Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13258288
ทั้งหมด:13569564
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2022 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางเปิดตัวเลขผู้โดยสารระบบรางช่วงหยุดยาว4 วัน กว่า 2.5 ล้านคน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 00:11 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 00:11 น.

กรมราง เผยวันหยุด”พืชมงคล-วันวิสาขบูชา” 4 วัน ระบบรางมีผู้ใช้บริการรวมกว่า 2.5 ล้านคน รถไฟสายใต้สีประชาชนเดินทางมากสุด รถไฟฟ้าในเมืองมีผู้โดยสารกว่า 2.3 ล้านคน-เที่ยว สัปดาห์นี้ เปิดเทอมคาดผู้โดยสารเพิ่มอีก

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันพืชมงคลต่อเนื่องจนถึงวันวิสาขบูชา (วันที่ 13-16 พฤษภาคม 2565) ที่ผ่านมา มีประชาชนใช้บริการระบบราง รวมทั้งสิ้น 2,510,224 คน-เที่ยว (แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมือง 180,342 คน-เที่ยว และระบบรถไฟฟ้า 2,329,882 คน-เที่ยว) ประกอบด้วย


1) รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีผู้ใช้บริการรวม 180,342 คน-เที่ยว แบ่งเป็น
ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 75,912 คน-เที่ยว และผู้โดยสารเชิงสังคม 104,430 คน-เที่ยว
มีผู้โดยสารขาออกสะสม 88,558 คน-เที่ยว และผู้โดยสารขาเข้า 91,784 คน-เที่ยว
ซึ่งรถไฟสายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 66,752 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 31,721 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 35,031 คน-เที่ยว)
รองลงมาเป็นสายตะวันออกเฉียงเหนือ 44,904 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 22,817 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 22,087 คน-เที่ยว)
สายเหนือ 36,086 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 18,153 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 17,933 คน-เที่ยว)
สายตะวันออก 21,619 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 10,384 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 11,235 คน-เที่ยว) และ
สายมหาชัย/แม่กลอง 10,981 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 5,483 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 5,498 คน-เที่ยว)

ทั้งนี้ ตลอดช่วงวันหยุดต่อเนื่อง 4 วันมีเหตุอันตรายต่อการเดินรถไฟ จำนวน 3 ครั้ง (ขบวนรถชนโค 3 ครั้ง โคเสียชีวิต 5 ตัว) ไม่มีผู้ใดเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ

2) ระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สะสม 4 วัน มีผู้ใช้บริการ 2,329,882 คน-เที่ยว ประกอบด้วย
Airport Rail Link 122,704 คน-เที่ยว
สายสีแดง 35,937 คน-เที่ยว
สายฉลองรัชธรรม(สีม่วง) 79,813 คน-เที่ยว
สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 629,670 คน-เที่ยว และ
รถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) 1,461,758 คน-เที่ยว

ทั้งนี้ ตลอดช่วงวันหยุดต่อเนื่อง 4 วัน มีรถไฟฟ้าขัดข้องรวม 5 ครั้ง (ระบบขับเคลื่อนขัดข้อง 4 ครั้ง และระบบเบรก 1 ครั้ง มีขบวนรถไฟฟ้าเสียเวลามากกว่า 5 นาที รวม 5 เที่ยววิ่ง)
สำหรับสัปดาห์นี้ ขร. คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการระบบรางเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก เนื่องจากมีเปิดภาคเรียนการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบ on-site (เรียนที่โรงเรียน) และ ขร. ได้มีการประสานให้หน่วยงานผู้ให้บริการเตรียมความพร้อม รองรับการใช้บริการอย่างเต็มประสิทธิภาพ
กรมการขนส่งทางราง ห่วงใยผู้ใช้บริการระบบราง เดินทางสะดวก ปลอดภัย ห่างไกล Covid-19
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/5191152250931678
https://www.facebook.com/artie.vannapruges/posts/10166294315340043/

กรมการขนส่งทางราง เปิดจำนวนผู้ใช้ระบบราง ช่วงวันหยุดยาว (วันพืชมงคล-วันวิสาขบูชา) รวมกว่า 2.5 ล้านคน
https://www.thailandplus.tv/archives/535283

หยุดยาว 4 วัน! ผู้โดยสารใช้บริการรถไฟ-รถไฟฟ้า กว่า 2.5 ล้านคน
https://www.dailynews.co.th/news/1057193/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2022 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

‘กรมรางฯ-JICA’ ถกร่วมลุยจัดทำ M-MAP2 จ่อตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายฯ ‘รัฐ-เอกชน-กทม.-ท้องถิ่น’ ชูโมเดลรถไฟญี่ปุ่น
วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

“กรมรางฯ ถกร่วม JICA จัดประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางกรุงเทพฯ–ปริมณฑล–พื้นที่ต่อเนื่อง เฟส 2 “M-MAP2” จ่อตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายร่วมรัฐ–เอกชน–กทม.-ท้องถิ่น ด้านญี่ปุ่นยันพร้อมให้ความร่วมมือเต็มที่
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมร่วมกับนายโอโนะ โทโมฮิโระ ผู้อำนวยการกลุ่มงานขนส่งแผนกการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) พร้อมด้วยคณะทำงานฝ่ายไทยว่า ขร.ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ Record of Discussion (R/D) ภายใต้การดำเนินโครงการ “Formulation of the Second Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region (M-MAP2) Project” ร่วมกับ JICA และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ JCC เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2564 เพื่อสนับสนุนการจัดทำ M-MAP2 ให้มีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้



ทั้งนี้ ปัจจุบัน ขร. อยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 ซึ่งการประชุม JCC ในครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรก เพื่อรายงานกรอบการดำเนินโครงการการจัดทำ M-MAP2 รวมถึงความก้าวหน้าของแผนการดำเนินโครงการฯ และการคาดการณ์ความต้องการการเดินทางด้วยระบบรางให้คณะกรรมการฯ ได้รับทราบ และร่วมกันพิจารณาในประเด็นดังกล่าว

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการ JCC ในวันนี้ ที่ประชุมได้มีการเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อพัฒนาโครงข่ายและกำหนดนโยบายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP2 Platform) มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนวทาง นโยบาย และวางแผนการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีองค์ประกอบหลักจากผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ



อีกทั้งหน่วยงานผู้ให้บริการเดินรถ เช่น บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หน่วยงานภายใต้กรุงเทพมหานคร เช่น สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง สำนักการโยธา รวมถึงหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร

ขณะเดียวคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นมีความเห็นว่า หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างมากต่อการขยายโครงข่ายรถไฟในเมืองหลักไปยังเมืองที่อยู่รอบๆ เนื่องจากรถไฟนอกเมืองของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน เกิดขึ้นมาจากการร่วมทุนของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ เป็นผู้ลงทุนในการก่อสร้าง

อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฝ่ายไทยเห็นด้วยกับแนวคิดของคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่น เนื่องจากเห็นว่าหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนซึ่งจะทราบความต้องการของประชาชน และมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาถนนหรือทางเท้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสถานีรถไฟมากยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นเป็นอย่างสูงที่ได้ให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าในเมืองของประเทศไทยมาโดยตลอด โดยไทยกับญี่ปุ่นนั้น มีความสัมพันธ์ฉันมิตรมาเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะขร.ที่ผ่านมาเรามีความร่วมมือกับญี่ปุ่นมาโดยตลอด และมีประเด็นที่ต้องการให้ JICA ช่วยให้คำปรึกษาเพิ่มเติมในประเด็น การเชื่อมต่อระหว่างรถโดยสารสาธารณะและรถไฟฟ้า การเก็บภาษีที่ดิน และการออกแบบระบบขนส่งมวลชนทางรางให้มีสภาพแวดล้อมที่สามารถรองรับผู้โดยสารทุกๆกลุ่ม ทั้งในเรื่องการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความเท่าเทียมระหว่างเพศต่อไป” นายพิเชฐ กล่าว

ด้านนายโอโนะ โทโมฮิโระ ผู้อำนวยการกลุ่มงานขนส่งแผนกการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการหารือ และอนุมัติกรอบการดำเนินการของโครงการ แผนงานต่างๆ และระยะเวลาดำเนินการของโครงการ สำหรับการประชุม JCC ในครั้งที่จะเกิดขึ้นถัดไป

โดยจะเป็นการจัดขึ้น เพื่อติดตามการดำเนินการ หารือ และอนุมัติประเด็นต่างๆ ร่วมกันในโครงการ ผ่านการประสานงานและทำงานร่วมกับหน่วยงานขนส่งสาธารณะซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ยังกล่าวขอบคุณท่านประธานและผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน สำหรับข้อคิดเห็นหลายประการ และมีความเชื่อมั่นว่าการทำงานร่วมกัน จะสามารถร่วมกันพัฒนาแผนแม่บทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทางฝ่ายญี่ปุ่นยินดีที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/310267294631073
https://www.facebook.com/transportjournalnews/posts/5133965863362324
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2022 11:48 pm    Post subject: Reply with quote

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
โดยแต่งตั้งนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/310371064620696

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘ พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์’ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรางฯ คนที่ 4 พร้อมแต่งตั้ง 2 ผู้ตรวจราชการฯ เกษียณ 1 ต.ค.นี้
วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์" เป็นอธิบดีกรมรางฯ คนที่ 4 มีผลตั้งแต่ 21 พ.ค. 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 21:48 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 21:48 น.

“เว็บไซต์ราชกิจจาฯ” เผยแพร่ประกาศสำนักนายกฯ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรางฯ คนที่ 4 พร้อมแต่งตั้ง 2 ผู้ตรวจราชการฯ เกษียณ 1 ต.ค. 65

วันนี้ (24 พ.ค. 2565) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ความว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม2565 ทั้งนี้ นายพิเชฐ นับเป็นอธิบดีกรมการขนส่งทางรางคนที่ 4


นอกจากนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนารม ให้ดำรงตำแหน่งประเภมบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้

นางพรรณี พุ่มพันธ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
นายอภิสิทธิ์ พรหมเสน รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 3 ตำแหน่ง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ประกอบด้วย 1.นางพรรณี พุ่มพันธ์ เกษียณอายุราชการวันที่ 1 ต.ค. 2565 2.นายอภิสิทธิ์ พรหมเสน เกษียณอายุราชการวันที่ 1 ต.ค. 2565 และ 3.นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ เกษียณอายุราชการวันที่ 1 ต.ค. 2575

ทั้งนี้ การแต่งตั้งดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากกระทรวงคมนาคมมีตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงที่ว่างลง หลังจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งเดิมเกษียณอายุราชการสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอื่น


อ่านราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/115/T_0004.PDF

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/115/T_0005.PDF
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2022 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘กรมรางฯ-JICA’ ถกร่วมลุยจัดทำ M-MAP2 จ่อตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายฯ ‘รัฐ-เอกชน-กทม.-ท้องถิ่น’ ชูโมเดลรถไฟญี่ปุ่น
วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/310267294631073
https://www.facebook.com/transportjournalnews/posts/5133965863362324


กรมราง- JICA ถก “M-MAP2” แนะตั้งกก.ร่วม”รัฐ-เอกชน-ท้องถิ่น”วางแผนขยายโครงข่ายระบบราง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:29 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:29 น.

กรมราง- JICA ถก แผนแม่บท “M-MAP2” พัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง กรุงเทพฯและพื้นที่ต่อเนื่อง จ่อตั้งคณะกรรมการร่วม”รัฐ-ท้องถิ่น-เอกชน”พัฒนาโครงข่ายและวางนโยบายให้ตรงความต้องการเพื่อประสิทธิภาพและบรรลุผลตามเป้าหมาย

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานการประชุมร่วมกับนายโอโนะ โทโมฮิโระ ผู้อำนวยการกลุ่มงานขนส่งแผนกการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA (Japan International Cooperation Agency) พร้อมด้วยคณะทำงานฝ่ายไทย ซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชนทางราง และคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่น เข้าร่วมประชุม “คณะกรรมการประสานงานภายใต้การดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่ 2 (Mmap2) (Joint Coordinating Committee : JCC)

นายพิเชฐ กล่าวว่า กรมการขนส่งทางราง ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ Record of Discussion (R/D) ภายใต้การดำเนินโครงการ “Formulation of the Second Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region (M-MAP2) Project” ร่วมกับ JICA และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ JCC เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 เพื่อสนับสนุนการจัดทำ M-MAP2 ให้มีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

โดยปัจจุบัน ขร. อยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 ซึ่งการประชุม JCC ในครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกเพื่อรายงานกรอบการดำเนินโครงการการจัดทำ M-MAP2 รวมถึงความก้าวหน้าของแผนการดำเนินโครงการฯ และการคาดการณ์ความต้องการการเดินทางด้วยระบบรางให้คณะกรรมการฯ ได้รับทราบ และร่วมกันพิจารณาในประเด็นดังกล่าว

