Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180609
ทั้งหมด:13491844
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เดินเล่นตอนเที่ยง ๆ ในวันเมฆเต็มฟ้าที่สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เดินเล่นตอนเที่ยง ๆ ในวันเมฆเต็มฟ้าที่สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
dusit08
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/11/2009
Posts: 20
Location: กรุงเทพ - อุบลราชธานี บ้านอยู่วงเวียนใหญ่ ^^

PostPosted: 18/11/2009 10:55 am    Post subject: Reply with quote

ExtendeD wrote:
กลับลงมาข้างล่าง จะเห็นประแจตัวแรกที่อยู่ทางทิศตะวันตก ( สถานีนครราชสีมา ) ครับ ส่วนทางขวา ก็คือเนินเมื่อสักครู่ที่ผมขึ้นไปยืนถ่ายรูป

Click on the image for full size

เลยประแจตัวเมื่อสักครู่ไป ก็จะเป็นจุดตัดถนนราชดำเนินครับ เลยไปอีกก็จะเป็นโค้งขวา ผ่านชุมชนที่อยู่ข้างทางรถไฟที่เคยตกเป็นข่าวเมื่อหลาย ๆๆๆ เดือนก่อน

Click on the image for full size

ถ้าดูจากแผนที่เล็กที่ผมตัดออกมาจาก ” แผนที่ตัวเมืองนครราชสีมาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย “ บริเวณจุดตัดนี้ก็คือวงกลมสีน้ำเงินที่เห็นครับ

Click on the image for full size

ครับสำหรับรูปที่ผมจะนำเสนอประกอบกระทู้นี้ก็คงมีเพียงเท่านี้ครับ ระหว่างที่ถ่ายรูปอยู่ที่สถานีชุมทางถนนจิระนี้ ก็ได้เห็นขบวนรถวิ่งเข้า - ออกบ้าง รูปของขบวนรถเหล่านั้น ( เป็น RHN. เจ้าพ่ออีสานล้วน ๆ ) ก็จะส่งไปลงใน gallery ครับ

ขอบคุณสมาชิกทุก ๆ คนที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ


เคยเกิดเหตุการอะไรหรอครับ
Back to top
View user's profile Send private message
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 18/11/2009 11:12 am    Post subject: Reply with quote

เหตุการณ์ผ่านไปตั้ง 2 ปีกว่า ผมก็จำไม่ได้ล่ะครับ
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
Compressor
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/12/2007
Posts: 1775
Location: ตลอดปลายทางอุบลราชธานี

PostPosted: 18/11/2009 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

ไหนๆก็มีคนขุดขึ้นมาแล้ว

ปัจจุบัน จิระ ทางประธานทั้งสายหนองคายและสายอุบล ใช้ประแจ 100 ปอนด์ ตามโครงการเปลี่ยนประแจ 100 ปอนด์และทางตัดสำเร็จรูป ของเทศบาลนครนครราชสีมา (ทางรถไฟเป็นของการรถไฟแท้ๆ แต่เทศบาลเป็นคนทำให้ Laughing )

มีเรื่องสงสัยอยู่หนึ่งเรื่อง กับหลักปฏิบัติครับ

Click on the image for full size

จะเห็นว่ามีป้ายพิกัดความเร็วสูงสุดในทางประธาน สำหรับขบวนรถโดยสาร สามารถวิ่งได้เพียง 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ทว่า คำสั่งของการรถไฟฯ ไม่ได้ระบุว่าตอนนี้วิ่งได้เพียง 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถวิ่งได้ 110/90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามพิกัดของรถดีเซลรางและขบวนรถโดยสาร

ทีนี้ เมื่อมามองว่าเป็นฝ่ายการช่างโยธา เป็นคนติดตั้งป้ายผิด ซึ่งป้ายนี้มันควรจะใช้ป้ายจำกัดความเร็ว (ป้ายสี่เหลี่ยม) แล้วนั้น เมื่อดูในคำสั่งเรื่องการปักป้ายจำกัดความเร็ว ซึ่งในนั้นจะมีรายชื่อพิกัดที่ต้องจำกัดความเร็วอยู่ด้วย กลับไม่มีระบุว่าทางช่วงนี้ จะต้องจำกัดความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่อย่างใด

