Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180090
ทั้งหมด:13491322
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 22, 23, 24, 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2021 1:10 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการศึกษาทางรถไฟสายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด
คลิปประชาสัมพันธ์ โครงการศึกษาทางรถไฟสายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2564 เวลา 20:37 น.
วันนี้เอาคลิปประชาสัมพันธ์จากการประชุมย่อย ครั้งที่ 2 ของโครงการทางคู่สายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตงนการออกแบบ ก่อสร้าง เพื่อเตรียมในการเวนคืน และก่อสร้างในอนาคต (หลังจากโครงการอนุมัติ) มาให้เพื่อนๆ ชมกันครับ เพื่อให่เคลียร์ EIA ให้ผ่านได้

แนวเส้นทางรถไฟสายนครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก แม่สอด ที่ผ่านแต่ละอำเภอ ฉบับปรับปรุง จาก Google Earth

0. ปากน้ำโพ กม. 250 + 560 จากสถานีกรุงเทพ

กม. 0 +000 อยู่ที่ประแจตัวสุดท้าย ห่างจากสถานีปากน้ำโพ ไปทางเหนือ 0 + 350 กิโลเมตร (กม. 250 + 910)

สะพานข้ามแม่น่้ำน่าน กม. 0 + 700 จาก กม. 250 + 910 เหนือสะพานดุสิดาภิรมย์

1. สถานีบึงเสนาท สถานีขนาดใหญ่ กม. 3 + 415 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 3 + 600) จาก กม. 250 + 910

2. สถานีบ้านมะเกลือ สถานีขนาดกลาง กม. 10 + 365 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 10 + 350) จาก กม. 250 + 910

3. มหาโพธิ - สถานีขนาดเล็ก กม. 15 + 765 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 15 + 750) จาก กม. 250 + 910

4. เก้าเลี้ยว - สถานีขนาดกลาง กม. 23 + 190 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 23 + 200) จาก กม. 250 + 910 - ใกล้ศูนย์จัดจำหน่าย CP All distribution ประจำนครสวรรค์

5. ที่หยุดรถบ้านตาหงาย กม. 30 + 165 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 30 + 175) จาก กม. 250 + 910 ใกล้วัดศิลาทองสามัคคีธรรม

6. เจริญผล - สถานีขนาดกลาง กม. 38 + 065 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 38 + 100) จาก กม. 250 + 910 มีลานคอนเทนเนอร์ (น่าจะตั้งเป็นสถานีบรรพตพิสัยเพราะใกล้ บรรพตพิสัยที่สุด)

7. ที่หยุดรถตาขีด กม. 49 + 265 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 49 + 250) จาก กม. 250 + 910 หมดเขตนครสวรรค์ เข้ากำแพงเพชร

8. ป่าพุทรา - สถานีขนาดเล็ก กม. 55 + 765 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 55 + 800) จาก กม. 250 + 910 น่าจะตั้งชื่อว่า ขานุวรลักษณบุรีเพราะใกล้ อำเภอ ขานุวรลักษณบุรี ที่สุด แต่ยังห่างจากตัวอำเภอ ร่วม 11 กิโลเมตร

9. ที่หยุดรถยางสูง กม. 63 + 961 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 64 + 000) จาก กม. 250 + 910

10. วังแขม - สถานีขนาดเล็ก กม. 69 + 415 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 69 + 525) จาก กม. 250 + 910

11. ที่หยุดรถวังยาง กม. 74 + 215 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 74 + 215) จาก กม. 250 + 910 น่าจะตั้งชื่อว่าคลองขลุง เพราะ ใกล้คลองขลุงที่สุด

12. ท่ามะเขือ - สถานีขนาดเล็ก กม. 78 + 615 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 78 + 700) จาก กม. 250 + 910

13. ที่หยุดรถวังบัว - กม. 87 + 740 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 87 + 750) จาก กม. 250 + 910 ใกล้ บ้านสวนยายตู่

14. คณฑี - สถานีขนาดกลาง กม. 94 + 915 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 94 + 950) จาก กม. 250 + 910 - ใกล้โรงงานอายิโนะโมโต๊ะประเทศไทย (5 กิโลเมตร ด้านตะวันออกเฉียงใต้) มีการแก้เส้นทางอ้อมหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชรไปทางตะวันออก

15. ที่หยุดรถเทพนคร กม. 104 + 365 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 104 + 350) จาก กม. 250 + 910 โดนลดชั้น

16. กำแพงเพชร - สถานีประจำจังหวัด สถานีขนาดใหญ่ กม. 113 + 250 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 113 + 350) จาก กม. 250 + 910 ใกล้ทางหลวง 115 ตรงแยก เลี่ยงเมือง ระหว่าง เทศบาลเมือง กำแพงเพชร และ โรบินสันกำแพงเพชร กับ หมู่บ้านไดมอนด์ปาร์คทวิน

17. หนองปลิง - สถานีขนาดเล็ก มีย่านคอนเทนเนอร์ สำหรับกำแพงเพชร กม. 120 + 632 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 120 + 725) จาก กม. 250 + 910 ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร และ MCOT Radio จุดลงรถไปอำเภอพรานกระต่าย เขตกันดารน้ำ

18. ลานดอกไม้ - สถานีขนาดเล็ก กม. 134 + 650 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 134 + 650) จาก กม. 250 + 910

19. โกสัมพี - ที่หยุดรถ กม. 147 + 350 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 147 + 350) จาก กม. 250 + 910 ใกล้ ศาลพ่อปู่ยมราช

20. วังเจ้า- สถานีขนาดเล็ก กม. 157 + 050 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 157 + 050) จาก กม. 250 + 910 โดยรอยต่อแดนอยู่ที่ กม. 155 + 500 จาก กม. 250 + 910 ใกล้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เสริมกสิกิจ จุดลงรถไฟอำเภอวังเจ้า บนทางหลวง 104 มีการแก้ไขทางให้ตรงขึ้นกว่าเดิมโดยไม่อ้อมเขา

21. วังหิน - ที่หยุดรถ กม. 168 + 075 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 168 + 075) จาก กม. 250 + 910 แก้จาก ประดาง ใกล้ สำนักสงฆ์บ้านไร่สามัคคี

สะพานข้ามแม่น้ำปิง ตรง กม. 171 + 000 จาก กม. 250 + 910 เหนือสะพานวังหิน-ประดาง (กิตติคุณ) ใกล้ทองมาฟาร์ม ตรงข้าม ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลประดาง อำเภอวังเจ้า ตาก

22. หนองบัวใต้ กม. 175 + 150 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 172 + 865) จาก กม. 250 + 910 สถานีขนาดกลาง ใกล้โรงแรมแม่ปิงการ์เดน บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และ โรงเรียนบ้านคลองห้วยทราย มี ลานตู้คอนเทนเนอร์ เพราะ ย้ายสถานีตากมาแถวสามแยกแม่สอดแล้ว

ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มีสถานีทั้งหมด 4 สถานี ยาว 68.147 กิโลเมตร จากตากไปสุดระหว่างตีนสะพานมิตรภาพ ไทย - พม่า แห่งที่ 1 และ ตีนสะพานมิตรภาพ ไทย - พม่า แห่งที่ 2

23. ตาก - สถานีประจำจังหวัด สถานีขนาดใหญ่ กม. 181 + 413 จาก กม. 250 + 910 ได้ย้ายมาทางสามแยกแม่สอด ใกล้ สำนักสงฆ์ห้วยนึ่งเทพนิมิต เป็นสถานีลอยฟ้า แทนที่เก่าที่ใกล้วิทยาลัยเทคนิคตาก และ แขวงทางหลวงตากเลขที่ 1

ผ่านอุโมงค์ดอยรวก กม. 196 + 900 ยาว 15.57 กิโลเมตร

24. ด่านแม่ละเมา - สถานีขนาดเล็ก กม. 214 + 575 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 214 + 550) จาก กม. 250 + 910

ผ่านอุโมงค์แม่ละเมา 1 กม. 219 + 350 ยาว 1.42 กิโลเมตร
ผ่านอุโมงค์แม่ละเมา 2 กม. 221 + 220 ยาว 0.76 กิโลเมตร
ผ่านอุโมงค์ดอยพะวอ กม. 223 + 758 ยาว 12 กิโลเมตร

25. แม่ปะ - สถานีขนาดเล็ก กม. 235 + 955 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 236 + 145) จาก กม. 250 + 910 อยู่ใกล้ปลายซอยทางเข้าไร่เปี่ยมสุข

26 แม่สอด - สถานีขนาดใหญ่ กม. 245 + 305 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 245 + 500) จาก กม. 250 + 910 ใกล้ที่พักสงฆ์วิปัสสนามอญ และ แยกแม่ปะ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าตาก

27. สถานีด่านแม่สอด - สถานีขนาดกลาง กม. 250 + 500 (ในภาพวิดิโอจะเป็น กม. 250 + 100) จาก กม. 250 + 910 มี ย่านขนส่งสินค้า (CY ลานคอนเทนเนอร์) และ โรงซ่อมบำรุงขนาดย่อมด้วย ปลายรางที่ กม. 250 + 875 จาก กม. 250 + 910 จะเรียกว่าสถานีท่าสายลวดก็ได้
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/videos/555120942380399


Last edited by Wisarut on 29/09/2021 2:54 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2021 1:14 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย ประชุมหารือมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ตำบลสระแก้ว
ข่าวสังคม

29 กันยายน 2564
วันที่ 28 กันยายน 2564 ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นายสุวรรณ ศุภกิจเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อหารือมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างทางรถไฟสาย แม่สอด - ตาก - กำแพงเพชร – นครสวรรค์ โดยมี เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย และประชาชนในพื้นที่ตำบลสระแก้ว เข้าร่วมประชุม

การประชุมครั้งนี้ เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอภาพรวมการดำเนินงานการศึกษา แนวเส้นทางและรูปแบบในการพัฒนาโครงการ ผลกระทบและมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่ตำบลสระแก้ว และประชาชนที่มีพื้นที่ในตำบลสระแก้วที่มีทางรถไฟตัดผ่านได้ร่วมกันอภิปราย ซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทยอีกด้วย

แผนที่แปลงที่ดิน และรหัสแปลงที่ดินตามแนวทางรถไฟครับ
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
วันที่ 27 กันยายน 2564 เวลา 12:09 น.
นครสวรรค์
https://www.google.com/maps/d/u/0/viewer?mid=1gVySqX-lbrsMpRk3IJ9HXUQXPDSyJtgS&ll=16.46556182902781%2C99.288053&z=7
กำแพงเพชร
https://www.google.com/maps/d/u/0/viewer?mid=1icDWBXXeDzibXjbp663mhzsCkDP5H93g&ll=16.46556182902781%2C99.288053&z=7
ตาก
https://www.google.com/maps/d/u/0/viewer?mid=1L1e209vzqalUi9gxLQVh35Gf393ARD_X&ll=16.46556182902781%2C99.288053&z=7
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/10/2021 7:59 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.แจงความคืบหน้าในการออกแบบรถไฟสายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด
สยามรัฐออนไลน์ 6 ตุลาคม 2564 07:44 น. ข่าวทั่วไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท ) จัดให้มีการประชุมสัมมนาถึงผลความคืบหน้าการสร้างเส้นทางรถไฟแม่สอด -ตาก-นครสวรรค์ โดยจะมีการประชุมระบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ซึ่งในพื้นที่อำเภอแม่สอด จะมีการประชุมที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก(แม่สอด) ถนนร่วมแรง เขตเทศบาลนครแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก

การรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.)ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จะจัดให้มีการประชุม สัมมนา ในพื้น อ.แม่สอด จ.ตาก เส้นทางทางรถไฟสายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด โดยจะมีการชี้แจงถึงความคืบหน้าในการออกแบบโครวการ และเตรียมรายละเอียดของโครงการทางคู่สายใหม่ ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบ ก่อสร้าง เพื่อเตรียมในการเวณคืน และก่อสร้างในอนาคต ณ ห้องประชุมสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก(แม่สอด)

โดยเมื่อวานที่ผ่านมา( 5 ตุลาคม 2564) ได้มีการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อเตรียมข้อมูลในการนำเสนอ รฟท.และที่ประชุมใหญ่ ในส่วนของ ภาครัฐ ภาคเอกชน อปท. ในพื้นที่ อ.แม่สอด เช่น นายชัยวัฒน์ วิทิตธรรมวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก นายสรรพสิริ อรชัยพันธ์ลาภ นายกเทศมนตรีตำบลท่าสายลวด นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่นสภาผู้แทนราษฎร และ อดีตนายกเทศมนตรีนครแม่สอด ว่าที่ พ.ต.ไพฑูรย์ ปริญญาธรรมกุล รักษาราชการแทนรองปลัดเทศบาลนครแม่สอด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมสัมมนากลุ่มย่อยฯ

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมสัมมนาในวันนี้ จะได้มีการนำเสนอข้อมูลความคืบหน้า ของโครงการ การก่อสร้างเส้นทางรถไฟแม่สอด - ตาก - นครสวรรค์ จะได้มีการรายงานข่าวให้ทราบ ถึงความคืบหน้าล่าสุด ของเส้นทางรถไฟสายนึ้ ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2021 9:43 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.แจงความคืบหน้าในการออกแบบรถไฟสายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด
สยามรัฐออนไลน์ วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:44 น. ข่าวทั่วไทย


เส้นทางรถไฟสายใหม่"นครสวรรค์-แม่สอด"เปิดฟ้าเมืองตาก
หน้าเศรษฐกิจมหภาค ภูมิภาค
วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:09 น.

