RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180100
ทั้งหมด:13491332
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟไทย พระราชมรดกจากสมเด็จพระปิยมหาราชเพื่อคนไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟไทย พระราชมรดกจากสมเด็จพระปิยมหาราชเพื่อคนไทย

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2020 10:51 am    Post subject: รถไฟไทย พระราชมรดกจากสมเด็จพระปิยมหาราชเพื่อคนไทย Reply with quote

รถไฟไทย พระราชมรดกจากสมเด็จพระปิยมหาราชเพื่อคนไทย
แนวหน้า ฉบับวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สยามประเทศมีรถไฟมาก่อนแต่ดั้งแต่เดิมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีรถไฟใช้ รถไฟจึงเป็นของพระราชทาน ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ให้คนทุกคน ทุกชนชั้น และทุกพื้นที่มีการคมนาคม ที่สะดวกสบาย การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงยึดมั่นสืบสานพระราชประสงค์ให้คนไทย มีการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว

แนวหน้าวาไรตี้สัปดาห์นี้ ดร.เฉลิมชัย ยอดมาลัย นำคุณไปสนทนากับ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้ทราบว่าการรถไฟฯ มุ่งเน้นการให้บริการด้วยความปลอดภัยสูงสุด และพัฒนาระบบการขนส่งทางรางให้ดีที่สุดในอาเซียนในอนาคตอันใกล้

ในฐานะที่ท่านผู้ว่าการ เข้ารับตำแหน่ง หัวจักรใหญ่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย อยากเรียนถามว่าจะมีนโยบายใหม่ๆ ใด สำหรับ การรถไฟฯ บ้างครับ

คุณนิรุฒ : ก่อนอื่นขอเรียนว่าผมภาคภูมิใจ มากกับตำแหน่งที่ได้รับ และผมตั้งใจทำให้การรถไฟฯ พัฒนาให้มากที่สุด โดยผมและคนของ การรถไฟฯ ทุกคนจะร่วมมือร่วมใจร่วมกันอย่างดี เพื่อให้การรถไฟฯ สามารถช่วยให้ชีวิตของ ประชาชนดีขึ้น ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติภูมิของการรถไฟฯ ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป แม้วันนี้คนจำนวนไม่น้อยอาจ ไม่ค่อยใช้บริการของรถไฟไทย แต่ผมมั่นใจว่า ในอนาคตอันใกล้ รถไฟจะเข้าไปมีบทบาทในชีวิต ประจำวันของผู้คนมากขึ้นเป็นลำดับ ล่าสุด จะพบว่ารถไฟกลับมามีบทบาทในการขนส่งสินค้า และการเดินทางของผู้คนมากขึ้น และต่อไปในอนาคตรถไฟจะเป็นแกนหลักของการคมนาคมของไทย และจะเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาการบริการของรถไฟอย่างมาก เพราะเห็นความสำคัญของการคมนาคมระบบราง แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ผมก็จะต้องยึดมั่นในวัตถุประสงค์หลักของการรถไฟฯคือเพื่อรับใช้ประชาชน ให้ทุกคนสามารถใช้บริการได้ อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทั่วประเทศ แม้หลาย คนจะวิพากษ์ว่าการรถไฟของไทยยังมีปัญหา ยังขาดทุน แต่นั่นคือสิ่งที่ผมต้องเข้าไปแก้ไขให้ได้ โดยเร็ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเน้นสร้างกำไร โดยไม่คำนึงถึงความจริงที่ว่าการรถไฟของไทยมีขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน โดยเบื้องต้นนั้น การรถไฟฯต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ก่อน ส่วนเรื่องกำไรจะตามมาในภายหลัง ผมย้ำว่าพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้การรถไฟไทยช่วยอำนวยความสะดวก และสร้างความเจริญให้กับประเทศของเรา ดังนั้น ผมจึงต้องยึดมั่นในพระราชประสงค์นี้อย่าง เคร่งครัด พระองค์ท่านพระราชทานรถไฟให้กับคนไทยทุกคน และยังพระราชทานสมบัติล้ำค่าให้การรถไฟฯด้วย คือที่ดินจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ ในกิจการการรถไฟฯ โดยมีที่ดินทั้งสิ้น 2 แสนกว่าไร่ แบ่งเป็นที่ดินเขตทาง ที่ดินสำหรับสถานีรถไฟ และที่ดินอื่นๆ ซึ่งเรียกว่าที่ดินลอย การรถไฟฯจึงต้องใช้ที่ดินพระราชทานทั้งหมดให้ดีเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับองค์กรและเพื่อประชาชนและประเทศชาติ ผมเองให้ความสำคัญกับที่ดินเหล่านี้มาก เพราะมีมูลค่ามหาศาล แต่เราคงไม่เน้นการสร้างกำไรจากที่ดินจนลืมภารกิจสำคัญของเรา คือการพัฒนาการบริการการคมนาคมระบบราง ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ของประชาชน ผมย้ำว่าที่ดินของการรถไฟฯทั้งหมดต้องถูกใช้เพื่อพัฒนาการรถไฟฯ และเพื่อรับใช้สังคม เนื่องจากที่ดินของการรถไฟคือที่ดิน พระราชทาน

