Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264829
ทั้งหมด:13576112
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - นำเข้ารถดีเซลราง KiHa 183 JR Hokkaido 17 คัน และ Hamanasu
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

นำเข้ารถดีเซลราง KiHa 183 JR Hokkaido 17 คัน และ Hamanasu
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 32, 33, 34  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/09/2021 9:43 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. ดึง TCDC อัพเกรด “รถไฟปลดระวางฮอกไกโด” รับนักท่องเที่ยว
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 กันยายน 2564 - 12:14 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดึง TCDC อัพเกรด “รถไฟปลดระวางฮอกไกโด” 17 คัน ต้อนรับนักท่องเที่ยว

วันที่ 11 กันยายน 2564 นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขบวนรถไฟบริจาคของบริษัท JR Hokkaido ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดินรถของประเทศญี่ปุ่นนั้น เบื้องต้น ร.ฟ.ท. มีหนังสือตอบรับการบริจาค ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2560 แต่ติดปัญหาเรื่องการขนย้ายจึงค้างดำเนินการ และเพิ่งได้ฤกษ์ทำการขนย้ายในปี 2564 นี้ และเพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท JR Hokkaido จึงได้ว่าจ้างบริษัททำการขนย้ายรถไฟทั้ง 17 คันมาส่งที่ประเทศไทย

ทั้งนี้ รฟท.มีแผนงานนำรถดีเซลรางจำนวน 17 คันของมาปรับปรุงใหม่ เพื่อใช้ในการท่องเที่ยว ซึ่งจากการตรวจสอบสภาพตู้รถโดยสารในเบื้องต้น ขบวนรถดีเซลรางได้รับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีสามารถนำมาใช้งานต่อได้ และแม้จะเป็นตู้โดยสารที่ถูกปลดระวางไปเมื่อปี 2559


“ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.เคยรับมอบตู้โดยสารรถไฟจากประเทศญี่ปุ่นมาปรับปรุงและใช้ในกิจการรถไฟมาแล้ว เช่น การได้รับมอบตู้โดยสารจากบริษัท JR-West โดยนำมาปรับปรุงและดัดแปลงเป็นรถโดยสารและขบวนรถพิเศษ เช่น รถ SRT Prestige รถประชุมปรับอากาศ ฯลฯ ซึ่งสามารถนำมาใช้บริการสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เป็นอย่างดี”

นายเอกรัชกล่าวว่า ตอนนี้ ร.ฟ.ท. ยังอยู่ระหว่างการนำรถโดยสารชนิดนั่งปรับอากาศที่ได้รับมอบจากบริษัท JR Hokkaido ก่อนหน้านี้ จำนวน 10 คัน ร่วมมือกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ออกแบบและพัฒนาเป็นตู้รถไฟเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยมีแนวคิดการออกแบบและสีสันของแต่ละขบวนที่เป็นเอกลักษณ์มีลักษณะที่แตกต่างตามเส้นทางที่ให้บริการของรถไฟท่องเที่ยว คาดว่าจะปรับปรุงรถไฟ และสามารถนำมาให้บริการได้ช่วงปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2021 10:18 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท. ดึง TCDC อัพเกรด “รถไฟปลดระวางฮอกไกโด” รับนักท่องเที่ยว
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 กันยายน 2564 - 12:14 น.


ต้นเรื่องอยู่นี่ครับ

การรถไฟฯ จับมือ TCDC เผยโฉมแนวคิดการนำตู้โดยสารจากประเทศญี่ปุ่น ปรับปรุงเป็นขบวนรถไฟท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และสร้างรายได้แก่ชุมชน
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 17:31 น.
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/4963556016992563


Last edited by Wisarut on 11/09/2021 10:46 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2021 10:22 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชอบแนวการถ่ายทำของช่อง 鉄道風景写真チャンネル
คลิปล่างสุดที่พี่หนุ่มนำมาให้ชมครับ
บรรยายละเอียดดี ถึงการเดินทางมาถ่ายทำ และสภาวะต่าง ๆ ของการถ่ายภาพ ความเร็วชัตเตอร์ หน้ากล้อง ISO ฯลฯ
มีบ่นด้วยว่า มาคราวที่แล้ว ยังเข้าไปถ่ายทำได้สะดวก รอบนี้ทำไมห้ามเข้าเสียแล้ว
และปิดท้ายว่า ตากไอเค็มทะเลอยู่แบบนี้ เดี๋ยวสนิมกิน พังหมด Crying or Very sad

ติดระบบราชการไทยค้างเรื่องมาสี่ปีครับ

7 เรื่องน่ารู้ “รถไฟดีเซลราง KiHa 183” รถไฟมือสองจากญี่ปุ่น
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 14:47 น.
ปรับปรุง: วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 14:47 น.

กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียล กรณีที่ประเทศญี่ปุ่นบริจาครถไฟมือสอง จำนวน 17 คัน ให้ไทยฟรี ซึ่งมีบางส่วนแสดงความเห็นว่าอาจจะเป็นการนำขยะเศษเหล็กมาทิ้งในประเทศไทย

มาทำความรู้จักกับ 7 เรื่องน่ารู้รถไฟขบวนดังกล่าวกัน

1. รถไฟมือสองที่ญี่ปุ่นบริจาคให้ประเทศไทย เป็นรถดีเซลราง (DMU) รุ่น KiHa 183 (คีฮา 183) ของบริษัทรถไฟฮอกไกโด (JR Hokkaido) ในภูมิภาคฮอกไกโด โดยบริจาคมาจำนวน 17 คัน ในราคากลาง 42,500,000 บาท

2. รถไฟดีเซลราง KiHa 183 เป็นรถที่พัฒนาโดย การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น (Japanese National Railways : JNR) มีวัตถุประสงค์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวิ่งในเส้นทางบนเกาะฮอกไกโด จุดกำเนิดของ KiHa 183 เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เมื่อการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่นมองเห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนรถไฟรุ่น KiHa 80 ที่ใช้มานานและเริ่มเสื่อมสภาพเนื่องจากความหนาวเย็นอย่างมากของฤดูหนาวในฮอกไกโด จึงมีการพัฒนารถไฟรุ่นใหม่ทั้งหมด พร้อมกับตั้งชื่อรุ่นว่า KiHa 183

3. KiHa 183 เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 บนเส้นทางโอโซระ ฮกไก โอค็อตสค์ และโฮคุโตะบนเส้นทางเซกิโช หลังจากนั้นก็มีการสร้างเพื่อใช้ในเส้นทางอื่นๆ เพิ่มเติมในอีกไม่กี่ปีต่อมา

4. KiHa 183 ทะยอยยุติให้บริการตั้งแต่ปี 2001-2016 โดยปกติแล้วการบำรุงรักษารถไฟของญี่ปุ่นค่อนข้างดีมาก แม้ว่ารถไฟคันนั้นจะให้บริการมายาวนานหลายสิบปี

5. รถไฟของญี่ปุ่นที่ถึงเวลาต้องปลดระวาง จะมีทั้งการทำลายทิ้งโดยเครื่องบดอัดแล้วนำวัสดุมารีไซเคิล หรืออาจจะส่งมอบรถไฟขบวนนั้นให้ประเทศอื่นๆ เพื่อใช้งานต่อไป อย่างเช่นที่ส่งมอบ KiHa 183 ให้แก่ประเทศไทย