นายโอโนะ โทโมฮิโระ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการหารือและอนุมัติกรอบการดำเนินการของโครงการ แผนงานต่างๆ และ ระยะเวลาดำเนินการของโครงการ สำหรับการประชุม JCC ในครั้งที่จะเกิดขึ้นถัดไป จะเป็นการจัดขึ้นเพื่อติดตามการดำเนินการ หารือ และอนุมัติประเด็นต่างๆ ร่วมกันในโครงการ ผ่านการประสานงานและทำงานร่วมกับหน่วยงานขนส่งสาธารณะซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

และขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ที่ได้ให้ข้อคิดเห็นหลายประการ และมีความเชื่อมั่นว่าการทำงานร่วมกัน จะสามารถร่วมกันพัฒนาแผนแม่บทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทางฝ่ายญี่ปุ่นยินดีที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการ JCC วันนี้ ที่ประชุมได้มีการเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อพัฒนาโครงข่ายและกำหนดนโยบายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือ M-MAP2 Platform มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนวทาง นโยบาย และวางแผนการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีองค์ประกอบหลักจากผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หน่วยงานผู้ให้บริการเดินรถ เช่น บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หน่วยงานภายใต้กรุงเทพมหานคร เช่น สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง สำนักการโยธา รวมถึงหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร

โดยคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นมีความเห็นว่า หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างมากต่อการขยายโครงข่ายรถไฟในเมืองหลักไปยังเมืองที่อยู่รอบๆ เนื่องจากรถไฟนอกเมืองของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน เกิดขึ้นมาจากการร่วมทุนของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ เป็นผู้ลงทุนในการก่อสร้างโดยคณะทำงานฝ่ายไทยเห็นด้วยกับแนวคิดของคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่น เนื่องจากเห็นว่าหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนซึ่งจะทราบความต้องการของประชาชน และมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาถนนหรือทางเท้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสถานีรถไฟมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม นายพิเชฐ ได้ขอบคุณคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นเป็นอย่างสูงที่ได้ให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าในเมืองของประเทศไทยมาโดยตลอด โดยไทยกับญี่ปุ่นนั้น มีความสัมพันธ์ฉันมิตรมาเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะกรมการขนส่งทางรางที่ผ่านมาเรามีความร่วมมือกับญี่ปุ่นมาโดยตลอด และมีประเด็นที่ต้องการให้ JICA ช่วยให้คำปรึกษาเพิ่มเติมในประเด็น การเชื่อมต่อระหว่างรถโดยสารสาธารณะและรถไฟฟ้า การเก็บภาษีที่ดิน (Land Value Capture) และการออกแบบระบบขนส่งมวลชนทางรางให้มีสภาพแวดล้อมที่สามารถรองรับผู้โดยสารทุกๆกลุ่ม (Universal design) ทั้งในเรื่องการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความเท่าเทียมระหว่างเพศต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 27/05/2022 7:45 pm    Post subject: Reply with quote

กรมราง ตรวจความพร้อมสถานีรถไฟภายใต้กิจกรรม สถานีดีพร้อม
กรมการขนส่งทางราง ได้ลงพื้นที่ตรวจประเมินความพร้อมของสถานีรถไฟรถไฟเชียงใหม่ และสถานีนครลำปาง โดยสถานีเชียงใหม่ เป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายเหนือ เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2464 โดยสถานีเชียงใหม่มีเอกลักษณ์ที่สวยงาม และเคยได้รับรางวัล อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อปี พ.ศ. 2549
สำหรับสถานีรถไฟลำปาง เป็นสถานีรถไฟที่มีความเก่าแก่อีกสถานี โดยเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2459 และเคยได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแห่งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ ประจำปี พ.ศ. 2536
กรมการขนส่งทางราง ขอขอบคุณนายสถานี ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ให้การต้อนรับคณะผู้ตรวจประเมินเป็นอย่างดี ติดตามผลการพิจารณาผลรางวัลเร็วๆ นี้
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/312263557764780
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2022 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

ขร. จับมือ รฟฟท. ร่วมหาวิธีป้องกันระบบจ่ายไฟในรถไฟฟ้าสายสีแดง
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันพุธ ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 17:05 น.

แก้ระบบ "สายสีแดง" ขัดข้อง ปรับแยกจ่ายไฟฟ้าจาก 2 แหล่ง "ศูนย์ซ่อม" กับ "สถานีกลางบางซื่อ"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันพุธ ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 18:16 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 18:16 น.

ขร.ถก "รฟฟท." แยกแหล่งจ่ายไฟฟ้าระหว่างศูนย์ซ่อมบำรุงกับสถานีกลางบางซื่อ แก้ปัญหาระบบ "รถไฟสีแดง" ขัดข้อง พร้อมเร่งติดตั้งแผ่นป้องกันอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าเหนือหัวเพื่อลดผลกระทบต่อการเดินรถ

