Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181581
ทั้งหมด:13492819
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 41, 42, 43 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2022 3:47 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
หยุดยาว 4 วัน ผู้โดยสารใช้บริการรถไฟ-รถไฟฟ้าทะลุ 3.1 ล้านคน
เดลินิวส์ 17 กรกฎาคม 2565 11:44 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์


กรมรางเปิดสถิติหยุดยาว 5 วัน ประชาชนใช้ระบบรางเดินทางกว่า 3.82 ล้านคน มีอุบัติเหตุ 3 ครั้ง เสียชีวิต 2 ราย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:19 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:19 น.


หยุด 5 วัน! ผู้โดยสารใช้บริการรถไฟ-รถไฟฟ้า 3.8 ล้านคน ต่ำกว่าคาด 4%
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:20 น.

“กรมการขนส่งทางราง” เปิดตัวเลขหยุดยาว 5 วัน ผู้โดยสารใช้บริการรถไฟ-รถไฟฟ้า 3.8 ล้านคน ต่ำกว่าประมาณการ 4% พบเหตุอันตรายทางราง 3 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 1 ราย รถไฟฟ้าขัดข้อง 4 ครั้ง

กรมรางเผยหยุดยาวครบ 5 วัน มีผู้โดยสารใช้ระบบรางเดินทางรวม 3.82 ล้านคน ต่ำกว่าประมาณการ 4.02 % โดยสายใต้แชมป์ผู้ใช้บริการมากสุด ขณะที่เกิดอุบัติเหตุ 3 ครั้ง มีเสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 1 ราย และรถไฟฟ้าขัดข้อง 4 ครั้ง

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ระหว่างวันที่ 13 - 17 กรกฎาคม 2565 สะสมครบ 5 วัน มีประชาชนใช้บริการระบบราง รวมทั้งสิ้น 3,827,238 คน (แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมือง 304,906 คน และระบบรถไฟฟ้า 3,522,332 คน) ซึ่งต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 160,102 คน หรือคิดเป็น 4.02 % ( ประมาณการ จำนวน 3,987,340 คน แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมือง 301,769 คน และระบบรถไฟฟ้า 3,685,571คน)

แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีผู้ใช้บริการรวม 304,906 คน มากกว่าประมาณการ 3,137 คน คิดเป็น 1.04 %(ประมาณการ 301,769 คน) แบ่งเป็น ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 122,518 คน และผู้โดยสารเชิงสังคม 182,388 คน มีผู้โดยสารขาออกสะสม 145,433 คน และผู้โดยสารขาเข้า 159,473 คน โดย รฟท. ได้จัดเพิ่มตู้พ่วงไปกับขบวนรถไฟทางไกลที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก

โดยตลอดช่วงวันหยุดต่อเนื่องให้บริการเดินรถสามารถรองรับผู้โดยสารที่เดินทางได้อย่างเพียงพอและไม่มีผู้โดยสารตกค้าง ซึ่งพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 120,110 คน (ผู้โดยสารขาออก 52,760 คน ผู้โดยสารขาเข้า 59,350 คน) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ 77,697 คน (ผู้โดยสารขาออก 36,660 คน ผู้โดยสารขาเข้า 41,037 คน) สายเหนือ 64,031 คน (ผู้โดยสารขาออก 30,909 คน ผู้โดยสารขาเข้า 33,122 คน) สายตะวันออก 34,628 คน (ผู้โดยสารขาออก 16,846 คน ผู้โดยสารขาเข้า 17,782 คน) และสายมหาชัย/แม่กลอง 16,440 คน (ผู้โดยสารขาออก 8,258 คน ผู้โดยสารขาเข้า 8,182 คน)

2. ระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รวมรถไฟฟ้าชานเมือง(สายสีแดง)) สะสม 5 วัน มีผู้ใช้บริการ 3,522,332 คน-เที่ยว น้อยกว่าประมาณการ 163,239 คน-เที่ยว หรือน้อยกว่า 4.43 %(ประมาณการ 3,685,571 คน-เที่ยว) ประกอบด้วย Airport Rail Link 187,561 คน สายสีแดง 54,526 คน สายฉลองรัชธรรม(สีม่วง) 113,420 คน สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 980,876 คน และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) 2,185,949 คน

@เกิดอุบัติเหตุ 3 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 1 ราย รถไฟฟ้าขัดข้อง 4 ครั้ง

ด้านความปลอดภัย ช่วง 5 วัน (13-17 กรกฎาคม 2565) ตลอดช่วงวันหยุดต่อเนื่องที่ผ่านมา มีเหตุอันตรายทางรางรวม 3 ครั้ง (ขบวนรถไฟชนคน 1 ครั้ง ชนรถกระบะ 1 ครั้ง พบผู้เสียชีวิตบนขบวนรถไฟ 1 ครั้ง) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และผู้บาดเจ็บ 1 ราย และมีรถไฟฟ้าขัดข้องรวม 4 ครั้ง

สำหรับ เมื่อวานนี้ (17 กรกฎาคม 2565) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของวันหยุดต่อเนื่อง มีประชาชนมาใช้บริการระบบรางรวมจำนวน 654,228 คน (ลดลงจากวันที่ 16 กรกฎาคม 2565 จำนวน 61,460 คน หรือลดลง 8.59%) แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 71,291 คน และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) จำนวน 582,937 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.รถไฟของ รฟท. จำนวน 71,291 คน (เพิ่มขึ้นจาก 16 กรกฎาคม 2565 จำนวน 12,004 คนหรือเพิ่มขึ้น 20.25%) แบ่งเป็น ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 29,352 คนและเชิงสังคม 41,939 คน โดยมีผู้โดยสารขาออกจำนวน 31,033 คน (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 16 ก.ค.65 จำนวน 3,435 คน หรือเพิ่มขึ้น 12.45%) และผู้โดยสารขาเข้า 40,258 คน (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 16 ก.ค.65 จำนวน 8,569 คน หรือเพิ่มขึ้น 27.04%)

โดยพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 24,128 คน (ผู้โดยสารขาออก 10,232 คน ผู้โดยสารขาเข้า 13,896 คน) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 19,822 คน (ผู้โดยสารขาออก 8,809 คน ผู้โดยสารขาเข้า 11,013 คน) สายเหนือ 16,262 คน (ผู้โดยสารขาออก 7,198 คน ผู้โดยสารขาเข้า 9,064 คน) สายตะวันออก 7,289 คน (ผู้โดยสารขาออก 2,954 คน ผู้โดยสารขาเข้า 4,335 คน) และสายมหาชัย/แม่กลอง 3,790 คน (ผู้โดยสารขาออก 1,840 คน ผู้โดยสารขาเข้า 1,950 คน) โดย รฟท.ได้จัดพ่วงตู้เสริมให้เต็มหน่วยลากจูง

2.ระบบรถไฟฟ้า จำนวน 582,937 คน (ลดลงจาก 16 กรกฎาคม 2565 จำนวน 73,464 คน หรือลดลง 11.19%) ประกอบด้วย รถไฟฟ้า Airport Rail Link จำนวน 33,195 คน รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) จำนวน 10,201 คน รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) จำนวน 18,538 คน รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) จำนวน 152,421 คน และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) จำนวน 368,582 คน โดยผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าจัดขบวนรถไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ ไม่มีขบวนรถเสริม

โดย มีอุบัติเหตุ 1 ครั้ง เมื่อเวลา 04.48 น. ขบวนรถเร็วที่ 168(กันตัง-กรุงเทพ) ขณะวิ่งผ่านหลักกิโลเมตรที่ 96/12 ระหว่างสถานีราชบุรี – บ้านกล้วย ขบวนรถได้เฉี่ยวชน ชายไทย อายุ 39 ปี เสียชีวิตที่เกิดเหตุ แจ้งความ สภ.ราชบุรี ส่งผลให้ดีเซล 4546 คันยกขอพ่วง ด้านขวาหัก สามารถทำขบวนต่อไปได้ ขบวนช้าเพิ่มที่เกิดเหตุ 30 นาที และไม่มีรถไฟฟ้าขัดข้อง


Last edited by Wisarut on 18/07/2022 4:00 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/07/2022 3:53 pm    Post subject: Reply with quote

'กรมราง'เปิดภารกิจ พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯวางกฎเหล็กกำกับดูแล"มาตรฐาน-บริการ-ราคา"-ยัน รฟท.จัดสรรความจุทางเปิดเอกชนร่วมเดินรถ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 06:28 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 06:28 น.

หลังจากเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2565 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ....ซึ่งเสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวาระที่ 1 ด้วยคะแนนเห็นด้วย 250 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 0 เสียง โดยเห็นว่าจะเป็นการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ และเป็นร่างกฎหมายที่จะช่วยคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการระบบขนส่งทางราง โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... รวม 25 คน ซึ่งสภาเหลือการพิจารณาอีก 2 วาระ ก่อนจะส่งกลับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้งเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย โดยคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2566

ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ยังมีความเห็นที่เป็นข้อกังวลและห่วงใย เช่น กรณีการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมประกอบกิจการขนส่งทางรางนั้น ควรดำเนินการอย่างรอบคอบ ไม่ทำให้เกิดการผูกขาดของเอกชนบางรายได้ หรือมีการกำหนดค่าโดยสารที่ไม่เป็นธรรม ควรรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นอันดับแรก รวมถึงต้องพิจารณาเรื่องการทับซ้อนกับอำนาจของกฎหมายฉบับอื่นๆ ด้วย

นอกจากนี้ยังมีข้อทักท้วงของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ฯ นี้โดยตรง โดยสหภาพฯ รฟท.ได้ยื่นหนังสือถึง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งข้อสังเกตในหลายประเด็น เช่น การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่ครบถ้วนรอบด้าน, มีบทบัญญัติที่ซ้ำซ้อน ขัดแย้งกับบรรดาสิทธิ และอำนาจหน้าที่ของ รฟท.ตาม พ.ร.บ.การจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ. 2464 และ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 รวมถึงซ้ำซ้อน ขัดแย้งกับบรรดาสิทธิ และอำนาจของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543

“หลังจากนี้ผู้เกี่ยวข้องทั้งกรมการขนส่งทางราง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ จะต้องทำความเข้าใจ และพิจารณารายละเอียดต่างๆ ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในขั้นตอนการแปรญัตติให้รอบคอบต่อไป”



@กรมรางฯ เผย "ทำไม!!! ประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ"

“พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของ พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ ว่า เมื่อ 7 ปีที่แล้วได้มีการประชุมหน่วยงานด้านกำกับดูแลด้านขนส่งทางราง ซึ่งประเทศไทยไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลระบบราง ทั้งที่ไทยมีระบบรางมาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว หลายๆ ประเทศจึงสงสัยว่า ไทยทำได้อย่างไร... ซึ่งก็ต้องบอกว่าที่ผ่านมาอยู่กันมาได้ด้วยความเข้าใจ หลังจากนั้นจึงเริ่มแนวคิดมีหน่วยงานควบคุมกำกับดูแลระบบรางให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

วันนี้กรมรางตั้งมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อ 15 เม.ย. 2562 มีหน้าที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล หรือ Operator ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2559 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2562 มีภารกิจคือ

1. เสนอแนะนโยบายยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาการขนส่งทางราง

2. กำกับดูแลมาตรฐานและระเบียบด้านความปลอดภัย และการบำรุงรักษา โครงสร้างพื้นฐาน ทำร่างการกำกับดูแลประกอบกิจการ

3. กำหนดโครงสร้างอัตราค่าบริการและระดับคุณภาพการให้บริการ

ตามขั้นตอนหลังผ่านการพิจารณาสภาฯ วาระที่ 1 จะมีเวลาให้ ส.ส.เสนอคำแปรญัตติภายใน 15 วัน จากนั้นเป็นการพิจารณา หากมีการเสนอคำแปรญัตติไม่มาก ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายนี้จะเร็วขึ้น และคาดว่าจะเสนอกลับไปที่สภาเพื่อพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในสมัยประชุมหน้า และเมื่อผ่านขั้นตอนในสภาฯ ครบถ้วนแล้ว จะเป็นขั้นตอนทูลเกล้าฯ ถวาย จึงคาดการณ์ว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ช่วงต้นปี 2566

"สำหรับ 1 เสียงที่ไม่เห็นด้วย รวมถึงความเห็นต่างๆ จากหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ ยืนยันรับฟังทุกความเห็น และทำความเข้าใจ เพื่อลดผลกระทบเหล่านั้นให้น้อยที่สุด ซึ่งในภาพรวม การจัดทำ พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น คิดว่าทุกฝ่ายจะเห็นด้วยและลดการคัดค้าน เมื่อเทียบกับการที่ไม่มีการพัฒนาใดๆ ไม่ปรับอะไร จะอยู่กันไปแบบนี้ ผมเชื่อว่าหลังจากนี้ประชาชนได้รับการบริการระบบรางที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เพราะนี่ คือ...ความตั้งใจของกรมราง ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล"



@เปิด 10 หมวด 165 มาตรา “รวมศูนย์กำกับดูแล” ที่กรมราง

แรกเริ่ม พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ กำหนดไว้ 8 หมวด 52 มาตรา และมีการศึกษา ปรับแก้ไข เพิ่มเป็น 10 หมวด 149 มาตรา จนกระทั่งร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ ที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการในวาระที่ 1 นั้นมี 10 หมวด รวมทั้งสิ้น 165 มาตรา

บททั่วไป (มาตรา 1-4) นิยาม คำจำกัดความ กำหนดวันมีผลบังคับใช้

หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง (มาตรา 5-13)

ให้มี "คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง" ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการขนส่งทางราง เสนอต่อ ครม.ให้ความเห็นชอบ, พิจารณาและให้ความเห็นชอบโครงการของหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการในการประกอบกิจการขนส่งทางราง และเมื่อคณะกรรมการให้ความเห็นชอบแล้ว ให้เจ้าของโครงการเสนอโครงการดังกล่าวต่อ ครม.เพื่อดำเนินการต่อไป, เสนอแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับประโยชน์จากการประกอบกิจการขนส่งทางรางต่อ ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบ, เสนอแนวทางในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากการประกอบกิจการขนส่งทางรางต่อ ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบ

เสนอแนวทางในการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางกับการขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางบกอื่น รวมทั้งศูนย์กระจายสินค้า ท่าเรือบก นิคมอุตสาหกรรม และส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องต่อ ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบ

กำหนดอัตราขั้นสูงของค่าโดยสาร ค่าขนส่ง ค่าใช้ประโยชน์จากรางและทรัพย์สินที่จำเป็นในการประกอบกิจการขนส่งทางรางและค่าบริการอื่น รวมถึงกำหนดประเภทของบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสาร หรือได้รับการลดหย่อนค่าโดยสาร และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณอัตราขั้นสูงของค่าโดยสาร ค่าขนส่ง ค่าใช้ประโยชน์จากรางและทรัพย์สินที่จำเป็นในการประกอบกิจการขนส่งทางราง และค่าบริการอื่น เป็นต้น

หมวด 2 การจัดทำโครงการการขนส่งทางราง (มาตรา 14-33)

- ส่วนที่ 1 การจัดทำแผนพัฒนาการขนส่งทางราง

(มาตรา 14-19) ให้กรมรางจัดทำแผนพัฒนาการขนส่งทางราง โดยมี 3 ประเภท ได้แก่ แผนพัฒนาระดับประเทศ, แผนพัฒนาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, แผนพัฒนาในเขตภูมิภาค โดยมาตรา 16 กำหนดให้กรมรางมีหน้าที่และอำนาจสำรวจพื้นที่เบื้องต้นเพื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ในการกำหนดแนวเส้นทางที่เหมาะสมและปลอดภัย รวมถึงให้กรมรางจัดทำประกาศเพื่อกำหนดพื้นที่ที่จะสำรวจ เป็นต้น

- ส่วนที่ 2 การเสนอโครงการการขนส่งทางราง (มาตรา 20-25) ในการเสนอโครงการขนส่งทางราง ให้เจ้าของโครงการจัดทำรายงานผลการศึกษาความเหมาะสม และวิเคราะห์โครงการ เสนอต่อคณะกรรมการ/รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ส่วนกรณีมีการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ให้เจ้าของโครงการเสนอโครงการต่อ ครม.เห็นชอบ และให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนฯ

- ส่วนที่ 3 การดำเนินการโครงการการขนส่งทางราง (มาตรา 26-33) กรณีจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือก่อให้เกิดภาระในอสังหาริมทรัพย์ กรณีเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะให้ดำเนินการตามกฎหมายนั้น กรณีเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เสนอกระทรวงมหาดไทยเพื่อดำเนินการเวนคืนตามกฎหมาย หากไม่เป็นใน 2 กรณีดังกล่าว ให้กรมรางดำเนินการเวนคืน

หมวด 3 เขตระบบรถขนส่งทางราง และเขตปลอดภัยระบบรถขนส่งทางราง (มาตรา 34-39)

หมวด 4 การประกอบกิจการขนส่งทางราง (มาตรา 40-80)

- ส่วนที่ 1 การขออนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง (มาตรา 40-53) กำหนดให้การประกอบกิจการขนส่งทางรางต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยมีใบอนุญาต 3 ประเภท ได้แก่ (1) ใบอนุญาตประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่ง (2) ใบอนุญาตประกอบกิจการเดินรถขนส่งทางราง (3) ใบอนุญาตประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่งและการเดินรถขนส่งทางราง

ซึ่งผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางรางต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด ทั้งนี้ อธิบดีมีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ และเสนอต่อรัฐมนตรีมีคำสั่งเพิกถอนได้ กรณีฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข

- ส่วนที่ 2 หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง (มาตรา 54-62) ผู้ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการขนส่งทางรางมีหน้าที่ต้องประกอบกิจการตามประเภทและเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาต และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ต้องดำเนินการประกอบกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐาน, กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประจำหน้าที่ จัดส่งรายงานประกอบกิจการตามกำหนด, ให้บริการอย่างเสมอภาค, รายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น, จัดให้มีประกันภัยให้ความร่วมมือในการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้

- ส่วนที่ 3 การกำหนดอัตราค่าโดยสารและค่าบริการ

(มาตรา 63-66) การกำหนดอัตราค่าโดยสาร ค่าขนส่ง ค่าใช้ประประโยชน์จากรางและทรัพย์สินที่จำเป็นในการประกอบกิจการขนส่งทางรางและค่าบริการอื่น ต้องเหมาะสมและเป็นธรรมต่ ผู้ใช้บริการ แต่ต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

- ส่วนที่ 4 การเชื่อมต่อรางเพื่อการขนส่งทางรางร่วมกัน (มาตรา 67-70) เจ้าของโครงการ หรือเอกชนเจ้าของรางหรือทางเฉพาะ มีหน้าที่ต้องยินยอมให้มีการเชื่อมต่อรางหรือทางเฉพาะเพื่อการขนส่งร่วมกันเมื่อมีการร้องขอ โดยปฏิบัติต่อผู้ขอเชื่อมต่อทุกรายอย่างเป็นธรรม สมเหตุสมผล และไม่เลือกปฏิบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

- ส่วนที่ 5 การจัดสรรความจุ ตารางเวลาการเดินรถ และเส้นทาง (มาตรา 71-80) ให้มีคณะกรรมการจัดสรรเวลาการเดินรถขนส่งทางรางขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ ครม. มีหน้าที่และอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเวลาการเดินรถขนส่งทางราง ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง ที่พิจารณาความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ราง มีอำนาจทบทวน ปรับเปลี่ยนขีดความสามารถความจุทาง

หมวด 5 การสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ (มาตรา 81-94) มี 2 ส่วน คือ 1. คณะกรรมการสอบสวนฯ โดยรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ ครม. และ 2. การสอบสวนฯ ต้องดำเนินการโดยอิสระปราศจากการแทรกแซง

หมวด 6 ผู้ตรวจการขนส่งทางราง (มาตรา 95-100)

หมวด 7 ผู้ประจำหน้าที่ (มาตรา 101-110) ได้แก่ พนักงานขับรถขนส่งทางราง พนักงานควบคุม ต้องมีคุณสมบัติ ได้แก่ สัญชาติไทย มีความรู้และทักษะตามประเภทและลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ มีความประพฤติเรียบร้อย มีอายุ สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ โดยใบอนุญาตแต่ละประเภทมีอายุตามกำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกิน 10 ปี อธิบดีกรมรางมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ครั้งละไม่เกิน 180 วัน ให้อำนาจอธิบดีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้

หมวด 8 การจดทะเบียนรถขนส่งทางราง (มาตรา 111-121)

หมวด 9 การคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ (มาตรา 122-127)

X

หมวดที่ 10 บทกำหนดโทษ (มาตรา 128-157) โทษปรับทางปกครอง และโทษทางอาญา

บทเฉพาะกาล (มาตรา 158-165) เนื่องจากเป็นกฎหมายใหม่ เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิ์ บรรดาอำนาจ สิทธิประโยชน์ที่ รฟท.และรฟม.มีอยู่ตามกฎหมายของตนเองให้ยังคงอยู่ต่อไป เพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.นี้, กรณีรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานท้องถิ่น มีสัมปทานหรือทำสัญญาหรือให้สัมปทานก่อน พ.ร.บ.นี้บังคับใช้ ให้คงสิทธิตามขอบเขตสัญญาสัมปทานต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุด กรณีผู้รับสัมปทานหรือผู้ทำสัญญาจ้างเดินรถกระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้ถือเป็นเหตุเพิกถอนสัมปทานได้



@ ทยอยทำกฎหมายลูก 69 ฉบับ ประกอบ พ.ร.บ.หลัก

ภายใต้ พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ จะมีกฎหมายลำดับรองประกอบ พ.ร.บ. จำนวน 69 ฉบับ ซึ่งจะมีทั้งกฎกระทรวง และข้อบังคับ และระเบียบ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านระบบกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง และกลุ่มด้านที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เช่น อัตราค่าโดยสาร และการคุ้มครองผู้ใช้บริการ รวมถึงการบริหารจัดการทางให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

ซึ่งกรมรางอยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายละเอียดกฎหมายลูกแต่ละฉบับฯ เพื่อเตรียมดำเนินการภายหลังกฎหมายแม่มีผลบังคับใช้ โดยที่เป็นกฎกระทรวงจะเสนอ ครม.เห็นชอบ ส่วนที่เป็นข้อบังคับเป็นอำนาจอธิบดีกรมรางลงนาม

พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.)
พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.)

@ยัน รฟท.เป็นผู้จัดสรรความจุทางให้เอกชนร่วมเดินรถ และจัดเก็บรายได้

สำหรับประเด็นที่สหภาพฯ รฟท.คัดค้าน เพราะเห็นว่า พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ ซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่ รฟท.ถือใช้บังคับอยู่ และเป็นการจำกัดอำนาจ และสิทธิของ รฟท. รวมไปถึงให้กรรมสิทธิ์รางและทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่ง ได้แก่ สถานี ทางเข้าสถานี รวมถึงพื้นที่เชื่อมต่อจะถูกโอนไปที่กรมราง มีการเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาใช้ทางรถไฟ เป็นต้น

“พิชษฐ คุณาธรรมรักษ์” ชี้แจงว่า ในร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ เปิดโอกาสให้มีเอกชนเข้ามาเดินรถร่วมจริง แต่อยู่บนพื้นฐานที่เป็นความจุทาง ที่ รฟท.ไม่ใช้ประโยชน์แล้ว หรือนำความจุทางที่เหลือมาจัดสรรให้เอกชนนั่นเอง ทั้งนี้ เพื่อให้มีการใช้ทางอย่างเต็มประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับที่ลงทุนก่อสร้างไป

ซึ่งในทุกๆ ปี รฟท.จะเป็นผู้กำหนดความต้องการใช้ทาง โดยทำงานร่วมกับคณะกรรมการจัดสรรความจุทางที่แต่งตั้งโดย ครม. โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์กรผู้บริโภค หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

