View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 32407
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 17/10/2018 8:47 am Post subject: ข่าวรถไฟสายชุมพร-ระนอง |
|
|
รฟท.ดันสร้างรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง 4 หมื่นล้าน
ไทยโพสต์ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 07:30 น.
รฟท.รับลูกรัฐบาลดันรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง 4 หมื่นล้านฝันปลุกเศรษฐกิจ SECพร้อมจี้พัฒนาพื้นที่ตามแนวรถไฟทางคู่ มั่นใจเดินหน้าศึกษาก่อนเปิดประมูล
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยถีงแผนพัฒนารถไฟทางคู่เพิ่มอีก 1 เส้นทางคือ รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-ระนอง เพื่อส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) หรือ SEC ตลอดจนเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรด้วระบบราง (Land-bridge) ระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ว่าขณะนี้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)อยู่ระหว่างเสนอผลศึกษาโครงการดังกล่าวให้กับรฟท.ไปดำเนินการศึกษารายละเอียดการก่อสร้างและถอดแบบราคาก่อนเปิดประมูลโครงการต่อไป
อย่างไรก็ตามคาดว่าจะใช้เวลาราว 4-6เดือนนับจากนี้ในการดำเนินการตามแผนดังกล่าว ดังนั้นจึงมั่นใจว่ารฟท.จะสามารถสองนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรีได้แน่นอน
ด้านนางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่าโครงการรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เป็นรถไฟรางเดี่ยว มีระยะทาง 108 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท กำหนดเป้าหมายเปิดให้บริการปี 2568 มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 12.20% โดยคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการในปีแรกอยู่ที่ 5,724 คนต่อปี และจะเพิ่มเป็นจำนวน 11,710 คนต่อปี ภายในระยะเวลา 30 ปีหลังจากเปิดให้บริการ คิดเป็นปริมาณการเติบโตราว 100% หรือคิดเป็น 28% ต่อระยะเวลา 10 ปี ด้านปริมาณการขนส่งสินค้านั้น ในปีแรกที่เปิดบริการจะมีปริมาณสินค้านำเข้า-ส่งออกราว 33,116 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี และจะเพิ่มเป็น 85,502 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี คิดเป็นปริมาณการเติบโตเฉลี่ย 158% หรือคิดเป็น 53% ต่อระยะเวลา 10 ปี แบ่งเป็นสินค้านำเข้าทั่วไป อาทิ เหล็ก สินค้าเกษตร สินค้าบริโภค สินค้ากลุ่มก่อสร้างและสินค้าอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นโครงการดังกล่าวกำหนดไว้ 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 5 กม.
รายงานข่าวแจ้งว่าก่อนหน้านี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายต้องการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ไปดำเนินการบรรจุแผนพัฒนารถไฟทางคู่เพิ่มอีก 1 เส้นทางคือ รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-ระนอง เพื่อส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) หรือ SEC ตลอดจนเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรด้วระบบราง (Land-bridge) ระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ซึ่งฝั่งท่าเรือระนองสามารถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้ากับกลุ่มประเทศอ่าวเบงกอล ดังนั้นจึงต้องพัฒนาเส้นทางสายดังกล่าวเกิดขึ้นให้ได้เพราะจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนในพื้นที่
ทั้งนี้ให้โจทย์ว่าโครงการนี้ในปีหน้าต้องมีความชัดเจนให้ได้ทั้งการเปิดประมูลและการก่อสร้าง นอกจากนี้ตนยังมองว่าเส้นทางดังกล่าวยังสามารถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างอีอีซีกับมหาสมุทรอินเดียได้อีกด้วย
นอกจากนี้ได้เร่งรัดให้ รฟท.ต้องเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 วงเงิน 4 แสนล้านบาทให้เป็นไปตามกำหนดการที่ตั้งไว้ ควบคู่ไปกับการเดินหน้าเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรโดยการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เนื่องจากรฟท.มีทรัพย์สินจำนวนมากทั่วประเทศจึงต้องทำหน้าที่เป็นนักพัฒนาพื้นที่ ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ เพราะรฟท.มีประสบการด้านการเดินรถและเชี่ยวชาญการตั้งสถานีเพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ นอกจากนี้รฟท.ต้องให้ความสำคัญกับการเชื่อมเส้นทางรถไฟไปยังเมืองรองเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 33461
Location: NECTEC
|
Posted: 17/10/2018 11:17 am Post subject: |
|
|
ขอทบทวนความจำกัดกันหน่อยครับ:
ดูจากการศึกษาล่าสุดคราาวนี้ทางเลือกที่หนึ่ง เข้าวินแฮะแถมต้องทำทางแยกไปตัวเมืองระนองตามเสียงเรียกร้องของประชาชนด้วย
Mongwin wrote: | สนข. ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 9 พ.ย. 2560
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมนานาบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) ได้จัดการประชุมเพื่อแนะนำโครงการและระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยนายชัยสิทธิ์ พานิชพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วยนายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. และมีผู้แทนจากหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทาง ทางเลือก รูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมกับโครงการ รวมทั้งกำหนดรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของทางรถไฟ รูปแบบสถานีผู้โดยสาร แนวคิดทางสถาปัตยกรรมอาคารของสถานี และการออกแบบแนวคิดจุดตัดทางรถไฟ พร้อมทั้งแนวทางเบื้องต้นในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุดและมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานศึกษาให้มีความสมบูรณ์ต่อไป
นายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ในการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับทะเลฝั่งอันดามันจากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง สำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึก จังหวัดระนอง เพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC ในอนาคตกระทรวงคมนาคม จึงมอบหมายให้ สนข. ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะเวลาดำเนินการศึกษา 10 เดือน (เดือนพฤษภาคม 2560 ถึงกุมภาพันธ์ 2561)
และจากการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์เพื่อประเมินและคัดเลือกแนวเส้นทาง โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พบว่า แนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ แนวเส้นทางที่ 1 มีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง รวมระยะทาง 102.5 กิโลเมตร โดยตำแหน่งสถานีเบื้องต้น 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยก (Spur Line) เข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร |
ดูจากการศึกษาล่าสุดคราาวนี้ทางเลือกที่หนึ่ง เข้าวินแฮะแถมต้องทำทางแยกไปตัวเมืองระนองตามเสียงเรียกร้องของประชาชนด้วย ตามข่าวนี้
ระนองระดมความคิดเห็นเส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 15:35:00 โดย: MGR Online
ระนอง - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง
สนข.ฟังความเห็น รถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เคาะแนวทางที่ 1 มี 9 สถานี 102.5 กม.