รฟท.จัดเวทีรับฟังความเห็น การศึกษาออกแบบรายละเอียด เส้นทางรถไฟสายใหม่"นครสวรรค์-แม่สอด" นัดที่ 3 ก่อนสรุปผลครั้งสุดท้าย มุอุโมงค์ทางรถไฟยาวสุดของไทย หนุนแม่สอดสู่เมืองประตูชายแดนด้านตะวันตก บูมเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว เชื่อมโยงเพื่อนบ้านอาเซียน

วันที่ 6 ตุลาคม 2564 นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก รักษาการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา สรุปผลการศึกษา (สัมมนาครั้งที่ 3) งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างทางรถไฟ สายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์


โดยมีผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เข้าร่วมการประชุมผ่านระบบ Zoom conference ที่ห้องประชุมทีลอซู ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดตาก อ.เมือง จ.ตาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เป็นการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่สำคัญของประเทศ บนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออกตะวันตก(East West Economic Corridor-EWEC) ส่งเสริมให้แม่สอด เป็นเมืองหน้าด่านประตูการค้าชายแดน เชื่อมโยง Asean Economics Community - AEC ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก (แม่สอด=พบพระ=แม่ระมาด)


ทั้งโครงการต่อเนื่อง และโครงการใหม่ที่มีความพร้อม โดยโครงการดังกล่าว เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง ที่กระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ

ซึ่งการพัฒนาระบบรถไฟสามารถลดระยะเวลา และประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการทางรางให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวตามแหล่งสถานที่ที่สำคัญในเขตภาคเหนือ


แนวเส้นทางรถไฟโครงการนี้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก มี 24 สถานี ระยะทาง 186.77 กิโลเมตร และ
ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มี 5 สถานี ระยะทาง 68.15 กิโลเมตร

สำหรับในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มี 7 สถานีและที่หยุดรถ ได้แก่
1. สถานีบึงเสนาท
2. สถานีบ้านมะเกลือ
3. สถานีมหาโพธิ -
4. สถานีเก้าเลี้ยว -
5. ที่หยุดรถบ้านตาหงาย
6. สถานีเจริญผล
7. ที่หยุดรถตาขีด

สำหรับในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 สถานีและที่หยุดรถ ได้แก่
1. สถานีป่าพุทรา -
2. ที่หยุดรถยางสูง
3. สถานีวังแขม
4. ที่หยุดรถวังยาง
5. สถานีท่ามะเขือ
6. ที่หยุดรถวังบัว
7. สถานีคณฑี -
8. ที่หยุดรถเทพนคร
9. สถานีกำแพงเพชร -
10. สถานีหนองปลิง
11. สถานีลานดอกไม้ -
12. ที่หยุดโกสัมพี

สำหรับในพื้นที่จังหวัดตาก มี 8 สถานี ได้แก่
1. สถานีวังเจ้า
2. สถานีวังหิน ,
3. สถานีหนองบัวใต้ ,
4. สถานีตาก ,
5. สถานีด่านแม่ละเมา ,
6. สถานีแม่ปะ ,
7. สถานีแม่สอด และ
8. สถานีด่านแม่สอด


สำหรับการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาโครงการด้านวิศวกรรม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด และท้องถิ่นในจังหวัดตามแนวเส้นทาง ได้แสดงความคิดเห็น และน่าจะเป็นรอบสุดท้าย เพื่อนำมาประกอบการดำเนินการออกแบบรายละเอียดในขั้นตอนต่อไป

หากมีการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเป็นทางรถไฟสายที่มีการขุดเจาะอุโมงค์ยาวที่สุดในประเทศ โดยจะมีอุโมงค์รวม 4 แห่ง และนับเป็นเส้นทางรถไฟสายเปิดฟ้าเมืองตาก พัฒนาสู่ความเจริญที่ยั่งยืน ทั้งเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวการค้าระหว่างประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2021 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

นำเสนอแนวเส้นทางรถไฟทางคู่สายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ จากการออกแบบรายละเอียด....โดย นายชัยศักดิ์ ไชยเจริญ วิศวกรโครงการ
โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
วันศุกร์ ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:41 น.

(ผลการศึกษาช่วงเดือนกันยายน 2564 ทั้งนี้ ช่วงการพัฒนาเส้นทางแบ่งออกเป็นช่วงที่ 1 ช่วงนครสวรรค์ถึงจังหวัดตาก และช่วงที่ 2 ช่วงจังหวัดตากถึงอำเภอแม่สอด ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการแต่ละช่วง อาจมีการปรับปรุงตามข้อคิดเห็นจากกิจกรรมการีส่วนร่วมของประชาชน ในการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 และการประชุมสัมมนาครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนตุลาคม 2564)
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/videos/307052754226096
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2021 8:50 pm    Post subject: Reply with quote

MR-MAP หนุน ‘ระนอง-แม่สอด’เชื่อม 2 ฝั่งโลก
หน้าเศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:17 น.

ตีพิมพ์ใน หน้า10
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,739
วันที่ 11-15 ธันวาคม พ.ศ.2564

MR-MAP โครงข่ายเชื่อมไทยทั่วภูมิภาค MR8 หนุนแลนด์บริดจ์โยงชุมพร-ระนอง รองรับตู้สินค้าข้าม 2 ฟากมหาสมุทร “แปซิฟิก-อินเดีย” ตามยุทธศาสตร์เปิดประตูฝั่งทะเลตะวันตกที่ระนอง ขณะ MR4 รองรับแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก เสริมแกร่งแม่สอด ที่จะมีครบทั้งทางบก ราง อากาศ

เมื่อ 8 ธันวาคม 2564 นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการ และรับฟังความคิดเห็น ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ของสำนัก งานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม



เนื่องจากช่องแคบมะละกามีความหนาแน่นสูง จากปริมาณเรือปีละ85,000 ลำ/ปี ใกล้เต็มความจุที่ 122,000 ลำต่อปี โดยคาดจะมีถึง128,000 ลำในอีก 10 ปี ทำให้เสียเวลามาก

โครงการแลนด์บริดจ์เชื่อมชุมพร-ระนอง รองรับการขนส่งสินค้าฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ทดแทนช่องแคบมะละกา

โครงการนี้ (Land Bridge) เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การสังคม ของโครงการฯ เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ตลอดจนออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น ประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ วิเคราะห์การร่วมลงทุนของเอกชน และรูปแบบการลงทุน



