Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264804
ทั้งหมด:13576087
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/03/2022 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:06 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374957901121248

** จุดตัดระหว่างถนนกับทางรถไฟของเส้นทางนี้ จะเป็นจุดตัดต่างระดับ 100%" การเดินทางบนโครงข่ายถนนเดิมทุกเส้น จะเดินทางเชื่อมโยงทั้งสองฝั่งได้เหมือนเดิมในทุกจุด **

"สรุปข้อมูลโครงการ (13)" จุดตัดถนน

จากการสำรวจตรวจสอบ พบว่าในจำนวนจุดตัดของถนนสายหลักและถนนที่ผ่านในพื้นเกษตรกรรม ถนนเลียบคลองชลประทาน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 142 แห่ง โดยแบ่งเป็น ช่วงที่ 1 นครสวรรค์ - ตาก จำนวน 126 แห่ง และช่วงที่ 2 ตาก - อ.แม่สอด จำนวน 16 แห่ง
รูปแบบของการแก้ไขปัญหาจุดตัดจะต้องพิจารณารูปแบบร่วมกับงานออกแบบงานแนวเส้นทางที่จะกำหนดในส่วนของแนวเส้นทาง โค้งราบ โค้งดิ่ง ความสูงของคันทางรถไฟ มาประกอบในการกำหนดรูปแบบในการออกแบบทางรถไฟของโครงการนี้ จะเป็นการออกแบบให้มีการยกคันทางรถไฟสูงเพื่อที่จะสามารถกำหนดรูปแบบให้ถนนลอดใต้ทางรถไฟ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาของจุดตัดได้ทั้งหมด รถทุกประเภท คนเดินเท้า หรือสัตว์เลี้ยง ก็สามารถที่จะใช้จุดตัดรูปแบบนี้ได้ ซึ่งจากการก่อสร้างของโครงการรถไฟทางคู่ฯที่ผ่านมาการกำหนดรูปแบบของการแก้ไขปัญหาจุดตัด ทั้งรูปแบบถนนข้ามทางรถไฟซึ่งจะต้องก่อสร้างทางลอดขนาดเล็กสำหรับรถจักรยานหรือจักรยานยนต์เพิ่มเติม หรือ ทางลอดทางรถไฟแบบลดระดับทางลอดต่ำกว่าถนนเดิม เนื่องจากไม่สามารถยกคันทางรถไฟให้สูงขึ้นพอสำหรับทางลอดได้นั้น ก็เกิดปัญหาในการดูแลบำรุงรักษาทั้งในส่วนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำในทางลอด เกิดน้ำท่วมขังในกรณีไฟฟ้าดับ ซึ่งส่งผลกระทบค่อนข้างมากในการบริหารจัดการ ดังนั้นการกำหนดรูปแบบจุดตัดให้ถนนลอดใต้สะพานรถไฟ(Railway Bridge) โดยถนนทางลอดมีระดับเท่าเดิม จะเป็นการแก้ไขปัญหาจุดตัดได้ดีกว่าในระยะยาว
การกำหนดรูปแบบของการแก้ไขปัญหาจุดตัดรถไฟกับถนน รายละเอียดรูปแบบทางต่างระดับ ณจุดตัด มีดังนี้
รูปแบบสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass)
รูปแบบนี้เป็นการออกแบบให้ถนนยกข้ามทางรถไฟที่อยู่ระดับดิน เหมาะสำหรับแนวถนนเดิมที่มีลักษณะค่อนข้างตรงและถนนเดิมมีเขตทางที่เพียงพอหรือหากจำเป็นจะต้องทำการเวนคืนเพิ่มเติมในการปรับแนวเส้นทางให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน โดยที่จะกำหนดให้มีจำนวน 2 ช่องจราจรหรือ 4 ช่องจราจรซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณจราจร ณ จุดตัดนั้น ๆ ขนาดช่องจราจรช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านซ้าย 1.00 เมตร มีความลาดชันไม่เกิน 6 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงที่สะพานยกข้ามหากเป็นพื้นที่ชุมชน จะออกแบบให้มีถนนบริการ(Service Road) ไว้ด้านข้างสะพาน เพื่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสะพานสามารถที่จะเข้าออกได้สะดวก
รูปแบบทางรถไฟยกระดับ (Elevated Railway)
รูปแบบนี้ใช้สำหรับแก้ไขปัญหาในบริเวณที่ทางรถไฟตัดกับถนนเส้นทางหลักที่มีปริมาณจราจรมากเช่นถนนทางหลวงแผ่นดิน ถนนทางหลวงชนบท รวมถึงถนนท้องถิ่นสายหลักซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างชุมชนและในการขนส่งพืชผลทางการเกษตรในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการจราจรเดิมที่มีอยู่
รูปแบบทางลอดรถยนต์ใต้ทางรถไฟแบบกล่องหรือสะพานรถไฟ (Underpass Box Culvert or Railway Bridge)
สำหรับการให้บริการสำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก แนวถนนเดิมที่มีแนวเส้นทางคดเคี้ยว โดยกำหนดขนาดของทางลอดแบบกล่องมีความ กว้าง 4.00 เมตร x สูง 2.50 เมตร จำนวน 1-2 ช่อง และสะพานรถไฟ ขนาดช่องลอดไม่น้อยกว่า กว้าง 5.00 – 10.00 เมตร x สูง 3.50 – 4.50 เมตร
รูปแบบถนนบริการ (Service Road)
เป็นออกแบบถนนเลียบไปกับทางรถไฟ เพื่อเชื่อมต่อระหว่างถนนเดิมและสะพานหรือทางลอดที่ตัดข้ามทางรถไฟที่อยู่ใกล้เคียงกัน รูปแบบนี้เหมาะสำหรับจุดตัดทางรถไฟที่อยู่ใกล้ ๆ กัน และมีปริมาณจำนวนรถไม่มากนัก ขนาด 2 ช่องจราจรช่องจราจรละ 3.00 เมตรไม่มีไหล่