โดย: MGR Online
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16:14:00
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16:50:00
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 33461
Location: NECTEC
|
Posted: 18/10/2018 3:22 pm Post subject: |
|
|
รฟท.ดันทางคู่ชุมพร-ระนอง 4.5 หมื่นล้าน/หลังสมคิดสั่งลุย
วันพุธ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)อยู่ระหว่างเสนอผลศึกษาโครงการแผนพัฒนารถไฟทางคู่เส้นทาง ช่วงชุมพร-ระนอง เพื่อส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor:SEC) และเพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าด้วยระบบราง (Land-bridge) ระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน และให้ทาง การรถไฟฯไปดำเนินการศึกษารายละเอียดการก่อสร้างและถอดแบบราคาก่อนเปิดประมูลโครงการต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน นับจากนี้ในการดำเนินการตามแผนดังกล่าว
ด้าน นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่าโครงการรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เป็นรถไฟรางเดี่ยว มีระยะทาง 108 กิโลเมตร วงเงิน 45,000 ล้านบาท โดยมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2568 รวมถึงคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการในปีแรกอยู่ที่ 5,724 คนต่อปี และจะเพิ่มเป็นจำนวน 11,710 คนต่อปี ภายในระยะเวลา 30 ปี หลังจากเปิดให้บริการ ซึ่งคิดเป็นปริมาณการเติบโตประมาณ 28% ต่อระยะเวลา 10 ปี ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าในปีแรกคาดว่าจะมีปริมาณสินค้านำเข้า-ส่งออกประมาณ 33,116 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี และจะเพิ่มเป็น 85,502 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี เฉลี่ยเติบโต 53% ต่อระยะเวลา 10 ปี
นางวิไลรัตน์กล่าวว่า ในเบื้องต้นโครงการดังกล่าวกำหนดไว้ 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง
สำหรับแผนการพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-ระนอง เพื่อส่งเสริม SEC และเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการผลักดันพัฒนาเส้นทางสายดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อดึงดูดให้มีการลงทุนในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งโครงการดังกล่าวในปีหน้าต้องมีความชัดเจนให้ได้ทั้งการเปิดประมูลและการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่าง EEC กับมหาสมุทรอินเดีย |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 33461
Location: NECTEC
|
Posted: 16/11/2018 11:46 am Post subject: |
|
|
ชง "ท่าเรือระนอง-รถไฟทางคู่" เข้า ครม. เชื่อม 'อีอีซี' สู่ประตูการค้าโลก
พฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2561
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "จากอีอีซีสู่เศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ" ในงานสัมมนา Next Step Thailand : EEC ยุทธศาสตร์ไทยเชื่อมโลก จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่า ภายในเดือน พ.ย. นี้ หรือช้าสุดไม่เกินต้นเดือน ธ.ค. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะนำโครงการก่อสร้างท่าเรือระนอง โครงการรถไฟทางคู่ และโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และนครศรีธรรมราช เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ หลังจากที่ สศช. ได้จัดทำรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย การก่อสร้างท่าเรือระนองใหม่ เงินลงทุนราว 1 หมื่นล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง ราว 1 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นงบก่อสร้างถนนเชื่อมฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน รวมถึงการจัดทำโครงการอื่น ๆ เช่น การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน การพัฒนาประมงชายฝั่ง การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและปาล์มน้ำมัน การพัฒนาท่าเรือระนอง การสร้างรถไฟรางคู่ชุมพร-ระนอง
ทั้งนี้ หากผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ได้ จะเริ่มทำการศึกษาในรายละเอียดของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2562 และจะเริ่มดำเนินกิจกรรมพัฒนาพื้นที่ที่เป็นสีเขียวก่อน เช่น การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนก่อน การพัฒนาประมงชายฝั่ง การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชน ใช้งบไม่มาก เพราะเป็นการลงทุนเพื่อปรับปรุงของที่มีอยู่เดิม
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญและได้ลงสำรวจดูพื้นที่แล้ว เนื่องจากจะเป็นโครงการที่มาเชื่อมกับโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่จะใช้รถไฟทางคู่และท่าเรือระนองในการส่งออกสินค้าไปฝั่งอันดามัน เป็นการลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าให้สั้นลง และจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคนี้ได้ สอดรับกับการลงทุนใน 5 โครงการสำคัญในอีอีซี เช่น การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก, โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3, โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3, โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา และโครงการถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
"โครงการอีอีซีเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และถือเป็นการพัฒนานำร่องก่อนที่จะขยายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ"
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กล่าวว่า หากประเทศไทยไม่มีโครงการอีอีซีในอีก 5 ปี การพัฒนาประเทศจะล้าหลังกว่าประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการลงทุนในอีอีซี จะไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเงินลงทุนเป็นสำคัญ แต่จะเน้นเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากกว่า เพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ๆ และเป็นการสร้างฐานกำลังคนในประเทศได้
อย่างกรณีโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) เป็น 1 ใน 9 แห่ง ที่เป็นเป้าหมายการลงทุนของแอร์บัส ซึ่งจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานขนาดใหญ่ที่มีความทันสมัยล่าสุด เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีเครื่องบินของแอร์บัสทำการบินอยู่ราว 7 พันลำ ซึ่งถือเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางในการซ่อมบำรุงในภูมิภาคนี้ได้
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำผังเมืองพื้นที่อีอีซี ว่า สำหรับร่างผังเมืองรวมในอีอีซี คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายในกลางเดือน ธ.ค. นี้ และหลังจากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่ ตามการใช้ประโยชน์ในที่ดิน คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ราวกลางปี 2562 ซึ่งถือว่ามีความรวดเร็วกว่าปกติ ที่ขั้นตอนการจัดทำผังเมืองเฉพาะจะต้องใช้เวลาดำเนินการราว 2 ปีครึ่ง
โดยผังเมืองใหม่ของพื้นที่อีอีซี จะทำให้มีพื้นที่ลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมายราว 3 แสนไร่ คิดเป็น 3-4% ของพื้นที่อีอีซีทั้งหมด ซึ่งจะเพียงพอที่จะรองรับการลงทุน โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรม และสามารถรองรับประชากรราว 6-7 ล้านคน ที่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัวได้
//------------------------------------------------
จ่อชง ครม.ไฟเขียว "เอสอีซี" พ.ย.นี้ ชูท่องเที่ยวอีอีซีลดเหลื่อมล้ำสังคม
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:01 น.
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษ จากอีอีซี สู่เศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศไทย ในงานสัมมนา Next Step Thailand : EEC ยุทธศาสตร์ไทยเชื่อมโลกว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำรายละเอียดโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) เสร็จแล้ว เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเดือน พ.ย.นี้ หรือไม่เกินต้นเดือน ธ.ค. ครอบ คลุม 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จากนั้นจะทำการศึกษาโครงการ คาดจะแล้วเสร็จกลางปี 62
สำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในเอสอีซี คือ การพัฒนาท่าเรือระนอง วงเงิน 10,000 ล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ที่จะเชื่อมระบบโลจิสติกส์ของฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย หรือจากอ่าวไทยไปอันดามัน โดยมีไทยเป็นจุดศูนย์กลาง ขณะที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญมาก หากนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ขอให้ดำเนินการอะไร นายกรัฐมนตรีจะให้หมด เรียกได้ว่าเป็นลูกรัก
ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซีกล่าวว่า วันที่ 16 พ.ย.นี้จะปิดขายซองเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 โครงการ โครงสร้างพื้นฐานของอีอีซี และในเดือน พ.ย.นี้จะขายซองทีโออาร์ครบทั้ง 5 โครงการ คาดจะได้ผู้ชนะการประมูลเดือน ก.พ.62 และใน 5 ปี หรือในปี 66 โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และ สนามบินอู่ตะเภาจะแล้วเสร็จ ขณะที่นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวเมืองใหม่อีอีซี ว่า อีอีซีจะทำให้การเดินทาง ทั้งผ่านทางรถไฟความเร็วสูง และเครื่องบินมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา ช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้นมหาศาล ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการท่องเที่ยว และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่ขอเสนอให้ทำเส้นทางจักรยานจากสนามบินอู่ตะเภา เลียบสวนยางพารา เพราะราคายางไม่ดี ก็ให้ตัดหญ้าปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนและหากผลักดันให้มีกองถ่ายทำภาพยนตร์ มาถ่ายทำในพื้นที่มากขึ้น จะช่วยทำให้เกิดการกระจายรายได้ และกระจายเรื่องราวดีๆเชื่อมโยงอีอีซีออกไปได้. |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 32407
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 17/03/2020 1:57 pm Post subject: |
|
|
เวลคัม!รถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563
109กม.3หมื่นล.เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน รฟท.ลุยออกแบบ9สถานีชมวิวทะเลสวย