“นอกจากเป็นความจุเหลือจากที่ รฟท.ต้องการใช้แล้ว เอกชนต้องจ่ายค่าใช้ทางให้ รฟท. เท่ากับ รฟท.เป็นผู้บอกว่าความจุทางเหลือเท่าไร และยังเป็นผู้รับรายได้จากค่าเช่าค่าใช้ทาง หรือกรณีให้เอกชนร่วมลงทุนในการเดินรถ รฟท.จะเป็นเจ้าของสัมปทานเอง รายได้ สิทธิประโยชน์ตกอยู่กับ รฟท.ทั้งสิ้น จึงไม่น่ามีข้อกังวลใดๆ และไม่มีมาตราไหนที่บอกว่า แปรรูป หรือกระทบต่อสิทธิประโยชน์พนักงานรถไฟ”

โดยหลักการ เมื่อ รฟท.สรุปได้ว่ามีความจุทางเหลือเท่าไร การเปิดให้เอกชนมาร่วมเดินรถจะต้องประกาศโดยทั่วไป ทั้งนี้ จะไม่กระทบต่อเอกชนที่มีสัญญาเดิมที่สัญญายังไม่หมด เพราะถือเป็นส่วนของความจุทางที่ รฟท.ใช้

อีกทั้งยังรองรับความจุทางที่เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่า จากการก่อสร้างรถไฟทางคู่ที่กำลังจะทยอยแล้วเสร็จ โดยก่อนหน้านี้ รฟท.มีการศึกษาเส้นทางขนส่งสินค้า “ขอนแก่น-แหลมฉบัง” แต่ปัจจุบันเส้นทาง "หนองคาย-แหลมฉบัง" มีความน่าสนใจมากกว่า เพราะจะเชื่อมต่อกับรถไฟ "ลาว-จีน"

กรมรางระบุว่า กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางรางฉบับแรกของไทยจะทำให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางรางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นเครื่องมือในการควบคุมด้านมาตรฐาน ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการใช้บริการ มีค่าโดยสาร ค่าบริการที่เป็นธรรม ส่งเสริมการเชื่อมต่อระบบรางกับขนส่งรูปแบบอื่น อันจะส่งผลให้การเดินทางสะดวก ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน...และจะจูงใจให้มีผู้ใช้บริการระบบรางมากขึ้น ผู้ประกอบการก็จะมีรายได้มากขึ้นไปด้วย และนำไปพัฒนาบริการให้ดียิ่งๆ ขึ้น... เป็นวงจรการพัฒนาที่ยั่งยืน!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2022 11:42 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
'กรมราง'เปิดภารกิจ พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯวางกฎเหล็กกำกับดูแล"มาตรฐาน-บริการ-ราคา"-ยัน รฟท.จัดสรรความจุทางเปิดเอกชนร่วมเดินรถ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 06:28 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 06:28 น.


สหภาพฯ รฟท.ขอร่วมสังเกตการณ์และให้ข้อมูล กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ ในประเด็นได้รับผลกระทบ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:50 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:50 น.




สหภาพฯ รฟท.ยื่นหนังสือขอเข้าร่วมสังเกตการณ์และให้ข้อมูลต่อ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ ประเด็นที่คัดค้านและในฐานะได้รับผลกระทบจากการออกกฎหมายนี้ เพื่อความรอบคอบและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ และประชาชน

นายสราวุธ สราญวงศ์ ประธาน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 สหภาพฯ รฟท.ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายศุภชัย ใจสมุทร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... เพื่อขอเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ และให้ข้อมูลในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ....

ทั้งนี้ เนื่องด้วยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ซึ่งเสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวาระที่ 1 และที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จากนั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... รวม 25 ท่าน นั้น

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ในฐานะเป็นองค์กรนิติบุคคลที่เป็นตัวแทนของสมาชิก สร.รฟท. ทั้งที่เป็นพนักงาน และลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (Key Stakeholders) ที่ได้รับผลกระทบจากการออกกฎหมายฉบับนี้ ได้ยื่นหนังสือคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากมีเนื้อหาที่ไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผลในเรื่องของการกำกับดูแลมาตราฐานด้านต่างๆ (Regulator) และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ที่ทับซ้อนกับหน่วยงานรัฐเดิมที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการ (Operator) อยู่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นข้อสังเกตของหน่วยงานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้ขอความเห็นไป

รวมทั้งกระบวนการในการรับฟังความคิดเห็นต่อการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ ผู้เสนอกฎหมายพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย เพื่อเป็นการกลั่นกรองก่อนการเสนอร่างกฎหมายเบื้องต้น รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน

สร.รฟท.เห็นด้วยอย่างยิ่งในหลักการและเหตุผลที่ให้มีกฎหมายเพื่อกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐานในระบบการขนส่งทางราง แต่ในการตรากฎหมายดังกล่าวควรพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยไม่ควรมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจกรมการขนส่งทางรางเกินกว่าการกำกับดูแล และมีความซ้ำซ้อนขัดแย้งกับบรรดาสิทธิ และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐเดิมที่เป็นผู้ประกอบกิจการเดิม

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ....ของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นไปอย่างรอบคอบสมบูรณ์ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ สร.รฟท.จึงได้แจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ และให้ข้อมูลในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เมื่อที่ประชุมมีข้อซักถามสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรง เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนในอนาคตต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2022 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

“กรมราง” เปิดยอดผู้โดยสารเดินทางกลับบ้านวันแรก พุ่ง 7 แสนคน รับวันหยุดยาว
หน้าข่าวทั่วไป
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:36 น.

หยุดต่อเนื่อง น้ำมันแพง ประชาชนใช้ระบบรางกันคึกคักทะลุ 7 แสนคน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:07
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:07


หยุดต่อเนื่องวันเฉลิมฯ ระบบรางคึกคัก “กรมราง” เผยตัวเลขผู้โดยสารเดินทางกลับบ้านวันแรก พุ่ง 7 แสนคน ในช่วงวันหยุดยาว 28 - 31 ก.ค.65 สูงกว่าคาด คาดการณ์ 2.7 หมื่นคน (4%) หลังราคาน้ำมันที่สูงขึ้น- รถไฟฟ้า 6.3 แสนคน รถไฟ 6.7 หมื่นคน อุบัติเหตุทางรถไฟเป็นศูนย์ รถไฟฟ้าไม่ขัดข้อง ดึงประชาชนใช้บริการต่อเนื่อง

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยถึงปริมาณผู้โดยสารระบบรางของวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นวันแรกของช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ระหว่างวันที่ 28-31 กรกฎาคม 2565 ว่า มีประชาชนใช้บริการระบบรางรวมทั้งสิ้นจำนวน 702,065 คน มากกว่าประมาณการ 27,524 คน หรือสูงกว่าประมาณการ 4.08% (ประมาณการ 674,541 คน)

แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 67,453 คน สูงกว่าประมาณการ 4.9% ซึ่งคาดว่าเกิดจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) จำนวน 634,612 คน สูงกว่าประมาณการ 4.0% โดยมีรายละเอียดดังนี้

ทั้งนี้ ไม่มีเหตุอันตรายต่อการเดินรถไฟและไม่มีเหตุรถไฟฟ้าขัดข้อง พร้อมทั้งประสานผู้ให้บริการระบบรางอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยตามแผนอำนวยความสะดวกฯ ของกระทรวงคมนาคม พร้อมเฝ้าระวังน้ำท่วมทางรถไฟในช่วงฝนตกหนัก

โดยมีรายละเอียด

1. รถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้บริการรวม 218 เที่ยว มีผู้ใช้บริการจำนวน 67,453 คน มากกว่าประมาณการ 3,145 คน หรือสูงกว่า 4.9% (ประมาณการ 64,308 คน) โดย รฟท.ได้เพิ่มตู้โดยสารพ่วงไปกับขบวนรถปกติในเส้นทางที่มีประชาชนเดินทางมาก