ขอถามเรื่องสำคัญที่หลายคนวิจารณ์การรถไฟฯมานานคือ ปัญหาขาดทุน และปัญหาเรื่องที่ดิน ที่ถูกมองว่าการรถไฟฯ ไม่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากที่ดินได้ ท่านผู้ว่าการจะชี้แจงเรื่องนี้อย่างไรครับ

คุณนิรุฒ : เรื่องการขาดทุนของรถไฟนั้น มีปัจจัยหลายประการมาก ซึ่งผมในฐานะผู้นำ หน่วยงานก็ต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ได้ แต่ผม ขอเรียนย้ำว่ารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชประสงค์ ให้การรถไฟของไทยทำหน้าที่ช่วยเหลือเรื่องการเดินทาง การคมนาคมของคนไทย โดยไม่ได้ทรงมุ่งเน้นในเรื่องกำไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะบริหารงานให้ขาดทุน แต่เพียงว่าเราต้องยึดมั่นในพระราชประสงค์เป็นสำคัญ ส่วนเรื่องที่ดินของการรถไฟฯนั้น ผมต้องเรียนว่าการรถไฟฯมีภารกิจหลักคือการเดินรถไฟเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนเรื่อง การบริหารจัดการที่ดินอาจจะไม่ใช่ความสามารถ และความชำนาญของพวกเรา แต่เราก็ตระหนักดีว่าเรามีทรัพย์สินพระราชทานคือที่ดิน จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำให้ทรัพย์สินเหล่านี้เกิดประโยชน์สูงสุด เราชั่งน้ำหนักตลอดเวลาระหว่างการบริหารจัดการเองกับการให้เอกชนเช่าทำประโยชน์ เราย้ำว่าเราเน้นเรื่องผลประโยชน์สูงสุดขององค์กรและของ ประชาชน เราจึงให้ความสำคัญกับการหา ผลประโยชน์จากที่ดินควบคู่ไปกับการพัฒนา การให้บริการของการรถไฟฯให้มีคุณภาพสูงสุด โดยพิจารณาที่ดินของเราที่มีในจุดต่างๆ แล้วนำไปทำประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

เรื่องความปลอดภัยของรถไฟไทย ก็เป็นประเด็นที่สังคมพูดถึงมาก ท่านผู้ว่าการ จะมีนโยบายนี้อย่างไรบ้างครับ

คุณนิรุฒ : นโยบายแรกของผมเมื่อเข้ารับ ตำแหน่งผู้ว่าการ คือผมประกาศชัดว่า การ รถไฟฯ เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทั้งระบบ ไม่ใช่แค่เพียงการเดินรถเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคน ประชาชนทุกคน และสัตว์ทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟฯ ความปลอดภัยต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก ผมไม่ประนีประนอมเรื่องความปลอดภัย ผมเน้นว่าต้องปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ และตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น การขายของที่ล้ำเข้าไปในเขตทางรถไฟต้องถูกจัดการให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของทุกคน แต่ผมก็ไม่ได้ตัดโอกาส การทำมาหากินของประชาชน แต่ผมต้องให้ทุกคน ทำมาหากินได้โดยปลอดภัย และไม่มีปัญหา กับการเดินรถไฟ ที่ผ่านมามีปัญหาคือรถไฟต้องชะลอเมื่อแล่นผ่านจุดที่มีผู้ค้าขายล้ำเข้าไปในเขตทางรถไฟ จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องความ ปลอดภัย และปัญหารถไฟล่าช้า ผมเน้นแก้ปัญหา โดยสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกันระหว่าง การรถไฟฯกับประชาชน เราไม่ได้ขัดขวางการค้าขายของประชาชน แต่เราต้องหาที่หาทางที่เหมาะสมและปลอดภัยให้ผู้ค้าขาย แล้วทำให้ทุกอย่างโปร่งใส ไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยบุคคลใด เราจัดการแก้ปัญหาให้กับตลาดคลองตันเรียบร้อยแล้ว และขอบคุณที่ผู้ค้าขายและประชาชนให้ความร่วมมืออย่างดี เราเน้นความสมดุลของการทำงานของการรถไฟฯกับความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งเรื่องเช่นนี้มีทางออกร่วมกันได้โดยทุกอย่างต้องปลอดภัยและถูกกฎหมาย