**คำสั่งทั้งสอง สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ฝ่ายตรวจสอบภายใน การรถไฟฯ

รบกวนท่านที่เป็น ครฟ. โดยเฉพาะฝ่ายการช่างกล ไขความกระจ่างให้ผมด้วยครับ ว่าที่จริงแล้ว ความเร็วสูงสุดที่วิ่งได้ในตอนนี้ วิ่งได้เท่าไหร่ สงสัยมานาน (น่าจะปีกว่าๆ) แล้วครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2009 2:22 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
คงได้มีมหกรรม ยำใหญ่ใส่สารพัดให้ ฝ่ายการช่างโยธาก็คราวนี้เองเพราะ มีวีรกรรมมากมายที่ ทำให้ พขร และ ฝ่ายการเดินรถ อยาก จะ ยำใหญ่ ฝ่ายการช่างโยธา กันเสียเหลือเกิน Embarassed Laughing Shocked
Back to top
View user's profile Send private message
AONZON
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 06/12/2006
Posts: 221
Location: กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

PostPosted: 18/02/2010 10:05 pm    Post subject: Reply with quote

ขออนุญาตเล่าเรื่องของค่ายทหารในอดีตแถวถนนจิระ ครับ

...ค่ายสุรนารี เป็นที่ตั้งของกองทัพภาคที่ ๒ ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของกองทัพภาคอีสาน....ใกล้ๆกับสนามกีฬานั่นคือ..พิพิธภัณฑ์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์


Click on the image for full size
(ภาพ...เครื่องบินฝึกแบบทาชิกาว่า...ณ สนามบินโคราช (ใกล้สถานีจิระ)แห่งนี้..ปัจจุบันเหลือ ๒ เครื่องในโลกที่พิพิธภัณฑ์ ทอ.ไทย และที่ ทอ.จีน)
..................................................................................
...ในอดีตนั้น...ที่ตั้งแถว สนามกีฬานี้...เดิมเป็น กองบินใหญ่ที่ ๓ ของกองบินทหารบก ซึ่งปัจจุบันคือ "กองทัพอากาศ" ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา...ทอ.ใช้ สนามบินแห่งนี้เป็น รร.การบิน มีนักบิน ทอ. และ ทร.จบจาก รร.แห่งนี้ ออกรับใช้ชาติในระหว่างสงครามมากมายครับ...มีเรื่องเล่าว่า...รถไฟจากบางซื่อ และจากดอนเมือง จะขนอะไหล่เครื่องบินและขนน้ำมัน ในถัง ๒๐๐ ลิตร ใส่ ขต. มาที่นี่...โบกี้จะถูกทิ้งไว้ที่หน้าสถานี.(บ่อยครั้งที่ ทหารอากาศอยากให้ไปจอดตรงทางแยกแต่ รถไฟไม่มีเวลามาก..ต้องรีบเดินทางต่อ)..ศิษย์การบินทุกคน ทั้งชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตร จะต้องมาช่วยกันกลิ้งถังน้ำมันเหล่านั้นกลับ รร.การบิน ....ซึ่งก็คือตรงสนามกีฬา หน้าค่ายสุรนารี นั่นแหละครับ...จะเห็นว่า สถานีแห่งนี้พูกพันธ์กับทหารมาตั้งแต่แรกเริ่มครับ.....ส่วนสถานีโคราช อเมริกัน ได้ทำทางรถไฟเข้าเส้นทางซึ่งตอนนั้นเรียก ค่ายแฟรนชิป หรือ ทหารไทยขณะนั้นเรียก ค่ายมิตรภาพ เพื่อส่งกำลังบำรุง...ซึ่งล่าสุดมีการยืนยันว่า..เมื่อราวช่วง ๔ - ๗ ปีนี้...การฝึก คอบราโกล์ด ทหารอเมริกัน ยังเคยขนยุทโธปกรณ์ทางรถไฟจากท่าเรือน้ำลึกจุกเสม็ด ที่สัตหีบ (ฐานทัพเรือสัตหีบ จะตั้งอยู่ใน กองเรือยุทธการ ที่ อำเภอสัตหีบ ครับ...ส่วนจุกเสม็ด นี่ที่มีทางรถไฟไปนั่นหละครับ) ขนจากจุกเสม็ดมาที่โคราช...โดยส่วนหนึ่งลงที่ จิระ...เพื่อนำไปตั้งฐานฝึกที่ สโมสรร่วมเริงชัย ในค่ายสุรนารี (เข้าทางประตูข้างสนามกีฬาตรงไปไม่ถึง ๑ กม.ครับ) ..อีกส่วนก็ลงโคราชนั่นหละครับ......