โดยแนวคิดการพัฒนาสร้างท่าเรือชุมพร กำหนดให้เป็นท่าเรือนํ้าลึกที่ทันสมัย โดยนำระบบออโตเมชั่นมาใช้เพื่อ ยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port ส่วนท่าเรือระนอง กำหนดให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทนเนอร์และเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามัน ไปเชื่อมโยงกับท่าเรือกลุ่มประเทศแถบเอเชียใต้ และบูรณาการ ร่วมกับการพัฒนามอเตอร์เวย์ และทางท่อ (MR-MAP) ไปพร้อมกันทีเดียว


นายพรศักดิ์ แก้วถาวร ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า หอการค้า ระนองและภาคเอกชนเห็นด้วย และพร้อมสนับสนุน โครงการแลนด์บริดจ์ ที่เป็นห่วง คือ ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิที่ดินในพื้นที่จังหวัดระนอง และการที่พื้นที่โครงการก่อสร้างอาจติดเขตป่า รวมถึงใกล้กับโครงการมรดกโลก



ด้านนายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า อีกประเด็นคือความชัดเจนเรื่องเส้นแนวทางของระบบรางชุมพร-ระนอง จากที่บอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะอนุมัติจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ออกแบบรายละเอียดและทำรายงาน EIA ทางรถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง ตามแนวสายทางที่สนข.ศึกษาไว้เมื่อปี 2561 ซึ่งเป็นแนวคู่ขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) เดิมเพื่อเชื่อมฐานการผลิตอีอีซี



แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นรองรับการขนส่งสินค้าข้าม 2 มหาสมุทร ตามโครงการแลนด์บริดจ์ เบื้องต้นจะปรับแก้ไขแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนองใหม่ ที่จะเปลี่ยนมาเริ่มที่แหลมรั่ว ต.บางนํ้าจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ผ่าน อ.พะโต๊ะ ไปสิ้นสุดที่อ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง


การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ร่วมกับระบบราง (ทางรถไฟ) หรือ MR-MAP นั้นกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม กำหนดไว้ 10 เส้นทาง ในส่วนของชุมพร-ระนอง อยู่ในเส้นทาง MR 8 เชื่อมต่อท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC รวมระยะทาง 94 กิโลเมตร



นอกจากแลนด์บริดจ์นประเทศแล้ว การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก(EWEC) ที่เชื่อมโยงระดับภูมิภาค ด้านตะวันตกของไทยคือที่อ. แม่สอด จ.ตาก เชื่อมเข้าเมียนมา และด้านตะวันออกที่มุกดาหาร หรือนครพนม เชื่อมสปป.ลาว ทะลุถึงเวียดนามนั้น หากเดินทางได้ตลอดเส้นทางก็สามารถเชื่อมท่าเรือฝั่งเวียดนามออกมหาสมุทรแปซิฟิก กับเมียนมาออกมหาสมุทรอินเดียได้


โดยแนวเส้นทาง MR4 ด่านแม่สอด-ด่านนครพนม ระยะทาง 840 กิโลเมตร เป็นโครงข่ายเพื่อการพัฒนาบนระเบียงเศรษฐกิจ EWEC เสริมโครงการคมนาคมหลากรูปแบบ ทั้งทางถนน (สี่เลน-มอเตอร์เวย์) ราง(ทางรถไฟสายใหม่นครสวรรค์-แม่สอด) ทางอากาศ (ท่าอากาศ ยานนานาชาติแม่สอด)

จะช่วยเพิ่มศักยภาพการค้า การลงทุน การเดินทางท่องเที่ยวทั้งภายในและระหว่างประเทศ จากด่านแม่สอด ที่เป็นประตูสู่อันดามัน ต่อเข้าไปยังอินเดีย จนถึงตะวันออกกลางและยุโรป และยังเป็นหน้าด่านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน



6 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้จัดประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ (สัมมนาครั้งที่ 3) งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงาน EIA โครงการนี้ พร้อมรับฟังความคิดเห็น กับจังหวัดแนวเส้นทางเป็นรอบสุดท้าย เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป

"Truck Show"แม่สอด สมาคมขนส่งตากประชุมใหญ่เตรียมรับ"เปิดด่าน"
หน้าเศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันเสาร์ ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:14 น.

สมาคมขนส่งสินค้าตากประชุมใหญ่ประจำปีที่แม่สอด พร้อมจัดงาน" TAK TRUCK SHOW 2021" เตรียมพร้อมรับเปิดประเทศ เปิดการค้าชายแดนเต็มรูปแบบ

วันที่ 11 ธันวาคม 2564 นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมใหญ่ สามัญประจำปี 2564 สมาคมขนส่งสินค้าจังหวัดตาก โอกาสนี้มีการจัดงาน" TAK TRUCK SHOW 2021" ณ บริเวณลานจอดรถห้างสรรพสินค้าโรบินสันแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก



โดยมีนายสุรชัย วีระสมเกียรติ นายกสมาคมขนส่งจังหวัดตาก กล่าวต้อนรับ และรายงานถึงวัตถุประสงค์ในการจัดการประชุม จากนั้นนายเคน อิวาโมโต้ ผู้บริหารบริษัท ฮีโน่มอเตอร์ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนการจัดงาน ยังได้กล่าวแสดงความยินดี


โดยมีนายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล นายอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก, พ.ต.อ.มนต์ศักดิ์ แก้วอ่อน ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรแม่สอด ,นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย,พลเรือโทพิสิษฐ์ กลิ่นเฟื่อง ที่ปรึกษาการขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย, ว่าที่ ร.ต.ประเสริฐ ปวงละคร นายกเทศมนตรีนครแม่สอด,นายพรชัย สิทธิวงศ์ เลขาธิการสมาคมขนส่งสินค้าจังหวัดตาก, ผู้แทนหอการค้าจังหวัดตาก,ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ผู้ประกอบการธุรกิจการขนส่ง พ่อค้า นักธุรกิจ ร่วมให้การต้อนรับ



หลังจากที่นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รรท.ผวจ.ตาก ได้กล่าวเปิดงาน ได้นำผู้เข้าร่วมงานเยี่ยมชมบูธแสดงสินค้าบริเวณงาน และชมนิทรรศการในการจัดงาน โดยมีผู้เดินทางเข้าร่วมงานจำนวนมาก


ทั้งนี้ ที่ประชุมสามัญประจำปี 2564 สมาคมขนส่งสินค้าจังหวัดตาก นอกจากรายงานการดำเนินการประจำปีสมาคมฯแล้ว ยังแจ้งความคืบหน้า รองรับการเตรียมเปิดชายแดนเพื่อกลับสู่การค้าชายแดนเต็มรูปแบบ รวมทั้งการข้ามไปมาของพ่อค้าชายไทย-เมียนมา



