Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180373
ทั้งหมด:13491607
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 104, 105, 106 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2014 8:15 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งจัดสรรพื้นที่ริมทางรถไฟแก้ปัญหาก่อสร้างทางคู่


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 สิงหาคม 2557 18:15 น.


“คมนาคม” เผยเครือข่ายสลัม 4 ภาคกังวลแผนพัฒนาระบบรางและรถไฟทางคู่สายใหม่ขนาดราง 1.435 กระทบชุมชนริมทางรถไฟ รับลูกสั่ง สนข.และ ร.ฟ.ท.ออกแบบพร้อมแก้ปัญหาจัดสรรพื้นที่ตลอดเขตทางตั้งแต่ต้น เผยต้องยกระดับหากเจอชุมชนแน่นมาก ขณะที่ยังมีหลายชุมชนเข้าพื้นที่รถไฟจัดสรรไม่ได้หลังตกลงสัญญาและค่าเช่าแล้ว เหตุมีกลุ่มอิทธิพลขัดขวาง


นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมแก้ปัญหาด้านที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมวันนี้ (25 ส.ค.) ว่า ได้หารือร่วมกับผู้แทนชุมชนจากเชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา กรุงเทพฯ ประมาณ 50-60 คน ซึ่งต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรางของกระทรวงคมนาคมที่อาจจะกระทบต่อที่อยู่อาศัย เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สาย จิระ-ขอนแก่น โดยได้ทำความเข้าใจร่วมกันว่าจะแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เช่น ยกระดับเส้นทางในจุดที่ผ่านชุมชนจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรับข้อคิดเห็นในส่วนของโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ขนาดราง 1.435 เมตร จากหนองคายลงมาด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการทบทวนแบบ ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการโดยใช้หลักการเดียวกัน

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้ที่ดิน ภายใต้คณะกรรมการชุดใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งหมดวาระลงตามรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่การทำงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งได้แก้ปัญหาชุมชนริมทางรถไฟไปแล้วหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเข้ามาอยู่อาศัยโดยถูกต้องหรือไม่ ภายใต้หลักการได้รับชดเชยหรือให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดพื้นที่ใหม่ที่อยู่ใกล้เคียง และทำสัญญาเช่าอายุ 30 ปี อัตราค่าเช่า 20 บาทต่อตารางเมตรต่อปี โดยมีการพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพ เช่น ชุมชนพัฒนาเทพารักษ์ 2, 4 จ.ขอนแก่น, ชุมชนเหล่านาดี 12 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 205 ครอบครัว

ส่วนชุมชนที่ตกลงเช่าที่ดินแล้วแต่เข้าพื้นที่ไม่ได้เพราะติดผู้มีอิทธิพล ได้แก่ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟสายสีแดง ชุมชนเขารูปช้าง 2 และชุมชนรถไฟเชียงใหม่-หัวหนอง จำนวน 118 ครัวเรือน, ชุมชนโรงปูนฝั่งตะวันออก มักกะสัน 252 ครัวเรือนยังไม่ได้รับสัญญาเช่า เป็นต้น ซึ่งต้องเร่งแก้ปัญหา

“หลักในการพัฒนาระบบรางจะต้องกระทบชุมชนน้อยที่สุด มีการเวนคืนน้อยที่สุด ร.ฟ.ท.ต้องจัดการเรื่องพื้นที่ให้เหมาะสมและคำนึงถึงการดำเนินโครงการระบบรางที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย จึงต้องมีการร่วมมือกันจัดสัดส่วนที่ดินใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน อัตราค่าเช่าและสัญญาเช่าต้องชัดเจน” นางสร้อยทิพย์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2014 10:48 am    Post subject: Reply with quote

ไฟไหม้จตุจักรพลาซ่ากลางดึก วอด 16 ร้าน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กันยายน 2557 07:47 น.


เกิดเหตุไฟไหม้จตุจักรพลาซ่ากลางดึก บริเวณโซนซี ซอย 2 วอดประมาณ 16 ร้าน เบื้องต้นเจ้าหน้าที่คาดเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

วันนี้ (1 ก.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 02.15 น. มีรายงานว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้ในตลาดนัดจตุจักรพลาซ่า เขตจตุจักร บริเวณโซนขายเฟอร์นิเจอร์ ของตกเเต่งบ้าน และผ้าไหม ที่ตั้งอยู่ในโซนซี ซอย 2 เจ้าหน้าที่ดับเพลิงระดมฉีดน้ำดับเพลิง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงควบคุมเพลิงให้อยู่ในวงจำกัดได้

ทั้งนี้ผู้ที่เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุได้กลิ่นควันไฟ แต่ก็ยังไม่พบความผิดปกติใดๆ จนกระทั่งเวลา 02.15 น. เห็นแสงเพลิงมาจากหลังคาร้านค้าบริเวณซอย 2 ก่อนจะลุกลามไหม้ร้านค้าในบริเวณดังกล่าวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากในบริเวณนี้มีเศษไม้และผ้า ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เบื้องต้นต้นเพลิงน่าจะมาจากห้องเลขที่ 156-157 ซึ่งเป็นร้านขายผ้าม่านที่อยู่ต้นซอย 2 จากนั้นได้ลุกลามไปยังร้านค้าอื่นในซอย ส่งผลให้ร้านค้าได้รับความเสียหายประมาณ 16 ร้าน พื้นที่ 210 ตารางเมตร ส่วนสาเหตุของเพลิงไหม้ในครั้งนี้ตำรวจอยู่ระหว่างการตรวจสอบ เบื้องต้นคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุเจ้าของร้านค้าที่ได้รับทราบข่าว ได้เดินทางมาสำรวจความเสียหาย โดยบางรายถึงกับร้องไห้เมื่อเห็นสภาพร้านค้าที่ถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2014 7:06 pm    Post subject: เรื่องยุ่งๆ ที่อินสแควร์ ที่ ยังไม่เปิดเป็นทางการเสียที Reply with quote

กลุ่มผู้เช่าพื้นที่ “อินสแควร์ ชอปปิ้งมอลล์” ร้องถูกโกงสัญญาเช่า 100 ล้าน


โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 2 กันยายน 2557 15:11 น.