...ความสำคัญ ระหว่าง รถไฟ กับ ทหารอากาศ มีมาตั้งแต่อดีต...เมื่อครั้นรถไฟมาหยุดที่โคราช...ซึ่งน่าจะเป็น "จิระ" แห่งนี้มากกว่าแค่ "นครราชสีมา" ปัจจุบัน...ทหารอากาศ จะขนเอาไปรษณีย์ภัณฑ์ขนมาขึ้นเครื่องบิน...บินจากโคราช ออกไปยัง อุดร และบินไปส่งที่หนองคาย และกลับมาลงที่อุดร ค้างคืน เช้าบินกลับโคราช....อีกเส้นทางหนึ่งบินจากโคราช ไปร้อยเอ็ด และไปค้างที่อุบล....แม้จะมีรถไฟเดินทางไปถึงในเวลาต่อมา...แต่ก็ยังคงใช้วิธีขนไปรษณีย์ ทางอากาศอยู่บ้าง.....
Click on the image for full size
(ภาพ...เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบเบร์เกต ๑๔ ที่ ทอ.ซื้อมาจากฝรั่งเศส ถูกใช้เป็น บ.ถ่ายภาพทางอากาศทำแผนที่ทางอากาศ ทั้งหลายที่เราเห็นๆ กัน มาจากเครื่องนี้ ครับ...ในภาพที่สนามบินแห่งนี้ ทหารอากาศกำลังขนไปรษณีย์ภัณฑ์ที่มาส่งที่โคราช หรืออาจจะ จิระ ขึ้นเครื่องบิน เป็นกำเนิดขนส่งไปรษณีย์ทางอากาศของไทย)
....ต่อมาบรรดาศิษย์และนักบิน นั่งรถไฟจากจิระ ไป ภูเขาลาด แล้วเดินไปภูเขาน้อย...จากนั้นก็ย้ายสนามบินมาที่ภูเขาน้อยและตั้งเป็น รร.การบิน และ กองบินน้อยที่ ๓ จนถึงปี ๒๕๑๒ ทอ.สหรัฐฯ ของให้ย้าย รร.การบิน ไปอยู่กำแพงแสน...ส่วน บน.๓ ยุบตัวเมื่อปี ๒๕๒๐ จนกระทั่ง...ทอ.ย้าย บน.๑ จากดอนเมือง มาเข้าที่ตั้ง โคราช ในปัจจุบัน
_________________
ภาพถ่ายในวันนี้..คือประวัติศาสตร์ในวันพรุ่งนี้
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2010 12:39 am    Post subject: Reply with quote

ถึงคุณจ่าออนซอน

สถานีโคราช คือ สถานีนครราชสีมาในปัจจุบันนี้ เคยมีทางรถไฟเล็กเข้าไปในกองพลทหารราบที่ 5 (ค่ายสุรนารี ) ซึ่งเปิดใช้งานแต่ปี 2453

ต่อมาเมื่อ แก้ราง สายโคราชเป็นราง 1 เมตรจนใช้รถจักรอีคลาส เดินมาถึงโคราชได้แล้ว และได้เปิดเส้นทางจากโคราชไปท่าช้าง (มีท่าเรือกลไฟไปอุบลริมแม่น้ำมูล) เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2465 ทางรถไฟเล็กก็ได้เลิกไปเพราะ มีสถานีถนนจิระ เพื่อรับทหารไว้แล้ว

ต่อาปี 2477 ได้แก้ชื่อสถานีโคราชเป็นสถานีนครราชสีมาและ สถานีถนนจิระ เป็นสถานีชุมทางถนนจิระ หลังเปิดการเดินรถถึง วารินทร์ เมือ่ 1 เมษายน 2473 และ ถึงขอนแก่น เมื่อ 1 เมษายน 2476 (ทางช่วงโคราช - ขอนแก่น และ โคราช - วารินทร์สำเร็จปิดบัญชีการก่อสร้างได้)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2010 9:58 am    Post subject: Reply with quote

แสดงว่าแผนที่ปี 2478 นี้ล้าสมัยแล้วในยุคนั้น
เพราะยังเห็นทางรถไฟเล็กและชื่อสถานีโคราชอยู่เลยครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2010 10:09 am    Post subject: Reply with quote

แผนที่มักมีปัญหาข้อมูล Lag บ่อยมาก เพราะ พอทำแผนที่สร็จไม่ทันไร มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จน แผนที่เร็วกว่าที่ควรจะเป็น
Back to top
View user's profile Send private message
AONZON
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 06/12/2006
Posts: 221
Location: กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

PostPosted: 19/02/2010 10:44 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ถึงคุณจ่าออนซอน

สถานีโคราช คือ สถานีนครราชสีมาในปัจจุบันนี้ เคยมีทางรถไฟเล็กเข้าไปในกองพลทหารราบที่ 5 (ค่ายสุรนารี ) ซึ่งเปิดใช้งานแต่ปี 2453

