Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180010
ทั้งหมด:13491242
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2020 11:09 am    Post subject: Reply with quote

เมดอินไทยแลนด์! “กรมราง” ผนึก “กระทรวงอุดมศึกษา” ดันระบบรางใช้ของไทย 40% ใน 4 ปี
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 20:28 น.

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. กล่าวว่า การลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กระทรวงคมนาคม เป็นการลงนามภายใต้ความร่วมมือที่ครอบคลุมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัยและพัฒนาระบบราง
รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในประเทศด้วย ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบวิเคราะห์ด้านระบบราง และเป็นการช่วยสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ทดแทนการนำเข้า


เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีต่างชาติ ดังนั้น การนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง เป็นการต่อยอดให้อุตสาหกรรมระบบรางเกิดขึ้นได้ในประเทศ

สอดคล้องกันกับสภาอตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่มีนโยบาย Made in Thailand พอดี ซึ่งหนึ่งในภารกิจของ อว. คือการสร้างกำลังพล โดยคนที่จะกำหนดจะมาจากเอกชนเป็นหลัก ต้องตอบโจทย์ให้ได้เป็นสำคัญ และจะร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมและส.อ.ท. เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้ต่อไป

ด้านนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงศ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า การลงนามดังกล่าวมีระยะความร่วมมือกัน 5 ปี หลังจากนี้จะต้องมีการประชุมร่วมกัน เพื่อร่าง Action Plan แผนงานต่างๆ โดยคาดว่าจะจัดประชุมร่วมกันครั้งแรกในเดือน มี.ค.นี้

ทั้งนี้ คาดว่าโดยคาดว่าใน 4 ปีต่อจากนี้จะมีสัดส่วนของการใช้ผลิตภัณฑ์ Local Content เพิ่มขึ้น 40% หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีการใช้จ่ายด้านการซ่อมบำรุง 9,600 ล้านบาท/ปี และในอนาคตจะเพิ่มเป็นกว่า 15,000 ล้านบาท/ปี

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะศึกษาและวิจัยแล้วเสร็จภายใน 8 เดือน จากนั้นจะทำการทดสอบทุกสภาวะอากาศระยะเวลา 1 ปี ก่อนที่จะผู้ผลิตภายในประเทศว่าสามารถผลิตได้หรือไม่ และทดลองใช้ต่อไป โดยคาดว่า จะเริ่มใช้ได้ภายในปี 2566

"รัฐ-เอกชน" ลงนามไทยเฟิร์ส ชิ้นส่วนระบบรางผลิตในไทย
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
20 กุมภาพันธ์ 2563 - 08:30 น.

ภาครัฐ-เอกชน ลงนามร่วมพัฒนาระบบราง ดันยุทธศาสตร์ “ไทยเฟิร์ส” โครงการระบบรางใช้ชิ้นส่วนผลิตในประเทศร้อยละ 40 ภายใน 4 ปี พร้อมวางแผนความต้องการใช้บุคลากรด้านระบบรางในอนาคต ด้าน “กรมรางฯ” เร่งศึกษาผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวรางใช้เอง ประเดิมใช้ภายในปี 66 ส่วนบีทีเอสเด้งรับนโยบายโลคัลคอนเท้นต์ มั่นใจลดค่าใช้จ่าย 5-10%


นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการส่งเสริมการพัฒนาระบุบราง ระหว่างกรมการขนส่งทางรางกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 15 หน่วยงานว่า การพัฒนาระบบรางต้องพัฒนาใน 2 ส่วนไปพร้อมกัน ทั้งด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและบุคลากร ซึ่งสถาบันวิจัยต่างๆ ที่ร่วมลงนามในครั้งนี้ จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยกันพัฒนา พร้อมผลักดันระบบรางให้มีศักยภาพ และเป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมรางในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

ด่วน ระทึกกลางห้างดัง ชายดิ่งจากชั้น 5 ร่างกระแทกพื้น เคลียร์วุ่น
เตือนข่าว ธนาคารกรุงเทพ พบผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" ไม่เป็นความจริง
โชว์รูม "เชฟโรเลต" คึกคักต่อเนื่อง หลังลดราคาส่งท้ายสูงสุด 5 แสนบาท
นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า จะมีการวางมาตรฐานเพื่อกำหนดชิ้นส่วนของรถไฟและกำหนดการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์รถไฟ ภายในประเทศให้ได้ 40% ในปี 66 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันไทยสามารถผลิตอุปกรณ์ในระบบส่งกำลัง ระบบเบรก และอุปกรณ์ภายในตัวรถได้แล้ว โดยในขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เริ่มมีการสั่งซื้อขบวนรถบรรทุกสินค้าที่ประกอบภายในประเทศ ซึ่งจะมีส่วนทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบราง เช่น อุตสาหกรรมเหล็กมีการเติบโตมากขึ้น