กลุ่มผู้เช่าพื้นที่จำหน่ายสินค้าโครงการ “อินสแควร์ ชอปปิ้งมอลล์” ใกล้ตลาดนัดสวนจตุจักร ร้องถูกเจ้าของโครงการโกงเงินสัญญาเช่า แต่เวลาผ่านมาแล้วกว่า 3 ปียังไม่สามารถเปิดพื้นที่ให้ผู้เสียหายเข้าไปค้าขายได้ มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้าน

วันนี้ (2 ก.ย.) ที่กองปราบปราม เมื่อเวลา 13.30 น. นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ได้พา นางพิมทิพา มาลากุล อายุ 40 ปี และกลุ่มผู้เสียหายกว่า 35 รายเดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รอง ผบก.ป.เพื่อร้องทุกข์ขอให้ตรวจสอบการดำเนินการโครงการอินสแควร์ ชอปปิ้งมอลล์ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่บริเวณใกล้ตลาดนัดสวนจตุจักร กทม. ภายหลังผู้เสียหายได้ทำสัญญาเช่าห้องจำหน่ายสินค้าแต่กลับไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ตามที่ได้ทำสัญญาไว้ รวมมูลค่าเสียหายกว่า 100 ล้านบาท โดยทำหนังสือร้องทุกข์ และนำโบรชัวร์โครงการดังกล่าวรวมทั้งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมามอบไว้เป็นหลักฐาน

นางพิมทิพากล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้พบโฆษณาโครงการดังกล่าวจึงสนใจที่จะเช่าพื้นที่เพื่อจำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่น หลังจากติดต่อกับทางโครงการแล้วทราบว่าจะเปิดทำการในปี 2554 ส่วนสัญญาเช่าจะเป็นการเช่าในระยะยาว กำหนดเวลา 25 ปี โดยห้องขนาด 7.5 ตารางเมตร มีราคา 3.1 ล้านบาท ตนจึงได้ทำสัญญาเช่าไว้ 2 ห้อง รวมมูลค่ากว่า 6 ล้านบาท ชำระค่าเช่าไปแล้ว เมื่อถึงปี 2554 ตนจึงได้ติดต่อสอบถามกับทางโครงการว่าจะมีกำหนดเปิดทำการเมื่อใด แต่ก็ได้รับการกล่าวอ้างว่าจะต้องรอให้มีการโอนเงินให้ครบทุกสัญญาเช่าเสียก่อน นอกจากนี้ยังต้องรอให้มีการตกแต่งภายในให้เสร็จสมบูรณ์ แต่ตนเห็นว่าเวลาได้ล่วงเลยมานานจึงพยายามไปสอบถามแต่ก็ถูกอ้างว่าติดปัญหาต่างๆ

นางพิมทิพากล่าวต่อว่า หลังจากได้ทวงถามทางโครงการหลายครั้ง ต่อมาตนจึงทราบว่าได้มีการเปลี่ยนตัวกรรมการผู้ลงนามผูกพันกับนิติบุคคลโครงการนี้ถึง 4 ครั้ง และมีผู้ที่ทำสัญญาเช่าพื้นที่เพื่อจำหน่ายสินค้าเช่นเดียวกับตนก็ไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้อีกนับ 100 ราย โดยบางรายได้ทำสัญญาเช่าเป็นมูลค่าสูงถึง 18 ล้านบาท จึงอยากทราบว่าทางโครงการติดขัดปัญหาใดกันแน่จึงมีการผัดผ่อน เพิกเฉยเมื่อผู้เสียหายได้ทวงถาม จึงรวมตัวกันเข้าร้องเรียนกับทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อนจะมีการส่งเรื่องไปให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตรวจสอบและดำเนินการ แต่เรื่องกลับเงียบหายไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงเข้าร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมเพื่อให้ทางโครงการดังกล่าวได้เยียวยา โดยส่งตัวแทนผู้มีอำนาจในนามนิติบุคคลมาเจรจาเพื่อหาข้อยุติ คืนเงินแก่ผู้เสียหายหรือจะเร่งเปิดพื้นที่ให้ผู้เสียหายที่ทำสัญญาเช่าได้เข้าไปใช้ประโยชน์ก็ได้ ไม่ใช่เพิกเฉยแบบนี้ เนื่องจากผู้เสียหายบางคนก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาในการทำสัญญาเช่าและต้องแบกรับดอกเบี้ยเงินกู้ทุกวัน

ด้าน พ.ต.อ.ประสพโชคกล่าวว่า ในเบื้องต้นได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป.รับเรื่องโดยลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และสอบปากคำผู้เสียหายไว้ ก่อนจะพิจารณาเชิญผู้แทนของโครงการดังกล่าว หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบถามข้อเท็จจริง หากเป็นกรณีที่สามารถตกลงกันได้พนักงานสอบสวนก็จะเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยเพื่อไม่ต้องดำเนินคดีอาญา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2014 4:25 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม จี้บขส.ศึกษาย้ายหมอชิตใหม่กลับไปใช้หมอชิตเก่า พร้อมย้ายเอกมัยไปบางนา รอชงบอร์ด-ประจิน คาด 2 เดือนรู้ผล
เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 4 กันยายน 2557 เวลา 18:00 น.