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)แจ้งความคืบหน้าโครงการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ ช่วงชุมพร-ระนอง ว่า กำลังเร่งรัดดำเนินโครงการตามนโยบายพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้รื้อฟื้นโครงการอีกครั้งหลังจากก่อนหน้านี้ถูกชะลอไป โดยอยู่ระหว่างเสนอขอใช้งบประมาณกลางปี 63 วงเงิน 90 ล้านบาท เพื่อศึกษาออกแบบรายละเอียดต่อยอดจากผลการศึกษาความเหมาะสมของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่จัดทำแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 61 รวมถึงการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ทั้งนี้คาดว่าเดือน มิ.ย.นี้ จะเริ่มศึกษาและใช้เวลาประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งต่อว่า โครงการดังกล่าวมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยเป็นครั้งแรก ระหว่าง จ.ชุมพร และ จ.ระนอง นอกจากจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้วยังเชื่อมการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือระนองซึ่งเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามันเชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย เมียนมา ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และไทย
นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามริมทะเลโดยจะขนานไปกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขต ต.ขุนกระทิง ต.บ้านนา ต.วังใหม่ อ.เมือง จ.ชุมพร และผ่าน ต.จ.ป.ร. ต.ปากจั่นอ.กระบุรี จ.ระนอง
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า เบื้องต้นวงเงินก่อสร้างประมาณ 3 หมื่นล้านบาท การก่อสร้างเป็นทางรถไฟทางเดี่ยว กว้าง 1 เมตร ระยะทางรวมประมาณ 109 กิโลเมตร (กม.) แบ่งเป็นชุมพร-ท่าเรือระนอง 103 กม. และเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง 6 กม. มีอุโมงค์รถไฟ 7 แห่ง มี 9 สถานี เป็นสถานีโดยสาร 8 สถานี ได้แก่ สถานีระนอง, สถานีขุนกระทิง, สถานีบ้านนา 1, สถานีบ้านนา 2, สถานีปากจั่น, สถานีกระบุรี, สถานีบางใหญ่ และสถานีละอุ่นและสถานีสำหรับขนส่งสินค้า 1 สถานี คือ สถานีท่าเรือระนอง ทั้งนี้ในปีแรกที่เปิดให้บริการคาดว่าปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 5,724 คนต่อวัน และปริมาณขนส่งสินค้า 33,116 ตันต่อวัน. |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 33461
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 33461
Location: NECTEC
|
Posted: 20/07/2020 2:18 pm Post subject: |
|
|
รัฐบาลปักธง! ท่าเรือระนองศูนย์กลาง BIMSTEC
*การท่าเรือฯเร่งสปีดปรับปรุงโครงสร้างรองรับ
*เชื่อมทุกโหมดบกน้ำราง อันดามัน-อ่าวไทย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2657195961168572
กทท.ทุ่มงบ 41.8 ลบ. ปรับโครงสร้าง ท่าเรือระนอง เชื่อมกลุ่ม BIMSTEC
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 - 14:16 น.
กทท. เดินหน้ายกระดับการให้บริการท่าเรือระนอง (ทรน.) เร่งปรับปรุงโครงสร้างต่อเนื่อง หวังเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC เตรียมจ้างที่ปรึกษาออกแบบเพิ่มตู้สินค้า คาดแล้วเสร็จปี 2564
เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า กทท. เร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการของท่าเรือระนอง (ทรน.) ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT ทั้ง 2 ท่าเทียบเรือ เป็นการยกระดับการให้บริการตามนโยบายของรัฐบาล ในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำ ถนน และรางระหว่างฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทยจาก ทรน. กับท่าเรือชุมพร และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าของประเทศพัฒนา ให้ ทรน. เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าฝั่งทะเลอันดามันเชื่อมโยงไปยังประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ได้แก่ บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย เมียนมา เนปาล ภูฏาน และไทย การพัฒนาศักยภาพ ทรน. ในวงเงินรวม 41.8 ล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือ 1 และ 2 ให้มีความปลอดภัย และให้ท่าเทียบเรือที่ 1 สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้เท่ากับท่าเทียบเรือที่ 2
สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างบริเวณท่าเรือระนองนั้น แบ่งออกเป็นงานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 1 ความยาวหน้าท่า 130 เมตร พร้อมติดตั้งยางรองรับแรงกระแทกท่าเทียบเรือที่ 1 ขนาด 800H-2500L (Arch Fender) จำนวน 35 ชุด ให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT งานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 2 ความยาวหน้าท่าเทียบเรือ 150 เมตร และซ่อมแซมยางรองรับการกระแทกท่าเทียบเรือที่ 2 จำนวน 2 ชุด รองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT รองรับการใช้งานเครนขนาด 65.3 ตัน สะพานทางเข้าท่าเทียบเรือที่ 1 และ 2 สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกกึ่งพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ได้
นอกจากนี้ กทท. กำลังดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (Detail Design) และศึกษาผลกระทบในการทำพื้นที่วางตู้สินค้าเพิ่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564
ทุ่มยกระดับ ท่าเรือระนอง บูมภาคใต้ฮับขนส่งกลุ่มประเทศ BIMSTEC
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 - 11:47 น.
เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า การท่าเรือฯกำลังเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการของท่าเรือระนองให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT ทั้ง 2 ท่าเทียบเรือ เป็นการยกระดับการให้บริการตามนโยบายของรัฐบาล ในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำ ถนน และรางระหว่างฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทยจากท่าเรือระนองกับท่าเรือชุมพร และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)
เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าของประเทศพัฒนา ให้ท่าเรือระนองเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าฝั่งทะเลอันดามันเชื่อมโยงไปยังประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ได้แก่ บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย เมียนมา เนปาล ภูฏาน และไทย
โดยการพัฒนาศักยภาพท่าเรือระนองในวงเงินรวม 41.8 ล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือ 1 และ 2 ให้มีความปลอดภัย และให้ท่าเทียบเรือที่ 1 สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้เท่ากับท่าเทียบเรือที่ 2
สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าว แบ่งออกเป็นงานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 1 ความยาวหน้าท่า 130 เมตร พร้อมติดตั้งยางรองรับแรงกระแทกท่าเทียบเรือที่ 1 ขนาด 800H-2500L (Arch Fender) จำนวน 35 ชุด ให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT
งานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 2 ความยาวหน้าท่าเทียบเรือ 150 เมตร และซ่อมแซมยางรองรับการกระแทกท่าเทียบเรือที่ 2 จำนวน 2 ชุด รองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT รองรับการใช้งานเครนขนาด 65.3 ตัน สะพานทางเข้าท่าเทียบเรือที่ 1 และ 2 สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกกึ่งพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ได้
นอกจากนี้กำลังดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (Detail Design) และศึกษาผลกระทบในการทำพื้นที่วางตู้สินค้าเพิ่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 33461
Location: NECTEC
|
Posted: 08/09/2020 3:25 pm Post subject: |
|
|
เวลคัมมม.....รถไฟสายใหม่ "ชุมพร-ระนอง"
*109กม.3หมื่นล.เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน
*รฟท.ลุยออกแบบ9สถานีชมวิวทะเลสวย
รออีไอเอปีหน้า
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า เบื้องต้นวงเงินก่อสร้างประมาณ 3 หมื่นล้านบาท การก่อสร้างเป็นทางรถไฟทางเดี่ยว กว้าง 1 เมตร ระยะทางรวมประมาณ 109 กิโลเมตร(กม.) แบ่งเป็น ชุมพร-ท่าเรือระนอง 103 กม. และเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง 6 กม. มีอุโมงค์รถไฟ 7 แห่ง มี 9 สถานี
เป็นสถานีโดยสาร 8 สถานี ได้แก่ สถานีระนอง, สถานีขุนกระทิง, สถานีบ้านนา1, สถานีบ้านนา2, สถานีปากจั่น, สถานีกระบุรี, สถานีบางใหญ่ และสถานีละอุ่น และสถานีสาหรับขนส่งสินค้า 1 สถานี คือ สถานีท่าเรือระนอง ทั้งนี้ในปีแรกที่เปิดให้บริการคาดว่าปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 5,724 คนต่อวัน และปริมาณขนส่งสินค้า 33,116 ตันต่อวัน.
https://www.facebook.com/sasaki.anchalee.1/posts/396557461314340 |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 33461
Location: NECTEC
|
Posted: 11/09/2020 10:46 am Post subject: |
|
|
นายกฯฟื้นแลนด์บริดจ์ โปรเจคใหม่ต่อยอดอีอีซี
9 กันยายน 2563
นายกฯ สั่งฟื้นโครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้ สั่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษา ระบุเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย หลัง อีอีซี เดินหน้าตามแผน ชี้อีก 5 ปีต้องมีโครงการใหญ่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิขของประเทศไทยมาก เพราะเศรษฐกิจของเราพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมาก ดังนั้นเราต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่และพัฒนาให้เกิดการลงทุนใหม่ในประเทศ
รวมทั้งพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างผลักดัน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) แต่ในอนาคตเราก็ต้องหาโครงการขนาดใหญ่ในการที่จะลงทุนตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ทั้งนี้ นโยบายอีอีซีใช้เวลาในการลงทุนและก่อสร้างโครงการต่างๆ ซึ่งก็เริ่ม 5 ปีแล้ว ซึ่งในอีกระยะหนึ่งเมื่อโครงการอีอีซีสำเร็จก็ต้องหาโครงการใหม่ เช่น โครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ (แลนด์บริดจ์) ที่จะเชื่อมระหว่างทะเลภาคตะวันตกและภาคตะวันออก ระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทยในพื้นที่ภาคใต้ โครงการนี้กำลังพิจารณาว่าควรจะมีหรือไม่ ก็ให้ไปศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้
