำให้สิ่งที่ประเทศเราลงทุนไปร่วมแสนล้านบาท ใช้งานได้คุ้มค่าการลงทุนมากที่สุด
ที่สำคัญที่สุดคือ เปิดให้มีการแข่งขัน ซึ่งตอนนี้ ประชาชนอย่างเราจะได้มีทางเลือกในการใช้บริการ ซักที!!!!

ถ้าทำได้จริง ผมบอกเลยว่ามันจะเปลี่ยนหน้าการให้บริการการขนส่งทางรางจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว!!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2020 10:29 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เปิดสัมปทาน 99 ปีดึงเอกชนเดินรถไฟ-นำร่องสายอีสาน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 10 กันยายน 2563 เวลา 20:22 น.


“ศักดิ์สยาม” หนุนเอกชนใช้ระบบรางขนส่งคน-ของ ให้สหภาพฯทำเต็มที่ก่อน ที่เหลือแบ่งเอกชนใช้ แย้ม “มะกัน-รัสเซีย-เกาหลี-ญี่ปุ่น” สนใจ พร้อมเปิดทางยืดสัมปทานถึง 99 ปี นำร่องสายอีสาน แจงยิบปม “ทางคู่เฟส 2” ชี้สภาพัฒน์ไม่ได้ตีกลับ แค่ขอข้อมูลเพิ่ม เผยนายกฯซื้อไอเดียท่าน้ำน้ำลึกเขื่อมอ่าวไทย-อันดามันแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (10 ก.ย.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ระบบรางของประเทศไทยในปัจจุบัน มีการใช้ประโยชน์จากรางเพียง 30% เท่านั้น ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแล้ว จะมีการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงตามมาอีกในอนาคตอีก เพื่อเพิ่มโครงข่ายเชื่อมต่อทั้งภายในและระหว่างประเทศ ซึ่งตนจะทำให้การใข้ประโยชน์เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ให้ได้

ดึงเอกชนร่วมลงทุน
ดังนั้น จึงได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ร่วมกันตรวจสอบมีสลอตอยู่ทั้งหมดเท่าไหร่ และทางร.ฟ.ท.และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.ร.ฟ.ท.) ต้องร่วมกันดูว่าจะมีประสิทธิภาพทำงานขนาดไหน

หากทำเต็มที่แล้วยังมีส่วนที่เหลืออยู่อีก ต้องนำส่วนที่เหลือนั้นมาให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการ ซึ่งการเข้ามาของเอกชนจะต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาด้วย และต้องเปรียบเทียบการบริหารจัดการ

“เมื่อเอกชนเข้ามา ต้องให้ความสำคัญกับประชาชนก่อน หากบริการไม่ดีและราคาไม่สมเหตุสมผล ก็เชื่อว่าประชาชนคงไม่มาใช้บริการ ต่อมาจึงเป็นเรื่องของผู้ประกอบการ เมือใช้เทคโนโลยีต้นทุนเป็นอย่างไร แล้วสถานีขนถ่ายสินค้าจะต้องเป็นเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) เพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ในทางหนึ่ง” นายศักดิ์สยามกล่าว

“นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงโครงการมอเตอร์เวย์ควบรถไฟทางคู่อีก 6,000 กม.ในอนาคตด้วย ซึ่งตอนนี้มีนักลงทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจ เช่น สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น เป็นต้น”



ยืดสัมปทานได้ 99 ปี
สำหรับหลักการคร่าวๆคือจะให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถทั้งในประเภทขนถ่ายสินค้าและขนส่งประชาชน ส่วนระยะเวลาร่วมลงทุน อาจจะต้องพิจารณาระยะเวลาลงทุนที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะขยายระยะเวลาจากเดิมที่กำหนด 30 ปีให้ยาวกว่านั้น เพื่อจูงใจด้านการลงทุน บางประเทศให้ยาวถึง 99 ปีด้วยซ้ำไป

“เราไม่กล้าทลายข้อจำกัด มัวแต่กลัวว่าทำแบบนี้เป็นการเอื้อเอกชนและขายชาติหรือเปล่า ซึ่งก็เป็นวาทกรรม เราก็มีเหตุผลอธิบายว่า ทำแล้วได้อะไร ประชาชนได้อะไร และเอกชนไปรอดหรือไม่ ส่วนเรื่องกฎหมายรองรับกำลังคุยกัน อาจจะต้องเสนอแก้กฎหมาย ซึ่งตอนนี้ ร่างพ.ร.บ.การขนส่งทางราง อยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา”