นอกจากนี้ การใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงที่ปัจจุบันมีการใช้งบประมาณประมาณ 9,600 ล้านบาทต่อปี และในอนาคตจะเพิ่มเป็นกว่า 15,000 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งอาจจะช่วยลดราคาค่าโดยสารของผู้ใช้บริการได้อีกด้วย โดยในเบื้องต้น ขร. อยู่ระหว่างการพัฒนา ศึกษา และวิจัย ในการผลิตเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastener) โดยผู้ประกอบการคนไทย เนื่องจากในปัจจุบันจะเป็นการนำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะศึกษาและวิจัยแล้วเสร็จภายใน 8 เดือน จากนั้นจะทำการทดสอบทุกสภาวะอากาศระยะเวลา 1 ปี ก่อนที่จะผู้ผลิตภายในประเทศว่าสามารถผลิตได้หรือไม่ และทดลองใช้ต่อไป ซึ่งคาดว่า จะเริ่มใช้ได้ภายในปี 66 ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวนั้น เป็นไปตามหลักการ Thai First คือ ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้รับประโยชน์ก่อน

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส กล่าวว่า บีทีเอสพร้อมให้ความร่วมมือในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่ผลิตในประเทศมาใช้ในรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยในปัจจุบัน บริษัท บอมบาดิเอร์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอะไหล่และระบบอาณัติสัญญาณระบบโลกและบีทีเอสได้ใช้อุปกรณ์อยู่ ได้มาตั้งโรงงานผลิตระบบเบรกและระบบอาณัติสัญญาณบางส่วนในไทย

นอกจากนั้นในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา ที่บีทีเอสได้เป็นผู้ดำเนินการนั้น ในส่วนของระบบสับหลีกราง ซึ่งโมโนเรลต้องใช้ ทางบริษัท บอมบาดิเอร์ ก็ได้มีการจ้างให้บริษัทในประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ซึ่งจากการใช้อุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศในหลายๆส่วนของ บีทีเอสนั้นทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนการใช้อุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศกว่า 5-10% ขณะเดียวกันบีทีเอสได้มีการเจรจากับ บริษัท ซีเมนส์ จำกัด และ บริษัทที่ผลิตขบวนตู้รถไฟฟ้าจากประเทศจีน ให้มาประกอบขบวนรถไฟฟ้าในไทย เพราะในอนาคต.

//------------------

บิ๊กกรมราง ยันค่าโดยสารรถไฟ-รถไฟฟ้าถูกลง หลังรัฐส่งเสริมใช้ชิ้นส่วนผลิตในประเทศ
เศรษฐกิจ
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 15:52 น.
บิ๊กกรมราง ยันค่าโดยสารรถไฟ-รถไฟฟ้า จะถูกลง หลังรัฐส่งเสริมใช้ชิ้นส่วนผลิตในประเทศ ดีเดย์ปี’66 กำหนดทีโออาร์จัดซื้อระบบราง ต้องซื้อชิ้นส่วนในประเทศ 40% ของมูลค่าโครงการ คาดสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ 7 พันล้าน

ค่าโดยสารรถไฟ-รถไฟฟ้าถูกลง - เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 ที่กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง (ขร.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และอีก 13 หน่วยงาน เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ ได้ลงนามร่วมกับเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของไทยมีความยั่งยืน ด้วยการสนับสุนนให้มีการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ การถ่ายทอดทคโนโลยี พัฒนาบุคคลกร การวิจัยและพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมทั้งระบบ

นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร กรรมการผู้ช่วย รมว.คมนาคม กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) กระทรวงคมนาคมวางเป้าหมายที่จะมุ่งเน้นพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เข้มแข็ง แต่ปัจจุบันที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรางไทยยังมีน้อยรายและมีความสามารถในการแข่งขันในระดับตํ่า รัฐบาลจึงต้องช่วยกันเร่งส่งเสริม โดยเฉพาะเพื่อให้ไทยสามารถผลิตชิ้นส่วนระบบรางในประเทศได้เอง เนื่องจากผลการศึกษาแผนพัฒนาอุตสาหกรรมรางระยะที่ 2 พบว่า การใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศหรือ local content ในสัดส่วน 40% สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศได้มากกว่า 7,000 ล้านบาท ขณะที่การประกอบรถไฟขั้นสุดท้ายในประเทศสามารถทําให้ซื้อรถไฟในราคาถูกลงมากกว่า 2,800 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานมากกว่า 2,000 ล้านบาท และยังช่วยลดภาระการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศได้ไม่น้อยกว่า 1,700 ล้านบาท/ปี


นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมระบบรางแล้ว โดยจะมีการประชุมครั้งแรกในเดือนมี.ค. เพื่อหารือเรื่องการจัดทำแอกชั่นแพลน โดยในส่วนของการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศนั้น ขร. มีการจัดทำแผนไว้แล้วตาม โครงการ Thai First หรือไทยทำไทยใช้คนไทยต้องได้ก่อนตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม โดยจะกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมดจะต้องมีการจัดซื้อบางชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศซึ่งจะต้องมีการเขียนระบุไว้ในเงื่อนไขทีโออาร์ให้ชัดเจน


