RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271287
ทั้งหมด:13582576
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2014 10:02 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟขอ1.2หมื่นล้าน เคลียร์พื้นที่แก่งคอย รองรับย้ายมักกะสัน

โดยกอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 14:40 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,919 วันที่ 2 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

"ประภัสร์" เตรียมชงกระทรวงการคลังรัฐบาลชุดใหม่ ของบกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท เคลียร์พื้นที่ผุดเมืองใหม่คนรถไฟที่แก่งคอย รองรับกรณีย้ายไปจากมักกะสันเพื่อพัฒนาเชิงพาณิชย์หารายได้ ชี้ยังมีลุ้นผลศึกษาค่าเช่าเมกะโปรเจ็กต์ "มักกะสัน-สถานีแม่น้ำ" ที่ประเคนให้คลังเพื่อปลดหนี้ที่มีอยู่เกือบแสนล้าน ด้านที่ปรึกษาเผย 5 ปียังมีลุ้นความสำเร็จพร้อมชง 4 รูปแบบการลงทุนให้พิจารณา
alt จากกรณีที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีแนวคิดจะนำที่ดินแปลงใหญ่ของรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพในกรุงเทพฯและปริมณฑล ออกมาประมูลหารายได้เข้ากระทรวงการคลัง โดยที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) 3 แปลงก็จัดอยู่ในข่ายดังกล่าว ได้แก่ ที่ดินย่านมักกะสัน, ย่านบางซื่อ และบริเวณสถานีแม่น้ำ

ล่าสุดนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าการนำพื้นที่มักกะสันและสถานีแม่น้ำมอบให้กระทรวงการคลัง เป็นการให้เช่าระยะยาว เพื่อปลดภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท. ที่มีเกือบ 1 แสนล้านบาท โดยขณะนี้เตรียมนำเสนอกระทรวงการคลังจัดหางบประมาณกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท สำหรับใช้พัฒนาย่านแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เพื่อรองรับการโยกย้ายโรงงานมักกะสันมายังสถานที่ดังกล่าว ก่อนจะเปิดประมูลพื้นที่มักกะสันเชิงพาณิชย์

สำหรับอัตราค่าเช่าในเบื้องต้นแบ่งออกเป็นระยะเวลา 30- 30-30 ปี เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนของผู้สนใจทั่วไป สำหรับแผนการพัฒนาพื้นที่ย่านแก่งคอยนั้นยังต้องดำเนินการต่อไป เพราะรองรับการพัฒนาด้านต่างๆของการรถไฟฯ เนื่องจากโรงงานที่มักกะสันสภาพทรุดโทรมใช้งานมานานหลายปี โดยงบในการพัฒนาที่แก่งคอยนั้นร.ฟ.ท.จะนำเสนอกระทรวงการคลังเพื่อจ่ายให้ร.ฟ.ท.โดยรวมเอาไว้ในอัตราค่าเช่าเรียบร้อยแล้วทั้งหมด"

ด้านรศ.กฤษณ์ เจ็ดวรรณะ รองผู้จัดการโครงการ การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นการย้ายโรงงานมักกะสัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)กล่าวว่า ได้ส่งรายงานฉบับสุดท้ายให้ร.ฟ.ท.เรียบร้อยแล้ว โดยพื้นที่แก่งคอยจัดเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีพื้นที่รวมประมาณ 1,000 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่คือ 1. พื้นที่โรงงาน และ 2.พื้นที่พักอาศัย (ประมาณ 1,200 ยูนิต) ในส่วนข้อมูลจำนวนพนักงานร.ฟ.ท.นั้นพบว่าเมื่อปี 2555 ยังมีอยู่กว่า 2.1 หมื่นคน

ผศ.กฤษณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับในส่วนพื้นที่มักกะสันมีทั้งหมดประมาณ 745 ไร่ แต่สามารถนำไปพัฒนาได้ประมาณ 500 ไร่ ประกอบไปด้วยพื้นที่อาคารโรงงาน 65 ไร่ พื้นที่สับเปลี่ยนย่านโรงงาน 35 ไร่ พื้นที่ย่านโรงงานมักกะสันที่จัดทำประโยชน์เพิ่มเติม 77 ไร่ พื้นที่อาคารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์สถานีมักกะสัน (CAT) 35 ไร่ พื้นที่นิคมรถไฟมักกะสัน โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร พื้นที่พักอาศัย บ้านเดี่ยวและแฟลต กลุ่มอาคารพัสดุ 5 หลัง โดยจะย้ายโรงพยาบาลไปอยู่ในพื้นที่ตึกแดง บางซื่อ ส่วนอื่นๆ จะย้ายไปอยู่แก่งคอยทั้งหมด

"ขณะนี้มีงบศูนย์ซ่อมรองรับหัวรถจักรขนาด 20 ตัน/เพลา ที่อยู่ระหว่างการจัดซื้อ ซึ่งรายได้ที่จะนำไปพัฒนาพื้นที่ย่านแก่งคอยจะใช้งบจากผู้เข้ามาลงทุนพื้นที่มักกะสันคาดว่าจะต้องใช้ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทหลังจากนี้ไปอีกประมาณ 5 ปี คงจะได้เห็นภาพการพัฒนาพื้นที่ย่านแก่งคอยและมักกะสันชัดเจนยิ่งขึ้นหากรัฐบาลชุดใหม่เร่งตัดสินใจ"

ทั้งนี้บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอรูปแบบการลงทุนพื้นที่มักกะสันไว้ 4 รูปแบบดังนี้ คือ

1. ลงทุนโดยร.ฟ.ท.
2. ลงทุนโดยร.ฟ.ท.และบริหารตามสัญญา (ร.ฟ.ท.ได้รับประกันรายได้ขั้นต่ำจากเอกชนบางส่วน) 3. เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนหรือ PPPs และ
4. เอกชนลงทุนทั้งหมด

สำหรับแหล่งทุนนั้นจะใช้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้คือ
1. เงินอุดหนุนของภาครัฐในลักษณะให้เปล่า
2. ใช้เงินยืมจากภาครัฐโดยไม่คิดดอกเบี้ย
3. เงินกู้จากภาคเอกชน และ
4. ผู้ลงทุนสถาบัน (รวมเอกชนหลายราย)