แบ่งเป็นผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 25,891 คน และเชิงสังคม 41,562 คน โดยมีผู้โดยสารขาออกจำนวน 36,820 คน และผู้โดยสารขาเข้า 30,633 คน และพบว่าสายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 23,887 คน (ผู้โดยสารขาออก 13,199 คน ผู้โดยสารขาเข้า 10,688 คน) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้บริการ 16,186 คน (ผู้โดยสารขาออก 8,692 คน ผู้โดยสารขาเข้า 7,494 คน) สายเหนือ 15,167 คน (ผู้โดยสารขาออก 8,227 คน ผู้โดยสารขาเข้า 6,940 คน) สายตะวันออก 8,000 คน (ผู้โดยสารขาออก 4,546 คน ผู้โดยสารขาเข้า 3,454 คน) และสายแม่กลอง 4,213 คน (ผู้โดยสารขาออก 2,156 คน ผู้โดยสารขาเข้า 2,057 คน)

2. ระบบรถไฟฟ้า ให้บริการรวม 1,863 เที่ยววิ่ง มีผู้ใช้บริการรวมจำนวน 634,612 คน มากกว่าประมาณการ 24,379 คน หรือสูงกว่าประมาณการ 4.00% (ประมาณการ 610,233 คน) ซึ่งได้เพิ่มความถี่ในการให้บริการในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็น

ประกอบด้วย รถไฟฟ้า Airport Rail Link ให้บริการ 174 เที่ยว จำนวน 34,900 คน รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ให้บริการ 230 เที่ยว จำนวน 11,295 คน รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) 216 เที่ยว จำนวน 19,025 คน รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 306 เที่ยว จำนวน 170,652 คน และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) ให้บริการรวม 937 เที่ยว มีผู้ใช้บริการจำนวน 398,740 คน ส่วนระบบรถไฟฟ้าในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็นได้เพิ่มความถี่ในการให้บริการ

โดยในช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ระหว่างวันที่ 28-31 กรกฎาคม 2565 กระทรวงคมนาคมได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทยแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีทางรถไฟผ่าน ให้จัดเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรืออาสาสมัครมาประจำจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับที่เป็นทางลักผ่าน รวมทั้งกรมการขนส่งทางรางได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือผู้ขับขี่หยุดรถดูความปลอดภัยก่อนข้ามจุดตัดทางรถไฟและไม่ฝ่าฝืนเครื่องกั้นถนน เพื่อลดอุบัติเหตุขบวนรถไฟชนยานพาหนะบริเวณจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับ

นอกจากนี้ ขร.ประสาน รฟท.เฝ้าระวังน้ำท่วมทางรถไฟ เนื่องจากมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2022 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

ขร. เผยประชาชนเดินทางด้วยระบบรางช่วงวันหยุดต่อเนื่อง ณ วันที่ 30 ก.ค. 2565 มีผู้ใช้บริการระบบราง 809,962 คน
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันอาทิตย์ ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:58 น.


นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวาน (30 กรกฎาคม 2565) ซึ่งเป็นวันที่สามของช่วงช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ระหว่างวันที่ 28 - 31 กรกฎาคม 2565 มีประชาชนมาใช้บริการระบบราง รวมจำนวน 809,962 คน (ลดจากวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 จำนวน 38,789 คน หรือลดลงร้อยละ 4.57) แต่มากกว่าประมาณการ 146,074 คน หรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 22.00 (ประมาณการวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 จำนวน 663,888 คน) แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 58,448 คน และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) จำนวน 751,514 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. รถไฟของ รฟท. จำนวน 58,448 คน (เพิ่มจากวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 จำนวน 4,447 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.24) แบ่งเป็น ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 23,750 คนและเชิงสังคม 34,698 คน โดยมีผู้โดยสารขาออกจำนวน 27,684 คน (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 จำนวน 1,334 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.06) และผู้โดยสารขาเข้า 30,764 คน (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 จำนวน 3,113 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.26) แต่ยังต่ำกว่าประมาณการ 3,938 คน หรือน้อยกว่าประมาณการร้อยละ 6.31 (ประมาณการ 30 กรกฎาคม 2565 จำนวน 62,386 คน) โดยพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 22,242 คน (ผู้โดยสารขาออก 10,514 คน ผู้โดยสารขาเข้า 11,728 คน) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 14,001 คน (ผู้โดยสารขาออก 6,527 คน ผู้โดยสารขาเข้า 7,474 คน) สายเหนือ 11,680 คน (ผู้โดยสารขาออก 5,525 คน ผู้โดยสารขาเข้า 6,155 คน) สายตะวันออก 7,097 คน (ผู้โดยสารขาออก 3,497 คน ผู้โดยสารขาเข้า 3,600 คน) และสายมหาชัย/แม่กลอง 3,428 คน (ผู้โดยสารขาออก 1,621 คน ผู้โดยสารขาเข้า 1,807 คน) ซึ่งพบว่า ไม่มีผู้โดยสารตกค้างที่สถานีกรุงเทพและชุมทางบางซื่อ

2. ระบบรถไฟฟ้า จำนวน 751,514 คน (ลดลงจากวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 จำนวน 43,236 คน หรือลดลงร้อยละ 5.44) แต่มากกว่าประมาณการ 150,012 คนหรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 24.94 (ประมาณการ 601,502 คน) ประกอบด้วย รถไฟฟ้า Airport Rail Link จำนวน 43,939 คน รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) จำนวน 14,027 คน รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) จำนวน 23,931 คน รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) จำนวน 211,141 คน และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) จำนวน 458,476 คน สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพียงพอ โดยมีขบวนรถเสริมรวม จำนวน 1 เที่ยว ได้แก่ Airport Rail Link เพิ่มรถเสริมจำนวน 1 เที่ยว โดยไม่มีเหตุรถไฟฟ้าขัดข้อง

สำหรับด้านความปลอดภัยประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 พบว่า หน่วยงานผู้ให้บริการระบบรางดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง มีเหตุอันตรายทางรถไฟ 2 ครั้ง ได้แก่

1. เมื่อเวลา16.10 น. ขบวนรถโดยสารพิเศษที่ 998 (พลูตาหลวง - กรุงเทพฯ) ขณะทำขบวนถึงเสาโทรเลขที่ 162 ระหว่างสถานีบ้านห้วยขวาง - สถานีพัทยาส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บชาย 1 รายกู้ภัยนำส่ง โรงพยาบาลพัทยา

2. เวลา 18.16 น. ขบวนรถท้องถิ่นที่ 417 (นครราชสีมา - อุดรธานี) ขณะทำขบวนถึงหลักกิโลเมตรที่ 400/15-16 ระหว่างสถานีบ้านหัน - บ้านไผ่ ขบวนรถได้เฉี่ยวชนชายเสียชีวิต 1 รายในที่เกิดเหตุ มูลนิธิบ้านไผ่ นำผู้เสียชีวตส่งโรงพยาบาลบ้านไผ่

ทั้งนี้ จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการระบบรางสะสม 3 วันคือ วันที่ 28 - 30 กรกฎาคม 2565 มีประชาชนมาใช้บริการระบบรางรวม 2,360,778 คน มากกว่าประมาณการ 227,539 คนหรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 10.67 (ประมาณการสะสม3วัน 2,133,239 คน) ประกอบด้วย รถไฟระหว่างเมืองของ รฟท. มีผู้ใช้บริการรวม 179,902 คน น้อยกว่าประมาณการ 2,936คน หรือต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 1.61 (ประมาณการ 3 วัน 182,838 คน) แบ่งเป็น ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 70,258 คน และผู้โดยสารเชิงสังคม 109,644 คน โดยมีผู้โดยสารขาออกสะสม 90,854 คน และขาเข้า 89,048 คน ซึ่งพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 65,423 คน รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ 43,084 คน สายเหนือ 38,218 คน สายตะวันออก 22,102 คน และสายมหาชัย/แม่กลอง 11,075 คน และระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รวมรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง) สะสม 3 วัน มีผู้ใช้บริการรวม 2,180,876 คน มากกว่าประมาณการ 230,475 คน หรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 11.82 (ประมาณการสะสม 3 วัน 1,950,401คน) ประกอบด้วย Airport Rail Link 122,680 คน สายสีแดง 37,375 คน สายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) 68,086 คน สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 607,486 คน และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) 1,345,249 คน

สำหรับด้านความปลอดภัยด้านระบบรางสะสม 3 วัน มีเหตุอันตรายทางรางรวม 3 ครั้ง (รถไฟเฉี่ยวชนคนเดินเท้า 3 ครั้ง เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บ 1 ราย) และมีระบบรถไฟฟ้าขัดข้องรวม 1 ครั้ง

สำหรับในวันนี้ (31 กรกฎาคม 2565) คาดว่าประชาชนเดินทางรถไฟเที่ยวกลับกรุงเทพฯ มากที่สุด โดย ขร. ได้ประสาน รฟท. เพิ่มตู้พ่วงไปกับขบวนรถที่มีผู้โดยสารเดินทางเป็นจำนวนมาก และสำหรับระบบรถไฟฟ้าได้เตรียมพร้อมขบวนรถเสริมในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน กรณีมีผู้โดยสารหนาแน่น โดยตั้งเป้าหมายว่า ไม่มีผู้โดยสารตกค้าง และประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชนไม่เดินเท้าเข้ามาในเขตระบบรถขนส่งทางราง ซึ่งเป็นพื้นที่สงวนไว้เพื่อการเดินรถ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของทุกท่าน

กรมการขนส่งทางราง เพื่อความสุขและความปลอดภัยในการเดินทางระบบรางของไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2022 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันจันทร์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:21 น.