“เราตั้งเป้าว่าภายในอีก 4 ปี หรือภายในปี 2566 นี้ ทุกหน่วยงานจะต้องจัดซื้อชิ้นส่วนระบบรางที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่า 40% ของมูลค่าการจัดซื้อ และในปี 2567 ต้องซื้อในประเทศทั้ง 100% เชื่อว่าหากเราสามารถใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศได้ จะช่วยประหยัดมูลค่าการนำเข้าจากต่างประเทศได้มากถึง 50% เพราะปัจจุบันมีชิ้นส่วนเพียง 3 รายการ ที่ผู้ประกอบการไทยยังผลิตเองไม่ได้คือ โบกี้รถไฟ เกียร์ และชุดเกียร์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าราว 50% ของมูลค่านำเข้า รวมทั้งยังช่วยให้เซฟงบซ่อมบำรุงไว้ใสประเทศได้อีกปีละเกือบ 1 หมื่นล้านบาทด้วย เพราะถ้าไทยผลิตเองก็จะซ่อมในไทยได้ ทั้งนี้ เชื่อว่าการลดการนำเข้า และลดภาระการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ จะทำให้ต้นทุนของอุตสาหกรรมระบบรางในอนาคตถูกลง ซึ่งก็จะส่งผลทำให้อัตราค่าโดยสารรถไฟ หรือ รถไฟฟ้า มีแนวโน้มปรับลดลงด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประชาชนในประเทศ”

นายสรพงศ์ กล่าวว่า สำหรับชิ้นส่วน 3 รายการ ที่ไทยยังผลิตเองไม่ได้นั้น กระทรววคมนาคมมีแผนที่จะพัฒนาความร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อเรียนรูปและถ่ายทอดเทคโนโลยี เบื้องต้น เตรียมที่จะจัดทำความร่วมมือกับประเทศเยอรมัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2020 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางฯเปิดเวทีฟังเสียง“ค่าโดยสารรถไฟฟ้า-รถไฟ”
*เร่งคลอดมาตรการ5ด้านกำกับดูแล
*ไม่ให้เป็นภาระประชาชนมากเกินไป
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2529090837312419?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2020 12:38 am    Post subject: Reply with quote

กรมราง ลุยตั้งโรงผลิต ขบวนรถไฟฟ้า
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 5
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,551 วันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ไม่เพียงแค่การลงทุนระบบรางเชื่อมการเดินทางให้ครอบคลุมเท่านั้น แต่เป้าหมายข้างหน้า ประเทศไทยต้องเป็นศูนย์กลางผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ ไปจนถึงขบวนรถ เพื่อลดต้นทุนเลิกพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ

หนุนไทยทำไทยใช้จากการให้สัมภาษณ์ของ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการส่งเสริมพัฒนาระบบ และอีก 14 หน่วยงาน เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จํากัด(มหาชน) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ ว่าได้ลงนามร่วมกันเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของไทยให้มีความยั่งยืน ด้วยการสนับสุนนให้มีการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ การถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาบุคลากร การวิจัยและพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมทั้งระบบว่า สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมรางและการส่งเสริมการผลิตรถไฟ รางรถไฟ และอุปกรณ์ประกอบสำหรับระบบรางในประเทศ ตามนโยบายไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้รับประโยชน์ (Thai First) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการการขับเคลื่อนในการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบทางราง ซึ่งจะประชุมครั้งแรกภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยตั้งเป้าหมายเตรียมจัดทำเอกสารในการจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) โดยเป็นการผลิตชิ้นส่วนระบบรางในไทย (Local Content) ในประเทศราว 40% ภายในปี 2566 และภายในปี 2567 จะมีการใช้ Local Content ในประเทศราว 100% “เราตั้งเป้าว่าภายในอีก 4 ปี หรือภายในปี 2566 นี้ ทุกหน่วยงานจะต้องจัดซื้อชิ้นส่วนระบบรางที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่า 40% ของมูลค่าการจัดซื้อ และในปี 2567 ต้องซื้อในประเทศทั้ง 100%


ประหยัดการนำเข้าเชื่อว่าหากเราสามารถใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศได้ จะช่วยประหยัดมูลค่าการนำเข้าจากต่างประเทศได้มากถึง 50% เพราะปัจจุบันมีชิ้นส่วนเพียง 3 รายการ ที่ผู้ประกอบการไทยยังผลิตเองไม่ได้คือ โบกี้รถไฟ เกียร์ และชุดเกียร์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าราว 50% ของมูลค่านำเข้า รวมทั้งยังช่วยให้ประหยัดงบซ่อมบำรุงไว้ในประเทศได้อีกปีละเกือบ 1 หมื่นล้านบาทด้วย เพราะถ้าไทยผลิตเองก็จะซ่อมในไทยได้ ทั้งนี้เชื่อว่าการลดการนำเข้า และลดภาระการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ จะทำให้ต้นทุนของอุตสาหกรรมระบบรางในอนาคตถูกลง ซึ่งก็จะส่งผลทำให้อัตราค่าโดยสารถไฟ หรือรถไฟฟ้า มีแนวโน้มปรับลดลงด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประชาชนในประเทศ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2020 5:35 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กรมราง ลุยตั้งโรงผลิต ขบวนรถไฟฟ้า
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ตีพิมพ์ใน หน้า 5
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,551 วันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563