โดยราคาที่ดินพื้นที่มักกะสันตามราคาประเมินของกรมที่ดินมูลค่าเท่ากับ 150,000 บาทต่อตารางวา หากคิดจากพื้นที่ประมาณ 500 ไร่จะเท่ากับ 29,826 ล้านบาท ช่วงระยะเวลาการเช่า 30 ปี คิดค่าเช่าปีที่ 1 จำนวน 30% ของค่าเช่าทั้งหมด ช่วงระยะเวลาการก่อสร้างปีที่ 2-4 คิดค่าเช่า 25%, 50% และ 75% ของค่าเช่าที่จะต้องชำระในปีที่ 1 เมื่อเริ่มเปิดดำเนินการ (ปีที่ 5)

"ค่า IRR ของพื้นที่โรงการประมาณ 11.36% คิดรายได้ค่าเช่า ณ ราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ 28,289 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาเช่า 34 ปี (บวกก่อสร้าง 4ปี) ซึ่งคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 11,766 ล้านบาท โดยคิด ณ อัตราลด 7% ต่อปี โดยร.ฟ.ท.จะได้รับค่าเช่าที่ดินมักกะสันปลายปีที่ 6 เมื่อลงทุนและย้ายอาคารต่างๆ ออกจากพื้นที่มักกะสันแล้วเสร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2014 11:53 pm    Post subject: Reply with quote

ปตท.ย้ำไม่จ่ายเพิ่มค่าที่ร.ฟ.ท. ส่งต่ออัยการไกล่เกลี่ย-โต้เศรษฐกิจหดตัวชี้แค่เสียโอกาส
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
15 กุมภาพันธ์ 2557

“ไพรินทร์” เผยปัญหาเช่าที่ดินสำนักงานใหญ่ ปตท.หมดอายุ ยังไม่มีการจ่ายค่าเช่าเพิ่ม เหตุสำนักงานอัยการอยู่ระหว่างพิจารณาไกล่เกลี่ย ระบุเศรษฐกิจไทยไม่หดตัวแค่เสียโอกาสทางธุรกิจ ยืนยัน ปตท.ยังไม่คิดปรับกลยุทธ์ช่วง 6 เดือนนี้ กลางปี 2557 พิจารณาอีกครั้ง
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า กรณีปัญหาสัญญาเช่าที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ปตท.สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน ได้หมดอายุลงเมื่อเดือน มี.ค.2556 และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เรียกร้องเก็บค่าเช่าที่ดินเพิ่มจาก 800 ล้านบาทต่อปี เป็น 1,792 ล้านบาทต่อปี ซึ่ง ปตท.ยังไม่ยินยอม เนื่องจากในอดีตมีการทำสัญญาเสมือนซื้อขาดกันไปแล้วนั้น และขณะนี้ยังไม่มีการชำระเงินค่าเช่าเพิ่มแต่อย่างใด และเรื่องข้อขัดแย้งดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ว่า หากหน่วยงานรัฐต่อหน่วยงานรัฐมีปัญหาระหว่างกัน จะให้อัยการทำหน้าที่พิจารณาไกล่เกลี่ยแทนการฟ้องร้องทางกระบวนการยุติธรรม
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ปตท.ได้เช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท.ไปแล้ว 30 ปี และยืนยันว่าการทำสัญญาขอใช้ที่ดินดังกล่าวครั้งแรกในนามการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เมื่อปี 2526 เป็นรูปแบบเสมือนการซื้อขายที่ดินดังกล่าว แต่เนื่องจากที่ดินของ ร.ฟ.ท.ไม่สามารถซื้อขายได้ จึงทำสัญญาเช่า 30 ปี และ ปตท.ได้สิทธิในการต่อสัญญาอีก 30 ปี โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน
ขณะที่ ร.ฟ.ท.เห็นว่าเมื่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ถือว่าผลผูกพันทางนิติกรรมได้สิ้นสุดลงแล้ว ทำให้ ร.ฟ.ท.มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้ที่ดินได้ อีกทั้ง ปตท.ได้นำพื้นที่ที่เช่าไปเปิดให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เช่าต่อในราคา 70 ล้านบาทต่อปี และนำพื้นที่บางส่วนไปเปิดเป็นสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับ ปตท.จำนวนมาก จึงต้องเก็บค่าเช่าเพิ่ม
นายไพรินทร์กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2557 แม้ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจหลายแห่งจะออกมาระบุว่า ในปี 2557 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะลดลงจาก 4% เหลือ 3% หรือต่ำกว่านั้น เพราะปัญหาการเมืองภายในประเทศ แต่มองว่าเศรษฐกิจประเทศไทยไม่ได้หดตัวลง แต่เป็นการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจมากกว่า
ทั้งนี้ ปัจจัยผลกระทบทางการเมืองในประเทศเป็นเรื่องชั่วคราว ซึ่งประเทศไทยต้องเสียโอกาสทางธุรกิจไประยะหนึ่ง แต่ไม่ได้รุนแรงเมื่อเทียบกับปัญหาผลกระทบที่มาจากเศรษฐกิจต่างประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างแท้จริง และทำให้เห็นถึงการหดตัวทางเศรษฐกิจได้
ดังนั้น ปัจจุบัน ปตท.จึงยังไม่มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อรองรับผลกระทบจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ และไม่มีการปรับลดงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์แต่อย่างใด แต่อาจมีแนวโน้มจะเพิ่มงบประชาสัมพันธ์ขึ้นด้วย ซึ่งเป็นไปตามผลกำไรที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ปตท. อาจต้องประชุมพิจารณาด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจอีกครั้งกลางปี 2557 เพื่อประเมินสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศ รองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2014 1:41 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ประกาศค่าเช่าสวนจตุจักรอัตราใหม่ โดยแผนกประชาสัมพันธ์ รฟท.
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=806577129357160&set=a.135499539798259.25332.129946050353608&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2014 10:34 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ประกาศค่าเช่าสวนจตุจักรอัตราใหม่ โดยแผนกประชาสัมพันธ์ รฟท.
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=806577129357160&set=a.135499539798259.25332.129946050353608&type=1


ร.ฟ.ท.ยังไม่ต่อสัญญาเช่าผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรที่ฟ้องศาลคุ้มครอง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 กุมภาพันธ์ 2557 15:51 น.