รวมทั้งแจ้งความคืบหน้าการพัฒนาระบบเส้นทางคมนาคม (MR-MAP) ไทยเชื่อมโลก ผ่านแม่สอด ประตู AEC สู่อันดามัน โดยแนวเส้นทาง MR4 ด่านแม่สอด-ด่านนครพนม ได้บรรจุเป็น 1 ใน 10 แนวเส้นทาง ในแผนแม่บทโครงข่ายทางด่วนพิเศษ(มอเตอร์เวย์) ร่วมกับระบบราง(ทางรถไฟ) ของกระทรวงคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งแนวตะวันตก-ตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/03/2022 3:36 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 15:37 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374938271123211

"สรุปข้อมูลโครงการ(1)" เส้นทางรถไฟ
โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดย ช่วงที่ 1 ผ่านจังหวัด นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก และช่วงที่ 2 ผ่านจังหวัดตาก-แม่สอด

ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก ระยะทาง 183 กิโลเมตร ประกอบด้วย 23 สถานี

จุดเริ่มต้นของโครงการอยู่ที่สถานีรถไฟปากน้ำโพ แนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายข้ามแม่น้ำน่านมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ผ่านพื้นที่ อ.เมืองนครสวรรค์ เข้าสู่สถานีบึงเสนาท กม.ที่ 3+600 ตัดผ่านแนวเส้นทางโครงการทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ฝั่งตะวันออก กม.ที่ 6+500 เข้าสู่สถานีบ้านมะเกลือ กม.ที่ 10+350 ผ่านพื้นที่ อ.เก้าเลี้ยว เข้าสู่สถานีมหาโพธิ กม.ที่ 15+750 และแนวเส้นจะเบี่ยงแนวไปทางด้านทิศตะวันตกตัดกับทางหลวงหมายเลข 117 กม.ที่ 21+000 เข้าสู่สถานีเก้าเลี้ยว กม.ที่ 23+200 และเข้าสู่สถานีบางตาหงาย กม.ที่ 30+175 ผ่านพื้นที่ อ.บรรพตพิสัย เข้าสู่สถานีเจริญผล กม.ที่ 38+100 และเข้าสู่สถานีตาขีด กม.ที่ 49+250 เข้าสู่จังหวัดกำแพงเพชร อ.ขาณุวรลักษบุรี กม.ที่ 50+000 เข้าสู่สถานีป่าพุทรา กม.ที่ 55+800 ผ่านเข้าพื้นที่ อ.คลองขลุง เข้าสู่สถานียางสูง กม.ที่ 64+000 เข้าสู่สถานีวังแขม กม.ที่ 69+525เข้าสู่สถานีวังยาง กม.ที่ 74+215 เข้าสู่สถานีท่ามะเขือ กม.ที่ 78+700 เข้าสู่สถานีวังบัว กม.ที่ 87 +750 ผ่านเข้าพื้นที่ อ.เมืองกำแพงเพชร เข้าสู่สถานีคณฑี กม.ที่ 94+950 เข้าสู่สถานีเทพนคร กม.ที่ 104+350 แนวเส้นทางจะตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 115 กม.ที่ 112+375 เข้าสู่สถานีกำแพงเพชร กม.ที่ 113+350 เข้าสู่เข้าสู่สถานีหนองปลิงและกำหนดให้มีย่านขนส่งสินค้า กม.ที่ 120+725 เข้าสู่สถานีลานดอกไม้ กม.ที่ 134+650 ผ่านเข้าพื้นที่ อ.โกสัมพีนคร เข้าสู่สถานีโกสัมพี กม.ที่ 147+350 และเข้าสู่จังหวัดตาก กม.ที่ 155+500 ผ่านเข้าสู่พื้นที่อ.เมืองตาก สถานีวังเจ้า กม.ที่ 157+050 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 104 กม.ที่ 158+860 เข้าสู่สถานีวังหินกม.ที่ 168+075 จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงแนวไปทางด้านทิศตะวันตกข้ามแม่น้ำปิง กม.ที่ 172+865 เข้าสู่พื้นที่ อ.วังเจ้า และมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ เข้าสู่เขต อ.เมืองตาก สถานีหนองบัวใต้และกำหนดให้มีย่านขนส่งสินค้าและแนวเส้นทางช่วงที่ 1 จะสิ้นสุดก่อนถึงสถานีตาก ซึ่งแนวเส้นทางจะเลี้ยวไปทางด้านทิศตะวันตกตัดกับทางหลวงหมายเลข 1 บริเวณ กม.ที่ 180+856 บริเวณทางแยกตากแม่สอด ซึ่งจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งสถานีตากโดยมีระยะทางในช่วงที่ 1 สิ้นสุด กม.ที่ 183+000 ก่อนจะเข้าสู่สถานีตาก

ช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอดจะพาดผ่านพื้นที่จังหวัดตาก มีระยะทาง 67.02 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นที่ กม.183+000 ต่อจากช่วงที่ 1ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่ สถานีด่านแม่ละเมา สถานีแม่ปะ สถานีแม่สอด และสถานีด่านแม่สอด จุดสิ้นสุดโครงการที่ กม.250+020 ในช่วงที่ 2 จะมีอุโมงค์ 4 แห่ง ได้แก่ อุโมงค์แห่งที่ 1 อุโมงค์ดอยรวก มีระยะทาง 15.5 กิโลเมตร อุโมงค์แห่งที่ 2 อุโมงค์แม่ละเมา มีระยะทาง 1.42 กิโลเมตร อุโมงค์แห่งที่ 3 อุโมงค์แม่ละเมา มีระยะทาง 0.765 กิโลเมตรอุโมงค์แห่งที่ 4 อุโมงค์ดอยพะวอ มีระยะทาง 12 กิโลเมตร

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)

Click on the image for full size



โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 15:42 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374940331123005

"สรุปข้อมูลโครงการ (2)" โครงสร้างสะพาน
สะพานรถไฟช่วงสั้น (ความยาวช่วง 10-15 เมตร)
โครงสร้างสะพานแบบแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก (R/C Slab) โครงสร้างสะพานรูปแบบนี้ใช้กับความยาวช่วงสะพาน 10 เมตร โดยออกแบบเป็นโครงสร้างสะพานแบบแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กรองรับรถไฟทางคู่ โครงสร้างส่วนบนวางอยู่บนตอม่อตับริมเป็นแบบ Abutment

โครงสร้างสะพานแบบคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง (Multi-Box Beam) โครงสร้างสะพานรูปแบบนี้ใช้กับความยาวช่วงสะพาน 15 เมตร โดยออกแบบเป็นโครงสร้างสะพานแบบคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องรองรับรถไฟทางคู่ โดยโครงสร้างสะพานส่วนบนวางอยู่บนตอม่อตับกลางแบบเสาคู่ ตอม่อตับริมเป็นแบบ Abutment
สะพานรถไฟช่วงยาวปานกลาง (ความยาวช่วง 20-30 เมตร)
โครงสร้างสะพานช่วงยาวปานกลางที่มีความยาวประมาณ 20-30 เมตร เหมาะสำหรับใช้ข้ามลำคลองที่มีความกว้างมากพอสมควร ที่มีการสัญจรทางเรือ หรือใช้กับการข้ามถนนทางหลวงต่าง ๆ โดยรูปแบบโครงสร้างสะพานเป็นแบบคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ (Prestressed Concrete I-Girder) วางอยู่บนตอม่อตับกลางแบบโครงเสาคู่ ตอม่อตับริมเป็นแบบ Abutment