6. การส่งมอบ KiHa 183 ให้แกประเทสไทย เป็นการยกให้ฟรีๆ แต่ไทยต้องดำเนินการขนย้าย และจ่ายค่าขนย้ายเอง
7. อันที่จริงแล้วประเทศไทยเคยได้รับรถไฟมือสองจากญี่ปุ่นมาแล้ว อย่างเมื่อช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ ที่กรุงเทพมหานคร ไทยได้รับรถไฟดีเซลราง Kiha58 มาวิ่งเป็นรถขบวนพิเศษงานเอเชียนเกมส์ ระหว่างธรรมศาสตร์-หลักสี่-มักกะสัน-หัวหมาก เพื่อเชื่อม 3 สนามกีฬาหลัก และต่อมายังมีรถไฟนั่งและนอน นำมาวิ่งเป็นรถด่วนขบวนพิเศษราชพฤกษ์ กรุงเทพ-เชียงใหม่ สำหรับงานพืชสวนโลก และรถนำเที่ยว กรุงเทพ-บ้านวะตะแบก เพื่อไปเที่ยวทุ่งดอกกระเจียว ก่อนจะมาเป็นรถขบวนรถนอน 13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ

สำหรับ รถไฟดีเซลราง KiHa 183 ที่จะได้รับจากญี่ปุ่นในครั้งนี้ จะถูกนำมาปรับปรุงให้เป็นอย่างไรต่อไป ต้องรอติดตามต่อไปในอนาคต

เปิดโปรไฟล์รถไฟมือสองญี่ปุ่น ของเขาดีจริงหรือเปล่า?
วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 12:40 น.

เปิดโปรไฟล์รถไฟ KiHa 183 ที่ไทยกำลังจะได้จากญี่ปุ่น
จากกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมขนย้ายรถไฟมือ 2 อายุ 40 ปี จำนวน 17 คันที่ได้รับมอบจากญี่ปุ่น ท่ามกลางกระแสดราม่าบนโซเชียลว่ารถไฟมือ 2 ดังกล่าวยังใช้การได้ดีอยู่หรือไม่ หรือเป็นการนำเศษเหล็กมาทิ้งไว้ที่ไทยหรือเปล่า และค่าขนย้ายจะคุ้มค่าหรือไม่

ด้านนายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก็ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่าจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ารถไฟยังอยู่ในสภาพดี สามารถใช้งานได้ แม้จะถูกปลดระวางไปตั้งแต่ปี 2559 แต่ได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี


เปิดโปรไฟล์รถไฟ
รถดีเซลรางรุ่น KiHa 183 ของ JR Hokkaido คันแรกถูกสร้างขึ้นในปี 2522 ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพอากาศหนาวเย็นของฮอกไกโด ผ่านการทดสอบเป็นเวลา 1 ปีครึ่งก่อนจะเข้าประจำการในปี 2524 และท้ายที่สุดถูกนำมาใช้แทนรถไฟรุ่นเก่า KiHa 80 ในปี 2529

รถไฟรุ่นดังกล่าวบางคันถูกนำมาปรับปรุง ต่อเติมเรื่อยๆ อาทิ เสริมชั้น 2 หรือทำเป็นรถไฟรีสอร์ท โดยมีบางคันที่ได้รับการตกแต่งใหม่ยังคงให้บริการอยู่ในญี่ปุ่น ขณะที่บางคันถูกปลดระวางและเก็บรักษาไว้หรือบริจาคให้กับการรถไฟต่างประเทศ



KiHa 183 มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 21.3 เมตร กว้าง 2.9 เมตร ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรุ่นย่อยอยู่หลายซีรีส์ด้วยกัน ได้แก่

KiHa 183-900 เป็นรุ่นต้นแบบที่สร้างขึ้นในปี 2522 ประกอบด้วย 7 ตู้โดยสาร ซึ่งสามารถต่อได้ถึง 10 ตู้โดยสารสำหรับระยะทางไกล โดยถูกปลดระวางไปในปี 2544


KiHa 183-900 series (spaceaero2/Wikipedia)

KiHa 183-0 ผลิตขึ้นในปี 2525 ถึง 2527 โดยมีหน้าตาใกล้เคียงกับรุ่นแรก ในปี 2550 รถรุ่นนี้จำนวนหลายคันได้รับการปรับปรุงเพื่อให้บริการรถด่วนพิเศษสวนสัตว์อาซาฮิยามะด้วย


KiHa 183-0 series (spaceaero2/Wikipedia)


KiHa 183-0 series (Rsa/Wikipedia)

ทำไมรถไฟญี่ปุ่นล้ำหน้ากว่าไทยทั้งๆ ที่เริ่มพร้อมๆ กัน
KiHa 183-500 และ 183-1500 ผลิตขึ้นในปี 2529 เริ่มมีหน้าตาแตกต่างออกไปจากรุ่นเดิม โดยมีทั้งขบวนที่มีห้องน้ำในตัว และขบวนที่ไม่มีห้องน้ำในตัว


KiHa 183-1500 series (spaceaero2/Wikipedia)

KiHa 183-550 และ 183-1550 ถูกผลิตระหว่างปี 2531 ถึง 2533 บางครั้งถูกเรียกว่าซีรีส์ NN183 โดยซีรีส์นี้มีการเปลี่ยนแปลงห้องน้ำและการตกแต่งภายใน มีช่องกรองอากาศเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีควันเครื่องยนต์เข้าไปในห้องโดยสาร


KiHa 183-550 & 183-1550 series (221.20 (talk)/Wikipedia)

KiHa 183-5000 เป็นรุ่นสำหรับรถไฟนำเที่ยว ถูกผลิตระหว่างปี 2531 ถึง 2534 จุได้ 48 คน พร้อมห้องน้ำในตัว


KiHa 183-5000 series (kiha40-330/Wikipedia)

นอกจากนี้ยังมีรุ่นที่ถูกอนุรักษ์ไว้ ได้แก่ KiHa-214 (ถูกนำมาจัดแสดง), KiHa 183-220 (อยู่ในการจัดเก็บ) และ KiHa 183-5001 (ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอรำลึกอาริชิมะ)

เฟซบุ๊กเพจ Thailand Transportation ได้ออกมาโพสต์เล่าประสบการณ์เมื่อครั้งที่ตนโดยสารด้วยรถไฟรุ่นดังกล่าวในปี 2559 ว่า "สภาพภายใน ทั้งตัวเบาะ เก้าอี้ที่นั่ง ห้องน้ำ ยังดูดี (เบาะสวยกว่ารถดีเซลรางแดวูของไทยมาก) มาตรฐานการดูแล-บำรุงรักษาของญี่ปุ่น ก็อยู่ในระดับที่ดีกว่าไทย...ส่วนที่เห็นเป็นคราบสนิม มันก็ต้องมีบ้างจากการตากแดด ตากฝน มาถึงไทยปรับปรุงอีกเล็กน้อย ก็นำออกให้บริการได้"
https://www.facebook.com/323PhotoStudio/posts/4188463007934379
https://ja.wikipedia.org/wiki/%E5%9B%BD%E9%89%84%E3%82%AD%E3%83%8F183%E7%B3%BB%E6%B0%97%E5%8B%95%E8%BB%8A
https://en.wikipedia.org/wiki/KiHa_183_series

#อัพเดทญี่ปุ่น 🇯🇵 ญี่ปุ่น ส่งรถไฟเก่า เลิกใช้แล้ว ซีรีย์ Kiha 183 ที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครดูแลที่ท่าเรือ Muroran จ.ฮอกไกโด ให้กับไทย หลังถูกทิ้งไว้นาน
ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น
วันที่ 11 กันยายน 2564 เวลา 17:04 น.