ร.ฟ.ท.แจ้งผู้เช่าในตลาดนัดจตุจักรเซ็นต่อสัญญาอีก 5 ปี เดือนละ 3,157 บาท ยื่นเอกสารได้ระหว่างวันที่ 23-25 ก.พ. 57 และวันที่ 1-4 มี.ค. 57 รายที่ฟ้องศาลปกครองขอคุ้มครองยังไม่ได้รับสิทธิ์ต่อสัญญา

รายงานข่าวแจ้งว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้อนุญาตให้ต่อสัญญาเช่าแผงค้าภายในตลาดนัดจตุจักรกับผู้เช่าต่อไปอีก กำหนดระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2557 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยแจ้งให้ผู้เช่าติดต่อชำระเงินค่าเช่า และค่าต่างๆ พร้อมลงนามสัญญาเช่าได้ในวันเสาร์ และอาทิตย์ที่ 22 และ 23 กุมภาพันธ์ 2557, วันที่ 1 และ 2 มีนาคม 2557 เวลา 08.30-18.00 น. และวันจันทร์ที่ 24 วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 วันจันทร์ที่ 3 และวันอังคารที่ 4 มีนาคม 2557 เวลา 08.30-16.30 น. ณ เต็นท์โดมสีขาว หลังกองอำนวยการบริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร (บริเวณประตู 1)

โดยมีอัตราค่าเช่าแผงค้า 3 ส่วน คือ โครงการ 1-28 ค่าเช่ารวม 3,618 บาทต่อเดือน (ค่าเช่าแผง 3,157 บาท ค่าภาษี 451 บาท ค่าบัตรธนาคาร 10 บาท) โครงการ 29 (แผงหนังสือ) ค่าเช่ารวม 2,068 บาทต่อเดือน (ค่าเช่าแผง 1,800 บาท ค่าภาษี 258 บาท ค่าบัตรธนาคาร 10 บาท โครงการ 30 (พื้นที่สีเขียว) ค่าเช่ารวม 2,182 บาทต่อเดือน (ค่าเช่าแผง 1,900 บาท ค่าภาษี 272 บาท ค่าบัตรธนาคาร 10 บาท) โดยค่าภาษีฯ เป็นอัตราที่สำนักงานเขตจตุจักรกำหนด

ทั้งนี้ ผู้เช่าต้องนำคู่ฉบับสัญญาเช่าฉบับจริง บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้อง ใบเสร็จรับเงินค่าเช่า, ค่าภาษีฯ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 และเงิน ค่าเช่า, ค่าภาษีฯ เดือนมีนาคม 2557 ไปยื่นประกอบการลงนามการต่อสัญญาเช่าด้วย สำหรับผู้เช่าที่ค้างชำระค่าเช่า, ค่าภาษีฯ และค่าอื่นๆ จะต้องดำเนินการชำระให้ครบถ้วนก่อนจึงจะพิจารณาการต่อสัญญาเช่า รายละเอียดสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองอำนวยการบริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร (บริเวณประตู 1) โทรศัพท์ 0-2272-4813-4

สำหรับผู้เช่าที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางและขอคุ้มครองชั่วคราวไม่ชำระค่าเช่าตามที่ ร.ฟ.ท.กำหนด ร.ฟ.ท.ไม่รับพิจารณาการต่อสัญญา จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2014 4:27 pm    Post subject: Reply with quote

โวยเช่าช่วงฟันกำไรอื้อ-ปิ๊งสร้างส้วมเข้าฟรี ตลาดนัดจตุจักรต่อสัญญารายเดิม5ปี
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลา 09:19 น.

นายไพศาล ทรัพย์รุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้อำนวยการตลาดนัด
จตุจักร การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงกรณี รฟท.เปิดให้ผู้เช่าแผงค้าตลาดนัดจตุจักรเข้ามาต่อสัญญาใหม่อีก 5 ปี ตั้งแต่เดือนมี.ค.2557-ก.พ.2562 ต่อจากสัญญาเช่าเดิม ที่ครบกำหนด 2 ปี เดือนมี.ค.2555-ก.พ.2557 ว่า ตั้งแต่เปิดให้ผู้ค้ามาต่อสัญญาวันที่ 22-24 ก.พ.2557 มีผู้ค้า เข้ามาทำสัญญาแล้วกว่า 2,000 ราย จาก 8,480 ราย หรือคิดเป็น 30% ของผู้ค้าที่เช่าแผงค้าตลาดนัดจตุจักรทั้งหมด โดยคิดเป็นเงินค่าต่อสัญญา 13 ล้านบาท แต่หลังจากนี้จนถึงวันที่ 4 มี.ค.2557 คาดจะมีคนทำสัญญาเพิ่มต่อเนื่องคิดเป็นเงินกว่า 40 ล้านบาท

"เมื่อสิ้นสุดการต่อสัญญาในวันที่ 4 มี.ค.นี้ รฟท.คงไม่เพิ่มเวลาให้ต่อสัญญาอีกแล้ว โดยผู้ค้าที่มาต่อสัญญารอบนี้ต้องจ่ายค่าเช่าที่ค้างชำระให้หมด จึงจะต่อสัญญาได้ แต่หากไม่มาต่อในเวลาที่กำหนดเราจะมีมาตรการจัดการ และอาจนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับตลาดนัดจตุจักรเพื่อหาทางออก ต่อไป" นายไพศาลกล่าว

นายไพศาลกล่าวว่า รฟท.มีแนวคิดที่จะสร้างห้องน้ำใหม่เพื่อนำมาให้บริการฟรีกับนักท่องเที่ยว และประชาชนที่มาตลาดนัดจตุจักร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานติดต่อไปยังบริษัทค้าวัสดุก่อสร้าง และกระเบื้องรายใหญ่ครบวงจร เช่น เอสซีจี เพื่อขอความร่วมมือให้สร้างห้องน้ำให้ฟรีภายในบริเวณตลาด โดยจะให้บริษัทดังกล่าวทำข้อความหรือแผ่นป้ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า ของทางบริษัทฟรีภายในบริเวณพื้นที่ห้องน้ำได้

"ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร (กทม.) รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการห้องน้ำภายในบริเวณตลาดนัดจตุจักร ซึ่งมีเพียง 8 จุด ยังไม่เพียงพอ รวมทั้งเป็นห้องน้ำที่ใช้งานมานานหลายปี ดังนั้น รฟท.จะเร่งสร้างห้องน้ำใหม่โดยเร็ว และในปี 2557 รฟท.ได้งบฯ อีก 70 ล้านบาท เพื่อใช้พัฒนาพื้นที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ค้าและผู้ซื้อ เช่น เปลี่ยนไฟฟ้ารอบโครงการ ปรับปรุงผิวจราจรโดยรอบ ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีนี้" นายไพศาลกล่าว

นายชาตรี โสภณบรรณารักษ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการค้าตลาดนัดจตุจักร กล่าวว่า กลุ่มผู้ค้าเห็นด้วยกับเงื่อนไขที่ รฟท.ให้ต่อสัญญาเช่าแผงค้าในตลาดนัดจตุจักรต่อไปอีก 5 ปี ในราคาค่าเช่าเดิมเฉลี่ยเดือนละ 3,157 บาท และภาษีโรงเรือน 451 บาท เพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจยุคนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้จะมีการต่อสัญญาเช่าใหม่ แต่ปัญหาการเช่าช่วง หรือผู้ได้สิทธิไม่ยอมขายของเอง ยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยในตลาดนัดจตุจักรมีมากกว่า 40% ที่ไม่ได้ขายเอง และปล่อยให้เช่าต่อทำกำไรถึงเดือนละ 8,000-10,000 บาท แต่ยอมรับว่าแก้ไขยาก เพราะเป็นการเช่าแบบปากเปล่า ทำให้ตรวจสอบเอาผิดยาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2014 8:29 pm    Post subject: Reply with quote

ทุ่ม1.7แสนล.บูมสถานีบางซื่อ-ย่านพหลฯ ดึงเอกชนลงทุน ผุดบีอาร์ที-อุโมงค์เชื่อมห้างเซ็นทรัล-ปตท.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
3 มีนาคม 2557 เวลา 12:12:03 น.


เปิดพิมพ์เขียวแสนล้านโครงข่ายคมนาคม บูมย่านพหลโยธิน-บางซื่อ ผุดบีอาร์ที-รถรางระยะทาง 10 กม. มูลค่ากว่า 7 พันล้าน เชื่อมห้างเซ็นทรัล เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ สวนจตุจักร สถานีรถไฟฟ้า 3 สาย "สีแดง-ใต้ดิน-บีทีเอส" พ่วงขุดอุโมงค์ทางเดินยาว 1.5 กม. เนรมิตพื้นที่ค้าปลีกใต้ดินกว่า 1.6 แสนล้าน เล็งดึงเอกชนร่วมลงทุนแลกสิทธิ์เช่าที่ดิน 127 ไร่ ยาว 30 ปี

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สนข.ได้ข้อสรุปผลการศึกษาระบบเชื่อมต่อบริเวณศูนย์คมนาคมย่านพหลโยธิน พื้นที่ 2,325 ไร่ เพื่อรองรับการเดินทางเชื่อมโยงภายในและรอบนอกสถานีกลางบางซื่อให้มีความ สะดวกมากขึ้นตามแผนโครงการจะเปิดใช้ในปี 2560 โดยมี 2 รูปแบบ คือ 1.ระบบขนส่งขนาดรอง มีให้เลือกระหว่างรถราง (Tram) หรือบีอาร์ที ซึ่งเป็นรถเมล์ด่วน และ 2.สร้างอุโมงค์ทางเดินเชื่อมใต้ดิน

ผุดบีอาร์ที-รถราง-อุโมงค์

โดย รถรางและบีอาร์ทีโครงสร้างมีทั้งยกระดับและระดับดิน แนวเส้นทางวิ่งเป็นวงกลมจากสถานีกลางบางซื่อผ่านรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีจตุจักร ห้างเซ็นทรัล อาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ โครงการพัฒนาย่าน กม.11 สิ้นสุดที่สถานีจตุจักรของรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)

ส่วนอุโมงค์รูปแบบเป็นทางเดินใต้ดิน3 ชั้น ระยะทาง 1.5 กม. บนพื้นที่ 127 ไร่ เชื่อมพื้นที่ 3 สถานี คือ สถานีกลางบางซื่อ รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีกำแพงเพชร สถานีจตุจักร และรถไฟฟ้าบีทีเอสจตุจักร จะพัฒนาเป็นแหล่งช็อปปิ้ง เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่จอดรถใต้ดินเหมือนในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น

"กำลังดูรายละเอียด ความเป็นไปได้ในการลงทุนและพัฒนาพื้นที่ บางส่วนให้เอกชนมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น อุโมงค์ทางเดิน จะทำสถานีให้เป็นหลายชั้น เปิดให้ทำเป็นร้านขายของเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงโปรเจ็กต์ได้ เพราะสถานีกลางบางซื่อคาดว่าจะมีคนมาใช้บริการมากในแต่ละวัน รวมทั้งมีพื้นที่ให้ร้านค้าบางส่วนที่ตลาดนัดจตุจักรมาขายด้วย" นายจุฬากล่าวและว่า

ในอนาคตสถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางด้าน ระบบราง ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟธรรมดา และรถไฟความเร็วสูง รูปแบบเหมือนกับสถานีเซ็นทรัลที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย แต่จะมีพื้นที่ใหญ่กว่าหลายเท่า ดังนั้นถ้าจะปล่อยไม่มีการพัฒนาเลยคงเป็นไปไม่ได้ วิธีการคือเคลียร์การพัฒนาบริเวณนี้ใหม่โดยไม่ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต่อสัญญาเช่าที่ดินอีก

เฟสแรกลงทุน 3 พันล้าน

"จำ เป็นต้องจัดระเบียบการใช้ประโยชน์แปลงที่ดินทั้งย่านใหม่ โดยเจรจากับผู้เช่าเดิมให้มาเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ใต้ดินแทน แลกกับให้สัญญาเช่านานขึ้น ต่อไปสถานีกลางบางซื่อจะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางทั้งรถเมล์ รถ บขส. รถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง คนจะเยอะมากเมื่อมีกิจกรรมในอุโมงค์ตลอดสองข้างทาง มู้ดจะแตกต่างกับไม่มีอะไรเลย"