ปัญหาเรื่องประชาชนลักตัดทางผ่านรางรถไฟ คืออีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ท่านผู้ว่าการจะแก้ปัญหานี้อย่างไรครับ

คุณนิรุฒ : เรื่องการลักใช้ทางเกิดมานานมาก และเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้เกิด ปัญหาอุบัติเหตุ และทำให้รถไฟล่าช้า หลายครั้ง ที่รถไฟต้องหยุดหรือชะลอเพื่อให้ผู้ลักใช้ทาง ผ่านไปก่อน มิฉะนั้นจะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น รถไฟชนคน ชนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชนสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน เราพยายามเจรจาหารือกับชาวบ้านตลอดเวลา เพราะต้องการ ให้ทุกคนทุกชีวิตปลอดภัย และรถไฟไม่เสียเวลา เราเข้าไปดูและศึกษาว่าจุดใดที่ประชาชนจำนวนมากต้องการใช้ทางผ่านรางรถไฟ เราก็ทำทางผ่านให้ แล้วเราก็พยายามขอร้องให้เลิกลักใช้ทางโดยตัดผ่านรางรถไฟโดยผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เมื่อเราหาข้อตกลงร่วมกัน ได้แล้ว เราก็ทำไม้กั้น และทำจุดตัดผ่านที่ถูกต้อง พร้อมติดอาณัติสัญญาณชัดเจนให้ เพื่อให้ทุกคนใช้ทาง อย่างปลอดภัยและสะดวก ผมขอวิงวอนนะครับ ขออย่าลักใช้ทาง อย่าตัดผ่านรางรถไฟโดยพลการเลย เพราะมันอันตรายมาก หากประชาชนจำเป็นต้องใช้ ทางตัดผ่านจริงๆ ของให้มาเจรจากับการรถไฟฯนะครับ เรายินดีอำนวยความสะดวกให้ประชาชน โดยเน้นความปลอดภัยสูงสุด ขอให้ทุกท่านคำนึงถึงระเบียบวินัย และความปลอดภัยเป็นสำคัญด้วยครับ ผมไม่ต้องการใช้กฎหมายเพื่อเอาผิดกับประชาชน เพราะ รู้ดีว่าประชาชนไม่ได้ต้องการละเมิดกฎหมาย แต่ทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มากกว่า

