Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264950
ทั้งหมด:13576233
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 42, 43, 44 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2022 7:46 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ อาทิตย์เอกเขนก: กรมรางชู 'สถานีดีพร้อม' ยกระดับให้บริการสถานีรถไฟทั่วไทย
Source - ไทยโพสต์
Sunday, August 14, 2022 04:28

เมื่อพูดถึงการพัฒนาระบบขนส่งทางราง แน่นอนว่านอกจากการให้บริการเชื่อมโยงโครงข่ายทั่วไทยแล้ว ต้องครอบคลุมถึงการให้บริการด้วย ดังนั้น กรมการขนส่งทางราง ที่มีภารกิจหน้าที่กำกับดูแลระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงการเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานการกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางให้เป็นมาตรฐาน อีกทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางของประเทศให้สามารถแข่งขันและเชื่อมต่อการขนส่งรูปแบบอื่นและประเทศเพื่อนบ้านได้

อาทิตย์เอกเขนก ได้มีโอกาสพูดคุยกับ พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ที่จะมาพูดถึงกิจกรรมประกวด "สถานีดีพร้อม" ภายใต้แนวคิด "กรมรางสร้างสุขด้วยคุณภาพดีพร้อม "DRT creates happiness of stations" จำนวนทั้งสิ้น 43 สถานี แบ่งเป็นกลุ่มสถานีรถไฟทั่วประเทศ จำนวน 15 สถานี และกลุ่มสถานีในเมืองและชานเมือง จำนวน 28 สถานี

พิเชฐเล่าว่า กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นกิจกรรมนำร่องเพื่อประเมินคุณภาพสถานีรถไฟ ภายใต้โครงการศึกษาจัดทำระบบประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานการขนส่งทางรางในแต่ละสายทางของประเทศที่ ขร.ดำเนินการอยู่ ณ ขณะนี้ และจาก 43 สถานีที่เข้าร่วม ขร.ได้มีการพิจารณาคัดเลือกสถานีที่ผ่านเกณฑ์การประเมินแล้ว จำนวน 18 สถานี แบ่งเป็น

1.กลุ่มสถานีรถไฟทั่วประเทศ จำนวน 8 สถานี ได้แก่ สถานีศรีสะเกษ สถานีบุรีรัมย์ สถานีนครราชสีมา สถานีเชียงใหม่ สถานีนครลำปาง สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา สถานีชุมทางหาดใหญ่ และสถานีหัวหิน 2.กลุ่มสถานีรถไฟฟ้าใน เมืองและชานเมือง จำนวน 11 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ (RN01/RW01) สถานีดอนเมือง (RN08) สถานีพญาไท (A8) สถานีคลองบางไผ่ (PP01) สถานีหมอชิต (N8) สถานีแยก คปอ. (N23) สถานีคูคต (N24) สถานีลาดพร้าว (BL15) สถานีเพชรบุรี (BL21) สถานีสุขุมวิท (BL22) และสถานีหลักสอง (BL38)

สำหรับสถานีรถไฟทั่วประเทศ 8 อันดับแรก ได้แก่ 1.สถานีเชียงใหม่ ได้ 111.4 คะแนน 2.สถานีชุมทางหาดใหญ่ ได้ 110.2 คะแนน 3.สถานีนครราชสีมา ได้ 107.4 คะแนน 4.สถานีบุรีรัมย์ ได้ 107.0 คะแนน 5.สถานีศรีสะเกษ ได้ 105.0 คะแนน 6.สถานีหัวหิน ได้ 104.0 คะแนน 7.สถานีนครลำปาง ได้ 101.4 คะแนน และ 8.สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ได้ 94.0 คะแนน

ขณะที่สถานีรถไฟฟ้าในเมืองและชานเมือง 11 อันดับแรก ได้แก่ 1.สถานีเพชรบุรี ได้ 135.6 คะแนน 2.สถานีหมอชิต ได้ 133.6 คะแนน 3.สถานีสุขุมวิท ได้ 132.6 คะแนน 4.สถานีลาดพร้าว ได้ 130.6 คะแนน 5.สถานีแยก คปอ. ได้ 123.6 คะแนน 6.สถานีหลักสอง ได้ 122.4 คะแนน 7.สถานีคูคต ได้ 121.6 คะแนน 8.สถานีกลางบางซื่อ ได้ 119.0 คะแนน 9.สถานีคลองบางไผ่ ได้ 117.6 คะแนน 10.สถานีดอนเมือง ได้ 116.0 คะแนน และ 11.สถานีพญาไท ได้ 113.0 คะแนน

พิเชฐ ให้รายละเอียดต่อว่า เพื่อส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการบริการและความปลอดภัยในระบบขนส่งทางราง รวมถึงสร้างความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพสถานี และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการบริการระบบขนส่งทางรางต่อไปในอนาคต

โดยกิจกรรม "สถานีดีพร้อม" เป็นการลงพื้นที่ตรวจประเมินคุณภาพสถานีรถไฟและรถไฟฟ้า ซึ่งจะมีการประเมินความพร้อมของสถานีตามมาตรฐานสากล 8 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการเชื่อมต่อ ด้านข้อมูลการเดินทางและประชาสัมพันธ์ ด้านความปลอดภัย ด้านความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการออกแบบตามหลัก Universal Design ด้านการให้บริการ และด้านสุนทรียภาพ ทั้งนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการให้มีประสิทธิภาพมุ่งสู่มาตรฐานสากล