สะพานรถไฟช่วงยาว (ความยาวช่วงมากกว่า 30 เมตร)

โครงสร้างสะพานเหล็กถัก (Through Truss) โครงสร้างสะพานเหล็กถักใช้สำหรับสะพานที่มีช่วงความยาว 40-50 เมตร สำหรับข้ามคลองชลประทานหรือถนนเพื่อให้มีระยะลอดใต้สะพานที่มากที่สุด โดยโครงสร้างสะพานส่วนบนวางอยู่บนตอม่อตับกลางแบบเสาคู่ ตอม่อตับริมเป็นแบบ Abutment

โครงสร้างสะพานรูปแบบ Balance Cantilever ส่วนโครงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง คลองขนาดใหญ่ และทางหลวงที่จำเป็นต้องมีช่วงพาดยาวนั้น ใช้โครงสร้างสะพานรูปแบบ Balance Cantilever ซึ่งมีระยะช่วงพาดประมาณ 60-120 เมตร โดยโครงสร้างสะพานส่วนบนถูกรองรับโดยตอม่อตับกลางแบบเสาเดี่ยวและตอม่อตับริมเป็นแบบ Abutment

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)



โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 15:45 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374942664456105

"สรุปข้อมูลโครงการ (3)" โครงสร้างคันทางรถไฟ
ประกอบด้วยชั้นโครงสร้างหลักได้แก่ ชั้นหินโรยทาง (Ballast), ชั้นรองหินโรยทาง (Sub Ballast), ชั้นรองพื้นทาง (Subbase), ชั้นวัสดุคัดเลือก (Subgrade) และดินถมคันทาง (Placed Soil Fill หรือ Compacted Fill Materials) และชั้นดินเดิมตามธรรมชาติ (Natural Ground) โดยวัสดุที่นำมาใช้จะคัดเลือกตามมาตรฐานที่การรถไฟกำหนด ส่วนดินถมคันทางจะเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับแนวรถไฟตัดผ่าน โดยชั้นดินถมคันทางจะต้องมีลักษณะและคุณสมบัติขั้นต่ำตามมาตรฐานเช่นกัน
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของโครงการมีระดับดินเดิมต่ำกว่าระดับออกแบบของคันทางรถไฟที่กำหนดดังนั้น จึงต้องมีการถมดินเพื่อยกระดับคันทางรถไฟเป็นจำนวนมาก ซึ่งความสูงของคันดินถมและคุณสมบัติของดินฐานรากในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น การออกแบบงานดินถมคันทางรถไฟในโครงการนี้จึงสรุปได้เป็น 4 รูปแบบ แบ่งตามความสูงของงานดินถมคันทางรถไฟและคุณสมบัติของดินฐานราก
1) รูปแบบ A - คันทางรถไฟกรณีถมดินต่ำกว่า 2 เมตร
พิจารณาให้มีการลดแรงดันน้ำบริเวณใต้คันทางรถไฟด้วยรางระบายใต้ผิวดิน (Subdrain)
2) รูปแบบ B1 - คันทางรถไฟที่มีความสูงมากกว่า 2 เมตร แต่ไม่เกิน 7 เมตร
ไม่มีการใช้รางระบายน้ำใต้ผิวดิน เนื่องจากคันทางรถไฟอยู่สูงจากระดับดินเดิมมาก
3) รูปแบบ B2 - คันทางรถไฟที่มีความสูงมากกว่า 2 เมตร แต่ไม่เกิน 7 เมตร
ในกรณีที่ดินฐานรากบริเวณใกล้ผิวดินเป็นชั้นดินทราย ให้ทำการขุดลอกชั้นดินออก 1 เมตร แล้วจึงทำการบดอัดดินหนา 2 เมตร ด้วยวัสดุที่มีค่า CBR > 10% ก่อนทำการถมดินคันทางรถไฟ
4) รูปแบบ MSE - กำแพงกันดินเสริมกำลัง (Mechanically Stabilized Earth Wall, MSE Wall)
ในกรณีที่ต้องถมดินคันทางรถไฟสูงกว่า 7 เมตร กำหนดก่อสร้างด้วยกำแพงดินเสริมกำลังแทน

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/03/2022 3:47 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374943894455982

"สรุปข้อมูลโครงการ (4)" โครงสร้างอุโมงค์

เส้นทางรถไฟตามแนวสายทางที่ออกแบบช่วงระหว่าง อ.เมืองตาก และ อ.แม่สอด จะตัดผ่านพื้นที่ภูเขาสูง ซึ่งจะต้องก่อสร้างเป็นอุโมงค์เพื่อวางรางรถไฟทางคู่ทิศทางสวนกันใน 3 ช่วง ได้แก่ ดอยรวก แม่ละเมา และพระวอ โดยแบ่งเป็น 4 อุโมงค์ ความยาว 15.5 กม., 1.4 กม., 0.8 กม. และ 12 กม. ซึ่งจะเรียกว่า อุโมงค์ I, II,III, IV ตามลำดับ สำหรับอุโมงค์ I จะอยู่ใกล้สถานีรถไฟตากมากที่สุด และไล่ตามลำดับไปหาสถานีแม่สอด เนื่องจากอุโมงค์ I และ IV จัดว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวมาก เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะถือว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวมากที่สุดในประเทศไทย จึงได้เลือกใช้ระบบอุโมงค์คู่รางเดี่ยว (Twin tunnels) มีทางเชื่อม (Cross passages) ระหว่างอุโมงค์ทุก ๆ ระยะ 500 เมตร ซึ่งทำให้ผู้โดยสารสามารถอพยพหนีภัยไปยังอุโมงค์อีกด้านหนึ่งได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ สำหรับบริเวณปากอุโมงค์ได้ออกแบบให้รางรถไฟทั้งสองรางวิ่งเข้าปากอุโมงค์ใหญ่ร่วมกันแล้วค่อยผายออกเป็นอุโมงค์คู่รางเดี่ยวภายในภูเขา เพื่อลดขนาดพื้นที่ก่อสร้างบริเวณปากอุโมงค์ และทำให้เขตทางสำหรับทางยกระดับช่วงก่อนเข้าอุโมงค์แคบลง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการสร้างปากอุโมงค์แต่ละข้างแยกจากกัน สำหรับอุโมงค์ II และ III จะมีความยาวแต่ละอุโมงค์ไม่มากและอยู่ติดต่อในพื้นที่บริเวณเดียวกัน จึงได้เลือกใช้ระบบอุโมงค์เดี่ยวรางคู่ เพื่อความต่อเนื่องของแนวการเดินรถไฟที่วิ่งออกจากปากอุโมงค์ I และ IV ในกรณีที่ต้องอพยพออกจากอุโมงค์ผู้โดยสารจะสามารถอพยพออกทางปากอุโมงค์ได้โดยตรง