กรมการขนส่งทางราง เผยประชาชนเดินทางด้วยระบบรางช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ระหว่างวันที่ 28 - 31 กรกฎาคม 2565 สรุปสะสมครบ 4 วัน (28-31 ก.ค.65) รวม 3.08 ล้านคน สูงกว่าประมาณการร้อยละ 13.46 มีเหตุอันตรายรถไฟเฉี่ยวชนคน 3 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 1 ราย และระบบรถไฟฟ้าขัดข้องรวม 4 ครั้ง โดยวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 (เมื่อวาน) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของวันหยุดต่อเนื่อง มีผู้ใช้บริการระบบราง 723,680 คน สูงกว่าประมาณการร้อยละ 23.66
ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ระหว่างวันที่ 28 - 31 กรกฎาคม 2565 รวม 4 วัน มีประชาชนมาใช้บริการระบบรางรวม 3,084,458 คน มากกว่าประมาณการ 365,982 คนหรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 13.46 (ประมาณการสะสม 4 วัน 2,718,476 คน) ประกอบด้วย
1) รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีผู้ใช้บริการรวม 248,674 คน มากกว่าประมาณการ 2,445 คน หรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 0.99 (ประมาณการ 4 วัน 246,229 คน) แบ่งเป็น ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 98,352 คน และผู้โดยสารเชิงสังคม 150,322 คน โดยมีผู้โดยสารขาออกสะสม 121,065 คน และผู้โดยสารขาเข้า 127,609 คน ซึ่งพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 88,530 คน (ผู้โดยสารขาออกสะสม 42,663 คน และผู้โดยสารขาเข้า 45,867 คน) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ 61,065 คน (ผู้โดยสารขาออกสะสม 29,525 คน และผู้โดยสารขาเข้า 31,540 คน) สายเหนือ 53,457 คน (ผู้โดยสารขาออกสะสม 26,422 คน และผู้โดยสารขาเข้า 27,035 คน) สายตะวันออก 30,189 คน (ผู้โดยสารขาออกสะสม 14,814 คน และผู้โดยสารขาเข้า 15,375 คน) และสายมหาชัย/แม่กลอง 15,433 คน (ผู้โดยสารขาออกสะสม 7,641 คน และผู้โดยสารขาเข้า 7,792 คน)
2) ระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รวมรถไฟฟ้าชานเมือง(สายสีแดง) สะสม 4 วัน มีผู้ใช้บริการรวม 2,835,784 คน มากกว่าประมาณการ 363,537 คน หรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 14.70 (ประมาณการสะสม 4 วัน 2,472,247 คน) ประกอบด้วย Airport Rail Link 160,813 คน สายสีแดง 51,379 คน สายฉลองรัชธรรม(สีม่วง) 88,998 คน สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 784,033 คน และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) 1,750,561 คน
สำหรับด้านความปลอดภัยด้านระบบรางสะสม 4 วัน มีเหตุอันตรายทางรางรวม 3 ครั้ง (รถไฟเฉี่ยวชนคนเดินเท้าเข้ามาในเขตระบบ 3 ครั้ง เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บ 1 ราย) และมีระบบรถไฟฟ้าขัดข้องรวม 4 ครั้ง (สายสีแดง 1 ครั้ง BTS (สายสีเขียว) 2 ครั้ง และ Airport Rail Link 1 ครั้ง)
ทั้งนี้ เมื่อวาน (31 กรกฎาคม 2565) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ระหว่างวันที่ 28 - 31 กรกฎาคม 2565 มีประชาชนมาใช้บริการระบบราง รวมจำนวน 723,680 คน (ลดจากวันที่ 30 ก.ค. 65 จำนวน 86,282 คน หรือลดลงร้อยละ 10.65) แต่มากกว่าประมาณการ 138,443 คน หรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 23.66 (ประมาณการวันที่ 31 ก.ค. 65 จำนวน 585,237 คน) แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 68,772 คน และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) จำนวน 654,908 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. รถไฟของ รฟท. จำนวน 68,772 คน ซึ่งมากที่สุดของวันหยุดต่อเนื่อง 4 วัน (เพิ่มจากวันที่ 30 ก.ค. 65 จำนวน 10,324 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.66) แบ่งเป็น ผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 28,094 คนและเชิงสังคม 40,678 คน โดยมีผู้โดยสารขาออกจำนวน 30,211 คน (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 30 ก.ค. 65 จำนวน 2,527 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.13) และผู้โดยสารขาเข้า 38,561 คน (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 30 ก.ค. 65 จำนวน 7,797 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.34) และมากกว่าประมาณการ 5,381 คน หรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 8.49 (ประมาณการ 31 ก.ค.65 จำนวน 63,391 คน) โดยพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 23,107 คน (ผู้โดยสารขาออก 9,770 คน ผู้โดยสารขาเข้า 13,337 คน) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 17,981 คน (ผู้โดยสารขาออก 7,996 คน ผู้โดยสารขาเข้า 9,985 คน) สายเหนือ 15,239 คน (ผู้โดยสารขาออก 6,970 คน ผู้โดยสารขาเข้า 8,269 คน) สายตะวันออก 8,087 คน (ผู้โดยสารขาออก 3,361 คน ผู้โดยสารขาเข้า 4,726 คน) และสายมหาชัย/แม่กลอง 4,358 คน (ผู้โดยสารขาออก 2,114 คน ผู้โดยสารขาเข้า 2,244 คน) โดยไม่มีเหตุอันตรายต่อการเดินรถ
2. ระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รวมรถไฟฟ้าชานเมือง(สายสีแดง) จำนวน 654,908 คน (ลดลงจากวันที่ 30 ก.ค.65 จำนวน 96,606 คน หรือลดลงร้อยละ 12.85) แต่มากกว่าประมาณการ 133,062 คนหรือสูงกว่าประมาณการร้อยละ 25.50 (ประมาณการ 521,846 คน) ประกอบด้วย รถไฟฟ้า Airport Rail Link จำนวน 38,133 คน รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) จำนวน 14,004 คน รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) จำนวน 20,912 คน รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) จำนวน 176,547 คน และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) จำนวน 405,312 คน สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพียงพอ มีขบวนรถเสริมรวมจำนวน 1 เที่ยว ได้แก่ สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) เพิ่มรถเสริมจำนวน 1 เที่ยว โดยผู้ให้บริการระบบรางดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19) อย่างต่อเนื่อง โดยมีเหตุรถไฟฟ้าขัดข้อง 3 ครั้ง ได้แก่
2.1 เมื่อเวลา 05.30 น. Airport Rail Link ประแจสับรางขัดข้องระหว่างสถานีรามคำแหง-มักกะสัน และต่อมาเวลา 06.40 น. สามารถเดินรถได้ตามปกติ
2.2 เมื่อเวลา 17.34 น. BTS สายสุขุมวิท ขบวนรถไฟฟ้าหมายเลข 90 ขัดข้อง ที่สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ฝั่งมุ่งหน้าสถานีปลายทางเคหะ ต่อมาเวลา 17.46 น. ขบวนรถที่ขัดข้องได้รับการแก้ไขและนำออกจากการให้บริการ สามารถเดินรถได้ตามปกติ
2.3 เมื่อเวลา 18.52 น. BTS สายสุขุมวิท ขบวนรถไฟฟ้าหมายเลข 82 ขัดข้อง ที่สถานีสายลวด ฝั่งมุ่งหน้าสถานีปลายทางเคหะ ต่อมาเวลา 19.02 น. สามารถเดินรถได้ตามปกติ
กรมการขนส่งทางราง เพื่อความสุขและความปลอดภัยในการเดินทางระบบรางของไทย
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/357611233230012
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2022 8:47 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันอังคาร ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:21 น.