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:08 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374959694454402

"สรุปข้อมูลโครงการ (14)" การเดินขบวนรถ

โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ สามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งสินค้าผู้โดยสาร และเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ สามารถลดระยะเวลาและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการทางรางให้มากยิ่งขึ้นเพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน และนอกจากจะให้ความสำคัญกับการขนส่งผู้โดยสารแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการบริการขนส่งสินค้า รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวตามแหล่งสถานที่ที่สำคัญในเขตภาคเหนือ และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟ

การเดินขบวนรถในระบบทางคู่ ความเร็วสูงสุดของขบวนรถสินค้าประมาณ 80-100 กม./ชม (ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 50-70 กม./ชม.) ความเร็วสูงสุดของขบวนรถโดยสารประมาณ 120กม./ชม. (ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 100 กม./ชม.) ขึ้นกับชนิดของหัวรถจักร แคร่ และตู้ที่ใช้ โดยขบวนรถมี 5 ประเภท คือ ขบวนรถด่วน ขบวนรถเร็ว ขบวนรถธรรมดา ขบวนรถท้องถิ่น และขบวนรถขนส่งสินค้า
1) ขบวนรถด่วน (Express): เป็นขบวนรถที่จัดเดินรถทางไกลจากกรุงเทพไปยังเส้นทางโครงการหยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร เฉพาะสถานีสำคัญ โดยมีการให้บริการเป็นรถนอนและรถนั่งชั้น 2
2) ขบวนรถเร็ว (Rapid): เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล แต่หยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารมากกว่าขบวนรถด่วน โดยจัดให้เป็นรถนั่งปรับอากาศชั้น 2
3) ขบวนรถธรรมดา (Ordinary): เป็นขบวนรถทางไกลที่ให้บริการผู้โดยสาร จากกรุงเทพไปยังเส้นทางโครงการ หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ จัดให้เป็นขบวนรถนั่งชั้น 2
4) ขบวนรถท้องถิ่น (Rural Commuter): เป็นขบวนรถที่จัดเดินรถเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในท้องที่เป็นหลัก หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ โดยจัดให้เป็นขบวนรถนั่งชั้น 2
5) ขบวนรถขนส่งสินค้า (Freight): เดินรถทางไกลจากทางเหนือ จากกรุงเทพฯ และอาจมีการขนส่งสินค้าทางตรงจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคต (มุกดาหาร/นครพนม)

ในโครงการทางรถไฟ สายแม่สอด - ตาก - กำแพงเพชร – นครสวรรค์ อาจจำเป็นต้องมีการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟความยาวมากกว่า 30 กิโลเมตร อันอาจเป็นปัญหาในการเดินรถดีเซลไฟฟ้าตามรูปแบบทั่วไปของ รฟท. ในปัจจุบัน โครงการนี้จึงทำการจัดขบวนรถโดยสารเป็นกรณีพิเศษโดยจัดให้เป็นให้เป็นขบวนรถปรับอากาศ ทุกตู้ ทุกขบวน เพื่อมิให้ผู้โดยสารได้รับปัญหาจากอากาศเสียของรถดีเซลไฟฟ้าภายในช่วงอุโมงค์

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)

Click on the image for full size


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:11 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374962367787468

"สรุปข้อมูลโครงการ (15)" แนวคิดประกอบการออกแบบสถานี

หลายท่านได้ให้ความสนใจในแนวคิดประกอบการออกแบบสถานี โดยตลอดแนวเส้นทางได้ออกแบบให้มีภาพลักษณ์ขอสถานีที่เชื่อมโยงกัน องค์ประกอบหลักจำเป็นต้องกำหนดโดยความต้องการใช้งานในหน้าที่ของสถานีรถไฟแต่ละขนาด และออกแบบภายในสถานี การตกแต่ง และการจัดภูมิทัศน์ ให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์แต่ละพื้นที่
ในการออกแบบจัดวางสถานีรถไฟและย่านสถานีจะประกอบด้วย
1) อาคารสถานี เป็นอาคารหรือกลุ่มอาคาร ภายในมีห้องปฏิบัติงานของนายสถานี ห้องผู้ช่วยสถานีห้องควบคุมอาณัติสัญญาณ ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ห้องเก็บเอกสาร ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า ห้องรับส่งสินค้าด่วน และชานชาลามีหลังคาคลุม
2) ย่านสถานีและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ ห่างจากจุดศูนย์กลางสถานีออกไปประมาณ 1-2 กม. ตามความเหมาะสมเพื่อที่จะพัฒนาระบบเครือข่ายถนน และการขนส่งอื่นๆ เข้าสู่สถานี ในด้านการเดินรถย่านสถานีจะจัดวางให้สอดคล้องกับระบบปฏิบัติการเดินรถ สำหรับการสับหลีกการเดินรถรางสำหรับการขนส่งสินค้า และ/หรือ สำหรับการซ่อมบำรุง รวมถึงพื้นที่สำหรับเจ้าหน้าที่รถไฟและพื้นที่สำหรับชุมชน เช่น บ้านพัก ห้องแถว สวนหย่อม หรือพื้นที่สีเขียว
3) เขตสถานี เป็นพื้นที่สำหรับการเดินรถ มีระบบอาณัติสัญญาณไฟสีที่ทันสมัย ให้การเดินขบวนรถไฟเป็นไปอย่างปลอดภัย รวมถึงมีประแจเปลี่ยนทิศทางของขบวนรถ การออกแบบขนาดของอาคารสถานีและย่านสถานีจะขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ใช้บริการและความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ สำหรับในการออกแบบระบบรถไฟรางคู่ จำนวนราง (Track) และตำแหน่งชานชาลา (Platform) ของสถานีแต่ละแห่งจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบการเดินรถ (Train Operation) รวมถึงอาจมีการปรับแนวเส้นทางรถไฟก่อนเข้าสู่สถานี
4) แนวเส้นทางก่อนเข้าสู่สถานีพยายามใช้แนวศูนย์กลางของทางรถไฟเป็นศูนย์กลางแนวควบคุม (Control Line) ของระบบทางรถไฟรางคู่หรืออาจจะเป็นศูนย์กลางทางขึ้นหรือศูนย์กลางทางล่องของระบบทางคู่ที่สถานีนั้นๆ เพื่อให้ตำแหน่งสถานีอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด
5) ตำแหน่งอาคารสถานีจัดให้อยู่ใกล้กึ่งกลางของชานชาลาเพื่อความสะดวกในการสัญจรของผู้โดยสารโดยคำนึงถึงการขยายตัวในอนาคต
6) หลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินหรือการทำให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน รวมถึงการรื้อย้ายสาธารณูปโภค