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการย้ายสถานีขนส่งกรุงเทพฯออกจากหมอชิตว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอแนวทางให้ บขส.มาศึกษาเพิ่มเติม ถึงความเป็นไปได้ในการย้ายสถานีขนส่งฯ กลับมาใช้พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิตเดิม ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ซ่อมและโรงจอดรถไฟฟ้าบีทีเอส จตุจักร โดยถือเป็นพื้นที่อีกหนึ่งทางเลือก หลังจากก่อนหน้านี้ได้ศึกษาไว้แล้วในการย้าย ไปย่านเมืองทองธานี ดอนเมือง และรังสิต

ทั้งนี้เหตุผลที่ให้ศึกษาเพิ่มเติมที่หมอชิตเก่า เพราะเห็นว่าหมอชิตเก่ามีทำเลสะดวกเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งอื่นได้ อีกทั้งยังเป็นแนวคิดเดิมให้ย้ายกลับไปอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหากจะย้ายสถานีกลับมาใช้ที่หมอชิตเก่า คงใช้เป็นแค่สถานีรับส่งผู้โดยสารเท่านั้นไม่ใช่เป็นอู่จอด เพราะมีพื้นที่ขนาดเล็กไม่กี่แสนตารางเมตร โดยรถบัสอาจต้องไปหาจอดที่อื่นแทน ขณะเดียวกันจะต้องดูว่าทำให้เกิดปัญหาจราจรตามมาหรือไม่ หรืออาจใช้วิธีสร้างทางพิเศษเชื่อมโยงกับทางด่วนโทลล์เวย์แก้ปัญหา

นอกจากนี้ บขส.กำลังศึกษาการย้ายสถานีขนส่งเอกมัยแห่งใหม่อีกด้วย โดยเบื้องต้นมีทำเลที่สนใจ คือ ย่านบางนา สรรพาวุธ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่เหมาะสมประมาณไม่ต่ำกว่า 20 ไร่ คาดใช้เวลา 2 เดือนเสร็จ และประกาศให้เอกชนเสนอพื้นที่เข้ามาได้ ส่วนจะเป็นการซื้อพื้นที่เข้ามาดำเนินการเองหรือร่วมลงทุน คงต้องศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อน ขณะที่ที่ดินสถานีขนส่งเอกมัยปัจจุบัน จะพิจารณาว่าจะนำมาพัฒนาในรูปแบบใดให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่คงไม่เหมาะที่จะพัฒนาเป็นสถานีขนส่งอีก

“การย้ายสถานีขนส่งกรุงเทพหมอชิต 2 และเอกมัย ในตอนนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะย้ายไปที่ไหน เพราะต้องศึกษาให้รอบคอบ และต้องนำเสนอให้คณะกรรมการ(บอร์ด) บขส.พิจารณาภายในเดือนก.ย.-ต.ค.นี้ รวมถึงนำไปหารือกับพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. และรมว.คมนาคม คนใหม่ เพื่อรับทราบนโยบายด้วย โดยหลักการเลือกพื้นที่จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมหลายด้าน เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ และได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด”

นายวุฒิชาติ กล่าวว่า แนวโน้มการดำเนินงาน บขส.ปีงบประมาณ 57 คาดจะมีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 300-400 ล้านบาท แม้ช่วงครึ่งปีแรกได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง แต่ครึ่งปีหลังมีประชาชนใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากการเดินรถในประเทศ การให้บริการขนส่งสินค้า รวมถึงการเดินรถระหว่างประเทศ สำหรับการให้บริการขนส่งสินค้าปัจจุบันมีรถ 8 คัน ทำรายได้ปีละ 100 ล้านบาท และหลังจากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปลายปี 58 น่าจะมีการใช้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น จึงจะมีการเพิ่มรถขนส่งสินค้าอีก 20 คัน

ส่วนการให้บริการเดินรถระหว่างประเทศ ขณะนี้มี 14 เส้นทาง เป็นเส้นทางที่ไปประเทศลาว 12 เส้นทาง และกัมพูชา 2 เส้นทาง โดยการเดินรถถือว่าประสบความสำเร็จดี มีผู้โดยสารใช้บริการ 70-80% โดยเส้นทางที่มีผู้โดยสารใช้บริการมากที่สุด คือ มุกดาหาร-แขวงสะหวันเขต มีผู้โดยสารขึ้นเกิน 100% และรวมทุกเส้นทางสร้างรายได้ถึง 70 ล้านบาทต่อปี มีกำไร 7 ล้านบาท และหลังจากนี้จะศึกษาเส้นทางใหม่ไปลาวเพิ่มเติมด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2014 4:37 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
จะได้เปิดศึกกับกรมธนารักษ์ที่จะให้ซันเอสเตท กลับเข้ามาพัฒนาหมอชิตกันก็วันนี้หละครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/09/2014 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนล้างหนี้'แสนล้าน'
การเงิน - การลงทุน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 8 กันยายน 2557 10:00

ร.ฟ.ท.เร่งดึงเอกชนร่วมพัฒนาที่ดิน3ทำเลทองกว่า800ไร่ ปธ.บอร์ดรฟท.เสนอ4ทางเลือกแผนฟื้นฟูองค์กร-เร่งล้างขาดทุน



เปิด 3 ทำเลทองที่ดิน"มักกะสัน-สถานีแม่น้ำ- พื้นที่บริเวณ กม.11 หลังปตท." เนื้อที่กว่า 800 ไร่ การรถไฟเล็งดึงเอกชนร่วมพัฒนาที่ดินล้างหนี้ก้อนโตกว่าแสนล้าน เตรียมปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ทั่วประเทศ 47 จังหวัด พื้นที่กว่า2.3 แสนไร่ เพื่อเพิ่มรายได้องค์กร ตั้งคณะอนุกรรมการเร่งศึกษารูปแบบการลงทุน ขณะ"ออมสิน"แนะยึดโมเดลผลศึกษาเดิม

การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)เป็นอีกหนึ่งรัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาขาดทุนและหนี้สะสม ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ “ซุปเปอร์บอร์ด” ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ"กรุงเทพธุรกิจ" ถึงแผนฟื้นของฟูร.ฟ.ท.ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดและคำอธิบายแผนการฟื้นฟู ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้ง โดยหลักการยังยึดข้อเสนอที่จะให้ภาครัฐพิจารณาแนวทางล้างหนี้ของร.ฟ.ท. กว่า 1 แสนล้านบาทใน 4 ทางเลือก

ตามข้อเสนอแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท. มีอยู่ 4 แนวทาง คือ แนวทางแรก รัฐบาลรับภาระด้านโครงสร้างพื้นฐานในอดีตและการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 176,808 ล้านบาท โดยร.ฟ.ท. รับภาระการลงทุนจัดหารถจักรและล้อเลื่อนทำให้ค่าเสื่อมราคาโครงสร้างพื้นฐานในอดีตและที่จะลงทุนใหม่ ไม่รวมอยู่ในงบกำไรขาดทุน

แนวทางนี้จะส่งผลให้ ร.ฟ.ท. มีรายได้เพิ่มจาก 10,609 ในปี 2557 เป็น 23,489 ในปี 2565 มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (อีบิทด้า) จากติดลบ 2,558 ล้านบาท เป็นบวก 1,710 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 8,970 ล้านบาท เป็นขาดทุน 11,154 ล้านบาท ขณะที่ขาดทุนสะสมระหว่างปี 2557-2565 อยู่ที่ 91,219 ล้านบาท

แนวทางที่ 2. รัฐรับภาระตามแนวทางที่ 1 พร้อมรับภาระหนี้สินในอดีตทั้งหมดและค่าบำเหน็จบำนาญ แต่ร.ฟ.ท. ยังรับภาระดอกเบี้ยที่เกิดจากรถจักรและล้อเลื่อน แนวทางนี้ส่งผลให้ร.ฟ.ท.ไม่มีค่าใช้จ่ายบำเหน็จบำนาญจากเดิมที่ต้องจ่ายระหว่างปี 2557-2565 รวม 34,178 ล้านบาท มีรายได้ 23,489 ในปี 2565 อีบิทด้าอยู่ที่ 1,710 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิลดลงเหลือ 2,408 ล้านบาท ขณะที่ขาดทุนสะสมระหว่างปี 2557-2565 อยู่ที่ 27,992 ล้านบาท

แนวทางที่ 3. รัฐรับภาระตามแนวทางที่ 1, 2 แต่ร.ฟ.ท.จะขอปรับค่าโดยสารและค่าระวางขึ้น 10% หลังจากโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางเสร็จแล้ว แนวทางนี้ส่งผลให้รายได้จากค่าขนส่งเพิ่มขึ้นจาก 5,535 ในปี 2557 เป็น 17,030 ในปี 2565 และเงินอุดหนุนค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มจาก 2,350 เป็น 4,500 ล้านบาท รายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็น 26,560 ล้านบาท อีบิทด้าเปลี่ยนเป็นบวก 3,899 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิลดลงเหลือ 219 ล้านบาทและขาดทุนสะสมลดเหลือ 21,884 ล้านบาท

แนวทางที่ 4. รัฐรับภาระตามแนวทางที่ 1,2, 3 และภาระค่าซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน แนวทางนี้ ร.ฟ.ท. จะมีรายได้จากการสนับสนุนค่าซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในปี 2563 จำนวน 3,969 ล้านบาท ปี 2564 จำนวน 4,010 ล้านบาท และปี 2565 จำนวน 4,026 ล้านบาท ส่งผลให้ รฟท. มีรายได้รวม 26,560 ล้านบาท ในปี 2565 อีบิทด้าเปลี่ยนจากติดลบเป็นบวก 3,899 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิเปลี่ยนเป็นมีกำไรสุทธิในปี 2563 จำนวน 2,668 ล้านบาท ปี 2564 จำนวน 3,248 ล้านบาท และปี 2565 จำนวน 3,807 ล้านบาท ส่วนขาดทุนสะสมลดเหลือ 9,879 ล้านบาท

ภาระบำเหน็ญบำนาญ30ปี6หมื่นล้าน

ภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท. เกิดจากค่าใช้จ่ายบำเหน็จบำนาญปีละ 4,000 ล้านบาท จากการคำนวณพนักงานมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี จะทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเพิ่มเป็น 60,000 ล้านบาท ในอีก 30 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ยังมีภาระดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังค้ำประกันให้กู้อยู่ปีละ 4,000-4,500 ล้านบาท การลงทุนโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงค์ตามนโยบายรัฐบาลอีก 30,000 ล้านบาท และค่าอุดหนุนรถไฟฟรี 164 ขบวนต่อวัน จากรถไฟที่วิ่งทั้งหมด 300 ขบวนต่อวัน แต่กระทรวงการคลังคืนเงินส่วนนี้ให้ร.ฟ.ท. แค่ 40% โดยจ่ายคืนให้แค่ปี 2552 ส่วนที่เหลือยังไม่ได้คืนและไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้คืนหมด

"ภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท. เป็นการขาดทุนจากการดำเนินงานส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่อีกไม่น้อยเป็นภาระที่รัฐบาลควรรับไป ร.ฟ.ท.มีภาระหนี้สินและดอกเบี้ยเงินกู้อยู่แล้ว ถ้าภาครัฐเลือกแนวทางที่ 4 คือล้างหนี้ทั้งหมด จะทำให้ ร.ฟ.ท. มีอีบิทด้าเป็นบวกในปีที่ 6 และเริ่มมีกำไรสุทธิได้ในปีที่ 7” นายออมสิน กล่าว