นายวิจิตร นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร (สพร.) สนข.กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบที่บริษัทที่ปรึกษานำเสนอ เบื้องต้นให้เป็นระบบบีอาร์ที เพราะ ค่าก่อสร้างถูกและมีความคุ้มค่าการลงทุนมากที่สุดอยู่ที่ 19.25% เมื่อเทียบกับรถราง แต่ทั้งนี้ระบบรถรางเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลใหม่จะอนุมัติลงทุนรูปแบบไหน คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปี 2558-2560 เพื่อให้ทันเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อปี 2560

สำหรับแนวเส้นทางออกแบบ ให้มีระยะทาง 10.3 กม. แยกเป็นโครงสร้างยกระดับ 3.14 กม. มีจุดเริ่มต้นวิ่งวนรอบสถานีกลางบางซื่อ เป็นที่ตั้งสถานีที่ 1-2 แล้วตัดเลาะเส้นทางไปตามแนวรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ยกข้ามทางด่วนและสวนจตุจักรมาถึงบีทีเอสหมอชิตที่จะเป็นจุดที่ตั้งของสถานี ที่ 3-4 จากนั้นสถานีที่ 5-13 จะเป็นระดับดินระยะทาง 7.16 กม. ใช้เงินลงทุนทั้งโครงการ 7,359.9 ล้านบาท

เชื่อมบางซื่อ-เซ็นทรัล

"ที่ปรึกษาเสนอให้แบ่งก่อสร้าง 2 เฟส คือ ระยะแรกพัฒนาจากสถานีกลางบางซื่อ-ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว (สถานีที่ 1-6) ตามแผนจะเริ่มปี 2560 มูลค่าลงทุน 3,793.6 ล้านบาท ส่วนสถานีที่ 7-13 หรือเส้นทางจากเซ็นทรัลลาดพร้าว-สถานีกลางบางซื่อ ให้พัฒนาเป็นระยะที่ 2 เพราะพื้นที่ยังไม่ค่อยมีเหลือพัฒนามากนัก มูลค่าลงทุน 4,504.8 ล้านบาท โดยเป็นแผนลงทุนในปี 2565"

นายวิจิตรกล่าวและว่า ส่วน อุโมงค์ใต้ดิน สนข.จะของบประมาณปี 2558 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเนื่องจากใช้เงินลงทุนสูงเพราะรวมการลงทุนพัฒนา ส่วนพลาซ่าด้วย คาดว่าใช้เงินลงทุน 169,378 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างอุโมงค์ 1.5 กม. วงเงิน 55,180 ล้านบาท ค่าดำเนินการส่วนพลาซ่า 114,198 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี

นาย วิจิตรกล่าวว่า ในส่วนพลาซ่าออกแบบพัฒนาบนพื้นที่ 127.5 ไร่ประกอบด้วย
1.พื้นที่สวนสาธารณะ มีอาคารพาณิชยกรรมขนาดเล็กกระจายอยู่รอบนอก 204,000 ตร.ม.
2.พื้นที่พัฒนาใต้ดิน เป็นทางเดินเชื่อมสถานีกลางบางซื่อ-รถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอสที่หมอชิต 63.6 ไร่ พื้นที่เช่า 118,102.5 ตร.ม.

รายละเอียดเชิงลึกมีการแบ่งพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ 9 โซน (เอถึงเอช) ได้แก่
โซนเอ 23 ไร่ พื้นที่เช่า 21,204 ตร.ม.,
โซนบี 2 ไร่ พื้นที่เช่า 1,080 ตร.ม.,
โซนซี 3.6 ไร่ พื้นที่เช่า 1,260 ตร.ม.,
โซนดี 2.7 ไร่ พื้นที่เช่า 2,263 ตร.ม.,
โซนอี 2.5 ไร่ พื้นที่เช่า 2,263 ตร.ม.,
โซนเอฟ 9.2 ไร่ พื้นที่เช่า 3.609 ตร.ม.,
โซนจี 4.6 ไร่ พื้นที่เช่า 3,496 ตร.ม. และ
โซนเอช 11 ไร่ พื้นที่เช่า 13,950 ตร.ม.

ดึงเอกชนบูมค้าปลีกใต้ดิน

"การลงทุนอุโมงค์ทางเดิน เบื้องต้นจะให้เอกชนที่สนใจมาลงทุนทั้งหมดรวมถึงระบบบีอาร์ทีด้วย คิดเป็นเงินลงทุนรวมประมาณ 176,737 ล้านบาท โดยแลกสิทธิ์การเช่าพื้นที่พลาซ่าระยะยาว 30 ปี แบ่งรายได้บางส่วนให้การรถไฟฯเพราะเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่จะตัดสินใจ แต่ถือว่าคุ้มเพราะคนจากรอบนอกที่ใช้โครงข่ายรถไฟฟ้าจะป้อนเข้ามาในย่านนี้ วันละกว่า 2 แสนคน" นายวิจิตรกล่าวและว่าในปี 2560 การเดินทางเข้า-ออกย่านนี้จะเพิ่มเป็น 297,844 เที่ยวคน/วัน จากปัจจุบัน 2 แสนเที่ยวคน/วัน หลังเปิดรถไฟฟ้า 3 สาย คือ สีแดง (บางซื่อ-รังสิต, บางซื่อ-ตลิ่งชัน) สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ, หัวลำโพง-บางแค) สีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2014 1:34 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เปิดโรดแมปทำเลทอง
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อวันอังคารที่ 04 มีนาคม 2014 เวลา 13:44 น.
พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,928 วันที่ 6 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

ร.ฟ.ท.จัดแผนพัฒนาพื้นที่ย่านจตุจักร-บางซื่อ-ย่านพหลโยธิน ตั้งเป้ากวาดรายได้ปี 57 กว่า 2 พันล้าน หลังล่าช้าข้ามปีก็ยังไม่สำเร็จ ส่วนพื้นที่สถานีกลางบางซื่อรอก่อสร้างให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะนำพื้นที่เหลือไปพัฒนา