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 15:50 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374945237789181

"สรุปข้อมูลโครงการ (5)" รูปลักษณ์และอัตลักษณ์อาคารสถานี

โดยภาพรวมของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของทั้ง 3 จังหวัด นครสวรรค์ กำแพงเพชร และตากจะมีความคล้ายคลึงกัน ที่ปรึกษาฯ จึงนำอัตลักษณ์ของพื้นที่มาเป็นหลักในการออกแบบรูปลักษณ์อาคารสถานี ดังนี้
ดอกไม้ประจำจังหวัด ลักษณะเด่นของสถานีทั้ง 3 จังหวัด นครสวรรค์ กำแพงเพชร และตาก ได้นำดอกไม้ประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบ โดยใช้รูปแบบของดอกไม้ นำมาออกแบบเป็นลวดลายที่สวยงามเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถานี ในแต่ละจังหวัด

วัสดุประจำจังหวัด จังหวัดนครสวรรค์ ‘นครสวรรค์ ถิ่นแคว้นแดนมังกร’ เกล็ดมังกรสามารถนำมาใช้เป็นแนวคิดในการตกแต่งผนัง โดยเลือกใช้กระเบื้องดินเผาทรงลิ่ม เพื่อให้มีความคล้ายคลึงกับเกล็ดมังกรได้ จังหวัดกำแพงเพชร สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่นี่ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นด้วยศิลาแลง เนื่องจากจังหวัดกำแพงเพชรเป็นแหล่งที่สามารถพบเจอได้ทำให้ศิลาแลงเข้ามามีบทบาทต่องานสถาปัตยกรรมในยุคนั้น การนำศิลาแลงมาใช้จึงช่วยแสดงถึงความเป็นเมืองทางประวัติศาสตร์ จังหวัดตาก แสดงถึงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศคิดเป็นร้อยละ 72.1 ของพื้นที่จังหวัด สภาพพื้นที่ประกอบด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สามารถใช้ความงดงามของถ้ำสีฟ้าซึ่งเกิดจากหินปูนทำปฏิกิริยาทางธรรมชาติ หินตะกอนมีการทับถมเป็นชั้นๆ เกิดเป็นลายสลับกัน การออกแบบโดยนำรูปแบบการเรียงตัวของชั้นหินผสมผสานกับสีของอัญมณี สามารถแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของแม่สอดได้เป็นอย่างดี

สัตว์ประจำจังหวัด จังหวัดนครสวรรค์ มีความเชื่อเรื่องมังกร มีประเพณีประจำจังหวัดที่จัดขึ้นในวันตรุษจีนของทุกปี จังหวัดกำแพงเพชร มีปลาตะพากเหลืองเป็นสัตว์ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นปลาพื้นเมืองในแม่น้ำปิง อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนในจังหวัดมายา วนาน ใช้ฐานหินศิลาแลงก่อเรียงล้อมตัวปลาเป็นเสมือนชื่อเมือง“กำแพงเพชร” หมายถึงกำแพงที่แข็งแรงและสวยงาม จังหวัดตาก มีปลาตะพากส้มเป็นสัตว์ประจำจังหวัด อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำปิง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีศิลปะการแสดงของชาวไทใหญ่ในอำเภอแม่สอดที่มีเอกลักษณ์เป็นการฟ้อนรำ ชื่อ “นกกิ่งกะหร่า” มาจากภาษาบาลีว่า กินนรหรือกินรีเป็นสัตว์ในเทพนิยายหัวเป็นคนตัวเป็นนก ผู้แสดงจะแต่งกายเลียนแบบนก เป็นการแสดงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จลงจากสวรรค์

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 15:51 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374948311122207


"สรุปข้อมูลโครงการ (6)" ผังย่านสถานี
1) การออกแบบผังย่านสถานี โดยพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับแผนการเดินรถ และการสัญจรเข้า-ออกสถานี มีสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคครบถ้วน รวมทั้งสอดคล้องกับข้อกำหนดทางด้านสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงการพัฒนาของย่านสถานีและพื้นที่โดยรอบสถานีในอนาคต
2) การออกแบบวางผังแม่บทของย่านสถานี โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในด้านพื้นที่ใช้สอยของที่ตั้งสถานีแห่งใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน รองรับการสัญจรและการขยายตัวในอนาคตรวมถึงการให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม โดยการจัดสรรพื้นที่ด้วยการออกแบบวางผังอย่างเหมาะสม โดยผังย่านสถานีรถไฟจะประกอบด้วย
2.1) ส่วนสถานีและลานสถานี เป็นพื้นที่ที่จะมีการใช้งานสูงสุดสำหรับผู้โดยสาร การวางผังส่วนนี้ต้องคำนึงถึงการเข้า-ออกสู่สถานีและสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ได้อย่างสะดวก
2.2) ส่วนขนส่งสินค้าและลานรับสินค้า ในย่านสถานีที่สำคัญๆ ควรมีการจัดเตรียมย่านสำหรับขบวนสินค้าและลานรับ-ส่งสินค้าไว้ด้วย
2.3) ส่วนพื้นที่เพื่อระบบการเดินรถ เป็นส่วนสำคัญสูงสุดเพื่อให้รองรับการเดินรถทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างเพียงพอ การวางผังส่วนนี้ต้องจัดเตรียมพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับขบวนรถที่จะเข้าสู่สถานี พื้นที่สำหรับรางสับหลีกของขบวนรถ และมีการกำหนดเขตพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ การจำกัดสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ในระยะที่กำหนด
2.4) ส่วนพื้นที่เพื่อการซ่อมบำรุง สำหรับย่านสถานีขนาดใหญ่ที่ต้องมีโรงซ่อมบำรุงและที่ทำการของเจ้าหน้าที่ส่วนซ่อมบำรุงต้องมีการจัดเตรียมพื้นที่ส่วนนี้ไว้
2.5) ส่วนพื้นที่พักอาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ โดยเป็นกลุ่มอาคารบ้านพักสำหรับเจ้าหน้าที่ รวมถึงพื้นที่เพื่อการสันทนาการต่าง ๆ
2.6) ส่วนพื้นที่เพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ย่านสถานีรถไฟส่วนมากจะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาของเมือง ผังแม่บทของย่านสถานีควารมีการจัดเตรียมพื้นที่ส่วนนี้ไว้ตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อป้องกันปัญหาการรุกล้ำพื้นที่และการก่อสร้างอาคารที่จะเป็นปัญหาต่อการขยายตัวในอนาคตของรถไฟ
2.7) ส่วนพื้นที่เพื่อชุมชน การวางผังส่วนนี้อาจรวมอยู่ในพื้นที่ของลานสถานีและกลุ่มบ้านพักอาศัยเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของสถานีและย่านสถานี

