RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181705
ทั้งหมด:13492943
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ทางรถไฟสยาม สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึง รัชกาลที่ ๗
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ทางรถไฟสยาม สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึง รัชกาลที่ ๗

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2017 7:25 am    Post subject: ทางรถไฟสยาม สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึง รัชกาลที่ ๗ Reply with quote

สโมสรศิลปวัฒนธรรม
ทางรถไฟสยาม สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึง รัชกาลที่ ๗ : สู่ยุคความเร็ว! “รถไฟ” กับการย่นเวลาเดินทาง

Click on the image for full size
ชานชาลารถไฟ สถานีกรุงเทพฯ เมื่อก่อสร้างครั้งแรก (ภาพจาก หนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๓๙-๒๕๑๒)
เผยแพร่ วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2560

นับตั้งแต่มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาติดตั้งในพาหนะ การขนส่งในศตวรรษที่ ๑๙ ก็เข้าสู่ยุคสมัยของการปฏิวัติ พาหนะแรกที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำอย่าง “เรือกลไฟ” ได้ท่องไปทั่วมหาสมุทร และเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศตามการใช้งานของชาติมหาอำนาจ

สำหรับประเทศสยาม เรือกลไฟลำแรกที่แล่นเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ จากความสนใจในหมู่ชนชั้นนำทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในช่วงสั้นๆ ระหว่างรัชกาลที่ ๓-รัชกาลที่ ๔ เรือกลไฟที่มีบทบาทมากขึ้นก็เข้ามาแทนที่เรือพระราชพิธีในงานระดับรัฐพิธี เป็นพาหนะที่นำเสด็จรัชกาลที่ ๔ ประพาสหัวเมืองชายทะเล ประเทศราชทางใต้ และขึ้นเหนือไปถึงพิษณุโลกเป็นครั้งแรกในรอบ ๑๐๐ ปี หมอบรัดเลย์ได้สรรเสริญเหตุการณ์ในครั้งนั้นเอาไว้ว่า

“เปนคุณเปนประโยชน์แก่ชาวเมืองพระพิศณุโลกยเพราะเรือกลไฟ. ถ้าไม่มีเรือกลไฟแล้วเหนพระเจ้าอยู่หัวจะเสดจไปไม่ถึง”

แต่ทั้งนี้ประสิทธิภาพของเรือกลไฟก็ยังมีค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับพื้นที่ในปกครองของรัฐบาลสยาม โดยเฉพาะกับพื้นที่ตอนในของประเทศที่ยังคงต้องใช้การเดินทางแบบพื้นเมืองอยู่เหมือนเดิม คือ การเดินทางที่จะต้องเปลี่ยนพาหนะไปเรื่อยๆ ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ระยะเวลาเดินทางต่อวันขึ้นอยู่กับประเภทหรือสภาพของเส้นทาง กำลังกล้ามเนื้อคน สัตว์พาหนะ และช่วงเวลาตามฤดูกาล อีกทั้ง “ความเร็วธรรมชาติ” ของการเดินทางรูปแบบต่างๆ เฉลี่ยเพียง ๔ กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยประมาณ และไม่สม่ำเสมอในทุกพื้นที่

หาก “ระยะเวลาเดินทาง” เป็นปริมาณสัมพัทธ์ก็จะเห็นได้ว่าไม่ได้มีแต่ระยะทางเท่านั้นที่มีผลต่อระยะเวลา แต่ยังมีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เป็นปัจจัยเหนือการควบคุมของมนุษย์และยังมีผลต่อระยะเวลาเดินทางอีกเป็นจำนวนมาก เหตุนี้ การเดินทางระยะไกล การให้ความสำคัญกับเวลา หรือความเร่งรีบ มักจะเป็นสิ่งพิเศษของสังคมมากกว่าจะเป็นสภาวะตามธรรมชาติของสังคมในเวลานั้น