วันนี้ (1 มิถุนายน 2565) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ร่วมกับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ประชุมหารือ และลงพื้นที่ เพื่อหาแนวทางการป้องกันเหตุขัดข้อง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดง
ที่ผ่านมารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงมีความล่าช้าในการให้บริการ ซึ่งสาเหตุมาจากการขัดข้องด้านระบบไฟฟ้าบ่อยครั้ง โดยทาง รฟฟท. ได้ชี้แจงว่า เหตุขัดข้องดังกล่าวสามารถแก้ไขได้โดยใช้เวลาไม่นาน แต่เนื่องจากมีขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ โดยจำเป็นต้องลดระดับอุปกรณ์รับไฟฟ้า (แพนโทกราฟ) ของรถไฟฟ้าทุกขบวนที่อยู่ในบริเวณแหล่งจ่ายไฟเดียวกันลงก่อน จากนั้นจึงจะจ่ายกระแสไฟฟ้าอีกครั้ง และค่อยปรับระดับอุปกรณ์รับไฟฟ้าขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายกับขบวนรถ และอันตรายจากประกายไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้าในระบบ
ดังนั้นเพื่อป้องกันระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้องสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และให้บริการเดินรถได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขร. และ รฟฟท. จึงมีข้อสรุปร่วมกันว่า ให้แยกแหล่งจ่ายไฟฟ้าระหว่างศูนย์ซ่อมบำรุงกับสถานีกลางบางซื่อที่อยู่บนเส้นทางหลักที่ให้บริการ เพื่อลดผลกระทบต่อการเดินรถ เนื่องจากปกติศูนย์ซ่อมบำรุงมีกิจกรรมที่ใช้กระแสไฟฟ้ามากและมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการตัดกระแสไฟฟ้าได้ รวมทั้ง ขอให้ รฟฟท. พิจารณาเพิ่มอุปกรณ์ป้องกันระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าในจุดที่มีความเสี่ยง เช่น ติดตั้งแผ่นป้องกันอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะที่อยู่ใกล้ทางสัญจร ซึ่งมีโอกาสที่วัตถุหรือสิ่งของจะรบกวนอุปกรณ์หรือระบบจ่ายไฟฟ้า ทำให้เกิดการลัดวงจรชั่วคราว และส่งผลให้ระบบตัดกระแสไฟฟ้าตามมา รวมถึงเห็นควรพัฒนาระบบเฝ้าระวังและควบคุมระยะไกล (SCADA) ให้สามารถเก็บข้อมูลและวัดปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้าในอนาคตต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2022 9:03 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กกรมรางมองข้ามชอต โอนสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว หาวิธีรัฐ+ประชาชนแฮปปี้
ในประเทศ
คอลัมน์ : สัมภาษณ์พิเศษ
ผู้เขียน : ธนวัฒน์ บุญรวม
วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:25 น.

กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่ากลางฤดูฝน ว่าด้วยปมสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) คนใหม่ แห่งกระทรวงคมนาคม ในท่วงทำนอง “มองข้ามชอต” ในฐานะคีย์แมนรับโอนสัมปทาน วางแผนขั้นตอนปฏิบัติ แนวทางการบริหารจัดการมูลหนี้เดิม และไทม์ไลน์อย่างไร


โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลัก ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ในระยะเวลาสัญญาสัมปทาน 30 ปี (2542-2572) ใกล้ครบกำหนดสัมปทาน โดยอยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุน

โดยที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ยืนยันตามความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณา ครม. ภายใต้หลักการคำนึงประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนหรือผู้ใช้บริการ และต่อภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บริการขนส่งมวลชนทางรางอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าในประเทศไทยที่ผ่านมา มีทั้งรูปแบบให้สัญญาสัมปทานกับเอกชนหรือให้เอกชนร่วมให้บริการ ผ่านกระบวนการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ปี 2562 (ประมูล PPP) ซึ่งภาคเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงรายได้และการลงทุน หรือรูปแบบการให้สัญญาจ้างเดินรถ โดยภาครัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วเป็นผู้รับความเสี่ยงในรายได้

หากพิจารณาแนวทางการดำเนินงานภายหลังจากสัญญาสัมปทานครบกำหนด จะมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

เรื่องแรก “การใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด” กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในส่วนหลัก ครบกำหนดสัมปทานในปี 2572 เมื่อครบสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐ โดยในปี 2572 โครงสร้างพื้นฐานส่วนหลักถือเป็นของภาครัฐ หากให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการ มีผลทำให้เอกชนลงทุนเพิ่มเติมเพียงแค่ “จัดหาตัวรถ-บริการวิ่งเพิ่มเติม” เท่านั้น

จึงควรพิจารณาให้เกิดความชัดเจนถ่องแท้ว่า รัฐควรได้ประโยชน์จากการขยายสัมปทานเท่าไหร่ เนื่องจากเมื่อขยายสัมปทานแล้วเอกชนได้รับสิทธิครอบครองหรือสิทธิใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการแต่เพียงผู้เดียว ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจนกว่าจะครบเวลาสัมปทาน ดังนั้นควรพิจารณาถึงประโยชน์ที่รัฐและประชาชนควรจะได้รับอย่างสูงสุด

3 ทางออกแก้การเงิน กทม.
ถัดมา “ภาระทางการเงินของ กทม. (กรุงเทพมหานคร)” รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ กทม.มีภาระทางการเงินในงานโยธาของส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) กับ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) พร้อมกับมีภาระค่าจ้างเดินรถและบำรุงรักษาของส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 รวมทั้งค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล

ซึ่งในส่วนของ “การจ้างเดินรถและบำรุงรักษา” ได้มีสัญญาที่มีกำหนดเวลาครบสัญญาในปี 2585 ปัจจุบันยังไม่มีการบริหารจัดการรายได้ ไม่มีการจัดเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายที่ 2 ทำให้เกิดภาระทางการเงินพร้อมภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามมา


ดังนั้นควรพิจารณาแนวทางแบ่งเบาภาระทางการเงิน แบ่งเป็น 1.งานโยธาส่วนต่อขยาย ควรให้กระทรวงการคลังบันทึกเป็นรายการหนี้ไปก่อน ไม่ต้องชำระตอนนี้ 2.งานระบบ (E&M) ให้ขอผ่อนผันภาระดอกเบี้ยหลังหมดสัญญาสัมปทาน ควรนำรายได้ค่าโดยสารในโครงการหรือรายได้เชิงพาณิชย์มาชำระ

และ 3.ในส่วนค่าจ้างเดินรถ (O&M) ควรเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย 15 บาท มาจ่ายค่าเดินรถรายเดือน พร้อมระดมทุน Thailand Infrastructure Fund หรือทำ Securitization เพื่อใช้คืนหนี้

ชี้ช่อง “ค่าแรกเข้า 12 บาท”
สำหรับรูปแบบแนวทางในการบริหารรถไฟฟ้าสายสีเขียว หากมีการขยายสัญญาสัมปทานต้องกำหนดเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน หรือในกรณีรัฐดำเนินการเองผ่านสัญญาจ้างเดิน ต้องกำหนดนโยบายหรือข้อกำหนดที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ได้แก่

1. “การคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรม” ปัจจุบันไทยใช้รูปแบบค่าโดยสารรถไฟฟ้าตามระยะทาง (Distance-Base Fare) ตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ซึ่งค่าโดยสารแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ “ค่าแรกเข้า-ค่าโดยสารตามระยะทาง” โดยใช้ดัชนี CPI : Non Food & Beverages ประกอบการคำนวณ

ทั้งนี้ โครงสร้างค่าโดยสาร ณ ปัจจุบัน ควรมีอัตราค่าแรกเข้า 12 บาท และค่าโดยสารตามระยะทาง 2 บาท (สูตรคำนวณ 12+2X)