ทั้งนี้ในความคิดของตนแล้ว รูปแบบการร่วมทุนเอกชนจะต้องลงทุนทั้งการจัดหาขบวนรถ หัวลากมา ซึ่งหัวใจหลักตอนนี้อยู่ที่สหภาพฯ เพราะมีศักยภาพมากกว่าเอกชน ในอนาคตอาจต้องสร้างโรงเรียนเพื่อขับเคลื่อนบุคลากรรองรับโครงการดังกล่าว


ชี้สภาพัฒน์ไม่ได้ตีกลับทางคู่เฟส 2
ส่วนกรณีที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ตีกลับแผนพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 นั้น ไม่ได้เป็นการตีกลับทั้งโครงการตัวอย่างใด เพียงแต่ว่าทาง สภาพัฒน์ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของขบวนรถที่จะนำมาวิ่งบนโครงการที่มีเพิ่มขึ้นเท่านั้น

ซึ่งได้ให้นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ในฐานะประธานบอร์ดร.ฟ.ท., ปลัดกระทรวงคมนาคม และอธิบดีขร.ไปทำความเข้าใจกับนักลงทุนว่า ร.ฟ.ท.ไม่ได้มีปัญหาอะไร ซึ่งกำลังเร่งส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้สภาพัฒน์อยู่

นายกฯ รับไอเดียท่าเรือเชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน
นอกจากนี้ นายศักดิ์สยามยังกล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็มีดำริในที่ประชถมแล้วว่า ให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างท่าเรือน้ำลึกเชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน โดยมีรถไฟทางคู่ช่วงชุมพร – ระนองเชื่อมเป็นแลนด์บริดจ์ในลักษณะมอเตอร์เวย์ควบกับรถไฟทางคู่ ซึ่งต้องมีการบูรณาการและศึกษาให้ชัดเจนก่อน

เปิดนำร่องอีสานก่อน
ด้านนายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่ง กล่าวกับ”ประชาชาติธุรกิจ”ว่า รูปแบบการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมใช้ประโยชน์ระบบรางของรัฐนั้น ยังไม่ได้มีการสรุปรูปแบบการร่วมลงทุนที่ชัดเจน ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังและรวบรวมความคิดเห็นของภาคเอกชนอยู่ เพื่อจัดทำเป็นรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) เพื่อเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ให้ความเห็นชอบต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกอย่างน้อย 3 – 4 ปี

โดยคาดว่าโครงการนี้จะนำร่องในเส้นทางภาคอีสานก่อน เนื่องจากขณะนี้โครงการรถไฟทางคู่เฟสแรกกำลังทยอยก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งเอกชนที่จะมาดำเนินการจะต้องจัดหาขบวนรถเพื่อขนส่งทั้งสินค้าและประชาชน ซึ่งจากผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า เมื่อประเทศไทยสามารถพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ได้ทั้งหมดแล้ว จะทำให้ช่วงเวลาให้บริการนอกจาก ร.ฟ.ท. เหลืออีก 70%

ส่วนประเด็นด้านข้อกฎหมายนั้น ยอมรับว่าการที่จะให้เอกชนเข้าไปใช้รางรถไฟนั้นขัดกับกฎหมาย พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย 2494 ซึ่งในระหว่างที่กำลังรอ พ.ร.บ.ของทางกรมรางนั้น อาจจะมีการพิจารณาใช้พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วม ลงทุนในกิจการของรัฐ 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ไปพลางก่อน แล้วเมื่อพ.ร.บ.ของกรมรางประกาศใช้จึงค่อยเขียนบทเฉพาะกาลกำกับลงไปภายหลังได้

"คมนาคม" ลุยแก้กฎหมายเปิดช่องเอกชนเดินรถไฟ 99 ปี
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 10 กันยายน 2563 เวลา 13:32 น.

คมนาคม เร่งแก้กฎหมายหนุนเอกชนเดินรถไฟ ลากยาวสัมปทาน 99 ปี ลั่นไม่ได้เอื้อเอกชน เตรียมเพิ่มประสิทธิภาพขนส่งทางราง 30% ภายใน 3 ปี

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ภายหลังการการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการระบบราง ว่า กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดต้องการที่จะดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมเดินรถในโครงข่ายของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เนื่องจากตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยระบบรางให้เป็นระบบหลักในการเดินทางและการขนส่งของประเทศให้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีการขนส่งทางราง 10.5 ล้านตันต่อปี แต่ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากรางรถไฟเพียง 30% เท่านั้น โดยตั้งเป้าเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งทางราง 16.8 ล้านตันต่อปี ภายใน 3 ปี (ปี2563-2565) ขณะที่ในอนาคตรัฐบาลมีแผนพัฒนาการขนส่งทางรางเพื่อให้มีการใช้โครงข่ายทางรางอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเกิดการเชื่อมต่อทางรางระหว่างประเทศมากขึ้น