ต่อมาเมื่อ แก้ราง สายโคราชเป็นราง 1 เมตรจนใช้รถจักรอีคลาส เดินมาถึงโคราชได้แล้ว และได้เปิดเส้นทางจากโคราชไปท่าช้าง (มีท่าเรือกลไฟไปอุบลริมแม่น้ำมูล) เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2465 ทางรถไฟเล็กก็ได้เลิกไปเพราะ มีสถานีถนนจิระ เพื่อรับทหารไว้แล้ว

ต่อาปี 2477 ได้แก้ชื่อสถานีโคราชเป็นสถานีนครราชสีมาและ สถานีถนนจิระ เป็นสถานีชุมทางถนนจิระ หลังเปิดการเดินรถถึง วารินทร์ เมือ่ 1 เมษายน 2473 และ ถึงขอนแก่น เมื่อ 1 เมษายน 2476 (ทางช่วงโคราช - ขอนแก่น และ โคราช - วารินทร์สำเร็จปิดบัญชีการก่อสร้างได้)


ขอบคุณท่าน Wisarut มากเลยครับ....งั้นพอสรุปได้เลยครับว่า เมื่อมีสนามบินตรงนี้ และมีค่ายทหารตรงนี้...อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เลือกตั้งพื้นที่เป็นสถานีถนนจิระแห่งนี้แน่นอนเลยครับ...เพราะบันทึกในประวัติ ทอ. ในช่วงปีดังกล่าวมีเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวข้องระหว่าง ทอ.กับรถไฟโคราช ดังนี้ครับ

๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๓ “ การที่จะบำรุงกำลังทางอากาศนั้น นอกจากการจัดหาเครื่องบินแล้ว ยังมีการสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจัดสร้างสนามบินไว้เป็นพื้นที่ๆ เครื่องบินจะขึ้นลงได้สะดวก ซึ่งจำจะต้องมีไว้ทุกจังหวัด จังหวัดละหนึ่งแห่งเป็นอย่างน้อย ” จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแถลงให้ประชาชนทราบภายหลังจากทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2463 แล้ว พลเอกเจ้าพระยาบดินเดชานุชิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสนามบินให้อุปราชและสมุหเทศาภิบาลทราบ และเข้าใจความมุ่งหมายเมื่อมีการประชุมอุปราชและสมุหเทศาภิบาลในปี พ.ศ. 2463 ซึ่งอุปราชและสมุหเทศาภิบาลรับทราบและรับที่จะไปดำเนินการสร้างสนามบินขึ้นอย่างน้อยจังหวัดละ 1 สนามบิน
๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาธิการทหารบก ทรงกล่าวในพิธีรับมอบหน้าที่ มีข้อความตอนหนึ่งว่า “…สิ่งสำคัญของการป้องกันชาติบ้านเมืองของเราในขณะนี้ ตกเป็นหน้าที่ของ เครื่องบิน แล เรือดำน้ำ…”

กรกฎาคม พ.ศ. 2463 กระทรวงกลาโหมได้รับรายงานจากอุปราชและ สมุหเทศาภิบาลว่า มณฑลต่างๆได้สร้างสนามบินขึ้นสำเร็จแล้วดังนี้
มณฑลอุบลราชธานี มี ๓ จังหวัด สร้างสนามบินสำเร็จแล้วทั้ง ๓ จังหวัด รวม ๓ สนามบิน นอกจากนี้เมื่อมีเครื่องบินไปแสดงการบินยังสามารถเก็บเงินค่าชมจากประชาชนได้อีก ๙๘,๙๙๓.๓๕ บาท นับเป็นอันดับแรก
มณฑลนครราชสีมา มี ๓ จังหวัด สร้างสนามบินสำเร็จใช้การได้แล้วเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา และเมื่อเครื่องบินไปแสดงการบินก็สามมารถเก็บเงินค่าเข้าชมได้อีก ๒๐,๐๓๙.๐๑ บาท
มณฑลอุดรธานี มี ๖ จังหวัด ได้เลือกสถานที่ตั้งและกำลังสร้างสนามบินสำหรับจังหวัดอุดรธานีใกล้จะเสร็จแล้ว นับได้ว่าทั้งมณฑลนครราชสีมาและมณฑลอุดรธานีสร้างสนามบินได้เป็นอันดับสอง
มณฑลจันทบุรีและมณฑลร้อยเอ็ด สร้างสนามบินมณฑลละ ๓ สนามบิน ได้เลือกที่ตั้งสร้างสนามบินสำเร็จเฉพาะจังหวัดที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเท่านั้น นับเป็นอันดับสาม
มณฑลสุราษฏร์ธานี ราชบุรี ปราจีนบุรี และภูเก็ตได้รายงานให้ทราบว่าเลือกที่ตั้งสร้างสนามบินแล้วแต่ติดอุปสรรคด้วยลักษณะภูมิประเทศและวิธีการสร้าง นับเป็นอันดับสี่
มณฑลนครไชยศรี มี ๓ จังหวัด ได้เลือกที่ตั้งสร้างสนามบินแล้ว ๒ สนามแต่จังหวัดนครปฐมยังมิได้สร้าง นับเป็นอันดับห้า
มณฑลอยุธยา นครสวรรค์ และพิษณุโลก ซึ่งเป็นมณฑลที่มี ๕-๗ จังหวัดนั้น แจ้งว่าจะสร้างเพียงมณฑลละ 1 จังหวัด นับเป็นอันดับหก
มณฑลพายัพ นครศรีธรรมราช และ ปัตตานี ยังมิได้บอกเลือกที่ตั้งสนามบิน
สาเหตุที่แต่ละมณฑลแต่ละจังหวัดต่างๆ สร้างสนามบินไม่เท่ากันเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศและความสนใจสนับสนุนมากน้อยของอุปราชและสมุหเทศาภิบาลแต่ละมณฑลและจังหวัดนั้น