พร้อมทั้งมีการกำหนดเพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมการเดินทางสำหรับผู้ใช้รถไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน โดยมีอัตราค่าโดยสารที่ต่ำกว่าการซื้อตั๋วโดยสารแบบเที่ยวเดียว จะทำให้ผู้โดยสารจะได้รับประโยชน์จากค่าโดยสารที่ถูก

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากรายงานการศึกษา แนวทางดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ศึกษาโดย กทม. โดยวิเคราะห์ปริมาณผู้โดยสารในส่วนหลักและส่วนต่อขยายเพิ่มขึ้นที่เป็นการช่วยเติมโครงข่ายการเดินทางทั้งโครงการแล้ว หากมีการจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราเฉลี่ยต่อคน 25-30 บาทแล้ว ยังมีรายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสารที่เพียงพอต่อต้นทุนการดำเนินการ (Operating Cost) และค่าบำรุงรักษา (Maintenance Cost) ตลอดทั้งโครงการ

มัดให้แน่น-ห้ามเก็บซ้ำซ้อน
2.“เงื่อนไขการจัดเก็บค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อ” เพื่อผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลเรื่องการยกเว้นค่าแรกเข้าระบบ ไม่ให้มีการจัดเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนเมื่อมีการเดินทางเชื่อมต่อ โดยมีค่าโดยสารที่เหมาะสมและประชาชนสามารถเข้าถึงได้

แม้ว่าปัจจุบันจะมีนโยบายอย่างชัดเจนเรื่องการยกเว้นค่าแรกเข้าระบบซ้ำซ้อน แต่ในรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว (สัญญาสัมปทานสายสีเขียวปี 2542-2572) ไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขยกเว้นค่าแรกเข้าไว้อย่างชัดเจน อาจสร้างปัญหาการบูรณาการด้านอัตราค่าโดยสารในอนาคต

จึงเห็นสมควรพิจารณากำหนดเงื่อนไขการยกเว้นค่าแรกเข้าอย่างชัดเจนในร่างสัญญาสัมปทานที่จะมีในอนาคต หรือข้อกำหนดในสัญญาจ้างเดินรถภายใต้หลักการเดียวกัน เพื่อให้มีการยกเว้นค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อแบบไม่มีเงื่อนไขใด ๆ

รัฐต้องมีเอี่ยวรายได้เชิงพาณิชย์
3.“ข้อเสนอเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน” กำหนดเงื่อนไขที่ระบุชัดเจนถึงมาตรการส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ มาตรการส่งเสริมการเดินทางด้วยบัตรโดยสารรายเดือน รวมถึงมาตรการส่งเสริมการเดินทางเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน และมีบัตรโดยสารเพื่อลดค่าครองชีพ

ในอนาคตผู้ที่ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้เดินทางในชีวิตประจำวันควรมีสิทธิให้ชำระอัตราค่าโดยสารที่ถูกกว่าค่าโดยสารปกติ โดยให้ระบุ ไว้ในสัญญาสัมปทาน เช่น บัตรโดยสารรายเดือน บัตรจำนวนเที่ยว ที่มีอัตราค่าโดยสารต่ำกว่าการซื้อบัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียว

4.“รายได้เชิงพาณิชย์” เนื่องด้วยในปัจจุบันและในอนาคต รถไฟฟ้าสายสีเขียวตั้งอยู่ในพื้นที่ธุรกิจ แผนรายได้เชิงพาณิชย์จะมีมูลค่าสูงและสามารถก่อเกิดรายได้ ภาครัฐควรมีสิทธิส่วนแบ่งรายได้เชิงพาณิชย์เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งทางผู้รับสัมปทานมีส่วนแบ่งรายได้เชิงพาณิชย์ให้กับ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” และในอนาคตอาจนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการอุดหนุนค่าโดยสารให้ประชาชนในทุกกลุ่มต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2022 5:02 am    Post subject: Reply with quote

ระบบขนส่งทางราง ช่วยลดมลพิษทางอากาศ และเพิ่มคุณภาพชีวิต
วันเสาร์ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 06.00 น.

ประเทศที่เจริญแล้วมีระบบขนส่งทางรางใช้กันทุกแห่ง เพราะเป็นการขนส่งมวลชนที่ได้มาตรฐาน สะดวก ประหยัด รักษาสิ่งแวดล้อม และมีความปลอดภัยสูง และที่สำคัญคือช่วยให้ขนส่งผู้คนและสินค้าได้ครั้งละจำนวนมาก

ไลฟ์ วาไรตี สัปดาห์นี้ ดร.เฉลิมชัย ยอดมาลัยนำคุณไปสนทนาถึงความสำคัญและความจำเป็นของระบบการขนส่งทางรางกับ ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์อธิบดีกรมการขนส่งทางราง

ตามข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงนำระบบการขนส่งทางรางจากยุโรปเข้ามาในสยาม และในเอเชียเป็นประเทศแรกๆ แต่สุดท้ายแล้วระบบการขนส่งทางรางในบ้านเรากลับพัฒนาได้แบบลุ่มๆ ดอนๆ เรียนถามอธิบดีกรมรางฯ ว่าเป็นเพราะสาเหตุใดครับ