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/03/2022 4:19 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:12 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374965397787165

"สรุปข้อมูลโครงการ (16)" แนวคิดประกอบการออกแบบของรูปลักษณ์อาคาร “สถานีตาก”

สถานีตาก เป็นสถานีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก ตัวสถานีตั้งอยู่ใกล้ชุมชนในเขตตำบลเชียงเงิน ในตัวเมือง จังหวัดตาก ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยการเดินทางเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 1 จะถึงบริเวณทางเข้าหลักสถานีรถไฟ
1) อัตลักษณ์ของเมือง : นำอัตลักษณ์ของพื้นที่มาเป็นหลักในการออกแบบรูปลักษณ์อาคารสถานี จังหวัดตาก เป็นเมืองที่มีชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ทำให้มีความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรม “การทอผ้า” ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตาก จึงมีลักษณะเฉพาะตัว มีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายลวดลายต่างๆ เช่น ลายดอกปีกค้างคาว ลายดอกพิกุล ลายราชวัตร และลายดอกแก้ว
2) อัตลักษณ์อาคารสถานีรถไฟ : ปลาตะพากส้ม สัตว์ประจำจังหวัดตาก อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำปิง มีสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นจุดชมวิวของเมือง
3) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ลักษณะเด่นของสถานี ได้นำดอกไม้ประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบ โดยใช้รูปแบบของดอกไม้ นำมาออกแบบเป็นลวดลายที่สวยงามเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบ ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถานี ในแต่ละจังหวัด ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก : ดอกเสี้ยวขาว
4) วัสดุประจำจังหวัด : จังหวัดตาก แสดงถึงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศคิดเป็นร้อยละ 72.1 ของพื้นที่จังหวัด สภาพพื้นที่ประกอบด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:13 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374967204453651

"สรุปข้อมูลโครงการ (17)" แนวคิดประกอบการออกแบบของรูปลักษณ์อาคาร “สถานีแม่สอด”

สถานีแม่สอด เป็นสถานีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตัวสถานีตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ในเขตตำบลแม่สอด ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยใช้ถนนของกรมทางหลวงชนบทตามแผนการก่อสร้าง โครงการก่อสร้างถนนสาย ค2-1 และ ถนนสาย ค2-2 ซึ่งจะผ่านบริเวณทางเข้าหลักสถานีรถไฟ
1. อัตลักษณ์ของเมือง : นำอัตลักษณ์ของพื้นที่มาเป็นหลักในการออกแบบรูปลักษณ์อาคารสถานี อำเภอแม่สอด เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก เป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเป็นศูนย์กลางการค้าที่ติดต่อกับเมืองเมียวดีในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และเป็นหนึ่งในย่านการค้าอัญมณีที่สำคัญของโทย โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของเมืองไว้ว่า “นครแม่สอด เมืองอัญมณีแห่งเอเชีย สู่ศูนย์หยกโลก” มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่น่าสนใจ มีลักษณะทาง
2) อัตลักษณ์อาคารสถานีรถไฟ : ตำนานหงส์ทองคู่จารึกเป็นภาษามอญเป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จมายังดินแดนแห่งนี้เป็นครั้งแรก ได้ทอดพระเนตรเห็นหงส์ทอง 2 ตัว เล่นน้ำอยู่
3) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ลักษณะเด่นของสถานี ได้นำดอกไม้ประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบ โดยใช้รูปแบบของดอกไม้ นำมาออกแบบเป็นลวดลายที่สวยงามเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบ ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถานี ในแต่ละจังหวัด ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก : ดอกเสี้ยวขาว
4) วัสดุประจำจังหวัด : สามารถใช้ความงดงามของถ้ำสีฟ้าซึ่งเกิดจากหินปูนทำปฏิกิริยาทางธรรมชาติ หินตะกอนมีการทับถมเป็นชั้นๆ เกิดเป็นลายสลับกัน การออกแบบโดยนำรูปแบบการเรียงตัวของชั้นหินผสมผสานกับสีของอัญมณี สามารถแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของแม่สอดได้เป็นอย่างดี

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)


โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:14 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374969347786770

"สรุปข้อมูลโครงการ (18)" แนวคิดประกอบการออกแบบของรูปลักษณ์อาคาร “สถานีกำแพงเพชร”