27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 กรมอากาศยานทหารบกจัดส่งเครื่องบินเบร์เกต์ ( บท.1 ) จากกองบินใหญ่ทหารบกที่ 3 นครราชสีมา พร้อมนายแพทย์ของกรมสาธารณะสุข 1 คนและเวชภัณฑ์หนัก 120 กิโลกรัม บินไปที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวอำเภอวาริชำราบ ซึ่งเกิดไข้ทรพิษและอหิวาตกโรค การบินไปส่งแพทย์และเวชภัณฑ์ดังกล่าวใช้เวลา 3 ชั่วโมง 8 นาที ซึ่งหากเดินทางตามธรรมดาในสมัยนั้นจะต้องใช้เวลาประมาณครึ่งเดือน เป็นการใช้ประโยชน์จากเครื่องบินนอกเหนือจากการใช้ในงานสงครามเท่านั้น

1 มิถุนายน พ.ศ. 2465 กรมอากาศยานและกรมไปรษณีย์โทรเลข เปิดสายการบินขนส่งไปรษณีย์เป็นครั้งแรก ในเส้นทางสาย นครราชสีมา - ร้อยเอ็ด - อุบลราชธานี แบบบินไปกลับสวนทางกัน ( ไปรษณีย์ภัณฑ์ต่างๆจะถูกรวบรวมใส่รถไฟที่นครราชสีมาแล้วเข้ากรุงเทพอีกครั้งหนึ่ง ) ซึ่งผลจากการเปิดเส้นทางสายแรกในครั้งนี้ กรมอากาศยานและกรมไปรษณีย์โทรเลข พร้อมที่จะเปิดเส้นทางสายอื่นในเส้นทางภาคอิสานโดยเป็นการบินขนส่งต่อจากเส้นทางรถไฟที่มีในขณะนั้นและมีแนวความคิดที่จะเปิดเส้นทางสายเหนือในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการดัดแปรเครื่องบินแบบ เบร์เกต์-14 รุ่นทิ้งระเบิดสองที่นั่งให้เป็นเครื่องบินขนส่งและเครื่องบินพยาบาลที่บรรทุกได้มากขึ้น

3 ธันวาคม พ.ศ. 2466 กรมอากาศยานและกรมไปรษณีย์โทรเลข เปิดสายการบินขนส่งไปรษณีย์เป็นสายที่สอง ในเส้นทางสาย นครราชสีมา - ร้อยเอ็ด - อุดรธานี-หนองคาย แบบบินไปกลับสวนทางกัน ( ไปรษณีย์ภัณฑ์ต่างๆจะถูกรวบรวมใส่รถไฟที่นครราชสีมาแล้วเข้ากรุงเทพอีกครั้งหนึ่ง ) โดยขั้นต่อไปเตรียมเปิดเส้นทางสาย นครราชสีมา-ชัยภูมิ-เพชรบูรณ์-พิษณุโลก และ โครงการต่อไปคือเปิดเส้นทางสายมณฑลพายัพ ต่อไป
_________________
ภาพถ่ายในวันนี้..คือประวัติศาสตร์ในวันพรุ่งนี้


Last edited by AONZON on 19/02/2010 10:28 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2010 4:12 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
นี่เองที่ทำให้ คนอุบลรู้จักเครื่องบินมาก่อนรถยนต์ตามรายงานการตรวจราชการภาคอีสานโดยกรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อ ธันวาคม 2469
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
Page 4 of 7

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©