ทุกอย่างใช้เวลาในการก่อสร้างอีอีซีเริ่มมาห้าปีแล้ว ก็ไปได้ระยะหนึ่ง ก็ต้องหาโครงการใหม่เรากำลังดูว่าจะเชื่อมตะวันตกตะวันออกได้อย่างไร ควรจะมีไหมเรื่องของแลนด์บริดจ์กำลังให้แนวทางไปศึกษากันอยู่ ผมคิดว่าก็จะช่วยเศรษฐกิจในระยะยาวได้ในต่อไป การขนส่งข้ามตะวันตกและตะวันออก อ่าวไทยกับอันดามัน ท่าเรือต่างๆ ต้องพัฒนาทั้งหมด อยู่ในยุทธศาสตร์ชาติต้องเดินต่อไป ขั้นตอนการศึกษา ขั้นตอนการลงทุน เหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวได้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการใน ครม.ว่าให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาในเรื่องโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งให้ดำเนินการลักษณะเดียวกับโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ต่างๆ
ทั้งนี้ ต้องคิดแผนรองรับทั้งหมดเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล ซึ่งต้องดูในส่วนของพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ก็ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาให้ครบทุกด้านทั้งในเรื่องของการพัฒนาท่าเรือ โลจิสติกส์และระบบรางที่จะเชื่อมโยงทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก หรือโครงการที่เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่อื่นให้ไปศึกษาแล้วนำกลับมารายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบอีกครั้ง
รายงานข่าวระบุว่า โครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้ของไทยเป็นโครงการที่มีการผลักดันมาหลายรัฐบาล โดยความคืบหน้าล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ โดยได้งบประมาณในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งแยกเป็น 3 ส่วน คือ 1.การพัฒนาท่าเรือนำลึก 2 ฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยพัมนาท่าเรือน้ำลึกระนอง และพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร
2.การพัฒนาทางหลวงและมอเตอร์เวย์เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร 3.การพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร ระยะทาง 120 กิโลเมตร โดยกระทรวงคมนาคมได้รับงบประมาณในการศึกษาแล้ว โดยมีการคาดหวังว่าโครงการนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจโลจิสติกส์ และธุรกิจต่อเนื่องอีกมากมาย
ก่อนหน้านี้ นายศักดิ์สยาม ระบุว่า การขนส่งทางเรือระหว่างประเทศมีเส้นทางจากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ผ่านตอนใต้ของเวียดนาม จากนั้นเดินทางขนส่งผ่านช่องแคบมะละกาไปเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยหากใช้เส้นทางตอนใต้ของเวียดนามเป็นตัวตั้งจะมีเส้นทางขนส่งทางเรือตัดตรงเข้ามา จ.ชุมพร ของไทย ซึ่งการพัฒนาแลนด์บริดจ์เชื่อม จ.ชุมพร ไปยัง จ.ระนอง เพื่อขนส่งสินค้าออกไปทางทะเลอันดามันจะลดระยะเวลาขนส่งได้ 2 วันครึ่ง
ในขณะที่แนวทางการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพรและท่าเรือน้ำลึกระนองจะพัฒนาเป็นสมาร์ทพอร์ต โดยจะมีการนำระบบออโตเมชันมาใช้ในการบริหารจัดการท่าเรือ ซึ่งจะทำให้ท่าเรือมีศักยภาพในการรองรับการขนส่งสินค้าได้มาก
ยาตัวนี้จะทำให้ฟันคุณขาวขึ้นยิ่งกว่าหิมะ! สุดยอดวิธี!
Denta Clean
หญิงสาวจาก พัทยา กลายเป็นมหาเศรษฐีโดยใช้วิธีนี้
IronTrade
โรคเบาหวานไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป! ดูนี่
Diaprin
หากการเพิ่มน้ำหนักเป็นปัญหาสำหรับคุณ อ่านทางนี้
MultiVit Plus
ส่อง ราคาประเมินที่ดิน กรุงเทพฯ สูงสุดตารางวาละล้าน!
'พยากรณ์อากาศ' วันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน ไทยยังเจอฝนฟ้าคะนอง กทม. เจอฝน 60%
เตรียมเปิดสัญญาจ้าง 'พนักงานราชการ' เกือบแสนอัตรา
ส่วนโครงการแลนบริดจ์ที่เคยสำรวจไว้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร คาดว่าจะใช้การลงทุน 1.5 ล้านล้านบาท โดยจะเป็นการเชื่อมทะเลทั้ง 2 ฝั่งเข้า ด้วยกันด้วยเส้นทางรถไฟ ถนนมอเตอร์เวย์ ท่อส่งน้ำมัน และท่อก๊าซ โดยพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อในฝั่งอันดามัน คือ พื้นที่ใกล้กับท่าเรือปากบารา จ.สตูล ส่วนฝั่งอ่าวไทยอยู่ที่บริเวณ ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา
รวมทั้งมีการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมต่อพื้นที่อื่นและมีพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เหล็ก จะอยู่ในฝั่งอ่าวไทย ส่วนอุตสาหกรรมเบาอาจอยู่ฝั่งอันดามัน ซึ่งการพัฒนาระบบขนส่ง ทั้งทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ ซึ่งจะมีการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2551 ครม.เคยเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงคมนาคมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ความร่วมมือเบื้องต้นกับ กลุ่มดูไบเวิลด์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายแบบให้เปล่าแก่รัฐบาลไทยในการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์เชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