กรมการขนส่งทางรางจัดประชุมคณะทำงานเตรียมการก่อสร้างและบริหารโครงการก่อสร้างสถานีศิริราชของโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และอาคารรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลศิริราช ครั้งที่ 1/2565 โดยมี ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานคณะทำงาน พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom cloud meetings
การประชุมคณะทำงานฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โครงการก่อสร้างสถานีศิริราชของโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และอาคารรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลศิริราช จัดทำแผนงานสำหรับ
การเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบ และการจัดการจราจรบริเวณสถานีศิริราช ให้มีประสิทธิภาพ ไร้รอยต่อและมีความสะดวกสบาย รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ที่ประชุมได้ร่วมกันหารือ โดยมีข้อสรุป ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการ (Action Plan) โครงการก่อสร้างสถานีศิริราชฯ จะต้องมีการปรับปรุงข้อมูลรายละเอียดกิจกรรม (Activity) ของโครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
2. ที่ประชุมรับทราบว่า รฟม. ได้กำหนดเงื่อนไขตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล ระหว่าง รฟท. รฟม. และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในเอกสารการคัดเลือกเอกชน (Request For Proposal: RFP) แล้ว โดยขอให้ รฟท. และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ดำเนินการกำหนดเงื่อนไขตามบันทึกความเข้าใจฯ ใน TOR/RFP ในโครงการของแต่ละหน่วยงานด้วย ทั้งนี้ ให้ รฟท. รฟม. และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตรวจสอบว่ามีเงื่อนไขอื่นๆ ที่ต้องการเพิ่มเติมนอกเหนือจากบันทึกความเข้าใจฯ หรือไม่
3. ขอให้ รฟท. พิจารณาแนวทางหรือวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบพื้นที่บริเวณสถานีศิริราชก่อนที่จะให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลดำเนินการขอเช่าพื้นที่ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2022 10:50 am    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันศุกร์ ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:28 น.


“คมนาคม” เร่งสปีด สร้างรถไฟไทย-จีน เชื่อมระบบขนส่งราง 3 ประเทศ
หน้าเศรษฐกิจ
Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพฤหัสบดี ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 18:41 น.

“คมนาคม” สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างรถไฟไทย-จีน เปิดเส้นทางสะพานข้ามแม่น้ำโขง หนุนระบบขนส่งทางรางไทย-ลาว-จีน

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีนครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุม 204 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา เกียกกาย
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟระหว่างสามประเทศเพื่อรองรับการเดินทางและขนส่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าโลก และเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่ยั่งยืน จึงได้มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะประธานคณะกรรมการบูรณาการ ร่วมกับนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะรองประธานกรรมการพิจารณาการบูรณาการการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพระบบโลจิสติกส์ไทยด้วยการขนส่งผ่านระบบรางที่จะช่วยลดต้นทุนทางด้านเวลาและด้านโลจิสติกส์
โดยนายอนุทินฯ ได้มอบหมายนายศักดิ์สยามฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งนายศักดิ์สยามฯ ได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นที่มีประโยชน์ และผลักดันให้เกิดการบูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างไทย ลาว และจีน อย่างรอบด้าน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพียงพอที่จะรองรับการขนส่งข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างไทย – ลาว – จีน ด้วยรถไฟขนาดทาง 1 เมตร อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอกที่จะช่วยขยายความครอบคลุมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกไปให้ได้ประโยชน์ในทุกมิติ จึงจำเป็นต้องมีการประชุมหารือร่วมกันเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการร่วมกันบูรณาการดังกล่าวของแต่ละหน่วยงานในฐานะทีม Thailand ต่อไป
ซึ่งในการประชุมในวันนี้มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุขสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พร้อมด้วยกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมหารือเพื่อพิจารณาติดตามความก้าวหน้า สถานะการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการการกำกับติดตามเพื่อขับเคลื่อนดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้มอบหมายให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ดังนี้
1.1 ให้กรมทางหลวงเร่งรัดการของบประมาณเพื่อศึกษาแนวทางการก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ทั้งในรูปแบบสะพานรถไฟและรถยนต์
1.2 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – หนองคายให้แล้วเสร็จตามแผนของกระทรวงคมนาคม รวมถึงการเสนอโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น – หนองคาย ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และเร่งรัดการพัฒนาสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้าในระยะเร่งด่วน และการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) สถานีนาทา เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต พร้อมจัดทำ Action Plan เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างปริมาณความต้องการ และปริมาณความจุที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตามแผนงานระยะเร่งด่วน และระยะยาว รวมถึงพิจารณาอัตราค่าขนส่ง และต้นทุนด้านเวลา เพื่อหารือแนวทางการปฏิบัติที่จะส่งเสริมให้ระบบรางเป็นทางเลือกหลักในการขนส่งระหว่างไทย ลาว และจีน
2. ให้กระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากรเร่งรัดการจัดหา Mobile X-ray System เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจสอบสินค้า ณ ด่านพรมแดนหนองคายในอนาคต และการดำเนินการตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้พื้นที่บริเวณสถานีรถไฟหนองคายสามารถปฏิบัติพิธีการนำเข้า ส่งออก และผ่านแดนได้ทุกมิติของการขนส่งสินค้า
3. ให้กระทรวงการต่างประเทศรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาในฝั่งลาว เพื่อแลกเปลี่ยนและบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ใช้ประกอบการวางยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการส่งออกของไทย และอำนวยความสะดวกให้ฝ่ายไทย สามารถใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงในภูมิภาคได้เต็มประสิทธิภาพ และหยิบยกการหารือระดับสูงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของลาวและจีน เพื่อติดตามความคืบหน้าและผลักดันการเชื่อมต่อรถไฟลาว – จีน กับระบบรางของไทย
4. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการเจรจาร่วมกับฝ่ายจีน เพื่อเปิดด่านทางบกภายใต้พิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนฉบับใหม่ ให้ครบทั้ง 6 ด่านใหม่
5. ให้กระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์การค้าไทย – จีน ด้านจังหวัดหนองคาย และการใช้ประโยชน์จากรถไฟลาว – จีน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย รวมถึงการเจรจาร่วมกับฝ่ายลาว ในการอำนวยความสะดวกสินค้าไทยที่ใช้บริการรถไฟลาว-จีน
6. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งรัดการก่อสร้างและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟจากลาวและจีน
7. ให้กระทรวงสาธารณสุขอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบสัมภาระที่ติดตัวผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟ และตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพนำเข้าให้เป็นไปตามระบียบกฏหมายต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กำหนดให้ Team Thailand ลงพื้นที่ และหารือเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย – เวียงจันทน์ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2565 เพื่อศึกษาสภาพและศักยภาพของพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางของโครงการเพื่อนำมาประเมินอุปทานด้านการคมนาคม และจัดทำแผนการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทยต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2022 7:00 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันอังคาร ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:29 น.