🇹🇭 หลังแผนกจัดซื้อของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกาศเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ตัดสินใจที่จะขนรถไฟจำนวน 17 คันกลับไทย โดยมีค่าขนย้าย 42.5 ล้านบาท
.
🇹🇭 แม้รถไฟ Kiha 183 ในรูปจะโทรมมาก หลังการใช้งานที่ฮอกไกโดมานานหลายปี แต่ก็ยังได้รับการซ่อมแซมระดับนึง แต่เครื่องยนต์ไม่ได้ใช้งานมานานหลายปีแล้ว อาจสตาร์ทไม่ได้ตอนแรก หากมีการซ่อมแซมใหญ่ ก็น่าจะใช้ได้
.
🙏🏻 ขอบคุณที่มาจาก http://fortysonseason.blog.fc2.com/blog-entry-4347.html...


Last edited by Wisarut on 11/09/2021 10:42 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
milkonline
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 02/07/2009
Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี

PostPosted: 11/09/2021 10:39 pm    Post subject: Reply with quote

DD51 ใกล้ๆกันไม่รู้ว่าจะส่งไปไหนต่อนะครับ
_________________
N-Scale model train lovers.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2021 10:47 pm    Post subject: Reply with quote

milkonline wrote:
DD51 ใกล้ๆกันไม่รู้ว่าจะส่งไปไหนต่อนะครับ

เอาใช้งานก่อสร้างทางรถไฟต่อ ถ้าได้งานที่เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของหรือ งานที่ บ้านไผ่ ไปนครพนม

รถเก่าจาก JR-west รุ่น "บชส.ป" (รถโบกี้โดยสารชั้นสามปรับอากาศ) ในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทยเคยได้รับมอบมาใช้งาน จำนวน 28 คัน
🟦(OHA12 จำนวน 9 คัน
🟦 OHAFU13 จำนวน 8 คัน
🟦SUHAFU12 จำนวน 11 คัน
ถูกนำมาใช้เป็น รถโดยสารชั้นสาม ธรรมดา และชั้นสามปรับอากาศ ทั้งในรถชานเมือง และรถทางไกล โดยภายหลังเปลี่ยนเป็นสี ขาว - ฟ้า ขาว - ฟ้าไล่โทน และสีม่วง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=412821876937138&id=100046279876123

SUHA 25 รถไฟฟ้ากำลัง ในขบวนรถไฟญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นตัวรับไฟ หรือผลิตไฟ ในบางกรณีคือติดตั้งเครื่องยนต์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากนั้นจะทำการจ่ายไฟ ไปยังรถพ่่วงทุกคันในขบวน เพื่อใช้กับระบบแสงสว่าง เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ โดยในรถแต่ละคัน "ไม่จำเป็น" ที่ต้องมี "เครื่องยนต์" ของใครของมันอีกต่อไป ซึ่งจะทำให้ ประหยัดเชื้อเพลิง และลดมลภาวะ อนาคต รถไฟของไทยเราก็กำลังดำเนินการ ผลิตและใช้ รถไฟฟ้ากำลัง ในขบวนรถ โดยว่าจ้างเอกชน ดัดแปลง รถดีเซลลราง และ บลูเทรน เก่า เพื่อนำมาใช้ในขบวนรถโดยสาร บลูเทรน ที่ดัดแปลง นอกจากนี้ ไทยเราก็มี รถไฟฟ้ากำลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในขบวนรถไฟจีน ที่ซื้อมาก่อนนี้ ... ที่หลายคนอาจจะไม่ทราบ อย่างหนึ่งคือ รถโดยสารทุกคัน เมื่อไม่ติดเครื่องยนต์ที่ใต้ท้อง ก็ทำให้เงียบขึ้น สำหรับการเดินทางในเวลากลางคืนที่หลายๆคนต้องหลับพักผ่อนนั่นเอง
ปล.บางข้อมูล ระบุว่า เราได้รับ SUHA 25 มา 1 คัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=412953033590689&id=100046279876123

รถไฟเก่า JR-west ที่ญี่ปุ่นมอบให้ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว จำนวน 126 คัน แบ่งตามประเภทรถ ดังนี้
- รถดีเซลรางปรับอากาศ 46 คัน KIHA58 / KIHA28 / KIRO28
- รถนั่งปรับอากาศชั้นสาม 28 คัน OHA12 [9] / OHAFU13 [8] / SUHAFU12 [11]
- รถนั่งปรับอากาศชั้นสอง 8 คัน OHA14 [7] / OHAFU15 [1]
- รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่สอง 41 คัน OHANE14 [1] / OHANE15 [3] / SUHANEFU14 [2] / SUHANEFU15 [6+4] / ORONE25 [2+19] / OHANEFU25 [6]
- รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่หนึ่ง 2 คัน ORONE25
- รถไฟฟ้ากำลัง 1 คัน SUHA25
................... 1 คัน อันสุดท้ายนี่ซิ... น่าสนใจ มันเป็นแบบไหนนะ ที่ไม่ใช่เราดัดแปลงเอง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=412912800261379&id=100046279876123

" จะเที่ยงหละ อย่าลืมฉัน"
การ "จะมาถึง" ของรถไฟมือสองญี่ปุ่นที่พูดกันตอนนี้ที่สังคมโซเซียม "ชม" และ "แซะ" มากมาย จริงๆ แล้ว รวมๆ เราเคยได้มาแล้ว เกิน 100 ตู้ ซึ่งมีทั้งรถโดยสาร และรถดีเซลราง บางคันก็ยังใช้อยู่ บางคันก็ถูกนำไปดัดแปลงให้เหมาะสมกับภารกิจที่อยากเอาไปใช้หารายได้ บางอันก็จอดรอซ่อมจนลืม บางคันก็ปลดไปแล้วตามสภาพ หลายคนอาจจะเคยนั่งเคยสัมพัส เคยเห็นแต่อาจจะไม่ทราบมาก่อน มีทั้งสี ฟ้าทั้งคัน (บลูเทรน) สีขาว - ฟ้า สีขาว - ฟ้าไล่โทน สีม่วง และสีน้ำเงินเข้ม ล่าสุดมี สีเงิน - แดง ส่วนตัวมองโลกในแง่ดี ถือว่า "โอเค" ไม่ว่าจะพูดไปทางไหน มันคือ กระจกเงา และทำให้ องค์กรตระหนักเรื่องความสนใจใส่ใจของสังคม ความสนใจของสังคมต่อ "ระบบรางสาธารณะ" ที่เป็นปัจจัยสำคัญของเส้นเลือดในการพัฒนาประเทศชาติ ไม่ใช่แค่ "กูไม่เกี่ยวไม่ใช่เรื่องในองค์กรกู" เพราะเชื่อว่า ผู้ใหญ่น่าจะไม่มองข้าม กระแส มาถึงตรงนี้ เชื่อว่า คงต้องเร่งวางแผน "รีบ" จะทำอะไรต่อ เมื่อรถมาถึง จะ "ประมูลซ่อม" หรือทำอะไร คงไม่ปล่อยจอดไว้ เหมือนอีกหลายตู้ที่ได้มาก่อนนี้ ที่ "กำลังรอซ่อม" จอดที่พลูตาหลวง และศรีราชา จนหลายคนลืม ..... โพสต์นี้ไม่ได้แซะ ไม่ได้ตำหนิ....แต่ "เตรียมชื่นชม ในอีก 2 ปี จากนี้ ถ้าโพสต์นี้ เด้งขึ้นมา แล้วจะมีรูปผมโพสต์ต่อในคอมเมนต์วันนั้น อวดได้นั่งในรถตอนไปเที่ยวที่ไหนสักที่ในอีก 2 ปีหลังจากวันนี้" ......ฉันรอเธอที่ท่าน้ำ....
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=412829946936331&id=100046279876123