เบื้องต้นต้องการให้ภาคเอกชนเข้าร่วมเดินรถในสล็อตที่การรถไฟฯยังไม่ได้มีการบริการ รวมทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีหลายรูป เช่น ให้เอกชนจัดหารถแล้วนำวิ่งให้บริการโดยต้องจ่ายเช่ารางให้กับการรถไฟฯ หรืออาจเป็นรูปแบบเช่าเดินรถคล้ายกับแผนฟื้นฟูกิจการฉบับปรับปรุงขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

ทั้งนี้การจะเปิดให้เอกชนเข้ามา จำเป็นที่จะต้องจูงใจ โดยเฉพาะอายุสัมปทานต้องกล้าที่จะให้สัมปทานแก่เอกชนแบบระยะยาวมากกว่า 30 ปี เพราะท้ายที่สุดเมื่อหมดอายุสัมปทานก็มีการต่อสัญญาเพิ่มเติมอยู่ดี ดังนั้นเสนอว่าควรเปิดให้เอกชนลงทุนเข้ามาลงทุนยาวเป็น 99 ปี เหมือนกับในหลายประเทศ ซึ่งไม่ใช่มองว่าทุกอย่างคือการเอื้อประโยชน์ให้กับภาคเอกชนเอกชน แต่ต้องดูว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไรด้วย เพราะถ้าถามว่าทำไมไม่มีเอกชนมาลงทุนในประเทศเรา เราต้องถามตัวเองด้วยว่าเรามีอะไรจูงใจ ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายอยู่แล้วเพื่อให้เกิดการพัฒนามากขึ้น



“เรามองประเทศเพื่อนบ้านเขากล้าออกระยะเวลาและให้สัมปทานในการประกอบการ ถ้าไม่กล้าทำลายขเอจำกัด และห่วงแต่การเอื้อประโยชน์ก็เป็นเรื่องยาก เรื่องเวลาไม่ใช่ปัญหา ถ้าเรามีการเขียนว่าจะกำกับดูแลอย่างไร”

อย่างไรก็ตามยืนยันว่าจากการพูดคุยกับเอกอัครราชทูตในหลานประเทศ แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน ทั้ง รัสเซีย สาธารณรัฐเช็ก เกาหลีใต้ รวมถึงสหรัฐอเมริกา โดยเบื้องต้นตั้งเป้าหมายว่าการให้ภาคเอกชนเป็นผู้ร่วมให้บริการระบบราง จะต้องสามารถขับเคลื่อนได้ภายในรัฐบาลชุดนี้ เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องรอพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กรมรางแล้วเสร็จ เนื่องจากมี พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2020 12:51 am    Post subject: Reply with quote

ความเห็นเรื่องสัมปทานรถไฟ

Unknow2 wrote:


ลองอ่านๆเรื่องการให้เอกชนร่วมเดินรถ สังหรว่าจะกระทบแผนติดไฟฟ้าชัวร์ เพราะนอกจากประเด็นให้เอกชนมาลงทุนสร้างทาง(แบบHST 3สนามบิน) มันมีเรื่องให้มาลงทุนติดไฟฟ้าด้วย



https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1019871698451309


ซึ่งดูแล้ว มีแววเอาSlotการเดินรถ ไปแลกกับให้เอกชนติดไฟฟ้าแน่ (แบบที่BTSเคยบอกสนใจเดินรถแหลมฉบัง-ขอนแก่น พร้อมลงทุนติดไฟฟ้า) เพราะสไตล์การลงทุนที่ผ่านๆมาของรัฐบาลนี้ คือให้เอกชนมาช่วยรับภาระให้ได้มากที่สุด แล้วเอาเงินที่เหลือไปทำโครงการอื่นต่อ



กลับมาที่เรื่องเคสตัวอย่างแหลมฉบัง-ขอนแก่น ถ้าสัญญามันเป็นเดินรถแหลมฉบัง-ขอนแก่นได้ชม.ละ3ขบวน/ทิศทาง(เห็นในสไลด์ มีของสเปนที่ใช้ระบบนี้) เป็นเวลา30ปี แลกกับติดไฟฟ้าให้+เงินอุดหนุน/ค่าเช่าราง(แล้วแต่ประมูล) ก็น่าสนอยู่ แต่ต้องกำหนดจำนวนขบวนต่อชม./ทิศทางนะ ไม่งั้นเดี๋ยวมีรายการติดไฟฟ้าให้ แล้วเลือกเอาแต่เวลาพีคๆไป เหลือแต่เวลาที่ไม่ค่อยมีคนเดินทางให้รฟท. หรือหนักกว่านั้นคือยึดรางไปเลย จะซวยเอาอีก