เรื่องรางรถไฟรางคู่ดำเนินการไปถึงไหนแล้วครับ จะเรียบร้อยทั้งประเทศในช่วงปีไหนครับ
คุณนิรุฒ : เรื่องนี้กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ครับ รัฐบาลอนุมัติให้สร้างรางคู่หลายพื้นที่ซึ่งครอบคลุม หลายจังหวัดแล้วครับ เมื่อเรามีรางคู่ทั่วประเทศ การให้ บริการรถไฟก็จะดีขึ้น รวดเร็วขึ้น ดังนั้นรางคู่จะเป็น จุดเปลี่ยนสำคัญของการให้บริการการคมนาคมระบบรางของไทย และจะนำไปสู่การได้กำไรของกิจการในอนาคต รัฐบาลเริ่มรางคู่เฟส 1 ทางเขตภาคเหนือโดยทำขึ้นไปถึงปากน้ำโพ เส้นภาคอีสานเหนือ ก็ ทำขึ้นไปถึงขอนแก่น ส่วนทางใต้ลงไปถึงชุมพร นี่คือเฟส 1 ซึ่งกำลังทำ น่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ส่วนเฟส 2 กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของทางสภาพัฒน์ ซึ่งจะต่อขยายในส่วนภาคเหนือจากปากน้ำโพไปถึงเชียงใหม่ สายอีสานเหนือ ต่อจากขอนแก่นไปถึงหนองคาย แล้วติดต่อกับลาว สายอีสานใต้ไปถึงอุบลราชธานี ส่วนสายใต้ จากชุมพรไปถึงหาดใหญ่ไปถึงปาดังเบซาร์ และจะมีสายใหม่อีก เช่น เด่นชัย เชียงราย เชียงของ โดยจะเป็นเส้นทางจาก แพร่ ลำปาง ผ่านอำเภองาว ขึ้นไปพะเยาจนถึงเชียงราย ไปสุดที่เชียงของ แล้วต่อเข้าลาว ส่วนอีกสายหนึ่งคือทางขนาน เส้นอีสานจาก บ้านไผ่ ขอนแก่นไปนครพนม เมื่อสร้างเสร็จครบถ้วนแล้ว การบริการของรถไฟ จะสะดวกสบายยิ่งขึ้น และจะกลายเป็นระบบราง ที่ดีที่สุดในกลุ่มอาเซียนในอนาคตด้วย

ท่านผู้ว่าการครับ มีผู้ชื่นชอบความงดงามของสถานีหัวลำโพง เพราะมีสถาปัตยกรรมที่งดงามเหมือนยุโรปมาก คนรักหัวลำโพงฝากถามว่ามีนโยบายทำให้หัวลำโพงกลับมามีชีวิตชีวาอย่างไรบ้างครับ

คุณนิรุฒ : ผมเองก็เห็นความงามของ สถานีหัวลำโพง และพยายามทำให้หัวลำโพงกลับมา มีชีวิตชีวาเหมือนยุคแรกเริ่มมีหัวลำโพง ทุกคน รู้ดีว่าอีก 1-2 ปีข้างหน้าสถานีกลางบางซื่อ จะเปิดให้บริการครบวงจร ส่วนสถานีหัวลำโพง ก็จะกลายเป็นจุดประวัติศาสตร์ของการรถไฟไทย ผมจะย้อนประวัติศาสตร์ให้คนไทยและต่างชาติ เห็นความสำคัญของหัวลำโพง เพื่อให้รู้ว่านี้คือจุดศูนย์กลางแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ อยากให้คน รับรู้ว่าเหตุใด รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 จึงทรง ให้สร้างหัวลำโพงตรงที่แห่งนี้ จริงๆ แล้วหัวลำโพงอยู่ใกล้กับย่านการค้าเก่าแก่คือเยาวราช ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา และที่สำคัญคือหัวลำโพง มีสถาปัตยกรรมงดงามตามแบบตะวันตก เราจึง ต้องการทำให้หัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้ง และต้องอนุรักษ์สถานที่สำคัญนี้ไว้ วันหน้าผมจะชวนรายการแนวหน้าวาไรตี้ไปชมความงามของหัวลำโพงทุกซอกทุกมุมครับ

คุณสามารถพบรายการดีที่ครบครัน ด้วยสาระและความบันเทิง รายการแนวหน้า วาไรตี้ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00-16.25 น. ทางโทรทัศน์ TNN 2 ช่อง 784 ดิจิทัลทีวี หรือ True Visions 8 และ ชมรายการ ย้อนหลังได้ที่ YouTube แนวหน้าวาไรตี้


Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2021 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่มีอะไรที่ทำให้ ร.๕ สุขใจยิ่งกว่าขยายทางรถไฟ! ในรัชกาลเดินรถได้ ๙๓๒ กม. สร้างค้างอีก ๖๙๐!!
โดย: โรม บุนนาค
เผยแพร่: 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 10:12 น.
ปรับปรุง: 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 10:12 น.