รายละเอียดเอ็มโอยูดังกล่าว ดูไบเวิลด์ จะคัดเลือกที่ปรึกษาจากต่างประเทศที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับที่ปรึกษาที่ทางการไทยคัดเลือก โดยคาดว่าจะสามารถสรุปผลการศึกษาภายใน 1 ปีหลังจากลงนามเอ็มโอยู โดยพิจารณาแนวเส้นทางเดิม คือ ท่าเรือปากบารา จ.สตูล มาที่ท่าเรือน้ำลึก จ.สงขลา และ ท่าเรือทับละมุ จ.พังงา-อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช หรือ จ.กระบี่-อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช
'สศช.-คมนาคม' ลุยแลนด์บริดจ์ภาคใต้เล็งเปิด PPP แสนล้าน
10 กันยายน 2563
สศช.-คมนาคม รับลูกนายกฯ ศึกษาเมกะโปรเจค แลนด์บริดจ์-คลองไทย คาดใช้เวลาศึกษา 1 ปี ศักดิ์สยาม เล็งเปิดพีพีพี 1 แสนล้านบาท ดึงเอกชนลงทุน 3 โครงการย่อย ท่าเรือ รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์เชื่อมทะเล 2 ฝั่ง ระนอง-ชุมพร
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ (แลนด์บริดจ์) และคลองไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องการผลักดันโครงการขนาดใหญ่เป็นจุดขายดึงการลงทุนต่อยอดจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวะนออก (อีอีซี) ที่ดำเนินการมา 5 ปี แล้ว
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า โครงการนี้อยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และโครงการการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ในอนาคต รวมทั้งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย
โครงการแลนด์บริดจ์ที่รัฐบาลจะพัฒนา คือ โครงการเชื่อมการขนส่งจากฝั่งอันดามันมาฟังอ่าวไทย โดยใช้การขนส่งทางรางบริเวณ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง เป็นโครงการรถไฟทางคู่เพื่อเชื่อมการขนส่งทั้ง 2 ฝั่งทะเล
นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สศช.กล่าวว่า สศช.จะลงพื้นที่ศึกษาและรับฟังความเห็นประชาชนในภาคใต้เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการใหญ่ 2 โครงการ คือ
1.โครงการแลนด์บริดจ์
2.โครงการคลองไทย ซึ่งเป็นข้อเสนอจากพื้นที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้รับงบประมาณในปี 2564 เพื่อศึกษาและทั้ง 2 โครงการมีขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาศึกษา 1 ปี
นายดนุชา กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์ตามแผนใหม่จะอยู่บริเวณ จ.ชุมพร-จ.ระนอง ซึ่งเน้นการขนส่งและโลจิสติกส์มากกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งจะอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่มีในพื้นที่ คือ ท่าเรือ จ.ระนอง และสร้างท่าเรือใหม่ที่ จ.ชุมพร แล้วเชื่อมท่าเรือทั้ง 2 แห่งด้วยรถไฟทางคู่
ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟทางคู่เส้นทางนี้กระทรวงคมนาคมเคยศึกษาแล้ว มีระยะทาง 108 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 45,844 ล้านบาท โดยเริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมพรมุ่งด้านทิศตะวันตกและไปสิ้นสุดโครงการบริเวณท่าเรือนํ้าลึกระนอง และมี 9 สถานี ได้แก่ ขุนกระทิง บ้านนา วังใหม่ ปากจั่น กระบุรี บางใหญ่ ละอุ่น สถานีท่าเรือนํ้าลึกระนอง และสถานีระนอง
ส่วนท่าเรือระนองปัจจุบันจะพัฒนาเป็นท่าเรือเชิงพาณิชย์ได้ แต่ข้อจำกัด คือ พื้นที่หลังท่าไม่กว้างนัก ส่วนร่องน้ำกรณีรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่อาจต้องขุดร่องน้ำใหม่หรือมีรูปแบบอื่นในการรับสินค้าจากเรือเข้ามาที่ท่าเรือ
ขณะเดียวกันก็พยายามดูแผนเรื่องของการพัฒนาท่าเรือเพื่อรองรับการท่องเที่ยวด้วย เช่น ให้มีที่จอดท่องเที่ยวได้ช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวควบคู่กันไปด้วย ซึ่งในระยะต่อไปหากมีการพัฒนาโครงการถนนเรียบชายฝั่งทะเลหรือโครงการไทยแลนด์ริเวร่าก็จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่มากขึ้นได้
ยืนยันฟังความเห็นคนพื้นที่
นายดนุชา กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์จะเกิดหรือไม่ต้องพิจารณาต้นทุนการขนส่งเป็นสำคัญ เพราะหากมีท่าเรือรองรับ 2 ฝั่ง จะทำให้การขนส่งสินค้าจากฝั่งตะวันตกไม่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา ซึ่งจะประหยัดเวลา 3 วัน และเรือที่จะผ่านต้องดูว่าต้นทุนแบบไหนประหยัดกว่า ส่วนโครงการที่พัฒนาจะมีอุตสาหกรรมด้วยหรือไม่ต้องรับฟังความเห็นคนในพื้นที่เป็นหลัก โดยโครงการที่ สศช.เสนอในแผนเอสอีซีไม่ได้เน้นอุตสาหกรรมแบบอีอีซีแต่เน้นในเรื่องของโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าเป็นสำคัญ
โครงการแลนด์บริดจ์มีการศึกษามาหลายครั้ง ครั้งล่าสุดที่มีการศึกษาที่ท่าเรือปากบารา แต่คนในพื้นที่เขาไม่เอาเพราะกลัวว่าจะกระทบกับการท่องเที่ยวก็ต้องฟังเสียงของคนในพื้นที่ แต่แลนด์บริดจ์ในแผนใหม่เป็นแลนด์บริดจ์ที่อยู่ภาคใต้ตอนบน และเน้นในเรื่องโลจิสติกส์ ไม่ได้เน้นในเรื่องของอุตสาหกรรมแบบอีอีซีนายดนุชา กล่าว
คาดเลือกลงทุน1โปรเจค
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า ทั้ง 2 โครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งในที่สุดรัฐบาลจะต้องเลือกลงทุนโครงการใดโครงการหนึ่ง เพราะใช้งบประมาณมากจึงลงทุนพร้อมกันทั้ง 2 โครงการไม่ได้ รวมทั้ง 2 โครงการดังกล่าวมีจุดขายที่การลดเวลาขนส่งสินค้าจากมหาสมุทรอินเดียในฝั่งทะเลอันดามันมาอ่าวไทย ดังนั้นหากผลการศึกษาออกมาว่าโครงการใดเหมาะสมกว่ารัฐบาลจะเลือกลงทุนโครงการนั้น