ดร.พิเชฐ : คนไทยรู้จักรถไฟมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วจริงๆ อย่างที่อาจารย์กล่าวไว้ คือเมื่อประมาณ 130 ปีที่แล้ว เมื่อบ้านเรามีรถไฟใช้ก็ส่งผลให้ความเจริญกระจายไปยังหัวเมืองต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม การคมนาคมติดต่อก็รวดเร็วขึ้น การค้าขายก็ขยายตัวมากขึ้น หัวเมืองต่างๆ พัฒนามากขึ้น นี่คือข้อเท็จจริง ครั้นต่อมาในยุคย้อนหลังไป 60-70 ปีที่แล้ว ก็จะเห็นว่ามีการเดินทางด้วยรถไฟมากขึ้น ผู้คนจากต่างจังหวัดเข้าสู่พระนครด้วยรถไฟ บ้างเข้ามาทำงาน บ้างเข้ามาเรียนหนังสือ บ้างเข้ามาค้าขาย คนเจ็บป่วยก็นั่งรถไฟเข้ามาหาหมอในโรงพยาบาลใหญ่ๆในกรุงเทพฯ ก็นับว่าสะดวกมากขึ้นในระดับหนึ่ง แต่เผอิญว่าในช่วงประมาณ 80 ปีที่ผ่านมา ได้มีการตัดถนนหนทางมากขึ้น การเดินทางด้วยรถยนต์ก็จึงเข้ามาทดแทนการเดินทางด้วยรถไฟ และเรือ ผู้คนชื่นชมการเดินทางด้วยรถยนต์มากกว่า เพราะเห็นว่าสะดวกและรวดเร็วกว่า จึงหันไปใช้รถยนต์กันมาก แต่สุดท้ายเมืองคนมากขึ้น รถยนต์มากขึ้น แต่ถนนหนทางไม่ได้เพิ่มมากตามจำนวนรถยนต์ ก็เกิดปัญหาจราจรติดขัด โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ คนไทยจึงเริ่มเห็นปัญหา ดังที่เราซึ่งอยู่ในเมืองใหญ่ต่างเคยประสบปัญหามาแล้ว คือรถติดหนักมาก ต้องอยู่บนถนนวันละ 5-6 ชั่วโมง เกือบจะกินและนอน รวมถึงขับถ่ายบนรถยนต์ แล้วไม่ว่าทางการจะพยายามสร้างถนนให้มากขึ้น แต่ก็ไม่ทันกับจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาวิกฤตจราจรจึงสาหัสขึ้นเป็นลำดับ จึงนำไปสู่การหันกลับไปคิดถึงการแก้ปัญหานี้ด้วยการใช้ระบบการขนส่งทางราง เราได้เห็นแนวทางแก้ปัญหาในประเทศที่มีวิกฤตจราจรหนักมากๆ ก็เห็นว่าเขาเลือกใช้การขนส่งด้วยระบบรางเพื่อเป็นทางออกของปัญหา แล้วปัญหาก็ถูกบรรเทาลงได้อย่างเห็นได้ชัดอย่างที่ผมได้เรียนในช่วงต้นคือบ้านเรามีรถไฟใช้มานานถึง 130 ปีมาแล้ว และคนในกรุงเทพฯก็เคยมีรถรางใช้มาเมื่อเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา มาล่าสุดคนในกรุงเทพฯมีระบบขนส่งทางรางใช้มากขึ้น โดยเริ่มมีรถไฟฟ้าสายแรกเมื่อปี 2542 คือรถไฟฟ้าสายสีเขียวคนที่คุ้นเคยกับการใช้รถไฟฟ้าก็ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตจราจรเหมือนก่อนจะมีรถไฟฟ้าใช้ ยิ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับรถไฟฟ้า มีชีวิตอยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ก็ไม่ค่อยเดือดร้อนมากนักกับวิกฤตจราจรบนท้องถนน เราเห็นแนวทางการพัฒนาเมือง พัฒนาประเทศด้วยระบบการขนส่งทางรางในประเทศที่พัฒนาแล้ว ผมมั่นใจว่าประเทศไทยจะเดินทางไปตามแนวนั้นในอนาคตอันใกล้



l นโยบายเรื่องระบบการขนส่งทางรางในบ้านเราคงเส้นคงวามากน้อยแค่ไหนครับ เพราะหลายคนสงสัยมาก

ดร.พิเชฐ : ขอเรียนว่าที่ผ่านมานั้นนโยบายเรื่องระบบการขนส่งทางรางไม่เคยเปลี่ยนครับ เพราะเป็นทางออกของปัญหาที่รัฐบาลเห็นชัดเจน ดังนั้นรัฐบาลทุกชุดจึงมีนโยบายตรงกันเรื่องการก่อสร้างรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และพัฒนารถไฟความเร็วสูง และเรื่องนี้ได้ผ่านการพิสูจน์ให้เห็นชัดมาแล้วจากประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศ ไม่ว่าจะในยุโรปตะวันตกและในเอเชีย และผมสามารถกล่าวได้ว่าในระยะ 10 ปีมานี้ ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบขนส่งทางรางมากที่สุด และก้าวหน้ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ล่าสุดเรามีรถไฟฟ้าเปิดใช้แล้วหลายสาย และกำลังจะเปิดใช้ในอนาคตอ้นใกล้อีกหลายสาย คนที่เข้าถึงระบบการขนส่งด้วยรถไฟฟ้าต่างมีความสุขกับการเดินทางในชีวิตประจำวันมากกว่าเดิม ตอนนี้เรามีรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีแดง และมีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปชานเมืองและจังหวัดรอบๆ กรุงเทพฯ และในอีกไม่กี่เดือนจากนี้ไปก็จะมีการเปิดทดลองระบบรถไฟฟ้าแบบโมโนเรล สายสีชมพูกับสีเหลือง ส่วนรถไฟรางคู่ที่เราดำเนินการมาก็กำลังจะเปิดให้บริการให้ในเร็วๆ นี้เช่นกัน ล่าสุดเรามีทางรถไฟรางคู่ประมาณ 1 พันกว่ากิโลเมตร ทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่เห็นพัฒนาการเรื่องนี้บอกตรงกันว่าระบบรางของไทยพัฒนาไปได้อย่างมากในระยะ 10 ปีนี้ ที่เห็นชัดๆ คือทางคู่บางช่วงเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว เช่น จากหัวหินไปประจวบคีรีขันธ์ แล้วต่อไปชุมพร ส่วนเส้นทางสายเหนือจากลพบุรีก็กำลังดำเนินไป แต่ติดขัดปัญหาการก่อสร้างที่บริเวณพระปรางค์สามยอดกับศาลพระกาฬเราจึงเลี่ยงเมืองไปเป็นลพบุรีถึงปากน้ำโพ ล่าสุดสร้างถึงปากน้ำโพแล้ว ส่วนสายอีสานไปถึงขอนแก่น โดยเริ่มจากนครราชสีมาไปขอนแก่นก็เสร็จแล้ว แยกจากนครราชสีมาเข้าไปที่สระบุรี เชื่อมที่คลอง 19 และบริเวณแก่งคอยก็เสร็จแล้ว แต่มีส่วนติดขัดบ้างที่ช่วงมาบกระเบาไปนครราชสีมา โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านภูเขาหินปูนที่มีโรงงานปูนมากมาย ก็กำลังจะสร้างอุโมงค์ ต้องเรียนให้ทราบว่ามีความคืบหน้าของโครงการอย่างมาก ในปีหน้านี้ ประชาชนจะเริ่มได้ใช้ระบบรถไฟทางคู่แล้ว จะมีการขนส่งสินค้าต่างๆ จากภาคหนึ่งไปยังอีกภาคหนึ่ง ประชาชนจะสามารถเดินทางด้วยรถไฟทางคู่ได้จริงๆ และได้ใช้รถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางคือกรุงเทพฯไปนครราชสีมา และในอีก 4-5 ปี ก็จะได้ใช้รถไฟเชื่อมสามสนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา นี่คือความสำเร็จของระบบรางที่จะเปิดให้ใช้ในอนาคตอันใกล้ครับ