"บนท.ป.110"
รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่สอง "บนท.ป." หมายเลข 110 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับมอบรถบลูเทรนที่ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นโดยไม่คิดค่าตอบแทน เป็น รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่สอง 41 คัน โดยเป็น บนท.ป.JR-West หรือ บลูเทรน รุ่นไม่มีเครื่องยนต์ หมายเลข บนท.ป.101-122 รุ่นมีเครื่องยนต์หมายเลข บนท.ป.201-206 และ 231-242 จำนวน 30/32/34 ที่นั่ง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=412550130297646&id=100046279876123

"บชท.ป.104"
รถนั่งปรับอากาศชั้น 2 "บชท.ป." หมายเลข 104 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับมอบรถบลูเทรนที่ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นโดยไม่คิดค่าตอบแทน เป็น รถนั่งปรับอากาศชั้นสอง 8 คัน หมายเลข บชท.ป.101-108 ขนาด 64/72 ที่นั่ง )
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=412551336964192&id=100046279876123

"บนท.ป.102"
รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่สอง "บนท.ป." หมายเลข 102 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับมอบรถบลูเทรนที่ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นโดยไม่คิดค่าตอบแทน เป็น รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่สอง 41 คัน โดยเป็น บนท.ป.JR-West หรือ บลูเทรน รุ่นไม่มีเครื่องยนต์ หมายเลข บนท.ป.101-122 รุ่นมีเครื่องยนต์หมายเลข บนท.ป.201-206 และ 231-242 จำนวน 30/32/34 ที่นั่ง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=412549146964411&id=100046279876123

"ขบวนรถบลูเทรนที่ญี่ปุ่นมอบให้ไทยในอดีต"
ภาพนี้ผมถ่ายเมื่อ กุมภาพันธ์ 2550 ที่สถานีบางซื่อ ในภาพเป็น รถจักรดีเซลไฟฟ้า อัลสธอม หมายเลข 4103 ALS ที่การรถไฟซื้อมาจาก บริษัท อัสธอม แอตแลนติด ประเทศ ฝรั่งเศส ในปี 2518 ซึ่งเป็นรุ่นเลขทที่ 4101-4154 (ในรุ่น 42XX AHK ผลิตโดย ฝรั่งเศส + เยอรมนี ส่วนรุ่น 43XX ALD และ 44XX ADD ก็ผลิตในฝรั่งเศส) ตู้โดยสารที่พ่วงมานั้น คันแรก สีขาว+ฟ้า เป็น รถนั่งปรับอากาศชั้น 3 " บชส.ป. " หมายเลข ?? (การรถไฟได้รับรถนั่งปรับอากาศชั้นสาม 28 คัน) และถัดๆ ไปสีฟ้าทั้งคัน เป็น รถนั่งปรับอากาศชั้น 2 "บชท.ป." หมายเลข 102 ( การรถไฟได้รับ รถนั่งปรับอากาศชั้นสอง 8 คัน หมายเลข บชท.ป.101-108 ขนาด 64/72 ที่นั่ง ) จากนั้นเป็น รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่สอง "บนท.ป." หมายเลข 102 / 110 ( การรถไฟได้รับ รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่สอง 41 คันบนท.ป.JR-West หรือ บลูเทรน ไม่มีเครื่องยนต์ หมายเลข บนท.ป.101-122 รุ่นมีเครื่องยนต์หมายเลข บนท.ป.201-206 และ 231-242 จำนวน 30/32/34 ที่นั่ง ) จากนั้นเป็น รถนั่งปรับอากาศชั้น 2 "บชท.ป." หมายเลข 104 และ 106 จากนั้นเป็น รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่สอง "บนท.ป." หมายเลข 104 และ 105 ซึ่ง รถโดยสาร ที่กล่าวมา "ทั้งหมด" เป็นรถที่ การรุถไฟญี่ปุ่นได้บริจาคให้ หรือที่เรามักนิยมเรียกว่า " JR-West หรือ บลูเทรน " และคันสุดท้ายที่พ่วงคือ รถชั้นสามและสัมภาระ "บสพ." หมายเลข 59 เป็นรุ่นที่ผลิตโดย บริษัทฟูจิคาร์ ประเทศญี่ปุ่น ที่การรถไฟ ซื้อมาใช้งาน (42-66) ในปี 2500
🟦🟦🟦🟦⭐⭐⭐🟦🟦🟦🟦
"รถบลูเทรน" การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับมอบรถบลูเทรนที่ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นโดยไม่คิดค่าตอบแทนจำนวนทั้งสิ้น 62 คัน แบ่งเป็น 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ปี พ.ศ. 2547 จำนวน 20 คัน จากบริษัท JR-West ชุดที่ 2 ปี พ.ศ. 2551 จำนวน 32 คัน จากบริษัท JR-West และชุดที่ 3 ปี พ.ศ. 2559 จำนวน 10 คัน จากบริษัท JR-Hokkaido โดยนำมาทำการปรับความกว้างล้อ (Regauge) จาก 1067 มิลลิเมตร ตามมาตรฐานทางรถไฟญี่ปุ่น เป็น 1000 มิลลิเมตร ตามมาตรฐานทางรถไฟในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และปรับปรุงเล็กน้อย
รถบลูเทรนที่ได้รับมอบจากบริษัท JR-West เคยใช้เป็นรถไฟด่วนพิเศษ ไปมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เรียกว่า ขบวนรถด่วนพิเศษราชพฤกษ์ หรือขบวนพิเศษโดยสารที่ 963/964 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 - 31 มกราคม 2550 ในปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยยุติการให้บริการรถบลูเทรนแล้ว เนื่องจากตัวรถที่เริ่มชำรุดและเก่า ประกอบกับค่าบำรุงรักษาใช้จ่ายมาก จึงได้ทำการยกเลิกไปเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559 โดยให้โดยสารครั้งสุดท้ายในขบวน 13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ หลังจากยกเลิกรถบลูเทรนแล้ว ขบวน13/14 ใช้ตู้โดยสารรุ่น ฮุนได(บนอ.ป),โตกิว(บนท.ป),แดวูรุ่นเก่า(บนท.ป) แทนบลูเทรน ปัจจุบันการรถไฟฯได้นำรถบลูเทรนบางส่วนไปใช้งานเป็นรถเสริมในบางขบวน รวมถึงนำไปดัดแปลงเป็นรถจัดเฉพาะปรับอากาศ(บจพ.ป.)จำนวน 3 คัน และล่าสุดได้นำรถบลูเทรนจำนวน 16 คันมาปรับปรุงใหม่ในสีเทาแดง และดัดแปลงระบบเพื่อใช้งานร่วมกับรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.) เพื่อลดมลพิษในการนำขบวนรถขึ้นสถานีกลางบางซื่อต่อไป
รถบลูเทรนที่ได้รับมอบจากบริษัท JR-Hokkaido ในปี พ.ศ. 2559 เป็นรถนั่งปรับอากาศทั้ง 10 คัน แบ่งเป็นรุ่น Oha 14 จำนวน 5 คัน และรุ่น Suhafu 14 จำนวน 5 คัน ปัจจุบันอยู่ในโครงการดัดแปลงเป็นรถไฟท่องเที่ยวชุดแรกของ รฟท.ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะนำมาใช้ในเส้นทาง กรุงเทพ-น้ำตก และ เชียงใหม่-ลำปาง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=412537816965544&id=100046279876123