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/03/2022 3:56 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 15:53

"สรุปข้อมูลโครงการ (7)" ที่ตั้งอาคารสถานี

ที่ตั้งอาคารสถานีวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ที่ครอบคลุมปัจจัยหลัก 4 ด้าน คือ ด้านการเดินรถ ด้านวิศวกรรมจราจร ด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยหลักด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งช่วงสถานีทั้ง 27 สถานี ออกเป็น 2 ช่วง โดยแบ่งเป็นช่วงที่ 1 จำนวน 23 สถานี และช่วงที่ 2 จำนวน 4 สถานี

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)

Click on the image for full size

Click on the image for full size


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 15:54 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374950347788670

"สรุปข้อมูลโครงการ ( 8 )"ที่หยุดรถ

ที่หยุดรถ ประกอบด้วยชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่ไม่มีลิฟต์ จำนวน 2 จุดทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 2,250 ตารางเมตร ที่หยุดรถมี 8 สถานี ได้แก่ สถานีบางตาหงาย สถานีตาขีด สถานียางสูง สถานีวังยาง สถานีวังบัว สถานีเทพนคร สถานีโกสัมพี และสถานีวังหิน

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 15:58 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374952067788498

"สรุปข้อมูลโครงการ (9)" สถานีขนาดเล็ก

สถานีขนาดเล็ก (แบบที่ 1) ประกอบด้วย ชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,060 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี 535 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 2,525 ตารางเมตร
สถานีขนาดเล็ก (แบบที่ 2) ประกอบด้วย ชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,200 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี 675 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 2,525 ตารางเมตร
สถานีขนาดเล็กมี 9 สถานี ได้แก่ สถานีมหาโพธิ์ สถานีป่าพุทรา สถานีวังแขม สถานีท่ามะเขือ สถานีหนองปลิง สถานีลานดอกไม้ สถานีวังเจ้า สถานีด่านแม่ละเมา และสถานีแม่ปะ

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/03/2022 4:03 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:00 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374954181121620

"สรุปข้อมูลโครงการ (10)" สถานีขนาดกลาง

สถานีขนาดกลาง ประกอบด้วย ชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 210 เมตร กว้างชานละ 4 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 3,200 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี675 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 2,525 ตารางเมตร สถานีขนาดกลางมี 7 สถานี ได้แก่ สถานีบึงเสนาท สถานีบ้านมะเกลือ สถานีเก้าเลี้ยว สถานีเจริญผล สถานีคณฑี สถานีหนองบัวใต้ และสถานีด่านแม่สอด

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:02 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374955537788151

"สรุปข้อมูลโครงการ (11)" สถานีขนาดใหญ่

สถานีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ชานชาลาแบบด้านข้าง (Siding Platform) ยาว 350 เมตร กว้างชานละ 4-7 เมตร พร้อมทางข้ามที่มีลิฟต์ 1 จุด และไม่มีลิฟต์อีก 1 จุด ทางด้านซ้าย-ขวา รวมพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 7,950 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารสถานี 1,400 ตารางเมตร และชานชาลาพร้อมทางข้าม 6,550 ตารางเมตร สถานีขนาดใหญ่มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกำแพงเพชร สถานีตาก และสถานีแม่สอด
(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:04 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374956727788032

"สรุปข้อมูลโครงการ (12)" ทางข้ามชานชาลา

ทางข้ามชานชาลามีทั้งหมด 2 รูปแบบ แบ่งตามชนิดชั้นของสถานี ที่มีจำนวนของชานชาลา ความยาว และแนวรางรถไฟที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่
1) ทางข้ามชานชาลาสำหรับที่หยุดรถ มีชานชาลา 2 ฝั่ง สำหรับขาขึ้นและขาล่อง ชานชาลายาว 210 เมตร โดยทุกแห่งจะมีทางเชื่อมที่กลางชานชาลา 1 จุด ดังนี้
1.1) บันไดสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้พิการหรือทุพพลภาพ 2 บันได บันไดแต่ละช่วงมีลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 เซนติเมตร โดยผลรวมของลูกตั้งกับลูกนอนไม่น้อยกว่า 43 เซนติเมตรและไม่เกิน 48 เซนติเมตร
1.2) ไม่มีลิฟต์โดยสาร เพื่อง่ายต่อการดูแลรักษา
2) ทางข้ามชานชาลาสำหรับสถานีขนาดเล็กและสถานีขนาดกลาง มีชานชาลา 2 ฝั่ง สำหรับขาขึ้น และขาล่อง ชานชาลายาว 210 เมตร โดยทั้ง 2 ชานชาลาจะมีทางเชื่อม 2 จุด ตั้งห่างจากจุดกึ่งกลางสถานีข้างละประมาณ 35 เมตร แต่ละฝั่งชานชาลาจะมีบันไดสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้พิการหรือทุพพล ภาพ 2 บันได บันไดแต่ละช่วงมีลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 เซนติเมตร โดยผลรวมของลูกตั้งกับลูกนอนไม่น้อยกว่า 43 เซนติเมตร และไม่เกิน 48 เซนติเมตร มีลิฟต์โดยสารที่มีขนาดของห้องลิฟต์ไม่น้อยกว่า 1.40x1.60 เมตร และมีช่องกระจกใสนิรภัยที่สามารถมองเห็นระหว่างภายนอกและภายในได้ เพื่อรองรับผู้พิการและผู้เดินทางที่มีสัมภาระ
3) ทางข้ามสำหรับสถานีขนาดใหญ่ มีชานชาลา 3 ชาน สำหรับขาขึ้นและขาล่องและรางหลีก ชานชาลายาว 350 เมตร โดยทั้ง 3 ชานชาลาจะมีทางเชื่อม 2 จุด ตั้งห่างจากจุดกึ่งกลางสถานีข้างละประมาณ 50 เมตร แต่ละฝั่งชานชาลาจะมีบันไดสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้พิการหรือทุพพลภาพ 3 บันได พร้อมบันไดเลื่อนฝั่งเดียวกับลิฟต์ ลิฟต์โดยสารมีขนาดของห้องลิฟต์ไม่น้อยกว่า 1.40x1.60 เมตร และมีช่องกระจกใสนิรภัยที่สามารถมองเห็นระหว่างภายนอกและภายในได้ เพื่อรองรับผู้พิการและผู้เดินทางที่มีสัมภาระ

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 22, 23, 24, 25, 26, 27  Next
Page 23 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©