l มีเสียงบ่นจากคนบางกลุ่มว่า ค่าใช้บริการระบบรางของเราแพง จะชี้แจงอย่างไรครับ

ดร.พิเชฐ : ใช่ครับผมก็ได้ยินเสียงบ่นดังที่ว่า แต่ก็ต้องขอถามว่า ที่บอกว่าแพงนั้น เทียบกับการเดินทางชนิดไหน เพราะประชาชนแต่ละคนมีการเปรียบเทียบต่างกัน ผมยกตัวอย่างเช่น การเดินทางจากกรุงเทพฯไปนครราชสีมาด้วยรถไฟ ด้วยรถโดยสารประจำทาง ด้วยรถตู้ประจำทาง ส่วนเครื่องบินไม่มีบินจากกรุงเทพฯไปนครราชสีมา สมมุติว่าถ้าเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงชั้นธรรมดาจากกรุงเทพฯไปนครราชสีมาใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 29 นาที 38 วินาที ค่าโดยสารประมาณ 500 บาท แต่ถ้านั่งรถตู้เสียค่าโดยสารประมาณ 300 กว่าบาท ระยะเวลาการเดินทางก็ต่างกันไป ความสะดวก และความปลอดภัยก็ต่างกันอีก นี่คือสิ่งที่ต้องนำมาเปรียบเทียบกันในการเดินทางแต่ละครั้งเพราะฉะนั้นต้องมาดูว่าค่าโดยสารอะไรถูกหรือแพงกว่ากัน แล้วก็ต้องเปรียบเทียบกับทุกประเด็นในการเดินทางด้วย ขออนุญาตชี้แจงเรื่องการคิดค่าโดยสารของระบบ Mass Transit บนโลกใบนี้นะครับ มีทั้งหมดสามแบบคือ แบบ flat rate คือคิดเท่ากันราคาเดียวตลอดสาย นั่งไกลหรือใกล้ ก็คิดราคาเดียวกัน แบบนี้ใช้ในประเทศจีน เช่นคิด 3 หยวน สำหรับรถไฟในเมืองและชานเมือง แบบที่สองคือ distance rate คิดตามระยะทางที่โดยสาร นั่งใกล้จ่ายค่าโดยสารถูกกว่านั่งไกล ซึ่งเราใช้แบบนี้ในบ้านของเรา ส่วนการคิดแบบที่สามคือ zoning คิดตามโซนที่โดยสาร เช่น ในอังกฤษ และในฝรั่งเศส คิดแบบ zoning โดยถือหลักว่าคนในเมืองหลวง หรือเมืองชั้นในมีรายได้ดีกว่าคนที่อยู่ตามขอบๆ เมืองหรือเมืองชั้นนอก เพราะฉะนั้นค่าโดยสารในเมืองจึงมีราคาแพงกว่านอกเมือง ดังนั้นการคิดค่าโดยสารก็จะพิจารณาจากสามรูปแบบที่กล่าวมานี้ แต่สำหรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าในบ้านเรา โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและรอบๆ กรุงเทพฯนั้นเราคิดตามระยะทาง แต่ก็มีตั๋วโดยสารให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของผู้โดยสาร เช่น ตั๋วเหมา 1 วัน ตั๋วเดือนแบบต่างๆ ที่คิดตามจำนวนเที่ยวที่ใช้เดินทาง เช่น 20, 25, 30, 40, 50 เที่ยวเป็นต้น และยังมีตั๋วนักเรียน ตั๋วผู้สูงอายุ อีกด้วย ราคาค่าโดยสารที่จ่ายจะต่างกันไปยิ่งซื้อจำนวนเที่ยวมากๆ ก็ยิ่งมีราคาค่าโดยสารถูกลง



l เรียนถามอธิบดีถึงการลงทุนก่อสร้างระบบรางในบ้านเรา มีกี่แบบครับ



ดร.พิเชฐ : ผมขอเล่าให้ฟังแบบคร่าวๆ นะครับว่ามีดังนี้ คือเอกชนลงทุนทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ และแบบที่รัฐบาลลงทุนให้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ และแบบที่รัฐบาลให้การอุดหนุนโครงการบางอย่าง แล้วให้เอกชนไปลงทุนทำต่อ เรามาดูตัวอย่างกันครับ เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว เอกชนลงทุน 100 เปอร์เซ็นต์ โดยรัฐบาลให้อายุสัญญาสัมปทาน แล้วเอกชนไปดำเนินการต่อ เช่น รัฐบาลให้สัมปทาน 30 ปี เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลก็ต้องดูด้วยว่า เอกชนสามารถทำกิจการได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ หากไม่รอด ก็ต้องเข้าไปสนับสนุนในบางเรื่อง เพื่อให้กิจการเดินต่อไปได้
ส่วนแบบที่รัฐบาลลงทุนบางส่วนแล้วให้เอกชนร่วมทำกิจการด้วยกัน เช่น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รัฐบาลลงทุนให้ ซึ่งเป็นการอุดหนุนทางอ้อม โดยลงทุนด้านโยธา โดยถ้าแบ่งให้เห็นชัดคือ 70 เปอร์เซ็นต์เป็นงานโครงสร้างพื้นฐาน และส่วนที่เหลือเป็นเรื่องระบบที่เอกชนต้องรับผิดชอบ แล้วก็ดำเนินกิจการไปส่วนอีกแบบคือรัฐบาลลงทุน 100 เปอร์เซ็นต์ เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดง รัฐบาลก่อสร้างระบบเอง ซื้อรถมาวิ่งให้บริการ และให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ในรูปแบบบริษัท SRTET (SRT Electified Train) ดำเนินการจัดวิ่งรถ จะเห็นได้ว่าในบ้านเรานั้นใช้หลายรูปแบบในการจัดการเดินรถไฟฟ้า โดยดูตามความเหมาะสมกับแต่ละโครงการ สำหรับส่วนตัวผมนั้น ผมมั่นใจว่าในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ ระบบการขนส่งทางรางจะดีขึ้นกว่านี้อีกหลายเท่า ประชาชนจะได้รับความสะดวกสบายมากกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อทางรถไฟทางคู่เสร็จเรียบร้อย จะทำให้การเดินทางของประชาชนสะดวกมากขึ้น การขนส่งสินค้าจะสะดวกมากขึ้น ราคาค่าบริการจะถูกลง สินค้าต่างๆ จะถูกส่งไปยังปลายทางได้รวดเร็วขึ้น ต้นทุนการขนส่งจะถูกลง ปัญหาค่าบริการด้วยรถยนต์ที่ต้องใช้น้ำมันดีเซลที่มีราคาแพงจะลดลงไป ประชาชนจะค้าขายกันได้มากขึ้น ค่าสินค้าจะถูกลง เพราะต้นทุนการขนส่งถูกลง ราคาสินค้าจะถูกลงด้วย ส่วนคนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และรอบๆ กรุงเทพฯ ที่มีรถไฟฟ้าให้บริการ ก็จะสะดวกสบายมากขึ้น ค่าบริการจะถูกลงเมื่อมีผู้ใช้บริการมากขึ้น แล้วถ้ายิ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีชมพูเสร็จเรียบร้อย ก็จะยิ่งทำให้การเดินทางสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น