ราช กรุ๊ป – เอเอ็มอาร์ เอเซีย หนุนรัฐเร่งพัฒนาธุรกิจรถไฟฟ้าระบบราง
BY SMMAG
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ราช กรุ๊ป – เอเอ็มอาร์ เอเซีย จับมือพัฒนาธุรกิจรถไฟฟ้าระบบราง ขานรับนโยบายรัฐพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เอกชน’ ขานรับนโยบาย ‘กรมรางฯ’ ลุยศึกษาตั้งโรงงาน-ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ อานิสงค์ ‘ทางคู่-รถไฟฟ้า’
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

“ราช กรุ๊ป” ผนึกกำลัง “เอเอ็มอาร์ฯ” ลุยศึกษาตั้งโรงงาน-ผลิตชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ ขานรับนโยบาย “กรมรางฯ” พร้อมวอนรัฐยกเว้นภาษี บูมอุตสาหกรรมระบบราง รับอานิสงค์โปรเจ็กต์ “ทางคู่-ไฮสปีด”
นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากนโยบายของกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ที่มุ่งเน้นพัฒนาและวางมาตรฐานอุตสาหกรรมระบบราง ทั้งในส่วนของรถไฟ และรถไฟฟ้า โดยใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศไม่น้อยกว่า 40% ภายในปี 2566 นั้น ได้มองเห็นถึงโอกาสของการเติบโตของการขนส่งทางราง จากการลงทุนของรัฐบาล อาทิ รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง โดยบริษัทจะได้ใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดังกล่าวให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง



ทั้งนี้ ราช กรุ๊ป จึงได้ร่วมมือกับบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจรถไฟฟ้าระบบราง ครอบคลุมทั้งในส่วนของการจัดตั้งโรงงานผลิตและประกอบรถไฟและรถไฟฟ้าที่จะใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ รวมถึงการซ่อมบำรุง การผลิตระบบอาณัติสัญญาณ การผลิตระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือหัวสำหรับรถไฟฟ้า และการผลิตชิ้นส่วนหลักที่สำคัญ เช่น ระบบตัวรถ ระบบช่วงล่าง ระบบขับและควบคุมการประกอบการซ่อมบำรุง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะใช้ระยะเวลาในการศึกษาเบื้องต้นประมาณ 1 ปี จากนั้นจะพิจารณาความคุ้มค่า ก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณาต่อไป

“ในฐานะบริษัทของคนไทย เราต้องการทำชิ้นส่วนระบบรางเอง ไม่ใช่หรอพึ่งพาจากต่างประเทศ เพราะหากเกิดมีกรณีฉุกเฉิน อาจจะต้องรอให้สถานการณ์คลี่คลายถึงจะได้รับสินค้านั้น นอกจากนี้ ยังต้องการให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนผู้ประกอบการคนไทย อาทิ การยกเว้นภาษี รวมถึงการตั้งโรงงานในพื้นที่ที่ BOI จะเข้ามาสนับสนุนด้วย” นายกิจจา กล่าว



ด้านนายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจรถไฟฟ้าระบบรางดังกล่าวนั้น นับเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล เร่งผลักดันอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ให้เกิดประสิทธิภาพ และคุ้มค่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2020 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

‘คมนาคม’ เตรียมคลอดใบอนุญาตขับรถไฟในไทย ลุยกำหนดบทลงโทษ ‘พักใช้-เพิกถอน’ ต้นแบบขนส่งทางบกฯ คาดได้ใช้ภายในปี 64
วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

“คมนาคม” เตรียมคลอดใบอนุญาตขับรถไฟในไทย ลุยกำหนดบทลงโทษ “พักใช้-เพิกถอน” ต้นแบบขนส่งทางบกฯ คาดได้ใช้ภายในปี 64 ด้าน “กรมรางฯ” เผยปัจจุบันไทยมีคนขับรถไฟทุกระบบ 1,930 คน เชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เล็งออกใบรับรองสถาบัน-หลักสูตรฝึกอบรม เดินตามโมเดลญี่ปุ่น
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านขนส่ง) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ครั้งที่ 3-1/2563 ว่า การประชุมในวันนี้ (26 ก.พ. 2563) เพื่อพิจารณาขั้นตอนการออกกฎกระทรวง และการออกใบอนุญาตขับขี่รถไฟในประเทศไทย โดยเฉพาะในส่วนของบทลงโทษของผู้ถือใบอนุญาต สอดคล้องกับการพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งทางราง พ.ศ…. ที่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้

ทั้งนี้ ใบอนุญาตขับขี่รถไฟนั้น จะมีอายุประมาณ 5 ปี ออกให้กับผู้มีสัญชาติไทย ที่มีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ โดยใช้แนวทางการดำเนินการออกใบอนุญาต คล้ายกับการออกใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) แบ่งออกเป็น 5+1 ประเภท ประกอบด้วย 1.ใบอนุญาตขับรถจักรไอน้ำ 2.ใบอนุญาตขับรถไฟไฟฟ้า 3.ใบอนุญาตขับรถไฟดีเซล 4.ใบอนุญาตขับรถไฟฟ้าความเร็วสูง 5.ใบอนุญาตขับรถรางไฟฟ้า (แทรม) และ 6.ใบอนุญาตอื่นๆ ตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำหนด

ในส่วนของบทลงโทษนั้น จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.การพักใช้ใบอนุญาต โดยมีบทลงโทษสูงสุดไม่เกิน 1 ปี กรณีที่มีการกระทำความผิดค่อนข้างร้ายแรง และ 2.การเพิกถอนใบอนุญาต อย่างน้อย 3 ปี กรณีที่กระทำความผิดร้ายแรง อาทิ การใช้ความเร็วเกิน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเดินรถ โดยมีผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตาม การออกใบอนุญาตดังกล่าว คาดว่า จะสามารถดำเนินการได้ภายในปี 2564



นายพีระพล กล่าวต่ออีกว่า ตามที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นที่ปรึกษาให้กับ ขร. นั้น ที่ประชุมจึงได้มีการหารือถึงเรื่องการรับรองสถาบัน และหลักสูตรการอบรมของพนักงานการขนส่งทางราง แบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ หมวด 1 การรับรองสถาบันการอบรม, หมวด 2 การรับรองหลักสูตรการอบรม, หมวด 3 การรับรองสถาบัน และหลักสูตการอบรมจากต่างประเทศ และหมวด 4 การรับรอบครูฝึกอบรม ทั้งนี้ กฎกระทรวงการออกใบอนุญาตนั้น ให้อำนาจ ขร. ในการรับรองทั้ง 4 หมวดดังกล่าว

ด้านนายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงศ์ อธิบดี ขร. กล่าวว่า ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีพนักงานขับรถไฟทุกระบบ 1,930 คน แบ่งเป็น พนักงานขับรถไฟฟ้า BTS ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 388 คน, พนักงานขับรถไฟฟ้า MRT ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ จำนวน 313 คน, พนักวานขับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จำนวน 60 คน และพนักงานขับรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 1,169 คน อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอนาคต สำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมนั้น จะใช้หลักสูตรเทียบกับประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก ในส่วนของสถาบันอบรมต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ขร. จะพิจารณารับรองให้โดยการออกบทเฉพาะกาล
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2870778016302458&set=a.2855496804497246&type=3&theater

คมนาคมเปิดเกณฑ์ลงโทษพนักงานขับรถไฟฟ้าชุ่ย!
*มีทั้งพัก-ถอนใบขับขี่3ปีรวม5+1ประเภท
*ให้อำนาจกรมรางออกใบอนุญาตปีหน้า
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2533360746885428?__tn__=-R


เร่งออกหลักเกณฑ์ ‘ใบขับขี่รถไฟ’ บังคับใช้ ปีหน้า
หน้า เศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

คมนาคม เตรียมออกกฎกระทรวงออกหลักเกณฑ์ใบขับขี่รถไฟฯ พร้อมพิจารณาเพิ่มบทลงโทษหากกระทำผิดร้ายแรง หวังเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ คาดเริ่มใช้ ปี 2564


นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ครั้งที่ 3-1/63 ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการออกกฎของกระทรวงเพื่อออกใบอนุญาตขับขี่รถไฟฯ ให้สอดคล้องกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาของกฎกระทรวงนั้น มีทั้งหมด 3 เรื่อง ประกอบด้วย
1.การพักใช้ใบอนุญาตขับรถไฟฯ ในกรณีผู้ขับรถไฟฯ กระทำความผิดร้ายแรง ควรพักใช้ใบอนุญาตชั่วคราวสูงสุดไม่เกิน 1 ปี
2.การเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถไฟฯ ในกรณีผู้ขับรถไฟฯ กระทำความผิดร้ายแรง ถูกเพิกถอนการใช้ใบอนุญาตสูงสุด 3 ปี หลังจากนั้นจะสามารถขอใบอนุญาตขับขี่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทแต่ละแห่งมีสิทธิ์ที่จะพิจารณาการรับผู้กระทำความผิดเข้าทำงานอีกครั้ง
3.การรับรองสถาบันและหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานขับรถขนส่งทางราง โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นที่ปรึกษา โดยเพิ่มหลักสูตรการอบรมแบ่งออกเป็น 4 หมวด ประกอบด้วย 1.หลักสูตรการรับรองสถาบันฝึกอบรม 2.หลักสูตรรับรองการฝึกอบรม 3.หลักสูตรรับรองสถาบันการฝึกอบรมจากต่างประเทศ 4.หลักสูตรการรับรองครูฝึกสอนอบรม

“ขณะนี้เรามีการเตรียมรายละเอียดต่างๆในกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว หาก พ.ร.บ.การขนส่งทางราง มีผลบังคับใช้ กรมการขนส่งทางรางก็พร้อมมอบใบขับขี่รถไฟ สำหรับผู้ขับขี่รถไฟที่มีใบรับรองการฝึกอบรม ขณะนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยปัจจุบันมีผู้ขับขี่รถไฟฯ ทั้งระบบ ราว 1,930 คน นอกจากนี้กฎกระทรวงให้อำนาจหน้าที่แก่กรมการขนส่งทางรางเป็นผู้พิจารณาการรับรองสถาบันและหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานขับรถขนส่งทางราง ซึ่งใบอนุญาตขับขี่รถไฟฯ มีอายุการใช้งานถึง 5 ปี หลังจากนั้นสามารถต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ได้ คาดว่า พ.ร.บ.การขนส่งทางราง เริ่มมีผลบังคับใช้ภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มใช้ใบอนุญาตขับขี่รถไฟฯ ได้ภายในปี 2564” สำหรับหลักเกณฑ์ประเภทของการออกใบอนุญาตขับขี่รถไฟฯ มีทั้งหมด 5 ประเภท+1ประเภท ประกอบด้วย