"สถานีรถไฟ" ที่ได้รางวัลจะมีการจัดระบบอำนวยความสะดวก การเชื่อมต่อการเดินทาง หรือ ฟีดเดอร์ที่ดี เช่น สถานีเชียงใหม่ และหาดใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าการมีระบบเชื่อมต่อที่ดีถือเป็นส่วนหนึ่งของการดึงดูดให้คนมาใช้บริการมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องมีความร่วมมือกับท้องถิ่น และตั้งแต่ปี 2566 กรมรางจะเข้าตรวจคุณภาพในทุกสถานี ทั้งนี้เพื่อหาข้อบกพร่องและแจ้งให้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ถือเป็นการดำเนินการเพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการใช้บริการ

ขณะเดียวกัน กรมรางไม่ได้มีแค่กิจกรรมสถานีดีพร้อม นอกจากนี้แล้วยังมีโครงการศึกษาและจัดทำระบบประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานการขนส่งทางรางในแต่ละสายทางของประเทศ เพื่อกำกับดูแลระบบรางทั้งรถไฟระหว่างเมือง รถไฟในเมือง รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมีการกำหนดตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อกำกับดูแลคุณภาพการให้บริการ โดยได้ดำเนินโครงการศึกษา รวบรวม ประมวลมาตรฐานสากลและกรณีศึกษาด้านการขนส่งทางรางจากประเทศต่างๆ

เช่น Comet and Nova, EN 13816, International Transport Forum (ITF), Platform of Railway Infrastructure Managers in Europe (PRIME), Rail Net Europe (RNE), กรณีศึกษาจากประเทศต่างๆ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับบริบทประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาเสนอตัวชี้วัดในการกำกับประสิทธิภาพระบบขนส่งทางราง รวม 7 ด้าน

ประกอบด้วย 1.ประสิทธิภาพด้านระบบ 2.ประสิทธิภาพการใช้ ประโยชน์ของสินทรัพย์ 3.ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรบุคคล 4.ประสิทธิภาพด้านดำเนินงาน 5.ประสิทธิภาพด้านการเงิน 6.ประสิทธิภาพ ด้านการบริการ และ 7.ประสิทธิภาพการจัดการด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

ส่วนตัวชี้วัดกำหนดในระดับกำกับ หรือ Regulatory Indicator (RI) มีจำนวน 19 ตัวชี้วัด ซึ่งจะเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนทั้งสิ้น ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ความตรงต่อเวลา การเข้าถึงบริการง่ายทุกกลุ่ม ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ซึ่งกรมรางจะให้ผู้ให้บริการระบบรางทุกรายส่งข้อมูลผ่านระบบดิจิทัลเพื่อเช็กตัวชี้วัดทั้งหมดว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ หากไม่ตรงมาตรฐานกรมรางจะมีการเตือนไปยังผู้ประกอบการให้เร่งแก้ไข

พิเชฐกล่าวว่า ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางรางคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2566 ซึ่งจะมีการออกกฎกระทรวงเป็นกฎหมายลูก เรื่อง ระบบประเมินตัวชี้วัด ซึ่งจะทำให้กรมรางมีอำนาจในการให้ผู้ประกอบการทุกรายส่งข้อมูลที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการเพื่อตรวจสอบมาตรฐาน โดยข้อมูลจะมีการเปิดเผยด้วยความชัดเจน โปร่งใส บนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ผู้ใช้บริการสามารถเข้าไปดูได้ว่ารถไฟฟ้าดีเลย์กี่นาที กี่ครั้ง มีอุบัติเหตุ มีร้องเรียนอย่างไร เป็นต้น

แน่นอนว่า หลังกฎหมายขนส่งทางรางมีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการจะต้องส่งข้อมูล ไม่ส่งไม่ได้ จะมีความผิดทางปกครอง คือถูกปรับ และหากกรณีนั้นทำให้เกิดเหตุและทำให้มีผู้ใช้บริการเกิดบาดเจ็บเสียชีวิตจะมีโทษทางอาญาอีกด้วย ที่ผ่านมาข้อมูลเรื่องการเดินรถ อุบัติเหตุ กรมรางได้รับ แต่อาจจะมีบางเรื่องที่ผู้ประกอบการไม่ส่ง เช่น ลิฟต์เสีย บันไดเลื่อนเสีย ตู้ขายตั๋วเสีย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการให้บริการประชาชนทั้งสิ้น รวมถึงที่มีผู้โดยสารร้องเรียนเรื่องอะไร หลังจากนี้ต้องส่งหมด

พิเชฐ กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมขนส่งทางรางได้เน้นย้ำว่า ผลลัพธ์ในโครงการศึกษาและจัดทำระบบประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานการขนส่งทางรางในแต่ละสายทางของประเทศ จะเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลประสิทธิภาพระบบขนส่งทางรางของประเทศให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มรอยยิ้มและความสุขให้กับประชาชนในการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 14 ส.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2022 12:16 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดสถิติรถไฟฟ้าMRTเจ๊งบ่อยสุด
Source - เดลินิวส์
วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:21 น.

ขร.สั่งทุกสีแก้-ป้องกันขัดข้อง กลับมาใช้บริการนิวไฮ1.2ล้าน


รถไฟฟ้าเสียบ่อย! 2 เดือน 36 ครั้ง กรมรางถกผู้ให้บริการร่วมหาทางป้องกัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:03 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:03 น.