l ในกรุงเทพฯ และรอบๆ กรุงเทพฯ จะมีความยาวของระบบรถไฟฟ้ารวมทั้งหมดกี่กิโลเมตรครับ

ดร.พิเชฐ : ทั้งหมดประมาณ 500 กว่ากิโลเมตรครับ ระยะทางเฉลี่ย 1 กิโลเมตรต่อหนึ่งสถานี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง และเพื่อสามารถคำนวณระยะเวลาการเดินทางไปแม่นยำยิ่งขึ้น โดยคิดจากการให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากที่พักไปถึงสถานีได้ในระยะเวลาประมาณ 10 นาที ล่าสุดการก่อสร้างทั้งระบบเสร็จสิ้นไปแล้วประมาณเกือบๆ 50 เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่เรากำลังทำต่อไปคือสร้างระบบลำเลียงผู้โดยสารไปยังสถานีต่างๆ ให้สะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าสู่ระบบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และชานเมืองกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการรถไฟฟ้าเป็นประจำจะคุ้นเคยกับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นอย่างมาก หลายคนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เดินทางสะดวกสบายขึ้น ชีวิตปลอดภัยมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายจากการเดินทางได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย และมีชีวิตส่วนตัวได้มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องติดอยู่บนถนนเป็นเวลานานๆ แล้วที่สำคัญคือมีส่วนช่วยลดมลพิษทางอากาศได้มาก เพราะไม่ต้องใช้รถยนต์ที่ต้องเติมด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ สร้างฝุ่นควันพิษ และ PM2.5



คุณจะได้พบรายการดีที่ครบครันด้วยสาระและความรู้ รายการ ไลฟ์ วาไรตี ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00-16.25 น. ทางโทรทัศน์ NBT กดหมายเลข 2 และชมรายการย้อนหลังได้ที่ YouTube ไลฟ์ วาไรตี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2022 5:53 pm    Post subject: Reply with quote

สถิติการขนส่งสินค้าทางราง ประจำเดือนเมษายน 2565 🚂🛢️⛽🇹🇭
ติดตามข้อมูลข่าวสารของกรมการขนส่งทางรางที่น่าสนใจผ่านช่องทางต่างๆได้ที่
Youtube : youtube.com/channel/UCYkoh…
Website : drt.go.th
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/319184583739344
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2022 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางรางจัดการประชุมคณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการรถไฟระหว่างเมือง ครั้งที่ 1/2565
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันพุธ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 11:23 น.


วันนี้ (7 มิถุนายน 2565) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการรถไฟระหว่างเมือง ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมการขนส่งทางราง ในฐานะฝ่ายเลขานุการ โดยมีสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้
1. ความคืบหน้าของสถานะโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 4 โครงการ ได้แก่
- ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร มีความคืบหน้า 94.50% สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ อยู่ระหว่างปรับแบบและจัดทำรายงานแนวทางการก่อสร้างและผลกระทบ และสัญญาที่ 3 อุโมงค์รถไฟ มีความคืบหน้า 90.918%
- ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม มีความคืบหน้า 73.11% และสัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ มีความคืบหน้า 72.81%
- ช่วงนครปฐม - หัวหิน สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล มีความคืบหน้า 96.485% และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน มีความคืบหน้า 94.896%
- ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร สัญญาที่ 1 ประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย มีความคืบหน้า 86.124% และสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร มีความคืบหน้า 88.210%
2. สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จนั้น ส่งผลให้โครงข่ายรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นจากเดิม 543 กิโลเมตร เป็น 627 กิโลเมตร คิดเป็น 15.50%
3. ในส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟทางสายใหม่ ช่วงเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้าง เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ เห็นชอบหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 แล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการจ้างผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้าง คาดว่าจะลงนามสัญญาจ้างภายในเดือนมิถุนายน 2565 และช่วงบ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้าง เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืน คาดว่าจะลงนามสัญญาจ้างผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้างภายในเดือนมิถุนายน 2565
4. การเสนอขออนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ปัจจุบันได้รับความเห็นจากทั้ง 3 หน่วยงานแล้ว (กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) โดยในขั้นตอนต่อไป กระทรวงคมนาคมจะประมวลนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป
5. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี และช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้มีข้อสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งนำเสนอขออนุมัติโครงการ ปัจจุบันอยู่ระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำข้อมูลและจะนำเสนอตามขั้นตอน คาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคม
เพื่อขออนุมัติโครงการได้ภายในปี 2565
6. มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ พ.ศ. 2563 - 2565 เพื่อเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางและนำความเห็นที่ประชุมไปบูรณาการให้เป็นไปตามแผนงานต่อไป

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/320322283625574

โครงข่ายรถไฟทางคู่ไทยเพิ่งทะลุ 627 กม. (15.50%)
*ขออนุมัติครม.สร้างเฟส 2 เพิ่ม 3 สายภายในปีนี้
*ขอนแก่น-หนองคาย/จิระ-อุบล/ปากน้ำโพ-เด่นชัย
*อัพเดท4เส้นเฟสแรกวิ่งระหว่างเมืองเปิดบริการ66
*30จังหวัดไม่มีรถไฟวิ่งผ่านบ้านอดใจรอฝันเป็นจริง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/569218814655357
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 64, 65, 66  Next
Page 39 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©