1.ใบอนุญาตขับรถจักรไอน้ำ
2.ใบอนุญาตขับรถไฟไฟฟ้า (โมโนเรล)
3.ใบอนุญาตขับรถไฟดีเซล
4.ใบอนุญาตรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด)
5.ใบอนุญาตขับรถรางไฟฟ้า (แทรมป์) และ
6.ใบอนุญาตประเภทอื่นๆ ตามกำหนด

ส่วนหลักเกณฑ์ของผู้ขับขี่รถไฟฯ มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.มีอายุ 25 ปี ขึ้นไป 2.จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกสาขา 3.เป็นผู้มีสัญชาติไทย เชื้อชาติไทย เป็นต้น นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมฯ อยู่ระหว่างการเตรียมออกกฎหมายทั้งหมด 74 ฉบับภายใต้ พ.ร.บ.การขนส่งทางราง เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกใบอนุญาตขับขี่รถไฟฯ ส่วนการกำหนดบทลงโทษนั้น อยู่ระหว่างการศึกษาควบคู่กันไป โดยบทลงโทษจะใช้แนวทางเดียวกับกรมขนส่งทางบก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโทษความผิดแต่ละประเภท เช่น การขับขี่เร็วเกินกำหนด การไม่ปฏิบัติการเดินรถที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนที่ใช้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2020 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (26 ก.พ. 63) นายพีรพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ครั้งที่ 3-1/2563 พร้อมด้วยนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทาง ข้าราชการกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ผู้แทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 กระทรวงคมนาคม โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมในการออกใบอนุญาตผู้ขับรถไฟ หลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางร่างประกาศใช้ ทั้งนี้สาระสำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ เหตุแห่งการพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถไฟฯ การรับรองสถาบันและหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานขับรถขนส่งทางราง บทกำหนดโทษ และค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/630438511066430?__tn__=-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2020 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘คมนาคม’ เตรียมคลอดใบอนุญาตขับรถไฟในไทย ลุยกำหนดบทลงโทษ ‘พักใช้-เพิกถอน’ ต้นแบบขนส่งทางบกฯ คาดได้ใช้ภายในปี 64
วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2870778016302458&set=a.2855496804497246&type=3&theater

คมนาคมเปิดเกณฑ์ลงโทษพนักงานขับรถไฟฟ้าชุ่ย!
*มีทั้งพัก-ถอนใบขับขี่3ปีรวม5+1ประเภท
*ให้อำนาจกรมรางออกใบอนุญาตปีหน้า
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2533360746885428?__tn__=-R


เร่งออกหลักเกณฑ์ ‘ใบขับขี่รถไฟ’ บังคับใช้ ปีหน้า
หน้า เศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563



ใช้โมเดลญี่ปุ่นคลอด “ใบขับขี่รถไฟฟ้า” ป้อน 1,930 คนเข้าระบบ เผย”ซี.พี.”เปิดศูนย์ฝึกอบรมได้
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 - 16:36 น.

“คมนาคม” ยังไม่เคาะกำหนดโทษ “เพิกถอน-พักใช้” ใบขับขี่รถไฟฟ้า เพราะกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องยังไม่บังคับใช้ เผยต้องให้ พ.ร.บ.กรมรางประกาศใช้ก่อน คาดจะใช้ได้ใน 1 ปี “กรมราง” วางเป้าคนขับ 1,930 คนเข้าระบบ ชี้ ซี.พี.ตั้งศูนย์ฝึกอบรมขับรถไฟฟ้าได้ตามบทเฉพาะกาล

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคมหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เปิดเผยว่า คณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถไฟฟ้า มีการหารือกันถึงประเด็นการกำหนดความผิดที่เข้าข่าย “พักใช้ใบอนุญาต” และ “เพิกถอน” ใบอนุญาต

โดยมีมติร่วมกันว่า การพักใช้ใบอนุญาต มีกำหนดพักใช้สูงสุด 1 ปี ส่วนการเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อมีการเพิกถอนแล้ว จะไม่สามารถขออนุญาตทำใบขับขี่ใบใหม่ได้เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจึงจะขอใบอนุญาตใหม่


ซึ่งจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมใหม่อีกครั้งก่อนจะได้รับใบขับขี่ใหม่ ส่วนลักษณะโทษที่เข้าพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ได้ให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ไปพิจารณารายละเอียดต่อไป

อีกเรื่องที่หารือกันคือ การรับรองหลักสูตรการอบรมพนักงานขนส่งทางราง โดยมีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นที่ปรึกษาให้กับกรมราง จะมีการร่างกฎกระทรวงที่จะครอบคลุม ใน 4 หมวดด้วกัน

คือ 1.การรับรองสถาบันการอบรม 2.การรับรองหลักสูตรการอบรมของผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ 3.การรับรองสถาบันและหลักสูตรอบรมจากต่างประเทศ เนื่องจากระบบรถไฟฟ้าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาตลอด จึงต้องอาศัยการฝึกอบรมจากต่างประเทศก่อนเป็นสำคัญ และ 4.การรับรองครูฝึกและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