ถ้ามันจะมารูปแบบนี้จริงๆ แผนการติดไฟฟ้าของประเทศนี่ สงสัยโยนทิ้งไปได้เลย แต่ถ้ามันจะมา(เอกชนสนใจ) มันจะมาเร็วมาก รฟท.ทำเสริมจุดที่เอกชนยังไม่ทำ กับควบคุมให้มันเป็นระบบเดียวกันพอ (เช่น เคสBTSสนใจติดไฟฟ้าแหลมฉบัง-ขอนแก่น รฟท.ติดกทม.-แก่งคอย แค่นี้ก็เดินรถไฟฟ้าจากกทม.ถึงขอนแก่นได้แล้ว)



และยังไงราง1ราง เส้นทาง1เส้นทาง ควรมีผู้ประกอบการมากกว่า1ราย(คือควรมีรฟท.ยืนพื้น) เช่น กทม.โคราช ใน1ชม.อาจมี...

ขบวนรฟท. 4 ขบวน/ทิศทาง

ขบวนเอกชนA 2 ขบวน/ทิศทาง

ขบวนเอกชนB 1ขบวน/ทิศทาง



มันจะได้มีการแข่งขันกัน ถ้ารฟท.ห่วย ไปขึ้นเอกชนA ถ้าเอกชนAห่วย ไปขึ้นเอกชนB ระบบตั๋ว รวมทั้งการจองตั๋ว ให้หน่วยงานกลางดูแล ไม่งั้นถ้าประมูลให้เอกชนรายเดียวมาเดินรถ(อารมณ์ประมาณรถไฟฟ้า) แล้วรฟท.กินค่าเช่าราง/ซ่อมรางอย่างเดียว เอกชนจะบริการห่วยยังไง ก็ทำอะไรไม่ได้ เหมือนระบบรถไฟของอังกฤษ (ประมูลเป็นภาคๆไป ภาคใต้ให้บริษัทA ภาคเหนือให้บริษัทB ผลคือระบบรถไฟค่อนข้างเน่า และแพง เมื่อเทียบกับประเทศระดับเดียวกัน เพราะในเส้นทางนั้นๆ บริษัทที่ประมูลได้ คือผูกขาดไปเลย)


https://www.skyscrapercity.com/threads/srt-state-railway-of-thailand-part-6.1967145/page-130#post-169740875
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2020 12:58 am    Post subject: Reply with quote

แผนพัฒนาให้เอกชนร่วมเดินรถไฟ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 20:30 น.