ขร.เดินสายลงพื้นที่พบผู้ให้บริการระบบราง หลังรถไฟฟ้าเกิดเหตุขัดข้องบ่อย สถิติ มิ.ย.-ก.ค. รวม 36 ครั้ง ฟังปัญหาและพิจารณาแนวทางการแก้ไข ป้องกัน

วันที่ 15 ส.ค. 2565 นายทยากร จันทรางศุ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และนางสาวจีรวรรณ หงสกุล ผู้อำนวยการกองกำกับกิจการขนส่งทางราง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ขร. เข้าพบผู้ให้บริการระบบรางเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาเหตุขัดข้องในระบบรถไฟฟ้า โดยมีผู้แทนบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (Era-1) เข้าร่วมหารือ

การลงพื้นที่เข้าพบผู้ให้บริการระบบรางครั้งนี้สืบเนื่องจากที่ ขร.ได้ดำเนินการรวบรวมสถิติเหตุขัดข้องในระบบรถไฟฟ้า พบว่ามีเหตุขัดข้องในเดือนมิถุนายน 2565 จำนวน 19 ครั้ง และเดือนกรกฎาคม 2565 จำนวน 17 ครั้ง โดยช่วงเช้าได้เข้าพบ BTSC ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส และช่วงบ่ายได้เข้าพบ รฟม. และ BEM ณ ห้องประชุมสถานีเตาปูน และเข้าพบ Era-1 ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน

จากการหารือพบว่าเหตุรถไฟฟ้าขัดข้องที่พบส่วนใหญ่เป็นเหตุขัดข้องเล็กน้อย (Minor Incident) ทำให้เกิดความล่าช้าเฉลี่ย 5-10 นาที เช่น เหตุประตูรถขัดข้อง ระบบไฟฟ้าและระบบขับเคลื่อนขัดข้อง เป็นต้น

จึงได้หารือแนวทางการป้องกันเหตุขัดข้องแต่ละกรณี รวมทั้งแนวทางการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันก่อนเกิดเหตุขัดข้องตามรอบระยะเวลา (Preventive Maintenance) และการแก้ไขเหตุขัดข้อง (Corrective Maintenance) ทั้งการเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ขัดข้องทั้งชุด หรือสำรองขบวนรถเพื่อทดแทนได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนการเก็บข้อมูลสถิติการขัดข้องต่างๆ (Log file) เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุของเหตุขัดข้องที่พบบ่อย (Lesson Learn) ทำให้เมื่อเกิดเหตุขัดข้องแล้วสามารถคาดการณ์ความเป็นไปได้ของสาเหตุการขัดข้อง และสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีต่อไป

นอกจากนี้ ยังเน้นให้มีการประชาสัมพันธ์ในหลายช่องทาง เพื่อให้ผู้โดยสารรับทราบถึงเหตุขัดข้อง ประกอบการวางแผนการเดินทางอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/08/2022 8:25 am    Post subject: Reply with quote

'กรมราง' ถกปมอุบัติเหตุผู้โดยสารตกบันไดเลื่อนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
ไทยโพสต์ 23 สิงหาคม 2565 เวลา 6:49 น.

“กรมรางฯ”เรียกผู้ให้บริการรถไฟฟ้าถกถอดบทเรียนกรณีผู้โดยสารพลัดตกบันไดเลื่อนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสุรศักดิ์ เร่งคลอดแผน ย้ำหากมีผู้โดยสารเริ่มแน่น แนะให้บริการบันไดเลื่อน หรือใช้บันไดเพื่อป้องกันเหตุซ้ำรอย

23 ส.ค. 2565 – นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมหารือระหว่างกรมการขนส่งทางรางกับผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (AERA1) เพื่อถอดบทเรียน กรณีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 18.38 น. เกิดเหตุมีผู้ลื่นล้มตกบันไดเลื่อนทางขึ้น บริเวณทางเข้า-ออกหมายเลข 3 ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสุรศักดิ์ (S5)

ทั้งนี้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสุรศักดิ์ ตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการจัดงานครบรอบการก่อตั้งโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย 170 ปี ซึ่งมีการแสดงคอนเสิร์ตของนักร้อง 3 วงดนตรี โดยมีนักเรียนและศิษย์เก่าเดินทางมาร่วมงานจำนวนมาก โดยงานเสร็จสิ้นเวลา 18.00 น. ผู้ร่วมกิจกรรมได้ทยอยเดินทางกลับโดยใช้บริการรถไฟฟ้าจำนวนมาก ต่อมาได้มีฝนตกลงมา ทำให้คนเบียดเสียดกันขึ้นบันไดเลื่อนรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสุรศักดิ์เพื่อเดินทางกลับบ้านและหลบฝนจำนวนมากกว่าปกติ

อย่างไรก็ตามจากนั้นมีคนลื่นล้มก่อนที่บันไดเลื่อนจะสุดทางด้านบน ทำให้เกิดการล้มทับคนที่กำลังขึ้นสู่ด้านบนลงสู่ด้านล่าง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บหลายราย โดยมีอาการบาดเจ็บ เช่น แผลถลอก ฟกช้ำ และมีผู้บาดเจ็บบริเวณส้นเท้า ภายหลังเกิดเหตุ BTS ได้ปิดให้บริการบันไดเลื่อนดังกล่าวชั่วคราว และจัดให้มีการดำเนินการตรวจสอบจากทางฝ่ายช่างบริษัทซ่อมบำรุงบันไดเลื่อน ซึ่งเบื้องต้นมีรายงานจากฝ่ายช่าง พบว่าบันไดเลื่อนไม่ได้เกิดเหตุขัดข้อง โดย BTS แจ้งว่าได้เข้าดูแลผู้บาดเจ็บ พร้อมทั้งประสานรถพยาบาล มูลนิธิกู้ภัยนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลในทันที และยินดีที่จะดูแลผู้บาดเจ็บอย่างดีที่สุด