นายไพศาล ทรัพย์รุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงการเตรียมแผนพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน ให้สอดคล้องกับอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.กำลังเร่งดำเนินการแผนการพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ดังนี้คือ ตลาดนัดจตุจักร พื้นที่กิโลเมตรที่ 11 พื้นที่สถานีกลางบางซื่อ พื้นที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) และพื้นที่สวนสาธารณะ รวมทั้งหมดประมาณ 2,000 ไร่ โดยปี 2557 นี้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินตั้งเป้าสร้างรายได้จากการพัฒนาทรัพย์สินของร.ฟ.ท.ไว้ราว 2,000 ล้านบาท เช่นปีที่ผ่านมา

พื้นที่หลักยังเป็นช่วงกิโลเมตรที่ 11 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารปตท.นั้นยังอยู่ระหว่างการตรวจรับผลการศึกษาแผนแม่บทพื้นที่กิโลเมตรที่ 11 เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นชอบต่อไป ส่วนพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรล่าสุดนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการร.ฟ.ท.อนุมัติให้มีการต่อสัญญาเช่าแผงค้ารอบใหม่ออกไปอีก 5 ปี พร้อมพัฒนาพื้นที่ภายในตลาดนัดจตุจักรให้ผู้มาใช้บริการเดินสะดวกและปลอดภัย ตามนโยบายของคณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งรัดให้มีการเซ็นสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาให้ออกแบบรายละเอียดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ส่วนพื้นที่สถานีกลางบางซื่อคงต้องรอให้การก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดก่อนหลังจากนั้นจึงจะพิจารณาพื้นที่ในส่วนที่เหลือว่าจะสามารถนำไปพัฒนาได้มากน้อยเพียงใด

ขณะนี้มีผู้ค้ามาลงนามต่อสัญญารอบใหม่ออกไปอีก 5 ปีแล้วกว่า 2 พันราย หรือคิดเป็นประมาณ 30% สร้างรายได้ให้กับร.ฟ.ท.แล้วประมาณ 13 ล้านบาท เมื่อต่อสัญญาแล้วเสร็จจะเปิดให้ภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาตลาดแห่งนี้เพื่อแลกกับการได้สิทธิ์โฆษณาบนพื้นที่ต่างๆ

ส่วนพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ปัจจุบันเปิดให้บริการอาคารอินสแควร์ ส่วนพื้นที่ต่อเนื่องกันจะมีการก่อสร้างอาคารสูงของกลุ่มบริษัท นวลจันทร์ออโต้ จำกัด ที่เดิมมีการฟ้องร้องคดีในศาล ขณะนี้มีประนีประนอมกันเพื่อแลกกับการขอรับสิทธิ์พัฒนาต่อไปได้ และอาคารไทม์สแควร์ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนโซนพื้นที่ด้านหลังจะใช้ก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อทั้งหมด เช่นเดียวกับพื้นที่ใต้ทางด่วนด้านหน้าสถานีขนส่งหมอชิตช่วงที่ผ่านมาอยู่ระหว่างการฟ้องร้องของบริษัท ไดม่อนไฟว์ จำกัด ในฐานะผู้เช่าพื้นที่กับร.ฟ.ท.เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่ได้เพราะมีผู้อ้างสิทธิ์การเช่าอยู่ก่อนแล้ว โดยจะครบกำหนดต่อสัญญารอบใหม่ในวันที่ 8 มีนาคมนี้

"ล่าสุดได้มีการเวนคืนพื้นที่คู่ขนานทางด่วนทั้งหมดเพื่อไปก่อสร้างทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)เส้นทางมุ่งสู่วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก จึงเป็นไปได้ว่าหากพื้นที่ไหนเป็นคดีต่อกันกับร.ฟ.ท.ก็คงจะว่าความกันไปอีกนาน"

สำหรับแปลง 105 ไร่ที่มีแผนจะย้ายโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรไปตั้งอยู่ในพื้นที่พร้อมกับโยกประชาชนช่วงกม.11 ไปรวมเอาไว้ด้วยก็จะทำให้พื้นที่ต่อเนื่องกับปตท.ในปัจจุบันสามารถพัฒนาพื้นที่ได้ตามแผนแม่บทที่ต่อเนื่องมาถึงใต้ทางด่วนในปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2014 1:28 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟพัฒนาที่เชิงพาณิชย์ปั๊มรายได้2พันล.
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
10 มีนาคม พ.ศ. 2557

ร.ฟ.ท.เร่งพัฒนาพื้นที่ย่านจตุจักร-บางซื่อ-พหลโยธิน ตั้งเป้าปั๊มรายได้ปีนี้ 2 พันล้านบาท
นายไพศาล ทรัพย์รุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.ได้เร่งดำเนินการแผนการพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน ซึ่งประกอบด้วย พื้นที่ตลาดนัดจตุจักร พื้นที่กิโลเมตรที่ 11 พื้นที่สถานีกลางบางซื่อ พื้นที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และพื้นที่สวนสาธารณะ รวมทั้งหมดประมาณ 2,000 ไร่ โดยปี 2557 ฝ่ายบริหารทรัพย์สินตั้งเป้าสร้างรายได้จากการพัฒนาทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท.ไว้ประมาณ 2,000 ล้านบาท เท่ากับปีที่ผ่านมา
สำหรับพื้นที่หลักยังเป็นช่วงกิโลเมตรที่ 11 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคาร ปตท.นั้น ยังอยู่ระหว่างการตรวจรับผลการศึกษาแผนแม่บทพื้นที่กิโลเมตรที่ 11 เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) เห็นชอบต่อไป ส่วนพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร ล่าสุด นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. อนุมัติให้มีการต่อสัญญาเช่าแผงค้ารอบใหม่ออกไปอีก 5 ปี
ส่วนพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ปัจจุบันเปิดให้บริการอาคารอินสแควร์ ส่วนพื้นที่ต่อเนื่องกันจะมีการก่อสร้างอาคารสูงของกลุ่มบริษัท นวลจันทร์ออโต้ จำกัด ที่เดิมมีการฟ้องร้องคดีในศาล ขณะนี้มีการประนีประนอมกันเพื่อแลกกับการขอรับสิทธิ์พัฒนาต่อไปได้ และอาคารไทม์สแควร์ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนโซนพื้นที่ด้านหลังจะใช้ก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อทั้งหมด เช่นเดียวกับพื้นที่ใต้ทางด่วนด้านหน้าสถานีขนส่งหมอชิต ช่วงที่ผ่านมาอยู่ระหว่างการฟ้องร้องของบริษัท ไดม่อนไฟว์ จำกัด ในฐานะผู้เช่าพื้นที่กับ ร.ฟ.ท. โดยจะครบกำหนดต่อสัญญารอบใหม่ในวันที่ 8 มี.ค.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2014 10:40 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ลุยรีสอร์ตรุกที่ดินรถไฟจ.กาญจน์
วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2014 เวลา 13:18 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