เมื่อวานกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อสนับสนุนให้เอกชนร่วมเดินรถไฟ โดยการศึกษาการกำกับดูแลและระเบียบเพื่อรองรับการขนส่งทางราง ในเส้นทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
ผมเลยขอเอาข้อมูลจากการนำเสนอในงานมาสรุปให้เพื่อนๆฟังหน่อยครับ
{ยาวมากกกก ให้มือถืออ่านให้ฟังเถอะครับ}
—————————
ก่อนอื่นเราต้องปูพื้นกันก่อน
รู้หรือไม่ว่าบ้านเรา ขนส่งสินค้าผ่านทางระบบรางเพียงแค่ 1% ของการขนส่งรวมทั้งประเทศ
ปี 2562 มีการขนส่งสินค้า 10.5 ล้านตัน/ปี และขนผู้โดยสาร 37 ล้านเที่ยว/ปี
ซึ่งในรัฐบาลที่ผ่านมาตลอดช่วง 10 ปี ทุกรัฐบาลก็มีแผนการพัฒนาทางระบบราง มาตลอด เพื่อจะขยายขีดความสามารถของระบบรางให้แข่งขันกับระบบอื่นๆได้ และเพิ่มประมาณจากขนส่งสินค้าทางระบบรางเพิ่มขึ้น
ซึ่งจากแผน ก็มีการวิเคราะห์ว่าในระยะ 20 ปีข้างหน้า ถ้ามีการพัฒนาระบบรางอย่างเป็นระบบ จะสามารถเพิ่มการขนส่งสินค้าทางรางไปได้ถึง 10% ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาจราจรบนท้องถนนได้อีกด้วย
โดยการอำนวยความสะดวก และลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้า ซึ่งแผนหลักคือการพัฒนาเป็นทางรถไฟทางคู่ ทัวประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการรอหลีกทาง และ คุมเวลาไม่ได้
ดังนั้นเราจึงมีการพัฒนาทางรถไฟทางคู่ ระยะทางร่วม 2,400 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 เฟส
ซึ่งปัจจุบันเรากำลังก่อสร้างเฟส 1 อยู่ส่วนใหญ่จะแล้วเสร็จในปี 64-65
ส่วนเฟส 2 จะแบ่งพัฒนาตามสายตามความจำเป็น ซึ่งตอนนี้กรมการขนส่งทางรางได้ทำแผนใหม่ ร่วมกับสภาพัฒน์ และการรถไฟอยู่
ซึ่งทางคู่จะสามารถรองรับรถไฟเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 4 เท่าตัว เพราะมีการปรับอาณัติสัญญาณเข้ามาช่วยในการบริหารการเดินรถด้วย
ดังนั้นเมื่อทางคู่แล้วเสร็จ เราจะมีศักยภาพในการรองรับรถไฟได้เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าทันที
————————
แต่อย่างที่เราทราบกันว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย มีปัญหาสภาพคล่องและ ขาดทุนสะสมร่วม 100,000 ล้าน
จึงทำให้การรถไฟไม่มีความคล่องตัวในการพัฒนาเส้นทางรถไฟให้บริการได้ทันและสอดคล้องกับความต้องการของเอกชน ทั้งขนคน และขนสินค้า
ถ้าเรามีของในมืออยู่ แต่ถ้าเราใช้งานได้ไม่เต็มที่มันก็ถือว่าเป็นค่าเสียโอกาสของประเทศใช่มั้ยครับ ตัวอย่างเช่นโครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางจิระ-ขอนแก่น ซึ่งเสร็จแล้ว แต่ก็ยังมีรถไฟให้บริการ 10 ขบวน/วัน เท่าเดิม
ดังนั้นทางกระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางราง ก็มีการศึกษารูปแบบในการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมเดินรถบนรางของการไฟในอนาคต
————————
รูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมเดินรถไฟ
เบื้องต้นจะมีการศึกษาให้เอกชนเข้ามาเช่าช่องการเดินรถ (time slot) ที่ยังว่างอยู่ของการรถไฟ ซึ่งเป็นการใช้งานทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด!!!
โดยโครงการได้มีการศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น, อังกฤษ,เยอรมัน และเสปน
ซึ่งเราได้ทำการศึกษาและเปรียบเทียบ เพื่อจะเอามาเป็น case ในการศึกษาเพื่อนำมาใช้ในบ้านเรา โดยมีแนวทางคือ
** การเปิดให้เอกชนร่วมเดินรถ
- รฟท. ให้เอกชนเช่าอุปกรณ์
- เอกชนเป็นเจ้าของอุปกรณ์ (รถจักร และล้อเลื่อน) ให้รฟท เดินรถ (แบบ TPI)
- รฟท. จ้างเอกชนเดินรถ
- เอกชน เป็นเจ้าของอุปกรณ์ (รถจักร และล้อเลื่อน) พร้อมกับเดินรถเอง
ซึ่งรูปแบบสุดท้ายนี้คือสิ่งที่เปลี่ยนระบบขนส่งทางรางบ้านเราได้ เพราะจะเข้ามาเสริมในช่องว่างของการให้บริการของการรถไฟได้
โดยจะเน้นไปที่การเปิดให้เอกชนหลายรายเข้ามาแข่งขันกันบนรางร่วมกัน และเอกชนจะลงทุนเฉพาะอุปกรณ์ (รถจักร และล้อเลื่อน) พร้อมทั้งโรงซ่อมบำรุง
** การร่วมทุนในด้านอื่นๆ
- ร่วมทุนในการก่อสร้างเส้นทางและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้กับการรถไฟ โดยรูปแบบนี้เอกชนจะมีความเป็นเจ้าของเส้นทาง และมีสิทธิ์ในการควบคุมการใช้ทางได้ (ขึ้นอยู่กับสัญญา) ตัวอย่างเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน
ซึ่งตัวนี้และที่มันไปพันกับประเด็นที่รัฐมนตรีพูดเรื่องการแก้กฎหมายเพื่อขยายสัมปทานให้สามารถทำได้ 99 ปี
เพราะการทำโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในระยะ เวลาสั้นจะมีปัญหากับการคืนทุนอย่างมาก ซึ่งถ้ามีการขยายระยะเวลาออกไปเป็น 99 ปีแล้ว จะสามารถดึงดูดเอกชนได้มากขึ้น
ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับการให้เอกชนรับสัมปทานยาวขนาดนี้ ถ้าเป็น รูปแบบ 50+49 ยังพอเข้าใจได้ และน่าจะมีความเหมาะสม และลดโอกาสในการมีปัญหากับสัมปทานในระยะยาวมากๆ เพราะอย่างน้อยก็ยังมีโอกาสที่สามารถแก้ไขรายละเอียดสัญญาหรือไม่ต่อสัญญาได้ที่กลางทาง
- การบริหารจัดการ CY
- การบริหารจัดการสถานี และอื่นๆ
————————
ซึ่งสรุปในรายละเอียดความรับผิดชอบของการเปิดให้เอกชนให้บริการ คือ
- การรถไฟ จะรับผิดชอบในการก่อสร้าง บำรุงรักษา สาธารณูปโภคพื้นฐาน และโครงสร้างพื้นฐานของระบบราง เช่น ราง อาณัติสัญญาณ สถานี
- เอกชน จะรับผิดชอบในการให้บริการเดินรถ, ซ่อมบำรุงรถจักร ,ล้อเลื่อน และทำการตลาดเรียนลูกค้า