กรมการขนส่งทางราง (ขร.) จัดประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 2/2565 โดยมี ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานในระบบขนส่งทางรางที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings โดยที่ประชุมได้ร่วมกันหารือและพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. รายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรมการประเมินระดับคุณภาพสถานีขนส่งทางราง “สถานีดีพร้อม” ปี 2565
มีสถานีขนส่งทางรางทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งหมด 43 สถานี โดยผลการประเมินระดับคุณภาพสถานีแยกตามประเภทสรุปได้ดังนี้
1.1 ประเภทสถานีรถไฟทั่วประเทศ
1) รางวัลชนะเลิศ (ดีพร้อม) ได้แก่ สถานีเชียงใหม่
2) รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ สถานีชุมทางหาดใหญ่
3) รางวัลชมเชย ได้แก่ สถานีนครราชสีมา สถานีบุรีรัมย์ และสถานีศรีสะเกษ
1.2 ประเภทสถานีรถไฟฟ้าในเมืองและชานเมือง
1) รางวัลชนะเลิศ (ดีพร้อม) ได้แก่ สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรี
2) รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ สถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีหมอชิต
3) รางวัลชมเชย ได้แก่ สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีสุขุมวิท สถานีลาดพร้าว และสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีแยก คปอ.
โดย ขร. จะได้รายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเสนอให้มีพิธีมอบรางวัลอย่างเป็นทางการต่อไป
2. รายงานสถิติเหตุขัดข้องรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑลและแนวทางแก้ไข ประจำเดือนมิถุนายน 2565 เกิดเหตุขัดข้องทั้งหมด 19 ครั้ง โดยมีสาเหตุจากระบบขับเคลื่อน 9 ครั้ง ระบบประตูรถ 5 ครั้ง ระบบเบรก 3 ครั้ง จุดสับราง 1 ครั้ง และเครื่องนับเพลา 1 ครั้ง ซึ่ง ขร. และหน่วยงานผู้ให้บริการขนส่งทางรางจะได้มีการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขัดข้องซ้ำ และรายงานในที่ประชุมฯ ครั้งต่อไป
3. ติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 1/2564 - 1/2565 โดยมีความคืบหน้าในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.1 การปรับปรุงชื่อเรียกเส้นทางรถไฟฟ้าในแผนที่นำทางและเสียงประกาศในขบวนรถให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกระบบ โดยกำหนดให้เรียกตามสีเส้นทางรถไฟฟ้า เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นต้น โดย BTS ได้รายงานความคืบหน้าในการปรับปรุงเสียงประกาศในระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้วเสร็จร้อยละ 70 และกำหนดปรับปรุงแผนที่นำทางให้แล้วเสร็จพร้อมการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพูภายในเดือนมกราคม 2566
3.2 การปรับปรุงสภาพกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (สถานีดอนเมือง และสถานีหลักหก) โดย รฟท. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดเตรียมงบประมาณเพื่อจัดซื้อจัดจ้าง และจะดำเนินการปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565
3.3 การปรับปรุงพื้นผิวต่างสัมผัสภายในสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงแล้ว 2 สถานี ได้แก่ สถานีมักกะสัน และสถานีหัวหมาก และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จครบทั้ง 8 สถานี ภายในเดือนตุลาคม 2565
4. การพิจารณาการเปลี่ยนชื่อเรียกเส้นทาง และสัญลักษณ์ (Logo) ของระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ของบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด โดยที่ประชุมฯ มีมอบหมายให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หารือเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นทางการต่อ รฟท. หน่วยงานเจ้าของสัมปทาน เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาสัมปทานฯ และคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งหารือค่าใช้จ่ายและผลกระทบในการปรับเปลี่ยนชื่อเรียกเส้นทาง และสัญลักษณ์ (Logo) ร่วมกับหน่วยงานผู้ให้บริการขนส่งทางรางรายอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ก่อนนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการฯ คราวต่อไป
5. การพิจารณากำหนดชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีเทา (ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ) ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบในหลักการกำหนดชื่อสถานีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา (ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ) ตามที่ กทม. เสนอขอเปลี่ยนแปลง จำนวน 8 สถานี ดังนี้
GY02 สถานีอยู่เย็น
GY03 สถานีประดิษฐ์มนูธรรม 27
GY04 สถานีประดิษฐ์มนูธรรม 25
GY06 สถานีประดิษฐ์มนูธรรม 15
GY08 สถานีลาดพร้าว 71
GY10 สถานีศูนย์แพทพัฒนา
GY11 สถานีวัดพระราม 9
GY12 สถานีเพชรบุรี 47
และมอบหมายให้ กทม. จัดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีเทา พร้อมทั้งตรวจสอบชื่อภาษาอังกฤษ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งถัดไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2022 12:44 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดสถิติรถไฟฟ้าMRTเจ๊งบ่อยสุด
Source - เดลินิวส์
Monday, August 08, 2022 07:21

ขร.สั่งทุกสีแก้-ป้องกันขัดข้อง กลับมาใช้บริการนิวไฮ1.2ล้าน

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า จากการเก็บข้อมูลเหตุขัดข้องในระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในเดือน มิ.ย. 65 พบว่า เกิดเหตุขัดข้องในระบบรถไฟฟ้าฯ รวม 19 ครั้ง แบ่งเป็น รถไฟฟ้า MRT 10 ครั้ง สายสีน้ำเงิน 6 ครั้ง และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง 4 ครั้ง, รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว 4 ครั้ง, รถไฟฟ้าสายสีแดง (เหนือ) 5 ครั้ง บางซื่อ-รังสิต 3 ครั้ง และรถไฟฟ้า สายสีแดง (ตะวันตก) บางซื่อ-ตลิ่งชัน 2 ครั้ง โดยเกิดขึ้น นอกชั่วโมงเร่งด่วน 13 ครั้ง และในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า 07.00- 09.00 น. และเร่งด่วนเย็น 17.00-19.00 น. 6 ครั้ง ผลจากเหตุขัดข้องนี้ทำให้ขบวนรถไฟฟ้าให้บริการล่าช้าลงรวม 174 นาที หรือเฉลี่ย 9.16 นาที/ครั้ง

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับสาเหตุของการขัดข้อง มา จากระบบขับเคลื่อน 9 ครั้ง รองลงมาคือ ระบบประตูรถ 5 ครั้ง, ระบบเบรก 3 ครั้ง, จุดสับราง 1 ครั้ง และเครื่องนับเพลา 1 ครั้ง ที่ผ่านมาผู้ให้บริการรถไฟฟ้าได้แก้ไขเหตุล่าช้าด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ การแก้ไขจุดขัดข้อง การใช้ขบวนรถสำรอง การเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร และใช้การเดินรถชัต เติ้ลบัส เป็นต้น จาก เหตุขัดข้องในระบบ รถไฟฟ้าฯ ที่เกิดขึ้น ทาง ขร. ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาได้กำชับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกระบบ เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลรักษาสภาพรถ สภาพทาง และอุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดขัดข้องในการให้บริการ โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นอกจากนี้ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกระบบ ต้องจัดทำแผนรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย เพราะหากเกิดเหตุขัดข้องนอกจากจะทำให้มีผู้โดยสารได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากแล้ว จะสร้างความแออัดทั้งภายในขบวนรถ และชานชาลาของสถานีด้วย ได้สั่งการให้หน่วยงานผู้ให้บริการขนส่งทางราง เร่งประชุมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขัดข้องซ้ำ โดยให้รายงานมายัง ขร. ในเดือน ก.ย. 65

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางทุกระบบ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลับขึ้นมาเท่ากับตัวเลขก่อนเกิดโควิด-19 เมื่อปี 62 (อยู่ที่ 1.22 ล้านคน/วัน) โดยรวมประมาณ 1,228,822 คนต่อวันแล้ว มีปริมาณ ผู้โดยสารทะลุ 1 ล้านคนทุกวัน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำตัวเลขผู้โดยสารสูงสุด (นิวไฮ) 1,220,781 คน แบ่งเป็น รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว 7.16 แสนคน, รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน-สายสีม่วง 3.71 แสนคน, รถไฟ 5.82 หมื่นคน, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 5.66 หมื่นคน และรถไฟฟ้าสายสีแดง 1.79 หมื่นคน โดยสายสีแดงนิวไฮต่อเนื่อง คาดว่าอีกไม่นานจะ ทะลุ 2 หมื่นคนต่อวัน แต่ยังน้อยกว่าประมาณการณ์ที่ 8 หมื่นคนต่อวัน (ไม่รวมส่วนต่อขยาย).

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ส.ค. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 41, 42, 43 ... 63, 64, 65  Next
Page 42 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©