การรถไฟเดินหน้าแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ปัดฝุ่นที่ดินแปลงนอกแนวแผนพัฒนารถไฟทางคู่-ไฮสปีดเทรน เล็งพื้นที่กว่า 1 พันไร่ที่กาญจนบุรี บริเวณสถานีน้ำตก ชี้เป็นทำเลไม่อยู่ในแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟ หลังมีผู้บุกรุกสร้างรีสอร์ตท่องเที่ยวหลายราย บิ๊กทรัพย์สินร.ฟ.ท.เร่งใช้แนวพิกัดดาวเทียมตรวจสอบ ด้าน "ประภัสร์" ยันผู้บุกรุกต้องออกจากพื้นที่

นายไพศาล ทรัพย์รุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแผนพัฒนาพื้นที่ดินเชิงพาณิชย์ที่ไม่อยู่ในแนวเส้นทางตามแผนพัฒนารถไฟทางคู่ของร.ฟ.ท.และรถไฟความเร็วสูงของกระทรวงคมนาคม เพื่อหารายได้ในปี 2557 นี้ ที่ได้ตั้งเป้าไว้จำนวน 2,000 ล้านบาทจากการจัดเก็บค่าเช่า ค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่แปลงต่างๆนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแปลงที่ดินนำมาพัฒนาพื้นที่โซนตะวันตก

โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งร.ฟ.ท.มีพื้นที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาจำนวนประมาณ 1,070 ไร่ โดยปัจจุบันมีผู้บุกรุกสร้างรีสอร์ตจำนวนมากจึงต้องเร่งขับไล่ผู้บุกรุกให้ออกจากพื้นที่เพื่อนำที่ดินไปพัฒนาสร้างรายได้ให้ร.ฟ.ท.ซึ่งนโยบายของนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการร.ฟ.ท. ให้ขับไล่ออกไปจากพื้นที่โดยเร็ว เนื่องจากเป็นการครอบครองอย่างไม่ถูกต้องโดยได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพย์สินไปตรวจหาพิกัดทางดาวเทียมให้ชัดเจนตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา พร้อมกับได้แจ้งให้ผู้บุกรุกทราบแล้วหลายราย

ประการสำคัญพื้นที่กาญจนบุรีโดยเฉพาะพื้นที่โดยรอบสถานีน้ำตกไทรโยคน้อยและไทรโยคใหญ่ในเส้นทางรถไฟสายมรณะจังหวัดกาญจนบุรี ไม่ได้มีการพัฒนาที่เป็นเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่มานานจึงมีแนวคิดปัดฝุ่นแต่ละสัญญาเพื่อหารายได้ให้ร.ฟ.ท.เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับพบว่ามีผู้บุกรุกจำนวนมากและครอบครองพื้นที่มานานทั้งการสร้างรีสอร์ต ที่อยู่อาศัยจึงต้องเร่งดำเนินการและเชิญผู้บุกรุกเข้าชี้แจงเพื่อให้เร่งย้ายออกจากพื้นที่โดยเร็วต่อไป

อย่างไรก็ดีล่าสุด ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการบุกรุกเข้าไปดำเนินงานในพื้นที่แล้วพร้อมกับเตรียมจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาเส้นทางนี้ทั้งสายโดยแนวคิดผู้ว่าการร.ฟ.ท.ต้องการพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ไม่แบ่งย่อยอีกต่อไป ปัจจุบันศูนย์เทคนิค ร.ฟ.ท.ดูแลพื้นที่แต่เนื่องจากบุคลากรมีจำนวนน้อยจึงดูแลไม่ทั่วถึง ดังนั้นในปีนี้เมื่อมีนโยบายให้หารายได้เพิ่ม จึงต้องนำที่ดินแต่ละแปลงกลับมาตรวจสอบเพื่อเดินหน้าพัฒนาเชิงพาณิชย์หารายได้

โดยเส้นทางภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงทั้งสิ้น จึงเหลือเพียงเส้นทางตะวันตกเท่านั้นที่น่าจะนำไปพัฒนาได้ ประกอบกับช่วงปีที่ผ่านมารายได้หายไปมากจากการไม่อนุญาตให้มีการต่อสัญญาเพราะต้องกันพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจึงต้องไปหาชดเชยจากที่ดินแปลงที่สามารถนำไปพัฒนาโดยเฉพาะแปลงที่ถูกบุกรุกที่กาญจนบุรีซึ่งมีพื้นที่กว่าพันไร่โดยตั้งเป้าว่าปีนี้รายได้ต้องเพิ่ม 5% โดยเฉพาะรายได้จากการต่อสัญญาเช่าที่จะระดมตรวจสอบเข้มงวดมากขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา

ต่อเรื่องนี้ แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการรีสอร์ตรายหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรีกล่าวให้ความเห็นว่า ร.ฟ.ท.อาจจะไม่รื้อทิ้ง หากตรวจสอบพบว่ามีรายใดบุกรุกมานานแล้ว แต่อาจจะเจรจาให้ผู้ประกอบการรายนั้นเช่าพื้นที่ประกอบการรีสอร์ตต่อไปได้ พร้อมกับคิดชดเชยสำหรับงบประมาณการลงทุนของภาคเอกชนเอาไว้ด้วยโดยอาจจะชดเชยด้านระยะเวลาการเช่า สิ่งสำคัญผู้ประกอบการก็จะไม่เดือดร้อนจากรายได้ที่ขาดหายไป ร.ฟ.ท.ก็มีรายได้กลับคืนและสามารถกำหนดแผนพัฒนาพื้นที่ชัดเจนต่อไปได้ เมื่อครบกำหนดสัญญาค่อยมาว่ากันใหม่อีกที

ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการร.ฟ.ท.กล่าวถึงเรื่องนี้ว่ายังยืนยันว่าผู้บุกรุกจะต้องย้ายออกไปก่อนเพราะหากมีการปล่อยให้เช่าต่อไปก็จะเป็นบรรทัดฐานให้ผู้บุกรุกรายอื่นกระทำตามได้ เพื่ออ้างสิทธิ์ว่าลงทุนไปแล้วจำนวนมากทั้งๆที่เป็นการได้มาซึ่งที่ดินอย่างไม่ถูกต้อง จึงเป็นไปไม่ได้ว่าผู้บุกรุกอ้างไม่ทราบว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของใคร เพราะสำนักงานที่ดินในพื้นที่ให้คำตอบได้เป็นอย่างดี

"ต้องให้มีการย้ายออกไปทั้งหมดเพื่อให้พื้นที่ชัดเจนแล้วจึงค่อยทำแผนการพัฒนาว่าจะให้เป็นไปในรูปแบบใดบ้าง ไม่จำเป็นว่าจะต้องสร้างรีสอร์ตอย่างเดียวเท่านั้น โดยเตรียมลงพื้นที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงในเร็วๆนี้ พร้อมกับจะเปิดโอกาสให้ผู้บุกรุกเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงกับร.ฟ.ท.โดยเร็วต่อไป"

แหล่งข่าวระดับสูง ร.ฟ.ท.กล่าวว่าสำหรับที่ดินแปลงอื่นๆทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด อาทิ หาดใหญ่ อยุธยา เชียงใหม่ ปราจีนบุรี หากไม่อยู่ในแนวเส้นทางการก่อสร้างรถไฟทางคู่หรือรถไฟความเร็วสูงก็จะเร่งต่อสัญญาใหม่ได้ในปี 2557 นี้

"โดยเมื่อปี 2553 ศูนย์เทคนิค ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลบัญชีแสดงพื้นที่ที่ดินของร.ฟ.ท.โดยการตรวจสอบและประเมินที่ดินที่มีอยู่ในการครอบครองและถือกรรมสิทธิ์จำแนกออกเป็นพื้นที่ที่เป็นเขตทาง เขตย่านสถานี(วางราง) เขตบ้านพัก/ที่ทำการและพื้นที่อื่นๆ(เพื่อทำประโยชน์เชิงพาณิชย์) ปัจจุบันร.ฟ.ท.มีที่ดินทั้งหมดจำนวน 2.3 แสนไร่ จำแนกเป็นการใช้เพื่อการเดินรถ 1.98 แสนไร่ และพื้นที่เพื่อทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ 3.6 หมื่นไร่"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,931 วันที่ 16 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2557
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2014 12:08 pm    Post subject: Reply with quote

ขีดเส้นสัญญาเช่าจตุจักร ยื่นคำขาดผู้ค้า 1,800 รายยึกยักโละแผง
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
29 มีนาคม 2557, 05:15 น.

นายไพศาล ทรัพย์รุ่งโรจณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้อำนวยการ ตลาดนัดจตุจักร การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า หลังจาก รฟท.เปิดให้ผู้เช่าแผงค้าตลาดนัดจตุจักรต่อสัญญาใหม่อีก 5 ปี (เดือน มี.ค. 2557-ก.พ.2562) หลังครบกำหนดสัญญาเช่าเดิม 2 ปีแรก โดยได้เปิดให้ผู้เช่าแผงค้ามาต่อสัญญา 2 ช่วงคือ ระหว่างวันที่ 22-24 ก.พ. 57 และวันที่ 1-4 มี.ค.57 แต่ปรากฏว่า ยังมีผู้เช่าที่ติดปัญหาไม่สามารถมาต่อสัญญาได้กว่า 1,800 ราย จากแผงให้เช่าทั้งหมด 8,480 ราย ดังนั้น รฟท.จึงตัดสินใจขยายเวลาให้ผู้เช่ามาต่อสัญญาได้ครั้งสุดท้ายในวันที่ 29-30 เม.ย.นี้ หากผู้เช่ายังไม่เข้ามาต่อสัญญา รฟท.ก็จะตัดสิทธิ์ผู้เช่าแผงค้ารายนั้นๆ

“ทางรถไฟฯ จะผ่อนผันให้พ่อค้า-แม่ค้าเข้ามาต่อสัญญาภายใน 2 วันสุดท้ายตามที่กำหนด หากพบว่าผู้เช่ารายใดมีปัญหาอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเอกสาร หรือเดินทางไปต่างประเทศ เราจะไม่รับฟังเหตุผลใดๆทั้งสิ้น เพราะถือว่าได้ให้โอกาสแล้ว” นายไพศาลกล่าว

ด้านนายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ ประธานคณะกรรมการ รฟท. กล่าวว่า ในส่วนของปัญหาการเช่าช่วงภายในตลาดนัดจตุจักร มีมานานตั้งแต่สมัยที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ดูแล ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจะทำได้ค่อนข้างยาก แต่บอร์ดได้สั่งการให้ฝ่ายบริหารไปดำเนินการแล้ว โดยเบื้องต้น ในช่วงที่ รฟท.มีแผนปรับปรุงภูมิทัศน์และแผงค้าภายในตลาดนัด คงยังไม่ดำเนินการใดๆ เพราะเกรงกระทบต่อผู้ค้าตัวจริง “ต่อไป รฟท.จะพัฒนาตลาดนัดจตุจักรให้เป็นที่พักผ่อน นอกเหนือจากการขายของด้วย ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่าแผงค้าผ้าใบบริเวณหอนาฬิกาในตลาดนัด น่าจะปรับปรุงให้เป็นจุดพักหรือให้ผู้ค้าย้ายมาขายชั่วคราวช่วงที่มีการปรับปรุงในแต่ละโครงการได้ และเมื่อปรับปรุงแล้วจะสามารถเพิ่มพื้นที่ค้าขายให้มากขึ้นได้เช่นกัน โดยจะพัฒนาแผงค้าในบางจุดให้เป็นแผงค้าแบบชั้นครึ่ง และนำร้านค้าแบรนด์ดังๆ ไปอยู่ในชั้นสองที่เพิ่มขึ้นมา”.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102 ... 198, 199, 200  Next
Page 101 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©