ซึ่งรูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมเดินรถคือ
1. เอกชนทำการยื่นขอใช้เส้นทาง กับการรถไฟ
2. การรถไฟ พิจารณาความเหมาะสม และแผนธุรกิจ แล้วจึงเปิดให้ประมูล หรือต่อรองข้อเสนอจากเอกชน
โดยในเบื้องต้นจะใช้เกณฑ์และกฏหมาย จาก พรบ.ร่วมทุน 2562 ระหว่างรอ พรบ.กรมการขนส่งทางราง ซึ่งจะมีรายละเอียดหลักฏเกณฑ์การร่วมใช้รางอยู่ด้วย
————————
จากในรายละเอียด ได้เปิดช่องให้มีรูปแบบการร่วมทุนเป็น 2 แบบ หลักๆคือ
- แบบสัมปทาน ซึ่งจะเป็นการที่รัฐเป็นผู้กำหนดโครงการ และเป็นโครงการเส้นทางใหม่ ซึ่งจะมีการลงทุนที่สูง มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เหมือนกับโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน
- แบบ open acces หรือแบบเปิดกว้าง ให้เอกชนมาขอเข้าใช้รางได้ตามความต้องการ
ซึ่งแบบนี้จะเหมือนกับการรถไฟมีถนนอยู่ ใครอยากเข้ามาวิ่งบนถนน แต่ต้องจ่ายค่าผ่านทาง
แบบนี้จะรองรับการเดินทางระหว่างประเทศ ซึ่งจะสามารถนำรถจักรของประเทศอื่นซึ่งอยู่ในขนาดรางเท่ากัน และรางสามารถรองรับได้มาวิ่งร่วมกัน
รวมถึงการเปิดขบวนรถไฟใหม่ๆ เช่นรถดีเซลรางเชิงพาณิชย์
แต่รูปแบบนี้จะไม่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล และต้องจ่ายค่าใช้รางให้แก่รัฐบาลด้วย
————————
ประเด็นที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมคือ
รูปแบบการได้มาซึ่งสัมปทาน
- ประมูล
- เจรจาตรง
รูปแบบของใบอนุญาติ
- แบบเปิดไม่จำกัดเส้นทาง
- แบบจำกัดเส้นทาง ต้องขอเป็นเส้นๆไป (สนับสนุนแบบนี้)
จำนวนผู้ประกอบการในแต่ละเส้นทาง
- แบบ Exclusive รายเดียว (เหมาสำหรับ รูปแบบร่วมทุนสร้างเส้นทางใหม่)
- แบบจำกัดจำนวนผู้ประกอบการ
- ไม่จำกัดจำนวนผู้ประกอบการ (เอาให้สุดแบบนี้ไปเลย)
การควบคุมราคา
- ควบคุมตามเกณฑ์มาตรฐาน
- ควบคุมตามกลไกตลาด และใช้การรถไฟเป็น base line ราคา
ซึ่งยังมีรายละเอียดและกฏเกณฑ์ในการให้บริการอีกมากที่ต้องทำเคลียร์ก่อนจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถได้ โดยเฉพาะเรื่องพนักงานขับรถ (พขร.)
ในอนาคตจะต้องมีใบขับขี่ และมีหน่วยงานกลางในการสอบตามเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้พนักงานขับรถเป็นมนุษย์ทองคำ ที่ใครๆก็ต้องการตัวแน่นนอน
—————————
จากการวิเคราะห์ศักยภาพของโครงข่ายรถไฟที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และที่จะพัฒนาเป็นทางคู่ในอนาคต
ทางรถไฟยังมีศักยภาพอยู่อีกมาก เช่น
ช่วงชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรี มีความจุทางสูงสุด 212 ขบวน/วัน แต่ในปัจจุบันให้บริการสูงสุดอยู่แค่ 63 ขบวน/วัน
ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น มีความจุ 116 ขบวน/วัน แต่ในปัจจุบันให้บริการสูงสุดอยู่แค่ 41 ขบวน/วัน
จากที่เห็นเรายังมีช่องให้สามารถเดินรถได้อีกอย่างน้อยเท่าตัวเลย
————————
แผนการพัฒนาทางรถไฟในอนาคต เราจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนการขนส่งทางรางอีกมาก
เช่น การทำทางคู่เฟส 2, เพิ่มศักยภาพ SRTO และ ICD, ก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่, ทำทางรถไฟสายแยกเพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่อุตสาหกรรม และอื่นๆ
พอพูดถึงโครงการทางคู่ เฟส 2 ผมขอมาให้ข้อมูลเรื่องนี้จากที่หลายๆคนเข้าใจผิดว่ายกเลิกเพราะไม่มีเงิน
แต่จากข้อมูล ของท่านอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ชี้แจงว่า เรามีการปรับช่วงการก่อสร้างใหม่ ตามความสำคัญของโครงการ ไม่ได้สร้างพร้อมกันเหมือนเฟส 1
เพราะความต้องการและความจุทางของแต่ละเส้นทางที่เหลืออยู่ก็สามารถชะลออกไปได้ เพื่อการใช้งบประมาณให้คุ้มค่าที่สุด
โดยในเส้นแรกของทางคู่เฟส 2 ที่จะนำมาทำก่อนคือช่วง ขอนแก่น-หนองคาย ซึ่งเป็นเส้นยุทธศาสตร์ในการขนส่งสินค้าเชื่อมระหว่าง อาเซียน-จีน ผ่านทางโครงการรถไฟ ลาว-จีน มาเปลี่ยนรถที่ชายแดนไทย สถานีนาทา เข้าระบบราง 1 เมตร แล้วสามารถเชื่อมต่อไปได้ทั้งอาเซียน
————————
อีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญของระบบราง คือการเชื่อมต่อทางรถไฟเข้ากับนิคมอุตสาหกรรม
ซึ่งจริงๆมีหลายๆนิคมที่ติดทางรถไฟ แต่ไม่ได้ใช้และไม่สามารถใช้ทางรถไฟในการขนส่งสินค้าได้ เช่นนิคมนวนคร, บางปะอิน, ไฮเทค, อมตะซิตี้ชลบุรี และอีกหลายๆที่
ตรงนี้คือขุมทรัพย์ของระบบราง ซึ่งถ้าสามารถเชื่อมต่อและส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางรางได้ จะสามารถลดปริมาณจราจรบนถนนได้มหาศาลแน่นอน
————————
สุดท้ายผมก็หวังว่าในระยะ 3-4 ปีหลังจากที่ทางคู่เฟส 1 เปิดให้บริการเต็มที่ เราคงได้เห็นการให้บริการของเอกชนบนรางรถไฟ ทั่วประเทศ ทั้งรถไฟโดยสารและรถไฟสินค้า
เป็นทางเลือกให้กับประชาชน และเพิ่มศักยภาพระบบรางของประเทศเราให้ได้เป็นเบอร์ต้นๆในอาเซียนให้ได้
ที่สำคัญที่สุด หวังว่าจะสามารถมาช่วยแก้ปัญหาการขาดทุนของการรถไฟจากรายได้การให้เช่ารางด้วยนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2020 11:46 am    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางรางให้การต้อนรับปลัดกระทรวงคมนาคมในคราวมาตรวจราชการ และร่วมแสดงมุฑิตาจิต เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการปี พ.ศ. 2563
ข่าวกรมการขนส่งทางราง
ประจำที่วันที่ 14 กันยายน 2563 เวลา 17:15 น.