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาถอดบทเรียน โดยในกรณีที่มีการจัดกิจกรรมใกล้บริเวณสถานีรถไฟฟ้าที่มีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก เช่น การจัดชุมนุม การจัดแสดงคอนเสิร์ต กิจกรรม Countdownปีใหม่ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้มีประชาชนมาใช้บริการที่สถานีรถไฟฟ้าจำนวนมาก ขอให้ผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้า จะต้องมีการประสานข้อมูลเกี่ยวกับเวลาจัดกิจกรรมและเวลาเลิกกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ที่สถานีนั้น ตามจุดต่างๆ เพื่อบริหารจัดการ ตั้งแต่ก่อนขึ้นบันไดเลื่อน และมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง
“เมื่อพบว่าผู้โดยสารเริ่มหนาแน่นบนสถานี ต้องมีการจัดกลุ่มและลำดับการให้บริการ (group release/crowd control) โดยคำนึงถึงจุดคอขวดต่างๆ (bottleneck) เพื่อลดความหนาแน่น ตั้งแต่ชั้นพื้นดิน สู่ชั้นจำหน่ายตั๋ว และบนชั้นชานชาลา (platform) ไม่ให้เกิดเหตุผู้ใช้บริการขึ้นบันไดเลื่อนจนหนาแน่น และติดขัดจนไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนตัว (passenger flow) ได้” นายพิเชฐ กล่าว

ทั้งนี้ กรณีจำเป็นที่เห็นว่าจะไม่สามารถบริหารจัดการบริเวณบันไดเลื่อนได้ หรือผู้โดยสารจำนวนมากหรือมีผู้พักคอยบนสถานีเนื่องจากฝนตก ให้พิจารณาจำกัดการใช้งานบันไดเลื่อน และแนะนำให้ผู้ใช้บริการขึ้นบันไดปกติที่อยู่ใกล้เคียงแทน รวมทั้งจัดให้มีการประกาศประชาสัมพันธ์บริเวณสถานี ให้ผู้ใช้บริการทราบ หากเกิดความหนาแน่น

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางรางขอให้ทางผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารทราบถึงการใช้บันไดเลื่อนอย่างปลอดภัยด้วย เช่น ไม่ผลักหรือหยอกล้อ งดเล่นโทรศัพท์ ผู้ปกครองดูแลเด็ก ระวังชายกางเกงและกระโปรง จับราวบันได ระมัดระวังการสวมใส่รองเท้ายางและปลายเชือกรองเท้า โดยหลังจากนี้กรมรางฯจะได้จัดทำประกาศแนวทางป้องกันเหตุดังกล่าว และติดตามการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ประชาชนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2022 12:15 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาในโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 M-MAP 2
เราศึกษาอะไรกันบ้าง ?
สามารถติดตามรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับโครงการฯ ได้ที่
Website : https://www.m-map2thailand.com/...
Facebook Fanpage :
https://www.facebook.com/profile.php?id=100072151280767
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/373788164945652
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2022 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'กรมราง' ถกปมอุบัติเหตุผู้โดยสารตกบันไดเลื่อนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
ไทยโพสต์ 23 สิงหาคม 2565 เวลา 6:49 น.


“กรมราง” คลอดแนวปฏิบัติ 4 ข้อ ป้องกันซ้ำรอยผู้โดยสารล้มตกบันไดเลื่อนรถไฟฟ้า!
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:04 น.

“กรมการขนส่งทางราง” คลอดประกาศแนวปฏิบัติป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้บันไดเลื่อนสถานีรถไฟ-รถไฟฟ้า 4 ข้อ ต้องไม่ซ้ำรอยผู้โดยสารหกล้ม ที่สถานีสุรศักดิ์ ลุยเช็กผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด

เมื่อวันที่ 26 ส.ค. นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในประกาศ ขร. เรื่อง แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการบริเวณบันไดเลื่อนของสถานีระบบขนส่งทางรางทุกแห่ง สำหรับหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางราง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยกับกรณีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบริเวณสถานีสุรศักดิ์ เกิดอุบัติเหตุหกล้มจากการขึ้นบันไดเลื่อนในสถานีระบบขนส่งทางรางอีก โดยเฉพาะในช่วงเวลาหรือสถานการณ์ที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เช่น เกิดฝนตกหนัก มีการจัดชุมนุมทางการเมือง จัดแสดงดนตรี จัดงานนิทรรศการหรือแสดงสินค้า การจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่


นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางที่กำหนดให้ผู้ให้บริการใช้ปฏิบัติ มีดังนี้
1.ให้มีการประสานข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาการดำเนินกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่บริเวณสถานีระบบขนส่งทางรางนั้นอย่างเพียงพอตามจุดต่างๆ เพื่อบริหารจัดการ การขึ้น-ลง บันไดเลื่อนอย่างต่อเนื่อง,
2. ให้มีการจัดกลุ่มและลำดับการให้บริการ (group release/crowd control) โดยคำนึงถึงจุดคอขวดต่าง ๆ (bottleneck) เพื่อลดความหนาแน่น ตั้งแต่ชั้นพื้นดิน ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชั้นชานชาลา (platform) ไม่ให้เกิดเหตุผู้ใช้บริการขึ้นบันไดเลื่อนจนหนาแน่นและติดขัด จนไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนตัวของผู้ใช้บริการ (passenger flow) ได้