รถไฟ ไม่ได้เป็นแค่การคมนาคม แต่ในสมัยที่การล่าอาณานิคมล้อมเข้ามารอบบ้าน และพยายามหว่านล้อมให้คนที่อยู่ชายขอบเห็นดีเห็นชอบกับการตกเป็นอาณานิคม รถไฟจึงเป็นสายใยที่โยงคนที่อยู่ห่างไกลเข้ามาใกล้ชิดเมืองหลวง การสร้างทางรถไฟไปถึงจึงเป็นการแสดงว่ารัฐบาลไม่ทอดทิ้งคนที่อยู่ห่างไกล ด้วยเหตุนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงทรงเริ่มการสร้างทางรถไฟขึ้น และถือเป็นพระบรมราโชบายหลักอย่างหนึ่ง นอกจะสร้างสร้างเศรษฐกิจ สร้างความเจริญ และความสุขของประชาชนแล้ว ยังเป็นความมั่นคงของประเทศ

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเปิดทางรถไฟช่วงปากน้ำโพถึงพิษณุโลก เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๔๕๐ ทรงมีพราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“...ไม่มีสิ่งไรที่จะถูกใจฉันยิ่งขึ้นไปกว่าที่ได้เห็นความเจริญที่ได้มีขึ้นในการขยายทางรถไฟของเมืองเรา ทางรถไฟย่อมเป็นพยานแห่งความรุ่งเรืองของบ้านเมือง กับทั้งยังเป็นหนทางที่จะช่วยให้เกิดความเจริญเช่นนี้ได้อย่างยิ่ง รถไฟทำให้เกิดยานพาหนะอย่างสะดวกแลรวดเร็วด้วย แลชักนำให้ตำบลต่างๆที่อยู่ห่างไกลเข้าใกล้ชิดติดถึงกัน เหตุฉะนั้น จึงทำให้เกิดความสุขแลความเจริญของประชาชนพลเมืองยิ่งขึ้น รถไฟสามารถทำให้รัฐบาลสามารถที่จะจัดการและเอาใจใส่ดูแลให้ยิ่งขึ้นได้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการจำเป็นของการรักษาบ้านเมืองที่จะเป็นผลดีได้...”

ในปี ๒๔๓๐ จึงโปรดให้บริษัทของชาวอังกฤษดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯไปเชียงใหม่ มีทางแยกจากเมืองสระบุรีไปนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ไปตำบลท่าเดื่อ ริมฝั่งโขงสายหนึ่ง และจากเชียงใหม่ไปเชียงราย เชียงแสนอีกสายหนึ่ง หลังจากสำรวจแล้วทรงพิจารณาเห็นว่า สายแรกให้สร้างจากกรุงเทพฯไปนครราชสีมาก่อน ในเดือนตุลาคม ๒๔๓๓ จึงโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้นสังกัดกระทรวงโยธาธิการ และเริ่มลงมือก่อสร้างจากสถานีกรุงเทพ ที่หัวลำโพง ในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๓๔ เป็นทางขนาดกว้าง ๑,๔๓๕ เมตร

เมื่อสร้างไปถึงอยุธยา เป็นระยะทาง ๗๑ กิโลเมตร พอจะเปิดเดินรถได้แล้ว ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๙ จึงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพ-อยุธยา และเปิดให้บริการประชาชนตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคมนั้น ซึ่งการรถไฟฯได้ถือเอาวันที่ ๒๖ มีนาคม เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟไทย จากนั้นก็เปิดเดินรถต่อไปเป็นระยะ ถึงแก่งคอย มวกเหล็ก ปากช่อง จนกระทั่งในปี ๒๔๔๓ จึงถึงนครราชสีมา เป็นระยะทาง ๒๖๕ กิโลเมตร สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๑๗,๕๘๕,๐๐๐ บาท และขณะที่สายนครราชสีมาได้สร้างไปแล้ว ก็โปรดให้เริ่มขึ้นเหนือมุ่งเชียงใหม่ต่อไป