ชาวตะวันตกที่เดินทางจากยุโรปมายังสยามและยังต้องเดินทางไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศจึงรู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างระยะทางและระยะเวลาเป็นอย่างมาก ที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลชาวเบลเยียมได้บันทึกเอาไว้ว่า “นับตั้งแต่ออกจากบางกอก…ควรถึงเชียงใหม่วันนี้ราวๆ บ่ายโมง เราใช้เวลาเดินทางมาแล้ว ๒๕ วันเต็มๆ เท่ากับระยะเวลาเดินทางจากบรัสเซลส์ไปบางกอก ข้าพเจ้าคำนวณคร่าวๆ ว่าเราเดินทางมาแล้วในราว ๘๐๐ กิโลเมตร”

การนำเข้าเทคโนโลยีระบบรางมาใช้ในสังคมได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการขนส่งหลายประการ ความเป็นสมัยใหม่เทคโนโลยีนี้ได้ทำให้ภูมิประเทศที่แตกต่างหลากหลายหมดความสำคัญลงไปเหลือแค่ “ราง” เช่นเดียวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งกำเนิด “ความเร็วธรรมชาติ” เช่น กำลังกล้ามเนื้อของคนและสัตว์พาหนะ กระแสลม กระแสน้ำ ก็เปลี่ยนมาเป็น “ความเร็วอุตสาหกรรม” ที่กำเนิดจากหัวรถจักรไอน้ำ ซึ่งในเวลานั้นทำความเร็วได้มากกว่าความเร็วธรรมชาติประมาณ ๑๕ เท่า และยังเป็นความเร็วที่สม่ำเสมอในทุกพื้นที่ในทางทฤษฎี ดังนั้น การนำระบบรางเข้ามาใช้ในสยามจึงไม่ใช่แค่การย่นย่อระยะเวลาเดินทางเท่านั้น แต่ยังเป็นการปฏิวัติรูปแบบและเนื้อหาของการขนส่งไปจากเดิมในทันที

ในระหว่างรัชกาลที่ ๕-รัชกาลที่ ๗ แม้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟจะต้องอาศัยการนำเข้าเป็นหลักก็ตาม แต่การก่อสร้างก็ดำเนินไปค่อนข้างเร็ว มีการเปิดตอนเดินรถ (section) เฉลี่ยทุก ๑ ปีครึ่งในรัชกาลที่ ๕, ทุก ๖ เดือนในรัชกาลที่ ๖ และทุก ๑ ปีในรัชกาลที่ ๗

ปัจจัยสถานการณ์ได้ทำให้รัฐต้องเร่งขยายการก่อสร้างทางรถไฟตามแนวแกนเหนือ-ใต้อยู่ที่ ๖๐ กิโลเมตรต่อปีโดยประมาณ เร็วกว่าการขยายเส้นทางไปตะวันออกเฉียงเหนือ ๓.๕ เท่า และทางตะวันออก ๑๐ เท่า ทางรถไฟเหล่านี้ได้เชื่อมกรุงเทพฯ เข้ากับหัวเมืองโดยตรงในลักษณะ “ประตูเมืองถึงประตูเมือง” (door to door) ได้ ๑๔ เมือง ๒๘ เมือง และ ๓๔ เมือง ตามลำดับรัชกาล หมายความว่า เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ รัฐบาลได้ปฏิวัติการขนส่งระหว่างกรุงเทพฯกับพื้นที่ปกครองเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศด้วยทางรถไฟยาว ๓,๐๗๗ กิโลเมตรไปเป็นที่เรียบร้อย


ตามธรรมชาติแล้ว “ความเร็วอุตสาหกรรม” จะแปรผกผันกับ “ระยะเวลาเดินทาง” การเดินทางด้วยรถไฟที่ทำความเร็วได้สูงกว่าความเร็วธรรมชาติเฉลี่ยเกือบ ๑๕ เท่าก็ย่อมทำให้เวลาเดินทางลดลงในสัดส่วนเดียวกัน การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปถึงมณฑลทางเหนือจาก ๔๐ วัน เหลือเพียง ๒ วัน ไปมณฑลภาคอีสานจาก ๓๐ วัน เหลือเพียง ๒ วัน และไปมณฑลภาคใต้จาก ๑๐ วัน เหลือเพียง ๓ วัน