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ สั่งการให้ สศช.ศึกษาโครงการคลองไทยตั้งแต่ปลายปี 2562 แต่ถูกตัดงบประมาณส่วนนี้ในปี 2563 วงเงิน 10 ล้านบาท โดย สศช.ได้รับงบประมาณส่วนนี้ในปี 2564 ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในการเร่งศึกษาเพราะปัจจุบันเศรษฐกิจในภาคใต้ได้รับผลกระทบมากในช่วงโควิด-19 ที่ทำให้การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมาก ดังนั้นหากมีโครงการใหม่เกิดขึ้นก็จะเป็นความหวังทางเศรษฐกิจภาคใต้ในอนาคต
แหล่งข่าว กล่าวว่า เส้นทางโครงการคลองไทยที่ สศช.มีแผนลงไปศึกษาความเป็นไปได้ คือ บริเวณแนวเส้นทาง 9A ระยะทาง 135 กิโลเมตรผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ 1.ตรัง ในพื้นที่ อ.สิเกา อ.วิงวิเศษ อ.ห้วยยอด อ.รัษฎา 2.นครศรีธรรมราช พื้นที่ อ.ทุ่งสง อ.หัวไทร และ 3.สงขลา ในพื้นที่ อ.ระโนด |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 32407
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/09/2020 10:54 pm Post subject: |
|
|
ทุ่มงบปลุกผีแลนด์บริดจ์ชุมพร
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563
สั่งคมนาคมเร่งศึกษา/เปิดTORสัปดาห์นี้
ไทยโพสต์ * "คมนาคม" เทงบ 68 ล้าน ฟื้นแลนด์บริดจ์ชุมพรท่าเรือน้ำลึกระนอง เร่งจ้างบริษัทศึกษาความเหมาะสม จ่อประกาศ TOR ภายในสัปดาห์นี้ คาดสรุปผลภายใน 8-12 เดือน ย้ำชัดช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์-กระตุ้นภาคอุตสาหกรรม ลั่นคำนึงถึงประชา ชนในพื้นที่เป็นหลัก
แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมโครงการเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะทาง 120 กิโลเมตร (กม.) ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง วงเงิน 68 ล้านบาท เพื่อนำมาศึกษาความเหมาะสมของโครงการดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 8-12 เดือน ตอนนี้อยู่ระหว่างกระบวนการประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) เพื่อจ้างบริษัทมาศึกษาโครงการ เตรียมประกาศภายในสัปดาห์นี้ โดยจะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP)
ทั้งนี้ จากการพิจารณาด้านกายภาพของเส้นทาง เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวนั้น เบื้องต้นอาจต้องมีการเจาะอุโมงค์ แต่จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพื่อหามาตรการที่เหมาะสมอีกครั้ง เนื่องจากก่อนหน้านี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เคยมีการศึกษามาแล้วในอดีต แต่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนองเท่านั้น โดยไม่ได้เน้นเรื่องอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์เข้าไปด้วย
"เมื่อทำการศึกษาใหม่ กระ ทรวงต้องการให้ท่าเรือทั้งสองฝั่ง เป็นแลนด์บริดจ์ เพื่อให้เรือมา ขึ้นที่ชุมพร โดยนำเอาตู้คอนเทน เนอร์ขนส่งทางรถไฟมาที่ระนอง จากนั้นนำขึ้นเรือ ก่อนส่งออกไปยังกลุ่ม 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย เมียนมา เนปาล และภูฏาน" แหล่งข่าวจาก สนข.กล่าว
ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.กระทรวงคมนาคม กล่าวในการบรรยายพิเศษในงานเสวนา "ลงทุน 2020 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างชาติ สร้างงาน" เมื่อวันที่ 23 ก.ค.2563 ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงคมนาคม เพื่อศึกษาจุดก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 ฝั่งทะเลแล้ว พร้อมทั้งอนุมัติงบประมาณเพื่อศึกษาก่อสร้างรถไฟทางคู่เชื่อมระหว่างชุมพร-ระนอง และหากโครงการเกิดขึ้นจะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจโลจิสติกส์และธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ
จากข้อมูลที่กรมเจ้าท่า เสนอมายังรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงคมนาคมนั้น เรือที่ขนส่งสินค้าจากจีน เกาหลีใต้ เวียดนาม และญี่ปุ่น จะต้องผ่านแหลมญวน แล้วไปช่องแคบมะละกา ก่อนจะ ไปยังอินเดีย บังกลาเทศ แอฟริกา และยุโรป แต่หากใช้แหลมญวนเป็นตัวตั้งให้เรือตัดตรงเข้ามาจัง หวัดภาคใต้ของไทยบริเวณจังหวัดชุมพร แล้วสร้างโครงการสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) เชื่อมไปยังจังหวัดระนอง แล้วขนส่งสินค้าออกทางทะเลอันดามัน จะลดระยะเวลาในการเดินทางได้ 2 วันครึ่ง
"ถ้าเราสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ชุมพร และที่ระนอง ซึ่งมีระบบขนถ่ายสินค้าที่เป็นระบบออโตเมชั่น แล้วใช้แลนด์บริดจ์ โดยทำรถไฟทางคู่ มีมอเตอร์เวย์อยู่ด้านข้าง และอาจจะทำถนนโลคัลโรดอยู่ข้างๆ มอเตอร์เวย์ เชื่อมท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย ซึ่งมีระยะทาง 120 กม. รถไฟจะใช้เวลาวิ่งไม่เกิน 2 ชั่วโมง เชื่อว่าเราจะไปตัดเวลาขนส่งลงได้ 2 วันครึ่ง" นายศักดิ์สยามกล่าว. |
|
Back to top |
|
 |
|