วันนี้ (14 ก.ย. 63) นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติเดินทางมาตรวจราชการ โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานราชการ ให้การต้อนรับ ณ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) โดยนายสรพงศ์ฯ ได้กล่าวบรรยายสรุปภาพรวมของ ขร. ประกอบด้วย 1.โครงการสร้างองค์กรและอัตรากำลัง 2.การดำเนินงานด้านระบบรางตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อาทิเช่น การแก้ไขขับเคลื่อนทางคู่และทางสายใหม่ การขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูง การผลักดันการพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล การผลักดันรถไฟฟ้าในเมืองหลักภูมิภาค เป็นต้น
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายและให้โอวาสในการดำเนินงานแก่ ขร. ดังนี้
1. การดำเนินงานของ ขร. ในฐานะผู้ดูแล กำกับ มาตรฐานระบบการขนส่งทางราง เป็นการดำเนินงานที่สำคัญและยากมาก เพราะต้องนำนโยบายมาเปลี่ยนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ต้องเรียนรู้สถานการณ์ตลอดเวลา รู้จักปรับตัวกับบริบทที่เปลี่ยนไป รวมทั้ง ต้องรอบคอบในการพิจารณารายละเอียดในเนื้อของงานอย่างถี่ถ้วน
2. การที่จะทำให้ ขร. เป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ/น่านับถือนั้น ต้องเริ่มจากบุคลากรภายในองค์กร โดยการทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มประสิทธิภาพ เต็มกำลัง เพื่อช่วยผลักดันให้องค์กรเป็นที่รู้จักของประชาชน
3. การทำงานต้องมีหลักการ โดยการทำความเข้าใจ เรียนรู้ สะสมประสบการณ์ให้มาก เพื่อให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน
4. การเป็นข้าราชการในปัจจุบัน มีหลักการอยู่ 4 ข้อ ได้แก่ 1) งานมาก 2) ยากขึ้น 3) เวลาน้อย และ4) ความคาดหวังสูง โดยการทำงานของข้าราชการนั้นต้องทำงาน “เพื่อรอยยิ้มของประชาชน”
จากนั้นนายสรพงศ์ฯ ได้นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานราชการ เข้าแสดงมุฑิตาจิตต่อปลัดกระทรวงคมนาคม เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการปี พ.ศ. 2563 โดยนายชัยวัฒน์ฯ เป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อ ขร. เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มในการก่อตั้ง ขร. ตั้งแต่ครั้งเมื่อดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รวมทั้ง ช่วยผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง
***********************************************
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2020 4:10 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”โยกย้าย2ตำแหน่งเด้ง”ทวี อธิบดีกรมท่าอากาศยาน” นั่งตบยุงผู้ตรวจฯ-โยกอธิบดีกรมรางนั่งรองปลัดคมนาคม
By JNC Team - N -
วันที่ 15 กันยายน 2563