3. กรณีที่ไม่สามารถบริหารจัดการบริเวณบันไดเลื่อนได้ หรือมีผู้ใช้บริการจำนวนมากบนสถานีระบบขนส่งทางราง ให้พิจารณาจำกัดการใช้งานบันไดเลื่อน และแจ้งให้ผู้ใช้บริการขึ้นบันไดปกติที่อยู่ใกล้เคียงแทน รวมทั้งให้มีการประกาศประชาสัมพันธ์อย่างชัดเจนให้ผู้ใช้บริการทราบสถานการณ์ และวิธีการเข้าสู่สถานีระบบขนส่งทางราง และ

4. ให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการใช้บันไดเลื่อนอย่างปลอดภัย เช่น ไม่ผลักหรือหยอกล้อกัน งดเล่นโทรศัพท์มือถือ ดูแลเด็กและผู้สูงอายุ ระมัดระวังชายกางเกงยาว กระโปรง รองเท้ายางและปลายเชือกรองเท้า จับราวบันไดทุกครั้ง ขณะใช้บันไดเลื่อน เป็นต้น ทั้งนี้ ขร. จะมีการติดตามการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวอย่างเข้มงวด รวมทั้งจะมีการดำเนินการวางแนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในจุดต่างๆ ของสถานีระบบขนส่งทางราง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างเช่นดังกล่าวขึ้นอีกต่อไป.

บันไดเลื่อน BTS สุรศักดิ์ เอฟเฟ็กต์ กรมรางออกแนวทางคุมบันไดเลื่อนรถไฟฟ้า
ในประเทศ
วันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:41 น.

‘กรมราง’ ล้อมคอกอุบัติเหตุ BTS สุรศักดิ์ ออกประกาศ 4 ข้อคุมใช้บันไดเลื่อนสถานีรถไฟทุกแห่ง

เขียนโดยisranewss
เขียนวันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 น.

บันไดเลื่อน BTS สุรศักดิ์ เอฟเฟ็กต์ กรมรางออกแนวทางคุมบันไดเลื่อนรถไฟฟ้า
วันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:41 น.
กรมขนส่งทางรางตื่น!ออกประกาศ แนวทางปฏิบัติความปลอดภัยป้องกันอุบัติเหตุ หวั่นซ้ำรอยคนตกบันไดเลื่อนรถไฟฟ้า
By JNC Team - N -26 August 2022
กรมราง ออกประกาศ วาง 4 ข้อปฎิบัติป้องกันอุบัติเหตุบันไดเลื่อนรถไฟฟ้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:32 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:32 น.



กรมราง ออกประกาศ แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยป้องกันอุบัติเหตุ บริเวณบันไดเลื่อนของสถานีรถไฟฟ้าวางมาตรการ 4 ข้อ สั่งผู้ให้บริการ ดำเนินการอย่างเข้มงวด

กรมการขนส่งทางราง ออกประกาศ เรื่อง แน[/url]วทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการบริเวณบันไดเลื่อนของสถานีระบบขนส่งทางราง สำหรับหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางราง
‘กรมราง’ คลอดประกาศระบุกฎเหล็ก 4 ข้อในการใช้บันไดเลื่อนสถานีรถไฟ-รถไฟฟ้าทุกแห่ง หลังเกิดอุบัติเหตุที่สถานีสุรศักดิ์จนมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก



กรมการขนส่งทางราง ออกประกาศ เรื่อง แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการบริเวณบันไดเลื่อนของสถานีระบบขนส่งทางราง สำหรับหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางราง

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยหลังประกาศแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการบริเวณบันไดเลื่อนของสถานีระบบขนส่งทางราง สำหรับหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางราง



ดร.พิเชฐกล่าวว่าจากเหตุผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบริเวณสถานีสุรศักดิ์เกิดอุบัติหกล้มจากการขึ้นบันไดเลื่อนในเขตระบบเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 ส่งผลให้ผู้ใช้บริการรายอื่น ๆ เสียหลักล้มทับกันจนได้รับบาดเจ็บหลายราย

ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้ในสถานีระบบขนส่งทางราง โดยเฉพาะในช่วงเวลาหรือสถานการณ์ที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เช่น เกิดฝนตกหนัก มีการจัดชุมนุมทางการเมือง จัดแสดงดนตรี จัดงานนิทรรศการหรือแสดงสินค้า การจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เป็นต้น


กรมการขนส่งทางรางจึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยผู้ใช้บริการบันไดเลื่อนของสถานีระบบขนส่งทางรางทุกแห่ง เพื่อผู้ให้บริการใช้ถือปฏิบัติ ดังนี้

ข้อ 1 ให้มีการประสานข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาการดำเนินกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่บริเวณสถานีระบบขนส่งทางรางนั้นอย่างเพียงพอตามจุดต่าง ๆ เพื่อบริหารจัดการ การขึ้น-ลง บันไดเลื่อนอย่างต่อเนื่อง

ข้อ 2 ให้มีการจัดกลุ่มและลำดับการให้บริการ (group release/crowd control) โดยคำนึงถึงจุดคอขวดต่าง ๆ (bottleneck) เพื่อลดความหนาแน่น ตั้งแต่ชั้นพื้นดิน ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชั้นชานชาลา (platform) ไม่ให้เกิดเหตุผู้ใช้บริการขึ้นบันไดเลื่อนจนหนาแน่นและติดขัด จนไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนตัวของผู้ใช้บริการ (passenger flow) ได้