สถานีกำแพงเพชร เป็นสถานีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตัวสถานีตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ในเขตตัวเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก โดยใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 115 ซึ่งเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรไป-กลับ ตัดผ่านบริเวณทางเข้าหลักสถานีรถไฟ
1) อัตลักษณ์ของเมือง : นำอัตลักษณ์ของพื้นที่มาเป็นหลักในการออกแบบรูปลักษณ์อาคารสถานี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองมรดกโลก มีโบราณสถานที่เป็นงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ใช้ “อิฐศิลาแลง” เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งโบราณสถานดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ “อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร” จังหวัดกำแพงเพชร
2) อัตลักษณ์อาคารสถานีรถไฟ : ปลาตะพากเหลือง เป็นสัตว์ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นปลาพื้นเมืองในแม่น้ำปิง อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนในจังหวัดมายาวนาน ใช้ฐานหินศิลาแลงก่อเรียงล้อมตัวปลาเป็นเสมือนชื่อเมือง “กำแพงเพชร” หมายถึงกำแพงที่แข็งแรงและสวยงาม
3) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ลักษณะเด่นของสถานี ได้นำดอกไม้ประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบ โดยใช้รูปแบบของดอกไม้ นำมาออกแบบเป็นลวดลายที่สวยงามเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบ ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของสถานี ในแต่ละจังหวัด ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร : ดอกพิกุล
4) วัสดุประจำจังหวัด : สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่นี่ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นด้วยศิลาแลง เนื่องจากจังหวัดกำแพงเพชรเป็นแหล่งที่สามารถพบเจอได้ ทำให้ศิลาแลงเข้ามามีบทบาทต่องานสถาปัตยกรรมในยุคนั้น การนำศิลาแลงมาใช้จึงช่วยแสดงถึงความเป็นเมืองทางประวัติศาสตร์

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/03/2022 4:22 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์
8 มี.ค. 65 16:15 น.
https://www.facebook.com/railwaymaq.nsn/posts/374971097786595

"สรุปข้อมูลโครงการ (19)"

การออกแบบแนวเส้นทางรถไฟ สาย แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 250 กิโลเมตร ได้กำหนดความกว้างเขตทางรถไฟไว้ที่ 50 เมตร จากกึ่งกลางทางคู่ และมีระยะระหว่างราง 5 เมตร ส่วนบริเวณสถานีจะกำหนดเขตทางตามรูปแบบความต้องการใช้งานของแต่ละสถานี การเดินขบวนรถในระบบทางคู่ ความเร็วของขบวนรถโดยสารประมาณ 100-120 กม./ชม.และขบวนรถสินค้าประมาณ 80-100 กม./ชม ขึ้นกับชนิดของหัวรถจักร แคร่ และตู้ที่ใช้

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอุบัติเหตุในเส้นทางตลอดจนเพิ่มระดับความเร็วในการขนส่งให้ได้รวดเร็วและปลอดภัย จึงมีการออกแบบรั้วกั้นเขตแนวเส้นทางตลอดแนวสองข้างทางรถไฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัย (Safety Fence)

(ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ที่จัดส่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/03/2022 6:22 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
โครงการศึกษาทางรถไฟสายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด
คลิปประชาสัมพันธ์ โครงการศึกษาทางรถไฟสายใหม่ นครสวรรค์-ตาก-แม่สอด
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2564 เวลา 20:37 น.
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/videos/555120942380399

เผยโฉมรถไฟสายใหม่ แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ลุ้นผ่านด่าน EIA ก่อนเวนคืน-ก่อสร้าง
เผยแพร่: 10 มี.ค. 2565 04:19 ปรับปรุง: 10 มี.ค. 2565 04:19 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

กลุ่มบริษัทสำรวจออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ เผยโฉมโครงการทั้งเส้น 250 กิโลเมตร พร้อมอุโมงค์ยาวที่สุดในไทยถึง 15 กิโลเมตร เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร รอลุ้นผล EIA ก่อนเวนคืนและก่อสร้างใช้เวลา 3 ปี

วันนี้ (10 มี.ค.) เฟซบุ๊ก "โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์" ซึ่งเป็นงานศึกษาสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ที่ดำเนินการโดย กลุ่มบริษัท เทสโก้ จำกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ดีไซน์ คอนเซป จำกัด และ บริษัท ดอร์ช คอนซัลท์เอเชีย จำกัด เผยแพร่สรุปข้อมูลโครงการ ซึ่งมีทั้งหมด 19 ตอน สาระสำคัญก็คือ โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 250 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก ระยะทาง 183 กิโลเมตร ประกอบด้วย 23 สถานี ได้แก่ สถานีบึงเสนาท, สถานีบ้านมะเกลือ, สถานีมหาโพธิ, สถานีเก้าเลี้ยว, สถานีบางตาหงาย, สถานีเจริญผล (มีชานพักสินค้า หรือ CY), สถานีตาขีด, สถานีป่าพุทรา, สถานียางสูง, สถานีวังแขม, สถานีวังยาง, สถานีท่ามะเขือ, สถานีวังบัว, สถานีคณฑี, สถานีเทพนคร, สถานีกำแพงเพชร, สถานีหนองปลิง (CY), สถานีลานดอกไม้, สถานีโกสัมพี, สถานีวังเจ้า, สถานีวังหิน, สถานีหนองบัวใต้ (CY) และสถานีตาก ความกว้างเขตทางรถไฟไว้ที่ 50 เมตร จากกึ่งกลางทางคู่ และมีระยะระหว่างราง 5 เมตร

ส่วนช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด ระยะทาง ระยะทาง 67.02 กิโลเมตร ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่ สถานีด่านแม่ละเมาะ, สถานีแม่ปะ, สถานีแม่สอด และสถานีด่านแม่สอด (CY) มีอุโมงค์ 4 แห่ง ได้แก่ อุโมงค์ดอยรวก ระยะทาง 15.5 กิโลเมตร ลักษณะเป็นอุโมงค์คู่รางเดี่ยว มีทางเชื่อมระหว่างอุโมงค์ทุก 500 เมตร ผู้โดยสารสามารถอพยพหนีภัยไปยังอุโมงค์อีกด้านหนึ่งได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะถือว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวมากที่สุดในประเทศไทย, อุโมงค์แม่ละเมา ระยะทาง 1.42 กิโลเมตร ลักษณะเป็นอุโมงค์เดี่ยวรางคู่, อุโมงค์แม่ละเมา ระยะทาง 0.765 กิโลเมตร ลักษณะเป็นอุโมงค์เดี่ยวรางคู่ และอุโมงค์ดอยพะวอ ระยะทาง 12 กิโลเมตร ลักษณะเป็นอุโมงค์คู่รางเดี่ยว มีทางเชื่อมระหว่างอุโมงค์ทุก 500 เมตร

สำหรับสถานีขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 3 สถานี ได้แก่ สถานีกำแพงเพชร ตัวสถานีตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ในเขตตัวเมืองกำแพงเพชร เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 115 (ถนนกำแพงเพชร-พิจิตร), สถานีตาก ตั้งอยู่ใกล้ชุมชนในเขตตำบลเชียงเงิน ในตัวเมืองตาก เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และสถานีแม่สอด ตัวสถานีตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ในเขตตำบลแม่สอด ทางเข้าหลักสถานีรถไฟจะอยู่ที่โครงการก่อสร้างถนนสาย ค2-1 และ ถนนสาย ค2-2 ของกรมทางหลวงชนบท ส่วนการเดินขบวนรถในระบบทางคู่ ความเร็วของขบวนรถโดยสารประมาณ 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และขบวนรถสินค้าประมาณ 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีการออกแบบรั้วกั้นเขตแนวเส้นทางตลอดแนวสองข้างทางรถไฟ จุดตัดระหว่างถนนกับทางรถไฟจะเป็นจุดตัดต่างระดับ 100% การเดินทางบนโครงข่ายถนนเดิมทุกเส้น จะเดินทางเชื่อมโยงทั้งสองฝั่งได้เหมือนเดิมในทุกจุด

เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งสินค้าผู้โดยสาร และเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ สามารถลดระยะเวลาและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการทางรางให้มากยิ่งขึ้นเพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน และนอกจากจะให้ความสำคัญกับการขนส่งผู้โดยสารแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการบริการขนส่งสินค้า รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวตามแหล่งสถานที่ที่สำคัญในเขตภาคเหนือ และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟ จากนี้ยังคงเหลือการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การสำรวจจัดกรรมสิทธิ์ การเวนคืนจัดกรรมสิทธิ์ และการก่อสร้างโครงการ ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี

รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายตามแผนพัฒนารถไฟทางคู่ เชื่อมแนวตะวันตก-ตะวันออก ด้านบน (E-W Upper) จากแม่สอด-นครสวรรค์-บ้านไผ่-นครพนม ระยะทางรวม 902 กิโลเมตร โดยขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เซ็นสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร วงเงินค่าจ้าง 2 สัญญา รวม 55,131 ล้านบาท ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2564 โดยแผน ก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2568 ส่วนช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ ระยะทาง 291 กิโลเมตร อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study หรือ FS)

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/05/2022 8:47 am    Post subject: Reply with quote

ขออนุมัติรถไฟทางคู่สายใหม่แสนล้าน
Source - เดลินิวส์
Thursday, May 26, 2022 08:28
'แม่สอด-นครสวรรค์'เปิดประมูลปีหน้า 250กม.วิ่งทั้งบนดินลอยฟ้ามุดอุโมงค์

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) แจ้งว่า ขณะนี้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาสำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) เพื่อเตรียมก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร(กม.) เสร็จเรียบร้อย และเสนอรายงานการศึกษาฯ ฉบับสมบูรณ์ ให้ รฟท. พิจารณาแล้ว

ถือเป็นรถไฟทางคู่สายใหม่เชื่อมเส้นทางตะวันออก- ตะวันตก (East-West Corridor) จากแม่สอด-นครพนม มี โครงข่ายสมบูรณ์มากขึ้น โดยเชื่อมรถไฟทางคู่ ช่วงนครสวรรค์บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และช่วงบ้านไผ่-นครพนม เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า และการสัญจรเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เมียนมา สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา สะดวกมากขึ้น

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า รฟท. คาดว่าจะเสนอขออนุมัติโครงการให้กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเร็ว ๆ นี้ ผลการศึกษามีความคุ้มค่า และเหมาะสมมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 13.47% ควรได้รับการพัฒนาตลอดทั้งเส้นทางในคราวเดียวกัน มีวงเงินลงทุน 1.08 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้าง 1.01 แสนล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 3.89 พันล้านบาท และค่าบริการที่ปรึกษา 2.68 พันล้านบาท แนวเส้นทางรถไฟ เริ่มต้นที่สถานีบึงเสนาท อ.เมือง จ.นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่สถานีด่านแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก มีสถานีรวม 27 แห่ง

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า เบื้องต้นการก่อสร้างแบ่งเป็น 3 สัญญา โดยสัญญาที่ 1 ช่วงปากน้ำโพ(นครสวรรค์)-กำแพงเพชร กม.0+000 ถึง กม.183+000 ระยะทาง 183 กม. มี 23 สถานี ค่าก่อสร้าง 3.69 หมื่นล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.66 พันล้านบาท เป็นทางระดับพื้น 178.6 กม. ทางยกระดับ 5.8 กม. สะพาน 264 แห่ง และทางยกระดับข้ามทางรถไฟ(Overpass) 6 แห่ง, สัญญาที่ 2 ช่วงกำแพงเพชร-ตาก กม.183+000 ถึง กม.217+025 ระยะทาง 34 กม. มีสถานี 1 แห่ง ค่าก่อสร้าง 3.37 หมื่นล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 254 ล้านบาท เป็นทางระดับพื้น 8 กม. ทางยกระดับ 10.5 กม. และอุโมงค์ 1 แห่ง (15.5 กม.)