จาก 4 หมวดนี้ ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การร่างกฎกระทรวงที่จะปฏิบัติได้ โดยร่างกฎกระทรวงจะให้อำนาจกรมราง เพื่อรับรองหลักสูตรต่างๆของสถาบัน ผู้ขอใบอนุญาต และครูฝึก ซึ่งรูปแบบจะเหมือนกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)

โดยกระบวนการออกร่างกฎกระทรวง จะต้องรอร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ประกาศใช้ก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา จากนั้นจึงจะส่งกลับมาที่รัฐบาลเพื่อสอบถามความเห็นกระทรวงคมนาคม ถ้าไม่มีก็จะเสนอต่อไปที่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติรับรองเป็นกฎหมายประการใช้ต่อไป

“คาดว่า พ.ร.บ.จะประกาศใช้ได้ภายในปีนี้ แต่อีกด้านหนึ่งกรมรางก้ได้เตรียมร่างกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.ไว้แล้ว เมื่อ พ.ร.บ.ประกาศก็จะทยอยออกประกาศกฎกระทรวงต่อไป ซึ่งกฎกระทรวงที่จะต้องประกาศใช้มีจำนวน 74 ฉบับ”

ด้านนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า การออกใบขับขี่รถไฟฟ้า จะครอบคลุมระบบรถไฟ 6 ประเภท ได้แก่ รถจักรดีเซล รถจักรไอน้ำ รถจักรไฟฟ้า รถไฟฟ้า (EMU) แทรม-โมโนเรล และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทั้ง 6 แบบ คาดว่าจะมีผู้ขับขี่รวมประมาณ 1,930 คน

ส่วนคุณสมบัติผู้ขับขี่ เบื้องต้นกำหนดไว้คร่าวๆ เช่น สัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป การศึกษาให้ทั้งผู้ที่จบอาชีวะและปริญญาตรี เป็นต้น โดยใบขับขี่จะมีอายุ 5 ปีไม่มีแบบตลอดชีพ ขณะที่หลักสูตรที่จะเอามาเปรียบเทียบจะใช้ของประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่ต้องไปดูก่อนว่าแต่ละหน่วยงานที่จัดฝึกอบรมในขณะนี้เปิดสอนอะไรบ้าง ครบถ้วนหรือไม่

ถ้าไม่ครบก็จะมีการเสริมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งทุกหน่วยงานที่มีศูนย์ฝึกอบรมอยู่แล้ว สามารถยกระดับขึ้นมาเป็นสถาบันฝึกอบรมได้ เหมือนโรงเรียนสอนขับรถ ซึ่งรายละเอียดอยู่ระหว่างร่างเป็นกฎกระทรวงอยู่

ส่วนกรณีที่กลุ่ม ซี.พี.จะพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และความเป็นเลิศด้านระบบรางที่มักกะสันนั้น ต้องดูก่อนว่า ถ้าเป็นศูนย์เดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่มีอยู่แล้ว บทเฉพาะกาลสามารถรับรองให้มีขึ้นมาก่อนได้

แต่คงเป็นระยะหนึ่งเท่านั้น เช่น ให้ประกอบกิจการไปในช่วงนี้ โดยจะมีการให้ใบอนุญาตอัตโนมัติ ทั้งนี้ จะต้องมีการประเมินคุณสมบัติความพร้อมทุกๆ 3-5 ปี แต่หากกลุ่ม ซี.พี.จะเพิ่มเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันที่ตัวเองมี ก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

รายงานข่าวกล่าวว่า กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการออกใบขับขี่รถไฟฟ้ามี 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอ การออก การขอต่ออายุ การขอใบแทน และอายุของใบอนุญาตเป็นพนักงานขับรถขนส่งทางราง 2.กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการรับรองสถาบันและหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประจำหน้าที่ 3.กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตเป็นพนักงานขับรถขนส่งทางราง และ 4.ระเบียบกรมการขนส่งทางรางกำหนดวินัยในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประจำหน้าที่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2020 11:07 am    Post subject: Reply with quote

23 กรกฎาคม 2562 ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงานรักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมเจ้าหน้าที่ ขร. เข้ารับฟังการดำเนินโครงการปรับปรุงรถโบกี้จ่ายไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.) จำนวน 8 คัน และเยี่ยมชมรถ บฟก.ป.1104 และ บฟก.ป.1105 ที่อยู่ระหว่างติดตั้งขอพ่วง และเดินระบบท่อลมห้ามล้อ(งานเพิ่มเติมจากสัญญา) ณ ย่านสถานีรถไฟพลูตาหลวง โดยมีนายเมธัส เลิศเศรษฐการ กรรมการ รองผู้จัดการบริษัท กิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด พร้อมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บริษัทฯ ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ การประกอบรถ บฟก.ป. ทั้ง8คัน บริษัทฯ ได้ร่วมพัฒนาออกแบบโครงประธานขึ้นมาเองทั้งหมด ภายใต้มาตรฐานยุโรป ( UIC 566, EN 12663 ,EN 14363) และสำหรับชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ ได้ใช้วัสดุที่สามารถผลิตในประเทศเกือบทั้งหมด เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้วัสดุชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ (Local Content) ปัจจุบันดำเนินการเสร็จแล้ว 5 คัน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้ดำเนินการทดสอบรถที่ส่งมอบแล้วเป็นระยะทางกว่า 2,000 กิโลเมตร ซึ่งจากผลการทดสอบการวิ่งจริง พบว่า รถ บฟก.ป.ที่ผลิตขึ้นเองนั้น ผ่านมาตรฐานการทดสอบด้านการสั่นสะเทือน การจ่ายไฟฟ้าภายใต้สถานสการณ์ต่างๆ และสามารถลดอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิงและลดมลภาวะทางเสียงได้เป็นอย่างดี โดยอีก3คันที่เหลือ(บฟก.ป.1106-1108) อยู่ระหว่างดำเนินการประกอบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2562