รุก3ส่วนเพิ่มรายได้องค์กร

นายออมสิน กล่าวว่า นอกจากข้อเสนอให้รัฐรับภาระหนี้สินแล้ว ตามแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท. ยังมีแนวทางเพิ่มรายได้จาก 3 ส่วนควบคู่กัน คือรายได้จากค่าโดยสารซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ใช้บริการ เมื่อโครงการรถไฟรางคู่แล้วเสร็จ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์รองรับการขนส่งสินค้า และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่กว่าโครงการรถไฟทางคู่จะแล้วเสร็จคงต้องใช้เวลา ดังนั้นร.ฟ.ท. จึงต้องหันมาเน้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และระบบโลจิสติกส์ก่อน

ทั้งนี้ปัจจุบัน ร.ฟ.ท. มีที่ดินทั้งหมด 234,976 ไร่ ในพื้นที่ 47 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นที่ดินที่ใช้เพื่อการเดินรถ 84.60% หรือคิดเป็น 198,674 ไร่ และไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถ 15.40% หรือคิดเป็น 36,302 ไร่ ถือเป็นองค์กรที่มีที่ดินจำนวนมาก แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพทำให้มีรายได้จากส่วนนี้มีน้อย ดังนั้นร.ฟ.ท. จึงได้วางแผนที่จะพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อเพิ่มรายได้ ตามแผนจะมีรายได้จากบริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจาก 2,724 ล้านบาทในปีนี้ เป็น 5,030 ล้านบาทในปี 2565

"ผมว่าร.ฟ.ท.มีดินจำนวนมาก แต่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ต่อไปเราคงต้องดูเรื่องค่าเช่าใหม่ด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง หากมีการพัฒนาที่ดินที่มีอยู่ให้ดี เชื่อว่าร.ฟ.ท.จะมีรายได้เพิ่มขึ้น"

เปิดแผนพัฒนาที่ดิน3ทำเลทอง

นายออมสิน กล่าวว่าที่ดินแปลงสำคัญของร.ฟ.ท. ที่มีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนา 3 แห่งประกอบด้วยที่ดินบริเวณมักกะสัน เนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ บริษัทที่ปรึกษาเสนอให้พัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ โดยภายในแบ่งเป็น 4 โซนตามกิจกรรมต่างๆ และสร้างตึกสูง 95 ชั้น แต่ก่อนจะพัฒนาที่ดินบริเวณนี้ต้องย้ายโรงซ่อมรถไฟมักกะสันและโรงพยาบาลของ ร.ฟ.ท. ที่ตั้งอยู่ออกไปชานเมือง

สถานีบริเวณแม่น้ำ เนื้อที่ 200 ไร่ มีแผนที่จะพัฒนาเป็นอาคารสูง แต่ติดปัญหาต้องหาที่อยู่ใหม่ให้ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งอยู่อาศัยในพื้นที่ และพื้นที่บริเวณพหลโยธิน กิโลเมตรที่11 ติดกับกระทรวงพลังงานและสำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีแผนจะพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ แต่การพัฒนาที่ดินผืนนี้มีปัญหามากที่สุด เพราะเป็นบ้านพักของพนักงาน ร.ฟ.ท.จำนวนมาก

ดังนั้น ก่อนจะพัฒนาได้ต้องจัดการรับฟังความคิดเห็นของพนักงานและจัดหาที่อยู่ใหม่ให้

สั่งศึกษาโมเดลดึงเอกชนลงทุน

นายออมสิน กล่าวว่าก่อนหน้านี้บอร์ดร.ฟ.ท.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาแนวการพัฒนาที่ดินแล้ว ซึ่งแนวทางการศึกษาเน้นเปิดกว้าง สำหรับโมเดลการลงทุนทุกรูปแบบ เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PUBLIC-PRIVATE PARTNERSHIP: PPP) การจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ แต่ ร.ฟ.ท. ควรเป็นเพียงผู้กำหนดนโยบายเท่านั้น

การลงทุนอสังหาฯร.ฟ.ท.จะจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาดูแลการดำเนินงานและผลประโยชน์ที่ร.ฟ.ท.จะได้รับ พร้อมหาผู้ลงทุนและผู้พัฒนาโครงการ อาจจะเป็นกลุ่มเดียวหรือคนละกลุ่มกันก็ได้ ส่วนสัญญาเช่าพื้นที่กับเอกชนจะเป็นกี่กลุ่ม ขึ้นอยู่กับผลศึกษาความคุ้มค่าของการลงทุนที่พิสูจน์ได้ภายใต้เงื่อนไขที่ทำให้ผู้ลงทุนและร.ฟ.ท. ได้ประโยชน์ร่วมกัน” นายออมสิน กล่าว

เผยผลศึกษา3ทำเลทองสร้างเมืองใหม่

แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท. กล่าวว่าก่อนหน้านี้ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างให้ บริษัทที่ปรึกษาจัดทำแผนแม่บทพัฒนาที่ดินทั้ง 3 แปลงมาแล้ว ซึ่งในแต่ละแปลงมีแผนพัฒนาที่ชัดเจน เพียงแต่บอร์ดชุดปัจจุบันได้ขอให้คณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษารายละเอียดและดูความเหมาะสมกับสิ่งที่ศึกษามาก่อนหน้านี้

โดยในส่วนของที่ดินบริเวณมักกะสันบริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาไว้แล้ว เป็นโครงการมักกะสัน คอมเพล็กซ์ โดยรูปแบบที่ศึกษาไว้ที่ปรึกษาระบุว่ารูปแบบที่เหมาะสมของโครงการคือการให้สิทธิ์สัมปทานพื้นที่ทั้งหมดกับผู้ลงทุนภายใต้กระบวนการและข้อเสนอของร.ฟ.ท. รูปแบบนี้ร.ฟ.ท.ไม่ต้องลงทุนใดๆ จะเป็นเพียงผู้ออกสิทธิสัญญาเช่าระยะ34ปี คือก่อสร้าง 4 ปี เป็นโครงการดำเนินการ 30 ปีให้กับผู้ลงทุน