ส่วนสายใต้ที่ต้องใช้ระบบรางต่างขนาดกว้างเพียง ๑ เมตร เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟในแหลมมลายูของอังกฤษได้ ทรงให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนที่เสนอขอสร้างช่วงแรกจากกรุงเทพไปเพชรบุรี เป็นระยะทาง ๑๕๑ กิโลเมตร แต่เมื่อให้สัมปทานไปแล้วก็มีปัญหาไม่สามารถสร้างได้ ต้องขายสัมปทานเปลี่ยนมือไปหลายราย บางรายก็มาขอให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ให้ ในที่สุดรัฐบาลจึงรับซื้อสัมปทานกลับมาสร้างเองในราคา ๒๕,๐๐๐ บาท และเมื่อสายนครราชสีมาใกล้เสร็จแล้ว สายเหนือไปถึงลพบุรี จึงลงมือสร้างสายใต้โดยเริ่มจากสถานีธนบุรีที่ปากคลองบางกอกน้อย ข้ามแม่น้ำสำคัญ ๒ สายคือแม่น้ำท่าจีนที่นครไชยศรี ต้องใช้สะพานยาว ๑๓๒ เมตร และแม่น้ำแม่กลองที่ราชบุรี สะพานยาว ๑๕๐ เมตร เริ่มลงมือสร้างในวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๔๒ เริ่มเปิดใช้ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๔๖ โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดด้วยพระองค์เอง จากนั้นก็ต่อลงไปเป็นระยะ แต่เดิมกำหนดจะไปถึงเมืองไทรบุรีซึ่งอยู่ครอบครองของไทย แต่ต้องเสียดินแดนให้อังกฤษไป เส้นทางนี้จึงไปได้แค่จังหวัดนราธิวาส เป็นระยะทาง ๑,๑๔๔.๒๙ กิโลเมตร แต่ก็เป็นเส้นทางรถไฟสายยาวที่สุดในประเทศไทย และทำให้สายอื่นต้องเปลี่ยนระบบรางมากว้างเพียง ๑ เมตรในปี ๒๔๖๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพื่อให้เชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วประเทศ และเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบได้อีกด้วย แต่ตอนนี้กำลังจะต้องเปลี่ยนเป็นระรบรางกว้าง ๑,๔๓๕ เมตรอีกแล้ว เพื่อมเชื่อมต่อกับรถไฟจีน ซึ่งเพื่อนบ้านก็เปลี่ยนเป็นระบบนี้กันแล้ว

การเริ่มสร้างรถไฟในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่ปี ๒๔๓๔ จนสิ้นรัชกาลในปี ๒๔๕๓ เปิดเดินรถได้ ๙๓๒ กิโลเมตร และยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จอีก ๖๙๐ กิโลเมตร รัชกาลต่อๆมาก็ขยายเส้นทางรถไฟเพิ่มขึ้นเรื่อมา ในสมัยรัชกลที่ ๖ เพิ่มเส้นทางเดินรถเพิ่มขึ้นอีก ๑,๖๔๙ กิโลเมตร เป็น ๒,๕๘๑ กิโลเมตร และยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จอีก ๔๙๗ กิโลเมตร ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ซึ่งเศรษฐกิจย่ำแย่มาก ขนาดต้องดุลข้าราชการออกเพราะไม่มีเงินจ่ายเงินเดือน ก็ยังมีทางรถไฟเพิ่มขึ้นอีก ๔๑๘ กิโลเมตร สมัยรัชกาลที่ ๘ ประเทศต้องเผชิญกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ นอกจากประสบปัญหาเศรษฐกิจแล้วยังต้องเผชิญภัยสงคราม ทั้งยังต้องคอยซ่อมทางที่ถูกทำลาย แต่ก็มีการสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นอีก ๒๕๙ กิโลเมตร ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๙ ตั้งแต่หลังสงครามโลกยุติ กิจการรถไฟบอบช้ำหนัก ต้องซ่อมทั้งอาคาร รถจักรและล้อเลื่อนต่างๆ รัฐบาลจึงต้องกู้เงินจากธนาคารโลกมาสมทบ ธนาคารโลกได้เสนอให้ปรับปรุงองค์กรของกรมรถไฟหลวงให้บริหารในเชิงธุรกิจ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามจึงเสนอร่างพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๙๔ ต่อรัฐสภา ทำให้กรมรถไฟหลวงเปลี่ยนฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสาธารณูปการ ภายใต้ชื่อ “การรถไฟแห่งประเทศไทย” ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๙๑ เป็นต้นมา

ในขณะนี้การเดินรถไฟที่เริ่มวางรากฐานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ กำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีรถไฟระบบรางคู่แล้ว อีกไม่นานก็จะมีรถไฟความเร็วสูง และโยงใยไปถึงจีนที่มีรถไฟไปถึงใจกลางยุโรปแล้วตามเส้นทางสายไหม ต่อไปรถไฟก็จะโยงใยตะวันตกตะวันออกให้เข้ามาใกล้ชิดกัน ไปมาหาสู่กันกัน สร้างความสุขให้คนทั้งสองซีกโลก...ถ้าไม่รบราฆ่าฟันทำสงครามกันเสียก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©