ความรู้สึกแตกต่างระหว่างเวลากับสถานที่ถูกลดทอนลงไปอย่างฉับพลันเช่นนี้ ทำให้ “รัฐ” รู้สึกว่าเอื้อมมือเข้าไปดูแลพื้นที่ที่เคยอยู่ห่างไกลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และเกิดเป็นสมมุติฐานขึ้นมาว่าการติดต่อไปมาได้สะดวกของผู้คนในแต่ละภูมิภาคจะทำให้รู้จักสนิทสนมกันและรู้สึกเป็นพวกเดียวกันมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

เมื่อ “ระยะเวลาเดินทาง” ลดลง ผลที่ตามมาคือ “ต้นทุนการขนส่ง” ก็ต่ำลงด้วยเช่นกัน สินค้าจากพื้นที่ตอนในของสยามจึงถูกส่งมาทางรถไฟมากขึ้น ทศวรรษ ๒๔๖๐ พ่อค้าชาวจีนก็ยุติการขนส่งทางเรือมาใช้ทางรถไฟสายเหนือ เช่นเดียวกับภาคอีสานที่ทางรถไฟเป็นเส้นทางหลักที่เข้าออกได้สะดวกที่สุด แต่ทางภาคใต้นั้นตรงกันข้าม เพราะทางรถไฟจะต้องแข่งขันกับการขนส่งทางเรือที่สะดวกกว่า

ชัยชนะของทางรถไฟเหนือการเดินทางรูปแบบอื่นๆ ในพื้นที่ตอนในของสยามคือความสำเร็จในการรวมอำนาจทางเศรษฐกิจเข้าสู่กรุงเทพฯ โครงข่ายทางรถไฟและโทรเลขได้กลายเป็น “กระดูกสันหลังและเส้นประสาท” ของรัฐสมัยใหม่ที่เชื่อมโยงพื้นที่ทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และทำให้เกิดการหมุนเวียนของสินค้า คำสั่งซื้อ กลไกตลาด และการปรับราคาสินค้าทั่วประเทศให้เข้าสู่ภาวะสมดุลเป็นครั้งแรก แต่ในทางกลับกัน ทางรถไฟก็ทำให้สินค้าอุตสาหกรรมจากตะวันตกสามารถรุกเข้าสู่พื้นที่ตอนในของสยามไปแข่งขันกับสินค้าพื้นเมืองได้เร็วและมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ความเร็วของรถไฟทำให้เวลาถูกใช้อย่างเต็มศักยภาพ และทำให้ความคิดเกี่ยวกับการเดินทางเปลี่ยนแปลงไป เพราะความเร็วอุตสาหกรรมที่กำเนิดจากเครื่องจักรกลเป็นความเร็วที่มนุษย์สร้างขึ้นและควบคุมได้ เหตุนี้ ระยะเวลาเดินทางจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งจึงสามารถแจงนับได้ด้วยคณิตศาสตร์และจะปรากฏให้เห็นบน “ตารางเวลาเดินรถไฟ” (railway timetable)

ในทุกๆ สถานีการเดินทางระยะไกลจะไม่เป็นสิ่งเกินความจำเป็นที่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษอีกต่อไป “พื้นที่” ค่อยๆ ถูกลดอำนาจในการตรึงผู้คน ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๕-๗๕ ผู้โดยสารสายเหนือเพิ่มขึ้นจาก ๒,๐๐๐ คนต่อวัน เป็น ๑๐,๐๐๐ คนต่อวัน ส่วนทางสายใต้เพิ่มขึ้นจาก ๒,๐๐๐ คนต่อวัน เป็น ๖,๐๐๐ คนต่อวัน ผู้โดยสาร ๑ คน เดินทางเฉลี่ย ๓๐-๕๐ กิโลเมตร หรือคิดเป็นระยะเวลาต่อครั้งคือ ๑-๑.๕ ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งแต่ก่อนอาจจะต้องใช้เวลาทั้งวัน

คัดบางส่วนจาก : บทความ “รัฐกับความเร็ว : การคมนาคมในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม”. โดย วิภัส เลิศรัตนรังษี. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม ๒๕๕๙
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2017 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

...
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/12/2021 6:38 am    Post subject: Reply with quote