โดยร.ฟ.ท.จะได้ผลตอบแทนจากการให้สิทธิ คือ1.ช่วงก่อสร้างปีที่1 คิด FRONT END FEE 30% ของผลตอบแทนจากการจัดให้เช่าที่ดิน 2.ช่วงก่อสร้างปีที่2,3และ4 คิดว่าเช่า25,50และ75%ของค่าเช่าที่ต้องชำระในปีที่1เมื่อเริ่มเปิดดำเนินการ 3. ค่าเช่ารับรายปี ซึ่งจะเพิ่มขึ้น5%ต่อปี นับจากเริ่มเปิดดำเนินการจนสิ้นสัมปทาน(รวม30ปี)

อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษายังได้ประเมินมูลค่าที่ดินย่านมักกะสันในพื้นที่รวมเกือบ500 ไร่ ว่ามีมูลค่าที่ดินรวมประมาณ 55,815 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการประเมินราคาที่ดินที่ตารางวาละ 266,000 บาท เป็นราคาประเมินเมื่อปี2555

ส่วนโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณสถานีแม่น้ำ ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศึกษาแผนการพัฒนาในที่ดินไว้แล้ว ในพื้นที่ 260 ไร่ คิดเป็นพื้นที่104.135.56 ตารางวา โดยประเมินว่าจะมีมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งหมด 10,413.56 หมื่นล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 แปลงย่อย

สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ กม.11 (บริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 คลับเฮาส์/สนามซ้อมกอล์ฟ และฝ่ายบริหารงานบุคคล ด้านฝึกอบรม) ที่ปรึกษาได้ศึกษารายละเอียดของการพัฒนาที่ดินไว้แล้วเช่นกัน ในพื้นที่359 ไร่ แต่จะนำมาพัฒนาได้กว่า100 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่มีการใช้งานไปแล้ว ที่ผ่านมาร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ศึกษารูปแบบการลงทุนไว้แล้ว

เป็นการลงทุนพัฒนาที่ดินซึ่งมีทั้งศูนย์แสดงนิทรรศการ โรงแรม สำนักงาน ร้านค้า เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ อาคารจอดรถอัตโนมัติ โดยกำหนดการใช้พื้นที่ออกเป็น 6โซน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2014 11:32 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
^^^
จะได้เปิดศึกกับกรมธนารักษ์ที่จะให้ซันเอสเตท กลับเข้ามาพัฒนาหมอชิตกันก็วันนี้หละครับ

“คมนาคม” จี้ บขส.สรุปย้ายหมอชิต เผยธนารักษ์เปิดทางกลับตามข้อตกลงเดิม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กันยายน 2557 19:58 น.

“คมนาคม” เร่ง บขส.สรุปย้ายสถานีหมอชิต สบช่อง กรมธนารักษ์เปิดทางให้กลับหมอชิตเก่าได้ตามข้อตกลงเดิม เผยทำเลเหมาะศูนย์คมนาคมขนส่งเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งมวลชนสะดวก คาดสรุปเสนอ “ประจิน” ตัดสินใจ

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้บริหารบริษัท ขนส่ง จำกัด (มหาชน) หรือ บขส. และกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงแนวทางการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิตแห่งใหม่ กลับมายังบริเวณหมอชิตเก่า ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เนื่องจากกรมธนารักษ์ มีโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุหมอชิต เนื้อที่รวม 63 ไร่ จึงได้มีหนังสือสอบถามว่า ทาง บขส.ยังยืนยันที่จะใช้พื้นที่หมอชิตเก่าตามข้อตกลงเดิมหรือไม่ ที่มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1แสนตารางเมตร และจะมีการปรับแบบก่อสร้างอย่างไรหรือไม่ เนื่องจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่โดยรอบในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ทาง บขส.กลับไปจัดทำแผนการย้ายสถานีหมอชิตให้ชัดเจนว่าจะมีการบริหารอย่างไร เพราะนอกจากพื้นที่หมอชิตเก่าแล้ว ยังมีพื้นที่ในบริเวณสถานีกลางบางซื่อมากกว่า 9 ไร่ ที่จะเป็นศูนย์ด้านคมนาคม โดยให้นำเสนอกลับมาเร็วที่สุด โดยในเบื้องต้น จะยืนยันกลับไปที่กรมธนารักษ์เพื่อรักษาสิทธิตามข้อตกลงซึ่งเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดิมไว้ก่อน ส่วนรายละเอียดต่างๆ นั้น ทุกฝ่ายจะต้องประชุมร่วมกันเพื่อสรุปให้พร้อมที่จะนำเสนอต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาต่อไป

“ตามหลักศูนย์คมนาคมขนส่งควรอยู่ในเมืองเพื่อให้มีความสะดวกในการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน การส่งต่อผู้โดยสารจะมีความสะดวก ซึ่งทั้งบริเวณสถานีกลางบางซื่อ และหมอชิตเก่านั้นมีความเหมาะสม ประเด็นคือ บขส.ต้องไปพิจารณาว่าจะบริหารจัดการการเดินรถอย่างไร สามารถแยกรถสายสั้น หรือที่เส้นทางที่เป็นฟีดเดอร์ส่งต่อผู้โดยสารกับรถไฟสายสีแดง ก็อาจจะให้อยู่ในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ส่วนรถสายยาว อาจจะมาใช้ที่หมอชิตเก่า โดยจะต้องออกแบบโครงสร้างการใช้พื้นที่ และทางเข้าออกสถานีให้ดี เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจรด้านถนนพหลโยธินและวิภาวดีรังสิต ซึ่งเดิมนั้นออกแบบเป็นแลมป์ยกระดับเข้าออกไว้แล้วอาจจะปรับปรุงให้เหมาะสมต่อภาวะปัจจุบัน เป็นต้น” นางสร้อยทิพย์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บขส. ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ศึกษาหาพื้นที่ในการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ เพื่อแก้ปัญหาความแออัด และหมดสัญญาเช่าที่ดินกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยศึกษาไว้ 3 พื้นที่ ประกอบด้วย ดอนเมือง เมืองทองธานี และรังสิต ว่าพื้นที่ใดมีความเหมาะสมมากที่สุด แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปใดๆ โดย บขส.มีเงินทุนสำหรับย้ายสถานีหมอชิตประมาณ 3,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2014 2:30 am    Post subject: Reply with quote