ข้อ 3 กรณีที่ไม่สามารถบริหารจัดการบริเวณบันไดเลื่อนได้ หรือมีผู้ใช้บริการจำนวนมากบนสถานีระบบขนส่งทางราง ให้พิจารณาจำกัดการใช้งานบันไดเลื่อน และแจ้งให้ผู้ใช้บริการขึ้นบันไดปกติที่อยู่ใกล้เคียงแทน รวมทั้งให้มีการประกาศประชาสัมพันธ์อย่างชัดเจนให้ผู้ใช้บริการทราบสถานการณ์และวิธีการเข้าสู่สถานีระบบขนส่งทางราง


ข้อ 4 ให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการใช้บันไดเลื่อนอย่างปลอดภัย เช่น ไม่ผลักหรือหยอกล้อกัน งดเล่นโทรศัพท์มือถือ ดูแลเด็กและผู้สูงอายุ ระมัดระวังชายกางเกงยาว กระโปรง รองเท้ายางและปลายเชือกรองเท้า จับราวบันไดทุกครั้ง ขณะใช้บันไดเลื่อน เป็นต้น

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางจะมีการติดตามการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวอย่างเข้มงวด รวมทั้งจะมีการดำเนินการวางแนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในจุดต่าง ๆ ของสถานีระบบขนส่งทางราง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างเช่นดังกล่าวขึ้นอีกต่อไป

กรมการขนส่งทางราง ออกประกาศ เรื่อง แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการบริเวณบันไดเลื่อนของสถานีระบบขนส่งทางราง https://www.thailandplus.tv/archives/593982

ออกกฎคุมอุบัติเหตุบันไดเลื่อนสถานีรถไฟ-รถไฟฟ้า
*4ข้อหลักเช็กกิจกรรม-จัดคิว-จำกัดการใช้งาน
*ประชาสัมพันธ์ความปลอดภัยงดฮัลโหลมือถือ
*ระวังชายเกง/กะโปรง/เชือกรองเท้า/เด็ก/สูงวัย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/21106826133222


Last edited by Wisarut on 28/08/2022 10:32 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2022 1:10 pm    Post subject: Reply with quote

สถิติการขนส่งสินค้าทางราง ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 🚂🛢️⛽
ติดตามข้อมูลข่าวสารของกรมการขนส่งทางรางที่น่าสนใจผ่านช่องทางต่างๆได้ที่
Youtube : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
Website : http://drt.go.th
#กรมการขนส่งทางราง #ระบบขนส่งทางราง
#ระบบราง #รถไฟ
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/373869701604165
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2022 6:49 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
บันไดเลื่อน BTS สุรศักดิ์ เอฟเฟ็กต์ กรมรางออกแนวทางคุมบันไดเลื่อนรถไฟฟ้า
ในประเทศ
วันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:41 น.

อุบัติเหตุ‘บันไดเลื่อน’จากความแออัด
แนวหน้า วันอาทิตย์ ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.

เป็นเวลา 130 ปีแล้วนับจากปี 2435 ที่ เจสซี วิลฟอร์ด เรโน (Jesse Wilford Reno) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้จดสิทธิบัตรสิ่งที่ต่อมาจะถูกเรียกว่า “บันไดเลื่อน (Escalator)” และเริ่มก่อสร้างให้ใช้งานกันในปี 2439 ณ บริเวณด้านข้างของท่าเรือโอลด์ ไอรอน (Old Iron) ย่านโคนีย์ ไอส์แลนด์ (Coney Island)เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่ง กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด (Guinness World Records) ได้รับรองให้สิ่งประดิษฐ์ของ เรโน เป็นบันไดเลื่อนที่ใช้งานได้จริงแห่งแรกของโลก แม้จะมีนักประดิษฐ์หลายคนจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์แนวเดียวกันไว้ก่อนหน้าก็ตาม

สำหรับประเทศไทย คนไทยได้สัมผัสบันไดเลื่อนกันเป็นครั้งแรกในปี 2507 ในการเปิดตัว “ห้างไทยไดมารู” ซึ่งห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ยังเป็นห้างแห่งแรกที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศด้วย ก่อนที่บันไดเลื่อนจะกลายเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกคู่ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน และระบบสาธารณูปโภคอย่าง “สถานีรถไฟฟ้า” ที่เพิ่งจะมีข่าวเกิดอุบัติเหตุไปเมื่อช่วงกลางเดือน ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา

เมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้ สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง อุบัติเหตุบันไดเลื่อนที่สถานีรถไฟฟ้า BTS สุรศักดิ์ ซึ่งในวันเกิดเหตุนั้นเกิดฝนตก ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการจัดงานคอนเสิร์ต ทำให้ผู้คนจำนวนมากหลบฝน แย่งกันขึ้นบันไดเลื่อนจนออกันหนาแน่นด้านบนของบันไดเลื่อนตรงชานชาลา ไม่มีการเคลื่อนตัว แต่บันไดเลื่อนยังคงทำงานอยู่ ดันคนจากข้างล่างขึ้นไปอีกจนทำให้มีคนเสียหลัก ล้มจากด้านบนเป็นโดมิโน่ทับกันลงมาได้รับบาดเจ็บนับสิบราย