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2422128267834104&set=a.2020745444639057&type=3&theater https://www.facebook.com/421508948626055/posts/464488567661426/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2020 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางประกาศข้อปฎิบัติให้ผู้โดยสาร-ผู้บริการรถไฟฟ้าสกัดไวรัสโควิด-19
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:35 น.

วันที่ 28 ก.พ.2563 กรมการขนส่งทางรางออกประกาศข้อแนะนำในการปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) สำหรับผู้โดยสารและหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางราง เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับประชาชนผู้ใช้บริการและหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางราง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนเดินทางด้วยระบบขนส่งทางรางได้อย่างสะดวกและมีความปลอดภัย ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ไม่ให้เข้าสู่ระดับการแพร่ระบาดใหญ่ (pandemic) โดยมีสาระสำคัญของประกาศ ดังนี้

ข้อ 1. ข้อแนะนำสำหรับผู้โดยสาร
1.1ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย ขณะเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะหรือสถานที่ที่มีคนหนาแน่น


1.2 หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลเพื่อทำความสะอาดมือ

1.3 หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสปาก ตา และจมูก ซึ่งเป็นช่องทางการติดเชื้อโรคได้

1.4 หลีกเลี่ยงการสัมผัสบุคคลอื่นขณะเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ ควรยืน เดิน หรือนั่ง โดยเว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นๆ ในระยะอย่างน้อย 2 เมตร หากสามารถเป็นไปได้

ข้อ 2.ข้อแนะนำสำหรับผู้ให้บริการระบบขนส่งทางราง
2.1 เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในขบวนรถและภายในสถานี เช่น ราวจับ ที่จับบริเวณประตูขบวนรถ เก้าอี้นั่งโดยสาร เครื่องออกตั๋วโดยสาร ราวจับบันได/บันไดเลื่อน ปุ่มกดลิฟต์ และห้องน้ำ เป็นต้น

2.2 ติดตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์เจล เพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารรวมถึงพนักงาน ในพื้นที่ส่วนกลางและบริเวณที่มีการใช้งานร่วมกัน เช่น บริเวณทางเข้า – ออกสถานี ห้องออกบัตรโดยสาร

2.3 กำชับให้เจ้าหน้าที่สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน และให้มีการตรวจสอบความพร้อมของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อคัดกรองรายวันก่อนปฏิบัติงานทุกวัน หากมีเจ้าหน้าที่ที่มีอาการป่วย หรือมีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ให้พบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที

2.4 จัดให้มีจุดคัดกรองผู้โดยสารด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าใช้บริการระบบขนส่งทางราง หากพบผู้ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส หรือมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ จะต้องให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อและให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และ/หรือติดต่อกรมควบคุมโรคเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

2.5 ให้มีการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจ และรณรงค์แนะนำการปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) แก่ผู้โดยสาร ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ จอ LED เสียงประชาสัมพันธ์ภายในสถานีและขบวนรถ และสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นต้น

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) จะคลี่คลายหรือมีประกาศเปลี่ยนแปลง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2020 7:19 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (26 ก.พ. 63) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมหารือทางเทคนิคเพื่อลดต้นทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ (ภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น) โดยมีผู้แทนฝ่ายไทยประกอบด้วย กรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย และฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย Mr. Kenji Hamamoto Director for Office of Project Development,International Policy and Project Division, Railway Bureau ผู้แทนจาก MLIT JICA และ Embassy of Japan โดยประเด็นการหารือ ประกอบด้วยกัน 4 เรื่อง ได้แก่
เรื่องที่ 1 การปรับลดจำนวนตู้รถไฟ
เรื่องที่ 2 การปรับเปลี่ยนจำนวนทางวิ่งและชานชาลา
เรื่องที่ 3 การปรับเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างอุโมงค์
เรื่องที่ 4 การประเมินต้นทุนตลอดอายุการใช้งานระหว่างทางรถไฟแบบหินโรยทางและแบบคอนกรีตอัดแรง
ซึ่งที่ประชุมขอให้ MLIT เพิ่มเติมรายละเอียดในประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาทิ ผลกระทบต่อปริมาณผู้โดยสาร แผนการดำเนินงาน และนำเสนอในคราวประชุมครั้งต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/630419281068353
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2874151012631825
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 63, 64, 65  Next
Page 8 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©