ราชภัฏโคราชนำทัพเปิดโลกดึกดำบรรพ์ มหกรรมฟอสซิลเฟสติวัล ครบ 100 ปี แห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทย ร.6
สยามรัฐออนไลน์ 4 ธันวาคม 2564 19:57 น. ข่าวทั่วไทย

Click on the image for full size

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 4 ธ.ค.64 ที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มร.นม.) บ้านโกรกเดือนห้า หมู่ที่ 7 ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายชูศักดิ์ ชุนเกาะ รอง ผวจ.นครราชสีมา พร้อมนายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดี มร.นม. และผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ องค์การมหาชน (สสปน.) องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมาและภาคีเครือข่าย ร่วมเปิดมหกรรม “ฟอสซิลเฟสติวัล ครั้งที่ 6” ครบรอบ 100 ปี แห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยสมัยรัชกาลที่ 6 และโคราช มหานครแห่งบรรพชีวินของโลก (Fossil Festival VI : 100 Years of Petrified Wood and Elephant Conservation from the Reign of King Rama VI Khorat : World Paleontopolis) โดยมีกิจกรรมเสวนาวิชาการบรรพชีวิน “100 ปี อนุรักษ์วิจัยฟอสซิลไทยในโคราช” “ฟอสซิลแห่งสยามกับการอนุรักษ์” “โคราชมหานครแห่งบรรพชีวินโลก” ชมนิทรรศการ “โคราช มหานครแห่งบรรพชีวินโลก” “ไม้กลายเป็นหินแปลก” การนำเสนอผลงานวิชาการ “ร่วมเรียนรู้สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์กับนักวิจัย” “พิพิธภัณฑ์ฟอสซิลเพื่อการนันทนาการและการเรียนรู้” การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ รวมทั้งกิจกรรมผ่านระบบ Hybrids “ทัวร์เที่ยวทิพย์ท่องเที่ยวมหานครแห่งบรรพชีวิน พบเรื่องราวตื่นตาตื่นใจ เช่นตอนไดโนเสาร์สิรินธรน่าโคราชเอนซิสและสยามแรปเตอร์สุวัจนติ “เติมสีสันให้ช้าง” กิจกรรมท่องเที่ยวไปในพิพิธภัณฑ์ กิจกรรม DIY By Khorat fossil Museum เปิดพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และการแสดงสินค้าชุมชนและชม ซ็อป ชิม ผลผลิตทางการเกษตร “ไม้หินกรีนมาร์เก็ต” ผลงานทางศิลปะ Thailand Art Biennale 2021