เร่งเคลียร์หมื่นสัญญาเช่าที่ดิน ร.ฟ.ท.
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 09 กันยายน 2014 เวลา 11:21 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,982 วันที่ 11 - 13 กันยายน พ.ศ. 2557

ร.ฟ.ท.เร่งเคลียร์สัญญาเช่าที่ดินกว่า 1 หมื่นสัญญาทั่วประเทศ หารายได้มาล้างหนี้ ยันดำเนินการตามกรอบกฎหมาย ส่วนปมปัญหาข้อกรณีพิพาทสัญญาเช่าต้องส่งเรื่องให้อาณาบาลรับไปดำเนินการ เผยปมตลาดนัดจตุจักรลุ้นจุดจบเร็วๆนี้

แหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. หัวหน้าหน่วยธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินเร่งดำเนินการสะสางสัญญาเช่าที่ดินของการรถไฟฯทั่วประเทศ เนื่องจากนโยบายของคณะกรรมการ(บอร์ด)ร.ฟ.ท.ต้องการหารายได้จากทรัพย์สินเพื่อนำไปลดภาระหนี้ขององค์กรที่มีประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยเฉพาะสัญญาเช่าที่มีปัญหาไม่สามารถตกลงกันได้และผ่านพ้นมานานหลายปี ยิ่งในปัจจุบันโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตอยู่ระหว่างการเร่งส่งมอบพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ก็ต้องเร่งดำเนินการสัญญาเช่าที่ดินให้เรียบร้อย

ทั้งนี้สัญญาเช่าที่ดินมีอยู่กว่า 1 หมื่นสัญญา แต่การบริหารจัดการสัญญาเช่าต้องเป็นไปตามกรอบระยะเวลา จึงเร่งเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรในการปฏิบัติให้มากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายบริหารทรัพย์สินและฝ่ายอาณาบาล เนื่องจากมีจำนวนบุคลากรลดน้อยลงในปัจจุบัน แต่ปริมาณงานมีจำนวนมากกว่าหลายเท่า ทำให้การติดตามเร่งรัดค่อนข้างใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุญาตเพิ่มบุคลากรและกรอบระยะเวลาของงานให้มากขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มองค์ความรู้ของบุคลากรที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงานต้องเปิดกว้างให้มากและลึกในรายละเอียด ช่วงที่ผ่านมาเน้นการใช้ข้อบังคับอย่างเข้มงวดมากกว่า ควรเน้นการเจรจาให้ได้ข้อยุติก่อนจะให้เกิดข้อพิพาท

สำหรับการเปิดให้มีการว่าจ้างหน่วยงานภายนอกรับไปดำเนินการหรือเอาต์ซอร์ซหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารระดับสูง แต่โดยข้อเท็จจริงการบริหารทรัพย์สินของภาครัฐนั้นจะมีหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่แล้ว อีกทั้งยังสามารถส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการฯพิจารณาได้ทันที จึงน่าจะส่งงานหรือว่าจ้างหน่วยงานภายนอกรับไปดำเนินการไม่ได้

ขณะเดียวกันแหล่งข่าวกล่าวถึงปมปัญหาของตลาดนัดจตุจักรกับกรุงเทพมหานคร(กทม.)ที่ยังค้างคามานานนั้นศาลได้พิจารณาให้ร.ฟ.ท.ชนะอยู่แล้ว นั่นคือผ่านการชี้ขาดเบื้องต้นไปแล้ว เช่นเดียวกับกรณีของการเช่าของปตท.ที่อยู่ระหว่างการไต่สวนของอัยการสูงสุดที่น่าจะชี้ขาดเบื้องต้นในเร็วๆนี้ หากทั้ง 2 รายการยังไม่ได้ข้อยุติก็จะส่งเรื่องให้ครม.พิจารณาต่อไป

"กรณีจตุจักรถือเป็นการปฏิบัติตามระเบียบและอำนาจหน้าที่ที่ร.ฟ.ท.มีอยู่ ขณะนี้รอการชี้ขาดเท่านั้น แม้ว่าบางสิ่งบางอย่างร.ฟ.ท.จะสามารถเข้าไปดำเนินการได้อยู่แล้วก็ตาม แต่ก็ยังขอรอคำชี้ขาดให้ชัดเจนก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเป็นข้อโต้แย้งตามมาในภายหลังเช่นการทุบอาคารหรือแผงค้าต่างๆ"

ทั้งนี้ปัจจุบันร.ฟ.ท.ได้เข้าไปปรับปรุงตลาดนัดจตุจักรแล้วในหลายส่วน ซึ่งยังเป็นสัญญาต่างตอบแทน แม้ว่าช่วงต้นๆกทม.จะเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาผู้ค้าจะออกค่าใช้จ่ายก็ตาม สุดท้ายแล้วเมื่อครบกำหนดสัญญาทุกสิ่งก็ตกเป็นทรัพย์สินของร.ฟ.ท.ในที่สุด เนื่องจากสัญญาฉบับใหญ่ที่กทม.ทำไว้กับร.ฟ.ท.นั้นส่วนควบของที่ดินหากสิ้นสุดสัญญาแล้วก็ต้องตกเป็นทรัพย์สินของผู้ให้สัญญาในที่สุด ดังนั้นขณะนี้ตามที่มีผู้นำเสนอว่าอาคารหรือแผงค้าต่างๆเป็นของผู้ค้าที่ออกเงินก่อสร้างเองจึงเป็นการให้ข้อมูลที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงในสัญญา ซึ่งร.ฟ.ท.ขอให้ศาลตัดสินให้ชัดเจนก่อนจึงจะเข้าไปดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อยุติทั้งหมดโดยเร็ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/09/2014 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

ซ้ำซาก! ไฟไหม้แผงค้าในตลาดนัดจตุจักร จนท.เร่งหาสาเหตุ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กันยายน 2557 11:21 น.


เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดเหตุเพลิงไหม้แผงค้าภายในตลาดนัดจตุจักร ทั้งนี้ พนักงานสอบสวน สน.บางซื่อ ได้เข้าตรวจสอบความเสียหายบริเวณแผงค้า โครงการ 12 ซอย 6 ภายในตลาดนัดสวนจตุจักร หลังจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถควบคุมเพลิงได้ทั้งหมด
จากการตรวจสอบความเสียหาย พบว่าแผงค้าบริเวณโครงการ 12 ซอย 6 เสียหาย 1 แผงค้า จำนวน 6 บล็อก โดยเพลิงได้ลุกไหม้สินค้าภายในร้านเสียหายทั้งหมด
ส่วนสาเหตุ พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างสอบปากคำพยานแวดล้อม เนื่องจากช่วงที่เกิดเหตุยังเป็นช่วงที่ตลาดนัดยังไม่เปิดให้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2014 8:44 am    Post subject: Reply with quote

รมช.คมนาคมจี้ขสมก.เร่งทีโออาร์ประมูลจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี
ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 17 กันยายน 2014 เวลา 08:18 น.

รมช.คมนาคม “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” ฟิตจัดหลังรับตำแหน่ง สั่งหน่วยงานที่ควบคุมดูแลทำแผนเพิ่มศักยภาพ ประมูลท่าเรือเฟส3 แหลมฉบัง ย้ายหมอชิต 2 สร้างมอเตอร์เวย์ พร้อมเร่งทีโออาร์ประมูลจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คันให้แล้วเสร็จก่อนประชุมคณะกรรมการทีโออาร์ 22 กย.นี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมหัวหน้าหน่วยงานในความรับผิดชอบทั้ง 7 หน่วยงาน คือ กรมทางหลวง(ทล.) บริษัทขนส่งจำกัด(บขส.) กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) กรมเจ้าท่า(จท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) ว่า ขณะนี้ได้ให้นโยบายกับบขส. ไปจัดทำรายละเอียดการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ หรือหมอชิต 2 ว่าจะมีแผนการย้ายออกจากพื้นที่เดิมอย่างไร เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟสายสีแดง

นอกจากนั้นยังให้ขสมก.ไปเร่งรัดการจัดทำร่างเงื่อนไขทีโออาร์เพื่อประมูลจัดหารถเมล์เอ็นจีวี โดยให้จัดทำรายละเอียดให้แล้วเสร็จก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการทีโออาร์ในวันที่ 22 กันยายนนี้ซึ่งหลังจากได้ TOR ในส่วนของการส่งมอบรถเมล์ใหม่ก็คงต้องมีการเลื่อนระยะเวลาการส่งมอบออกไป โดยอาจจะมีการปรับแผนในการส่งมอบเช่น อาจจะมีการเพิ่มจำนวนส่งมอบในแต่ละล็อตมากขึ้นหรือไหม ซึ่งก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ

ในส่วนของทล. ได้กำชับให้จัดทำแผนทางหลวงเชื่อมโยงโครงข่ายชายแดนเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมจัดทำรูปแบบการลงทุนโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)ว่ามีความคืบหน้าในการดำเนินการอย่างไรปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกรูปแบบในการลงทุน ซึ่งจำเป็นต้องดูว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไรมากน้อยแค่ไหน โดยคาดว่าเส้นทางที่จะดำเนินการได้ก่อนคือ เส้นทางบางปะอิน-โคราช,เส้นทางบางใหญ่-บ้านโป่ง ที่จะใช้รูปแบบเอกชนร่วมลงทุนและเส้นทางพัทยา-มาบตาพุดจะใช้กองทุนในการดำเนินโครงการ ซึ่งทั้ง 3 เส้นทางคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2558 นี้

ส่วนหน่วยงานทางน้ำได้กำชับให้กรมเจ้าท่าเร่งรัดการขุดลอกคูคลอง แม่น้ำตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บริเวณตื้นเขินตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (เฉพาะบางช่วงที่มีปัญหา) ซึ่งขณะนี้ทางกรมเจ้าทางได้มีการเตรียมการรับมือไว้แล้ว

ส่วนกทท.เน้นถึงการปรับปรุงการให้บริการท่าเรือที่มีแนวโน้วที่จะมีความแออัดมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการจราจรที่จะเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง สำหรับการปรับปรุงท่าเรือทางชายฝั่ง ซึ่งจะมีการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อให้เรือชายฝั่งได้ใช้บริการได้มากขึ้นโดยจะมีการจัดท่าเรือให้เป็นการเฉพาะด้วยการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการท่าเรือที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

ขณะเดียวกันทางท่าเรือกรุงเทพก็มีเริ่มมีปริมาณการจราที่มีความหนาแน่นมากขึ้น ซึ่งจำเป็นจัดการแก้ปัญหาในจุดนี้ให้ได้ เดิมทีก็มีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในการควบคุมปริมาณด้านการขนส่งเทียบท่าเรือคลองเตยอยู่ประมาณ 1 ล้าน TU ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 1.3 ล้าน TU ส่วนอนาคตในการขยายท่าเทียบเรือก็จะมีการตรวจสอบก่อนว่าจะสามารถเร่งรัดในส่วนเฟส 3 ของท่าเรือแหลมฉบังได้เร็วแค่ไหน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเสนอให้ครม.อนุมัติ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 104, 105, 106 ... 197, 198, 199  Next
Page 105 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©