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจารย์สุพรรณแสดงความเป็นห่วงบันไดเลื่อนอีกกว่า 40,000 เครื่อง ที่ใช้งานอยู่ทั่วประเทศไทย ซึ่งบันไดเลื่อนสมัยใหม่ในไทยจะมีระบบเพื่อความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของระบบบันไดเลื่อนและทางเลื่อนอัตโนมัติ พ.ศ.2565 ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งพัฒนามาจากมาตรฐานยุโรป EN 115-1:2017 Safety of Escalators and Moving Walks

โดยจะมีเซ็นเซอร์ (Sensor) อยู่ 15 ตำแหน่ง และปุ่มกดหยุดด้วยมือฉุกเฉินอยู่ แต่สำหรับบันไดเลื่อนสาธารณะที่ใช้ขนส่งมวลชนที่สถานีรถไฟฟ้า BTS นั้น ควรจะมีระบบความปลอดภัยที่มากกว่าบันไดเลื่อนที่ใช้งานในสถานที่ทั่วไป เช่นตามโรงแรม เนื่องจากในแต่ละวัน มีผู้ใช้รถไฟฟ้าทั้งระบบประมาณ 800,000-900,000 คน ชั่วโมงบริการยาวนานและมีความแออัดมากกว่า

“ทาง BTS ควรมีเจ้าหน้าที่ของสถานีคอยสังเกต ในช่วงที่มีคนใช้บริการจำนวนมากเกินความปลอดภัย ต้องมีการจัดการกั้นไม่ให้คนขึ้นมาเพิ่มจากด้านล่าง และจัดคิวให้คนทยอยขึ้น-ลง พัฒนาเสริมระบบความปลอดภัยมีอุปกรณ์ตรวจจับแบบอัตโนมัติ (Sensor) ให้บันไดเลื่อนหยุดการทำงานเมื่อมีคนหยุดยืนออกันที่ด้านบน ไม่ให้ดันคนขึ้นไปเพิ่ม

และอาจเสริมด้วยเทคโนโลยี IoT (อินเตอร์เนตของสรรพสิ่ง) เพื่อแจ้งเตือนเหตุไปยังศูนย์ควบคุมแบบ Real-time และ AI (ปัญญาประดิษฐ์) เพื่อจำแนกอุบัติเหตุ, การหกล้ม (Real-time Fall Detection) ของคนบนบันไดเลื่อนเพื่อสั่งการหยุดการทำงานของบันไดเลื่อนได้ทันท่วงที ในฮ่องกงยังมีการใช้ AI เพื่อทำนายคาดการซ่อมแซมบันไดเลื่อนก่อนที่จะเกิดเหตุชำรุดขึ้นจริงอีกด้วย” อาจารย์สุพรรณ กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.ศิรดล ศิริธร ผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคมและประธานหลักสูตรขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “แม้หลักการออกแบบการพัฒนาที่ดินรอบสถานีขนส่งมวลชน คือจะต้องวางตำแหน่งสถานีให้ใกล้กับแหล่งชุมชนและแหล่งกิจกรรมเพื่อให้ผู้เดินทางเดินถึงได้ง่าย แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับแหล่งกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเดินทางจำนวนมากในช่วงเวลาสั้นๆ” เช่น สนามกีฬา โรงละคร หรือสถานที่จัดคอนเสิร์ต

ซึ่งหลายประเทศยุโรปซึ่งเข้มงวดในความปลอดภัยมักจะวางตำแหน่งสถานีไว้ไกลจากแหล่งกำเนิดการเดินทางใหญ่ๆ ราว 1-2 กิโลเมตร ดังตัวอย่าง อัลลิอันซ์ อารีน่า สนามฟุตบอลใหญ่ที่สุดในเยอรมนี เมืองมิวนิค ตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า เฟิร์ทมานนิ่ง (Fröttmaning) 1.1 กม. โรงละครรอยัล อัลเบิร์ต ฮอล ในลอนดอน ตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าเซาท์เคนซิงตัน (South Kensington) 1 กม. ทั้งนี้เพื่อให้ฝูงชนขนาดใหญ่ค่อยๆ กระจายความหนาแน่นลงขณะที่เดินมาสู่สถานี ทำให้ชานชาลาและพื้นที่อื่นๆ ของสถานีสามารถรองรับผู้โดยสารได้

“บ้านเรามีสถานีรถไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้าและสนามกีฬาอยู่บ้าง แต่ที่ผ่านมายังไม่มีปัญหารุนแรงมากไปกว่าสภาพผู้โดยสารคับคั่งในบางช่วงเวลา อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้เสมอ กรณีเหตุที่สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ จึงควรถือเป็นกรณีศึกษา อีกไม่นานเราจะมีสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้มและสีชมพู ซึ่งใกล้แล้วเสร็จที่เชื่อมต่อกับ ราชมังคลากีฬาสถาน จุคนได้ 50,000-80,000 คน และ ธันเดอร์โดม สเตเดี้ยม อิมแพ็ค จุ 15,000 คน

การย้ายคงเป็นไปไม่ได้ แต่ยังมีมาตรการการบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ ที่สามารถทำได้ เช่น การจัดกิจกรรมหลังจากจบคอนเสิร์ต หรือหลังแมทช์การแข่งขันซึ่งจะสามารถดึงดูดคนส่วนหนึ่งให้เข้าสถานีรถไฟฟ้าช้าลง การจัดระเบียบหรือการสร้างแถวคอยก่อนเข้าสู่สถานี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ได้”อาจารย์ศิรดล กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/08/2022 7:51 am    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสารระบบรางทุบสถิติ1.3ล้าน
Source - เดลินิวส์
Tuesday, August 30, 2022 05:37