และสัญญาที่ 3 ช่วงตาก-แม่สอด กม.217+025 ถึง กม.250+020 ระยะทาง 33 กม. มีสถานี 3 แห่ง ค่าก่อสร้าง 3.12 หมื่นล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 975 ล้านบาท เป็นทางระดับพื้น 9.7 กม. ทางยกระดับ 10.1 กม. อุโมงค์ 3 แห่ง (14.2 กม.) สะพาน 1 แห่ง Overpass 1 แห่ง และศูนย์ซ่อมบำรุงเบา (Light Maintenance) 1 แห่ง คาดว่าจะเริ่มจัดทำรายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ราคากลาง และเปิดประมูลได้ภายในปี 66 เริ่มก่อสร้างต้นปี 67 แล้วเสร็จปลายปี 72 และเปิดให้บริการปี 73

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับผลการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร พบว่า ปีแรกของการเปิดให้บริการ ช่วงนครสวรรค์-ตาก จะมีผู้โดยสาร 10.91 ล้านคน-เที่ยว/ปี และช่วงตาก-แม่สอด 9.48 ล้านคน-เที่ยว/ปี, ปี 2583 ช่วงนครสวรรค์-ตาก 17.30 ล้านคน-เที่ยว/ปี และช่วงตาก-แม่สอด 14.12 ล้านคน-เที่ยว/ปี, ส่วนปี 2593 ช่วงนครสวรรค์-ตาก 24.72 ล้านคน-เที่ยว/ปี และช่วงตาก-แม่สอด 20.17 ล้านคน-เที่ยว/ปี และปี 2602 ช่วงนครสวรรค์-ตาก 31.54 ล้านคน-เที่ยว/ปี และช่วงตาก-แม่สอด 25.74 ล้านคน-เที่ยว/ปี

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทาง นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด มี 27 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย 1.จ.นครสวรรค์ ได้แก่ สถานีบึง เสนาท, บ้านมะเกลือ, มหาโพธิ์, หัวดง, บางตาหงาย, เจริญผล, ตาขีด 2.จ.กำแพงเพชร ได้แก่ สถานีป่าพุทรา, ยางสูง, วังแขม, วังยาง, ท่ามะเขือ, วังบัว, คณฑี,เทพนคร, กำแพงเพชร, หนองปลิง, ลานดอกไม้, โกสัมพี และ 3.จ.ตาก ได้แก่ สถานีวังเจ้า, วังหิน, หนองบัวใต้, ตาก, ด่านแม่ละเมา, แม่ปะ, แม่สอด และด่านแม่สอด.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 พ.ค. 2565 (กรอบบ่าย)

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/560501708860401
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2022 2:29 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ขออนุมัติรถไฟทางคู่สายใหม่แสนล้าน
Source - เดลินิวส์
Thursday, May 26, 2022 08:28
'แม่สอด-นครสวรรค์'เปิดประมูลปีหน้า 250กม.วิ่งทั้งบนดินลอยฟ้ามุดอุโมงค์

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/560501708860401


สภาอุตฯปักหมุดเหนือปลุก"แม่สอด"เมืองเศรษฐกิจชายแดนตะวันตกบนระเบียบ EWEC
หน้าเศรษฐกิจภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
30 พ.ค. 2565 เวลา 18:13 น. 91
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เดินสายจัดประชุมสภาอุตสาหกรรมกลุ่ม และจังหวัดภาคเหนือท ที่แม่สอด ชูนโยบายOne FTI One Vision ผนึกความร่วมมือทุกพื้นที่เป็นทีมเดียว สู่เป้าหมายเดียวกัน ติดตามงาน 4 กลุ่มจังหวัด หนุน SMEsเหนือ บูมแม่สอดประตู AEC บนระเบียงเศรษฐกิจ EWEC

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ที่ห้องประชุมทวีกิจ บริษัท ที.เค.การ์เม้นท์ แม่สอด จำกัด อ.แม่สอด จ.ตาก นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการฯ จัดการประชุมคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือขึ้น มีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานพิธีเปิด

โดยมีประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายชัยวัฒน์ วิทิตธรรมวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ อุตสาหกรรมจังหวัดตาก และผู้เกี่ยวข้องเข้าให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุม

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ บรรยายแนวทางการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย ภายใต้นโยบาย“ONE FTI One Vision One Team One Goal"ของคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยชุดนี้ เพื่อร่วมสร้างประเทศไทยที่แข็งแกร่งกว่าเดิม และยังเป็นการประชุมส่งท้ายคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือชุดนายทวีกิจ สำหรับการดำเนินงานวาระปี 2563 – 2565

โดยมี นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานกิตติมศักดิ์ ส.อ.ท. นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโส ส.อ.ท. นายณรงค์ฤทธิ์ พานิชชีวะ รองประธานและนายทะเบียน ส.อ.ท. ดร.ดารัตน์ ศิริวิริยะกุล วิภาตะกลัส นายไพรัตน์ เอื้อชูยศ และนายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธาน ส.อ.ท. เข้าร่วมประชุม

จากนั้นที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินงานของสภาอุตสาหกรรม 4 กลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือตอนบน 1 เหนือตอนบน 2 เหนือตอนล่าง 1 และเหนือตอนล่าง 2 และพิจารณาวาระการจัดงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรม FTI Expo 2022 การแก้ไขผังเมืองมาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ผังเมือง พ.ศ. 2562 รวมถึงการสนับสนุนกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้แปรรูปพืชผลทางการเกษตร กลุ่ม SMEs ด้านการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มพืชผลทางการเกษตร เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพและช่วยลดต้นทุนการผลิต

วาระประชุมที่น่าสนใจ อาทิ ความร่วมมือโครงการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน ระดับภูมิภาค ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) การแก้ไขผังเมือง มาตรา 35 ตาม พ.ร.บ. ผังเมืองปี 2562 ความร่วมมือการจัดงานแสดงสินค้า FTI Expo 2022 โครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน


โครงการ"หริภุญชัย เมืองเกษตรอุตสาหกรรมสมดุลย์สร้างสรรค์" ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 โครงการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ภาคเหนือ ด้วยนวัตกรรมการผลิตและแปรรูป ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 และการสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้แปรรูปพืชผลทางการเกษตร กลุ่ม SMEs ด้านการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งการรายงานการกำจัดของเสีย (แบบ สก.3) ประจำปี 2564 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 ซึ่ง ส.อ.ท. ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในภูมิภาคทุกพื้นที่



สำหรับจังหวัดตาก เป็นประตูหน้าด่านการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ประตูอาเซียน AEC บนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) เป็นเมืองชายแดนติดกับประเทศเมียนมา และเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด และ อ.พบพระ



โดย อ.แม่สอด ยังเป็นเมืองหน้าด่านที่มีชายแดนติดกับประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นประตูการค้าชายแดนที่สำคัญของประเทศ โดยประเทศไทยส่งออกสินค้าไปยังประเทศเมียนมา ปีที่ผ่านมายอดการค้าชายแดนเกินกว่า 100,000 ล้านบาท และคาดว่าปี 2565 นี้ ปริมาณการค้าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าอำเภอแม่สอดเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ สู่ประตูยุโรป ผ่านทางอำเภอแม่สอด ไปยังย่างกุ้ง (เมียนมา) ซึ่งสามารถต่อไปยังเมืองนิวเดลี (อินเดีย) ผ่านปากีสถาน อิหร่าน เข้ายุโรป ไปจนถึงสหราชอาณาจักรได้ เส้นทางโลจิสติกส์เส้นนี้จะเป็นเส้นทางสำคัญยิ่งในอนาคต สำหรับการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งสามารถทะลุไปจนถึงยุโรปได้โดยง่าย



นอกจากนี้ จังหวัดตาก ยังเป็นประตูเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยประเทศเมียนมามีอาณาเขตติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนแห่งนี้ จึงมีโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเป็นเมกะโปรเจ็กที่สำคัญ เช่น โครงการรถไฟรางคู่เชื่อมจากจังหวัดนครสวรรค์ ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร มาสิ้นสุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก รวมทั้งกรมทางหลวงได้ทำการศึกษาการก่อสร้างเส้นทางมอเตอร์เวย์ สายตาก - แม่สอด มีทั้งเส้นทางราบ และขุดเจาะอุโมงค์ เพื่อให้การคมนาคมจากตากมาแม่สอด สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ส่งเสริมการค้า การลงทุน และสนับสนุนการท่องเที่ยว บนเส้นทางโลจิสติกส์ที่มีศักยภาพด้านตะวันตกของประเทศแห่งนี้ ทำให้แม่สอดเป็นเมืองชายแดนที่มีศักยภาพ สู่เมืองเศรษฐกิจชั้นนำ อันดับต้น ๆ ของไทย



ทั้งนี้ หลังเสร็จสิ้นการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ลงพื้นที่ เดินทางไปเยี่ยมชมเกษตรแปลงใหญ่ สวนกล้วยหอม เกษตรอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออก ที่ อ.พบพระ จ.ตาก ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ นำร่องอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ในพื้นที่ จังหวัดตาก ที่มีการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ทั้งยุโรป-จีน- ฯลฯ และยังเป็นการเปิดเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ EWEC ประตู AEC หลังเปิดประเทศ เมื่อสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลายกลายเป็นโรคประจำถิ่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2022 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ขออนุมัติรถไฟทางคู่สายใหม่แสนล้าน
Source - เดลินิวส์
Thursday, May 26, 2022 08:28
'แม่สอด-นครสวรรค์'เปิดประมูลปีหน้า 250กม.วิ่งทั้งบนดินลอยฟ้ามุดอุโมงค์

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 พ.ค. 2565 (กรอบบ่าย)

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/560501708860401


ทางคู่สายใหม่”แม่สอด-นครสวรรค์” รถไฟวิ่งผ่านหน้าบ้านจะเป็นจริง
วันอังคาร ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 8:00 น.

รถไฟทางคู่สายใหม่ ”แม่สอด-นครสวรรค์” มูลค่าการลงทุน 1 แสน8พันล้านบาท ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ศึกษาเสร็จหมาดๆ เตรียมเสนอขออนุมัติโครงการให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเร็วๆ นี้
....

ความฝันของประชาชนที่จะมีรถไฟผ่านหน้าบ้านกำลังจะเป็นจริง... สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/articles/1096290/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/06/2022 6:08 pm    Post subject: Reply with quote

‘ตาก’เฮ ทางคู่แสนล้าน นครสวรรค์-แม่สอด รอครม.ไฟเขียวเริ่มงาน 2567
หน้าแรก เศรษฐกิจ ภูมิภาค
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 03 มิ.ย. 2565 เวลา 17:41 น.

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

งาน “ออกแบบรายละเอียด-รายงาน EIA” ทางคู่สายใหม่ “นครสวรรค์-แม่สอด” 256 กิโลเมตรเสร็จแล้ว รอผ่านขั้นตอนคมนาคม-ครม.ไฟเขียว คาดเริ่มลงมือปี 2567 ก่อสร้าง 6 ปี เดินรถปี 2573 หนุนแม่สอดประตูการค้าชายแดนตะวันตกบนระเบียง EWEC

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาฯ ที่ได้ดำเนินการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในโครงการ เพื่อเตรียมก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร เสร็จเรียบร้อย และได้เสนอรายงานการศึกษาฯ ฉบับสมบูรณ์ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เพื่อพิจารณาแล้ว

โครงการนี้ถือเป็นรถไฟทางคู่สายใหม่ ที่จะทำให้เส้นทางรถไฟเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจ แนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เชื่อมโยงจากพรมแดนด้านตะวันตกที่แม่สอด จ.ตาก กับพรมแดนด้านตะวันออกที่ จ.นครพนม มีโครงข่ายสมบูรณ์มากขึ้น โดยจะเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และช่วงบ้านไผ่-นครพนม