Last edited by Wisarut on 11/09/2021 11:10 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2021 11:00 pm    Post subject: Reply with quote

#clubhouse คุยทุกเรื่องเกี่ยวกับ Kiha 183 รถไฟญี่ปุ่น มือ 2 ที่พึ่งได้รับมา จาก 3 ผู้เกี่ยวข้อง
วันนี้ (11 กันยายน 64) เวลา 20:00
ลิ้งค์ Clubhouse
https://www.clubhouse.com/event/mWN038E8
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1269796570125486


ส่องความเห็นคนญี่ปุ่น ไทยรับช่วงต่อรถไฟเก่า Kiha183ได้ชุบชีวิตเกิดใหม่อีกครั้งที่เมืองไทย
เห็นดราม่าข่าวรถดีเซลรางมือสองจากญี่ปุ่นที่จะนำเข้า 17 คัน โดยไทยต้องเสียค่าขนย้าย 42 ล้านบาทนั้น ว่าไทยนำเข้าขยะแบบเสียเงิน มันคือเศษเหล็กหรือเปล่า ก็อยากบอกว่าที่ญี่ปุ่นรถดีเซลที่ยังวิ่งอยู่ก็มีเยอะนะคะ รถไฟฮอกไกโดรุ่นนี้แค่ปลดระวางที่ญี่ปุ่นแต่ไม่ได้เศษเหล็กแบบอยู่ในสุสานรถไฟ

วันนี้จะพามาส่องความเห็นคนญี่ปุ่นกันค่ะ พอเค้ารู้ว่ารถไฟของพวกเขาจะมาวิ่งในไทยอีกครั้ง เขารู้สึกยังไงไปชมกันค่า
https://www.youtube.com/watch?v=cvqZeH4ry98
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2021 2:20 am    Post subject: Reply with quote

สรุปเรื่องรถไฟ JR Hokkaido ที่ไทยนำเข้าจากญี่ปุ่น
โดย ลงทุนแมน
10 กันยายน 2564 เวลา 19:45 น.

รถไฟ JR Hokkaido ที่เป็นข่าวร้อนแรงในวันนี้
ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้นำเข้ารถไฟที่ปลดระวางแล้วจากประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งจะมาถึงไทยช่วงปลายเดือนตุลาคม ปี 2564 นี้ จากที่ล่าช้าตั้งแต่ปี 2559 จำนวน 17 คัน
แบ่งได้เป็น 4 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ และอีก 1 ตู้ไว้สำรอง
โดยเสียงบประมาณในการขนส่ง 42.5 ล้านบาท และค่าปรับปรุงตัวรถอีกคันละ 16 ล้านบาท
เพื่อมาใช้รองรับเส้นทางรถไฟระหว่างจังหวัดนครราชสีมา-ขอนแก่น และตามเส้นทางท่องเที่ยว
สาเหตุที่ประเทศไทยต้องนำเข้าเป็นเพราะอะไร
แล้วข้อมูลรถไฟ JR Hokkaido จากญี่ปุ่น น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
หากพูดถึงรถไฟของประเทศญี่ปุ่น นับได้ว่าเป็นหนึ่งเทคโนโลยีอันดับต้น ๆ ของโลก
ไม่ว่าจะเป็นรถไฟทางไกล รถไฟฟ้า ไปจนถึงรถไฟความเร็วสูง
ที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนรุ่นขบวนรถไฟอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งรถไฟญี่ปุ่นจะใช้งานเฉลี่ยเพียง 30 ปี ขณะอายุการใช้งานสูงสุดได้เต็มที่ถึง 50 ปี
อย่างรถไฟจาก JR Hokkaido รุ่น KiHa 183-0 ซึ่งเป็นรุ่นที่ รฟท. สั่งนำเข้า
ถูกใช้งานในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2524 และปลดระวางในปี 2545 รวมแล้วใช้งานเพียง 21 ปี
เมื่อนำมาปรับปรุงใช้งานต่อในไทย จะยังสามารถใช้งานต่อไปอีกหลาย 10 ปี
เพื่อชดเชยในระหว่างที่รอการจัดหาและรอการผลิตหัวรถจักรดีเซลรุ่นใหม่เพิ่มเติม
ถ้าลองสังเกต การที่นำเข้ารถไฟจากญี่ปุ่นมาใช้งานในไทย มีจุดที่น่าสังเกตคือ
1. ขนาดล้อของรถไฟ ที่ใกล้เคียงกับขนาดรางรถไฟที่ใช้ในไทย โดยปรับปรุงเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้งานร่วมกันได้ เพราะ
- ขนาดล้อเดิมของรถไฟญี่ปุ่น จะใช้กับขนาดความกว้างราง 1.067 เมตร
- ส่วนขนาดรางของรถไฟในไทย จะมีความกว้าง 1.000 เมตร
2. เครื่องยนต์ดีเซลของรถไฟสามารถใช้งานร่วมกับโครงข่ายรถไฟของไทยได้ไม่ยาก เมื่อเทียบระบบไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้ทั้งเงินทุนและระยะเวลาที่นานกว่าจะพร้อมใช้งาน เพื่อปรับปรุงโครงสร้างรางและต่อเติมระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าไว้รองรับ
3. ตัวตู้โดยสารเดิมของรถไฟ รองรับการติดตั้งระบบปรับอากาศไว้อยู่แล้ว จึงเพียงแค่นำมาปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นภายใน 1 ปี โดยไม่ต้องออกแบบใหม่ให้ยุ่งยาก
โดยก่อนหน้านี้ ไทยเองก็เคยนำเข้าตู้รถไฟมือสองของ JR-WEST จากญี่ปุ่นมาแล้ว
ซึ่งถูกใช้ในโครงการ SRT Prestige สำหรับเส้นทางรถไฟท่องเที่ยวตามจังหวัดต่าง ๆ
ด้วยบริการแบบเฟิสต์คลาส พร้อมตู้นอน และห้องจัดประชุมแบบครบวงจร
แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของราคาที่แพง และเน้นการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะ
ขณะที่รถไฟชุดใหม่จาก JR Hokkaido จะรองรับการนั่งโดยสารเป็นหลัก
ที่น่าสนใจคือ การนำเข้ารถไฟจากญี่ปุ่นในครั้งนี้ ก็เพื่อนำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ในเรื่องของการขาดหัวรถจักรเดิมที่เริ่มล้าสมัย และมีจำนวนไม่เพียงพอ
ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวอาจเป็นแค่ผลพลอยได้
คงต้องดูกันต่อไปว่า เมื่อรถไฟจากญี่ปุ่นชุดล่าสุดนี้พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่
จะช่วยทำให้คนไทยเดินทางสะดวกขึ้น หรือช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวของไทยได้แค่ไหน..
References:
-https://www.dailynews.co.th/news/255592/
-https://www.komchadluek.net/hot-social/482828
-https://th.wikipedia.org/wiki/การขนส่งระบบรางในประเทศไทย
-https://en.wikipedia.org/wiki/KiHa_183_series
-https://www.prachachat.net/d-life/news-205386
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2021 7:06 pm    Post subject: สงครามน้ำลายระหว่างคนรถไฟเรื่องรถ JR Hokkaido Reply with quote