แซงทะลุ1.2ล้านก่อนโควิด เก็บตังค์'สายสีเขียว'ไม่ลด

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. ปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางทุกระบบ ทั้งรถไฟ, รถไฟฟ้า MRT, รถไฟฟ้า BTS, รถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวันจันทร์-ศุกร์ จากเฉลี่ย 1.12 ล้านคนต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 1.14 ล้านคนต่อวัน จนกระทั่งบางวันเพิ่มเป็น 1.25 ล้านคนต่อวัน และเมื่อวันที่ 26 ส.ค.ทำนิวไฮผู้โดยสารสูงสุด 1.30 ล้านคนต่อวัน ถือเป็นตัวเลขผู้โดยสารที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อปี 62 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1.22 ล้านคนต่อวัน

นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อมูลเมื่อวันศุกร์ที่ 26 ส.ค. ปริมาณผู้โดยสารขนส่งทางรางทุกระบบ อยู่ที่ 1,305,317 คน ประกอบด้วย รถไฟฟ้า BTS 759,039 คน , รถไฟฟ้า MRT 401,223 คน, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) 65,677 คน, รถไฟ 59,891 คน และรถไฟระบบชานเมือง (รถไฟฟ้าสาย สีแดง) 19,487 คน และ หากพิจารณาจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน หลังผ่อนคลายมาตรการเพื่อรองรับการเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ถึงปัจจุบัน พบว่าปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางทุกระบบ อยู่ที่ประมาณ 9.43 แสนคนต่อวัน ยังน้อยกว่าช่วงปี 62 ประมาณ 23%

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า ปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวันศุกร์ ซึ่งบางวันสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว ปัจจัยส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มมีการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น รวมทั้งปัญหาการจราจรติดขัด จึงทำให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยเฉพาะระบบราง ซึ่งเป็นทางเลือกในการเดินทางที่มีความสะดวก รวดเร็วและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ขร. ได้กำชับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกระบบเตรียมความพร้อม อาทิ ขบวนรถ และการปรับเพิ่มความถี่ เพื่อรองรับผู้โดยสารได้อย่างเพียงพอ

นายพิเชฐ ยังกล่าวถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) เตรียมเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (14-44 บาท ตั้งแต่กลางเดือนนี้ และตลอดสายสูงสุดไม่เกิน 59 บาท) ด้วยว่า มั่นใจว่าหากมีการเก็บค่าโดยสารตามที่ กทม. ระบุ ปริมาณผู้โดยสารน่าจะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นการเดินทางที่สะดวก และรวดเร็วมาก อีกทั้งปัจจุบันการจราจรของถนนด้านล่างรถไฟฟ้าเส้นทางส่วนต่อขยาย ยังมีปัญหาการจราจรติดขัดค่อนข้างมาก ดังนั้นการเก็บค่าโดยสารจึงไม่น่าจะส่งผลทำให้ปริมาณผู้โดยสารลดลง.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 31 ส.ค. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2022 8:47 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ผู้โดยสารระบบรางทุบสถิติ1.3ล้าน
Source - เดลินิวส์
Tuesday, August 30, 2022 05:37 น.


ลิงก์มาแล้วครับ
https://www.dailynews.co.th/news/1416485/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2022 10:21 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ก.ย.65 มีผู้ใช้บริการระบบรางรวมทั้งสิ้น 1,344,310 คน-เที่ยว (รองจากวันที่ 2ก.ย.65 ซึ่งมีผู้ใช้บริการ 1,353,915 คน-เที่ยว) ประกอบด้วย รฟท. 64,485 คน-เที่ยว(เชิงพาณิชย์ 20,482 คน-เที่ยว และเชิงสังคม 44,003 คน-เที่ยว) ARL 64,552 คน-เที่ยว, สายสีแดง 19,341 คน-เที่ยว, MRT 435,076 คน-เที่ยว (สีน้ำเงิน 385,281 คน-เที่ยว และสีม่วง 49,795 คน-เที่ยว) และ BTS 760,856 คน-เที่ยว
ป.ล. ทั้งนี้ ตั้งแต่มีสถานการณ์ Covid-19 เป็นต้นมา พบว่า ผู้โดยสารสูงสุด (Newhigh) สำหรับระบบรถไฟฟ้าเกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2565 ทั้งสิ้น ได้แก่ ARL สูงสุด 66,940 คน-เที่ยว เมื่อวันที่ 2ก.ย.65 , BTS สูงสุด 790,696 คน-เที่ยว เมื่อวันที่ 2ก.ย.65, สายสีแดงสูงสุด 22,885 คน-เที่ยว เมื่อวันที่ 8ก.ย.65, สายสีน้ำเงินสูงสุด 385,281 คน-เที่ยว เมื่อ 9ก.ย.65 และสีม่วงสูงสุด 49,795 คน-เที่ยว เมื่อวันที่ 9ก.ย.65 (ในส่วน MRT ภาพรวมสูงสุดเมื่อ 16ต.ค.63 จำนวน 440,052 คน-เที่ยว) ส่วน รฟท. สูงสุดที่ 82,037คน-เที่ยว เมื่อวันที่ 4ก.ย.63
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/5521300877916812
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 42, 43, 44 ... 64, 65, 66  Next
Page 43 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©