โครงข่ายเส้นทางดังกล่าว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การขนส่งสินค้าและการสัญจรของไทย เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เวียดนาม และกัมพูชา ให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

แหล่งข่าวเผยด้วยว่า ขั้น ตอนต่อจากนี้ หากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานฯฉบับนี้ แล้ว คาดจะเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาตามลำดับในเร็ว ๆ นี้

สำหรับผลการศึกษาสรุปได้ว่า การพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด มีความคุ้มค่า และเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ มีอัตราผลตอบ แทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 13.47% ควรได้รับการพัฒนาตลอดทั้งเส้นทางในคราวเดียวกัน

โดยมีวงเงินลงทุนรวม 1.08 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้าง 1.01 แสนล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 3.89 พันล้านบาท และค่าบริการที่ปรึกษา 2.68 พันล้านบาท แนวเส้นทาง รถไฟ เริ่มต้นที่สถานีบึงเสนาท อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่สถานีด่านแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก มีสถานีรวม 27 แห่ง

แหล่งข่าวแจ้งว่า ในเบื้องต้นการก่อสร้างแบ่งเป็น 3 สัญญา สัญญาที่ 1 ช่วงปากนํ้าโพ (นครสวรรค์)-กำแพงเพชร กม.0+000 ถึง กม.183+000 ระยะทาง 183 กิโลเมตร มี 23 สถานี ค่าก่อสร้าง 3.69 หมื่นล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.66 พันล้านบาท เป็นทางระดับพื้น 178.6 กิโลเมตร ทางยกระดับ 5.8 กิโลเมตร สะพาน 264 แห่ง และทางยกระดับข้ามทางรถไฟ (Overpass) อีก 6 แห่ง

สัญญาที่ 2 ช่วงกำแพง เพชร-ตาก กม.183+000 ถึง กม.217+025 ระยะทาง 34 กิโลเมตร มีสถานี 1 แห่ง ค่าก่อสร้าง 3.37 หมื่นล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 254 ล้านบาท เป็นทางระดับพื้น 8 กิโลเมตร ทางยกระดับ 10.5 กิโลเมตร และอุโมงค์ 1 แห่ง (15.5 กิโลเมตร)

สัญญาที่ 3 ช่วงตาก-แม่สอด กม.217+025 ถึง กม.250+020 ระยะทาง 33 กิโลเมตร มีสถานี 3 แห่ง ค่าก่อสร้าง 3.12 หมื่นล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 975 ล้านบาท เป็นทางระดับพื้น 9.7 กิโลเมตร ทางยกระดับ 10.1 กิโลเมตร อุโมงค์ 3 แห่ง (14.2 กิโลเมตร) สะพาน 1 แห่ง Overpass 1 แห่ง และศูนย์ซ่อมบำรุงเบา (Light Maintenance) 1 แห่ง

คาดว่าจะเริ่มจัดทำรายละเอียดเงื่อนไขการประกวด ราคา (TOR) ราคากลาง และเปิดประมูลได้ภายในปี 2566 เริ่มก่อสร้างในช่วงต้นปี 2567 แล้วเสร็จปลายปี 2572 และเปิดให้บริการปี 2573

สำหรับจังหวัดตากนั้น มีความสำคัญเป็นประตูหน้าด่านการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ด้านพรมแดนตะวันตก เป็นประตูเชื่อมโยงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) บนระเบียงเศรษฐกิจ แนวตะวันออก-ตะวันตก ด้านบน (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) เป็นเมืองชายแดนติดกับประเทศเมียนมา และเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด และ อ.พบพระ

นอกจากนั้น อ.แม่สอด ยังเป็นเมืองหน้าด่านที่มีชายแดนติดกับประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นประตูการค้าชายแดนที่สำคัญของประเทศ เป็นประตูสู่ฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะประเทศไทยได้ส่งออกสินค้าไปยังประเทศเมียนมา ปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าชายแดนเกินกว่า 100,000 ล้านบาท และคาดว่าปี 2565 นี้ ปริมาณการค้าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อัศวิน พินิจวงษ์ /รายงาน

หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,789 วันที่ 5-8 มิถุนายน พ.ศ.2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/06/2022 3:48 pm    Post subject: Reply with quote

แผนรถไฟรางคู่แสนล้านเชื่อมตะวันออก-ตก | THANTALK | 06/06/65
Jun 6, 2022
ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

รถไฟทางคู่สายใหม่ : EWEC
East West Economic Corridor


https://www.youtube.com/watch?v=9TSFge9lBqg

รถไฟทางคู่สายใหม่ ที่จะทำให้เส้นทางรถไฟเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจ แนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC)
เชื่อมโยงจากพรมแดนด้านตะวันตกที่แม่สอด จ.ตาก กับพรมแดนด้านตะวันออกที่ จ.นครพนม
มีโครงข่ายสมบูรณ์มากขึ้น โดยจะเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และช่วงบ้านไผ่-นครพนม
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การขนส่งสินค้าและการสัญจรของไทย เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
ได้แก่ สหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เวียดนาม และกัมพูชา ให้สะดวกมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2022 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

พี่น้องชาวแม่สอด ตาก กำแพงเพชร เฮสนั่น รถไฟสายใหม่
แม่สอด - นครสวรรค์ คลอดแล้ว
กลุ่มบริษัทสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ เผยโฉมโครงการทั้งเส้น 250 กิโลเมตร พร้อมอุโมงค์ยาวที่สุดในไทยถึง 15 กิโลเมตร เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร รอลุ้นผล EIA ก่อนเวนคืนและก่อสร้าง ใช้เวลา 3 ปี
https://www.facebook.com/BKkILoveYou/posts/578735340374816
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25, 26, 27  Next
Page 24 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©