เอาหล่ะสิ "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" วิ่งบนรางรถไฟไทยไม่ได้
17 กันยายน 2564



ประธาน สหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อไทยรับ "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" ไม่คุ้มเพราะขนาดรางไม่เท่ากันต้องเสียค่าปรับปรุง



"นายสาวิทย์ แก้วหวาน" ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) เปิดเผย"คมชัดลึก" กรณีที่ญี่ปุ่นเตรียมบริจาค "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" หรือรถไฟฮอกไกโด ที่ใช้มาแล้วกว่า 40 ปี โดยฝ่ายไทยต้องเสียค่าขนส่งประมาณ 42 ล้านบาท ว่า "ความเห็นของผมการรถไฟไปรับรถไฟจากประเทศญี่ปุ่นมาแล้วหลายครั้ง ล่าสุดจอดอยู่ที่ศรีราชา 10 คัน เป็นของ เจอาร์ฮอกไกโด





ขนาดทางของรถไฟญี่ปุ่นกับบ้านเรานั้นมันต่างกัน ของไทยนั้นทางกว้าง 1 เมตร ขนาดทางรถไฟแล้วแต่ประเทศไหนจะใช้กัน แต่ว่าถ้าเป็นมาตรฐานคือ 1.435 เมตร ญี่ปุ่น 1.35 เมตร ก็มี



"ส่วนที่จะรับมาคือ 1 .06 เมตร ขนาดความกว้างเท่าไหร่ไม่ใช่ประเด็น ปัญหาคือเราจะนำมาติดรถไฟได้หรือเปล่า ถ้าติดได้ จะใช้ทางเท่าไรก็ได้ เพราะเราสร้างทางเองได้ไม่ใช่ปัญหา แต่ของเรามันใช้ขนาด 1 เมตรมาโดยตลอด"


เพราะฉะนั้นเมื่อเอารถมาแล้วล้อกว้างกว่าเรา เราก็ต้องย่อความยาวของล้อรถลงมาเพื่อให้วิ่งกับทางเราได้ซึ่งมันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในแง่ของการดัดแปลงให้ล้อวิ่งบนรางของเราได้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงดัดแปลง



รวมทั้งเรื่องของโรงอะไหล่ เมื่อเอามาวิ่งอะไหล่ไม่ได้ขายตามท้องตลาด มันก็ต้องมีข้อผูกพันที่จะต้องซื้ออะไหล่จากญี่ปุ่นอีก



"บางคันเอามาแล้วอาจจะใช้ไม่ได้ก็อาจมาใช้เป็นอะไหล่ไปต่อคันอื่น ผมมองว่าได้มาฟรีก็จริงแต่ว่ามันจะไม่คุ้มค่าที่สำคัญคือรถใช้มา 30-40 ปีแล้ว" ประธานสหภาพแรงงานรถไฟฯ กล่าว



นายสาวิทย์ กล่าวว่า เปรียบเทียบเป็นรถยนต์ เหล็กมีข้อจำกัดในการใช้งาน ผมคิดว่าถ้าฟังในสิ่งที่เขาพูดกันว่าจะนำมาเป็นรถท่องเที่ยว ซึ่งรถท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วสูงมากเพราะใช้กินลมชมวิว



ประเด็นของผมคือรถของเราที่เลิกใช้การก็มีอยู่ เราก็เอามาปรับปรุงใหม่ซึ่งขณะนี้โรงงานที่มักกะสันก็ทำได้ จากที่สามารถซ่อมสร้างได้แต่นโยบายรัฐบาลให้ซื้ออย่างเดียว โรงงานที่มักกะสันก็เลยสูญเสียศักยภาพ นโยบายของรัฐบาลไม่ชัดสำหรับการพัฒนารถไฟก็เลยทำให้เราล้าหลัง จริงๆ




โรงงานมักกะสันเป็นเขตอุตสาหกรรมใหญ่ของประเทศในอดีตที่ผ่านมาเกือบ 100 ปี จะสร้างใหม่ก็สามารถที่จะทำได้ เพียงแต่ขอความชัดเจนจากรัฐบาล



"เพราะฉะนั้นผมคิดว่ารถเก่าที่เรามีอยู่ถ้าจะโมดิฟายด์ ทุกวันนี้ก็มีรถท่องเที่ยว รถประชุม มีการจองกันเต็ม ไม่ว่างเลย รถเก่าๆของเราก็มีแล้วไม่ต้องไปย่นล้อด้วย เจอาร์เวสต์เข้ามายังทำไม่หมดเลยอยู่ที่ศรีราชา" นายสาวิทย์ กล่าว



"ถ้าเอามาแล้วอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนผมไม่ได้ขัดข้องเลย เพียงแต่ว่าเอามาแล้วคุ้มค่าคุ้มทุนหรือไม่ ในยามที่ประเทศเรากำลังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ เราน่าจะมองไปข้างหน้ามากกว่า รถที่ไร้มลภาวะ รถไฟฟ้า น่าจะไปพัฒนาตรงนั้นมากกว่า หรือไม่ก็ออกแบบคิดสร้างรถขึ้นมาเอง ผมคิดว่าระบบรางในอนาคตข้างหน้าจะเป็นระบบหลักในการขนส่งของประเทศ"



"ที่แน่นอนที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย คือ ค่าขนย้าย บริษัทไหนก็ต้องไปดูอีก ใครจะให้ของเรา เราต้องมาดูว่าเราจะเอาไปทำอะไร มันจะคุ้มค่าไหม คุ้มทุนไหม ถ้าจะซื้อของใหม่ราคาสูงกว่าแต่ระยะเวลาในการใช้งานนานกว่า ฟังจากคนรถไฟเขาก็ไม่เห็นด้วยนะ เพียงแต่ว่าตามนโยบายก็ว่ากันไป การเอามาสมเหตุสมผลไมคุ้มทุนหรือเปล่า ประชาชนได้ประโยชน์ชัดเจนหรือเปล่า เอามาก็ต้องฝากไว้ที่ท่าเรือต้องมีค่าฝากหรือเปล่าเพราะต้องตัดแรงล้อก่อนให้วิ่งได้ ต้องดัดแปลงให้วิ่งบบนรางก่อนแล้วจึงเอามาได้ การออกแบบต้องให้สมดุลดังนั้นเมื่อเราไปตัดไปดัดแปลงมันก็จะไม่สมดุล อย่างนี้ความปลอดภัยจะมีหรือไม่ โครงสร้างมันต้องสัมพันธ์กัน" ประธาน สร.รฟท. กล่าว