Click on the image for full size

รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร อธิการบดี มร.นม. เปิดเผยว่า งานฟอสซิลเฟสติวัล ได้จัดเป็นประจำทุก 2 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักในคุณค่ารวมทั้งร่วมกันอนุรักษ์มรดกฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ของ จ.นครราชสีมา ให้คงอยู่และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยจัดงานภายใต้แนวคิด “100 ปี แห่งการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินและช้างไทยสมัยรัชกาลที่ 6” โดยเฉพาะฟอสซิลไม้กลายเป็นหินมีปรากฏเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อรัชกาลที่ 6 หรือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จมาตรวจงานก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา–อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2464 บริเวณสะพานดำ ซึ่งเป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำมูล บ้านตะกุดขอน ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ พระยารำไพพงศ์บริพัตร วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟพร้อมชาวบ้านได้นำฟอสซิลไม้กลายเป็นหินจากร่องแม่น้ำมูลน้อมเกล้าฯ ถวายแด่ ร.6 แต่พระองค์ท่านกลับแนะนำให้เก็บรักษาไว้ในท้องที่ พระยารำไพพงศ์บริพัตร จึงได้สร้างอนุสรณ์สถานการเสด็จมาตรวจการก่อสร้างทางรถไฟของ ร.6 ในบริเวณหัวสะพานแล้วนำไม้กลายเป็นหินท่อนดังกล่าวฝังตรึงไว้บนยอดอนุสรณ์สถานยังคงปรากฏให้เห็นเป็นสภาพเดิมตราบกระทั่งปัจจุบัน อนุสรณ์สถานไม้กลายเป็นหิน ร.6 จึงเป็นการอนุรักษ์ฟอสซิลหรือไม้กลายเป็นหินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และชุมชนชาวท่าช้างครบ 100 ปี และอาจเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ทั้งนี้โคราชถือเป็นมหานครแห่งบรรพชีวินของโลก บริเวณชานเมืองรัศมีไม่เกิน 20 กิโลเมตร มีแหล่งฟอสซิลสำคัญ 3 ยุค (ครีเทเชียส นีโอจีนและควอเทอร์นารี) ทั้ง 4 ทิศหรือ 4 มุมเมือง ทิศตะวันออก ต.ท่าช้าง พบฟอสซิล อายุ 16-0.01 ล้านปีก่อน จำพวกช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสายพันธุ์ที่สุดในโลกถึง 10 สกุลจาก 55 สกุลที่พบทั่วโลก รวมทั้งสัตว์พันธุ์ใหม่ของโลก จำพวกอุรังอุตัง (โคราชพิเธคัส) ฮิปโปโบราณ (เมอริโคโปเตมัส) แรดไร้นอ (อาเซราธีเรียม) และฟอสซิลสัตว์อื่น ๆ รวมไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด ปัจจุบันมีอาคารพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ในเขตเทศบาลและมีโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ในแหล่งพบซากพื้นที่ 18 ไร่ของ ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ ทิศเหนือ ต.โคกสูง อ.เมือง พบฟอสซิล อายุ 200,000 ปี จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่อแหล่งมีความหนาแน่นที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 15 ชนิด เช่น ไฮยีน่า ช้างสเตโกดอน แรดอินเดีย กูปรี กวางดาว ฯลฯ และปัจจุบันมีโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์เดิมของตำบลให้มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์มากขึ้น ทิศตะวันตก ต.โคกกรวด อ.เมือง พบฟอสซิลอายุ 115 ล้านปีก่อน จำพวกไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลกถึง 4 ชนิดในจำนวน 12 ชนิด ที่พบในประเทศไทย เช่น ไดโนเสาร์สิรินธรน่า บางชนิดเป็นพันธุ์กินเนื้อใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขนาดตัวยาวไม่ต่ำกว่า 8 เมตร คือ ไดโนเสาร์สยามแรปเตอร์ รวมทั้งยังพบจระเข้และเต่าชนิดใหม่ของโลก อีกทั้งสัตว์อื่น ๆ เช่น เทอโรซอร์ ปลา หอยต่าง ๆ รวมไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด และปัจจุบันกำลังมีโครงการจัดตั้ง Dino Park ในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 300 ไร่ ทิศใต้ ต.สุรนารี อ.เมือง พบฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน อายุไม่ต่ำกว่า 800,000 ปีก่อน ทั้งไม้พวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลปาล์ม และพืชใบเลี้ยงคู่ ไม่ต่ำกว่า 8 วงศ์ 11 สกุล 18 ชนิด เช่น ไม้ในสกุลกระบก รกฟ้า กระโดน มะม่วง ฯลฯ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ 80 ไร่ ที่เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่ 1 ใน 7 แห่งของโลก

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

อย่างไรก็ตามการพบฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์หลากหลาย นับเป็นก้าวสำคัญของโคราช มร.นม. จึงได้พัฒนาพื้นที่ในส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทั้ง 32 อำเภอ พื้นที่โคราชจีโอพาร์ค ประกอบด้วยอำเภอสีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมือง และ อ.เฉลิมพระเกียรติ กำลังรอการประเมินเป็นจีโอพาร์คโลกโดยองค์การยูเนสโก เพื่อให้โคราชเป็นเมืองแห่ง 3 มงกุฎยูเนสโก หรือ The UNESCO Triple Crown แห่งที่ 4 ของโลก หมายถึง จ.นครราชสีมา มีโปรแกรมอนุรักษ์ของยูเนสโกครบทั้ง 3 โปรแกรม ก่อนหน้านี้มีมรดกโลก (World Heritage) พื้นที่สงวนชีวมณฑล ต.สะแกราช อ.วังน้ำเขียว และผืนป่ามรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ อธิการบดี มร.นม. กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©