คมนาคมลุก!หลังโยก”ทวี”อธิบดีกรมท่าอากายานนั่งตบยุงผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม พร้อมดันอิบกรขนส่งทางราง นั่งแท่นรองปลัดคมนาคมที่อายุน้อยที่สุด คาดอธิบดี ทย.คนใหม่ข้ามห้วยมาจากทางหลวง

ครม. ตั้ง “สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์” นั่งรองปลัดคมนาคม-ประธานบอร์ดการทาง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 15 กันยายน 2563 - 15:50 น.

ครม.โยกอธิบดีกรมราง-กรมท่านั่งรองปลัด-ผู้ตรวจ เคาะ”สรพงศ์” ประธานบอร์ดการทางคนใหม่

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงคมนาคม 2 ตำแหน่ง ดังนี้

1. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ทดแทนตำแหน่งเกษียณอายุราชการ

2.นายทวี เกศิสำอาง อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ในตำแหน่งที่ว่างอยู่

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) รวม 5 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้

1.นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ประธานกรรมการ
2.พลเรือตรี สุวิน แจ้งยอดสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3.นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4.นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญชัย โสวรรณวณิชกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. 2563 เป็นต้นไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2020 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

ความร่วมมือกับเยอรมันี
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันที่ 15 กันยายน 2563 - 18:23 น.

กรมการขนส่งทางราง ร่วมหารือสถานฑูตเยอรมัน ในประเด็นความร่วมมือด้านระบบรางไทย - เยอรมัน
วันนี้ (15 ก.ย. 63) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ให้การต้อนรับ Mr. Jan Scheer, Deputy Head of Mission and Head of Economic Department สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย และร่วมหารือในประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านระบบรางไทย-เยอรมัน ซึ่งมีแผนจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านระบบรางถ่ายทอดความรู้ให้แก่ฝ่ายไทย รวมถึงการดำเนินงานภายใต้สมาคมระบบรางไทย – เยอรมัน (German-Thai Railway Association: GTRA) เพื่อที่นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของไทยด้วยการสนับสนุนของฝ่ายเยอรมันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 64, 65, 66  Next
Page 14 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©