แจงแล้ว "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" รฟท.เผยซ่อมแซมเหมือนใหม่ คุ้มค่าแน่
20 กันยายน 2564


รฟท. ยันสามารถซ่อม"รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" เนรมิตรให้มีประสิทธิภาพใช้งานได้ดีคุ้มค่า เผยโรงงานมักกะสันพร้อมปรับความกว้างล้อเป็น 1 เมตร เป็นขบวนท่องเที่ยวและเฟิร์สคลาสได้แน่ ด้านสาวิทย์ตั้ง 5 ประเด็นให้พิจารณา

ผู้สื่อข่าว"คมชัดลึก" รายงานว่า หลังจาก นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกมาตั้งข้อสังเกตถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) รับบริจาค "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" โดยเสียค่าขนส่ง 42 ล้านบาท มองว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ เนื่องจากต้องมีการใช้งบประมาณมาปรับปรุงซ่อมแซม โดยเฉพาะขนาดของล้อ"รถไฟญี่ปุ่นมือสอง"และรางของไทยไม่รองรับกัน



ล่าสุด "เพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย" ได้ออกมาชี้แจงโดยยืนยันว่า การรับบริจาครถไฟญี่ปุ่นมือสองครั้งนี้สามารถซ่อมแซมได้และถือเป็นความคุ้มค่า



โดย"เพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย" แจกแจงเป็นข้อๆ ดังนี้ จากที่ บริษัท JR Hokkaido ได้มอบรถดีเซลราง จำนวน17 คัน ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)



โดย รฟท.รับผิดชอบเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเท่านั้น โดยมีการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อหลายแขนง ในเรื่องความคุ้มค่าเพราะเห็นว่ารถไฟจากญี่ปุ่นได้ใช้งานมาแล้ว 30 - 40 ปี อีกทั้งมีขนาดความกว้างของล้อ 1.06 เมตร ขณะที่ รางรถไฟไทยมีขนาดกว้าง 1 เมตร ทำให้ รฟท. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงจำนวนมาก ซึ่งฝ่ายการช่างกล การรถไฟฯ ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้



ขนาดความกว้างของราง


ปัจจุบันในแต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาค ใช้ขนาดความกว้างของรางรถไฟแตกต่างกันออกไป


เช่น ยุโรป และ จีนใช้ความกว้างของราง ขนาด 1.435 เมตร หรือเรียกว่า Standard Gauge ประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน บังคลาเทศ อินเดีย ใช้ความกว้างของรางขนาด 1.60 เมตร ซึ่งการกำหนดความกว้างของรางนั้น เป็นเรื่องของการใช้พื้นที่และการเชื่อมโยงกันในภูมิภาคเป็นปัจจัยสำคัญ


ขณะที่ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ส่วนมากใช้ความกว้างของรางขนาด 1.00 - 1.067 เมตร โดย รฟท.มีขนาดความกว้างของราง 1.00 เมตร ส่วนรถไฟญี่ปุ่นมีขนาดกว้าง 1.067 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นรางมาตรฐานเดียวกันคือ Narrow Gauge โดยความกว้างของรางขนาด 1.00 เมตร ของ รฟท. นั้น สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟของประเทศมาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่าได้


ขนาดความกว้างของล้อ


กรณีรถดีเซลราง จำนวน 17 คัน ของ JR Hokkaido ที่มอบมาให้นั้น รฟท. แค่นำมาปรับฐานล้อด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิคที่โรงงานมักกะสันก็สามารถนำออกมาให้บริการได้ทันที ซึ่งการปรับปรุงสภาพรถและปรับขนาดความกว้างของฐานล้อเป็นเรื่องที่ศูนย์แผนงานและการผลิต โรงงานมักกะสัน ฝ่ายการช่างกล ดำเนินการเป็นปกติทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลอยู่แล้ว โดยเฉพาะการปรับปรุงความกว้างของฐานเพลาล้อ
จาก 1.067 เมตร ให้เป็น 1.00 เมตร สามารถปรับได้มากถึง 2-3 คันต่อวัน



สำหรับกรณีการดันล้อที่มีพิกัดความกว้าง 1.067 เมตร ไปใช้ในความกว้าง 1.00 เมตร ถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการซ่อมบำรุงล้อและเพลาตามปกติของ รฟท. แม้แต่รถโดยสารที่วิ่งให้บริการอยู่ในปัจจุบันก็ต้องมีการนำรถโดยสารเข้ามาตรวจสอบสภาพ ปรับฐานล้อให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อความปลอดภัยในการให้บริการ



ความคุ้มค่า


ที่ผ่านมาในอดีต รฟท. เคยได้รับรถดีเซลรางและรถโดยสารปรับอากาศมาจาก JR West ประเทศญี่ปุ่น



ในปี 2540 จำนวน 26 คัน ปี 2542 จำนวน 28 คัน ปี 2547 จำนวน 40 คัน ปี 2553 จำนวน 32 คัน และรถโดยสารจากควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2538 จำนวน 21 คัน ซึ่ง รฟท. ได้นำรถที่ได้รับมอบเหล่านี้มาปรับความกว้างฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร เป็น 1.00 เมตร ซึ่งหลังจากปรับปรุงแล้วสามารถนำมาให้บริการได้จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีแล้ว แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ตาม ได้มีการนำรถโดยสารที่ปลดระวางแล้วมาดัดแปลง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการให้บริการในด้านต่างๆ

เช่น การส่งเสริมภาพลักษณ์ สนับสนุนด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่ง รฟท. ได้นำรถโดยสารปรับอากาศ JR West ที่ได้รับ มาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถจัดเฉพาะเพื่อใช้ในกิจการรถไฟ อาทิเช่น ตู้ SRT Prestige และ SRT VIP Train (ขบวนรถหรูสีน้ำเงินเข้มคาดทอง รถไฟชั้นเฟิร์สคลาส) และเคยเป็นขบวนรถไฟที่ให้บริการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้เดินทาง และใช้ประชุม ครม.สัญจรหลายครั้ง



นอกจากนี้ ยังให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในรูปแบบของขบวนรถท่องเที่ยว เช่น รถ OTOP Train อีกด้วย ถือเป็นขบวนรถไฟที่มีผู้โดยสารจองเช่าใช้บริการมากที่สุด เพราะมีความสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันโดยในปีงบประมาณ 2562 รฟท. มีรายได้จากการให้เช่ารถไฟเฟิร์สคลาส และขบวนรถพิเศษรวมกว่า 10 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายได้ลดลงเหลือประมาณ 5 ล้านบาท


นอกจากนี้ ยังนำรถ JR West บางส่วนมาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถแค้มป์คาร์ของฝ่ายการช่างโยธา รถ Power car รถสำหรับผู้พิการ Wheel chair ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ในการให้บริการแก่ประชาชนอีกด้วย และหากเปรียบเทียบกับการจัดซื้อใหม่แล้ว จะเห็นว่า รฟท. ประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก



ส่วนรถโดยสารควีนแลนด์ ปัจจุบัน รฟท. ยังใช้ให้บริการในขบวนรถชานเมืองเป็นประจำทุกวัน โดยสังเกตุได้จากขบวนรถที่ทำจาก Stainless คาดสีเขียว ซึ่งล้วนเป็นรถไฟที่ รฟท. ได้รับมาและดำเนินการซ่อมบำรุง และปรับปรุงความกว้างของฐานล้อทั้งสิ้น ซึ่งยังสามารถใช้การได้เป็นอย่างดี



สำหรับรถโดยสารปรับอากาศ 10 คันที่ JR Hokkaido มอบมาก่อนหน้านี้ รฟท. มีแผนจะดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการผ่านขั้นตอนการปรับปรุงความกว้างของฐานล้อ จาก 1.067 เมตรเป็น 1.00 เมตร เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันจอดอยู่ที่ ศรีราชา และ รฟท. อยู่ระหว่างประกาศการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อทำการดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว ตามที่มีการร่วมมือกับ ทาง TCDC และมีการวางแผน ทางการตลาดไปก่อนหน้านั้น ส่วนขบวนรถ ดีเซลราง Kiha183 จำนวน 17 คันล่าสุดนั้น หลังจากรับเข้ามาแล้ว จะต้องทำการปรับปรุงให้เหมาะสมและเป็นปตามแผนงานตามมาตรฐาน ของ รฟท. โดยคาดว่าจะสามารถทยอยนำออกให้บริการได้ ภายในต้นปี 2565



อะไหล่ซ่อมบำรุง

ส่วนประเด็นการนำเข้าอะไหล่ซ่อมบำรุงนั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรม
รถไฟ รวมถึงรถจักร และรถโดยสาร ดังนั้น การซ่อมบำรุงรถจักรล้อเลื่อน ส่วนใหญ่ ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น และยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ รถไฟฟ้า ทั้ง BTS และ BEM ก็ล้วนใช้อะไหล่นำเข้าทั้งสิ้น



ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำหรับรถดีเซลรางที่ทางบริษัท JR Hokkaido ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดินรถของประเทศญี่ปุ่น ได้มอบให้การรถไฟฯ ถือเป็นความร่วมมือและการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างการรถไฟฯ และบริษัทในเครือ JR ที่มีมาอย่างยาวนาน



โดยการรถไฟฯ มีหนังสือตอบรับมอบรถดีเซลราง ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2560 แต่ติดปัญหาเรื่องการขนย้ายจึงทำให้ล่าช้ามาจนถึงปัจจุบัน และเพื่อการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท JR Hokkaido จึงได้ว่าจ้างบริษัททำการขนย้ายรถไฟทั้ง 17 คัน ซึ่งจากการตรวจสอบสภาพตู้รถโดยสารในเบื้องต้น ขบวนรถดีเซลรางอยู่ในสภาพดีได้รับการดูแลบำรุงรักษาจากทางญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ซึ่งหลังจากที่การรถไฟฯ ได้รับมอบตู้โดยสารแล้วจะมีการเข้าไปตรวจสอบด้านความปลอดภัย และนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกครั้ง



เบื้องต้นคาดว่าจะนำตู้โดยสารดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อใช้ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาลต่อไป

อย่างไรก็ตาม นายสาวิทย์ ขอตั้งประเด็นให้พิจารณาต่อดังนี้ 1.การจัดหารถมาให้บริการประชาชน ผู้โดยสารเป็นเรื่องที่ดี และควรเร่งดำเนินการ รถใหม่ที่ รฟท.สั่งไปเช่นหัวรถจักรตั้งแต่ปี 54 แต่จะส่งมอบปีหน้า รถดีเซลรางประมาณ 180 คันก็ถูกท้วงติงจากหลายฝ่ายตอนนี้เรื่องอยู่ที่สภาพัฒน์ ยังซื้อไม่ได้



2.แต่การนำมาก็ต้องประเมินว่า คุ้มค่าหรือไม่คุ้มค่า ทั้งเรื่องค่าขนส่ง ค่าอากร ค่าดัดแปลงเพลาล้อให้สามารถวิ่งบนรางของไทย และการปรับปรุงทั้งระบบ ช่วงล่าง ช่วงบน ภายในตัวรถ และอะไหล่ในระยะยาว เราจะเอามาจากไหน คงต้องซื้อจากญี่ปุ่น แต่เมื่อเขาเลิกใช้การเขาจะผลิตอยู่มั๊ย(เพราะรุ่นนี้ส่วนมากมีเครื่องยนต์)รวมค่าจอดรถคอยในเขตท่าเรือรอการปรับปรุงแคร่...ต้องคำนวณให้ดี

3.รถที่ รฟท.รับมาเป็นรถที่ใช้งานมาเกือบ 40 ปีจะมีปัญหากับความปลอดภัยที่อาจจะตามมาหรือไม่

4.มีตู้โดยสารรถไฟเก่าๆ ของ รฟท.เองที่ตัดบัญชี และอยู่ระหว่างการตัดบัญชีมีอยู่มีใช้น้อยที่จอดกระจายอยู่ตามสถานีต่างๆ ปัดฝุ่นนำมาปรับปรุงดัมั๊ย อายุการใช้งานพอๆกัน เป็นบริการท่องเที่ยวไม่ต้องวิ่งเร็วมาก 90 กม/ชม.น่าจะคุ้มค่ากว่า

5.รัฐบาลควรหันมาให้ความสำคัญกับการรถไฟในการจัดงบประมาณซื้อรถใหม่ รองรับกับเทคโนโลยี่อนาคต เป็นรถขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าซึ่งก็จะสอดคล้องกับการการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืนของ UN ที่เราเรียกย่อๆว่า SDG

6.รัฐบาลควรวางแผนระยะยาวในการวิจัย ผลิตรถไฟใช้เอง สนับสนุน สร้างวัฒนธรรมให้ประชาชนใช้บริการขนส่งสาธารณะโดยระบบราง

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1258056241299428&id=100012851913766
Back to top
View user's profile Send private message
milkonline
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 02/07/2009
Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี

PostPosted: 21/09/2021 12:47 am    Post subject: Reply with quote

ผมอ่านประเด็นของประธานสหภาพฯ บางข้อผมอ่านแล้วแปลกๆเหมือนกับบ้านเราไม่เคยรับรถเก่ามาใช้งานมาก่อน

อย่างเรื่องความปลอดภัย อุบัติเหตุที่พิสูจน์ความปลอดภัยทางโครบสร้างอย่าง ข.84 ที่เขาเต่าก็น่าจะเป็นคำตอบได้หรือเปล่า? Rolling Eyes
_________________
N-Scale model train lovers.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2021 1:39 am    Post subject: Reply with quote

milkonline wrote:
ผมอ่านประเด็นของประธานสหภาพฯ บางข้อผมอ่านแล้วแปลกๆเหมือนกับบ้านเราไม่เคยรับรถเก่ามาใช้งานมาก่อน

อย่างเรื่องความปลอดภัย อุบัติเหตุที่พิสูจน์ความปลอดภัยทางโครบสร้างอย่าง ข.84 ที่เขาเต่าก็น่าจะเป็นคำตอบได้หรือเปล่า? Rolling Eyes


ประธานสหภาพกล่าวคำโกหกครับ งานนี้โดนหมายหัวแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 32, 33, 34  Next
Page 2 of 34

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©